ความทุกข์ ที่อยู่ในใจบอกใครไม่ได้ พูดคุยกับนักจิตวิทยา

เรื่องAdminAlljitblog

อยู่ภายในใจเป็นหมื่นล้านคำ แต่บอกใครไม่ได้เลย พอเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสุขเรามักจะบอกออกไปได้ง่ายกว่า ” ความทุกข์ ” เสมอ แต่การเก็บงำไปคนเดียวก็ทำให้เราอึดอัดเหมือนจะระเบิดทุกที

 

ความทุกข์ใจที่บอกใครไม่ได้

ความทุกข์ คืออะไร?

ถ้าเทียบกับความสุข สำคัญคือการใช้เซนส์ว่านี่คือความทุกข์ บางทีอาจจะไม่ได้มีหลักมีเกณฑ์ แต่ถ้าแบ่งไปอีกจะมี 2 อย่าง คือ ทุกข์ทางกายและทางใจ ปวดหลังก็ทุกข์ทางกาย ปวดใจก็ทุกข์ทางใจ

 

บางทีเรานึกถึงช่วงเวลาหนึ่งที่ความรู้ หนังสือ โซเชียลมีเดีย เข้ามามีอิทธิพล เราจะเสิร์ชหาข้อมูล แต่ต่อให้เขาพูดไว้อย่างไร แต่ถ้าไม่ตรงกับสิ่งที่เรารู้สึกคงไม่อิน เลยคิดว่าใช้เซนส์ตัวเองเป็นหลักก่อน

 

 

สาเหตุของ ความทุกข์ มีอะไรบ้าง?

ทุกข์ทางกายกับทุกข์ทางกาย ถ้าเอาให้เชื่อมโยงกันได้ง่ายที่สุดคือ ประสบการณ์ความเจ็บปวดทางอารมณ์กับประสบการณ์ความเจ็บปวดทางกาย ทางกายจะตายตัว เช่น ป่วย เป็นแผล แต่ทางใจจะเป็น

 

สิ่งที่กระทบอารมณ์ หนักเบาขึ้นอยู่กับแต่ละคน แต่บางทีความเจ็บปวดทางกายจะมาพร้อมกับความเจ็บปวดทางใจ เช่น ป่วยเป็นมะเร็ง ใช้ชีวิตอยู่ดี ๆ ไปตรวจพบว่าระยะที่ 3 แล้ว หรือบางทีเราไปผ่าตัดมา

 

แผลผ่าตัดว่าเจ็บหนักแล้ว แต่สภาพจิตใจที่เชื่อมโยงกับร่างกาย ณ เวลานั้นเลยมีผลด้วย บางทีเราอาจจะทุกข์โดยไม่รู้ตัวได้ ถ้าเราไม่เคยฟังเสียงของใจเลยว่าเราทุกข์หรือเปล่า เรามัวแต่จดจ่อกับปัญหา

 

 

ความทุกข์ สะสมไปเรื่อย ๆ ส่งผลกระทบยังไงบ้าง?

ส่งผลต่อหลายอย่าง อาจจะเป็นภาวะที่เจ็บปวดทางใจเรื้อรัง มีผลต่อชีวิตประจำวัน กินไม่ได้ นอนไม่หลับ เครียดลงกระเพาะ อาเจียน หรือป่วยเป็นโรคจิตเวชอื่น ๆ ตามมา

 

ถ้าเราปล่อยให้เกิดขึ้นโดยที่เรา ปล่อยให้เกิดขึ้นโดยที่เราอยู่กับมัน เข้าใจมัน ยอมรับมัน ผลดีจะมากกว่าผลเสีย ความทุกข์จะมีพื้นที่ ไม่อ้างว้าง และมีลิมิตที่จะส่งผลกับชีวิตเรา

 

ถ้าเราปล่อย มันจะไปเรื่อย มันจะเดินทางแบบฟรีสไตล์ แต่ถ้าเรายอมรับมัน เข้าใจมัน มันจะมีขอบเขต และให้ประโยชน์บางอย่างด้วย ถึงแม้ว่าในช่วงเวลานั้นเราจะเจ็บปวดก็ตาม

 

 

จมอยู่กับ ความทุกข์ จำเป็นไหมที่จะต้องรีบหายไวๆ?

