Posts

 เซรามิกแตกสลาย และดอกไม้อื่นๆ เป็นเล่มที่ชื่อเหมือนกับความสวยของปกเลย 🙂

 

หนังสือ เซรามิกแตกสลายและดอกไม้อื่นๆ

เป็นวรรณกรรมที่ถูกเขียนออกมาในรูปแบบของสารานุกรมดอกไม้ 16 ดอก ในเล่มเหมือนเราอ่านสารานุกรมดอกไม้

 

มีรูปดอกไม้ มีลักษณะของดอกไม้ วิธีดูแลแล้วก็ความหมายของดอกไม้

 

ซึ่งดอกไม้ในเล่ม ไม่ใช่ดอกไม้จริงๆ ในโลกเป็นดอกไม้ที่เป็นตัวแทนของอารมณ์หรือความรู้สึกต่างๆ ของมนุษย์นี้ เช่น ดอกโศกสร้างฝน ดอกขจีคนชัง แล้วก็ดอกร้าวระอา

 

เพราะฉะนั้นแล้วความหมายและวิธีดูแลต่างๆ คือการดูแลใจเรา เป็นวิธีดูแลใจ ดูแลความรู้สึกที่ถูกเปรียบเป็นดอกไม้ในใจเรา

 

เซรามิก

นอกจากมีการพูดถึงเซรามิกด้วย เซรามิกที่อยู่ในเล่มเปรียบเสมือนกับใจของเรา บทจะแข็งแรงก็แข็งแรง แต่ถามว่าแตกง่ายไหมก็แตกง่ายเหมือนกัน

 

หนังสือก็เลยเปรียบใจของเรากับเซรามิก เซรามิกไว้ใส่ดอกไม้ เหมือนกับใจเราที่เก็บความรู้สึกและเป็นที่ๆ อารมณ์ต่างๆ เติบโตออกมา

 

ดอกต้านตะวัน

ดอกว่า ดอกต้านตะวัน ลักษณะคล้ายดอกทานตะวันแหละทุกคน ….. ข้อควรระวังของดอกต้านตะวันในหนังสือเขียนไว้ว่า

 

 

ทุกคนน่าจะรู้แล้วว่า ต้านตะวัน เป็นดอกที่พยายามจะบอกเราว่า มนุษย์เราไม่จำเป็นต้องยิ้มตลอดก็ได้

เราจะเป็นดอกทานตะวันที่สดใส งดงาม หันหน้าหาแสงแดดตลอดก็ได้

แต่อย่าลืมเตือนตัวเองด้วยว่า เราไม่ต้องยิ้มตลอดเวลาหรอก ทานตะวันหันหน้าหนีแสงบ้างก็ไม่เป็นไร

 

 

หลายครั้งหลายคราว โดยเฉพาะคนที่เป็น people pleaser  เราจะชอบเอาความรู้สึกของคนอื่นนำก่อนตัวเอง

 

บางครั้งเรายิ้มเพราะเราอยากให้อีกคนยิ้ม เรายิ้มเพราะเราอยากบอกอีกคนว่าไม่เป็นไร

 

เรายิ้มเพราะเราอยากให้ความสุขในตัวเราส่งไปหาเขา แต่บางที เราอาจจะกลับลืมเช็คกับตัวเองว่าเราเหลือความสุขและความสดใสไว้ให้ตัวเองด้วยรึเปล่า

 

บางครั้งเราก็ฝืนตัวเอง เพราะเราอยากให้คนอื่นมีความสุข แต่อย่าลืมมอบความสุขให้ตัวเองเหมือนกันนะ 🙂

 

 

 

จับจด เบื่อง่าย ทำความเข้าใจนิสัยจับจด

 

 

จับจด คืออะไร?  

การตั้งใจอยากทำอะไรสักอย่างแล้วก็ล้มเลิกก่อนที่จะทำสำเร็จ เช่น การตั้งเป้าหมายออกกำลังกาย 7 สัปดาห์ แต่ทำได้แค่ 1 สัปดาห์ 

   

 

จับจดเกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตหรือไม่?

สำหรับหลาย ๆ คน พอเห็นตัวเองตั้งใจจะทำอะไรสักอย่าง แล้วล้มเลิกก่อนจะทำสำเร็จ หลายคนก็อดไม่ได้ที่จะคิดว่าตัวเองทำอะไรก็ไม่สำเร็จ 

 

ความรู้สึกผิดหวังในตัวเองทำให้เกิดความคิดเชิงลบเกี่ยวกับตัวเอง แรงจูงใจลดลงและรู้สึกแย่ลงเรื่อย ๆ

          

 

จับจดมีสาเหตุมาจากอะไร?

การตั้งเป้าไว้ใหญ่ ๆ เช่น คนที่ไม่เคยออกกำลังกายเลยแต่ตั้งเป้าหมายออกกำลังกายไว้ว่าจะออก 1 ชั่วโมง/ต่อวัน

 

เราอาจเปลี่ยนจากเป้าหมายใหญ่ ๆ เป็นเป้าหมายเล็ก ๆ แทน เพื่อเก็บความสำเร็จทีละขั้นตอน

 

ารตั้งเป้าหมายที่เหมาะสมและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสร้างนิสัยที่ดี การตั้งเป้าหมายที่ใหญ่มากอาจทำให้เรารู้สึกท้อแท้ ควรปรับเป้าหมายให้เล็กลง

 

เริ่มต้นด้วยการตั้งเป้าหมายเล็ก ๆ เช่น การออกกำลังกายเพียงวันละครึ่งชั่วโมง เมื่อเริ่มทำสิ่งเล็กๆ จนชิน เราสามารถเพิ่มความท้าทายได้ทีละน้อย

 

การเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ จะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เห็นได้ชัดในอนาคต การเปลี่ยนแปลงเพียง 1% ต่อสัปดาห์สามารถส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีวินัยสำคัญในระยะยาวได้

 

การเริ่มต้นทำสิ่งหนึ่ง หรือการตั้งเป้าหมายและการทำสิ่งเล็กๆ สามารถสร้างแรงบันดาลใจและการเปลี่ยนแปลงในชีวิตได้

          

 

จะแก้จับจดได้อย่างไร?

การทำความเข้าใจอุปสรรคที่ทำให้เกิดความรู้สึกไม่มั่นคงในตัวเองเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาตนเอง

 

 

สำรวจความรู้สึกและความคิดที่เกิดขึ้นเมื่อเรารู้สึกว่าเราต้องทำมากกว่านี้ โดยใช้ตัวอย่างจากการเขียนสามบรรทัดเพื่อแสดงถึงความรู้สึกต่าง ๆ ของตัวเอง

 

 

การจัดการกับเสียงในใจและการสร้างแรงจูงใจให้กับตัวเอง ช่วยให้เราสะท้อนความคิดและความรู้สึกของตนเองได้

 

          

      

 

 Mind Reading อ่านใจคน พลังวิเศษหรือแค่ความคิดที่บิดเบือน?

 

Mind Reading  ไม่ใช่การอ่านใจคน

 

แต่เป็นการอ่านสีหน้า ท่าทาง คำพูด หรือภาษากายของอีกฝ่ายแล้วสรุปไปเองว่าอีกฝ่ายกำลังคิดหรือรู้สึกอะไรอยู่

 

แม้จะเขาไม่ได้พูดออกมาหรือไม่มีหลักฐานอะไรรองรับมากมาย Mind Reading เป็นเรื่องปกติ

 

โดยพื้นฐานจะบอกว่าทุกคนมีความสามารถในการอ่านใจคนได้ระดับหนึ่งก็ไม่ผิด  เพราะว่ามนุษย์เรามีความสามารถในการอ่านสีหน้า แววตา ภาษากาย ในระดับหนึ่งอยู่แล้ว 

 

คือคนเราจะดูออกว่าคน โกรธ เศร้า กังวล เครียด (บางคนอาจจะเรียกสิ่งนี้ว่่สัญชาติญาณ / Sence/อ่านบรรยากาศ /มวลอารมณ์)  

 

การอ่านใจส่วนใหญ่แล้วมีประโยชน์ในการเข้าสังคมหรืออยู่กับคนอื่น  เช่น ดูสีหน้าแล้วกำลังโกรธเลยยังไม่เข้าไปยุ่ง ดูท่าทางแล้วเขาอาจกำลังเครียด

 

Mind Reading แบบที่ถือว่าเป็นความคิดบิดเบือน

Mind Readig แบบที่จัดเป็นความคิดที่บิดเบือนและไม่ดีต่อสุขภาพจิตเรา มันคือการที่เราด่วนสรุปว่าอีกฝ่ายกำลงคิดอะไรอยู่

 

โดยส่วนใหญ่เป็นข้อสรุปทางลบ เราเผลอเชื่อการด่วนสรุปของเราโดยไม่รู้แน่ 100% ด้วยซ้ำว่าอีกฝ่ายคิดหรือรู้สึกอะไรกันแน่

 

มันรู้สึกจริงสำหรับเรา ในหัวเรา แต่มันอาจจะไม่ตรงกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น แต่มันรู้สึกจริง

 

การคิดบิดเบือน หรือการคิดแทนคนอื่น การที่เราคิดเอาเองว่าเราอ่านใจคนอื่นออกไหม?

