Posts
เจาะประเด็น Toxic People คืออะไร? เรากลายเป็นคน Toxic เองไหมในความสัมพันธ์
Toxic คืออะไร แบบไหนที่เรียกว่า Toxic?
Toxic ถ้าแปลเป็นภาษาอังกฤษโดยไม่อ้างอิงถึงจิตวิทยาแปลว่า ‘เป็นพิษ’ ซึ่งพออะไรที่เป็นพิษอาจถูกตีความได้ว่าเป็น พฤติกรรม แนวคิด
ที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ สังคมโดยรวม คนใกล้ตัวรอบ ๆ เรา ทำให้พวกเขาเกิดความรู้สึกไม่ดี ไม่สบายใจที่จะอยู่กับกันกับเรา
เรา Toxic ไหมแบบไหนที่เรียกว่า Toxic?
บางครั้งเราเผลอทำพฤติกรรมที่วู่วามโดยที่ไม่ได้ทันคิด ส่งผลให้คนรอบข้างเสียใจ โกรธ แต่ถ้าเราทำลงไปแล้วเราสามารถแก้ไขได้โดยการตั้งคำถามกับตัวเอง
คำนึงถึงคนอื่น เดินเข้าไปพูดคุยถึงการกระทำ ขอโทษถึงพฤติกรรมที่เราทำไปก็จะสามารถปรับเปลี่ยนผลลัพธ์ที่คนอื่นมองว่าเรา Toxic ได้
หรืออาจตั้งข้อสงสัยกับตัวเองว่าที่คนอื่นเริ่มหายไปจากชีวิตเราเป็นเพราะเราหรือคนอื่นไม่เข้ากับเรา กลับมาทบทวนตัวเอง ขอ Feedback จากคนรอบข้างที่มองพฤติกรรมเรามาตลอด
ถ้าคนนั้นมองว่าเรามีนิสัยที่ Toxic คนใกล้ตัวเราบอกแบบนั้น ลองกลับมารีเชคตัวเองแล้วแก้ไข
Stage of Change ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนเราเป็นคนที่ดีขึ้น
การปรับเปลี่ยนนิสัย พฤติกรรม ให้ดียิ่งขึ้น ที่เราสามารถนำมาปรับใช้กับตัวของเราได้
- Precontemplation (ระยะเมินเฉย) ระยะแรก ๆ ที่เรามักจะมองไม่เห็นปัญหาของตัวเราเอง ว่าสิ่งที่เราทำลงไปได้ส่งผลกระทบกับใครหรือเปล่า?
- Comtemplation (ระยะลังเล) ระยะที่เริ่มมองเห็นปัญหา ผลกระทบในอนาคตถึงพฤติกรรม แต่ยังไม่ลงมือแก้ไข
- Preparation (ระยะเตรียมการ) ระยะที่เริ่มหาวิธีแก้ไขปัญหา
- Action (ระยะลงมือ) ระยะที่เริ่มลงมือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในสิ่งที่คิดว่าจะทำให้ผลลัพธ์ดีขึ้นได้
- Maintenance (ระยะคงที่) ระยะที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจนเกิดเป็นความเคยชินแล้ว โดยการปรับเปลี่ยนต้องเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น
Toxic มีจุดกำเนิดไหม?
- พฤติกรรมการเลี้ยงดูมีผลมาก ๆ
- ประสบการณ์ที่เจอมาทำให้กลายเป็นคน Toxic ได้
- ความเชื่อที่คิดว่าเราเคยถูกปฏิบัติไม่ดีมาเราเลยต้องทำแบบนั้นใส่คนอื่นบ้าง
Toxic มีแยกประเภทไหม?
- Narcissist กลุ่มคนหลงตัวเอง มองว่าตัวเองดีกว่าคนอื่น ใช้ความเชื่อว่าตัวเองอยู่เหนือคนอื่น เช่น เชื่อว่าตัวเองเก่ง มีสถานะทางการเงินที่ดีกว่า ทำให้ทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเพราะความเชื่อแบบนั้น
- Manipulate ชอบควบคุมคนอื่น ให้เป็นไปตามที่ตัวเองต้องการ การเสี้ยม ห้คนที่ถูกควบคุมไม่สามารถควบคุมตัวเองได้
- Gaslighting การทำให้เราเกิดความสับสนว่าเราเป็นคนผิดในความสัมพันธ์
- Abuse ด่าทอ ทำร้ายร่างกาย ล่วงละเมิด
รับมือกับคน Toxic ใกล้ตัว
- อะไรที่ยอมได้ยอมอะไรที่ยอมไม่ได้อย่าไปยอม เช่น ความสัมพันธ์ที่ล้ำเส้นไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครอง เพื่อน หรือแฟน
- หาคนที่ช่วยซัพพอร์ตความคิดของเรา โดยที่เราต้องไปบอกเล่าให้ที่พร้อมซัพพอร์ตเราโดยตัดอคติ และความเห็นส่วนตัวออก
- พบผู้เชี่ยวชาญถ้าความ Toxic ที่เจอเกินที่เราจะรับไหว
สิ่งสุดท้ายเมื่อเราเจอกับความ Toxic จนเรารับมือไม่ไหว อยากให้มองหาคนที่พร้อมจะรับฟังเรา ถ้าหากคนใกล้ตัวไม่มีใครที่พร้อมจะรับฟัง
หรือคนใกล้ตัวที่เป็น Toxic สำหรับเรา อยากให้ลองไปพบผู้เชี่ยวชาญ เพื่อแก้ไขสิ่งที่มากระทบกับตัวของเราเอง 🙂
รู้สึก เหนื่อย จังเลย หมดแรงกำลังใจจะเดินต่อ! วัน ๆ ก็ไม่ได้ทำอะไรเยอะ แต่ก็เหนื่อย เกิดจากอะไร เหนื่อยแล้วเป็นซึมเศร้าหรือเปล่า? แต่ความเหนื่อยก็มีข้อดีนะ
เหนื่อย กับชีวิต ทำอย่างไร?
เหนื่อย มีอยู่ สองรูปแบบคือ “เหนื่อยกาย” และ “เหนื่อยใจ”
เราจึงควรถามกับตัวเองว่า เหนื่อยจากอะไร ความรู้สึกเหนื่อยนี้มาจากไหน จัดการอย่างไร หากเราเหนื่อยแต่ไม่จัดการ ความเหนื่อยอาจจะคงอยู่อย่างนั้น
ไม่ได้ทำอะไรมากมาย แต่ทำไมรู้สึก เหนื่อย จังเลย
หากไม่ได้ทำงาน หรือกิจกรรมอื่น ๆ อยู่ก็จริง แต่ภายในใจคิดอะไรอยู่ แต่รู้สึกอะไรอยู่ อะไรทำให้เหนื่อยได้ขนาดนี้
ถ้าอยากออกจากความเหนื่อยต้องชัดเจนกับตัวเอง ต้องรู้ว่าความเหนื่อยมาจากไหน มันคงมีความคิดบางอย่างที่มันนำไปสู่ความเหนื่อยได้
สาเหตุของความ เหนื่อย
สาเหตุของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน เช่น เหนื่อยใจจากการทำงาน เหนื่อยใจกับเพื่อนร่วมงาน เหนื่อยจากเจ้านายที่ชอบสั่งการ
เหนื่อยจากการเรียน หรือ เหนื่อยกับความคาดหวัง เบื้องหลังของความเหนื่อยนั้นแตกต่างกัน
เหนื่อยกับชีวิต กระทบกับเราอย่างไร
- กระทบต่อตัวเอง ส่งผลกระทบให้เราไม่ค่อยมีเรี่ยวแรง เริ่มทำกิจกรรมน้อยลง สนใจคนรอบข้างน้อยลง ละเลยการดูแลตัวเอง
- กระทบต่อความสัมพันธ์ เมื่อเราเหนื่อยมาก ๆ เราจะเริ่มไม่อยากเข้าสังคม ผู้คนเริ่มค่อยๆ หายไป
เหนื่อยแล้วทำยังไงดี
- ออกมาจากความคิดของตัวเอง ลองมองอย่างเป็นผู้ชม ความเหนื่อยตรงนั้นคืออะไร เมื่อเราเห็นแล้ว เราจะต้องมาจัดการกับตัวเองได้อย่างไร เช่น หากมองเห็นว่าเหนื่อยจากการทำงาน เพราะฉะนั้นหลังเลิกงานก็เป็นเวลาของตัวเอง จงใช้ชีวิตของตัวเอง
- ทำกิจกรรมที่ตัวเองอยากทำ ออกไปเที่ยว ออกไปทานขนม หรือนอนพัก
หรือในมุมมองของนักจิตวิทยาเอง ใช้วิธีออกไป พินิจให้เห็นสิ่งรอบ ๆ ตัวว่า ชีวิตของเราเหนื่อยขนาดนี้จริง ๆ หรอ แล้วสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวนี่ไม่เหนื่อยหรอ
เพราะเมื่อไหร่ที่เราเหนื่อยกับชีวิตมาก ๆ จะทำให้เราท้อ เหมือนทางตัน แต่การพาตัวเองออกไปข้างนอก จะทำให้เราเชื่อมต่อกับสิ่งรอบข้างมากกกว่าความรู้สึกของตัวเอง
และทำให้เราเห็นมุมมองต่าง ๆ มากขึ้น หรืออีกวิธีการหนึ่ง คือ การไปทำทานให้ผู้อื่น
กำลังใจสำคัญแค่ไหน
หากมีกำลังใจก็เป็นสิ่งที่ดี เหมือนได้เติมพลัง แต่หากไม่มีเราก็สามารถให้กำลังใจตัวเองได้ เพราะกำลังใจไม่ต้องรอจากคนอื่น
หากเราให้กำลังใจคนอื่นอย่างไร ก็ให้กำลังใจตัวเองแบบนั้นด้วยเช่นเดียวกัน
การให้กำลังใจคนข้าง ๆ ทำได้อย่างไร
แค่อยู่ข้าง ๆ แล้วทำให้เขารู้และมองเห็นว่าเราอยู่ตรงนี้ ผู้รับจะสัมผัสได้ว่าไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น มันแย่แค่ไหน แต่ยังมีคนซับพอร์ต ไม่จำเป็นต้องใช้คำพูดสวยหรู หรือหึกเหิม เพียงแต่เราทำอะไรก็ได้ที่คนหวังดีทำให้แก่กันได้
ถ้ารู้สึกเหนื่อยบ่อยๆจะนำไปสู่ภาวะอะไรไหม ?
1.เครียด
2.ท้อแท้ต่อการใช้ชีวิต หรือทำงาน
3.เศร้า
4.หมดหวัง
เหนื่อยแล้วเป็นคนอ่อนแอไหม
เหนื่อยไม่ได้ตีความ ว่าอ่อนแอ แต่เหนื่อยหมายความว่า เราต้องพักก่อน แล้วถามตัวเอง ว่าเราพร้อมจะสู้ใหม่หรือยัง หากเราเหนื่อยมาก ๆ แล้วพยายามดันทุรัง มันจะยิ่งเหนื่อย พร้อมเมื่อไหร่ก็ค่อย ๆ ลุกขึ้น
สุดท้ายไม่ว่าจะทำอะไร คนเราต้องเหนื่อยอยู่แล้ว ออกกำลังกายจะต้องเหนื่อย ทำงานจะต้องเหนื่อย ฉะนั้นไม่ได้แปลว่า เหนื่อย = อ่อนแอ
ถ้าเรารู้สึกเหนื่อยมาก ๆ อยากให้ลองพักก่อน ถอยออกมาเป็นผู้ดูความเหนื่อยล้า ของตัวเอง ว่าเกิดอะไรขึ้นกับตัวเอง ถึงมีความเหนื่อยกับการใช้ชีวิตได้ขนาดนี้
เราสามารถให้เวลากับตัวเอง ไม่ต้องเร่งรีบ ไม่ต้องเก่งเหมือนคนอื่น ไม่ต้องประสบความสำเร็จได้รวดเร็วเหมือนที่คนอื่นเขาเป็น เราเป็นเรา เหนื่อยก็คือเหนื่อย
เหนื่อยก็หยุดพัก แล้วค่อย ๆ พยุงตัวเองขึ้น พร้อมเมื่อไหร่ก็แค่เดินต่อไปนะ:)
เหนื่อยไม่ผิด ใช่ไหมคะ?
ความรู้สึกเข้มแข็งใคร ๆ ก็อยากมีแต่ถึงเราจะ เข้มแข็งแค่ไหนก็อ่อนแอได้ อยู่ดี
ความเข้มแข็งบางครั้งก็มาในรูปแบบของอ่อนแอ ซื่อตรงกับความรู้สึกของตัวเอง
เข้มแข็งแค่ไหนก็อ่อนแอได้
ความรู้สึกเข้มแข็งจำเป็นไหม?
ความรู้สึกเข้มแข็งเป็นความรู้สึกที่จำเป็นแต่ไม่จำเป็นต้องเข้มแข็งตลอดเวลา มนุษย์มีความเคยชินกับการเลี้ยงดู การถูกสอนว่าต้องเข้มแข็ง ห้ามอ่อนแอให้ใครเห็น
เพราะจะดูรังแกถูกตั้งคำถามจากความอ่อนแอได้แต่อยากให้มองว่าเรารู้สึกอย่างไรก็รู้สึกแบบนั้นเลย เราสามารถอ่อนแอได้ในตอนที่เรารู้สึกอยากอ่อนแอ
ฝืนเข้มแข็งตลอดเวลาในมุมมองของนักจิตวิทยามีข้อเสียไหม?
- ไม่จริงใจต่อตัวเอง
- เก็บกดความรู้สึก
- แสดงความอ่อนแอไม่เป็นจนเป็นบาดแผลในจิตใจ
ความอ่อนแอ มีข้อจำกัดไหม?
ทุกอย่างเป็นแค่สภาวะหนึ่ง เหมือนตอนเราป่วยแล้วเกิดความรู้สึกอ่อนแอ มนุษย์ไม่ได้ถูกสร้างให้มีแค่ซ้ายกับขวา เราสามารถอ่อนแอได้ เพราะร่างกายตอนป่วยเรายังอ่อนแอและร่างกายกับจิตใจก็สัมพันธ์กันด้วย
ความอ่อนแอมีระยะไหม?
ขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพของบุคคล เก็บกด หายเลย หายทันที ขึ้นอยู่กับการเติบโต ที่พึ่งทางจิตใจ การจัดการทางอารมณ์
อ่อนแอมีข้อดีไหม
ความอ่อนแอเป็นสภาวะทางธรรมชาติของเรา เป็นเรื่องที่ดี เราสมควรที่จะรู้สึกออกมาอย่างที่ในใจเรารู้สึก ยอมรับความรู้สึกของเราความอ่อนแอก็จะเบาบางลงได้ ไม่ต้องแบกไว้ไม่ต้องเก็บกดมันเอาไว้
คนที่อ่อนแออย่างตรงไปตรงมากล้าที่จะให้ตัวเองรู้สึก การเผชิญหน้ากับอารมณ์ทางลยคือคนที่เข้มแข็งแล้ว ปล่อยใจให้อิสระในวันที่ร้องไห้ เศร้ามองในจิตใจ ไม่ไปปิดกั้นนั้นคือนิยามของคำว่าเข้มแข็งแล้ว 🙂
ความรู้สึก เครียดหยุดคิดไม่ได้ เป็นสิ่งที่หลาย ๆ คนต้องพบเจอ แต่การที่เราเครียดมากเกินไปจนเราไม่สามารถจัดการกับความเครียดของเรา
ย่อมส่งผลเสียต่อร่างกายและสุขภาพจิต พอเครียดมาก ๆ ก็ทำให้รู้สึกอ่อนล้า หมดแรง เหมือนโดดดูดพลังงาน
ความเครียดคือ..
ความเครียดที่เกิดขึ้นการกลไกลตามธรรมชาติของร่างกายเวลาที่ร่างกายรู้สึกถึงอันตราย หรือสิ่งที่เราไม่สามารถคาดเดาได้
ทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่เตรียมระบบเพื่อหลบเลี่ยงเวลาเผชิญอันตราย คนมักเรียกสิ่งนี้ว่ากลไกการต่อสู้หรือหนีเมื่อมนุษย์เผชิญกับความท้าทายหรือภัยคุกคาม
ทำให้ของร่างกายของเราใช้วิธีที่ทำให้เราสามารถเผชิญหน้ากับความท้าทายหรือวิธีที่ทำให้เราได้รับความปลอดภัยโดยเร็วที่สุด วิธีแต่ละคนอาจจะแตกต่างกัน บางคนแก้ปัญหา บางคนหลีกหนี
ความเครียด ตามที่ apa ได้ให้คำนิยาม ความเครียด คือ การตอบสนองทางสรีระวิทยาและจิตใจต่อแรงกดดันภายในและภายนอก ความเครียดเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงเกือบทุกระบบในร่างกาย
ส่งผลต่อความรู้สึกและพฤติกรรมของมนุษย์ ตัวอย่างเช่น เหงื่อออก ปากแห้ง หายใจไม่ทั่วท้อง กระตุ้นอารมณ์ทางด้านลบ (ถ้าเกิดเคยประสบกับเหตุการณ์ประมาณนี้มาแล้ว)
เช่น เครียดก่อนเข้าห้องสอบเราจะรู้สึกมวนท้อง เครียดแล้วหายใจไม่อิ่ม
สาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียด
- การนอนหลับไม่เพียงพอ คุณภาพการนอนไม่ดี
- การฝืนใช้ร่างกายมากเกินไป ส่งผลให้ร่างกายเกิดความเครียดสะสม
- คิดมาก หมกมุ่นกับเรื่องเครียด ๆ หรือเรื่องที่ทำให้กังวลใจอยู่ตลอดเวลา
- ปัญหาที่เข้ามาแล้วไม่สามารถแก้ไขได้ในทันที
- บางกรณีอาจะเป็นการเครียดเฉียบพลัน เช่น การสอบ การดูหนังสยองขวัญ
- การทำหลาย ๆ อย่างมากเกินไป อาจจะทำให้เกิดความเครียดได้
ความเครียดในแต่ละคนไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนนั้นสามารถรับมือได้มากแค่ไหนด้วย
ทำไมจึงเครียดมากขึ้น
จากบทความของ กรมสุขภาพจิต ทำไมคนในสังคมมีความเครียดมากขึ้น?
- รูปแบบความสัมพันธ์ของคนในสังคมที่เปลี่ยนไป ทำให้ขาดการพูดคุยหรือมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ต่างคนต่างอยู่ เช่น เรียนออนไลน์,การทำงานแบบ Work Form Home,ใกล้ชิดกับสังคมโซเชียลมากขึ้น
- ค่านิยมและรูปแบบการทำงานไม่เหมือนเดิม บางคนต้องทำหน้าที่ซ้ำ ๆ ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย บางคนทนทำงานที่ตัวเองไม่ชอบ เพราะได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่างานที่ชอบ
- เทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว
- สังคมโลกออนไลน์ทำให้เปรียบเทียบชีวิตตัวเองกับคนอื่น
- วิถีชีวิตมนุษย์ที่ไม่สมดุลกับธรรมชาติ
- การขาดทักษะในการคิดและแก้ปัญหา
- ติดกับดักทางความคิดที่ทำให้เครียดที่พบบ่อยคือ ความคิดอัตโนมัติ การเปรียบเทียบกรอบความคิด
เรากำลังเครียดแบบไม่รู้ตัวอยู่หรือเปล่า?
บางทีที่เราเครียดไม่รู้ตัว เพราะแต่ละคนมีการตอบสนองต่อความเครียดที่ไม่เหมือนกัน บางคนแสดงออกทางด้านร่างกาย บางคนซึม หรือบางคนนอนไม่หลับ
เลยทำให้หลาย ๆ ครั้งเราไม่สามารถระบุได้ว่านี่คือความเครียดเพราะคืออาการทั่วไปที่เจอได้ปกติ หรือบางครั้งเราปล่อยผ่านความเครียดเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่สะสมไปเรื่อย ๆ รู้ตัวอีกทีก็เครียดแบบไม่รู้ตัวแล้ว
ความเครียดไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะรับรู้ ไม่เหมือนกับความสุขหรือความเศร้าแต่ความเครียดเราไม่สามารถจับต้องได้ง่าย ๆ แต่มีบางวิธีในการระบุสัญญาณบางอย่างที่เราอาจประสบกับความกดดันมากเกินไป
บางครั้งความเครียดอาจมาจากแหล่งที่ชัดเจน แต่บางครั้งความเครียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ในแต่ละวันจากการทำงาน โรงเรียน ครอบครัว และเพื่อน ๆ ก็สามารถส่งผลกระทบต่อจิตใจและร่างกายได้
สัญญาณเรากำลังเครียดแบบไม่รู้ตัวกันหรือเปล่า?
1. สัญญาณทางจิตใจ
สมาธิลดลง กังวล ความจำไม่ค่อยดี
2. สัญญาณอารมณ์
โกรธง่าย หงุดหงิด อารมณ์เสีย ควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้
3. สัญญาณทางกาย
ความดันโลหิตสูง น้ำหนักเปลี่ยนแปลง ไม่สบายบ่อย ๆ สำหรับผู้หญิงรอบเดือนอาจจะมาไม่ปกติ อารมณ์ทางเพศผิดปกติ นอนไม่หลับ
4. สัญญาณทางพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป
Poor Self-Care ดูแลตัวเองไม่ค่อยดี ไม่มีเวลาให้กับสิ่งที่เคยชอบ มีการให้ยาหรือสารเสพติด แอลกอฮอล์
ประเภทของความเครียด
ความเครียดสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทหลักๆ ดังนี้
1. Acute Stress
ความเครียดที่เกิดขึ้นทันทีจากความกดดันในสถานการณ์ที่เฉพาะเจาะจง เช่น เส้นตายในการทำงาน
การเผชิญหน้ากับความท้าทายหรือเหตุการณ์ที่ทำให้สะเทือนใจ เมื่อความเครียดหายไป ร่างกายก็จะกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิม
2. Episodic Acute Stress
เกิดจากการประสบกับความเครียดที่เกิดขึ้นทันทีหลายครั้งติดต่อกัน เช่น เริ่มจากมีปัญหาสุขภาพ หลังจากนั้นตกงาน ตามมาด้วยการหย่าร้าง
หรือบางคนชอบเครียดและวิตกกังวลจนรีบเร่งและใจร้อนในทุกเรื่อง ทำให้เกิดความเครียดบ่อย ๆ
3. Chronic Stress
ความวิตกกังวลและความกดดันที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนเหมือนไม่มีวันสิ้นสุดสะสมเป็นความเครียดเรื้อรัง ความเครียดเช่นนี้มีผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต
4. Eustress
ความเครียดเชิงบวก ดร. Michae กล่าวว่า Eustress เป็นเส้นประสาทเมื่อเผชิญกับความท้าทายที่สนุก เช่น เวลาที่เราทำงานแล้วเรารู้สึกปลดล็อคถึงความยากแล้วทำให้เราสามารถยืดหยุ่นได้
หรือการออกกำลังกายที่มันยากๆหรือตามเป้าหมายของเราที่ตั้งไว้ได้ Eustress มีความสำคัญ เพราะถ้าเราขาดไป เราอาจได้รับผลกระทบเรื่องอารมณ์ เพราะความเครียดที่เกิดจากความสุข
ช่วยให้เรามีแรงบันดาลใจทำงานไปสู่เป้าหมายและรู้สึกดีกับชีวิต
ผลกระทบของความเครียดของแต่ละคน
1. ความเครียด ความกดดันทำให้พลังงานน้อย
ความเครียดมักก่อให้เกิดความหงุดหงิด ความกลัว และความคับข้องใจ อาจรู้สึกเหนื่อยล้า หมดแรง และไม่สามารถรับมือได้ พลังงานก็จะน้อยตามลงไปด้วย
2. ความเครียด ทำให้นอนไม่หลับ
การที่นอนไม่หลับ ส่งผลกระทบหลาย ๆ อย่าง เช่น สมองมึน ๆ งง ๆ ไม่สดชื่น อารมณ์ไม่ค่อยดี ตัดสินใจช้าลง ตื่นมาแบบพลังงานน้อยการนอนหลับไม่เพียงพออาจทำให้เกิดอารมณ์ด้านลบ
พลังงานต่ำ ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ แต่ความเครียดก็เหมือนตัวร้ายของการนอนหลับที่จะมารบกวนเราให้เรา เครียด คิดมาก ก่อนนอนเสมอ
3. เครียด ทำให้ คิดมาก คิดวน
ความเครียดทำให้เกิดความคิดมาก พอคิดมากก็จะทำให้เกิดความเครียด กลายเป็นการคิดวนไปวนมา จับต้นชนปลายไม่ถูก
ผลกระทบของความเครียด
ร่างกาย
- พลังงานต่ำ รู้สึกแบตหมดตลอดเวลา
- ปวดหัว
- ปวดท้องท้องเสียท้องผูกคลื่นไส้
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตึง
- เจ็บหน้าอกและหัวใจเต้นเร็ว
- นอนไม่หลับ
- ป่วยบ่อยขึ้น
- สูญเสียความต้องการทางเพศ
- อาการวิตกกังวล
- ปากแห้งและกลืนลำบาก
- กรามและฟันบด
อารมณ์
- หงุดหงิดง่าย อารมณ์เสียง่าย
- รู้สึกสูญเสียการควบคุมหรือจำเป็นต้องควบคุม
- มีช่วงเวลาที่ยากลำบากในการผ่อนคลายและสงบจิตใจของคุณ
- รู้สึกแย่กับตัวเอง (น้อยใจตัวเอง) และรู้สึกเหงา ไร้ค่า และหดหู่
- หลีกเลี่ยงผู้อื่น
เครียดสะสมระยะยาวนอกจากพลังงานน้อยแล้ว ยังเสี่ยงเป็น “ต่อมหมวกไตล้า”
ต่อมหมวกไตทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญของร่างกาย คือ “ฮอร์โมนคอร์ติซอล” เพื่อรับมือกับความเครียดและความเหนื่อยล้าที่เกิดขึ้นในชีวิต
หากปล่อยให้ร่างกายเผชิญกับความเครียดสะสม เมื่อถึงจุด ๆ หนึ่งต่อมหมวกไตก็เกิดอาการล้าได้
คอร์ติซอลเป็นฮอร์โมนที่สำคัญที่สุดที่ผลิตโดยต่อมหมวกไต ใครที่ทำงานหนัก เครียดมาก เครียดสะสมมานาน จะยิ่งส่งผลให้ “ฮอร์โมนคอร์ติซอล” ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดสภาวะความเครียดหลั่งออกมามาก
ถึงจะไม่รุนแรงถึงขั้นเป็นโรคบกพร่องต่อมหมวกไต หรือต่อมหมวกไตไม่ทำงาน แต่การที่ต่อมหมวกไตทำงานลดลง การผลิตฮอร์โมนที่สำคัญลดลง อาจส่งผลให้เกิดปัญหาในการทำงาน
ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือเสี่ยงภาวะซึมเศร้าได้
แต่ความเครียดก็มีข้อดีของเหมือนกันนะ
ความเครียดใคร ๆ ก็ไม่อยากมีแต่ว่าจริง ๆ แล้วความเครียดก็มีประโยชน์เหมือนกัน แต่ต้องเป็นความเครียดระยะสั้น ซึ่งเวลาที่ร่างกายเราเครียด เหมือนเป็นสัญญาณเตือนเพื่อให้เราตั้งรับเรื่องอะไรสักอย่าง
แล้วเราถ้าแก้ปัญหาในสิ่งนั้นได้ก็เหมือนความเครียดที่เครียดแบบมีความสุขหรือความเครียดเชิงบวกนั้นเอง
ประโยชน์ของความเครียดระยะสั้นไว้
1. ความเครียดทำให้เราฝึกแก้ปัญหา
เวลาที่เราเครียด จริงอยู่ว่าเราจะรู้สึกอึดอัดจากภายใน แต่ในขณะเดียวกันสมองของเราก็จะคิดหาทางออก หาหนทางเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา เพราะถ้าเราไม่มีความเครียดใด ๆ เป็นไปได้ว่าสมองเราอาจจะไม่ได้พัฒนา
2. ความเครียดมีผลดีต่อร่างกาย
เวลาเครียดร่างกายจะปลดปล่อยสารเคมีในสมองที่ช่วยให้เราตอบสนองต่อความเครียดในระดับต่ำ สามารถกระตุ้นการผลิต Neurotrophins เป็นสารเคมีที่ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเซลล์ประสาทในสมอง
3. ความเครียดช่วยปกป้องเรา
จากการวิจัยพบว่า หนูที่ผลิตเซลล์ภูมิคุ้มกันจำนวนมากในกระแสเลือด พวกมันมีการตอบสนองต่อความเครียดที่ไม่รุนแรง
นอกจากนี้ความเครียดระดับนี้ยังส่งผลให้มีการปลดปล่อย Corticosterone (คอร์ติโคสเตอโรน)
และในคนเราเวลาเกิดความเครียดร่างกายจะหลั่งสารเพื่อเตรียมความพร้อมที่ช่วยควบคุมระบบภูมิคุ้มกันที่ชื่อว่า Interleukin (อินเตอร์คิวลีน)
ร่างกายจะมีระบบปกป้องเราในรูปแบบความเครียดที่ไม่มากเกินไป ถือว่าเป็นผลดีที่ช่วยกระตุ้นความระมัดระวังให้เรา
4.ความเครียดฝึกให้เราคิดเชิงบวก
เมื่อเราเกิดความเครียดในช่วงแรกเราอาจจะรู้สึกกดดัน แต่หลังจากนั้นเราจะหาวิธีผ่อนคลายด้วยการคิดบวก ซึ่งการคิดบวกนั้นอาศัยทัศนคติที่ดี ทัศนคติที่ดีจะนำทางออกที่ดีให้กับเราเสมอ
จัดการกับความเครียดตามหลักจิตวิทยา
- เรากำลังเครียดเรื่องอะไรต้องสาเหตุให้เจอ ค่อย ๆ หา ค่อย ๆ ให้เวลา เพราะถ้ารู้จะหาวิธีแก้ได้
- เขียนระบายความเครียดออกมา
- หาวิธีสื่อสารความเครียดออกมาบ้าง เช่น การที่เรามี Social Support คนที่เราสามารถระบายเรื่องราวของเราให้พวกเขาฟังได้อย่างไม่ตัดสิน
- เอาเรื่องของคนอื่นมาคิดเป็นเรื่องของตัวเอง รู้ว่าใครอยู่ใกล้แล้วเราจะเครียดให้อยู่ห่าง ๆ เขาไว้
- พักจากการเสพคอนเท้นต์ที่หนักสมอง เช่น ข่าวหนัก ๆ หรือคอนเท้นต์ที่เรามีความกังวลเรื่องนั้น ๆ อยู่ รวมทั้งโซเชียลมีเดีย เป็นเรื่องที่ดีที่จะได้รับข่าวสารต่างๆ แต่การรับรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างต่อเนื่อง กระทบต่อสุขภาพจิตได้
- ดูแลตัวเอง (Self-care) เช่น ออกกำลังกาย ทายอาหารที่มีประโยชน์ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- ให้เวลาตัวเองได้ทำอะไรที่ผ่อนคลาย อจจะเป็นการทำในสิ่งที่เราชอบ การนอนก็ถือว่าเป็นการทำอะไรที่ผ่อนคลายนะ แต่ต้องระวังการนอนแบบไม่เหมาะสมด้วย
- เข้าร่วม Group ที่ support ในสิ่งที่เราเชื่อหรือชื่นชอบ
- ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ
ความเครียดมีทั้งความเครียดระยะสั้นและความเครียดระยะยาว แต่ทั้งสองแบบอาจจะนำไปสู่อาการต่างๆได้ และแน่นอนว่าถ้าเรามีการสะสมความเครียดแบบเรื้อรัง ย่อมไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพในระยะยาวแน่นอน
อ้างอิง :
The Signs and Symptoms of Too Much Stress
Healthy Ways to Cope with Stress
What Are the Symptoms of Stress?