คิดว่าอยู่ขึ้นอยู่กับแต่ละคน ว่าอยากหายช้าหายเร็ว ความทุกข์ก็ความทุกข์ของเรา ชีวิตก็ชีวิตเรา เรามีสิทธิ์เลือก มีสิทธิ์ออกแบบชีวิตตัวเอง และต้องดูด้วยว่า สาเหตุคืออะไร

 

สิ่งสำคัญคือในช่วงเวลาที่คุณทุกข์ คุณใช้ชีวิตได้ปกติดีหรือเปล่า คุณยังมีความสุขในช่วงเวลาที่คุณสมควรมีความสุขได้หรือเปล่า คุณยังรักษาความสัมพันธ์ได้ไหม ออกไป

 

ทำงานได้ไหม ถ้าทำได้คิดว่าไม่มีปัญหาอะไร บางทีเราอาจจะมองว่าความทุกข์ต้องจัดการไปให้เร็ว แต่จากประสบการณ์ที่ทำงานตรงนี้มา อย่างเคสที่อกหักแล้วมูฟออนไม่ได้

 

ช่วงสามเดือนแรก แค่ทุกข์น้อยลง นอนหลับได้ ไม่ร้องไห้ กินข้าวได้ จากวันแรกที่ร้องไห้เกือบทั้งวัน กินข้าวไม่ได้ ทำงานไม่ได้ ถึงแม้จะผ่านวิกฤตตรงนี้มา บางคนอาจจะใช้

 

เวลาเป็นปีที่จะเอาต้นตอความทุกข์หรือต้นตอความเจ็บปวดจริง ๆ ในใจออกไปได้ มูฟออนได้จริง ๆ เพราะงั้นระยะเวลาคงจะแตกต่างกัน หรือบางคนไม่ได้อยากจะมูฟออน

 

แค่อยากกลับมาใช้ชีวิตได้ ยังอยากรักคนในความทรงจำอยู่ ก็จะเป็นกลุ่มคนที่สูญเสียคนรักด้วยการจากลา การตาย แล้วเขาเลยรู้สึกว่าไม่ได้อยากมีใคร ยังรักและคิดถึงคนเดิม

 

ถ้าเขาทำได้แล้วเขารู้สึกไม่ทุกข์ก็คือทำได้ แม้เราจะมีเกณฑ์ว่านี่คือความทุกข์ ถ้าเขายังใช้ชีวิตได้มันก็คือโอเค

 

 

เปลี่ยน ความทุกข์ ให้กลายเป็นบวก ถือว่าโลกสวยไหม?

ถ้ามองกลาง ๆ คิดว่าอยู่ที่ผลลัพธ์ ถ้าทำออกมาแล้วดี คงไม่สามารถไปค้านเขาได้ว่ามันไม่ได้ ถ้าทำออกมาแล้วแย่ก็ไม่สามารถจะเถียงได้ว่าดีเช่นกัน กระบวนการและวิธีการนำไปสู่ผลลัพธ์

 

บางครั้งกระบวนการที่ดีอาจจะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่แย่ได้ แต่พอมนุษย์เราเป็นสิ่งมีชีวิตที่ยากต่อการคำนวณ มันมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เข้ามาเยอะแยะไปหมด บางทีเราใช้วิธีการที่ผิด แต่ให้ผลลัพธ์

 

ที่ดีก็ได้ อาจจะไม่ได้ดีที่วิธีการ แต่ดีเพราะสภาพแวดล้อมและปัจจัยใหม่ ๆ ที่เข้ามา แต่ขอเตือนว่า ผลลัพธ์ที่ดีหรือไม่ดี ไม่ได้จบแค่ในวันนี้ เพราะชีวิตไม่ได้จบแค่ตรงนี้ คุณยังไปต่อได้