 

หรือการคิดที่คิดว่าเรารู้ว่าคนอื่นกำลังคิดอะไร รู้สึกยังไง ต้องการอะไร โดยที่เราไม่ได้ข้อมูล หลักฐานที่ชัดเจน

 

บางครั้งการที่เราคิดแบบนี้ก็อาจทำให้เราเสีย ความมั่นใจ หรือเสียความรู้สึกจากความคิดที่เราคิดเอง… 

 

 

ความอันตรายของ Mind Reading

Mind Reading อาจทำให้เกิด Self-fulfilling prophecy ได้ (การอ่านใจคนอื่นอาจทำให้ผลลัพธ์ที่เรากังวลว่าจะเกิด มันเกิดขึ้นจริงๆ)

 

เช่น เรามีแฟน แล้วเราด่วนสรุปเลยว่าแฟนมีชู้ เราก็อาจจะไปมีชู้บ้างเพื่อประชดแฟน

 

หรือเราก็อาจจะตามตื้อตามเช็คจนมันเลยขอบเขตพื้นที่ส่วนตัวของกันและกัน สุดท้ายก็บีบรัดกันเกินไป

 

สุดท้ายอาจลงเอยที่เลิกกัน ทั้งที่ความคิดตอนต้นที่เราคิดว่าแฟนมีชู้ยังไม่มีหลักฐาน support หรือเรายังไม่ได้สืบให้แน่ชัด แต่เราปักใจเชื่อไปแล้ว

 

 

สาเหตุ

 

วิธีแก้

(หนึ่งพฤติกรรมเกิดได้จากหลายอารมรณ์ และหนึ่งอารมณ์สามารถก่อให้เกิดได้หลายพฤติกรรม เราไม่มีทางรู้ว่าคิ้วขมวดนี้แปลว่า โกรธ สงสัย มองไม่เห็น ปวดหัว กังวล ตั้งใจ หรืออื่นๆ )

 

 

 

Energy Vampire ทำไมคนบางคนอยู่ด้วยรู้สึกเหนื่อยจังเวลาต้องใช้เวลาอยูู่กับคน ๆ หนึ่ง คนประเภทนี้มีชื่อเรียกว่า ‘มนุษย์แวมไพรท์’ แต่ไม่ใช่ผีดูดเลือดแบบในหนังที่เห็นกัน

 

ชวนทุกคนมาทำความรู้จักกับคนที่สูบพลังชีวิตคนอื่น เพราะบางทีเรานี่แหละก็อาจเป็นเหมือนกัน

 

 

Energy Vampire คืออะไร ?

 

Energy vampire หรือ มนุษย์ที่ดูดพลังงานชีวิตจากคนอื่น คือ คนที่มักจะทิ้งอารมณ์ลบ ๆ ให้กับคนอื่นอยู่เสมอ  เวลาที่เราอยู่ด้วยเราจะรู้สึกเหนื่อย หมดพลังงาน หรือพอได้คุย ได้พบปะ กับคน ๆ นี้แล้วไม่อยากทำอะไรต่อ

 

“เหมือนถูกดูดพลังงาาน”  ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงการพูดคุยเท่านั้น แต่รวมไปถึง การเจอโพสต์ต่าง ๆ ที่ส่งพลังงานด้านลบในสื่อโซเชียลด้วย

 

มนุษย์แวมไพร ที่เราพูดถึงอยู่เกิดขึ้นได้กับทุกสถานะ เช่น ครอบครัว เพื่อน เพื่อนร่วมงาน แฟน

 

 

 

ลักษณะของมนุษย์ที่ดูดพลังงานชีวิตจากคนอื่น

 

มาในลักษณะคนหลงตัวเอง : แวมไพร์หลงตัวเองเป็นคนเห็นแก่ตัวและขาดความเห็นอกเห็นใจ คอยแสวงหาความชื่นชมและความสนใจอยู่ตลอดเวลา

 

มาในบทเหยื่อ : แวมไพร์พลังงานเหยื่อเจริญเติบโตด้วยความสงสารและความเห็นอกเห็นใจ โดยมักจะแสดงตนว่าไม่มีทางสู้และไม่ถูกเข้าใจ

 

มาในรูปแบบดาราท่านหนึ่ง : สร้างความวุ่นวายและดราม่าเพื่อให้ตัวเองเป็นศูนย์กลางของความสนใจ โดยมักจะต้องแลกมาด้วยพลังงานทางอารมณ์ของผู้อื่น

 

แวมไพร์พลังงานเชิงลบ : แวมไพร์พลังงานเชิงลบจะแสดงความรู้สึกเชิงลบออกมาทางอ้อม ทำให้คุณรู้สึกผิดหรือรู้สึกไม่ดีพอ

 

 

แบบไหนที่เรียกว่ามนุษย์ที่ดูดพลังงานชีวิตจากคนอื่น ?

 

วิธีสังเกตว่าคนอื่น รวมถึงตัวเองว่าเป็นมนุษย์ที่ดูดพลังงานชีวิตจากคนอื่นหรือเปล่า   

 

–  บ่นอย่างไม่มีที่สิ้นสุด แบบไร้สาเหตุ หาเรื่องวิจารณ์คนอื่นไม่ว่าจะเรื่องเล็กเรื่องน้อย 

 

–  เอาแต่ใจไม่สนใจความรู้สึกของคนอื่น ขาด Emphaty โทษคนอื่นอยู่เสมอ 

 

–  เอาปัญหาของตัวเองมาวางไว้ที่คนอื่น เวลาไม่สบายใจก็จะมาปรึกษาคนอื่นแต่ เป็นการปรึกษาเชิงหาคนเข้าข้างตัวเอง ใครแนะนำก็จะไม่ถูกใจ

 

–  เรียกร้องความสนใจจากคนใกล้ตัว ต้องการให้คนอื่นรับฟังแต่เรื่องของตัวเองอยู่เสมอ บางครั้งแม้ประเด็นสนทนาจะเป็นเรื่องของเราแต่ก็เลี้ยวเข้าเรื่องของตัวเอง

 

 

มนุษย์ที่ดูดพลังงานชีวิตจากคนอื่น ? 

 

เราต้องยอมรับความรู้สึกของเราก่อนว่าเราเป็น ห้ามปฏิเสธตัวเอง ถ้าอยากจะเปลี่ยนแปลง เพราะ การจัดการอารมณ์ตัวเองสำคัญมาก ๆ เราเข้าใจนะว่าเวลาเรารู้สึกไม่ดี

 

เราต้องการหาที่ระบาย เป็นเรื่องปกติสามารถทำได้แต่เวลาจะระบายเราอาจจะต้องถาม อีกฝ่ายก่อนว่าสะดวกที่จะรับฟังในช่วงเวลานี้หรือเปล่า 

 

เพราะเราไม่รู้ว่าเวลาที่เราเลือกระบาย คน ๆ นั้นอาจจะมีอะไรที่ไม่โอเคอยู่ก็ได้  ลองสังเกตปฏิกิริยาของตัวเองเวลาอยู่กับคนรอบข้างดู แบบไม่หลอกตัวเองหรือเข้าข้างตัวเอง

 

 

รับมืออย่างไรดี ?

 

ไม่ต้องรู้สึกผิดที่จะปฏิเสธ หรือตัดจบ ถ้าหากเราไม่ไหวจริง ๆ ก็จะต้องดูแลหัวใจตัวเองให้ดีก่อน

 

 

ที่มา : 

วิธีรับมือ หากไม่อยาก ‘หมดพลัง’ ไม่รู้ตัว

รู้จัก มนุษย์ที่ดูดพลังงานชีวิตจากคนอื่น

การกลับมาอยู่กับปัจจุบัน หรือ Grounding ซึ่งอีกชื่อเรามักเรียกกันว่าเทคนิค 5-4-3-2-1 เป็นวิธีที่นักจิตวิทยาแนะนำและนำมาปรับใช้ได้ในทุกสถานการณ์

 

 

Back to reality

ตอนนี้ ดวงตาของเพื่อน ๆ มองเห็นอะไรบ้างที่อยู่ตรงหน้า สายตาของเรากำลังทอดมองไปยังสิ่งใด ขอให้ตอบตัวเองได้อย่างน้อย 5 สิ่งที่มองเห็น

 

บางคนอาจจะกำลังมองเห็นต้นไม้ที่พลิ้วไหวไปตามแรงของลม หรือเห็นรอยยิ้มของใครบางคนที่ปรากฏขึ้นบนใบหน้า ขณะที่กำลังอ่านหนังสืออยู่

 

เห็นเสาของอาคารที่ทำด้วยปูน คนที่พร้อมสู่การนอน..เห็นแสงไฟสีขาวจากหลอดไฟบนเพดาน  ให้เวลาทำสมาธิสักครู่ในทุก ๆ คำถามนะ

 

………….(ทิ้งระยะไว้ประมาณ 7 วินาที)

 

เมื่อตอบคำถามในข้อแรกได้เรียบร้อยแล้ว ขอให้ค่อย ๆ หลับตาลง แต่ถ้าใครไม่สะดวกก็ไม่เป็นไรนะ

 

ในขั้นตอนนี้ ขอให้ค่อย ๆ ใช้หูฟังว่าตอนนี้กำลังได้ยินเสียงอะไร อย่างน้อยสี่เสียง…อาจจะเป็นเสียงของผู้คนที่พูดคุยกัน เสียงคลิกเมาส์

 

เสียงคีย์บอร์ดที่ดังมาจากคนที่นั่งทำงานอยู่ เสียงเครื่องปรับอากาศที่กำลังพัดลมเย็นออกมาให้เรา 

 

แม้แต่เสียงในใจตัวเอง ถ้าเพื่อน ๆ ได้ยิน ก็ตอบเสียงหัวใจของตัวเองก็ได้ค่ะ ตอบได้เต็มที่เลย

