โรคซึมเศร้า

ยิ้มไม่ได้แปลว่ามีความสุข เฮฮาแต่อาจเป็น ‘โรคซึมเศร้า’ ความเศร้ากับโรคซึมเศร้า

เรื่องAdminAlljitblog

คนบางคนที่ยิ้ม หัวเราะ ร่าเริง เราไม่มีทางรู้เลยว่าในใจของพวกเขาคิดอะไรอยู่ ร่าเริงไม่ได้แปลว่ามีความสุข ในใจอาจจะเป็น โรคซึมเศร้า

 

เศร้ากับ โรคซึมเศร้า ต่างกันอย่างไร?

ก่อนอื่นเราอาจจะต้องทำความเข้าใจกันก่อน ก่อนจะเป็นโรคซึมเศร้า แน่นอนว่าเราต้องเศร้ามาก่อนเช่นกัน 

 

ความเศร้า (Sadness) คือ หนึ่งในอารมณ์ของคนเรา ที่มีความเครียด ความสุข และความเศร้า ขุ่นมัว ซึ่งสามารถจัดการได้ด้วยการพูด ร้องไห้ออกมา เป็นอะไรที่เรียบง่าย

 

ส่วนซึมเศร้า (Depression) จัดเป็นอาการทางจิตเวชอย่างหนึ่ง ที่เริ่มมาจากความรู้สึกเศร้า แต่เราไม่สามารถจัดการกับความรู้สึกที่เกิดขึ้นเหล่านั้นได้

 

ทำให้พัฒนากลายเป็นอาการซึมเศร้าตามมานั่นเอง และส่งผลกับชีวิตของคนเราในหลายส่วน แม้ว่า Mood & Tone ในขณะนั้นอาจจะไม่ได้เศร้า มันก็จะยังแสดงความรู้สึกเหล่านั้นออกมาเช่นกัน 

 

แน่นอนว่าโรคซึมเศร้าไม่ได้เลือกว่าใครเป็นได้ หรือว่าไม่ได้ คนร่าเริงเองก็มีโอกาสเป็นได้เช่นกัน ซึ่งหากจะพูดถึงคนร่าเริงที่เป็นซึมเศร้า

 

ก็จะนึกถึงคำๆ หนึ่งที่ว่า High Functioning Depression หรือว่าซึมเศร้าแบบศักยภาพสูงนั่นเอง 

 

ซึ่งกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้านั้น ทักษะหลายๆ อย่างในชีวิตจะลดลง อย่างการกินได้น้อยลง นอนได้น้อยลง ทักษะมนุษยสัมพันธ์เริ่มแย่ หรือว่าไม่สามารถเข้าสังคมได้ เป็นต้น

 

คนร่าเริงเป็นซึมเศร้าได้ไหม

แน่นอนว่าเป็นได้ ซึ่งก็จะโยงไปถึงข้างต้นที่ได้กล่าวมาก่อนหน้านี้ คือ High Functioning Depression หรือซึมเศร้าแบบประสิทธิภาพสูง 

 

คนที่เป็น High Functioning Depression คือคนๆ หนึ่งที่เป็นโรคซึมเศร้า แต่ว่าเศร้าอยู่ข้างใน แต่สามารถทำทุกอย่าง ทำกิจกรรมได้ปกติแต่มีความรู้สึกซึมเศร้าอยู่ภายในจิตใจ

 

สังเกตได้ เมื่อคนๆ นั้นอยู่คนเดียว หรือว่าในพื้นที่ของเขาเองจริงๆ อาการหรือว่าความรู้สึกดิ่ง และดาวน์ จะเกิดขึ้นกับตัวของเขาเองในตอนนั้นๆ 

 

ซึ่งหมายความว่า คนร่าเริงก็เป็นซึมเศร้าได้เช่นกัน และสามารถเป็นได้กับทุกเพศและทุกวัย และทุกบุคลิกภาพเช่นกัน 

 

เมื่อเกิดอารมณ์ดิ่ง เศร้า จัดการยังไงดี?

การจัดการกับอารมณ์นั้น หากว่าจัดการด้วยตัวเอง มันอาจจะเป็นสิ่งที่ยาก แต่หากเลือกเข้าพบผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เป็นอีกทางเลือกที่ดีกับตัวของผู้ป่วยเอง 

 

แม้ว่าการเข้าพบคุณหมอ หรือว่าผู้เชี่ยวชาญอาจจะไม่สามารถเข้าพบได้ทุกเวลาที่เราต้องการ แต่ในช่วงการเข้าพบ หรือว่าดำเนินการการรักษา ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้เราไม่ได้เผชิญกับปัญหาเหล่านั้นด้วยตัวคนเดียว 

 

สิ่งที่เราจะได้รับหลังจากการเข้าพบผู้เชี่ยวชาญ คือ ยารักษา และตัวของผู้เชี่ยวชาญเอง ที่เข้ามาให้คำปรึกษากับตัวผู้ป่วย ให้มีแนวทางการจัดการกับอารมณ์ที่ดีขึ้นเช่นกัน 

 

นอกจากจุดนั้นแล้ว ยังมีเรื่องของการจัดการกับความคิด ความรู้สึกของตัวเองด้วยเหมือนกัน แต่หากว่าในระหว่างทางการรักษา มีอาการดาวน์ หรือว่าความรู้สึกดิ่ง

 

สิ่งสำคัญก็คือตัวของผู้คนรอบข้าง หรือว่าสภาพแวดล้อมรอบตัวของผู้ป่วยเอง ว่ามีทางพูดคุยกับผู้ป่วยอย่างไรบ้าง เพื่อดึงผู้ป่วยออกมาจากความรู้สึกนั้น 