 

ใช้คำว่าเป็นข้อควรระวังว่าให้สำรวจตัวเองอยู่บ่อย ๆ เพราะหลายคนมีปัญหาแล้วทำให้ทุกอย่างดีขึ้น แต่พอถึงวันนึงมันไม่ได้ ปัญหาจริง ๆ ไม่เคยถูกแก้ไข หรือมีอะไรบางอย่างที่เป็นตะกอน

 

โดยที่ไม่ได้โดนกลั่น แล้วมาส่งผลกระทบต่ออนาคต แต่ถามว่าทำได้ไหม ทำได้ เพราะคนที่ทำแล้วไม่มีตะกอนตกก็คงมีเหมือนกัน แต่บางคนต้องเร่งรีบให้ได้มากที่สุด เช่น ต้องทำงานเป็น

 

นักจิตวิทยา นั่งทำงานอยู่แล้วเรารู้ข่าวว่าบ้านเราไฟไหม้ แล้วพ่อแม่เสียชีวิต แต่เรามีงานที่อยู่ข้างหน้า เราเลยต้องมี process อะไรที่เฉียบพลันมาก ๆ ในการเบรกตัวเองแล้วทำงานต่อ

หรือถ้าไม่ไหวจริง ๆ เราคงต้องส่งงาน ส่งคนไข้ ให้คนอื่นทำ แต่ถ้าเราจะส่งเป็นเดือนก็คงไม่ได้ เลยเชื่อว่ามันจะต้องมีช่วงเวลาหรือเงื่อนไขบางอย่างที่มันไม่สามารถช้าได้เหมือนกัน การที่

 

ใครบางคนเร่งก็ไม่ผิด แต่คุณต้องรู้ด้วยว่าคุณเร่ง เร่งเพราะอะไร มีเหตุผลอะไรให้เร่ง ต้องรู้ว่าอะไรที่รุนแรงเกินไป เราต้องรีบจัดการให้เร็วที่สุด ยกมันไว้ข้างหลังให้ได้ในช่วงเวลาทำงาน

 

ที่สำคัญคือคุณต้องเข้าใจตัวเองและภาวะของตัวเองมากน้อยแค่ไหน ว่าเพราะอะไรถึงต้องรีบต้องช้า เพราะถ้าไม่เข้าใจคุณจะไม่รู้จังหวะของชีวิตตัวเอง แต่ถ้าเมื่อใดก็ตามที่เข้าใจแล้ว

 

คุณจะจับจังหวะของชีวิตตัวเองได้ บางทีมันไม่ได้ช้าตลอด ไม่ได้เร็วตลอด จังหวะไม่ตายตัว อย่างเราเต้นรำ ก็ต้องเต้นรำให้เหมาะกับจังหวะของเพลง ถ้าเพลงเปลี่ยนไปก็ต้องเปลี่ยนจังหวะ

 

 

ความทุกข์ ที่บอกใครไม่ได้ รับมือยังไงดี?

การบอกไม่ได้ มี 2 เหตุผล หนึ่งคือรู้สึก incomfortable หรือ insecure ที่จะบอก บอกไปแล้วไม่ปลอดภัยแน่ ๆ กับสองคือมีเงื่อนไขที่ทำให้บอกไม่ได้ มีพันธะทางใจที่บอกไม่ได้

 

เรียกว่าความลับแล้วกัน มี 2 รูปแบบ คือ ความลับที่รอการเปิดเผยและความลับที่ต้องการปิดบังไปตลอด อย่างเวลาเป็นนักจิตวิทยาพูดคุยกับเคส เคสจะมี 2 แบบ คือ ตอนอยู่กับ

 