 

………….(ทิ้งระยะไว้ประมาณ 7 วินาที)

 

ประสาทสัมผัสต่อไป เป็นอวัยวะส่วนที่สำคัญไม่แพ้กัน นั่นก็คือ จมูกที่ใช้รับกลิ่นต่าง ๆ ตอนนี้เพื่อน ๆ กำลังได้กลิ่นอะไรอยู่บ้าง

 

อย่างน้อย 3 กลิ่น อาจจะเป็นกลิ่นของน้ำหอม กลิ่นความชื้นของดินหลังฝนที่เพิ่งหยุดตกไป

 

กลิ่นขนมปังที่เพิ่งอบเสร็จใหม่ ๆ จากเตา กลิ่นเทียนหอมที่จุดไว้ข้างเตียง กลิ่นของน้ำยาปรับผ้านุ่ม ที่เพิ่งใช้ซักเสื้อที่ใส่วันนี้ ให้เวลาทบทวนตัวเอง

 

………….(ทิ้งระยะไว้ประมาณ 7 วินาที)

 

จากนั้น ลองสำรวจดูว่าตอนนี้เพื่อน ๆ กำลังนั่งหรือนอนอยู่ในท่าไหน มือและนิ้วมือรวมไปถึงเท้าและนิ้วเท้าของเรากำลังสัมผัสอะไรอยู่…

 

มือของเรากำลังวางอยู่บนตัก ร่างกายเรากำลังถูกห่อหุ้มด้วยผ้าห่มนุ่ม ๆ นิ้วเท้าเรากำลังสัมผัสกับพื้นครบทั้งสิบนิ้ว

 

หรือเท้าของเราได้ถูกสวมใส่โดยถุงเท้าข้อสั้นอยู่ ค่อย ๆ นึกได้เลย

 

………….(ทิ้งระยะไว้ประมาณ 7 วินาที) 

 

และสุดท้าย กลับมาฟังเสียงร่างกายและจิตใจตัวเองด้วยการถามตัวเองว่า เรากำลังรู้สึกอะไรอยู่

 

ถ้าเป็นไปได้อยากให้ตอบถึงความรู้สึกที่เป็นความรู้สึกในตอนนี้ แต่ถ้านึกไม่ออก งั้นขอเป็นความรู้สึกที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นาน

 

เมื่อไม่กี่นาทีหรือชั่วโมงที่ผ่านมาของวันนี้แทนก็ได้… เพื่อน ๆ บางคนอาจจะกำลังรู้สึกเหงา รู้สึกร้อนเพราะอากาศไม่ถ่ายเท

 

รู้สึกเย็นสบาย รู้สึกดีที่ได้กินขนมที่ชอบ อาหารที่อร่อย รู้สึกมีความสุข รู้สึกเหนื่อยที่ต้องตื่นเช้าและใช้พลังงานสมองทั้งวัน ค่อย ๆ ใช้เวลาทบทวนตัวเอง

 

………….(ทิ้งระยะไว้ประมาณ 7 วินาที)

 

 

Relax to Sleep

ในช่วงเวลานี้ ขอให้ค่อย ๆ ปล่อยและวางทุกอย่างลง ปิดความคิดที่กำลังคิดเรื่องตัวเองหรือคนอื่นลง

 

ลองขยับเปลี่ยนท่านอนหรือท่านั่ง ให้รู้สึกผ่อนคลายสบายตัวที่สุด จากนั้นค่อย ๆ ลดการเกร็งตั้งแต่นิ้วเท้าขึ้นมายังศีรษะ

 

ลองดูว่านิ้วเท้าเราหายเกร็งหรือยัง เท้าของเราวางอยู่ในรูปแบบไหน ส้นเท้าเรากำลังสัมผัสอะไรอยู่…ไล่ขึ้นมาถึงขา

 

อวัยวะที่ช่วยให้เราเดินมาไหนไปไหนได้ ตอนนี้เข่าสักข้างงออยู่รึเปล่า หากยังเกร็งกล้ามเนื้อสะโพกอยู่ก็ค่อย ๆ คลายมันลง

 

ลองดูซิว่าท้องและหน้าอกเราตอนนี้ต่างก็กำลังพองขึ้นและยุบลงขณะที่หายใจอย่างผ่อนคลาย

 

หัวไหล่ทั้งสองข้างกำลังวางอยู่ในตำแหน่งที่สบาย ไม่รู้สึกว่ากำลังยกไหล่อยู่ แขนที่กำลังวางข้างลำตัว

 

หรืออาจจะยกแขนขึ้นเพราะเป็นท่าที่สบายของเรา แล้วนิ้วมือเล็ก ๆ ที่น่ารักของเรากำลังสัมผัสกับอะไร เรากำลังแบมือไหม

 

หรือกำมืออยู่…คอเรากำลังวางอยู่บนหมอนมั้ย ยังเกร็งอยู่รึเปล่า ค่อย ๆ ขยับวางในตำแหน่งที่เพื่อน ๆ รู้สึกว่าตื่นมาแล้วจะไม่ปวดคอ

 

แล้วศีรษะของเราตอนนี้เป็นยังไง เอนไปด้านใดด้านหนึ่งเล็กน้อยหรือนอนหงายหน้าตรง เรากำลังกัดฟันอยู่รึเปล่า

 

ขมวดคิ้วอยู่มั้ย ค่อย ๆ ผ่อนคลายไปทีละส่วนนะคะ ถ้ารู้สึกว่ายังมีแสงมารบกวนขณะปิดตา ลองพลิกตัวหนีแสง

 

หรือทำยังไงก็ได้ให้แสงสัมผัสดวงตาเราได้น้อยที่สุด การนอนหลับอย่างมีคุณภาพ คือ การนอนหลับในห้องที่มืดสนิท ไม่มีแม้แต่แสงจากหลอดไฟมารบกวน

 

ถ้าเพื่อน ๆ มีเรื่องไม่สบายใจอยู่ ขอให้พักเรื่องเหล่านั้น เรามาทำสิ่งที่เราควบคุมได้ ณ ตอนนี้กันดีกว่า

 

ถ้าตอนนี้เรารู้สึกกังวล นั่นแปลว่าตอนนี้เพื่อน ๆ กำลังอยู่กับอนาคต เรื่องของวันพรุ่งนี้ก็ปล่อยให้เป็นเรื่องของวันพรุ่งนี้

 

และถ้ารู้สึกโหยหาความสุข เราอาจจะกำลังผูกตัวเองไว้กับอดีต ซึ่งจริง ๆ ทั้งหมดทั้งมวล เราสามารถไล่ตามแรงบันดาลใจหรือความปรารถนาได้

 

แต่อย่าละเลยการจัดลำดับความสำคัญในปัจจุบัน สิ่งที่เรากังวลมันอาจจะไม่เกิดขึ้นก็ได้

 

และสิ่งที่ดีที่เราตามหา อาจจะกำลังยืนอ้าแขนรอที่จะมอบอ้อมกอดให้เราอยู่ข้างหน้าในสักวัน

 

สุดท้าย หากเราในวันนี้กำลังรู้สึกเหนื่อยก็ไม่เป็นไร เพราะแปลว่าที่ผ่านมา เพื่อน ๆ ทำ เต็มที่แล้ว :))

The Imaginary Audience รู้สึกว่าตัวเองถูกจับจ้องและถูกตัดสินอยู่ตลอดเวลา ทำให้หลาย ๆ ครั้งเวลาทำอะไรที่เรารู้สึกว่าเป็นเรื่องน่าอาย

 

จะรู้สึกอายอยู่นานเพราะคิดว่าคนอื่นตัองหัวเราะเยาะเราต้องนินทาเราแน่เลย เกิดอะไรขึ้นกับตัวเรากันแน่ ? ที่ทำให้เราคิดแบบนี้ รู้สึกแบบนี้ คำอธิบายทางจิตวิทยาไหนไหมที่ตรงกับสิ่งที่เราเป็นอยู่ ?

 

 

Imaginary Audience

 

“ผู้ชมในจินตนาการ” เป็นแนวคิดทางจิตวิทยาที่พบได้ทั่วไปในช่วงวัยรุ่น หมายถึง ความเชื่อที่ว่า ตัวเราอยู่ภายใต้การสังเกตอย่างใกล้ชิดจากคนรอบข้างและ คนแปลกหน้า 

 

พูดอย่างเข้าใจง่าย คือ เรารู้สึกถูกจับจ้องจากสายตาคนรอบข้าง คนรอบข้างมักมองและสนใจเรา ซึ่งในความเป็นจริง มีคนเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่มีความสนใจในกิจกรรมของผู้อื่น

 

เมื่อเราเติบโตขึ้น เราจะค่อย ๆ ลด  Imaginary Audience หรือผู้ชมในจินตนานการ ของเราลง อย่างไรก็ตามบางคนยังคงเข้าใจผิดแบบนี้จนถึงวัยผู้ใหญ่ 

 

อีกปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้อง คือ Adolescent Egocentrism ที่วัยรุ่นมักจะเชื่อว่าโลกหมุนรอบตัวเอง ทุกคนสนใจเขา ซึ่งความเชื่อเหล่านี้จะทำให้ความมั่นใจในตัวเองสั่นคลอน

 

 

Spotlight effect

 

Spotlight Effect เป็นคำที่นักจิตวิทยาสังคมใช้อ้างถึงแนวโน้มที่คิดว่าคนอื่นคอยสังเกตดูตัวเรา มองเห็นความผิดพลาด ข้อบกพร่องทั้งหมดของเรา