เพราะอะไร… เป็น “ คนดีเกินไป ” ถึงไม่ดี? ทั้งโดนเอาเปรียบ โดนเกลียด โดนทิ้ง แล้วเราจะเป็นคนดียังไงให้มีความสุข ?
คนดีเกินไป เมื่อดีเกินไปทำให้โดนเกลียด
นิยามคำว่า คนดี
คำว่าคนดี คือ คนที่ทำแต่สิ่งดี มีจิตใจดี เป็นคนที่ทำตัวน่ารักกับทุกคน ไม่คิดร้ายกับใคร อยู่ในศีลธรรมและมีจริยธรรมที่ดี แต่คำนี้นิยามได้หลากหลายแบบมาก
และยังทำให้เกิดคำถามขัดข้องใจได้ เช่น ถ้าทำอะไรด้วยใจหวังดี แต่สิ่งนั้นเดือดร้อนอีกฝ่าย หรือ ถ้าดีต่อคนส่วนใหญ่ แต่ไม่ดีต่อคนส่วนน้อย จะนับว่าดีได้ไหม?
คนดี ในความสัมพันธ์ เป็นแบบไหน?
คำว่าคนดีในความสัมพันธ์ คือ คนที่คอยมอบสิ่งดี ๆ ให้แก่กัน คอยสนับสนุนช่วยเหลือ สิ่งไหนไม่ดีจะคอยเตือน สุขและทุกข์ไปด้วยกัน แบ่งปันสิ่งต่างๆ ให้กัน พูดดีและทำดีต่อกัน
เป็น คนดีเกินไป ไม่ดีหรอก จริงไหม?
มีส่วนจริงอยู่บ้าง บางทีเป็นคนดีเกินไปจะโดนเอาเปรียบได้ง่าย ในชีวิตจริง… ต้องดีให้พอดี ถึงจะดี เพราะหลาย ๆ ครั้ง คนไม่ดีมักจะมองว่าคนที่ดีเกินไปคงไม่ว่าอะไร จึงมองหาแต่ประโยชน์
การคัดกรองคนให้อยู่ในชีวิตนั้นสำคัญ ถ้าไม่เปิดรับคนที่จ้องจะเอาเปรียบเข้ามาในชีวิตตั้งแต่แรก เราอาจจะเป็นคนดีในแบบที่อยากเป็นได้ แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ จบธุระแล้วไม่จำเป็นต้องคบต่อ
ถ้าคนอื่นบอกว่าเราเป็น คนดีเกินไป ควรทำอย่างไร?
บางทีเราต้องปรับ ต้องไม่ดีเกินไป อย่างที่บอก… ให้ดีแบบพอดี ถึงจะดี และในเรื่องความรัก หลาย ๆ ครั้งสังคมมักจะบอกว่า ผู้หญิงไม่ชอบคนดีเพราะคนดีน่าเบื่อ คิดว่ามีทั้งส่วนที่จริงและไม่จริง
ผู้หญิงบางคนอาจจะชอบสไตล์แบดบอย ยิ่งลุคดูแบดยิ่งชอบ แต่ผู้หญิงบางคนอาจจะชอบคนดี นิสัยดี ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนตัวของแต่ละคนว่าชอบคนแบบไหน ความชอบคนเรามีหลากหลาย
เป็น คนดีเกินไป ที่อยู่ในสังคมแล้วเกลียดตัวเอง รับมืออย่างไร?
อาจจะต้องตั้งคำถามว่า ทำไมเราต้องเกลียดตัวเองด้วยถ้าเราเป็นคนดี สุดท้ายแล้ว เราทำสิ่งดีเป็นคนดีจะทำให้สบายใจ ไม่ต้องคอยระแวงว่าเราไปทำผิดอะไรมาไหม
ถ้าเราทำดีแล้วมีคนว่า ให้คิดซะว่าเขาอาจจะไม่เคยทำดีเลยมาคอยว่าเรา ต้องปล่อยวาง อย่าไปสนใจ เราทำสิ่งดี ๆ ต่อไปดีแล้ว สักวันสิ่งที่เราทำจะให้ผลดีกับเราเอง
อีกอย่าง เวลาที่เราอยากทำดี แต่เราโดนทำไม่ดี การเตือนตัวเองว่าอย่าเป็นคนในแบบที่ตัวเองไม่ชอบเป็นเรื่องสำคัญ เพราะการโต้ตอบกลับไปอาจทำให้รู้สึกแย่ได้
เป็นคนดีไม่ผิด แต่ดีให้พอดี ถูกที่ ถูกคน ถูกเวลา สำคัญไม่แพ้กัน 🙂
ความสุขที่ไม่ต้องตามหา มีอยู่จริงไหม?
ความสุขที่ไม่ต้องตามหา
ความสุขคืออะไร
การใช้ความรู้สึกของตัวเองให้นิยามว่า “สิ่งไหนเป็นความสุขของตัวเอง”
หากเราเจอความรู้สึกที่ตอบกับตัวเองได้ว่านี่แหละความสุข ไม่ต้องฟังคำนิยามของคนอื่นหรือ หาความหมาย เพราะเรามีความสุขของเราแตกต่างกัน
ความสุขต้องตามหาไหม
ขึ้นอยู่กับว่าเราตั้งเป้าหมายความสุขไว้อย่างไร เช่น ความรัก ความฝัน การใช้ชีวิต เป็นต้น คนที่วิ่งตามหาความสุข อาจเกิดจากการหาความสุขของตัวเองไม่เจอ
หรือเอาความสุขของตัวเองไปตั้งไว้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่ไม่ได้ใกล้เคียงกับตัวเอง เช่น ความฝันของคนอื่น ความต้องการของคนอื่น
ความสุขเกิดขึ้นได้อย่างไร
ความสุขเริ่มจากวัยเด็กในตอนที่มี พ่อแม่ หรือครอบครัวอยู่เคียงข้าง เพราระครอบครัวให้ความรู้สึกความปลอดภัย, ตอบสนองทางด้านร่างกาย
เช่น อาหาร หรือ ยา เมื่อได้รับ เราจะรู้สึกมีความสุข เพราะเรานั้นปลอดภัย เรานั้นสามารถอยู่รอดได้ แต่เมื่อเราโตขึ้น เราจะรู้สึกได้ว่า โลกไม่ได้ให้ทุกอย่างตามที่เราต้องการ และเราจะเจอกับความทุกข์
ซึ่งเรียกว่า Reality testing ตามทฏษฎีจิตวิเคราะห์ มนุษย์ที่ผ่านประสบการณ์ในวัยเด็กได้ดี ก็จะมีสิ่งที่เรียกว่า Secondary Process Thinking
คือ กระบวนการคิดที่มีการความคิดของการยับยั้งช่างใจได้ รู้จักการรอคอย ส่วนในบางคนที่ขาดการยับยั้งช่างใจ หากต้องการสิ่งใดก็จะต้องได้รับการตอบสนองทันทีจึงจะพอใจ เรียกว่า Primary Process Thinking
ฉะนั้นจากที่คุณวันเฉลิมกล่าวมา ความสุขมี 2 แบบ คือ
- สุขแบบระยะสั้น
- ความสุขระยะยาว
นี่เป็นพื้นฐานทางอารมณ์ที่เกิดขึ้น และถูกสั่งสมประสบการณ์ทางอารมณ์มาเรื่อย ๆ ทำให้ใจเรารู้ได้ว่าสิ่งไหนที่เป็นความสุขสำหรับเรา
ในกรณีที่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ เราจะรู้สึกเคว้งคว้างในช่วงแรก แต่หากมีใครซักคนมาดูแลแทนพ่อแม่ ให้ความสัมพันธ์ที่เหมือนกัน จะสามารถสร้างความรู้สึกผูกพันธ์ขึ้นมาได้
ฉะนั้นพื้นฐานความสุขเกิดขึ้นจากพื้นฐานความสัมพันธ์ที่มีกับครอบครัว
พยายามตามหาความสุข จนเกิดความทุกข์แก้ไขอย่างไร
เราต้องรู้ว่าเราแสวงหาความสุขนั้นเพราะอะไร สิ่งที่เราแสวงหาในวันนี้เป็นสิ่งที่เราขาดในอดีตใช่หรอไม่ เมื่อเรารู้คำตอบแล้ว
ให้เราถามตัวเองอีกครั้งว่ายังอยากได้สิ่งนั้นอยู่ไหม และถามตัวเองอีกครั้งในวันนี้ว่าเราอยากได้อะไร
ความสุขโดยไม่ต้องตามหาทำได้อย่างไร
1. ถามตัวเองว่าเราอยากมีความสุขไปเพื่ออะไร
มนุษย์เป็นสิ่งที่มีความต้องการ และเราแค่ตอบสนองความต้องการนั้น ตราบใดที่เรายังหาความต้องการของตัวเองไม่เจอ เป็นเรื่องที่อยากมากที่เราสร้างความมั่นคงทางอารมณ์ขึ้นมา และมีความสุข
Happinese Guite ทำไมมีความสุขแล้วรู้สึกผิด
1. มีความสุขแล้วเกิดความรู้สึกผิดตามมา
อาจจะเกิดจากการที่เราไปแสวงหาความสุขแบบผิดวิธี เช่น one night stand เมื่อความสุขหมดไป ความรู้สึกผิดก็ตามมา
2. มีความรู้สึกผิดแฝงมาในความสุข
เช่น แฟนพาไปทานข้าว แต่รู้่สึกผิดที่แฟนต้องมาจ่ายเงินให้เรา
สาเหตุ
- โครงสร้างของบุคลิกภาพ เกิดจาก พ่อแม่สร้างเงื่อนไขต่อความรัก ให้กับเราในวัยเด็ก เช่น ลูกต้องเรียนให้เก่ง ถึงจะได้รับของเล่น เมื่อมีเงื่อนไขเราจึงไม่สามารถรับและมีความสุขกับของเล่นได้เต็มที่
โอบกอดทั้งความสุขและความทุกข์ ทำได้อย่างไร
การโอบกอดความรู้สึกนั้น เราต้องทราบว่าความรู้สึกที่เกิดขึ้นเป็นความรู้สึกอะไร เช่น วันนี้เราเศร้าจังเลย ในความเศร้านั้นมีความผิดหวังอยู่
แล้วพอเราผิดหวังแล้วเรารู้สึกอย่างไรต่อ นี่เป็นสิ่งสำคัญ หากยอมรับความรู้สึกได้ เราจะโอบกอดความรู้สึกของเราได้เอง
ความสุขที่ไม่ต้องตามหาอยู่ที่ไหน
คำตอบคือ “อยู่ที่ตัวเราเอง” อยู่ที่เราจะกำหนดอะไรเป็นความสุขของเรา การวิ่งตามหาอาจจะต้องหาไปเรื่อย ๆ
เช่น ต้องหาแฟนเพิ่ม หาเพื่อนเพิ่ม ตามใจคนอื่นเพิ่ม หรือ ใช้เวลาของตัวเพื่อตอบสนองความต้องการของคนรอบข้าง
เคยไหม? อยู่กับคนเยอะ ๆ เมื่อไหร่เหนื่อยทุกที พลังงานน้อยกับ “ Introvert ” มีความเกี่ยวข้องกันไหม? จะเป็น Introvert อย่างไรให้มีความสุข?
หมดพลังใจ เมื่อเจอคนเยอะ ๆ เป็นไปได้ไหม? มาหาคำตอบกัน!
คนร่าเริง คนเข้าสังคมเก่ง อาจไม่ใช่ Extrovert เสมอไป
คำตอบคือได้ เพราะถึงแม้ลักษณะภายนอกของคน ๆ นั้นจะดู Active ร่าเริง เข้าสังคมเก่ง มีเพื่อนหลายกลุ่ม ทำกิจกรรมเยอะ เบื้องหลังคน ๆ นั้นอาจจะแบ่งเวลาอยู่คนเดียวเพื่อชาร์จพลัง
Introvert คืออะไร?
