หมด Passion

หมด Passion หมดไฟในการทำงาน! ทำอย่างไรต่อ

เรื่องAdminAlljitblog

เคยไหมที่อยู่ ๆ ก็รู้สึกว่า งานที่ทำมันน่าเบื่อไปหมด มองไปทางไหนก็ไร้เเรงบันดาลใจ เหมือนทำงานไปวัน ๆ แบบไม่มีจุดหมาย จนเรามีความรู้สึกขึ้นมาว่า ลาออก ต้องได้ลาออกแน่ ๆ เลย ฉัน หมด passion

 

Alljit ร่วมกับคุณกวินทิพย์ จันทนิยม นักจิตวิทยาการปรึกษาและตอนนี้กำลังทำงานในตำแหน่ง HR (Human Resource / Human Resource Management) 

 

บทบาทและหน้าที่ของ HR

สารบัญ

1.สรรหาและคัดสรรบุคลากร (Recruitment) 

เป็นการสรรหาคัดเลือกผู้สมัครเข้ามาสัมภาษณ์ 

2.การวางแผนกำลังคน (Human Resources Planning)

การวิเคราะห์กำลังคน รวมถึงทำให้สามารถดูอัตรากำลังคนแต่ละแผนกว่า แต่ละแผนกต้องใช้ตำแหน่งอะไรบ้าง, แต่ละตำแหน่งมีหน้าที่อย่างไร และมีความต้องการใช้จำนวนคนกี่คน 

3. Payroll และงานข้อมูลพนักงาน 

ดูแลเงินเดือนของพนักงาน จัดทำค่าจ้างเงินเดือน และยังต้องดูแลจัดสรรข้อมูลประวัติของพนักงาน รวมทั้งสวัสดิการต่าง ๆ 

4.Training หรือฝึกอบรมพนักงาน 

เป็นการเพิ่มศักยภาพของพนักงาน เพื่อพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้ดียิ่งขึ้น 

5.งานประเมินผลงาน 

เป็นการติดตามและประเมินผลงานพนักงาน รวมถึงวางแผนเพื่อให้รางวัลและผลตอบแทนกับพนักงาน คร่าวๆก็ประมาณนี้ค่ะ แต่โดยรวมแล้ว ลักษณะของการทำงานเป็นไปเพื่อพัฒนา

 

และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้เกิดกับองค์กร ด้วยการพัฒนาให้พนักงานมีความรู้ ความสามารถ เพื่อนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ

 

คุณสมบัติของ HR ที่ควรมี

1.ต้องมีทักษะการสื่อสารที่ดี 

เพราะHR ต้องพูดคุยกับพนักงานในทุกๆตำแหน่ง 

2.มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี 

เนื่องด้วยการเป็น HR ต้องทำความรู้จักกับพนักงานในองค์กรทุกคน เป็นที่พึ่งพาของพนักงานได้ 

3.ยุติธรรมและวางตัวเป็นกลาง 

HR มืออาชีพจะต้องเป็นผู้กำหนดทิศทางความถูกต้องและให้ความยุติธรรมสำหรับพนักงานทุกคน 

4.เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ 

ปัจจุบันมีเทคโนโลยีมากมายที่เข้ามาช่วยในการทำงานให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว HR ต้องรู้จักเรียนรู้การใช้โปรแกรมใหม่ๆอยู่เสมอ 

5.ทักษะทางการตลาด 

ต้องมีทักษะและใช้เทคนิคด้านการตลาด เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่แบรนด์ขององค์กร เพื่อดึงดูดผู้สมัครงาน

 

HR ในปัจจุบันต่างจากสมัยก่อนอย่างไรบ้าง

HR ในปัจจุบันต้องปรับเปลี่ยนหลากหลายอย่าง อย่างเช่น การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการบริหารสายงานบุคคล เมื่อก่อนอาจจะใช้เป็นเอกสารในการเก็บข้อมูลพนักงาน

 

แต่ตอนปัจจุบันนี้ใช้แบบอิเล็กทรอนิกส์ การสรรหาสวัสดิการที่เหมาะสมกับสไตล์การทำงานของพนักงานในยุคปัจจุบัน

 

อย่างเช่น ปัจจุบันการทำงานแบบ hybrid กำลังเป็นที่นิยม คือการทำงานแบบที่บ้านสลับกับเข้าออฟฟิศบางวัน Hr ก็ต้องจัดสวัสดิการตรงนี้เพิ่มเข้าไปให้พนักงาน ซึ่งสมัยก่อนอาจจะไม่มีตรงจุดนี้ หรือการสรรหาพนักงานและการสัมภาษณ์

 

สมัยก่อนต้องมาสัมภาษณ์ที่ออฟฟิศเท่านั้น แต่สมัยนี้สามารถสัมภาษณ์ผู้สมัครผ่านทางวีดีคอล ออนไลน์ได้เลย 

 