 

โดยคิดว่าตัวเองเป็นจุดสนใจของผู้อื่น มีสปอตไลท์ส่องมาที่ตัวเองตลอดเวลา  ทฤษฎีนี้ผ่านการทดลองเมื่อ ปี 2000 จาก โทมัส กิโลวิช ศาสตราจารย์จิตวิทยา ที่ให้เด็กที่เข้าเรียนสายใส่เสื้อยืดลายที่เด่นมาก ๆ

 

เด็กที่มาสายจะคิดว่าตัวเองต้องถูกล้อเรื่องเสื้อและ คิดว่าต้องมีคนจำลายเสื้อได้มากกว่า 50% แน่นอน แต่ความจริงมีคนสนใจและจดจำได้แค่ 25% เท่านั้น

 

ทั้งหมดนี้มันเป็นกลไกของจิตใจ เรามักคิดว่าคนรอบตัวเพ่งความสนใจมาที่เรา ทั้งที่ความจริงตัวเรานั่นแหละที่คิดไปเอง  

 

 

“ผู้ชมในจินตนาการ”คำนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร

 

ผู้ที่สร้างคำว่า “ผู้ชมในจินตนาการ”  ในช่วงปี 1967  คือ David Elkind นักจิตวิทยาพัฒนาการ และศาสตราจารย์กิตติคุณที่ Tufts University 

 

เขาใช้เวลาหลายปีทำงาน สังเกตว่าเด็ก ๆ ที่มีปัญหา มักจะพยายามสร้างความประทับใจให้กับผู้คนรอบตัว และคิดว่าผู้คนรอบตัวให้ความสนใจในทุกการเคลื่อนไหว

 

เขาเริ่มศึกษาเรื่องนี้และพบว่า ความคิดที่คนอื่นกำลังดูอยู่นั้นผูกติดอยู่กับพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็ก 

 

วัยรุ่นมักเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งร่างกาย อารมณ์ บทบาทในสังคม  และพวกเขาคิดมากเกี่ยวกับตัวเองในช่วงเวลานั้น

 

เมื่อพวกเขาสงสัยว่าคนอื่นคิดอย่างไร พวกเขาจะกลับทบทวนตัวเอง และสรุปว่า ผู้คนต้องคิดในสิ่งที่เขาคิดเหมือนกันแน่ ๆ เกี่ยวกับตัวเอง 

 

ผู้ชมในจินตนานการ มีแนวโน้มที่จะแข็งแกร่งขึ้นในเด็กที่มีความนับถือตนเองต่ำกว่าและในเด็กผู้หญิง  ตัวอย่างเช่น

 

“บางครั้งตอนที่ฉันอยู่ในร้านอาหาร หยิบส้อมแล้วมันก็กระทบกัน “ฉันคิดว่าทุกคนกำลังมองดูฉันอยู่และคิดว่าฉันเป็นคนบ้า” เขาพูดพร้อมกับหัวเราะคิกคัก 

 

“เมื่อใดก็ตามที่เราอยู่ในสถานการณ์ทางสังคมใหม่ ๆ  เราจะตระหนักถึงคนอื่นเป็นพิเศษและว่าพวกเขาคิดอย่างไรกับเรา”

 

 

แนวทางการแก้ไข 

 

1. ท้าทายความคิดตัวเอง

 

เราจำความผิดพลาดอะไรของคนอื่นได้บ้าง ? หากคำตอบคือไม่มี นั่นอาจหมายความว่า เราไม่ได้ทำอะไรที่ถูกจับจ้องแบบที่เราคิด 

 

2. ปรับความคิดและ ความเชื่อที่ทำให้เกิดปัญหา

 

ปัญหาควรแก้ที่ต้นเหตุ  ลองกลับมาทบทวนกับตัวเอง  ว่าทุกคนหันความสนใจมาที่เราจริง ๆ ไหม หรือเป็นแค่เราที่คิดไปเอง 

 

3. ให้เวลาตัวเองได้เติบโตขึ้น 

 

ในบางเรื่องราวอาจจะเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้นแต่เมื่อเราเติบโตขึ้น เราอาจเรียนรู้ได้ด้วยประสบการณ์ว่า “ไม่มีใครสนใจเราขนาดนั้น”

 

 

ที่มา :

When the imaginaryaudience becomes more real

Understanding Adolescent Egocentrism

What is imaginaryaudience

 

บทความที่น่าสนใจ 

The Love Prescription ใบสั่งยารักษาโรครัก เขียนโดย คุณ จอน และคุณ จูเลีย แปลโดย คุณ สุญญาตา

 

หนังสือ 7 บทที่จะพาเราไปรักษาปัญหาหัวใจทีละขั้นตอน ผู้เขียนได้แนะนำว่าให้อ่านต่อเนื่อง 7 บท ต่อ 7 วัน

 

ถ้าเรามีปัญหาหัวใจอยู่ เราอ่านครบ 7 บทภายใน 7 วันจะทำให้ความสัมพันธ์ดีขึ้นได้ :))

 

 

สำหรับวิธีใช้หนังสือเล่มนี้

คนที่พึ่งเริ่มความสัมพันธ์ เป็นเรื่องที่ดีที่จะอ่านหนังสือเล่มนี้เพื่อเป็นการพูดคุยดูว่าเราควรที่จะคบกันแบบระยะยาวกับคน ๆ นี้ไหม

 

ส่วนคนที่พึ่งอ่านหนังสือเล่มนี้แล้วความรักกำลังจะไปรอดดีไม่รอดดี คิดว่ามันจะสายเกินไปไหม อยากบอกว่ามันไม่สายเกินไปนะ

 

เพราะบางคนก็ทนทุกข์กับความสัมพันธ์เป็นหลาย ๆ ปี สิ่งที่ทำให้ไปกันไม่รอดคือทั้งสองไม่พยายามกันมากกว่า 

 

ไม่มีคำว่าสายเกินไปที่จะหันมาทะนุบำรุงความสัมพันธ์ของคุณให้กลับมาแข็งแรง

 

ซึ่งอย่างที่มายบอกว่าหนังสือเล่มนี้มี 7 บท ที่จะมาช่วยรักษาใจของเรา

 

หนังสือเล่มนี้จะเป็นการยกตัวอย่างเคสที่ ผู้เขียนได้ทำการช่วยเหลือคนที่เข้ามาบำบัดความสัมพันธ์

 

และมีตัวอย่างการแก้ปัญหาความสัมพันธ์เป็นแบบฝึกหัดท้ายบท 

 

ถามคำถามใหญ่

ในบทนี้จะเป็นเคสตัวอย่างของคู่แต่งงาน เดวิน และ เกว็น แต่งงานกันมาแล้ว 20 ปีทั้งคู่เพรียบพร้อมการงาน ฐานะ มีลูกด้วยกัน 3 คน 

 

ปัญหาคือพวกเขาทั้งคู่ ตั้งแต่มีลูก ก็ไม่เคยพุดคุยกันถึงเรื่องของพวกเขาเลย มีแต่คำพูดที่ วันนี้ใครจะไปส่งลูก ช่างซ่อมประปาจะมาซ่อมวันไหน

 

แต่ไม่มีใครถามกันและกันเลยว่า ตอนนี้เป็นชีวิตที่ต้องการอยู่หรือเปล่า พวกเขาอยู่บ้านเดียวกันก็จริงแต่เหมือนไม่ได้ใกล้ชิดกันเลย

 

ยิ่งพยายามเชื่อมก็ยิ่งห่างเหิน ผู้คนเปลี่ยนไปตามกาลเวลา ยิ่งเวลาผ่านไปคนเรามีภาระหน้าที่มากขึ้นก็หันไปโฟกัสกับหน้าที่ความรับผิดชอบของตัวเอง

 

จนหลงลืมคนข้าง  ๆ ไป บางคนโชคดีที่หันไปทันก่อนเขาจากไป แต่บางคนก็สายเกินไป

 

ดังนั้นก้าวแรกของการเชื่อมต่อ ความสัมพันธ์ คือการถาม การถามเพื่ออัปเดต ความรู้สึก ความหวัง ความฝัน ความกลัว ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

 

 

วิธีการถามคือการถามใหญ่ ๆ คำถามปลายเปิด ไม่มีคำตอบที่ใช่หรือไม่ใช่

คำถามปลายเปิดคือสิ่งที่จะพาทั้งคู่ไปพบกับคำตอบอะไรมากมายที่อาจจะไม่มีที่สิ้นสุด คำถามที่จริงจังหรือไร้สาระก็ได้นะ

 

 

  1. คิดว่าตัวเองเปลี่ยนไปจากที่แล้วยังไง
  2. ถ้าแปลงร่างเป็นสัตว์อะไรก็ได้ 24 ชั่วโมง จะแปลงร่างเป็นสัตว์อะไร แล้วทำไมถึงเป็นตัวนั้น
  3. หนัง 5 เรื่องที่เปลี่ยนชีวิตคือเรื่องอะไรบ้าง

 

ลองถามคำถามใหญ่ ๆ แล้วดูว่ามันจะพาเราทั้งคู่ไปที่ไหน และที่สำคัญอย่าหยุดเติมเชื้อไฟให้บทสนทนา

 

ไม่ว่าจะเป็นการที่เราตอบรับด้วยความกระหายอยากรู้ ความสนใจ ไม่จำเป็นที่ต้องมีคำตอบให้อีกฝ่ายหรือพยายามแก้ปัญหา