อ้างอิงจากเว็บไซต์สมาคมนักจิตวิทยาอเมริกัน Introvert คือ บุคลิกภาพแบบหนึ่ง ซึ่งจะโฟกัสกับโลกภายในของตัวเอง ให้ความสำคัญกับความคิดความรู้สึก
ด้วยความที่ให้ความสนใจโลกภายนอกน้อยกว่าคนอื่น ทำให้มีลักษณะเด่น คือ เงียบ ชอบอยู่คนเดียว ละเอียดรอบคอบ ไม่ค่อยแสดงออกความรู้สึกทางบวก
ถ้าจะแยกระหว่าง Introvert กับ Extrovert คือ ดูว่าคนนั้นชาร์จพลังแบบไหน Introvert จะชาร์จพลังจากการอยู่คนเดียว ส่วน Extrovert จะชาร์จพลังจากการเข้าสังคม
แต่… บุคลิกเหล่านี้เป็นเหมือนแกนหนึ่งเท่านั้น สามารถเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลาของชีวิตได้เสมอ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย บางช่วงชอบอยู่คนเดียว บางช่วงชอบอยู่กับสังคม
Introvert และ ขี้อาย ต่างกันอย่างไร?
Introvert เป็นบุคลิกภาพ แต่ Shyness เป็นอารมณ์ประเภทหนึ่ง คนที่ขี้อาย เวลาเข้าสังคมจะอึดอัด ประหม่า เหงื่อออก โดยเฉพาะกับคนแปลกหน้า ทำให้หลีกเลี่ยงกิจกรรมทางสังคม
คนที่เป็น Introvert อาจหลีกเลี่ยงกิจกรรมทางสังคมเช่นกัน แต่แค่เลือกที่จะอยู่คนเดียว เพราะสบายใจที่จะใช้เวลากับตัวเอง จาก Psych2Go ให้ข้อมูลไว้ด้วยว่า ทั้ง 2 อย่างนี้แตกต่างกัน
1. สำหรับ Introvert จะต้องการเวลาในการปรับตัวเข้ากับคนใหม่ ๆ แต่พอปรับตัวได้แล้ว ความสัมพันธ์จะลึกซึ้ง สามารถใช้เวลาร่วมกับคนรอบข้างได้โดยไม่ได้รู้สึกเขินอายอะไร
2. Introvert มักจะมีบทสนทนาที่ดูจริงจัง เพราะลักษณะเด่นอย่างหนึ่ง คือ ชอบคิดและประมวลผลอยู่ตลอด รวมถึงชอบการคุยแบบ deep conversation มากกว่าคุยเรื่องผิวเผินทั่วไป
3. ใจลอยง่าย ด้วยความที่เป็นคนคิดและประมวลผลเรื่องต่าง ๆ บ่อย ๆ ทำให้หลุดโฟกัสจากโลกภายนอกได้ง่าย
4. พลังงานหมดเวลาอยู่กับคนเยอะ ๆ หลายคนจะเงียบ ไม่ได้เงียบเพราะอาย แต่เงียบเพราะอยากเซฟพลังงาน
Introvert และ กลัวการเข้าสังคม ต่างกันอย่างไร?
พี่แนน นักจิตวิทยาการปรึกษา บอกว่า 2 อย่างนี้แตกต่างกันมาก introvert จะชอบอยู่เงียบๆ ไม่ชอบคนเยอะ ไม่ชอบความวุ่นวาย ไม่ชอบเป็นจุดเด่น เพราะรู้สึกว่าการอยู่คนเดียวสบายใจกว่า
แต่สำหรับคนที่กลัวการเข้าสังคม ถือเป็นอาการป่วยอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิต จะกลัวทุกสถานการณ์ที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น เช่น พูดคุย สั่งอาหาร คุยโทรศัพท์ หรืออื่น ๆ
Introvert มีข้อเสียไหม?
1. พลังงานน้อย เหนื่อยง่ายเวลาต้องพบปะผู้คนเยอะ ๆ
2. เกิดความเครียดและความกังวลได้ง่าย ถ้าต้องฝืนอยู่ในสถานการณ์ทางสังคม
3. อาจถูกเข้าใจผิดได้ มองว่าหยิ่ง เข้าถึงได้ยาก ทำให้กระทบกับการสร้างความสัมพันธ์ใหม่ ๆ
Introvert มีข้อดีอะไรบ้าง?
1. ละเอียดรอบคอบ เพราะ Introvert คิดและประมวลผลสิ่งต่าง ๆ บ่อย ๆ
2. เป็นผู้ฟังที่ดี ซึ่งการเป็นผู้ฟังที่ดีจะทำให้อีกฝ่ายรู้สึกว่าเขาได้รับความเอาใจใส่ ทำให้ความสัมพันธ์นั้นพัฒนาขึ้น
3. เป็นคนช่างสังเกต มีทักษะในการสังเกตภาษาพูดและภาษาภายของคนรอบข้างที่ดี ทำให้เข้าใจคนอื่นได้มากขึ้น
4. เพื่อนน้อยแต่มีคุณภาพ เพราะ Introvert จะเลือกคบเพื่อนแบบรอบคอบ ทำให้สนิทและลึกซึ้งในความสัมพันธ์
อยากเข้าสังคม ทำอย่างไร?
1. ตั้งต้นว่าค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนไปทีละน้อย
2. ลองตั้งเป้าหมายเล็ก ๆ เช่น วันนี้จะแสดงความคิดเห็นมากขึ้น
2. คอยเตือนตัวเองไม่ให้กดดันและคอยให้กำลังใจตัวเองไปด้วย
เป็น Introvert อย่างไรให้มีความสุข?
1. อย่าลืมที่จะติดต่อกับคนอื่น อย่าอยู่คนเดียวจนรู้สึกเหงา
2. ใช้ชีวิตให้เหมาะกับพลังงานที่ตัวเองมี วางแผนและแบ่งเวลาช่วยได้
3. รู้จักจุดเด่นและจุดอ่อนของตัวเอง แล้วพัฒนาจุดเด่น ปรับแก้จุดอ่อน
4. ไม่ตัดสินตัวเองในด้านที่ไม่ดี ยังไงทุกอย่างที่เป็นอยู่ก็คือตัวเราทั้งนั้น
ไม่ว่าจะบุคลิกภาพแบบไหน ก็มีดีในแบบของตัวเองทั้งนั้น อย่าลืมรักตัวเองในแบบที่ตัวเองเป็นนะคะ 🙂
ที่มา :
6 Signs You’re Actually an Introvert, Not Shy
The Surprising Benefits of Being an Introvert
เวลาเปลี่ยนคนเปลี่ยน จริงไหม?
เวลา
คือ มาตรวัดทุกสิ่งทุกอย่างเป็นตัวแปรที่ต่อเนื่อง (Continuous Variable)
เวลา มี 2 ประเภท
1. เวลาทางกายภาพ (Physical Time) เป็นเวลาในเชิงสมมติใช้หน่วยเป็น ปี เดือน สัปดาห์ วัน ชั่วโมง นาที และวินาที
2. เวลาทางจิตใจ (Psychological Time) เป็นเวลาตามความรู้สึกตามแต่การรับรู้ของบุคคลแต่ละคนซึ่งจะแตกต่างกันไป เป็นเวลาที่มีความรู้สึกบางอย่างของเราผูกโยงอยู่ด้วย
โดยแต่ละคนจะรับรู้และแปลความหมายของเวลาแตกต่างกันออกไปตามความรู้สึกส่วนตัวในขณะนั้น หมายความว่าถึงแม้ระยะเวลาจะผ่านไปเท่ากัน คนหนึ่งอาจรู้สึกว่าเป็นช่วงเวลาที่แสนสั้นทันใจ แต่อีกคนหนึ่งกลับรู้สึกว่ายาวนาน
เวลาเปลี่ยน เราเปลี่ยนอะไรบ้าง
1.ร่างกาย-ที่เปลี่ยนแปลงไปตามช่วงวัย เช่น วัยเด็กที่เริ่มวางรากฐานการพัฒนาทางร่างกาย ,วัยรุ่นที่ร่างกายเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงและมีพัฒนาทางเพศ หรือวัยกลางคนที่การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายมีความเสื่อมถอยชัดเจน
2.จิตใจ- ทัศนคติ ความคิด มุมมองต่อสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงวัยของการใช้ชีวิต
7 Year Cycles วงจรชีวิต 7 ปี
7 Year Cycles หรือวงจรชีวิต 7 ปี มาจาก รูดอล์ฟ สไตเนอร์ นักปรัชญาชาวออสเตรีย เขาได้เสนอแนวคิดที่ว่าร่างกายและจิตใจของคนเราจะเปลี่ยนไปทุก ๆ 7 ปี ได้อธิบายความเปลี่ยนแปลของคนเราในทุก ๆ 7 ปีไว้
ช่วงแรกเกิด-7 ขวบ: จากความเป็นหนึ่งเดียวกับแม่สู่ความเป็นอิสระ
ในช่วงปีแรกๆ ของชีวิต โดยเฉพาะแรกเกิดถึงสองขวบ เด็กแทบจะไม่สามารถแยกแยะระหว่างตัวเองกับแม่ได้ แต่เมื่อเด็กเริ่มคลาน แล้วลุกขึ้นเดิน เขาจะสัมผัสได้ถึงอำนาจส่วนบุคคล (Personal Power)
และอิสรภาพจากแม่ที่มากขึ้น แล้วค่อยๆพัฒนาขึ้น เริ่มหย่านม เริ่มมีฟันน้ำนมขึ้น พออายุ 4-5 ขวบ เด็กไปโรงเรียน ซึ่งเป็นช่วงเวลาสำคัญของการแยกจากแม่ และเริ่มเข้าสังคมกับเด็กคนอื่น ๆ
ประสบการณ์นี้จะดึงความเป็นตัวตนของเด็กออกมา ได้เริ่มเส้นทางค้นหาว่าเขาเป็นใคร
ช่วงวัย 8-14ปี : ต่อสู้และมุ่งมั่นในการใช้ชีวิต
เป็นช่วงเวลาของทดสอบการอยากมีชีวิตอยู่ ความเจ็บป่วยจะเกิดขึ้น เช่น อีสุกอีใส หัด คางทูม ระบบภูมิคุ้มกันจะทำงานเพื่อต่อสู้กับมันเมื่อโรคเหล่านี้หายไปก็จะมีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนเข้าสู่ช่วงวัยหนุ่มสาว
ช่วงวัย 14-21ปี : อารมณ์ร้าย,ฮอร์โมนที่เปลี่ยนไปและเริ่มมีความสนใจทางเพศ
เข้ามัธยม เริ่มโต สภาพเเวดล้อมเปลี่ยนไป
ช่วงวัย 21-28ปี : ช่วงเวลาแห่งการรับผิดชอบ
เริ่มเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ เปลี่ยนทัศนคติ มีพลังสูง รับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆ
ช่วงวัย 28-35 ปี : ร่างกายพัฒนาเต็มที่
เมื่ออายุได้ 35 ปี โครงกระดูกก็มีมวลกระดูกและความหนาแน่นมากที่สุด ทุกคนสูญเสียมวลกระดูกประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ร่างกายจะเริ่มถดถอยลงหลังจากอายุ 35 ปี
ช่วงเวลานี้ หลายๆคนมักค้นพบศักยภาพในตัวเองและมีความมุ่งมั่นมากที่สุด ทะเยอทะยานมากที่สุด Steiner เขายังบอกไว้ด้วยอีกว่าเรามักจะเจออัศวินขี่ม้าขาวในช่วงวัยนี้
ช่วงวัย 35-42ปี : วิกฤตและการตั้งคำถาม
หลายคนจะประสบกับเหตุการณ์ที่อยู่เหนือการควบคุมของเรา และในกระบวนการนี้ เราประสบกับความผิดหวังและความรู้สึกล้มเหลว ความผิดหวังที่พบบ่อยที่สุดคือการหย่าร้าง การล่มสลายของธุรกิจ
หรือความขัดแย้งทางการเงิน หรือประสบวิกฤตสุขภาพไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เกิดคำถามขึ้นกับตัวเอง อะไรคือที่มาของความสุขที่แท้จริงของตัวเองและทั้งหมดนั้นฉันต้องการในชีวิตหรือเปล่า
ช่วงวัย70 ปีขึ้น : เป็นช่วงเวลาแห่งการสะท้อนเรื่องราวในอดีตและเตรียมตัวสำหรับการผจญภัยในโลกต่อไป
Chronophobia (โรคกลัวการพัดผ่านของเวลา)
เป็นภาษากรีก Chrono แปลว่า เวลา Phobia แปลว่า กลัว Phronophobia โรคกลัวเวลาหรือการผ่านไปของเวลาที่ผ่านไปอย่างไร้เหตุผล ( ดูเหมือนว่าจะเร็วขึ้นหรือช้าลง)
อาการ
- กลัวอย่างมาก วิตกกังวลและแพนิก
- รู้สึกว่าความกลัวของเรานั้นไม่สมเหตุสมผลและไม่สามารถจัดการกับมันได้
- มีปัญหาในการใช้ชีวิตเพราะความกลัว
- หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออก หายใจลำบาก
เหตุการณ์ที่กระตุ้น Chronophobia
- วันจบการศึกษา
- วันครบรอบแต่งงาน
- วันเกิด
- เหตุการณ์สำคัญ
- วันหยุด
บุคคลที่เสี่ยงต่อภาวะ Chronophobia
ตามรายงานของสถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติ (National Institute of Mental Health)ประมาณร้อยละ 12.5 ของผู้ใหญ่ชาวอเมริกัน บางครั้งในชีวิตพวกเขาจะมีอาการกลัวบางอย่าง เนื่องจาก Chronophobia เชื่อมโยงกับเวลา จึงมีเหตุผลว่าจะพบ Chronophobia ใน..