คนรอบข้างคือความลับที่ต้องปิดไว้ เรื่องจริงที่ไม่สามารถบอกใครได้ แต่พอมาอยู่กับนักจิตวิทยาคือความลับที่วิงวอนและต้องการจะเปิดเผยให้ใครสักคนรู้ และมีเช่นเดียวกันที่

 

คนไม่สบายใจว่าบอกไปแล้ว ยับแน่นอน เพราะงั้นก่อนจะไปต่อ เราลองสำรวจตัวเองก่อนว่า ความทุกข์ที่บอกใครไม่ได้เป็นเพราะเรารู้สึกว่าบอกแล้วไม่ปลอดภัย ได้ไม่คุ้มเสีย

 

หรือเป็นตัวเราเองที่รู้สึกว่าเรามีเงื่อนไขบางอย่างที่ทำให้บอกไม่ได้ เช่น ป่วยเป็นมะเร็ง ป่วยเป็นเอดส์ หรืออย่างตามละครที่คู่รัก จู่ ๆ บอกเลิกแล้วเฉลยว่าป่วยเป็นโรคที่ไม่หาย

 

เลยมีเหตุผลว่าเดี๋ยวเขาเสียใจ ไม่อยากให้เจอคนรักที่ป่วยแบบนี้ ไม่อยากให้เสียเวลา ไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ดีกว่า นี่คือพันธะทางใจที่เขารู้สึกว่าคือความทุกข์ซึ่งบอกใครไม่ได้

 

ส่วนอีกอันหนึ่งคือความรู้สึกที่ว่าไม่สบายใจ ต้องเช็คด้วยว่าคุณเป็นคนที่ไม่ไว้วางใจคนอื่นมากเกินไปหรือเปล่า ที่ผ่านมาคุณอาจจะเคยเจอคนหักหลัง ทำให้เชื่อใจใครไม่ได้

 

โอเค ไม่เป็นไร แต่ต้องตอบตัวเองให้ได้ว่าไม่พูดเพราไว้วางใจคนยากอยู่หรือเปล่า หรือคนรอบข้างไม่มีใครที่น่าเชื่อใจเลย อย่างน้อยต้องเลือกข้อใดข้อหนึ่งให้ได้ก่อน เราถึง

 

จะได้รู้ว่าความ insecure และ uncomfortable เกิดจากใจเราหรือจากสิ่งแวดล้อมรอบนอก เราถึงไม่กล้าที่จะบอกใคร พอเราเจอคำตอบตรงนี้ จะไปปลดล็อกข้อหนึ่งเลยคือ

 

ความรู้สึกที่ว่าไม่มีใครรับฟังเรา เพราะถ้าเราจมอยู่กับความรู้สึกนี้ เราจะมองแค่ว่า ‘เรามีความทุกข์ ไม่เห็นมีใครฟังเลย เล่าให้ใครฟังไม่ได้เลย’ นี่เลยจะเป็นความทุกข์ข้อหนึ่ง

 

แต่ถ้าเราค่อย ๆ reflect ตัวเอง จนเราเข้าใจว่า อ๋อ นี่ไง เราเจอเรื่องแย่ ๆ เราเลยจะเข้าใจว่าเราไม่พร้อมที่จะเล่าให้ใครฟัง ซึ่งจะช่วยให้เบาลงเปลาะหนึ่ง ถ้าเรารู้ว่าเราไม่ได้

 

ไม่อยากเล่า เราไม่ได้ต้องการให้ใครเข้าใจ แต่คนรอบข้างไม่สามารถไว้ใจได้ ความทุกข์นี้จะปลดล็อกและเบาลงส่วนหนึ่งเหมือนกัน ทีนี้จะไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่า ฉันอยากบอก

 

บอกไม่ได้ แต่เราจะรู้แล้วว่า อ๋อ นี่เราไม่ไว้ใจ รอบข้างไม่น่าไว้ใจ หรือทั้งสองอย่างเลย นี่จะช่วยให้เราควบคุมตัวเองได้ประมาณหนึ่ง ทำให้มีสติมากขึ้น ถ้าทำแบบนี้ได้เรื่อย ๆ

