Posts

ภาวะ Dead Inside หรือ ความรู้สึกว่างเปล่า กับคำพูดที่ว่าเหลือแค่ร่าง แต่ข้างในสลายไปหมดแล้ว ดูเป็นคำที่ดูสร้างความทุกข์ให้กับคน ๆ หนึ่งได้มากเลย วันนี้เรามีรับรู้ไปพร้อมกัน ว่าแบบไหนที่เรียกว่า Dead Inside

 

Dead Inside คืออะไร ?

Dead Inside คือ สภาวะอารมณ์ที่มีแต่ความรู้สึกที่ว่างเปล่า ข้างในมีแต่ความทุกข์ใจ รู้สึกเฉื่อยชา พลังงานหายไป ไม่มีแพชชั่น ไม่รู้ว่าทางข้างหน้าจะต้องทำอย่างไร ว่างเปล่าไปหมด 

 

เหมือนกับการมองหาเป้าหมายแต่ไม่มีอะไรให้มองเห็น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับคนยุคนี้ได้ง่าย ที่ไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็เหนื่อย

 

สาเหตุของ Dead Inside เกิดขึ้นได้เมื่อเราเจอกับความรุนแรงในความรู้สึกของเราเอง หรือเรียกอีกอย่างว่า โรคเครียด และเก็บความรู้สึกแย่มามาก

 

สำหรับบางคนก็อาจจะมีภาวะซึมเศร้ามาก่อนหน้า ก็สามารถส่งผลให้เกิด Dead Inside ได้เหมือนกัน

 

Dead Inside เหมือน Burn out ไหม

Dead Inside และ Burn out จะไม่เหมือนกัน เพราะ Burn out ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นมาจากการทำงาน ในช่วงวัยทำงาน เป็นผลมาจากความเครียดจากการทำงานหนักเกินไป

 

หรือว่างานยากเกินไป สะสมกลายเป็นความรู้สึกนั้นขึ้นมา แต่ถ้าเราลองหยุดพัก หรือว่าสถานที่ทำงาน ก็สามารถช่วยให้เรารู้สึกดีขึ้นได้เหมือนกัน 

 

สำหรับ Dead Inside คือความว่างเปล่า ไร้จิตวิญญาณไปเลย ไม่มีแพชชั่นในการใช้ชีวิตและไม่มีจุดมุ่งหมาย รวมทั้งการมองโลกทุกอย่างเป็นด้านลบไปหมด และอาจจะส่งผลให้เป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้าได้เหมือนกัน 

 

ผลกระทบของ Dead Inside

เกิดความทุกข์ต่อตัวเอง ส่งผลกับการใช้ชีวิตด้วยเหมือนกัน ไม่มีแพชชั่นในการใช้ชีวิต แม้ว่าสิ่งเหล่านั้นที่ทำจะเป็นสิ่งที่เราชอบมาก่อนหน้าก็ตาม 

 

การสังเกตจากการดูว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมันส่งผลกับวิถีชีวิตของเราเอง หากว่าเราใช้ชีวิตของตัวเองไม่ได้ แน่นอนว่ามีบางอย่างที่เราต้องตรวจเช็คแล้วเช่นกัน 

 

Dead Inside จัดการอย่างไร ?

การจัดการหากิจกรรมทำ เพื่อผ่อนคลาย หรือว่าหาคนรับฟัง เพื่อระบายความรู้สึกของตัวเองกันก่อน ก็เป็นอีกทางเลือกที่ช่วยได้เหมือนกัน

 

หรือไม่การเข้าพบนักจิตวิทยากันก่อน ก็เป็นอีกตัวเลือกที่ดีสำหรับตัวของคนที่มีอาการ Dead Inside ด้วยเหมือนกัน 

 

ในการคุยกับผู้เชี่ยวชาญ ทำให้เราได้รับรู้ถึงสภาพปัญหา จัดการกับตัวเองและสิ่งที่เกิดขึ้นได้ดียิ่งขึ้น ถูกต้องและมีคุณภาพเหมือนกัน 

 

ถ้ารู้สึกว่าอยู่ในภาวะ Dead Inside แต่ไม่ว่างไปพบผู้เชี่ยวชาญทำไงดี…?