- ผู้สูงอายุ
- ผู้ที่เผชิญกับการเจ็บป่วยระยะสุดท้าย ทั้งสองแบบนี้จะกังวลเกี่ยวกับเวลาที่พวกเขาเหลืออยู่
- ผู้ต้องขัง ในเรือนจำ โรคโครโนโฟเบียบางครั้งเกิดขึ้นเมื่อผู้ต้องขังใคร่ครวญถึงระยะเวลาของการถูกจองจำโดยทั่วไปเรียกว่าโรคประสาทในเรือนจำหรือเป็นโรคประสาท
- ผู้ประสบภัยธรรมชาติเมื่อเขาอยู่ในความวิตกกังวลเป็นเวลานานโดยไม่รู้เวลา
การรักษา
- แผนการรักษาตามที่จิตเเพทย์แนะนำ จิตบำบัดหรือจ่ายยา
- การรักษาเสริม เช่น ฝึกสมาธิและการหายใจ โยคะ หรือ แอโรบิค
ทำไมมนุษย์ถึงกลัวการเปลี่ยนแปลง จากหนังสือ ทำไมมนุษย์จึงกลัวการเปลี่ยนแปลง กล่าวไว้ว่า
1. ความเคยชินหรือคุ้นเคย
2. ขาดความเชื่อมั่นในความสามารถของตัวเอง
3. ความกลัวที่จะต้องทำงานหนักขึ้น
4. ความวิตกกังวลถึงอนาคตมากเกินไป
จัดการกับความกลัวการเปลี่ยนแปลง
1. ดูแลและปรับทัคนคติต่อการเปลี่ยนแปลง
ดูแลและเข้าใจไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ว่าความเปลี่ยนแปลงนั้นคือเรื่องที่เกิดขึ้นเสมอ ตลอดเวลา
2. ระบายความรู้สึกของตัวสเองออกมา
Jennifer Weaver – Breitenbecher นักจิตวิทยาคลินิกใน Rhode Island กล่าวว่า ความรู้สึกและการแสดงอารมณ์ เป็นส่วนสำคัญของการรักษา “นี่ไม่ใช่เวลามาพยายามเข้มแข็ง ปล่อยให้ตัวเองเสียใจ โกรธ ไม่พอใจ แล้วจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้น”
3. ปล่อยทิ้งความพยายามในการควบคุมลง
ไม่มีอะไรที่ได้ดั่งใจเราไปหมดทุกเรื่อง เพราะฉะนั้นอย่าคิดจะควบคุมอะไรไม่ให้เปลี่ยนไป
4. ขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้างบ้างก็ได้
5. อยู่กับปัจจุบัน
6. มองไปที่อนาคต มากว่าสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว
7.เข้ารับการบำบัดจากผู้เชี่ยวชาญ
สำหรับคนที่อยากจะเปลี่ยนแปลงตัวเองไปในทางที่ดีขึ้น แต่วันนี้ยังรู้สึกว่าทำไม่ได้ซักที่ มีกฎของการเปลี่ยนแปลง 3 ข้อมาฝาก จากหนังสือ แต่คุณที่กลัวการเปลี่ยนแปลงตลอดชีวิต
1.ไม่ต้องใช้สมอง
เรามักตั้งคำถาม คิดวนไปมาว่าจะทำอย่างไรให้ชีวิตดีขึ้น แต่จริง ๆ แล้ว เราสามารถลงมือทำได้เลย
2. ไม่ต้องหาข้ออ้าง
ความเปลี่ยนแปลงทำให้เรารู้สึกกลัวและกังวล และมีความรู้สึกอยากหนีสิ่งนั้นไป เราจึงหาข้ออ้าเพื่อยังไม่เปลี่ยนตัวเอง
3. ไม่ต้องมีความหวัง
บางคนคิดจะเปลี่ยนแปลงตัวเอง แต่ก็ดูไม่มีความหวังเลย หากแต่การได้ลงมือทำก็ทำให้ความหวังเกิดขึ้นแล้ว
อ้างอิง :
10 Ways to Help You Get Through Tough Times
อยู่ในสังคมเพื่อนที่คุยกันเรื่องของชีวิตทีไรจะรู้สึกตัวเล็กลงทุกที… รู้สึกเหนื่อยเหมือนใช้พลังงานไปเยอะมาก ๆ อาจจะถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องกลับมาทบทวนตัวเองว่าเป็นคน ” Low Self-Esteem ” หรือไม่?
พลังงานน้อย เพราะ Low Self-Esteem
การที่เราเป็นคนพลังงานน้อย หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นเพราะเราทำกิจกรรมที่นำมาซึ่งการเสียพลังงาน แต่จริงๆ แล้วการที่เราเป็นคนพลังงานน้อยอาจจะมาความคิดของเราได้
Self-Esteem คืออะไร
Self-Esteem คือ การมองเห็นคุณค่าในตัวเองโดยรวม เป็นความคิดเห็นของเราที่เกี่ยวกับตัวเราเอง เรามองตัวเองอย่างไร ซึ่ง Self-Esteem จะครอบคลุมปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่
1. ความรู้สึกถึงอัตลักษณ์ (Identity)
2. ความมั่นใจในตัวเอง (Self-confident)
3. การรับรู้ถึงความสามารถและความรู้สึกของการเป็นส่วนหนึ่ง
Low Self-Esteem และ High Self-Esteem
Self-Esteem เป็นมากกว่าการชอบตัวเองโดยทั่วไป แต่ยังหมายถึงการเชื่อว่าตัวเองสมควรได้รับความรักและการเห็นคุณค่าของความคิด ความรู้สึก และเป้าหมายของตัวเราเองอีกด้วย
Self-Esteem ไม่ได้ส่งผลต่อความรู้สึกหรือการปฏิบัติต่อตัวเองเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อแรงจูงใจในการใช้ชีวิตแบบที่เราต้องการและด้านอื่น ๆ ในชีวิตด้วย Self-Esteem มี 2 รูปแบบ ดังนี้
1. Low Self-Esteem
คนที่มีการมองเห็นคุณค่าในตัวเองในระดับที่ต่ำ มีมุมมองในแง่ลบต่อตนเอง
2. High Self-Esteem
คนที่เห็นคุณค่าในตัวเอง ภูมิใจในจุดเเข็งของตัวเอง มีมุมมองในแง่บอกแก่ตนเอง
Self-Esteem สำคัญอย่างไร
ความแตกต่าง คือ คนที่มี High self-esteem จะมุ่งโฟกัสไปที่การเติบโตและการพัฒนา ในขณะที่คนที่มี Low self-esteem จะโฟกัสที่การไม่ทำผิดพลาดในชีวิต
เพราะงั้น Self-Esteem จึงสำคัญ เป็นสิ่งที่ทุกคนมีและควรที่จะมองเห็น เพราะ self-esteem จะส่งผลต่อหลายด้านในชีวิต เช่น การตัดสินใจ ความสัมพันธ์ อารมณ์
1. ไม่ต้องตามหาคุณค่านั้นจากใคร
ถ้าเราเห็นคุณค่าในตัวเองมากพอ เราจะไม่ต้องตามหาจากใคร เราจะไม่ต้องยอมทนอยู่กับความสัมพันธ์ Toxic เพียงเพราะอยากที่จะมีคุณค่าในสายตาคนอื่น
2. มองเห็นเป้าหมายในชีวิต
เราจะรู้ว่าเราจะทำอะไร 1 วันจะทำอะไร อาทิตย์นี้จะทำอะไร เดือนนี้จะทำอะไร เพราะ Self-Esteem มีผลต่อแรงจูงใจและแรงบันดาลใจที่จะเผชิญกับความท้าทาย
3. มีความสามารถในการจัดการกับปัญหา
เพราะถ้าเราเห็นคุณค่าในตัวเอง เราจะตระหนักรู้ได้ว่า เรามีศักยภาพและความสามารถมากพอในการจัดการกับปัญหา สถานการณ์ และสิ่งต่างๆ ในชีวิตที่ผ่านเข้ามาได้
4. ดีต่อความสัมพันธ์
พอเรารับรู้ถึงคุณค่าของตัวเอง เราจะเข้าสังคมและอยู่กับคนอื่นอย่างเป็นธรรมชาติ โดยที่ไม่ได้ไปเรียกร้องการยอมรับ เรียกร้องการเห็นคุณค่า ให้คนอื่นอึดอัด ซึ่งดีต่อความสัมพันธ์
Self-Esteem VS Self-Confidence
การรับรู้คุณค่าของตัวเอง คือ การรับรู้ว่าเรามีคุณค่าในตัวเองจากการแค่มีชีวิตอยู่บนโลกใบนี้ แต่ความมั่นใจในตัวเอง คือ การมีความกล้าในการทำสิ่งต่าง ๆ เพราะเรารู้ว่าเรามีความสามารถมากพอ
นอกจากนี้ ความมั่นใจในตัวเองจะเชื่อมโยงกับการไว้วางใจในตัวเองว่าสามารถประสบความสำเร็จได้ ยิ่งมีประสบการณ์มาก ยิ่งมั่นใจมาก แต่ Self-Esteem เกิดจากประสบการณ์และความสัมพันธ์
Self-Esteem กับ Self-Confidence อาจไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกันเสมอไป คนมั่นใจอาจสงสัยในคุณค่าของตัวเองได้ แต่อาจจะเป็นไปได้ว่า เมื่อเรามั่นใจอาจช่วยเพิ่มความรู้สึกภาคภูมิใจโดยรวมได้
เราเป็นคน Low Self-Esteem หรือเปล่า
ลองรีเช็คตัวเองว่ามีความรู้สึกแบบนี้ไหม?
1. ขาดความมั่นใจในการเป็นตัวเองและในการทำสิ่งต่าง ๆ
2. รู้สึกว่าตัวเองไม่มีความสามารถมากพอ
3. รู้สึกว่าไม่มีใครรัก
4. กลัวการทำผิดพลาด
5. กลัวการทำให้คนรอบข้างผิดหวัง
ลองรีเช็คว่ามีอาการแบบนี้ไหม?
1. อ่อนไหวต่อคำวิพากษ์วิจารณ์ทั้งจากตัวเองและคนอื่น
2. แยกตัวจากสังคม
3. ต่อต้าน ก้าวร้าว
4. จมอยู่กับปัญหามากเกินไป
5. มีอาการทางกายหรือพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภาพ
สาเหตุที่ทำให้มี Low Self-Esteem
1. ประสบการณ์ที่ไม่ดีในอดีต
ประสบการณ์ต่างๆ เช่น การถูกลงโทษ ถูกกลั่นแกล้ง ถูกข่มเหง หรือถูกละเลย เป็นประสบการณ์ที่รุนแรง เด็กที่เคยได้รับการกระทำเหล่านี้จะมีมุมมองทางลบต่อตัวเอง
2. ขาดความอบอุ่น ความรัก การชื่นชม และการให้กำลังใจ
การขาดพลังงานบวกที่เพียงพอ ไม่ได้รับความรักหรือเเรงเสริมที่ทำให้พวกเขารู้สึกว่า ตัวเองดีพอ ตัวเองพิเศษ หรือตัวเองเป็นที่รัก เขาอาจจะจดจำว่าตัวเองไม่ดีพอได้
3. ล้มเหลวเกี่ยวกับการตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้อื่น
ความผิดพลาดและผิดหวังเป็นสิ่งที่ทำให้เราได้เรียนรู้ แต่หลายคนกลับนำอดีตมาทำร้ายตัวเองในปัจจุบัน ซึ่งสำหรับหลายคน ความประสบความสำเร็จเชื่อมกับการมีคุณค่า
4. เกิดจากการไม่เป็นส่วนหนึ่ง
การเป็นส่วนหนึ่งเป็นความต้องการในการเอาชีวิตรอด การแตกต่างหรือไม่เหมือนใครโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวัยรุ่น อาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อการรับรู้ถึงตัวตนของตนเอง
ปัจจัยภายนอก
1. เปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น
2. คำพูดหรือการปฏิบัติจากคนรอบข้าง
ปัจจัยภายใน
1. พันธุกรรม
2. รูปแบบความคิด
3. การคาดหวังกับตัวเองที่มากเกินไป
4. ไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างจากค่านิยมและความเชื่อทางสังคม
อะไรคือตัวขับเคลื่อน Low Self-Esteem
1. ความเชื่อหลักที่มีต่อตัวเราเอง : ไร้ค่า ขี้แพ้ ไม่ดีพอ
2. การสร้างกฎเกณฑ์ในชีวิตเพื่อปกป้องเราจากความเชื่อหลักของตัวเอง : ต้องใช้ชีวิตด้วยการทำให้คนอื่นพอใจ
3. พูดกับตัวเองในเชิงวิพากษ์วิจารณ์ : เมื่อเราทำให้คนอื่นไม่พอใจ เราคือคนที่ล้มเหลว
4. มีการคาดการณ์เกี่ยวกับตัวเองในทางลบ : เราอาจจะถูกเกลียดหรือไม่ได้รับการยอมรับถ้าไม่สามารถทำตามที่คาดหวังได้
Low self-esteem สัมพันธ์กับพลังงาน
1. พลังงานน้อยเพราะเหนื่อยจากการพยายามทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้ตัวเองดูมีคุณค่า
2. พลังงานน้อยเพราะเหนื่อยจากการซึมซับอารมณ์ทางลบ เช่น โกรธ เศร้า และอารมณ์อื่น ๆ ที่หนักหน่วง
ผลกระทบจาก Low Self-Esteem
1. ไม่มีความสุข
2. กลัวความล้มเหลว ไม่กล้าตัดสินใจ
3. ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า ความผิดปกติของการกิน โรคกลัวสังคม
4. นำไปสู่ภาวะต่าง ๆ ได้หลายอย่าง เช่น imposter symdrome , burnout , dead inside
5. ส่งผลต่อสุขภาพกาย ต่อเนื่องจากการมีปัญหาสุขภาพจิต เพราะทั้งสองอย่างเชื่อมโยงกัน
6. กระทบกับความสัมพันธ์ หลายคนจะแยกตัว ทำให้ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างไม่ใกล้ชิดสนิทกันเหมือนเดิม
วิธีการก้าวข้าม Low Self-Esteem
1. ลดการเปรียบเทียบ
2. ตั้งเป้าหมายเล็ก ๆ สร้างแรงจูงใจ
3. ไม่เอาบรรทัดฐานคนอื่นมาตัดสินตัวเอง
4. ระบุความเชื่อลบๆ เกี่ยวกับตัวเองออกมา แล้วถามตัวเองใหม่
5. เขียนสิ่งดี ๆ เกี่ยวกับตัวเอง และเขียนสิ่งดี ๆ ที่คนอื่นพูดถึงเรา
6. ยอมรับในตัวเอง ไม่ต้องพยายามจะทำอะไร ไม่ต้องพยายามจะเป็นใครสักคนก็ได้
7. พาตัวเองไปอยู่กับคนที่เห็นคุณค่าของเรา รักเราในแบบที่เราเป็นจริง ๆ ปล่อยคนที่ไม่เห็นคุณค่าของเราออกไป
8.ออกไปทำสิ่งใหม่ อาจทำให้ได้รู้จักตัวเองมากขึ้น ไปจนถึงค้นพบความสามารถ ความสนใจ ที่ซ่อนอยู่ในตัวเราเอง
ก่อนที่จะเห็นคุณค่าใคร อย่าลืมที่จะเห็นคุณค่าของตัวเอง 🙂
ที่มา :
What’s the Difference between Self-Esteem and Self-Confidence?