 

สติจะช่วยให้เรารู้ว่า คนในความสัมพันธ์คนไหนที่ไว้ใจได้บ้าง แต่ไม่มีทางหรอกที่จะไว้ใจได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ต้องค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป อันนี้เป็นวิธีการ work กับตัวเองหรือ

 

ถ้าใครอยากขึ้นทางด่วนก็พบนักจิตวิทยา ต่อให้พ่วงความรู้สึกนั้นไป นักจิตวิทยาจะมีวิธีการที่ทำให้คุณรู้สึกว่าได้รับการสนับสนุน สบายใจ สร้างความสัมพันธ์และความไว้ใจ

 

 

ทริคดี ๆ ไว้ใช้ก้าวผ่านช่วงเวลาหนัก ๆ 

สิ่งสำคัญคือ ‘อย่าหลอกตัวเอง’ เลือกคนที่ไว้ใจ รุ่นพี่ เพื่อน ครอบครัว มันก็ดีที่มีคนโอบอุ้ม แต่เราก็ต้องรับผิดชอบชีวิตตัวเอง เราสามารถดีขึ้นได้จากการเดิน แล้วบอกตัวเองว่า

 

‘ไม่เป็นไร เรื่องแค่นี้เอง’ แต่พอเป็นนักจิตวิทยา เราจะรู้ว่านี่อาจเป็นการหลอกตัวเอง แผลจะอยู่ข้างในแล้วระเบิดในสักวันหนึ่ง เราเลยเลือกที่จะยอมรับว่าเราต้องเผชิญหน้ากับ

 

ความเจ็บปวดอย่างตรงไปตรงมา แล้วทุกครั้งที่ความเจ็บปวดขึ้นมา สิ่งที่จะเตือนสติตัวเองได้คือความจริงเกี่ยวกับความทุกข์และความเจ็บปวดของเราคืออะไร อย่าหลอกตัวเอง

 

อย่าไปเปลี่ยนแปลง อย่าพยายามบรรเทา โดยการใส่หน้ากากให้กับความทุกข์ ความทุกข์จะบรรเทาลงได้เมื่อเราเข้าใจและยอมรับมัน นี่คือทริคสำคัญมากเลย แล้วพอเรายอมรับ

 

มันได้แล้วอยู่กับความจริงได้ วันแรกเราอาจจะควบคุมมันไม่ได้ทั้งหมด แต่เมื่อเวลาผ่านไปนานพอ แม้ความทุกข์จะยังหายไม่หมด มันจะค่อย ๆ เบา แล้วมันก็จะอยู่ในระดับที่เรา

 

สามารถควบคุมได้ แล้วให้ความทุกข์นั้นไปอยู่ข้าง ๆ ก่อน ตอนที่เราทำงานเราเลยอาจจะยังทำงานได้อย่างฟูลฟังก์ชันได้เหมือนเดิม แต่พอทำงานเสร็จ ครบวัน เราปิดสวิตช์

 

พอเราไปนอน มันก็เริ่มกลับมาทักทายเราเหมือนเดิม แต่มันก็ดีกว่าตอนแรกที่มันดูเหมือนไม่เป็นเพื่อน ทำร้ายเรา ครอบงำเรา ทำให้เราเจ็บปวด เพราะความทุกข์มันใหญ่และรุนแรง

 

ใช้คำว่ารู้สึกดีและบรรเทาได้ แต่ไม่ได้แก้ทุก ๆ ปัญหาที่เกิดขึ้น

 

 

เป็นไปไม่ได้ที่จะไม่ทุกข์ เราอาจจะเจอเรื่องร้าย ๆ มันก็คงเป็นเรื่องจริง แต่ลองวางไว้ในที่ของมันดูนะ 🙂