การลองปรึกษากับคนใกล้ตัว ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว คนรัก หรือว่าเพื่อนสนิท ในเบื้องต้นกันก่อนได้ แต่ถ้าไม่ไหวจริงๆ การเข้ารับคำปรึกษาจากนักจิตวิทยาเป็นอีกทางเลือกที่ดีเหมือนกัน 

 

ถ้าเราจมอยู่กับปัญหาหรือว่าภาวะนี้ การเข้าพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อแก้ไขให้ได้ทันท่วงที เป็นทางที่ดีที่สุด

 

และสำหรับคนที่กำลังมีภาวะนี้ รู้สึกไม่ไหวแล้ว ร่างกายรู้สึกว่างเปล่า ไม่มีแรงที่จะทำอะไรแล้วจริง ๆ จงอย่ากลัวที่จะขอความช่วยเหลือจากนักจิตวิทยา นักจิตบำบัด หรือว่าผู้เชี่ยวชาญที่จะช่วยให้เรารู้สึกดีขึ้นจากสภาวะนี้ 

 

หรือถ้าไม่ว่างจริง ๆ การใช้งานพบจิตแพทย์ หรือว่านักจิตวิทยาผ่านแอพลิเคชั่น ที่ในตอนนี้อาจจะมีหลาย ๆ คนเข้าใช้งานกันอยู่เหมือนกัน ก็เป็นอีกตัวเลือกสำหรับคนที่ไม่มีเวลา

 

ทำให้มีการเข้าถึงที่ง่ายขึ้น สะดวกขึ้นเหมือนกัน สมัยนี้ไม่ใช่เรื่องที่ผิด หรือว่าดูผิดปกติเลยที่จะเข้าพบจิตแพทย์ หรือว่าหานักจิตวิทยา ในตอนนี้สังคงเปิดขึ้น โลกเปลี่ยนไปแล้ว

 

เพราะฉะนั้นเข้าพบคุณหมอ เพื่อตัวของเราเองกันก่อนดีกว่า ตัวเลือกมีมากมายดูแลตัวเองและจิตใจของเราเองกันก่อนดีกว่า 

 

ซีรีส์เรื่อง Twenty Five Twenty One เป็นอะไรที่ดูแล้วรู้สึกทั้งอบอุ่น ทั้งเจ็บปวด แต่เป็นการเจ็บปวดที่ทำให้เราเติบโตขึ้นจริงๆ เป็นซีรีส์ที่ทำให้คนดูตั้งคำถามว่า ยุคสมัยเบียดเบียนความฝันและความรักจริงไหม?

 

และ สถานการณ์มีผลต่อการตัดสินใจในการใช้ชีวิตแค่ไหน? ซีรีส์เรื่องนี้ก็จะพาให้ทุกคนที่ได้ดูไปตอบคำถามกับตัวละครและบางครั้งก็ได้ตอบคำถามของตัวเองเช่นกัน

Twenty Five Twenty One

สารบัญ

เป็นซีรี่ส์ที่เล่าถึง 5 ตัวละครหลัก คือ นักเรียนมัธยมปลาย นาฮีโด โกยูริม มุนจีอุง จีซึงวาน และลูกชายมหาเศรษฐีเก่าที่ธุรกิจล้มละลาย แพคอีจิน ที่ต้องใช้ชีวิตผ่านยุคสมัยที่มีวิกฤต IMF เกิดขึ้น 

วิกฤต IMF

วิกฤต IMF คือ วิกฤตการเงินครั้งใหญ่ของโลก ข้อมูลจากเว็บไซต์ The Matter กล่าวว่า วิกฤต IMF เกิดขึ้น เป็นเพราะความล้มเหลวของรัฐบาล จากการพยายามตรึงเงินวอนกับเงินดอลล่าร์สหรัฐ

 

ทำให้เงินวอนด้อยมูลค่าลง ส่งผลให้ธุรกิจต่าง ๆ ไม่สามารถชำระคืนเงินกู้ได้ หลาย ๆ ครอบครัวต้องเป็นหนี้และล้มละลาย 

 

ภาพรวมของวิกฤตนี้เลยก็ คือ ปัญหาเงินเฟ้อ มีหนี้สาธารณะเกิดขึ้น ทำให้ต้องมีการตัดเงินค่าจ้างพนักงาน ลดการจ้าง มีคนตกงานจำนวนมาก ธุรกิจล้มละลาย

 

ถ้าใครในยุคนั้นมีพยุงไม่ไหวก็อาจจะเกิดการจบชีวิต

 

ในเรื่องจะมีวิกฤติ IMF เกิดขึ้น ประโยคเด็ดของนาฮีโดคือ “ยุคสมัยมีสิทธิ์อะไรมาพรากความฝันฉันไป” ยุคสมัยที่ว่านี้ชื่อช่วง 1997-1998 ที่มีวิฤกต ต้มยำกุ้ง หรือ IMF นั้นเอง

 

ทำให้เราอยากชวนย้อนมองว่าเกิดอะไรขึ้นใน ‘ยุคสมัย’ ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของตัวละคร ซึ่งเป็นภาพสะท้อนเรื่องจริงของหลายๆ คน ทั้งตังละคร แพคอีจิน ครอบครัวที่เคยเป็นคนที่ร่ำรวยก็ล้มละลาย

 

