‘ สู้ๆ ’ คำให้กำลังใจที่เราจะได้ยินบ่อยและคุ้นเคยกับมันมาก ๆ หรือบางครั้งเราก็อาจจะเป็นคนพูดเองเวลาอยากจะให้กำลังใจใครสักคน เป็นคำพูดที่พูดง่ายที่สุด ทั้งที่เราเองก็อาจจะยังไม่แน่ใจเหมือนกันว่าจะสู้กับอะไรดี…
คำว่า สู้ๆ ในมุมมองของคนทั่วไป
เป็นเหมือนคำให้กำลังใจที่ทำให้เรามีแรงฮึด ยิ่งกับสถานการณ์ที่เราต้องการแรงใจอย่างมาก เช่น การสัมภาษณ์งาน การสอบ เราจะรู้สึกดี
รวมถึงถ้ามีการสัมผัส สายตา น้ำเสียง คำว่า สู้ๆ จะมีอิมแพคอย่างมาก
คำว่า สู้ๆ ในมุมมองของคนเป็นโรคซึมเศร้า
คำว่า สู้ ๆ เป็นเหมือนคำที่เเสดงออกถึง ignorance เหมือนเป็นการปล่อยให้เขาสู้ตามลำพัง ทำให้เขารู้สึกโดดเดี่ยว เหมือนถูกผลักออกมาเพราะเราก็ไม่รู้ว่าจะช่วยอย่างไรดี
การที่บอกว่าสู้ ๆ นะ เหมือนเป็นแค่คำพูดที่ทำให้คนพูดรู้สึกเหมือนว่าอย่างน้อยก็ได้พูดอะไรสักอย่างออกไป บางทีเขาก็อาจจะรู้สึกว่า เขาสู้มามากแล้ว ให้เขาสู้กับอะไรได้อีก
ถ้าไม่ใช่คำว่า สู้ๆ เป็นคำว่าอะไรได้บ้าง?
1.พูดมาได้เลยนะ เดี๋ยวเราจะคอยรับฟัง
2.เราอยู่ข้าง ๆ นะ
3.เป็นกำลังใจให้นะ
4.เธอสำคัญสำหรับเราเสมอ
ถ้าไม่ใช่คำพูด เราทำอะไรได้บ้าง?
1.กอด,จับมือ
-การสัมผัสทางกายเป็นอะไรที่อบอุ่นและสื่อความรู้สึกได้ดีมาก ๆ เขาจะรู้สึกว่ามีคนอยู่เคียงข้าง เข้าใจเขา รบฟังเขาและไม่รู้สึกโดดเดี่ยว
2.การเป็นผู้ฟังที่ดี ฟังแค่ใจไม่ใช่แค่หู
-ลองฟังเขาก่อน มันอาจจะมีคำตอบที่ดีกว่าคำว่าสู้ ๆ
-ฟังจริง ๆ โดยไม่ตัดสิน
3.ถามคำถามปลายเปิด
ลองถามคำถามปลายเปิด(คำถามที่ไม่สามารถตอบว่า ใช่-ไม่ใช่,ได้-ไม่ได้,ถูก-ผิด)เพื่อให้เขาแสดงความรู้สึกหรือระบายความรู้สึกออกมา เราจะได้เข้าใจเขามากขึ้น เขาเองก็จะรู้สึกว่าสิ่งที่แบกรับมันเบาบางลง
ควรพูดอะไร/ทำอย่างไรกับคนเป็นโรคซึมเศร้า
1.บอกให้เขารู้ว่าเราห่วงใยและคอยอยู่เคียงข้าง
คำง่าย ๆ อย่างคำว่า “ห่วงใย” อาจมีความหมายมาก ๆ กับคนที่อาจรู้สึกเหมือนโลกทั้งใบกำลังใจร้ายกับพวกเขา การกอดหรือการสัมผัสที่มือเบา ๆ อาจทำให้ข้อความนี้ส่งผ่านได้ สิ่งสำคัญคือต้องบอกให้เขารู้ว่าพวกเขาสำคัญสำหรับเรา
มันอาจจะดูเขินอายและดูไม่แน่ใจที่จะส่งผ่านข้อความนี้ไป เราไม่จำเป็นต้องใช้คำที่สวยหรูอะไรเลย ขอเเค่เรามีความเข้าใจและความหวังดีกับเขาจริง ๆ ก็พอ
2.ถามเขาว่าเราช่วยอะไรได้บ้างไหม
-ให้เราช่วยอะไรเธอไหม,เราช่วยเธอได้นะ
การแสดงออกไปว่าเรายินดีที่จะอยู่ข้าง ๆ คอยช่วยเหลือเขาตามที่เขาเสียใจ หรือตอนที่เขาระบาย การแสดงออกเพียงเท่านี้ก็ทำให้เขารู้สึกว่าเขาไม่ได้อยู่คนเดียว มีคนที่พร้อมจะช่วยเหลือเขา ช่วยให้เขาดีขึ้นได้แล้ว
3.บอกกับเขาว่าเรา “เข้าใจ”
บอกว่าเราเข้าใจนะแต่ถ้าเราไม่เข้าใจเขา เราก็ควรที่จะถามปลายเปิด คอยรีแอคเขาตลอด ใส่ใจในคำพูดความรู้สึกของเขา
4.บอกกับเขาว่าไม่เป็นไรถ้าจะรู้สึกแบบที่ตัวเองอยากรู้สึก
บอกพวกเขาว่าไม่เป็นไรถ้าจะรู้สึกแบบที่เป็นอยู่ ให้ตัวเองรู้สึกได้นานเกินกว่าจะรู้สึกได้เลย ไม่ต้องกดดันตัวเองว่าเราจะต้องรีบโอเค รีบหายเศร้า หรือว่าโตแล้วต้องห้ามร้องไห้นะ
5.ทำให้เขามั่นใจว่าเขาไม่ใช่อ่อนแอหรือแปลก
ทำให้พวกเขารู้สึกมั่นใจว่าพวกเขาไม่ได้อ่อนแอหรือว่าบกพร่องเลย ไม่แปลกเลย หรือไม่ผิดเลย การที่เขารู้สึกแบบที่รู้สึกเป็นอะไรที่เกิดได้ขึ้นตามธรรมชาติของมนุษย์ เราจะเสียใจ เศร้า ร้องไห้ ดิ่ง เครียด ก็ไม่เป็นไรเลย
Post Views:
65