ทำอย่างไร.. ในวันที่มีแต่ ” ความกังวล “

เรื่องAdminAlljitblog

ทำยังไงดี? ในวันที่มี ” ความกังวล ”  เพราะอะไรเราถึงไม่สบายใจ หวาดหวั่น และตึงเครียดในเหตุการณ์ที่ไม่แน่นอนที่กำลังจะเกิดขึ้น? หรือเพราะเรากำลังมีความกังวลเกินไปนะ?

 

รู้จักกับความกังวล

สารบัญ

ความกังวล คืออะไร?

จาก APA ความกังวลเป็นอารมณ์หนึ่งที่มีความเข้มข้น ประกอบไปด้วยความคิดและความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เช่น แรงดันโลหิตสูงขึ้น  ความกังวลเชื่อมโยงกับ ‘การคิดถึงอนาคต’

 

เป็นปฏิกิริยาระยะยาวต่อสิ่งที่น่าจะเป็นอันตราย แตกต่างจากความกลัวที่จะเป็นปฏิกิริยาระยะสั้น เป็นความรู้สึกรุนแรงที่เกิดขึ้น ณ ตอนนั้น เช่น มีหมาเห่า ทำท่าเหมือนจะเข้ามากัด

 

เราคงกลัวแล้วตอบสนองออกไป เช่น กลัวจนตัวแข็ง ทำอะไรไม่ถูก อย่างที่บอกไปว่า ความกังวล เป็นปฏิกิริยายะยาวต่อสิ่งที่น่าจะเป็นอันตราย ซึ่งคำว่าอันตราย มีหลากหลายแง่มุมมาก

 

ไม่ใช่แค่อันตรายอย่าง รถชน หกล้ม แต่เป็นในส่วนของเรื่องทั่วไปได้ด้วย เช่น เรื่องงาน จะสัมภาษณ์งานพรุ่งนี้แล้ว จะเป็นยังไงนะ? จะเจอกรรมการแบบไหนนะ? เขาจะโอเคกับเราไหม?

 

 

ความกังวล มีแบบไหนบ้าง? 

ความกังวลมีทั้งแบบที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ นักจิตวิทยามักแบ่งแยกออกเป็น

1. ความกังวลที่มาจาก  “ปัญหาจริง ๆ” 

คือ ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อเราในขณะนี้ ปัญหาซึ่งจำเป็นต้องมีการจัดการทันที 

2. ความกังวลที่มาจาก “ปัญหาที่คิดล่วงหน้า”

คือ สิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งอาจจะเกิดหรือไม่เกิดขึ้นในอนาคต เช่น ต้องขึ้นเครื่องบินแล้วกลัวเครื่องบินตก 

 

 

ความแตกต่างระหว่าง ความเครียด และ ความกังวล 

ความเครียดและความกังวลมีความแตกต่างอยู่ที่ช่วงเวลาของเหตุการณ์ที่ผู้ป่วยประสบ โดยความเครียดจะเป็นภาวะทางจิตใจที่ตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่ตัวเองกำลังประสบอยู่ 

 

ในขณะที่ความวิตกกังวลจะเป็นภาวะความไม่สบายใจ หวาดหวั่นและตึงเครียด เมื่อได้รับรู้หรือคาดการณ์ความเลวร้าย รวมถึงความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 

 

คุณหมอนัท อธิบายเสริมไว้ว่า  ความเครียดจะเกิดความร้อนเกิดขึ้นกับร่างกาย แต่ความกังวลจะเกิดอาการมือเท้าเย็น ช่วงท้องหวิว ๆ เย็น ๆ ปวดฉี่บ่อย เช่น กลัวไปทำงานไม่ทัน 

 

 

ลักษณะเฉพาะของ ความกังวล

1. เกิดขึ้นกับความคิดเพียงอย่างเดียว

2. คิดถึงผลลัพธ์ของสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น 

3. กลับมาคิดใหม่ในเรื่องเดิมได้ซ้ำไปมา

4. ไม่มีผลกับทางด้านร่างกายอย่างชัดเจน 

 

 

ภาวะทางจิตที่เกี่ยวข้องกับความกังวล

อย่างหนึ่งคือ ‘โรควิตกกังวล’ หรือที่เรียกว่า Anxiety disorder คนที่เป็นโรคนี้จะมีความคิดวนในเรื่องที่กังวล ทำให้พยายามหลีกเลี่ยงบางสถานการณ์ มีอาการต่าง ๆ เช่น เหงื่อออก มือสั่น เวียนศีรษะ หัวใจเต้นเร็ว

 

นอกจากนี้ ข้อมูลจาก WebMD ยังบอกไว้ด้วยว่า โรคและภาวะอื่น ๆ ทางจิตที่เกี่ยวข้อง คือ

1. Panic (แพนิค)

2. Phobic disorders (โรคกลัว)

3. Stress disorders (โรคเครียด)

4. Social anxiety disorder (โรคกลัวสังคม)

5. Illness anxiety disorder (โรควิตกกังวลกับความเจ็บป่วย) 

6. Separation anxiety disorder (โรควิตกกังวลต่อการแยกจาก) 

 