โดยพรากความฝัน เรียนไม่จบ และโดนสังคมกดทับ และนาฮีโดที่ต้องการย้ายโรงเรียนเพราะโรงเรียนเก่าไม่สนับสนุนกับกีฬาฟันดาบที่ต้องให้เงินในการสนับสนุน 

ตัวละคร

1. นาฮีโด (นักเรียนมัธยมที่มีพรสวรรค์ มีความฝันอยากเป็นคู่แข่งกับโกยูริม นักกีฬาฟันดาบในดวงใจ)

นาฮีโดเป็นคนมุ่งมั่น อย่างตอนที่คุยกับรุ่นน้องในชมรมฟันดาบ นาฮีโดยึดมั่นกับเป้าหมายมากๆ จากคำพูดที่ว่า “จะต้องเป็นให้ได้ ถึงตอนนี้จะทำไม่ได้ แต่ต้องเป็นให้ได้สักวัน”

 

อีกอย่าง คือ เป็นคนที่มีความหวังอยู่เสมอเลย นาฮีโดชอบพูดว่า “ไม่มีอะไรที่เป็นเรื่องเศร้าไปซะทั้งหมด แล้วก็ไม่มีอะไรที่เป็นเรื่องตลกไปซะทั้งหมด ขอให้เส้นทางข้างหน้ามีเรื่องตลกมากกว่าเดิม” 

 

2. แพคอีจิน (ชายหนุ่ม เติบโตมาในครอบครัวที่ร่ำรวย แต่ธุรกิจล้มลายเพราะวิกฤต IMF)

รับบทคนสู้ชีวิตของแท้ เพราะธุรกิจล้มละลาย ครอบครัวต้องแยกกันอยู่ ไม่ยอมแพ้ต่อความยากลำบาก ไม่ย่อท้อ และพิสูจน์ตัวเองให้หัวหน้าและทีมงานเห็นว่ามีความสามารถมากพอ 

 

3. โกยูริม (นักเรียนมัธยมที่เป็นนักกีฬาฟันดาบทีมชาติเกาหลี)

โกยูริม เป็นตัวละครที่ใจร้ายกับนาฮีโดมาก ทั้งที่นาฮีโดชื่นชมและช่วยเหลือในฐานะแฟนคลับมาโดยตลอด

 

แต่สุดท้าย “ทุกการกระทำมีเหตุผลซ่อนอยู่” เป็นประโยคที่ขึ้นมาในหัวพอได้รู้สาเหตุ เพราะความกลัว เพราะปมฝังใจ ที่ฟันดาบแพ้นาฮีโดสมัยยังเด็ก

 

และครอบครัวมีฐานะยากจน จะตัดสินใจอะไรสักอย่างต้องคิดถึงคนรอบข้างอยู่เสมอ ว่าจะทำให้พ่อแม่ลำบากไหม 

 

4. มุนจีอุง (นักเรียนมัธยมที่มีความสนใจในเรื่องดนตรี)

เป็นนักเรียนมัธยมคนหนึ่ง ที่มองจากมุมครูและผู้ปกครองคือเป็นเด็กเกเร เรียนได้ที่โหล่ของชั้น แต่จริง ๆ แล้วมุนจีอุงเป็นคนหนึ่งที่มีความทะเยอทะยาน

 

ในวัยเรียนก็จริงจังกับการร้องเพลง ในวัยทำงานก็จริงจังกับแฟชั่น จนมีธุรกิจเป็นของตัวเองในที่สุด 

 

5. จีซึงวาน (นักเรียนมัธยมที่มีผลการเรียนอยู่ในอันดับ 1 และเป็นสมาชิกชมรมวิทยุกระจายเสียง)

จีซึงวาน เป็นแบบอย่างเรื่องความยึดมั่นในความถูกต้อง stand up for ตัวเองและสังคม แสดงออกอย่างตรงไปตรงมาว่าต้องการความเปลี่ยนแปลง 

ประเด็นที่น่าสนใจ

ยุคสมัยเบียดเบียนความรักและความฝันจริงไหม? สถานการณ์มีผลต่อการตัดสินใจในการใช้ชีวิตแค่ไหน?

1. ยุคสมัยเบียดเบียนความฝัน

อาจไม่ใช่ “ยุคสมัย” แต่เป็น “วิกฤตที่เกิดขึ้นในยุคสมัย” มากกว่าที่เบียดเบียน เพราะความฝัน นอกจากความพยายามแล้วยังต้องการปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เงิน โอกาส และอื่นๆ อีกมากมาย

 

อย่างสถานการณ์ของนาฮีโด ที่วิกฤต IMF ทำให้ชมรมฟันดาบถูกยุบ ทำให้การเดินทางความฝันตัวเองกลายเป็นเรื่องยากขึ้น 

 

ไหนจะมีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับแม่อีก ถึงขนาดที่ต้องทำสิ่งที่ผิด เพื่อให้ถูกสั่งย้ายไปอยู่ในที่ที่มีชมรมฟันดาบ เพราะไม่กล้าขอตรงๆ  

 

และสถานการณ์ของแพคอีจินด้วยที่พอธุรกิจล้มละลาย ครอบครัวติดหนี้ ทำให้ต้องดิ้นรน จนสุดท้ายได้เป็นนักข่าว 

 

แพคอีจินพูดว่า “ผมว่าการไม่ได้ทำตามความฝัน ไม่ได้แปลว่าชีวิตล้มเหลว และการได้ทำตามความฝัน ก็ไม่ได้แปลว่าชีวิตจะไปได้สวยด้วย ผมแค่อยากทำสิ่งที่อยู่ตรงหน้าให้ออกมาดีก็พอครับ”

 

เพราะใช้ได้ในทุกยุคทุกสถานการณ์เลย 

2. ยุคสมัยเบียดเบียนความรัก 

สาเหตุที่ทำให้ความรักเป็นไปไม่ได้ เป็นอะไรที่เจอได้ไม่ว่าจะในยุคสมัยไหนทัศนคติ ระยะทาง และอื่นๆ จากในเรื่องจะเห็นว่าแพคอีจินกับนาฮีโดเป็นคู่ที่รักกันมากๆ

 

แต่สุดท้ายก็ต้องจบความสัมพันธ์ลงเพราะทัศนคติ และระยะทางที่ไกลกัน ตัวของแพคอีจินก็ไม่ได้พยายามมากพอกับความรักครั้งนี้ซึ่งจริงๆ แล้วคำว่าพยายามมากแค่ไหนไม่มีอะไรมาชี้วัดเท่าความรู้สึกของตัวละคร

 

ตัดมาที่โกยูริมกับจีอุงที่รักระยะไกลเหมือนกันแต่พวกเขาพยายามช่วยพยุงความรักถึงจะไกลแต่รู้สึกไม่ได้ไกลกันเลย

3. คนที่มีพรสวรรค์ กับ คนที่พยายาม (?)

คนที่มีพรสวรรค์ก็ต้องพยายามเหมือนกัน เพราะการที่จะประสบความสำเร็จไม่ได้พึ่งความสามารถที่ติดตัวมาอย่างเดียว

 

อย่างนาฮีโดที่ถึงจะมีพรสวรรค์แต่มีปัจจัยมากมายที่ขัดขวางไม่ให้การเดินทางตามความฝันเป็นเรื่องง่าย 

 

ในเรื่องถ้าเปรียบคนที่มีพรสวรรค์เลยก็คือนาฮีโดที่เขาได้ดีเรื่องกีฬาฟันดาบตั้งแต่เด็ก แต่ในพรสววรค์ของเขาก็มีอุปสรรคที่เขาต้องพยายามถึงจะได้เป็นทีมชาติเหมือนกัน

 

ทำให้เห็นได้ว่าไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามเราต้องพกความพยายามด้วยเสมอถึงจะประสบความสำเร็จ

4. บ้านไม่ใช่เซฟโซน (?)

นาฮีโดและแม่มักจะทะเลาะกันอยู่เสมอ มองจากมุมนาฮีโดคือ แม่ไม่เคยเข้าใจ แม่ไม่เคยสนับสนุน แต่พอเรื่องราวดำเนินไป ความรู้สึกเปลี่ยนไปอยู่เหมือนกัน

 

เพราะสุดท้ายแล้วต่างคนต่างพยายามทำทุกอย่างอย่างดีที่สุดแล้ว แต่แค่การสื่อสารระหว่างกัน การแสดงออกถึงความรู้สึกระหว่างกัน ไม่ค่อยเกิดขึ้นเฉยๆ ทำให้ไม่เข้าใจกัน 

ข้อคิด

1. หาความสุขให้เจอไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์แบบไหน

ฉากที่นาฮีโดพาแพคอีจินไปที่ก๊อกน้ำ หันก๊อกน้ำขึ้นด้านบนแล้วเปิดให้พุ่งเป็นน้ำพุ นาฮีโดบอกว่า ‘ยุคสมัยบีบให้ยอมทิ้งทุกอย่าง จะยอมทิ้งความสุขไปด้วยไม่ได้’

 

การหาความสุขให้ตัวเองถึงจะเป็นเรื่องเล็กน้อยมันดีมากๆ มันทั้งสร้างรอยยิ้มให้กับตัวเองแล้วก็บางทีเวลาเรามีความสุขมันจะส่งผลให้คนรอบข้างเรามีความสุขไปด้วย

 

แต่ถ้าเราหาความสุขไม่เจอจริงๆ การที่ได้คนที่อยู่ข้างๆ เราพาทำอะไรที่สนุกและมีความสุขก็ได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นในตอนที่เราหาไม่เจอจริง ๆ ลองขอความช่วยเหลือจากคนข้าง ๆ เรากันนะคะคุณผู้ฟัง

