Blue Monday วันจันทร์ทีไร ไม่สบายใจทุกที… ไม่ว่าจะวัยเรียน วัยทำงาน ต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่ชอบวันจันทร์ เป็นปกติไหมที่เราจะรู้สึกแบบนี้ ? และความรู้สึกแบบนี้จะสะสมกลายเป็นภาวะอื่น ๆ ได้ไหม ?
Blue Monday
Blue Monday ถูกขนานนามว่าจะเป็นวันที่คนเราจะเศร้าที่สุดของปี ในหนึ่งปีจะมีเพียง 1 วันเท่านั้น โดยเขาระบุว่ามันคือจันทร์ที่ 3 ของเดือนมกราคมเท่านั้น โดยคำคำนี้ถูกเขียนขึ้นครั้งแรกในบทความของ
บริษัทท่องเที่ยวที่ใช้ชื่อว่า Sky Travel เมื่อปี 2005 ซึ่งทีมการตลาดของบริษัท Sky Travel ได้ร่วมประชุมกับนักจิตวิทยา และไลฟ์โค้ชชาวอังกฤษที่ชื่อว่า Dr.Cliff Arnall จากมหาวิทยาลัย Cardiff University
คำว่า “Blue Monday” และพยายามสร้างกระแสของสิ่งนี้นั้นก็เป็นเพราะความเชื่อที่ว่า ยิ่งผู้คนรู้สึกเศร้า และห่อเหี่ยวมากเท่าไร พวกเขาก็มีความรู้สึกอยากจะจองตั๋วไปเที่ยวมากเท่านั้น
แต่สุดท้ายกระแสของ Blue Monday ก็ถูกเปิดเผยโดยนักจิตวิทยา Dean Burnett ซึ่งออกมาต่อต้านกระแส Blue Monday และระบุว่าทฤษฎี Blue Monday นี้เป็นวิทยาศาสตร์เทียม
เว็ปไซต์ CNN Health ก็กล่าวว่าเป็นวิทยาศาสตร์เทียมเช่นกัน และยังเป็นการด้อยค่าอาการของคนเป็นโรคซึมเศร้าด้วยซึ่งอาจจะส่งผลเสียต่อผู้ป่วยที่เผชิญภาวะซึมเศร้าจริง ๆ
แต่ปัจจุบันเราก็ยังคงใช้อยู่ โดยไม่ได้มีความหมายเหมือนเดิมตั้งแต่คำนี้เริ่มต้นขึ้น โดยจะเปรียบเปรย Monday Blues คือ ความรู้สึกเบื่อหน่าย ไม่อยากตื่นมาทำงานเมื่อวันจันทร์มาถึง
เพียงแค่นึกถึงวันจันทร์ก็จะรู้สึกเศร้า เหนื่อยล้า ไม่อยากไปทำงาน เพราะปัญหาหลายอย่างทั้งปัญหาเรื่องการทำงาน เรื่องเพื่อนร่วมงาน เรื่องการใช้ชีวิตหรือปัญหาอื่น ๆ
Sunday scaries
Sunday Scaries มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า Sunday Blues, Sunday Syndrome หรือ Sunday Night Syndrome เป็นที่รู้จักกันในชื่อความวิตกกังวล ความกลัว หรือความกังวลที่รู้สึกก่อนเริ่มสัปดาห์ใหม่”
Divya Robin, MHC, นักจิตอายุรเวทในนครนิวยอร์กเชี่ยวชาญเรื่องความวิตกกังวล อธิบายว่า”ไม่ใช่การวินิจฉัยความวิตกกังวลทางคลินิก แต่กำหนดประสบการณ์ที่หลายคนเผชิญเมื่อวิตกกังวลเกี่ยวกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น”
ความรู้สึกไม่สบายใจมักจะปรากฏขึ้นเมื่อใกล้ถึงวันทำงานหรือสัปดาห์เรียน อาจเป็นครั้งคราวหรือต่อเนื่อง และก็จะะมีบางอาการที่คล้าย ๆ กันหรือเกี่ยวข้องกัน และเป็นที่ยอมรับทางการแพทย์
คือ Post-Vacation Blues ซึมเศร้าหลังไปเที่ยว หรือวันหยุดยาว และ Seasonal Affective Disorder (SAD) หรือ ภาวะซึมเศร้าจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล
ความรู้สึกหลงรักวันหยุดของชาวออฟฟิศ