 

เหตุผลของความกังวล

เกิดได้จากหลายสาเหตุ

1. สภาวะร่างกาย

2. สภาวะจิตใจ

3. ผลกระทบจากยา สารเสพติด

4. สถานการณ์ที่สร้างความเครียดในชีวิต 

 

เมื่อพูดถึงสถาการณ์จะแบ่างปะเภทได้ 3 รูปแบบ 

1. สถานการณ์ที่คลุมเครือ : สามารถตีความได้หลากหลาย 

2. สถานการณ์ที่แปลกใหม่ : ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน

3. สถานการณ์ที่คาดเดาไม่ได้ : ไม่รู้แน่ชัดว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป 

 

 

สัญญาณเตือน ความกังวล ที่มากเกินไป

1. มีความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นมากเกินกว่าที่จะอธิบายได้ด้วยความเครียดที่มากระตุ้น

2. ความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นมีอาการรุนแรงมาก จนร่างกายแสดงอาการ เช่น ใจสั่น หายใจไม่อิ่ม คลื่นไส้อาเจียน ปวดศีรษะ รู้สึกเสียว ชา ไม่สบายตัว จุกเสียด แน่นท้อง 

3. ความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นยังคงอยู่ต่อเนื่อง แม้สิ่งกระตุ้นจะหมดไปแล้ว

4. มีความวิตกกังวลเรื่องเดิม ๆ ซ้ำ ๆ ทั้ง ๆ 

5. ความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นทำให้รบกวนกิจวัตรประจำวันและหน้าที่การงาน

 

 

ข้อดีของ ความกังวล

1. ทำให้ระมัดระวัง 

เตรียมตัวรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้รอบคอบมากขึ้น 

2. เป็นแรงกระตุ้น

เป็นแรงกระตุ้นในการทำสิ่งต่าง ๆ 

3. ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 

ทำให้สามารถแสดงสมรรถนะออกมาได้มากขึ้น 

 

 

ข้อเสียของ ความกังวล

1. จำกัดเราไม่ให้ไปถึงเป้าหมาย

ความกังวลที่เกินเหตุจะจำกัดเราไม่ให้ไปถึงเป้าหมาย เพราะเราจะมัวแต่คิดว่า ทำอย่างนี้ดีไหมนะ? หรือแบบนั้นดีนะ? 

2. ใช้ชีวิตด้วยความหวาดระแวง

ความหวาดระแวงที่มากเกินไปจะทำให้เราไม่มีความสุขในการใช้ชีวิต จะทำอะไรก็กังวลไปหมด 

 

 

รับมือกับความกังวลอย่างไร

1. ทำทุกอย่างอย่างดีที่สุด

นอกจากจะลดความกังวลได้แล้ว ยังลดความเสียดายได้ด้วย เพราะเรารู้ว่าเราทำเต็มที่แล้ว จะเป็นยังไงไม่ต้องคิดถึงตรงนั้น หันโฟกัสมาอยู่กับสิ่งตรงหน้าดีกว่า

2. ตั้งเป้าหมายเล็ก ๆ แล้วเอาชนะมัน

การตั้งเป้าหมายเล็ก ๆ จะทำให้เรามีรางวัลกระตุ้นไปตามทาง ซึ่งจะช่วยพาเราไปสู่ความสำเร็จ อย่าเพิ่งยอมแพ้ให้กับความกังวล

3. ฝึกแยกแยะว่าเป็นความกังวลจาก ‘ปัญหาจริง ๆ’ หรือ ‘ปัญหาทีคิดล่วงหน้าไปเอง’  

ความกังวลของเราเป็นแบบใด หากความกังวลโดยส่วนใหญ่เป็นการคิดล่วงหน้าไป สำคัญมากที่จะต้องเตือนตัวเอง

4. หาวิธีที่จะปล่อยวางความกังวลและมุ่งความสนใจไปที่สิ่งที่เราจัดการได้ 

บางครั้งถ้าความกังวลไม่หายไป สิ่งสำคัญคือการปล่อยวางและทำสิ่งตรงหน้าให้ดีที่สุด

5. รักษาสมดุลในชีวิต

นักจิตวิทยาหลายคนเห็นตรงกันว่าคุณภาพชวิตที่ดีนั้นมาจากการใช้ชีวิตให้สมดุล ระหว่างความพึงพอใจ ความสำเร็จ และความสัมพันธ์ 

 

 

ที่มา :

Anxiety 

7 Surprising Ways Anxiety Benefits You 

ความเครียด (Stress)

การสังเกตและรับมือกับภาวะวิตกกังวล

ความเครียด vs วิตกกังวล ต่างกันอย่างไร? 

จะแยกความกังวล เครียด ตื่นตระหนกยังไง มาทำเช็คลิสต์กัน