Childhood Trauma

ทำไมบาดแผลในวัยเด็กถึงส่งผลตอนโต Childhood Trauma

เรื่องAdminAlljitblog

คำว่า Childhood Trauma หลายๆ คนอาจจะยังไม่รู้จักหรือไม่ได้ทำความเข้าใจ แต่มันสำคัญมากๆ เลย การที่เด็กซักคนจะเติบโตมา ประสบการณ์ต่างๆ ที่เขาเจอมันจะสร้างตัวตนให้เขา

 

การที่เรารู้สึกเจ็บปวดทางจิตใจบ่อยๆ รู้สึกว่างเปล่า รู้สึกโหยหาอะไรบางอย่าง โดยที่เราไม่รู้ว่ามันคืออะไร บางคนอาจจะเป็นการเอาใจใส่ ความรู้สึกที่อยากได้รับความรัก

 

หรือแม้กระทั่งการที่เราไม่สามารถมีความสัมพันธ์ที่ยืนยาวกับใครได้ไม่ว่าจะสถานะเพื่อนหรือแฟน สิ่งที่กล่าวไปข้างต้นอาจจะสัญญาณเตือนว่าเรากำลังมีบาดแผลทางใจอยู่หรือเปล่า

อะไรคือบาดแผลทางใจในวัยเด็ก Childhood Trauma

The National Institute of Mental Health ในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า บาดแผลทางใจในวัยเด็ก

 

คือ “ประสบการณ์ที่ได้รับจากเหตุการณ์ที่สร้างความเจ็บปวด และความทุกข์ทางใจต่อเด็ก ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งทางกายและจิตใจของเด็กคนนั้น”

 

ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าว สามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ เช่น มีการใช้ความรุนแรงในครอบครัว ถูกทำร้ายร่างกาย ถูกล่วงละเมิด หรือแม้แต่การเจอเหตุการณ์รุนแรง อุบัติเหตุต่างๆ

ประสบการณ์ใดบ้างที่อาจเป็นบาดแผล?

1. การล่วงละเมิดและการละเลยทางร่างกาย ทางเพศ หรือทางจิตใจ

2. ภัยธรรมชาติและเทคโนโลยีหรือการก่อการร้าย

3. ความรุนแรงในครอบครัวหรือชุมชน

4. การสูญเสียคนที่คุณรักอย่างกะทันหันหรือรุนแรง

5. ความผิดปกติของการใช้สารเสพติด (ส่วนบุคคลหรือครอบครัว)

6. ประสบการณ์ผู้ลี้ภัยและสงคราม (รวมถึงการทรมาน)

7. อุบัติเหตุร้ายแรงหรือการเจ็บป่วยที่คุกคามชีวิต

8. แรงกดดันที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวทางการทหาร (เช่น การนำไปใช้ การสูญเสียผู้ปกครอง หรือการบาดเจ็บ)

 

ซึ่งบาดแผลที่เกิดขึ้นในวัยเด็กไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นแผลที่ใหญ่ก็ได้ แต่มันก็สามารถทำให้เรารู้สึกฝังใจได้

 

ถ้าให้เข้าใจง่ายๆ เลยคือมันเกิดจากเหตุการณ์ที่ทำให้เรารู้สึกไม่ดีมากๆ พอนึกถึงมันทีไรก็รู้สึกเจ็บปวดได้ทุกครั้งเลย

อาการจากบาดแผลทางใจในวัยเด็กที่ส่งผลต่อผู้ใหญ่

 เมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่สร้างความเจ็บปวดทางใจให้กับเรา เราจะมีวิธีหลายรูปแบบเพื่อช่วยปกป้องร่างกาย และ จิตใจของเราจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 

แสดงออกโดยการหลีกหนี

เราจะรู้สึกว่าโลกใบนี้ไม่ปลอดภัยในบางครั้ง จนอยากที่จะหลบหนี หลบซ่อนต่อสิ่งที่เรารู้สึกว่าไม่ปลอดภัยสำหรับเรา สาเหตุเหล่านี้อาจจะมาจากในวัยเด็กเราไม่ได้รับการปกป้อง หรือถูกทอดทิ้ง 

มองว่าตัวเองสมควรเป็นผู้ถูกกระทำ

คนที่เคยถูกละเมิดในวัยเด็กจำนวนมาก มีความคิดว่า พวกเขาคู่ควรกับการถูกกระทำเช่นนั้น การที่พวกเขาคิดลบ และพูดจาในเชิงลบอยู่เสมอๆ