แน่นอนว่าเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นในวัยออฟฟิศอย่างเรา ๆ ที่ส่วนมากทำงานทุกวัน 5-6 วันต่อสัปดาห์ มันดูเหนื่อยล้า สะสม ทำให้เราเกิดความหลงรักวันเสาร์- อาทิตย์ เพราะมันคือวันหยุดที่เราจะได้พักผ่อน
แต่การที่เราทำงาน 5-6 วัน แค่ 2 วันมันคงไม่พอจริง ๆ ที่จะเยียวยาหัวใจ หรือฮีลใจชาวออฟฟิศได้ ซึ่งช่วงที่ผ่านมามายจะเห็นการทดลองทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ หรือการที่ให้พนักงานได้ทำงาน 5 วันซึ่ง
เป็นการทำแบบ hybrid คือ การทำงานโดยการแบ่งการทำงาน ที่ออฟฟิศ และมีการ work form home ด้วย ก็สามารถทำให้เยียวยาจิตใจได้เหมือนกัน
การทดลองการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ได้มีการทดลองทำกับบริษัท panasonic ในประเทศญี่ปุ่นบอกไว้ว่า การที่เอาแนวคิดทำงาน 4/7 หวังว่าจะช่วยสร้างสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานให้กับพนักงาน
“ความรับผิดชอบของเราคือการสร้างสมดุลในอุดมคติระหว่างรูปแบบการทำงานและวิถีชีวิตสำหรับทรัพยากรมนุษย์ที่หลากหลายของเรา เราต้องสนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานของเรา” Panasonic กล่าว
Panasonic หวังว่า วันหยุดที่เพิ่มขึ้นจะเปิดโอกาสให้พนักงานสามารถนำไปทำประโยชน์ส่วนตัวมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นงานอาสาสมัครหรืองานเสริม
ความรู้สึกของชาวออฟฟิศที่บ่งบอกว่าเราควรหันมาใส่ใจสุขภาพใจแล้ว
– ไม่มีความสุขในการทำงาน รู้สึกเบื่อหน่ายทุกครั้งเมื่อถึงวันจันทร์
– ขาดความกระตือรือร้นในการทำงาน จนนำไปสู่ความผิดพลาดในการทำงานแต่ละชิ้น
– เริ่มรู้สึกไม่อยากมีความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน หัวหน้า หรือลูกค้า จนไม่มีสังคมในที่ทำงาน
– ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ขาดความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานแต่ละชิ้น เพราะจิตใจไม่อยู่กับการทำงาน
– เฝ้ารอแต่วันหยุดหรือเวลาเลิกงาน มองนาฬิกาทั้งวัน
– จิตใจเปราะบางขึ้น มีความรู้สึกอ่อนไหวง่ายกว่าปกติ ร้องไห้คนเดียวบ่อย
– หงุดหงิดง่ายขึ้น อารมณ์แปรปรวนตลอดเวลา
– รู้สึกหมดไฟในการทำงาน ซึ่งถือเป็นต้นเหตุสำคัญของการลาออก
ทำไมต้องเป็นสี blue เป็นสีอื่นไม่ได้หรือ
ทำไมเวลาเศร้าเราถึงจะใช้สีน้ำเงิน หรือ คำว่า feeling blue ข้อมูลจาก verywellmind ได้บอกถึงจิตวิทยาของสีน้ำเงินไว้ว่า Individual experiences have an important effect on the moods that colors can create
ประสบการณ์ส่วนบุคคลมีผลต่อสีต่าง ๆ อย่างถ้าสมมติถ้าเราเชื่อมโยงสีน้ำเงินกับเพื่อนที่มีพลังงานล้น ๆ สีน้ำเงินในมุมมองของเราอาจเปลี่ยนไป ซึ่งที่มาของสีน้ำเงินกับความเศร้ามีหลายอย่างมาก
แต่ว่ามันเป็นเรื่องธรรมชาติที่เราจะเห็นแล้วรู้สึก ว่า มันหม่น มันเศร้า แสดงถึงความห่างเหิน และเขาก็ยกตัวอย่างว่า สีน้ำเงินเป็นสีของยาพิษ
อันตรายต่อสุขภาพหรือไม่ ?