พลังงานน้อย เพราะเป็น HSP-Highly Sensitive Person
ในยุคที่สิ่งแวดล้อมกระทบเราตลอดเวลา ไหนจะฝนฟ้าอากาศ,คน,ข่าวข้อมูล อะไรไม่รู้เยอะแยะไปหมด ขนาดคนที่ไม่ได้มีภาวะนี้ยังอาจจะรู้สึกเหนื่อยด้วยซ้ำ
Sensitive ก็คือ อ่อนไหว Sensitive Person คนที่อ่อนไหวง่าย เจ้าอารมณ์ เจ้าน้ำตา Highly Sensitive Person คืออะไร มีอะไรที่อ่อนไหวกว่า sensitive person ด้วยเหรอ…
Highly อย่างสูงหรืออย่างมาก รวมกันก็เป็น คนที่อ่อนไหวอย่างมาก ขอเรียกว่า คนที่อ่อนไหวง่ายเป็นพิเศษ
รู้จัก Highly Sensitive Person
Highly Sensitive Person คือ คนที่อ่อนไหวง่ายเป็นพิเศษต่อสิ่งต่าง ๆ รอบตัวไม่ได้ผิดปกติแต่อย่างใด เหมือนกับ Introvert และ Extrovert ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับบุคลิกภาพ
หนังสือ “The Highly Sensitive Person” โดย Dr Aron เขาอธิบาย HSP ด้วยอักษร 4 ตัวคือ D.O.E.S.
D = depth of processing หมายถึงระบบประสาท สามารถ process สิ่งที่มากระตุ้นได้อย่างลึกเป็นพิเศษ
O = overstimulation เป็นผลจาก D depth of processing นั่นคือ เป็นคนที่ถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้าได้ง่ายและแรงกว่าคนทั่วไป
E = emotional reactivity and empathy เป็นคนที่มีอารมณ์อ่อนไหวมากกว่าคนส่วนใหญ่
S = sensitive stimuli มีความอ่อนไหวต่อ เสียง กลิ่น แสง การสัมผัส เป็นพิเศษ
Concept หลักของ Highly Sensitive Person คือ การไวต่อสิ่งแวดล้อม ในหมวด S = sensitive stimuli ประสาทสัมผัสทั้ง 5 จะไวต่อ เสียง กลิ่น แสง การสัมผัส
อีกอย่างหนึ่ง คือ จะไวต่อ Social Stimuli ด้วย คือ เสียง และ สีหน้าท่าทางของคนรอบข้างนั่นเอง ซึ่งความไวต่อสิ่งแวดล้อมนี้
คน ๆ นั้นไม่ได้ตั้งใจจะสนใจทุกรายละเอียดรอบตัว แต่เป็นเพราะธรรมชาติของร่างกายที่แตกต่างจากคนอื่น
HSP vs คนทั่วไป
Highly Sensitive Person แตกต่างจากคนทั่วไปตรงที่
1. เซลล์เซลล์ระบบประสาทส่วนการรับรู้ของ Highly Sensitive Person มีความ Active มากกว่า ทั้งที่มีจำนวนเซลล์เท่ากันกับคนอื่น
2. “mirror nueron” หรือประสาทส่วนที่รับรู้พฤติกรรมของคนรอบข้าง ก็มีความ active มากกว่า คือสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของคนรอบข้างได้ลึกซึ้งและรวดเร็ว
3. ในสมองของ HSP ส่วน ventromedial prefontal cortex ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับ process อารมณ์ มีการทำงานที่ intense กว่าคนทั่วไป ทำให้ HSP มองเห็นสิ่งธรรมดาในสายตาคนอื่น ให้กลายเป็นสิ่งพิเศษขึ้นมาได้
เช่น ฟังเพลงแล้วซึ้งจับใจ ดูหนังแล้วอินจนร้องไห้
การทำงานของสมองและระบบประสาทที่แตกต่างจากคนอื่นนี่แหละ ที่ทำให้มีลักษณะต่าง ๆ เกิดขึ้นได้หลายอย่างเลย เช่น
- มีปฏิกิริยาตอบโต้กับสิ่งแวดล้อมเร็ว ทั้งทางอารมณ์และทางร่างกาย
- จะพิจารณา ประมวลผล สิ่งเร้าต่าง ๆ อย่างลึกซึ้ง
- แยกแยะความแตกต่างของสิ่งต่าง ๆ ได้ดี
- pain threshold จะต่ำ ทำให้รู้สึกเจ็บปวดได้ง่ายและมากกว่าคนอื่น
- ไม่สามารถรับข้อมูลมาก ๆ ได้ในคราวเดียว
- สิ่งเร้าต่าง ๆ เช่น เสียงทั่วไปเล็กๆ น้อยๆ อาจจะได้ยินชัดเจนมากสำหรับคนที่เป็น HSP หรืออาจจะถึงขั้นสร้างความรำคาญ ความเจ็บปวด ให้ได้
Highly Sensitive Person ควรเป็นที่รู้จัก
Highly Sensitive Person การแสดงออกของบางคนอาจจะเป็น การร้องไห้ง่าย เรื่องบางเรื่อง แค่นี้เอง ต้องร้องไห้เลยหรอ
หรืออาจจะเป็นเหนื่อยจนต้องการอยู่คนเดียว การแยกตัวนี้คนอื่นอาจจะมองว่าแปลกแยกได้ ทำไมเขาอยู่คนเดียว ทำไมเขาไม่มีเพื่อน เขานิสัยไม่ดีหรือทำอะไรใครรึเปล่า
“มันซีเรียสกว่านั้น ถ้าคนไม่รู้จัก ไม่เข้าใจในภาวะนี้”
แต่ถ้าสังคมรู้จักภาวะนี้มากขึ้น จะช่วยลดการตัดสินกันและกันไปได้เยอะมากเลย เรารับได้ไม่ได้หมายความว่าคนอื่นจะรับได้
เพราะมีหลายปัจจัยเลยที่ทำให้ทุกคนแตกต่างกัน อย่าง HSP ที่พูดถึงกันเป็นเรื่องของการทำงานของสมองและระบบประสาท
อยากให้คนที่เป็น HSP ได้ทำความเข้าใจกับตัวเองด้วย บางทีเขาอาจจะมองว่าที่เป็นอยู่มันผิดปกติ แปลกแยก ฉันอ่อนแอ อ่อนไหวเกินไป
แต่การที่เราได้รีเช็คตัวเองและทำความเข้าใจ HSP ก็อาจจะทำให้เราได้มองตัวเองใหม่ด้วย
ข้อเสีย Highly Sensitive Person
1. เสียสมาธิได้ง่าย
ด้วยความที่แบบเราไวต่อสิ่งเร้ารอบตัวแบบมาก ๆ ถ้าเราต้องอยู่ท่ามกลางสิ่งเหล่านั้นเราจะเสียสมาธิได้ง่ายมาก ถ้าต้องทำงานท่ามกลางคนเยอะ ๆ เสียงดังต้องฝืนตัวเอง ก็อาจจะทำให้หงุดหงิด ปวดหัว
2.ถูกมองว่าเก็บตัว ขี้อาย (บางครั้งถูกว่าเป็น Introvert) ปัญหาเยอะ ข้อจำกัดเยอะ
อันนี้คือคิดว่าหลายคนต้องเจอแน่ๆแหละ แต่เอาจริง Extrovert เองก็เป็น HSP ได้ ถึงจะดูร่าเริง เข้าหาคนเก่ง พูดเก่ง กล้าแสดงออก แต่เขาก็ต้องการเวลาส่วนตัวเช่นเดียวกัน
3.เกิดความเครียดความวิตกกังวลได้ง่าย
4.ต้องใส่ใจดูแลการใช้ชีวิตตัวเองเยอะกว่าคนอื่น (จัดสภาพแวดล้อม)
ข้อดี Highly Sensitive Person
1.Creative
HSP จะมีความครีเอทีฟมากกว่าคนทั่วไป เพราะอย่างที่บอกไปว่าเขาจะฟังเพลงได้ลึกซึ้งกว่าคนทั่วไป ดูหนังเเล้วอินสุด ๆ เพราะเหตุผลตรงนี้แหละทำให้เขาค่อนข้างเข้าถึงอะไรที่ต้องใช้อีโมชันนอลมาก ๆ จินตนาการสูง
2. ละเอียดอ่อน รอบคอบ
Depth processing ที่สามารถ process สิ่งที่มากระตุ้นได้อย่างลึกเป็นพิเศษทำให้คนคิดลึก Critical thinking ละเอียดอ่อน ไม่ด่วนสรุป เข้าใจอะไรสักอย่างแบบลึกซึ้ง
3.ไวต่อสิ่งที่เป็นอันตราย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อมหรือบุคคล
4.ไวต่อความรู้สึกคนรอบข้าง ทำให้เข้าใจคนรอบข้างได้ดี การใช้จุดนี้ของตัวเองในการเอาใจใส่คนที่เรารักและรักเรามากขึ้น อาจจะช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ให้ดีขึ้นกว่าเดิม
การโฟกัสที่ข้อดีของการเป็น HSP ด้วยสำคัญมาก ไม่อยากให้เศร้ากันเกินไปว่า เห้ย ร่างกายมันเป็นของมันเอง ควบคุมไม่ได้
เราจะทำอะไรไม่ได้เลยหรอเนี่ย อยากบอกว่า ไม่เป็นไรนะ เพราะการเป็น HSP มีข้อดีเหมือนกัน
รีเช็คตัวเอง
นักจิตวิทยาจะสร้างคำถามที่เกี่ยวข้อง จากนั้นจะประมวลผลโดยพิจารณาจากคำตอบโดยเฉลี่ย ยกตัวอย่างคำถามใน Self-test นั้น
เช่น คุณจะไวต่อแสง สีกลิ่น ,คุณตกใจง่าย ,ความรู้สึกของผู้คน มีผลต่อเรา,รำคาญเสียงดัง เสียงรบกวน ประมาณนี้ค่ะ ถ้าสนใจสามารถเข้าไปลองได้ เว็บ hsperson ของไทยเองก็มีเช่นกัน
อีกอย่าง คือ สามารถศึกษาเกี่ยวกับอาการได้เลย ถ้าเราพบว่าเราเป็นแบบนั้นซะจนกระทบกับชีวิตประจำวัน อาจจะต้องปรึกษาหมอขอความช่วยเหลือ
เป็น Highly Sensitive Person อย่างไรให้มีความสุข
เราต้องรู้จักข้อจำกัดของตัวเอง ว่าเราไวต่อสิ่งไหนเป็นพิเศษ แสง สี กลิ่น และออกแบบชีวิตของตัวเองให้เข้ากับสิ่งที่ตัวเองเป็น
เช่น ไวต่อแสง ก็ลองปรับสภาพแวดล้อมในเซฟโซนของตัวเองให้เหมาะกับเรา เพราะ Key point คือ หา “Down Time” ให้ตัวเอง เวลาส่วนตัว ที่เราจะได้อยู่กับสิ่งที่เราสบายใจ ไม่มีสิ่งเร้าเหล่านั้นมากระตุ้น
ช่วง Down Time ตรงนี้ เราอาจจะคิดอะไรที่มันสร้างสรรค์ออกมาได้ และยังได้พักตัวเองอยากสิ่งกระตคุ้นภายนอกเวลาที่เราเข้าสังคม เพราะเอาเข้าจริง สิ่งเหล่านั้นมันห้ามได้ยากมาก
การจำกัดสิ่งแวดล้อมสำคัญ เพราะถ้าเราปล่อยให้สิ่งต่าง ๆ กระทบเราไม่หยุดไม่หย่อน เราจะเหนื่อยและพลังงานน้อยจนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ เช่น ปิด notification โทรศัพท์ตอนนอน
- การใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ตัดสิ่งรบกวน เช่น แว่นกันแดดป้องกันแสง การใช้ หูฟังตัดเสียงรอบข้าง เป็นต้น
- การดูแลข้าวของเครื่องใช้เล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น เสื้อผ้า ตัดป้าย ตัดส่วนที่หลุดลุ่ย ออกให้หมด จะได้ไม่รู้สึกรำคาญ จุ๊กจิ๊กอยู่ตลอดเวลา
- ลองจัดบ้าน ให้มีส่วนหนึ่งหรือห้องหนึ่งสำหรับพักผ่อน ไม่มีสิ่งรบกวน เมื่อไหร่ที่พลังงานน้อยจะได้เข้าไปอยู่ตรงนั้น เอาง่าย ๆ คือเหมือนการจัดเซฟโซนให้ตัวเอง
Highly Sensitive Person ไม่ใช่ความผิดปกติ แต่เป็นเรื่องบุคลิกภาพ เราหาอะไรที่เหมาะกับเรา ทั้งสภาพแวดล้อม และสังคม ส่วนจุดไหนที่เรารู้สึกว่ามันคือข้อบกพร่อง
อยากแก้ไข ก็ค่อยๆ แก้ไปทีละนิดๆ ถือเป็นการพัฒนาบุคลิกภาพไปในตัว 🙂
อ้างอิง
What is a highly sensitive person?
Why Highly Sensitive People Have ADHD
What Is a Highly Sensitive Person (HSP)?
หลังอยู่ในสถานที่มืดเป็นเวลานาน…ควรปรับการทำงานของดวงตาอย่างไร?
พลังงานน้อย เพราะ ฝืนเข้าสังคม ฝืนแอคทีฟ เวลาเข้าสังคม กินข้าว สังสรรค์กับเพื่อนเราควรทำอย่างไรดี? ถ้าเรารู้สึกการออกจากบ้านทีไรเราหมดแรงทุกทีเลย บางทีก็ต้องไปแต่ฝืนที่ไป
ฝืนเข้าสังคม
ไม่เข้าสังคมได้ไหม?