2. ปล่อยวางสิ่งที่คนอื่นคิดเห็นเกี่ยวกับเรา 

ในเรื่อง นาฮีโดและโกยูริม โดนคนทั้งประเทศประนามอย่างหนัก เพราะความเข้าใจผิด แต่ในความเป็นจริง ไม่มีใครห้ามความคิดใครได้ มุมมองที่ดีต่อใจ

 

คือ การมองความจริงว่า ทุกคนสนใจแต่ตัวเอง ถ้าลองนึกถึงตัวเราดู เราคงไม่เอาเวลาไปนั่งจำความผิดพลาดของคนอื่นไปตลอดหรอก 

 

เราคือคนที่โฟกัสความผิดพลาดและจุดแย่ที่สุด ลองปล่อยวางสิ่งที่เราคิดว่ามันแย่เกี่ยวกับตัวเองแล้วมาชื่นชมสิ่งที่ดีให้ตัวเองกัน

3. ถ้าทุกข์ใจ จะคร่ำครวญหรืองอแงบ้างก็ได้

เป็นคำพูดของคุณพ่อโกยูริมที่ชอบมาก ๆ บางครั้งสังคมอาจสอนให้เราต้องเข้มแข็ง ต้องไหว กับทุกๆ เรื่อง ทั้งที่จริงๆ แล้ว การปล่อยให้ตัวเองได้อ่อนแอบ้างไม่ใช่เรื่องผิด ดีซะอีก

 

เพราะช่วงเวลาเหล่านั้นจะทำให้ได้ทบทวนชีวิตตัวเอง

4. ทุกคนต่างมีด้านที่ไม่อยากให้ใครรู้กันทั้งนั้น 

สังคมไม่ได้เปิดโอกาสให้การแสดงออกถึงความรู้สึกแย่ๆ ลบๆ เป็นเรื่องปกติเท่าไหร่นัก ทำให้เวลาเราเศร้า เราอาจจะรู้สึกโดดเดี่ยว เพราะเราลืมไปว่าจริง ๆ แล้ว

 

ทุกคนต่างมีเรื่องเศร้า มีปัญหา เป็นของตัวเองกันทั้งนั้น อย่างในเรื่องที่ทุกคนไปเที่ยวทะเลด้วยกัน 

5. อย่ายึดติดกับความสำเร็จในอดีต 

ไม่มีใครเป็นดาวค้างฟ้า , เหนือฟ้ายังมีฟ้า อย่างโกยูริมเป็นคนที่ประสบความสำเร็จ ไม่ได้หมายความว่าจะสำเร็จไปตลอด 

6. เสียใจเพราะทำไม่ได้ดีแต่เสียใจเพราะไม่ได้ทำ 

ฉากที่ทำให้ได้ข้อคิดนี้มา คือ ตอนที่นักกีฬาฟันดาบญี่ปุ่นหยิบกระเป๋าผิดไป นาฮีโดเลยต้องไปเอาคืน เพราะมีดาบที่จะต้องใช้ในการแข่งอยู่ในนั้น แต่จากลับรถไฟหยุดอยู่กับที่

 

แล้วนาฮีโดกลัวว่า ที่พยายามมาทั้งหมดจะสูญเปล่าไหม? จะแพ้ตั้งแต่ยังไม่ได้แข่งไหม? หลายๆ คนมักจะกลัวว่าจะล้มเหลวเวลาเริ่มทำสิ่งต่างๆ

 

แต่จากเหตุการณ์นี้ทำให้คิดว่า การที่ปล่อยให้ความกลัวหยุดเราไม่ให้ทำสิ่งต่างๆ น่ากลัวยิ่งกว่า เพราะเราจะต้องเสียดายและติดค้างในใจไปอีกนาน 

7. ใจดีกับคนอื่น แม้เพียงเล็กน้อย อาจเปลี่ยนวันของเขาหรือโลกของเขาเลยก็ได้ 

ประทับใจกับฉากที่โค้ชพาสมาชิกชมรมฟันดาบไปกินข้าวกันที่ร้านของโกยูริม แล้วแม่ของโกยูริมกอดให้กำลังใจนาฮีโด ที่โดนคนทั้งประเทศรุมประนามว่าขโมยเหรียญทอง

 

แล้วนาฮีโดบอกว่า การกอดครั้งนั้นทำให้ความเสียใจสลายหายไปทั้งหมด 

8. ลองทำสิ่งต่างๆ ให้ถึงจุดหนึ่งก่อนแล้วค่อยตัดสินว่าใช่หรือไม่ใช่

ตอนที่เยจี หนึ่งในสมาชิกชมรมฟันดาบอยากเลิกฟันดาบ แล้วไปเริ่มต้นกับสิ่งใหม่คือการทำขนม ตอนแรกโค้ชไม่ยอมให้ออก เพราะคิดว่าเยจีอาจจะแค่ท้อแท้ที่ไม่พัฒนาสักที