 

แต่สิ่งที่ต้องตั้งใจทำคือการเรียนรู้จากคำตอบของคนที่คุณรัก 

 

การกล่าวขอบคุณ

เมลิซา กับ โนอาร์คู่รักที่กำลังเผชิญปัญหาความสัมพันธ์ ทั้งคู่จ้องจับผิดถึงข้อเสียของกันและกัน เมื่อเราสังเกตคู่รักของเรา

 

รวมถึงสังเกตตัวเราเองด้วย เรามีแนวโน้มที่จะเห็นเรื่องไม่ดีมากกว่าเรื่องดี ๆ เพราะด้วยสมองของมนุษย์ด้วยที่ถูกตั้งค่าให้มองเห็นปัญหา

 

เพราะการแก้ไขปัญหาทำให้อยู่รอด และเรามักจะคิดว่าเราไม่มีไบแอส เมื่อเรามองคนที่เรารักในเชิงลบ ก็จะทำให้ความสัมพันธ์เปลี่ยนไป 

 

ความสัมพันธ์ที่ดีจะงอกงามได้ด้วยการเห็นคุณค่ากันและกัน หัดสังเกตสิ่งดีๆ สังเกตให้เห็นเท่าสิ่งที่ผิด 

 

 

วิธีแก้ไขง่าย ๆ เลย คือการกล่าวขอบคุณ คนที่เรารักก็อยากรู้เหมือนกันว่าสิ่งที่เขาทำเราเห็นคุณค่าไหม

 

การกล่าวขอบคุณเราถูกสอนตั้งแต่เด็ก ๆ เราขอบคุณทุกคนอย่างง่ายดาย

 

แต่กับคนที่รักเคยสังเกตตัวเองไหมว่าเราได้ขอบคุณเขาบางรึป่าว ขอบคุณที่ซื้อของให้นะ

 

ขอบคุณที่ตื่นเช้ามาทำอาหารให้กินนะ ขอบคุณที่รับฟังนะ เพียงเท่านี้ก็ทำให้ความสัมพันธ์ที่ดีงามได้งอกเงยเหมือนกัน :))

 

 รีวิวหนังสือ “ ฉันจะรักทุกเวอร์ชันที่ฉันเป็น ” เป็นหนังสือรวมบทความจิตวิทยาที่มีแก่น คือ การรักตัวเอง แบ่งเป็น 5 บทใหญ่ๆ ที่พูดถึงต้นตอของการไม่รักตัวเอง

 

บทแรก พูดถึงการรักและไม่รักตัวเองที่เกิดมาจากตัวเรา

บทที่สอง พูดถึงต้นตอที่มาจากคนอื่น

บทที่สาม พูดในบริบทของการงาน

บทที่สี่ พูดถึงความรัก

บทที่ห้า พูดถึงโลกของเรา หรือทั่วไปแบบกว้าง ๆ

 

 

“ถ้าอยากพัก แปลว่าที่ผ่านมาทำเต็มที่แล้ว”

 

บทแรกจะพูดถึงการที่เราละเลยความเหนื่อยของตัวเอง ละเลยสัญญาณของร่างกาย และเอาแต่บอกตัวเองว่าต้องทำ

 

สุดท้ายแล้วก็ทำให้ทั้งกายและใจเหนื่อยเรื้อรัง กลายเป็นคน Burn out โดยที่เราก็ลืมต้นสายปลายเหตุไปแล้ว

 

การที่เราเหนื่อยแต่ไม่ยอมพัก อาจเพราะเชื่อว่า “ต้องทำ” ต้องกวาดบ้าน ต้องล้างพัดลม ต้องจัดเตียง ต้องจัดห้อง ต้องรับสายเพื่อน

 

ต้องทำงานให้ทันแม้ว่าที่มีอยู่ในมือก็ล้นมากพออยู่แล้ว เราบอกตัวเองว่า ‘ต้อง’ จนไม่มีเวลาเติมความสุขและพลังใจให้ตัวเอง

 

สุดท้ายก็หมดไฟ เบื่องาน เบื่อเพื่อน เบื่อโลก และรู้สึกแค่ว่าอยากจะหนีไปให้ไกลๆ 

 

ความรู้สึกที่ “ต้องทำ” ก็อาจมาจากความกลัวเกินเหตุด้วย กลัวเพื่อนเลิกคบ กลัวบ้านไม่น่าอยู่ กลัวคนตำหนิ ไม่รัก ไม่ให้ความสำคัญ

 

การจะแก้ภาวะหมดไฟและเบื่อโลกนี้ได้จึงเป็นการไปดูที่ต้นตอ ถามตัวเองว่าเรากลัวอะไรอยู่ อะไรทำให้เราคิดว่าเรา “ต้องทำ”

 

 

สังคมก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เป็นเรื่องยากที่เราจะรักตัวเอง เพราะสังคมเองก็คาดหวังกับเราไม่จบสิ้น

ทุนนิยมอยากให้เรามีมากกว่าที่เรามีอยู่ เป็นมากกว่าที่เราเป็นอยู่ เราแข่งขันกับคนอื่นไม่จบสิ้น

เรารายล้อมไปด้วยคำว่า “กว่า” สวยกว่า ดีกว่า เก่งกว่า ประหยัดกว่า เงินดีกว่า ตำแหน่งสูงกว่า มันเลยอาจเป็นอีกสาเหตุของการเบื่อโลกนี้ด้วย

 

ในบทนี้คุณอีฮเยจินกล่าวไว้ว่า การจะหลุดออกมาจากระบบนี้ได้จึงเป็นการถามตัวเองว่า เราต้องการอะไรกันแน่

 

สิ่งที่เราให้ความสำคัญจริง ๆ คืออะไร เพราะสุดท้ายจะเป็นตัวเราเองที่สามารถดึงไฟในตัวเรากลับมาได้

 

“มนุษย์เราไม่จำเป็นต้องแบกรับหน้าที่และความรับผิดชอบไว้กับตัวทุกอย่าง ไม่จำเป็นต้องทำทุกอย่างให้ได้ดีด้วยตัวเองทั้งหมด” 

 

เพราะในหลาย ๆ ครั้ง นอกจากสังคมและคนรอบข้างที่คาดหวังในตัวเราแล้ว เราเองก็ยังคาดหวังและโบ้ยตีตัวเองมากเกินไปด้วย 

 

เพราะฉะนั้น หากตอนนี้เหนื่อยจนหมดเรี่ยวแรงจะทำอะไรได้อีก นั่นอาจหมายความว่า ที่ผ่านมาเราทำเต็มที่มากแล้วนะ อนุญาตให้ตัวเองได้พักผ่อนเถอะ 🙂 

 

“ ก่อนจะดูแลหัวใจ ต้องเริ่มจากการดูแลร่างกายก่อน ” 

 

วิธีหนึ่งที่ง่ายมากของการ รักตัวเอง คือการออกกำลังกาย 

 

เพราะอาการไม่มีเรี่ยวแรง ห่อเหี่ยว หดหู่ คือสัญญาณของความเครียด และการดูแลร่างกายเป็นอะไรที่จับต้องได้และทำได้ในทันที

 

ซึ่งพอทำบ่อยๆ มันก็นำไปสู่การฟื้นฟูจิตใจด้วยเหมือนกัน เพราะการดูแลสุขภาพกาย = การดูแลสุขภาพใจ

 

“อย่าทะเลาะกับอารมณ์เลย”

การไม่หนีอารมณ์ตัวเอง เพราะถ้าเอาแต่หนีอารมณ์ ความอดทนต่อความเครียดจะของเราก็จะบกพร่องลงด้วย

 

แถมการเก็บไว้คนเดียวยิ่งทำให้เรารู้สึกโดดเดี่ยวไปอีก วิธีที่ดีเลยเป็นการทำความเข้าใจอารมณ์ให้ลึกซึ้งและจัดการมัน

 

เริ่มที่การค่อย ๆ พิจารณาอารมณ์ที่เกิดขึ้น ก็จะช่วยเพิ่มทักษะการเข้าใจอารม์และทำให้เราแยกแยะมันได้ดีขึ้นได้

 

เพราะถ้าเราไม่ยอมรับความรู้สึกที่เกิดขึ้น จะตามหลอกหลอนเราไปตลอดชีวิต 

 

โดยรวมแล้ว “ฉันจะรักทุกเวอร์ชั้นที่ฉันเป็น” เป็นหนังสือจิตวิทยารู้สึกว่ามันอ่านง่าย ภาษาที่เขียนอ่านง่าย ไม่ได้ใช้ศัพท์ยากหรือหลักการที่ยากจนเกินไป

 

ความรู้สึกกลัว ‘เวลา’ ตอนเด็กไม่เข้าใจว่าเวลามันผ่านไปเร็วตรงไหนแบบที่ผู้ใหญ่พูดกัน

 

เพราะเรารู้สึกอยากเร่งเวลา อยากโตไว ๆ จะได้ไปทำในสิ่งที่อยากทำ อยากมีอิสระเหมือนผู้ใหญ่ แต่พอโตมาแล้วเราเข้าใจเลยกับคำว่าเวลามันผ่านไปไว

 

แต่บางทีเวลาก็ผ่านไปช้าเช่นกัน โดยเฉพาะตอนที่เราเศร้า มีความทุกข์ใจ เราอยากให้มันผ่านไปไวๆ แต่เวลากลับผ่านไปช้าเหมือนแกล้งเราซะงั้น

 