ระบบการทำงานในสมัยนี้สนับสนุนให้หลาย ๆ อย่างสะดวกสบายมากขึ้น ยืดหยุ่นมากขึ้น เพราะว่าวิถีชีวิตในโลกการทำงานที่มันเปลี่ยนไปมากๆเลยในช่วง Covid19 เราต้องปรับตัวตั้งแต่การใช้ชีวิต และแน่นอนว่าการทำงานก็ต้องได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน 

ช่วง Pre-Covid19 ยังทำงานที่ออฟฟิศอยู่ 

ช่วง During covid19 หลาย ๆ บริษัทก็เปลี่ยนมาเป็น WFH 100% 

ช่วง Post covid19 ก็มาเป็นแบบ Hybrid Working 

 

เพราะอะไรคุณสมบัติ Empathy ถึงสำคัญสำหรับการทำงาน

Empathy คือความสามารถในการเข้าใจคนอื่นในมุมมองที่พวกเขาเป็นและเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยทำให้แต่ละคนเข้าใจกันในมุมมองที่หลากหลาย ซึ่งจำเป็นในการสร้างบรรยากาศของความเป็นกลุ่ม และสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี

 

การมีคุณลักษณะของ empathy จะช่วยทำให้เกิดความรู้สึกปลอดภัยในที่ทำงาน ซึ่งจะช่วยให้การร่วมงานกันเป็นไปได้อย่างมีความสุขและมีประสิทธิภาพ

 

จากทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ ลำดับที่ 3 นั้น ทุกคนต้องการมีความสัมพันธ์ที่ดี ได้รับความรัก และความเข้าใจและการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม 

 

Empathy Skill นั้น สามารถใช้ได้กับทุกสถานการณ์ ทั้งการคุยกับเพื่อนร่วมงาน การมอบหมายให้ผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างมีประสิทธิภาพ หรือการทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้า

 

นอกจากนี้ในชีวิตประจำวันก็ยังสามารถนำ Empathy Skill มาใช้ได้อีกเช่นกัน เพื่อให้เราสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้ ทำให้ Empathy เป็นทักษะที่สำคัญมาก ๆ 

 

ทำไมถึง หมด Passion ในการทำงาน? 

Passion ก็คือ ความรัก ความชอบ ความหลงไหลในอะไรสักอย่าง เป็นเหมือนแรงขับเคลื่อนของคนคนนึงให้ทำอะไรบางอย่างให้สำเร็จ ซึ่งธรรมชาติของ Passion คือ การไม่คงที่ ไม่มั่นคงและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

 

อย่างในตอนเด็กเราอาจจะมีความชอบแบบนี้ ๆ แต่พอเราเริ่มโตขึ้นความชอบเราก็เปลี่ยนไป ซึ่ง During ของการเปลี่ยนแปลงนั้นอาจจะสั้น ๆ เลยด้วยซ้ำ

 

passion เปลี่ยนแปลงไปตามเวลาและการเติบโต ที่ผ่านการเรียนรู้ การรับรู้และประสบการณ์ เป็นเรื่องธรรมชาติมาก ๆ ที่คนเราจะเปลี่ยนแปลงความสนใจได้ตลอดเวลา 

 

โอกาสในการ หมด Passion ในการทำงาน

ขึ้นอยู่กับคนคนนั้น ว่าสิ่งที่เค้ากำลังทำอยู่มันน่าเบื่อ มันซ้ำซากจำเจแค่ไหน หรือมันยังสร้างความสุขให้คนนั้นอยู่ไหม Passion ในการทำงานของแต่ละคนก็ไม่เท่ากันอยู่แล้ว

 

บางคนเค้าได้ทำงานในสิ่งที่ชอบสิ่งที่ถนัดเค้าก็อาจจะมี passion กับงานนั้นสูงมาก อยากทำต่อไปเรื่อย ๆ เพราะสนุกและชอบในสิ่งที่ทำ

 

แต่กับบางคนเค้าอาจจะไม่ได้ทำงานในสิ่งที่ชอบหรือถนัด ก็อาจจะมี Passion กับงานนั้นน้อย หรือทำไปนาน ๆ ก็อาจจะหมด passion ไปเลยก็ได้

 

ทำไมถึง หมด Passion ในการทำงาน 

1.งานไม่มีความท้าทาย

อาจจะด้วยตัวเนื้องานที่ทำไม่ได้มีความท้าทายอะไรมาก ทำงานวนไปวัน ๆ งานรูปแบบเดิม ๆ ซ้ำ ๆ ไม่ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในตัวงานที่ทำเลย ก็เป็นสาเหตุทำให้เบื่อหน่ายและเกิดความรู้สึกว่าหมด passion 

2.ไม่มีการเติบโตของสายงาน 

หลายคนเบื่อหรือหมดความสนใจเมื่อรู้สึกว่าตนเองไม่มีโอกาสเติบโตในสายอาชีพนั้น ๆ ทำให้ไม่มีแรงผลักดันในการเรียนรู้สิ่งใหม่ในสายงานเดิม ไม่อยากที่จะทำ หมด passion ในการทำงานแล้ว 