 

เลยให้เยจีฝึกซ้อมและแข่งขันจนถึงรอบรองก่อน แต่สุดท้ายเยจียังยืนยันว่าจะเลิกฟันดาบ บางครั้ง ความท้อแท้ทำให้เราเข้าใจผิดได้เหมือนกันว่าเราเลิกชอบสิ่งนั้นแล้ว

 

เพราะยากที่จะสนุกไปกับมัน ถ้าทำมันได้ไม่ดีการลองทำสิ่งต่างๆ ให้ถึงจุดหนึ่งก่อนแล้วค่อยตัดสินว่าใช่หรือไม่ใช่แบบนี้เลยเป็นประโยชน์มาก ๆ สำหรับการค้นหาตัวเอง

เกร็ดความรู้

แพคอีจินเคยบอกนาฮีโดว่า “ไม่ว่าเธอจะทำอะไร ไม่ว่าเธอจะเป็นแบบไหน ฉันก็รักเธอในแบบที่เธอเป็น” ในทางจิตวิทยามีความรักที่เรียกว่า ความรักแบบไม่มีเงื่อนไข

 

คือ รักและหวังดีกับคนๆ นั้นโดยไม่หวังผลประโยชน์ ซึ่งความรักรูปแบบนี้ตามทฤษฎีของ Carl Rogers เป็นการที่คุณสามารถยอมรับในตัวตนของคนๆ นั้นได้ในระดับที่ลึกซึ้ง

 

ซึ่งความรักแบบไม่มีเงื่อนไขนี้ ให้ได้ทั้งตัวเองและผู้อื่น สิ่งสำคัญคือจะทำให้เกิดการตระหนักถึงคุณค่าของตัวเอง

อากาศเปลี่ยนแปลง อารมณ์และความรู้สึกเลยเปลี่ยนตาม ฤดูหนาวเป็นช่วงที่กลางวันสั้นกว่าตอนกลางคืนจึงทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า ” ซึมเศร้าตามฤดูกาล

 

 

ซึมเศร้าตามฤดูกาล

เพราะอะไร… ฤดูต่าง ๆ ถึงส่งผลกระทบต่ออารมณ์และความรู้สึก? ฤดูอื่น ๆ สามารถทำให้เราเกิดภาวะนี้ได้ไหม? ในทางจิตวิทยา สภาพอากาศเชื่อมโยงและสัมพันธ์กับเรา

 

ซึมเศร้าตามฤดูกาล คืออะไร

ซึมเศร้าตามฤดูกาล (Seasonal Affective Disorder: SAD)  คือ ความผิดปกติทางอารมณ์ที่มาจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล  อาการนี้จะเกิดขึ้นเมื่อได้รับแสงแดดน้อยลงผิดปกติ

 

โดยเฉพาะในฤดูหนาวที่เช้าสว่างช้า เย็นมืดไว ทำให้ร่างกายสร้างเมลาโทนิน ซึ่งเมลาโทนินจะทำให้รู้สึกง่วงมากเป็นพิเศษจนทำให้ไม่อยากจะทำอะไร รวมถึงได้รับวิตามินไม่เพียงพอ

 

นอกจากนี้ เมื่ออากาศหนาว หลายคนมีแนวโน้มที่จะอยู่บ้านมากกว่า การที่รูปแบบชีวิตเปลี่ยนแปลง จาก Active กลายเป็นเปื่อย ๆ เนือย ๆ อาจนำไปสู่ “ซึมเศร้าตามฤดูกาล” ได้เช่นกัน 

 

นอกจากนี้ ฤดูฝนยังนำไปสู่ซึมเศร้าตามฤดูกาลได้เช่นกัน จากเว็บไซต์ NEJAVU กล่าวว่า ยิ่งฝนตกหนักและนานเท่าไหร่ ยิ่งทำให้เราต้องอยู่ในร่มนานเท่านั้น นอกจากจะโดนแสงแดดน้อย

 

การไม่ได้ขยับเขยื้อนร่างกายจะทำให้การไหลเวียนโลหิตทำงานได้ช้าลง กล้ามเนื้อจึงมีความกระฉับกระเฉงที่น้อยลงตามไปด้วย ที่สำคัญคือ ฝนตกจะทำให้ร่างกายรับรู้ความเจ็บปวดง่ายขึ้น

 

เพราะก่อนที่ฝนจะตกความกดอากาศจะต่ำลง ช่วยให้ของเหลวจากหลอดเลือดเคลื่อนที่ไปยังเนื้อเยื่อได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้เกิดความกดดันต่อเส้นประสาทและข้อต่อ ส่งผลต่อการรับรู้ความเจ็บปวด