‘เวลา’ มันช่วยเยียวยาได้จริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแผลกายที่ตกสะเก็ดเราเฝ้ามองมันทุกวันจนมันหายไปตอนไหนไม่รู้

 

และแผลใจที่เจ็บปวดวันนี้ยังเจ็บปวดยุแต่พอวันนึงเวลามันเยียวยาพอเรากลับไปมองสิ่งนั้นอาจไม่ได้ทำให้เรารู้สึกเจ็บแล้วเหมือนกัน

 

 

อดีต 

 

ทุกคนเคยติดอยู่กับอดีต มีใครบ้างที่ชอบยึดติดกับอดีต แต่อดีตก็มีทั้งมีความสุขและความทุกข์

 

จะเป็นคนที่มีความสุขกับภาพความสำเร็จในอดีต หรือเหตุการณ์ในอดีต รวมถึงบุคคลในอดีตด้วย แต่อาจทำให้เป็นคนที่ยึดติดกับอดีต จนทำให้ไม่มีความสุขในปัจจุบันได้ 

 

เป็นผู้ที่มองภาพอดีตในแง่ร้าย หลายคนมีแนวโน้มที่ทำตัวเองให้เป็นเหมือนเหยื่อ โทษบุคคลหรือเหตุการณ์ในอดีต ว่าเป็นเหตุให้ตนมีความทุกข์ใจ

 

ไม่อยากให้ทุกคนมองว่าการที่เราติดอยู่กับอดีตเป็นสิ่งที่ไม่ดี แต่อยากให้ทุกคนคิดว่าทุกสิ่งทุกเหตการณ์ที่เกิดขึ้นกับชีวิตเราเป็นธรรมดาที่ต้องเกิด

 

ถ้าไม่เกิดเรื่องนี้ก็ต้องมีเรื่องอื่นที่ต้องเกิด ลองค่อย  ๆ ปล่อยวางกับสิ่งนั้น อย่าติดกับดักจนเป็นปมที่เราแก้ไม่ออกแล้วเจ็บปวดเลย .. คิดถึงแต่พอดี และอย่ารื้อฟื้นสิ่งที่เจ็บปวดกัน

 

อนาคต 

ใครที่กังวลล่วงหน้ากับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น หรือบางเรื่องไม่มีอะไรเลยแต่เราคิดล่วงหน้าคิดไปก่อนจนเครียด ไม่สบายใจ กับสิ่งที่ยังมาไม่ถึง

 

ซึ่งการคิดแบบนี้ก็ทำให้เราลืมปัจจุบัน ไม่มีความสุขกับสิ่งตรงหน้า ลืมว่าเราต้องโฟกัสกับอะไร แต่อยากบอกทุกคนว่าให้ใจเย็น ๆ 

 

การคิดถึงอนาคตเราคิดได้ เป็นเรื่องปกติที่เราจะคิดหรือกังวลเมื่อเราไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในวันข้างหน้าบ้าง

 

เพราะมนุษย์อย่างเรา ๆ กับความไม่รู้เป็นของคู่กัน และเมื่อความไม่รู้เกิดขึ้นก็จะเกิดความกลัวและกังวลเกิดขึ้นตาม

 

แต่ทุกคนถ้าถามว่าพรุ่งนี้จะกินอะไรเป็นมื้อเช้า ทุกคนอาจจะวางแผนในใจและรู้ว่าจะกินอะไร แต่ถ้าถามว่าพรุ่งนี้จะมีใครในชีวิตหล่นหายไป

 

ทุกคนก็คงไม่รู้กันใช่ไหมมันอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ อยากบอกทุกคนว่าบางครั้งในชีวิตเราก็ต้องอยู่กับความไม่รู้บ้าง

 

เพราะความไม่รู้ทำให้เราระวังตัวและวางแผนเพื่อป้องกันความผิดพลาด แต่ถ้าเรื่องไหนเราไม่สามารถควบคุมหรือกำหนดมันได้อย่างเช้านี้จะกินอะไรดี

 

บางครั้งเราปล่อยมันไปตามธรรมชาติบ้างก็ได้ ารคิดคาดเดาอนาคตเป็นความคิดที่อาจจะวนเวียนอยู่ในหัวของใครหลาย ๆ คน

 

แต่สุดท้ายแล้ว สิ่งที่เราควรจะโฟกัสก็คือการอยู่กับปัจจุบัน ใช้ชีวิตแต่ละวันในปัจจุบันของเราให้ดีที่สุดโดยไม่ต้องนึกกังวลไปถึงสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น 

ปัจจุบัน

การอยู่กับปัจจุบัน เป็นอะไรที่แอบพูดง่ายแต่ทำยากเหมือน วิธีการฝึกอยู่กับปัจจุบันกัน การหายใจ 10-15 วินาทีเพื่อโฟกัสกับสิ่งตรงหน้า

 

คิดว่าตอนนี้เราควรทำอะไร กำลังทำอะไรอยู่ก็ช่วยได้เหมือน เขียนสิ่งที่กำลังรู้สึก ลงไปว่าเรากำลังรู้สึกอะไรอยู่เหมือนเป็นการสะท้อนและหาที่มาที่ไปที่เรารู้สึก

 

ชีวิตของคนเราไม่แน่ไม่นอนอะไรก็เกิดขึ้นได้ ถึงแม้ว่าเราจะเตรียมตัวมาดี หรือคิดว่าสิ่งนี้ดีแล้วแต่อาจจะมีอะไรเหนือความคาดหมายเกิดขึ้นได้เสมอ

 

เพราะฉะนั้น การอยู่กับปัจจุบันโดยที่เรามีความสุขกับสิ่งตรงหน้าก็เหมือนกับการปูทางไปอนาคตที่ดีได้เช่นกัน

 

และอย่ายึดติดกับอดีตจนเราทุกข์ใจไม่มีความสุขกับปัจจุบันเลย เราไม่สามารถกลับแก้ไขได้แล้ว เรียนรู้ที่จะปล่อยและวางลงอะไรที่เราถือไว้จนหนักกัน

 

 

 

สำหรับใครที่กำลังเจ็บปวดกับอะไรอยู่ก็ตาม เราลองปล่อยให้เวลาไหลผ่านตัวเราไป ให้เวลาช่วยเยียวยาตัวเรา

 

ถ้าวันนี้เป็นวันแรกที่เรากำลังเจ็บตื่นเช้าวันต่อมาอย่างน้อยเราผ่านไปได้แล้วใจดีกับตัวเอง

 

ชื่นชมตัวเองที่ผ่านเรื่องราวที่ทำให้เราเสียใจเพราะสุดท้ายตัวเรานี่แหละจะคอยดึงตัวเราเองขึ้นมาได้มากที่สุด 

 

สุดท้ายแล้วอยู่ที่ตัวเราจะเลือกอยู่ในช่วงเวลาไหน การคิดถึงอดีตแม้เรื่องไม่ใช่เรื่องแย่เลย เพียงเราต้องรู้ทันความคิด

 

และรู้ว่าคิดถึงมันเท่าไหนถึงเป็นประโยชน์และอิ่มใจสำหรับเรา เพราะอดีตก็คืออดีต และคนที่เก่งที่สุดคือเราในปัจจุบันที่ผ่านมันมาได้แล้ว

 

และหากตอนนี้ยังผ่านมันไปไม่ได้  ถ้าเปรียบชีวิตเราเป็นวงกลม วงที่เราควบคุมได้คือปัจจุบันส่วนวงที่เราควบคุมไม่ได้ก็คืออดีตและอนาคต

 

เพราะฉะนั้นเรา ‘เลือก’ ควบคุมในสิ่งที่ควบคุมได้เพื่อเดินหน้าเดินทาง ต่อไปกับชีวิตเรา

 

 

ความเจ็บปวดจากการคุยกับนักจิตวิทยา ไม่ว่าจะเป็น การวินิจฉัยผิด ความไม่เข้าใจ การเมินเฉย และการตัดสิน เกิดขึ้นในชั่วโมงการปรึกษาได้หรือไม่ ?

 

จะรับมืออย่างไร ? มาหาคำตอบในรายการพูดคุย  Alljit x คุณวันเฉลิม คงคาหลวง นักจิตวิทยาการปรึกษา

สาเหตุของ ความเจ็บปวดจากการคุยกับนักจิตวิทยา

1. การวินิจฉัยที่ผิดพลาด  

 

การได้รับการวินิจฉัยที่ผิดพลาด เช่น การระบุอาการไม่ตรงกับปัญหาจริง หรือการจ่ายยาที่ไม่เหมาะสม อาจสร้างความเจ็บปวดทั้งทางร่างกายและจิตใจ อาจเกิดจากการสื่อสาร

 

ที่ไม่ชัดเจนระหว่างผู้รับคำปรึกษาและ ผู้ให้คำปรึกษา หรือข้อจำกัดของผู้ให้บริการเอง ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้โดยการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญคนอื่น หรือขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้ให้บริการที่มีความชำนาญเฉพาะทาง

2. ไม่ได้รับความเข้าใจที่เพียงพอ

 

ความสัมพันธ์ระหว่างผู้รับคำปรึกษาและ นักจิตวิทยาเป็นสิ่งสำคัญมาก หากนักจิตวิทยาไม่สามารถเข้าใจสถานการณ์หรือความรู้สึกของได้ ผู้รับคำปรึกษาอาจรู้สึกโดดเดี่ยวและไม่ได้รับการช่วยเหลือที่คาดหวัง

 