มนุษย์เป็นสัตว์สังคมการที่จะไม่เข้าสังคมเลยเป็นไปได้ยาก เช่น การทำงาน การเรียน ถึงจะไม่ชอบเข้าสังคม แต่ถ้าถามว่าไม่เข้าสังคมได้ไหม? คงต้องบอกว่าเป็นไปได้ยาก
เพราะการเข้าสังคมเป็นเรื่องทั่วไปในชีวิตประจำวันที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะทำอะไร แทบทุกอย่างจะต้องพบปะผู้คน เช่น การทำงาน ที่จะต้องติดต่อพูดคุยกันเยอะ ๆ ต้องคุยงานกันเป็นทีม
แต่ในปัจจุบันนี้รูปแบบการทำงานได้มีการเปลี่ยนแปลงไป เช่น บางบริษัทมีการทำงานรูปแบบ Work From Home การไม่เข้าสังคมมันสามารถเป็นไปได้ แต่เป็นไปได้ยากมาก ๆ ที่จะไม่เข้า
การที่เรา Work From Home ไปนาน ๆ ก็ทำให้ Skill ในการเข้าสังคมของมนุษย์ลดลงเหมือนกัน จากที่เคยเป็นคนกล้าแสดงออกอาจจะเป็นคนปิดบังตัวตน
จากที่เคยกระตือรือร้นกลายเป็นเอื่อยเฉื่อย แล้วมันส่งผลกระทบกับความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดด้วย
ฝืนเข้าสังคม ทั้งที่ไม่ได้อยากเข้า?
ฝืนทำกิจกรรมที่คนรอบตัวทำ เช่น กิจกรรมมหาลัย หรือเพื่อนในกลุ่มไปกินข้าวกันแต่เราไม่อยากไป ทุกครั้งที่ตกลงไปทั้งที่ไม่อยากไป จะต้องเจอกับความกังวลก่อนไปอย่างหนัก
เพราะเราจินตนาการไปแล้วว่าต้องเหนื่อย ต้องอึดอัด ต้องทำตัวไม่ถูกแน่เลย
สถานการณ์อะไรหลาย ๆ อย่างเข้ามากระทบ เช่น โควิด ทำให้ไม่ชินกับการออกไปข้างนอกเยอะ ๆ การสื่อสารให้คนรอบข้างรู้ว่าเราไม่โอเคก็สำคัญเหมือนกัน
ประสบการณ์ประมาณนี้ เรียกว่า Peer Pressure
Peer Pressure คือ อิทธิพลจากคนรอบข้าง ในทางจิตวิทยา อิทธิพลนี้จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น พฤติกรรม ทัศนคติ ความเชื่อ อย่างถ้ารู้ดีว่าตัวเองไม่ได้อยากไป
แต่ไปเพราะเพื่อนไปกันหมด นี่แหละ คือ Peer Pressure
การโดนแบน จากการไม่ปรับตัวเข้ากับสังคม
กิจกรรมละลายพฤติกรรมในมหาลัย มีกิจกรรมต่าง ๆ ที่เราต้องเข้าร่วมเพื่อให้ผ่านชั่วโมงกิจกรรม แล้วกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องเข้าร่วมทำให้รู้สึกไม่ Comfort ทำด้วยความฝืนใจล้วน ๆ ไม่โดนแบน แต่โดนมองว่าแปลกแยก
สาเหตุ ที่ทำให้ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้
1. Social Anxiety
คนที่เป็น Social Anxiety Disorder หรือโรคกลัวสังคมแล้ว การปฏิสัมพันธ์กับคนทุกรูปแบบจะยากไปหมด
2. Low self-esteem
พอเราไม่มีความมั่นใจ ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง มันทำให้เรากลัวการที่จะเข้าสังคมพบปะกับคนใหม่ ๆ
3. ประสบการณ์ที่ทำให้เกิดบาดแผลในจิตใจ
ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ต้องเจอกับสภาพแวดล้อมใหม่
4. บุคลิกภาพ Introvert เก็บตัวมากเกินไป
มี Introvert บางส่วนที่เก็บตัวมากเกินไปจริง แต่มี Introvert บางส่วนเหมือนกันที่เข้าสังคมเก่ง ทำให้เห็นว่า
เป็น Introvert ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ชอบยุ่งกับใคร เขาอยู่กับคนอื่นได้ อยู่ได้ดีด้วย แต่มีลิมิต ต้องมีเวลาส่วนตัวด้วยเท่านั้นเอง
ผลกระทบ ฝืนเข้าสังคม
1. ฝืนเข้าสังคม ส่งผลกระทบอะไรบ้าง
กระทบกับสุขภาพจิตได้ ถ้ารู้สึกว่าสังคมนั้นไม่ใช่เซฟโซนแล้วต้องฝืนบ่อย ๆ เพราะมันสูบพลังงานพลังชีวิต ลองนึกว่าเราต้องฝืนทำอะไรสักอย่างที่ไม่ใช่ตัวของเราเลย
เช่น ฝืนกินของที่ไม่ชอบ ฝืนดูสิ่งที่ไม่ชอบเรายังรู้สึกไม่ดีเลย แล้วเป็นการฝืนเข้าสังคมที่ค่อนข้างต้องใช้พลังงานในการพูดคุย หรือแสดงสีหน้าต่าง ๆ อาจจะทำให้วันนั้นเป็นวันที่ไม่ดีสำหรับเราไปเลยก็ได้
2. เข้ากับสังคมไม่ได้ ส่งผลกระทบอะไรบ้าง
ไม่มีคอนเนคชัน อ้างอิงจากโพสต์จากเพจ psyche.tourlife ที่จะมาพูดคุยใน Alljit Podcast ด้วย ข้อนึงที่สำคัญเลยคือ “อย่ามองข้ามคอนเนคชัน”
เพราะคอนเนคชั่นนำไปสู่โอกาสมากมายจริง ๆ โอกาสที่จะได้เรียนรู้หรือได้ทำงานในสายที่สนใจ พยายามคนเดียวก็สำเร็จได้แต่ถ้ามี คอนเนคชัน อาจจะทำให้สำเร็จได้มากกว่า
มีปัญหาความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง คนภายนอกอาจจะเข้าใจผิดได้ว่าเราแยกตัว เพราะเราไม่ชอบเขา เราไม่โอเคกับเขาหรือเปล่า อันนี้อาจจะต้องสื่อสารกับคนรอบข้างให้เข้าใจด้วยว่าเราแค่รู้สึกไม่สบายใจที่จะอยู่ตรงนั้น
เพราะเราเหนื่อยเท่านั้นเอง ไม่ต้องฝืนตัวเองเพื่อให้คนอื่นสบายใจ อยู่กับตัวเองจนกว่าจะพร้อมแล้วค่อย ๆ พาตัวเองออกไปทีละนิดดีกว่า
วิธีรับมือ ถ้าจำเป็นต้องเข้าสังคม
ข้อมูลที่น่าสนใจจากเว็บไซต์ WebMD ว่าเราจะ Make friends ได้โดยการ..
- ยิ้มแย้ม แสดงท่าทีที่เป็นมิตร
- เริ่มบทสนทนา ลองถามและเป็นผู้ฟังที่ดี
- สลับกันแชร์เรื่องราวทั่วไปให้ได้รู้จักกันมากขึ้น
นอกจากมี DOs แล้ว DONTs ที่ในบทความพูดถึงก็น่าสนใจเหมือนกัน เช่น อย่าพยายามเปลี่ยนแปลงตัวเอง เพราะนี่คือการ ฝืน นอกจากจะทำให้เหนื่อย
ยังทำให้คนรอบข้างรู้สึกว่าเราไม่จริงใจกับเขาด้วยถ้าเราอยู่ในสถานการณ์ที่อีกฝ่ายฝืน มันสามารถแสดงออกทางสายตา กิริยาท่าทางได้
แต่ถ้าในกรณีที่เรารู้ว่าเราไม่อยากเข้าสังคมนี้ สังคมนี้ไม่ใช่เซฟโซน วิธีคือทบทวนตัวเอง ถ้าแน่ใจแล้วให้ทำตามที่ใจตัวเองต้องการ ไม่อยากอยู่ก็ไม่ต้องอยู่
แต่ในบางสถานการณ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จะให้กำลังใจตัวเองว่า “รออีกนิด เดี๋ยวจะผ่านไปแล้ว” เพราะในบางครั้ง เราอาจจะทุกข์ซะจนลืมไปว่าเดี๋ยวเวลาผ่านไปทุกอย่างจะผ่านไปเช่นกัน
ยอมรับว่าในบางจุดของชีวิตมีเรื่องที่ต้องฝืนจิตฝืนใจกันบ้าง
รับมือกับสายตาคนนอกที่ไม่เข้าใจ
คนนอกที่ไม่เข้าใจบางทีเขาอาจจมองเราแบบนั้นไปแล้ว มองว่าเราดูไม่เข้ากลุ่มกับคนอื่น ๆ โดยคิดเหตุผลไปแล้ว ถ้ากรณีนี้ไม่ต้องเหนื่อยที่จะต้องอธิบายหรือชี้แจ้งที่ตัวตนของเราเป็นเลย
เพราะคนที่เขาอยากทำความรู้จัก Make friends กับเรา เขาจะเข้ามาถามและเราจะสัมผัสได้ถึงความรู้สึกเหล่านั้นโดยทันที
สำหรับคนที่ชอบเข้าสังคม แล้วได้รับสิ่งดี ๆ จากการอยู่กับคนอื่น อาจจะสงสัยว่าทำไมไม่อยากเข้าสังคม หรือถ้าอีกแง่หนึ่งคืออย่างเราไม่เข้ากลุ่ม อาจจะทำให้ถูกมองว่า เราแปลกแยก
เข้าใจว่าเรื่องแบบนี้ยากที่จะไม่เก็บมาคิด เรื่องนี้คือการที่เรากำลังแคร์สายและความคิดของคนอื่นมากเกินไป เราต้องเตือนตัวเองว่า ไม่มีใครสนใจเราขนาดนั้นหรอก
ซึ่งในทางจิตวิทยาคนมักจะรู้สึกว่าตัวเองถูกจับจ้อง เรียกว่า Imaginary Audience ทำให้เราเกิดความกลัว ว่าเราทำอะไรบางอย่างแล้วจะถูกมองถูกตัดสิน แต่ความจริงคือทุกคนสนใจแต่ตัวเอง
ไม่มีใครใช้เวลาในการจับผิดคนอื่นอยู่แล้ว การเตือนตัวเองเลยทำให้มิ้นสบายใจขึ้น ไม่โฟกัสไม่จมอยู่แต่กับความกลัวนั้น
ประโยคนึงจาก “หลักเซ้ง” ตัวละครในเรื่อง กรงกรรม ก่อนที่เขาจะใกล้จบชีวิตลง เขาได้ฝากประโยคแก่คนรักว่า “คนเรามีเวลาอยู่ 3 วัน เมื่อวาน วันนี้ พรุ่งนี้ เมื่อวานนี้เราได้ใช้ไปหมดแล้วเอามาใช้อีกไม่ได้แล้ว
วันนี้เรากำลังใช้เวลากันอยู่และใช้เวลาได้แค่ครั้งเดียว ส่วนพรุ่งนี้ไม่รู้จะมีโอกาสได้ใช้ไหม อย่าประมาทเวลา ใช้เวลาที่เหลือของเราอยู่กับความสุขจริงๆดีกว่านะ ”
ซึ่งตรงกับโควท Enjoy life today .Yesterday is gone and tomorrow may never come. จาก Alan Coron นักเขียนชาวอังกฤษ
เวลา : Time
เวลา ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพุทธศักราช 2542 ให้คำนิยามว่าชั่วขณะ ความยาวนานที่มีอยู่หรือเป็นอยู่ โดยนิยมกำหนดขึ้นเป็นครู่ คราว วัน เดือน ปี
จากซีรี่ส์เรื่อง The Deadline ทำให้คิดได้ว่า ชีวิตคือความไม่เท่าเทียมก็จริง แต่สิ่งนึงที่ทุกคนมีเท่ากันคือเวลา เพราะฉะนั้นอาจจะพูดได้ว่า เวลาคือต้นทุนของชีวิต
เราได้มาฟรี ๆ โดยที่ไม่ต้องแลกมากับอะไร เพราะคนเรามีเวลาใน 1 วันเท่ากันคือ 24 ชั่วโมง /1440 นาที /86,400 วินาที แต่เราจะรู้สึกว่าเวลาผ่านไปช้าเมื่อต้องรอคอยอะไรสักอย่าง
เราจะรู้สึกว่าเวลาผ่านไปเร็วเมื่ออยู่กับคนที่เรารักหรืออยู่กับอะไรที่มีความสุข อย่างที่คนเขาชอบพูดกันว่าช่วงเวลาแห่งความสุขมักผ่านไปไวเสมอ…
บทความจาก dek d มีทฤษฎีที่อธิบายว่าทำไมบางครั้งคนเราถึงรู้สึกว่าเวลาผ่านไปช้าและบางครั้งก็ผ่านไปเร็ว เหตุผลเพราะว่าเวลามี 2 ด้านก็คือ
‘Objective time’ คือ เวลาจริงตามนาฬิกา ปฏิทิน หรือตารางเวลาการเดินรถ และเป็นเวลาที่วัดค่าได้
‘ลาดูเร่ (La durée)’ คือเวลาที่เราดำรงชีวิตหรือเวลาที่เรารู้สึก คำศัพท์คำนี้มาจากภาษาฝรั่งเศสซึ่งเทียบได้กับคำว่า ‘Duration’ ของภาษาอังกฤษ
“สิ่งสำคัญที่สุดคือเวลาไม่สามารถย้อนกลับมาได้” เวลา=ต้นทุนของชีวิต คนเรามี 24 ชมเท่ากันจริง แต่คนเรามีวิธีจัดการเวลาในแต่ละ 24 ชั่วโมงไม่เท่ากัน
เช่น คนที่มีต้นทุนชีวิตที่ดีเขาอาจจะมีความสามารถจัดการเวลาชีวิตได้มากกว่า ได้ทำในสิ่งที่อยากทำได้มากกว่า หรือบางคนใน 24 ชั่วโมงนั้นเขาอยากที่จะใช้เวลากับคนที่เขารัก
หรืออยากจะเล่นเกมดูซีรีส์ทั้งวันก็ไม่ผิดเหมือนกัน อย่าเสียดายที่ไม่ได้ทำในสิ่งที่ชอบในเวลาที่เรามีจำกัด เพราะไปทำตามความคาดหวังของคนอื่น
เมื่อวาน
มีหลายประโยคที่เกี่ยวข้องกับเมื่อวาน เช่น เมื่อวานคือสิ่งที่เอากลับมาไม่ได้ เมื่อวานคืออดีตที่ควรวางมันไว้ที่เดิม แต่สิ่งนึงที่รู้สึกคือ ขอบคุณเมื่อวาน ที่ทำให้มีวันนี้
เราเป็นแบบนี้ได้เพราะการผ่านประสบการณ์ต่าง ๆ ในชีวิต การเรียนรู้ การถูกอบรมสั่งสอน หรือแม้กระทั่งกับเรื่องเลวร้ายต่าง ๆ ในชีวิตที่ทำให้เราเป็นเราในทุกวันนี้
แต่จะคิดแบบนี้ได้ก็ต่อเมื่อเราผ่านเหตุการณ์นั้นมาแล้ว เพราะบางครั้งเราก็ไม่สามารถขอบคุณเหตุการณ์เลวร้ายได้เพราะยังไม่ลืม ยังเจ็บกับมันอยู่ ยังใช้ชีวิตด้วยความรู้สึกของเมื่อวานอยู่