 

ส่วนใหญ่ อาการจะเริ่มต้นและสิ้นสุดในเวลาเดียวกันทุกปี คือ เริ่มต้นในฤดูใบไม้ร่วงและดำเนินต่อไปในฤดูหนาว  แต่เป็นไปได้ที่ผู้ป่วยจะแสดงอาการในฤดูร้อนและหายไปในช่วงฤดูหนาวเช่นกัน 

 

ในส่วนของผู้ป่วยที่แสดงอาการในฤดูร้อน มีงานวิจัยหลายงานค้นพบว่า บางคนจะ sensitive ในฤดูร้อน เพราะร่างกายปรับตัวกับสภาพแวดล้อมที่ร้อนได้ไม่ดีนัก ซึ่งเป็นความแตกต่างส่วนบุคคล

 

ซึมเศร้าตามฤดูกาล และ Winter Blues ต่างกันอย่างไร

ข้อมูลจากเว็บไซต์ APA กล่าวว่า SAD เป็นมากกว่า Winter Blues เพราะ Winter Blues เป็นเพียงภาวะอารมณ์ที่ประกอบไปด้วยความเศร้าและความเหนื่อยล้าในช่วงที่หนาวที่สุดของปีเท่านั้น 

 

แต่ SAD จะถูกจัดอยู่ในเกณฑ์วินิจฉัยโรคและมีอาการที่กระทบกับชีวิตประจำวัน ได้แก่ เศร้า , เหนื่อยล้า , ไม่มีอารมณ์ทำอะไร , มีปัญหาการนอน การกิน , มีความคิดและความรู้สึกทางลบ 

 

อาการของ ซึมเศร้าตามฤดูกาล

อาการจะเหมือนซึมเศร้าทั่วไป แต่ว่าแตกต่างกันตรงที่ว่าจะมีเงื่อนไขเกี่ยวกับช่วงเวลาและฤดูกาลเพิ่มเข้ามา ต้องสังเกตจากการ… ดูว่าพอหมดจากฤดูกาลนี้ไป อาการเหล่านี้หายไปด้วยหรือเปล่า

 

1.รู้สึกกระสับกระส่าย เศร้าหรือหงุดหงิดเกือบจะทั้งวัน

2.รู้สึกหมดความสนใจกับกิจกรรมที่ครั้งนึงเราเคยสนใจ

3.พลังงานน้อยและเฉื่อยชา

4.มีปัญหาเรื่องการนอนหลับมากผิดปกติ

5.อยากคาร์โบไฮเดรต กินมากเกินไปและน้ำหนักขึ้น

6.ขาดสมาธิ

7.รู้สึกไร้ความหวัง ไร้ค่า และโทษตัวเอง

8.มีความคิดว่าไม่อยากอยู่แล้ว

 

อาการของ ซึมเศร้าตามฤดูกาล แต่ละประเภท

Fall and Winter SAD (Winter Depression)

1.นอนหลับมากเกินไป

2.ความอยากอาหารเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะคาร์โบไฮเดรต

3.น้ำหนักเพิ่มขึ้น

4.เหนื่อย อ่อนแรง

Spring and Summer SAD (Summer Depression)

1.นอนหลับยาก (Insomnia)

2.เบื่ออาหาร

3.น้ำหนัดลดลง

4.วิตกกังวล

5.หงุดหงิด

 

สาเหตุของ ซึมเศร้าตามฤดูกาล

1. แสงแดดมีบทบาท

เมื่อฤดูร้อนเปลี่ยนเป็นฤดูหนาว วันของเราสั้นลงและมีแสงแดดน้อยลง สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือเมื่อปริมาณแสงแดดลดลง มันจะรบกวนนาฬิกาชีวิต ที่ควบคุมวงจรการนอนหลับและตื่น

 

นอกจากนี้แสงแดดยังส่งผลต่อระดับเซโรโทนิน ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่ส่งผลต่ออารมณ์ แสงแดดที่ลดลงจะทำให้ระดับของเซโรโทนินน้อยลง ส่งผลให้เกิดอาการซึมเศร้าได้

 

2. ขาดวิตามิน D 

ปริมาณของวิตามิน D ที่ควรได้รับคือ 25 ไมโครกรัม การพยายามรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม พาตัวเองไปเจอแสงแดด รวมถึงการกินวิตามิน D เสริม จะช่วยปรับอารมณ์ให้ดีขึ้น

 

3. การปรับตัวของร่างกาย

ร่างกายไม่สามารถปรับตัวกับสภาพอากาศได้ดี ทำให้ sensitive กว่าคนอื่น ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของแต่ละบุคคลในการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อม 

 