สิ่งนี้อาจเกิดจากการที่นักจิตวิทยาขาดทักษะ หรือความสัมพันธ์ระหว่างที่ไม่สอดคล้องกัน การพูดคุยกับผู้ให้คำปรึกษาคนใหม่อาจช่วยเปิดโอกาสให้ได้รับการช่วยเหลือที่เหมาะสมกว่า

 

3. การถูกตัดสินหรือเมินเฉย

 

บางคนอาจรู้สึกว่าได้รับการตัดสินหรือเมินเฉยจากนักจิตวิทยา เช่น การที่นักจิตวิทยาแสดงความไม่ใส่ใจ หรือใช้คำพูดที่ทำให้รู้สึกด้อยค่า สิ่งนี้อาจสร้างความเจ็บปวดอย่างมาก

 

โดยเฉพาะเมื่อเราคาดหวังว่าจะได้รับความเข้าใจและ การสนับสนุนจากพวกเขา แม้จะไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นบ่อย แต่ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ 

 

ทั้งนี้ ” อย่าปล่อยให้ความกลัว มาขัดขวางตัวเองจากการตัดสินใจไปพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับความช่วยเหลือ”

 

 

ความเจ็บปวดจากการคุยกับนักจิตวิทยา แก้ไขอย่างไร

 

1. ตระหนักถึงความรู้สึกของตัวเอง

สิ่งแรกที่ควรทำคือการรับรู้และยอมรับความรู้สึกของตัวเอง หากคุณรู้สึกเจ็บปวดหรือผิดหวัง ให้เข้าใจว่าความรู้สึกเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้

 

และไม่ใช่ความผิดของเรา การยอมรับความรู้สึกจะช่วยให้ผู้รับคำปรึกษา ก้าวข้ามไปสู่การแก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น

2. อย่าโทษตัวเอง

การพบเจอกับประสบการณ์ที่ไม่ดีไม่ได้หมายความว่าเราเป็นคนผิด หรือทำอะไรผิดพลาด อย่าปล่อยให้ความเจ็บปวดนี้กลายเป็นภาระทางใจเพิ่มเติม

 

จงมองว่านี่เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ของชีวิตที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน เพราะหลาย ๆ ครั้งในชีวิตเราก็มักเลือกบางอย่างผิดไปบ้าง

3. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญคนอื่น

หากรู้สึกว่านักจิตวิทยาที่เข้าพบไม่สามารถช่วยเหลือเราได้อย่างแท้จริง ให้ลองหาผู้เชี่ยวชาญคนอื่น และสามารถสอบถามข้อมูลจากผู้ที่มีประสบการณ์หรือ รีวิวจากผู้ใช้บริการคนอื่นเพื่อช่วยในการตัดสินใจเพิ่มเติมได้ 

4. พูดคุยกับผู้ให้คำปรึกษา

ก่อนที่จะตัดสินใจเปลี่ยนผู้ให้คำปรึกษา อยากให้ทดลองพูดคุยเปิดใจกับนักจิตวิทยาท่านเดิมเกี่ยวกับความรู้สึกของเรา  ว่าเรามีความคิด ความรู้สึกอย่างไรต่อการรับคำปรึกษา 

 

การสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาอาจช่วยให้นักจิตวิทยาเข้าใจมากขึ้นและ ปรับเปลี่ยนวิธีการให้คำปรึกษาให้เหมาะสมกับเรามากขึ้น

 

5. ดูแลจิตใจของตัวเอง

หากคุณรู้สึกว่าไม่สามารถจัดการกับความรู้สึกเจ็บปวดได้ด้วยตัวเอง ลองพูดคุยกับคนที่คุณไว้ใจ เช่น เพื่อนสนิทหรือ ครอบครัว  

 

การได้รับการสนับสนุนทางอารมณ์จากคนใกล้ชิดสามารถช่วยให้คุณเรารู็สึกดีขึ้นได้ และผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น 

 

6. ให้โอกาสตัวเอง

อย่าปล่อยให้ประสบการณ์ครั้งหนึ่ง มาขวางกั้นโอกาสที่จะแก้ไขปัญหาของตัวเอง แม้ว่าจะเคยเจอเหตุการณ์ที่แย่กับผู้เชียวชาญคนหนึ่ง แต่ยังมีนักจิตวิทยาท่านอื่นที่พร้อมจะช่วยเหลือเรา 

 

 

ป้องกันความเจ็บปวดจากการคุยกับนักจิตวิทยา

1. หาข้อมูลล่วงหน้า

ก่อนเลือกนักจิตวิทยา ลองค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของนักจิตวิทยา หรือจิตเเพทย์ก่อน เช่น การอ่านรีวิวจากผู้รับบริการคนอื่น หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากสถานพยาบาล

 

2. ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน

ก่อนเข้ารับคำปรึกษา ลองตั้งเป้าหมายว่าเราต้องการอะไรจากการพูดคุย การปรึกษาครั้งนี้ เช่น การเข้าใจตัวเองมากขึ้น หรือการหาทางออกจากปัญหาที่เผชิญอยู่ หรือ แค่ต้องการระบาย

 

เพราะการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน จะช่วยให้นักจิตวิทยาเข้าใจความต้องการของเราได้ง่ายขึ้น และไปสู่จุดมุ่งหมายเดียวกัน ได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น 

 

3. ประเมินความสัมพันธ์หลังการพูดคุย

หลังจากการพูดคุย ให้ลองประเมินว่าเรารู้สึกอย่างไร หากรู้สึกว่านักจิตวิทยาคนนี้ไม่เหมาะ หรือได้รับคำปรึกษาที่ไม่ตรงใจ  อย่าลังเลที่จะหาผู้เชี่ยวชาญคนใหม่

 

 

ALLJIT BLOCK 

“เศร้า อกหัก ผิดหวัง” เป็นเรื่องปกติ แต่หากว่าความรู้สึกเหล่านี้มาเยี่ยมเยียนบ่อย ๆ คงไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก

 

พบผู้เชี่ยวชาญได้หรือไม่  รับมือเบื้องต้นอย่างไร มาหาคำตอบกับรายการพูดคุย Alljit X น.พ.ณัฏฐชัย รำเพย จิตแพทย์ 

 

 

เศร้า อกหัก ผิดหวัง อารมณ์ปกติที่มนุษย์ทุกคนต้องเผชิญ

ความเศร้า ผิดหวัง หรืออกหักเป็นส่วนหนึ่งของอารมณ์ที่มนุษย์ทุกคนสามารถสัมผัสได้ ไม่ว่าจะเป็นการเสียคนรัก การล้มเหลว หรือการสูญเสียสิ่งสำคัญในชีวิต แต่ละเหตุการณ์มีผลกระทบทางอารมณ์

 

และระยะเวลาความเศร้า ที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับคุณค่าที่เราให้กับสิ่งเหล่านั้น  แม้ความเศร้าจะไม่มีระยะเวลาที่ชัดเจน แต่สิ่งที่สำคัญคือการสังเกตผลกระทบที่มีต่อ “ฟังก์ชันชีวิต”

 

เช่น การทำงาน การเข้าสังคม หรือการดูแลตัวเอง หากสิ่งเหล่านี้ลดลงอย่างมาก อาจเป็นสัญญาณที่ควรหาความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ

 

 

 การปรึกษาจิตแพทย์  

การปรึกษาจิตแพทย์ไม่ได้หมายความว่าคุณต้องมีโรคทางจิตเวชเสมอไป หลายคนที่มาปรึกษาเกี่ยวกับความเสียใจหรื ออกหักอาจไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค 

 

แต่เลือกที่จะพูดคุยเพื่อหาทางออกที่สมดุลและช่วยเยียวยาจิตใจ  การคุยกับจิตแพทย์แตกต่างจากการปรึกษาเพื่อนหรือครอบครัว เพราะแพทย์มีความเป็นกลาง ไม่มีอคติ

 

และสามารถช่วยวางแผนแก้ปัญหาในเชิงลึก รวมถึงการเข้าใจต้นเหตุของความรู้สึก ข้าใจความเข้าใจปัญหา เพื่อการเยียวยาที่แท้จริง

 

 

ขั้นตอนการดูแลจิตใจเมื่อเจอความเศร้า

 

1. ยอมรับความรู้สึกของตัวเอง 


การปฏิเสธหรือกดดันตัวเองให้หายเศร้าเร็วเกินไปอาจนำไปสู่ “ความทุกข์ซ้ำซ้อน” เช่น โกรธตัวเองที่ยังเศร้า

 

หรือกดดันตัวเองจนรู้สึกแย่กว่าเดิม ยอมรับว่าความเศร้าเป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติและเป็นส่วนหนึ่งของการเป็นมนุษย์

 

2. สำรวจเสียงของหัวใจ


ถามตัวเองว่าอะไรคือสิ่งที่เราต้องการจากเหตุการณ์นี้ เช่น ถ้าอกหัก อาจรู้สึกอยากได้คนรักกลับมา แต่ต้องถามตัวเองให้ลึกลงไปว่า “ทำไมถึงอยากได้เขากลับมา?”