วันนี้
“วันนี้คือความสุขที่จับต้องได้ คือความทุกข์ที่สัมผัสได้” รู้สึกว่าความตายเป็นเรื่องไกลตัวทั้ง ๆ ที่จริงมันจะมาตอนไหนก็ไม่รู้พอคิดแบบนี้แล้วเลยอยากจะทำทุกวันให้เต็มที่
ไม่อยากให้เกิดความรู้สึกว่า รู้งี้น่าจะทำแบบนั้น จะทำแบบนี้ แต่มันคงห้ามกันไม่ได้ เพราะมนุษย์ ความไม่รู้เป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ แต่ถ้าเราใช้ชีวิตแบบมีสติ ไม่ประมาท และรู้หน้าที่ตัวเอง
คิดไว้เสมอว่าตอนนี้เราทำได้เต็มที่และดีที่สุดแล้วอาจจะช่วยลดความรู้สึกที่เสียดาย และเสียใจไปก็ได้
พรุ่งนี้
พรุ่งนี้ คือ วันที่ยังไม่เกิดขึ้น กำหนดไม่ได้ คาดเดาไม่ได้ 100% สำหรับบางคน พรุ่งนี้ คือ เเรงขับเคลื่อน ความความหวังให้ใช้ชีวิตในปัจจุบันให้ดีที่สุด
แต่สำหรับบางคนความรู้สึกว่าไม่อยากมีวันพรุ่งนี้ก็อาจจะเกิดขึ้นได้เพราะ กำลังอยู่กับความทุกข์ในอดีตและปัจจุบัน อนาคตก็ไม่รู้ว่าจะดีขึ้นไหม หมดซึ่งความสุข ซึ่งก็สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน
อ. โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ ศาสตราจารย์ทางปรัชญาให้ความเห็นว่า ความหวังเป็นสิ่งจำเป็น มนุษย์ไม่อาจอยู่ได้ถ้าไม่มีหวัง การมีความหวังคือการมีเป้าหมายในชีวิต
ทำให้ชีวิตมีคุณค่าที่ชัดเจนขึ้นมา แต่เราไม่ต้องไปคิดว่าสิ่งที่เราหวังแล้วจะต้องได้หรือไม่ได้ เอาแค่ว่าในใจของเรามีหวัง ที่เหลือเป็นเรื่องของคนอื่น
เป็นสิ่งที่บังคับไม่ได้ แต่ใจเราบังคับได้ แค่มีความหวังเพียงในใจก็เพียงพอแล้ว ขอบคุณข้อมูลจากบทความ the matter
ไม่อยากใช้ชีวิตด้วยความรู้สึกของเมื่อวานที่เคยทำผิดพลาด
เมื่อเราลืมอดีตที่เราเคยทำผิดไม่ได้ เราอาจจะยังคงใช้ชีวิตด้วยความรู้สึกของเมื่อวานและที่สำคัญเลยคือ โทษตัวเอง บางทีความรู้สึกนั้นก็ทำให้เราเจ็บปวด
ถ้าตอนนี้เรากำลังหาความสงบให้กับจิตใจ การให้อภัยตัวเองอาจจะเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้เราก้าวไปข้างหน้าได้ บทความจาก Prevention : How to Forgive Yourself
การให้อภัยตัวเองไม่ได้ทำได้เพียงข้ามคืน เพราะมันเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา ลองบอกกับตัวเองว่าคนเราทำผิดพลาดกันได้ และไม่เป็นไรถ้าจะมีความรู้สึกผิดหรือละอายใจกับเรื่องราวในอดีต
นักจิตวิทยา Fred Luskin ผู้อำนวยการโครงการ Stanford University Forgiveness กล่าวว่า “การให้อภัยเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราเผชิญกับสิ่งที่เราทำในอดีต,ยอมรับกับข้อผิดพลาดของเราและก้าวต่อไปข้างหน้า
ไม่ได้หมายว่าเราแก้ตัวและไม่ได้หมายความว่าเราลืม มีฤดูกาลสำหรับความทุกข์และความเสียใจของเรา เราต้องมีสิ่งนั้น แต่เมื่อฤดูกาลสิ้นสุดลง โลกเคลื่อนไป และเราต้องก้าวต่อไปเช่นกัน”
ในบทความนี้มีทั้งหมด 13 วิธีในการที่จะให้อภัยตัวเอง ขอยกมา 5 ข้อที่น่าสนใจ
1. จัดหมดหมู่ให้ความผิด
เป็นเรื่องยากที่จะให้อภัยตัวเองเมื่อเราเมื่อได้ทำ 4 สิ่งต่อไปนี้…
- เคยล้มเหลวในงานสำคัญในชีวิต เช่น การเเต่งงาน
- การกระทำของเราไปทำร้ายใครสักคน
- เคยทำร้ายตัวเองด้วยวิถการใช้ชีวิต เช่น การดื่มแอลกอฮอลล์หรือทำอะไรที่เป็นการทำร้ายตัวเอง (self-destructive)
- ไม่ได้ทำในสิ่งที่เราคิดว่าควรทำ เช่น ไม่ได้เก็บเงินไว้เพื่อส่งลูกเรียน
การจัดหมวดหมู่ให้ความผิด เป็นกระบวนการเริ่มต้นการให้อภัย ทำให้เราสามารถแยกแยะสิ่งต่าง ๆ ที่เราทำมองดูมัน ค่อย ๆ ถอยห่างและเริ่มต้นฮีลตัวเอง
2. สังเกตว่าเราพูดกับตัวเองในใจอย่างไร
ให้เราลดการพูดกับตัวเองในเชิงลบ (Negative self-talk) การปล่อยให้ตัวเองจมกับสถานการ์ที่เคยทำและกล่าวโทษตัวเองให้รู้สึกแย่กับสิ่งที่เคยทำจะทำให้เราให้อภัยตัวเองได้ยาก
ให้รับรู้และยอมรับความผิดพลาดโดยไม่ทำให้ตัวเองผิดหวัง โดยการทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นและคิดว่ามันเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ เกิดอะไรขึ้นในครั้งนี้และสามารถทำอะไรแตกต่างไปจากเดิมได้ในอนาคต
3. ฝึก PERT (Positive Emotion Refocusing Technique)
หรือเทคนิคการปรับโฟกัสอารมณ์เชิงบวก เป็นกลยุทธ์ 45 วินาที ที่ Luskin สร้างขึ้นเพื่อใช้ในเวลาที่เราต้องการก้าวผ่านความผิดพลาดในอดีต
เพียงแค่หลับตา หายใจเข้าลึกๆ ดันหน้าท้องออกเบาๆ จากนั้นหายใจออกช้าๆ ในขณะที่หน้าท้องรู้สึกผ่อนคลาย ให้หายใจเข้าครั้งที่สองแล้วหายใจออก
ในการหายใจครั้งที่สาม ให้จินตนาการถึงคนที่เรารักหรือสถานที่ธรรมชาติที่สวยงามที่ทำให้เรา เช่น ทะเล น้ำตก อะไรก็ได้เลยที่เราชอบ หายใจเข้าลึก ๆ ในขณะที่เรากำลังสำรวจความงามของธรรมชาติรอบตัว
สังเกตว่าเรารู้สึกอย่างไร และปล่อยให้ความรู้สึกนั้นไปอยู่ตรงกลางรอบ ๆ หัวใจของเรา
4. ทำในสิ่งที่ในสิ่งถูกต้อง
เพื่อชดใช้ในสิ่งที่เราเคยทำ เราอาจจะต้องหาทางที่จะใจดีกับคนที่เราเคยทำร้าย แม้ว่าคนนั้นจะหายไปจากชีวิตของเราเเล้ว เเต่เราก็สามารถทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยการมอบความใจดีหรือเมตตาให้กับคนอื่น
เช่น ถ้าเราเคยเป็นพ่อแม่ที่แย่ พอจะเป็นไปได้ไหมที่เราจะเป็น ปู่ย่าตายายที่ดีของหลาน ๆ หรือพอจะเป็นไปได้ไหมที่เราจะเข้าร่วม Group support ให้คำแนะนำเป็นเพื่อนกับลูกของคนอื่นได้หรือไม่
การทำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้เราเปลี่ยนมุมมองที่เรามองตัวเอง มองเห็นคุณค่าในตัวเองที่เรามีได้มากขึ้น
5. แทนที่ความรู้สึกผิดด้วยการขอบคุณ
ความรู้สึกแย่ต่อสิ่งที่เราเคยทำในอดีตสามารถสร้างปัจจุบันที่เจ็บปวดได้ ในขณะที่เรากำลังเรียนรู้ที่จะให้อภัย ลองพักร่างกายและจิตใจด้วยการแทนที่ความรู้สึกผิดเป็นการขอบคุณ ด้วยการทำสิ่งเหล่านี้
- ไปซื้อของที่ Supermarket และขอบคุณสำหรับอาหารและสิ่งของมากมายที่มีอยู่
- เมื่อขับรถ ขอบคุณเพื่อนร่วมเส้นทางที่ปฏิบัติตามกฎจราจร
- ถ้ามีคนสำคัญในชีวิต ลองขอบคุณพวกเขาที่คอยอยู่เคียงข้าง
- ถ้าไปซื้อของเเล้วมีพนักงานรอให้บริการ ลองขอบคุณพวกเขาสำหรับการบริการและความช่วยเหลือ
- เมื่อตื่นขึ้นมาในตอนเช้า ลองขอบคุณสำหรับลมหายใจและของขวัญของชีวิต
แรงบัลดาลใจที่ดีที่สุด คือ Deadline
The Greatest Inspiration is the Deadline. กับหลายเรื่องมี Deadline แต่เวลาชีวิตมักไม่มี Deadline หรือจริง ๆ ก็มีนั่นแหละ แต่เราไม่มีทางล่วงรู้ นั่นอาจจะเป็นเรื่องดีที่จะทำให้เราทำในสิ่งที่อยากทำ
มีความสุขกับสิ่งที่ควรมีความสุข เพราะไม่รู้ว่า Deadline ในชีวิตจะมาเมื่อไหร่ เคยคิดเหมือนกันว่าเราจะใช้ชีวิตให้ทุกวันเหมือน Deadline ดีไหม เพราะเราก็ไม่รู้ว่าเราจะตายวันไหน
บางคนอาจจะใช้ได้นะ แต่บางคนยิ่งคิดยิ่งรู้สึกกดดัน เลยคิดว่าเราก็พยายามทำให้ทุกวันมีความสุข ใช้ชีวิตให้เต็มที่ในทุก ๆ วันเท่าที่เราจะทำได้นั้นแหละคือแฮปปี้แล้ว
โรคกลัวความตาย
พอกล่าวถึงเรื่องของ เวลา แล้วสิ่งที่มาพร้อมกับเวลาก็คือ ความตาย แต่คนส่วนใหญ่มักจะไม่ชอบพูดเรื่องของความตายทั้งที่แล้วจริงแล้วคนเราสามารถตายได้ทุกวัน เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าวันนี้จะเป็นวันสุดท้ายของชีวิตเราไหม
อะไรคือโรคกลัวความตาย?
ในภาษากรีก Thanatos หมายถึง ความตาย และ Photos หมายถึง ความกลัว Thanatophobia รวมกันเป็น กลัวความตาย โดยที่บุคคลนั้นที่มีความกังวล และหวาดกลัวอย่างมาก เมื่อนึกถึงความตาย
ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ กลัวการพรากจากคนรัก กลัวการสูญเสีย เมื่อความกลัวเหล่านั้นมันเกิดขึ้นจนส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันทำให้พวกเขาไม่กล้าออกจากบ้าน
ประเภทของความกลัว
1. กลัวสิ่งที่ไม่รู้จัก
โรค กลัวความตาย มีพื้นฐานมาจากกลัวในการสิ่งที่ไม่รู้เพราะมนุษย์ต้องการรู้ทุกอย่าง มีความต้องการที่ต้องคาดการณ์สถานการณ์ต่างๆได้ทำให้ความไม่รู้เป็นสาเหตุที่ทำให้มนุษย์กลัวตาย
2. กลัวสูญเสียการควบคุม
การตายอยู่นอกเหนือการควบคุม ทำให้คนกลัวในสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้
3. กลัวความเจ็บปวด เจ็บป่วย
ความเจ็บปวด เจ็บป่วย ทำให้คนหมดแรง หมดอำนาจ ที่จะทำในสิ่งต่าง ๆ
4. กลัวคนใกล้ชิดทอดทิ้ง
เขามักจะกลัวว่าหลังจากที่เขาตายจะเกิดอะไรขึ้นต่อคนใกล้ชิดกับพวกเขาทำให้พวกเขากลัวที่จะตาย
การกลัวความตายจะถูกวินัจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นเพราะมีโอกาสที่จะมีปัจจัยแทรกซ้อนจากโรคทางจิตเวชอื่น ๆ ด้วย เช่น โรควิตกกังวล โรคย้ำคิดย้ำทำ โรค PTSD ซึ่งอาการหวาดกลัวความตาย
- รู้สึกวิตกกังวลอย่างรุนแรงเมื่อเผชิญหน้าหรือนึกถึงความตายหรือกำลังจะตาย
- มีผลกระทบในชีวิตประจำวันหรือความสัมพันธ์
- มีอาการอยู่นานกว่า 6 เดือน
ถึงแม้ว่าความตายจะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้แต่หากว่าใครที่มีอาการเหล่านี้ต่อเนื่องถึง 6 เดือนจนถึงกระทบต่อการใช้ชีวิต กระทบกับความสัมพันธ์กับคนรอบตัว การไปพบแพทย์เป็นทางออกที่ดีที่จะทำให้เรากลับมาบาลานซ์สิ่งต่างๆในชีวิตให้มากขึ้น
คนที่สามารถตอบได้ว่าความสุขที่แท้จริงคืออะไร คือตัวของเราเอง เพราะความสุขของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ไม่เท่ากัน ไม่สามารถนำมาตัดสินตัวเราหรือใครได้เลย
ถ้าวันนี้ยังไม่รู้ว่า ณ ตอนนี้ ความสุขของเราอยู่ที่ตรงไหน ไม่เป็นไรเลยค่อย ๆ ตามหามัน ไปพร้อมกับพวกเราใช้ชีวิตในแบบที่ตัวเราพอใจ และใช้ชีวิตด้วยความเข้าใจ
อ้างอิง :