 

ทำให้พวกเขาลืมไปว่า ที่จริงแล้วพวกเขามีทางเลือกและความสามารถที่จะนำพาชีวิตไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้ด้วยตัวของพวกเขาเอง

 

สิ่งสำคัญโดยเฉพาะผู้ใหญ่จะต้องตระหนักรู้ก็ คือ การตัดสินใจ และ การกระทำของตัวเราเองเป็นตัวกำหนดชีวิตของเรา

ดื้อเงียบ 

ความโกรธเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับมนุษย์ทุกคน แต่ถ้าเด็กคนไหนที่รู้สึกโกรธบ่อยๆ ทำให้เขารู้สึกว่า อารมณ์โกรธนี้ไม่ดีกับพวกเขา พวกเขาก็จะเรียนรู้ในการกดความโกรธของตัวเองไว้ 

ไม่เป็นตัวของตัวเอง

การพยายามเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองให้เป็นในรูปแบบที่พ่อแม่พึงพอใจ เพราะไม่อยากรับการใส่ใจที่มากพอในวัยเด็ก ทำให้เด็กคนหนึ่งสูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง 

ความรู้สึกที่ส่งผลในตอนโต

1.ความรู้สึกเชื่อใจ

บุคคลที่มีบาดแผลทางใจในวัยเด็กจะมีความรู้สึกหวาดระแวง ไม่กล้าไว้ใจคนอื่น รู้สึกว่าคนที่มามอบความรักให้มาเพื่อผลประโยชน์และสักวันจะทิ้งเราไป

2. มีปัญหาการสื่อสารกับผู้อื่น

คนที่มีบาดแผลทางใจในวัยเด็กจะมีแนวโน้มการสื่อสารที่เป็นปัญหากับผู้อื่น

แบบยอมตาม

แสดงออกตามคนอื่น ไม่สื่อสารความรู้สึกที่แท้จริงของตัวเองออกไป เลือกที่จะเก็บกดความรู้สึกตัวเองเอาไว้ไม่ยอมบอกตรงๆ และมักจะชอบพูดว่า “ขอโทษ” บ่อยๆ แม้ในเรื่องที่ตัวเองไม่ผิดก็ตาม

แบบก้าวร้าวอ้อมๆ 

มีความก้าวร้าวในรูปแบบอ้อมๆ เช่น ชอบใช้คำพูดสุภาพแต่เชือดเฉือนหรือเหน็บแนมคนฟัง

แบบก้าวร้าว 

ตรงข้ามกับการก้าวร้าวแบบอ้อม ๆ เช่น โกรธแล้วถีบประตู ทำร้ายร่างกายคนอื่น พูดจาหยาบคายตะคอกตะโกน

3. การทำให้ตัวเองกลับไปเผชิญกับบาดแผลทางใจซ้ำอีกครั้ง 

เช่น มีผู้ปกครองเป็นคนเจ้าชู้ชอบทำร้ายร่างกาย แต่พอโตไปก็เลือกที่จะมีแฟนที่นิสัยแบบผู้ปกครองเพื่อกลับเข้าไปสู่วงจรที่ทำให้เกิดบาดแผล

บาดแผลทางใจในวัยเด็กสู่โรคซึมเศร้า

จากสถิติพบว่า เด็กหญิงจำนวน 3-5% และ เด็กชายจำนวน 1-6% มีภาวะ PTSD (Post Traumatic Stress Disorder) หลังจากผ่านเหตุการณ์ที่รุนแรง 

 

เมื่อเด็กมีภาวะ PTSD เขาก็มักจะฉายภาพเหตุการณ์ความรุนแรงที่เขาประสบในหัวซ้ำๆ และมีพฤติกรรมในการพยายามหลีกเลี่ยงเหตุการณ์

 

หรือ สิ่งต่างๆ ที่จะทำให้เขานึกถึงเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น หรือ แม้แต่ จำลองเหตุการณ์นั้นออกมาในระหว่างการเล่นของเขา

 

เด็กกลุ่มนี้ จะมีความวิตกกังวล และ พยายามมองหาสัญญาณที่พวกเขาคิดว่า จะเป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ความรุนแรง

 

ที่มา :

 

https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0165032721000719

 

https://www.betteryoubypair.com/post/childhood-trauma