 

บางคนอาจตอบว่าเพราะรู้สึกไม่มีค่าเมื่อไม่มีเขา หรือบางคนรู้สึกเหงา ความเข้าใจนี้จะนำไปสู่ทางออกที่เหมาะสม เช่น การเสริมสร้างคุณค่าของตัวเอง หรือหาเพื่อนฝูงมาช่วยลดความเหงา

 

3. ดูแลตัวเองในขั้นที่ทำได้ 


ไม่จำเป็นต้องบรรลุทุกอย่างในทันที หากยังไม่พร้อมที่จะยอมรับความรู้สึกลึกๆ เช่น รู้สึกไร้ค่า ก็สามารถดูแลตัวเองในระดับพื้นฐานก่อน เช่น ดูแลความเศร้าในขณะนั้น หรือปลอบใจตัวเอง

 

4. อดทนและให้เวลา


แม้การยอมรับความรู้สึกจะยาก แต่การฟังหัวใจตัวเองอย่างแท้จริง และค่อยๆ ดูแลจิตใจจะช่วยให้เราเดินผ่านความเศร้าไปได้ โดยไม่ต้องเร่งรัดตัวเองเกินไป

 

 

กายกับใจความเชื่อมโยงที่แยกกันไม่ออก

ความเจ็บปวดทางใจ เช่น อกหักหรือความเสียใจ สามารถรู้สึกได้เหมือนเจ็บปวดทางกาย มีการวิจัยพบว่า สมองของคนที่เจ็บปวดทางจิตใจมีการทำงานในส่วนเดียวกับคนที่เจ็บปวดทางกาย

 

นี่คือเหตุผลว่าทำไมความเศร้าถึงมีผลกระทบต่อร่างกาย เช่น ปวดท้อง เครียดจนคลื่นไส้ หรือเจ็บหัวใจ ดังนั้น การดูแลจิตใจจึงสำคัญเทียบเท่าการดูแลร่างกาย

 

 

บทความอื่น ๆ ของ ALLJIT BLOG 

บาดแผลจากการถูกหักหลัง จะทำยังไงเมื่อความรักนำไปสู่แผลใจและ สุขภาพจิตที่ย่ำแย่ Learn & Share  นี้ขอพาทุกๆ คนมารู้จักกับ Betrayal Trauma ว่าคืออะไร ส่งผลเสียอย่างไร

 

และควรรับมืออย่างไรเมื่อคนที่เรารักและไว้ใจกลายเป็นคนที่ทำให้เราต้องเจ็บทั้งตัวและใจ

Betrayal Trauma  บาดแผลจากการถูกหักหลัง

ความปวดใจเพราะถูกทรยศ (Betrayal trauma) เป็นคำที่คิดค้นขึ้นมาโดย เจนนิเฟอร์ เฟรด (Jennifer Freyd) นักวิจัย ด้านจิตวิทยาชาวอเมริกัน เมื่อปี 1994

 

เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยอาการบาดเจ็บ (ทางใจ) จากการถูกหักหลัง เมื่อผู้คน สถาบันที่บุคคลที่คน ๆ หนึ่งที่เราไว้วางใจ กลับละเมิดความไว้วางใจต่อกัน

 

หรือ เป็นพฤติกรรมที่เรารู้สึกไม่ไว้วางใจ เนื่องจากเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นกับตัวเรา ทำให้คน ๆ นั้นเกิดความเครียด ความผิดหวัง และความบอบช้ำอย่างรุนแรงทางจิตใจ

 

สามารถเกิดขึ้นได้จากรูปแบบความสัมพันธ์ที่หลากหลาย ดังนี้ 

 

ความสัมพันธ์กับพ่อแม่ เช่น เด็กที่ต้องเติบโตมากับการถูกพ่อแม่หรือคนที่เลี้ยงดูทารุณทำร้าย* 

 

ความสัมพันธ์เชิงระบบ เช่น ระบบการทำงานขององค์กร ระบบการสนับสนุนทางสังคม ระบบกฎหมาย  

 

ความสัมพันธ์กับคนรัก เช่น การถูกคู่รักทารุณทำร้ายร่างกาย การถูกนอกใจ 

 

ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง เช่น มีความสัมพันธ์ที่ขัดแย้งกับเพื่อน เพื่อนร่วมงาน สมาชิกในครอบครัว

 

 

รูปแบบต่าง ๆ ของ Betrayal 

Institutional betrayal  การทรยศต่อสถาบัน 

 

การทรยศต่อสถาบันเป็นแนวคิดที่อธิบายโดยนักจิตวิทยา เจนนิเฟอร์ เฟรย์ด  ซึ่งหมายถึง “การกระทำผิดที่สถาบันกระทำต่อบุคคลที่พึ่งพาสถาบันนั้น

 

รวมทั้งความล้มเหลวในการป้องกันหรือตอบสนองอย่างสนับสนุนต่อการกระทำผิดของบุคคล  เช่น การล่วงละเมิดทางเพศ  ที่เกิดขึ้นภายในบริบทของสถาบัน”

 

เป็นการขยาย ทฤษฎี บาดแผลจากการทรยศเมื่อสถาบันต่าง ๆ  ในสถานที่ทำงานเช่นกัน บุคคลจำนวนมากต้องเผชิญกับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม การล่วงละเมิดทางจิตใจ และอื่น ๆ 

 

แล้วพอการหยิบยกประเด็นเหล่านี้ขึ้นมาพูดมักจะทำให้คนมองว่าพวกเขาเป็นคนเอาแต่ใจหรืออ่อนไหวเกินไป การปฏิบัติที่ ไม่ดีจะถูกอธิบายหรือเพิกเฉย การกระทำเช่นนี้ 

 

จะปฏิเสธอันตรายที่เกิดขึ้นกับบุคคลนั้น บิดเบือนความเป็นจริง ทำให้เกิดความไม่มั่นใจในตนเอง และอับอาย นี่คือการหักหลังทางระบบประเภทหนึ่ง 

 

Government betrayal  การทรยศทางรัฐบาล

 

ความเจ็บปวดจากการถูกทรยศโดยรัฐบาลหรือองค์กรทางการเมือง เช่น พรรคการเมือง เช่น ความรู้สึกว่าถูกชักจูงให้เข้าใจผิด ถูกหักหลัง หรือถูกละเมิดสิทธิโดยหน่วยงานของรัฐ

 

Betrayal Blindness  ปฎิเสธความรู้สึกไม่ยอมรับว่าถูกหักหลัง  

 

การยอมให้เขาหักหลังทั้ง ๆ ที่เจ็บ เรียกว่า Betrayal Blindness ไม่ยอมรับรู้ว่าตัวเองถูกหักหลัง  ที่ไม่ยอมรับว่าตัวเองเจ็บปวดเพราะถูกหักหลัง 

 

เพราะรู้สึกว่าตัวเองยังต้องพึ่งพาสถาบันหรือ คนนั้น ๆ รู้สึกว่าพวกเขาเหล่านั้น คือ เสาหลัก เป็นผู้มีพระคุณ เป็นฮีโร่ ทั้ง ๆ  ที่พวกเขาอาจจะไม่จริงใจ 

 

 

 บาดแผลจากการถูกหักหลัง

 

1.  การเลือกที่จะมองข้ามปัญหา หรือ Betrayal Blindness  คนที่เป็นเหยื่อจะไม่เห็นถึงปัญหา ทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว และปล่อยให้ตัวเองตกอยู่ในความสัมพันธ์ที่ไม่ดีต่อไป 

 

2. มีปัญหาเรื่องการเชื่อใจ  หรือ Trust Issue เพราะเคยโดนหักหลัง โดนทำร้ายไม่ว่ากายหรือใจ เมื่อออกจากความสัมพันธ์แล้ว อาจพบว่าเป็นเรื่องยากที่จะเชื่อใจในความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นใหม่ 

 

3. มุมมองต่อความรักเปลี่ยนไป อาจจะเห็นบ่อยในกรณีพ่อแม่ลูก คือเมื่อเราอยู่ในความสัมพันธ์แบบนั้นนานๆ แล้วออกมาไม่ได้ เราจะเผลอปรับความคิดของเราไปเรื่อย ๆ ว่าปกติของความรักหน้าตาเป็นแบบนี้

 

4. ตกเข้าไปใรูปแบบเดิมซ้ำๆ เมื่อความหมายของความรักเปลี่ยนไป ก็ยากมากที่ความสัมพันธ์ในครั้งต่อ ๆ ไปจะดีขึ้น  

 

5. นำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ เช่น โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า  โรค PTSD หรืออาการนอนไม่หลับ 

 

การรักษา บาดแผลจากการถูกหักหลัง

 

1.  ถอยออกมามองความสัมพันธ์นั้นเหมือนคนนอก  ไตร่ตรองตามคึวามเป็นจริงว่า การอยู่กับคนคนนี้ ทำให้สุขภาพใจเราดีจริง ๆ ไหม และเราควรอยู่ในความสัมพันธ์ต่อไปหรือไม่ 

 

2.ยอมรับทุกความรู้สึก อย่าหนี ไม่ว่าจะโกรธ เสียใจ กลัว ยอมให้ตัวเองได้ว่าตัวเองถูกหักหลัง 

 

3. กู้คืนใจตัวเองกลับมา ลองนึกกับตัวเองว่าอะไรที่ทำแล้วมีความสุข คนแบบไหนที่เราเคยอยู่ด้วยแล้วเราสบายใจ ลองไปหาคนนั้น ทำกิจกรรมนั้น ๆ ที่ทำให้เรามีความสุข หาตัวเองให้เจอ  

 

 

บทความอื่น ๆ ของ ALLJIT BLOG 

ที่มา :

Institutional Betrayal and Institutional Courage

Betrayal Trauma บาดแผลจากการถูกหักหลัง

What is “institutional betrayal”?

Betrayal Trauma’s Divisive Narrative

Trauma

The Cause and Effect of Partner Betrayal Trauma

The Ultimate Guide To Betrayal Trauma Recovery