 

หากว่าตัวผู้ป่วยไม่ได้พบผู้เชี่ยวชาญแต่ยังพอรับรู้ได้ว่าตัวเองรู้สึกอย่างไร หรือว่าอะไรเข้ามาทำให้เรารู้สึกไม่ดี ก็เป็นอีกจุดที่ทำให้ตัวของเขา สามารถจัดการกับความรู้สึกที่เกิดขึ้นได้ในเบื้องต้นเช่นกัน

 

แต่สำหรับบางคน ก็อาจเลือกที่จะทำร้ายตัวเอง เพื่อระบายความรู้สึกเหล่านั้นออกมาผ่านความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นเช่นกัน

 

ซึ่งแน่นอนว่าการทำร้ายตัวเองไม่ได้เป็นสิ่งที่ดีเช่นกัน หากว่าเราเลือกระบายความรู้สึกของตัวเอง ผ่านวิธีอื่นแทนการทำร้ายตัวเองเพื่อระบายอารมณ์ของเราเองแบบนั้นก็อาจจะเป็นอีกสิ่งที่ดีตัวเลือกที่ดีสำหรับตัวผู้ป่วย

 

สิ่งสำคัญที่สุด คือการเข้าใจว่าการที่เราดาวน์ หรือว่าเกิดความรู้สึกดิ่งนั้น มันคืออะไร และพยายามเอาตัวเองออกมาจากจุดนั้นกันก่อน

 

พยายามไม่ปล่อยให้ตัวเองอยู่จุดนั้น หรือว่าจมดิ่งกับความรู้สึกที่เกิดขึ้นนานเกินไป

 

หลีกเลี่ยงการเป็นโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้าเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสภาพแวดล้อม ปัจจัยทางครอบครัวว่าคนในครอบครัวของเราเคยมีใครเป็นมาก่อนหรือเปล่า 

 

แต่โดยรวมสิ่งสำคัญคือการใช้ชีวิตของเราเอง ทำอย่างไรให้การใช้ชีวิตของตัวเราเองมีความสุข มีชีวิตแบบที่เราต้องการให้เป็น

 

มีคุณภาพชีวิตที่ดีสร้างสมดุลให้กับชีวิตของตัวเองได้ ทุกข์ได้ แต่อย่าทุกข์มากเกินไป อย่าจมอยู่กับความทุกข์ที่เกิดขึ้นนานเกินไปด้วยเช่นกัน 

 

และเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตอย่างมีข้อจำกัดด้วยเช่นกัน คาดหวังได้ แต่ก็ต้องไม่คาดหวังกับสิ่งต่าง ๆ จนเกินไป ทำปัจจุบันของเราเองให้มีความสุข อะไรที่ดีสำหรับตัวเองและทำเพื่อตัวเองกันก่อนด้วยเหมือนกัน  

 

Introvert เสี่ยงเป็นซึมเศร้ามากกว่า Extrovert ไหม

Introvert คือ คนที่ชอบเก็บเนื้อเก็บตัว ใช้เวลาคิด อยู่กับตัวเอง ชอบใช้เวลาร่วมกับเพื่อนสนิทกลุ่มเล็กๆ มากกว่าใช้เวลากับคนจำนวนมาก และชอบอยู่กับตัวเองเพื่อพักผ่อน ชาร์จพลังให้กับตัวเอง ซึ่งจะต่างจาก 

 

Extrovert คือ คนที่ชอบอยู่กับคนกลุ่มใหญ่ๆ ไม่ชอบอยู่คนเดียว ชอบเข้าสังคม เวลาพักผ่อนชอบอยู่กับคนอื่นเพื่อชาร์จพลังให้กับตัวเอง เป็นคนง่ายๆ ช่างพูดช่างคุย ชอบเป็นจุดสนใจของคนอื่น

 

จริง ๆ แล้วทุกคนมี 2 สิ่งนี้อยู่ในตัวของเราเองเสมอ เพียงแต่ว่าเรามีสองอย่างนี้ในช่วงไหนและเอามันออกมาใช้ในตอนไหนมากกว่ากันเท่านั้นเอง 

 

2 สิ่งนี้ไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกว่าอะไรที่เสี่ยงมากกว่ากัน แต่เป็นเรื่องความเจ็บปวดทางจิตใจในอดีต หรือว่าสภาพแดล้อมที่เราอยู่ด้วยเหมือนกัน 

 

รับมือกับคนเป็น โรคซึมเศร้า ที่คิดทำร้ายตัวเองอย่างไร

สิ่งที่เราทำได้ คือการรับฟังให้เป็น ตั้งใจฟัง เหมือนกับการขออนุญาตรับฟังจากเรื่องที่เขาคนนั้นเผชิญ เพราะสำหรับบางคนจริงๆ แล้วเขาอาจจะไม่ได้อยากตาย

 

แต่เพียงแค่อยากออกมาจากความรู้สึกนั้น แต่ว่าเขาทำไม่ได้ ซึ่งการเปิดใจรับฟังเขาอย่างตั้งใจคืออีกสิ่งที่เราทำได้ช่วยได้เช่นกัน 

 

การรับฟังความรู้สึกความคิดของผู้ป่วย อาจจะเป็นเพียงการช่วยผ่อนคลายอารมณ์ ความรู้สึกของผู้ป่วยเท่านั้น

 

แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการรู้ว่าอะไรคือสาเหตุให้เกิดความรู้สึกเหล่านั้นขึ้นมา และแก้ไขที่ต้นเหตุจึงจะเป็นทางแก้ไขที่ยั่งยืนที่สุด