3.การได้รับค่าจ้างต่ำเกินไป 

คือการได้รับค่าจ้างที่ต่ำเกินไปสำหรับความพยายามของพนักงานคนนั้น โดยเฉพาะเงินเดือนเฉลี่ยในตลาดแรงงานที่มักจะเป็นตัวเลขที่ต่ำ ทำให้เงินเดือนบางอาชีพได้รับเงินไม่คุ้มค่ากับความเหนื่อย 

 

นอกจากยังมีปัจจัยตัวอื่นอีกหลาย ๆ อย่าง ที่ทำให้เกิดการหมด passion ในการทำงานได้

 

ในมุมมอง HR ถ้ามีพนักงานหมด Passion

1.พูดคุยและปรับเปลี่ยน

ต้องให้แต่ละแผนกได้มีการพูดคุยกันก่อน เพราะเป็นบุคคลที่ร่วมงานกันได้ใกล้ชิดกันมากที่สุด ถ้าการหมด passion เกิดจากงาน งานอาจจะวนลูปเดิมเกินไป ไม่ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานกันในแต่ละแผนก 

2.สร้าง Career path

ถ้าเป็นเรื่องของการเติบโตในสายงาน ทาง HR ก็ต้องเข้าไปดูแลตรงส่วนนี้ ต้องสร้าง career path ให้พนักงานคนนั้นเป็นการกระตุ้นและจูงใจให้เค้ามี passion ขึ้นมาอีกครั้ง 

3.สร้างสภาพแวดล้อมให้รู้สึกผ่อนคลาย

บางที HR จะต้องสร้างสภาพแวดล้อมขององค์กรให้รู้สึกถึงการผ่อนคลายบ้าง เช่น มีห้องไว้ให้พนักงานไว้ผ่อนคลาย อาจจะเป็นห้องเล่นเกมส์ มีห้องดูหนังไว้ให้พนักงานดู มี snack หรือ soft drink ไว้ให้พนักงาน 

4.มีการทำงานแบบยืดหยุ่นตามความเหมาะสม

จัดให้มีการทำงานแบบ Hybrid Working คือ Work From Home สลับกับการเข้าออฟฟิศ เพื่อให้พนักงานสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ ให้พนักงานมีความสะดวกสบายในการทำงาน

 

หมด Passion ในการทำงาน เราจะทำยังไงดี

1.หาวิธีผ่อนคลาย

เราต้องรู้จักหาวิธีการผ่อนคลายบ้าง ผ่อนคลายความเครียด แก้ความเบื่อหน่าย เราก็อาจจะต้องใช้สิทธิ์ลาพักร้อน ลาพักผ่อนเพื่อไปชาร์ตพลังให้ตัวเองบ้าง 

 

2.เลือกโฟกัสงานที่สำคัญในแต่ละวัน 

จะช่วยทำให้เรารู้เป้าหมายของเราในแต่ละวันอย่างชัดเจน เมื่อทำสำเร็จตามเป้า เราจะมีกำลังใจและอยากจะทำงานนั้นๆ ต่อ 

 

3.อาจจะต้องปรับทัศนคติของตัวเราเอง 

ให้คิดในแง่ดีไว้ว่าถ้าเราผ่านจุดนี้ไปได้มันก็คงมีอะไรที่ดีขึ้น  หรือให้คิดว่าการทำงานบางทีเราไม่ได้ทำงานเพื่อ passion อย่างเดียว แต่เราทำงานเพื่อความจำเป็นในชีวิต

 

ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัว หรือการทำเพื่อสังคม มีหลายอย่างในชีวิตที่สำคัญกว่า passion การคิดแบบนี้จะช่วยให้คุณสามารถไปต่อได้ 

 

4.หาเป้าหมายใหม่

ถ้าสุดท้ายแล้วมันหมด passion จริง ๆ กับงานที่ทำอยู่ บางทีการหางานใหม่ที่มันท้าทายมากกว่าเดิม หรือการไปเจอสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ กับองค์กรใหม่ ก็อาจจะเป็นคำตอบของพนักงานคนนั้น

 

วิธีการป้องกันการ หมด Passion 

“การทำงานแบบ Work-Life balance”

 

ก็เป็นสิ่งช่วยป้องกันการหมด passion ชะ ทำให้เราไม่เครียดมากไป มีเวลาให้กับตัวเองได้ไปพักผ่อนบ้าง หรือไม่ก็การลงเรียนคอร์สอัพสกิลอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากตัวเนื้องานที่เราทำหรือจะเกี่ยวกับงานก็ได้

 

เพราะจะทำให้เราได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ  เป็นตัวกระตุ้นความสนใจของเรา บางทีเราก็อาจจะนำสิ่งที่เรียนมาปรับใช้ในการทำงานได้ด้วย

 

เราต้องหาจุดที่ balance ของตัวเอง จุดที่เรามีความสุขกับงานและเอนจอยกับชีวิตส่วนตัวได้ เมื่อไหร่ก็ตามที่เรารู้สึกว่าเราเครียดกับการทำงานมากเกินไป การลาหยุดสักวันสองวันไม่ใช่เรื่องที่ผิดเลย ให้โอกาสตัวเองได้พักผ่อนบ้าง ให้รางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ กับตัวเองบ้าง