ถึงแม้มันจะเป็นแค่เรื่องเล็ก ๆ แค่ไม่อยากไปทำงาน หรือไปเรียนวันจันทร์ แต่ในความไม่อยากของเรามันมีอะไรซ่อนอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นความเครียดสะสม ความวิตกกังวล ความเหนื่อยล้า
ผลกระทบในด้านจิตใจเหล่านี้ก็ส่งผลต่อระดับการหลั่งฮอร์โมนของ ทำให้ ฮอร์โมนคอร์ติซอล (ฮอร์โมนความเครียด) หลั่งออกมาเยอะและอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ เช่น อาการนอนไม่หลับ หลับยากกว่าปกติ,
มีอาการปวดเมื่อยตามตัว, ปวดหัวบ่อยขึ้น ซึ่งในระยะยาวอาการเหล่านี้อาจนำมาซึ่งผลข้างเคียงร้ายแรงที่เกี่ยวกับร่างกายและจิตใจ อย่างที่เราได้ยินบ่อย ๆ ก็จะเป็นซึมเศร้า หมดไฟ หรือว่าภาวะสิ้นยินดี
เอาชนะ Monday Blue ได้อย่างไร
1. Identify the problem
เขาบอกว่า “The first thing to do is to ask yourself what’s wrong” เราต้องถามตัวเราก่อนว่าทำไมเราไม่ชอบวันจันทร์ เพราะอะไร จับจุดสาเหตุให้เจอ เช่น บางคนไม่ชอบเพราะหัวหน้า
ไม่ชอบเพราะไม่อยากไปเจอเพื่อนร่วมงาน เพราะว่าถ้าเราหาสาเหตุเจอแล้วเราจะได้รู้ว่า สิ่งที่มันเกิดขึ้นกับเรามันพอจะแก้ได้ไหม แล้วถ้าแก้ได้อะคือวิธีไหนดี ถ้ามันสะสมมาก ๆ เราอาจต้องเปลี่ยนงานใหม่หรือเปล่า
2. Dress for success
ลองสวมชุดที่เรามั่นใจ ชุดใหม่ ในวันจันทร์ดู แบบว่าสมมติเราไม่ชอบวันจันทร์ แต่เราได้ลองมีไอเทมอะไรใหม่ ๆ อาจช่วยเพิ่มความมั่นใจ และความสนุกสนานให้วันจันทร์ได้
3.Make someone else happy
ชมเชยเพื่อนร่วมงานหรือคนแปลกหน้าคนอื่นระหว่างทาง การที่เราทำอะไรดีๆให้คนอื่นแน่นอนว่ามันจะส่งผลกับตัวเรา
4. เคลียร์งานที่ค้างให้เสร็จภายอาทิตย์ที่แล้ว
เรื่องนี้เป็นเรื่องของการจัดการงาน และจัดสรรค์เวลาที่ดีในการทำงาน ซึ่งบางคนอาจจะงานเยอะงานน้อยต่างกัน การหาวิธี หรือเครื่องมือที่ จะช่วยจัดการงานให้เป็นระบบ ระเบียบจะทำให้เราทำงานได้สะดวกขึ้น
หากเราไม่มีงานค้าง การจะมาเริ่มต้นสัปดาห์แบบงานน้อย ๆ ก็จะช่วยสร้างความโล่งใจให้เราได้ และที่สำคัญก็อย่าอัดงานให้แน่นก่อนวันหยุด WORK LIFE BALANCE
5. สร้างวันจันทร์ให้เป็นวันพิเศษ
เช่น วันจันทร์หลังเลิกงานจะเป็นวันชิว ๆ ของเรา หลังเลิกงานคือการได้ไปเดินห้าง เพื่อช้อปปิ้ง หรือแบบนัดแฟนว่าทุกวันจันทร์ฉันและเธอจะได้กินชาบูหม้อใหญ่ ๆ เดินตลาดเพื่อหาซื้อของกินแบบจัดเต็ม
หรือ เป็นวันที่เราจะได้ทำบางสิ่งที่เราชอบอะไรก็ได้ สร้างให้ตัวเองตื่นเต้น หรือดีใจทุกครั้ง มันน่าจะค่อย ๆ สะกดจิตใจตัวเองให้รักวันจันทร์ขึ้นมานิดหนึ่ง
ที่มา :
5 แนวคิดเปลี่ยน Mindset บอกลาอาการ Monday Blues
Post-Vacation Blues ฮีลตัวเองหลังหยุดยาว
The Color Blue: Meaning and Color Psychology
Panasonic ในญี่ปุ่น
What Are Sunday Scaries?
What to know about the Monday blues
11 Ways to Beat the Monday Blues
ติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ คลิก
Post Views: 1,540