กลุ่มที่เสี่ยงเป็น ซึมเศร้าตามฤดูกาล มากที่สุด

จากเว็บไซต์ POBPAD บอกว่า ซึมเศร้าตามฤดูกาล พบได้ในทุกเพศทุกวัย แต่บุคคลในกลุ่มต่อไปนี้อาจมีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไป

-เพศหญิง

-ผู้ที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น 20-40 ปี

-ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือโรคไบโพลาร์

-ผู้ที่คนในครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือมีภาวะซึมเศร้าตามฤดูกาล

-อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ห่างจากเส้นศูนย์สูตร ซึ่งมีช่วงเวลากลางวันสั้นกว่าพื้นที่ที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร

 

การป้องกันและรักษา 

ด้วยความที่ภาวะนี้ถูกจัดอยู่ในเกณฑ์การวินิจฉัย จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพบผู้เชี่ยวชาญ เพราะการพบผู้เชี่ยวชาญจะทำให้เราได้รู้วิธีการจัดการตัวเองที่ถูกต้องและมีคุณภาพ 

 

สำหรับฤดูหนาว ที่พบมากในต่างประเทศ มีการบำบัดที่เรียกว่า Light therapy  คือ จะมี Light therapy box ที่ฉายแสงออกมา ซึ่งแสงที่ออกมานั้นจะเป็นแสงที่ปราศจากรังสี UV

 

การบำบัดจะให้เปิด Light therapy box ค้างไว้ หันเข้าหาตัว ใช้เวลาประมาณ 20 นาทีต่อวัน ส่วนการจัดการตัวเองเบื้องต้น คือ พยายามพาตัวเองออกไปเจอแดด

 

ดูแลการกินการนอนให้ดี รวมถึงใช้เวลาอยู่กับคนรอบข้างให้มาก เพื่อดึงตัวเองจากความรู้สึกดิ่ง ดาวน์ และสุดท้ายคือ พยายามทำตัวให้ Active เข้าไว้ กลับไปทำกิจกรรม

 

เมื่อไหร่ควรไปหาหมอ

เป็นเรื่องปกติที่เราจะรู้สึกแย่ได้ในบางวัน แต่ถ้าการรู้สึกแย่ในแต่ละครั้งของเรา มันทำให้เราไม่มีแรงจูงใจที่จะไปทำกิจกรรมที่เราชอบหรือทำอะไรที่เราต้องทำได้ 

 

สิ่งนี้อาจเป็นสัญญาณ ที่เราสังเกตได้ด้วยตัวเองหรือคนรอบข้างอาจสังเกตเห็นและบอกให้เรารู้ อีกประเด็นที่สำคัญคือ ถ้าหากว่ารูปแบบการนอนของเราผิดปกติ

 

หรือความอยากอาหารผิดปกติ เพิ่มหรือลดอย่างผิดสังเกต มีการดื่มเเอลกอฮอลล์เพื่อความสบายใจหรือผ่อนคลาย สุดท้ายคือมีความคิดสิ้นหวังหรือความคิดฆ่าตัวตาย

 

พฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้นี่แหละ เป็นสัญญาณสำคัญที่บอกว่า ” ตอนนี้แหละเราควรที่จะหันหน้าเข้าหาคุณหมอ ” อย่าลืมหมั่นรักและสังเกตตัวเองในทุก ๆ วันนะคะ 

 

อ้างอิง

pobpad.com

mayoclinic.org

abingtonhealth.org

nejavu.com

apa.org

verywellmind.com

Turning Red เขินแรงเป็นแพนด้า จากดิสนีย์และพิกซาร์ สตูดิโอ โดยมี “โดมี ฉี” เป็นผู้กำกับ โดมีฉีได้เคยกำกับ ภาพยนตร์แอนิเมชัน Bao ที่คว้ารางวัล Oscar สาขาภาพยนตร์อนิเมชั่นสั้นยอดเยี่ยมมากำกับเรื่องนี้ด้วย

 

Turning red ได้รับแรงบันดาลใจมาจากชีวิตจริง ครอบครัวของเมยเมย ออกแบบมาจากชีวิตจริงของผู้กำกับที่มีเชื้อสายจีน เติบโตขึ้นมาในครอบครัวที่แม่มีลักษณะ Overprotective คือ ห่วงจนเกินเหตุ ปกป้องจนเกินพอดี

 

Turning Red

เรื่องราวของ เมยเมย เด็กผู้หญิงวัย 13 ปี ที่ใช้ชีวิตปกติในทุกวัน กินข้าวพร้อมหน้าพร้อมตากับพ่อแม่ เมยเมยคิดว่าทุกอย่างที่ทำคือความสุขแต่มาวันหนึ่งก็มีเหตุการณ์ที่ทำให้เมยเมยกลายเป็นแพนด้าแดง

 

ซึ่งเมยเมยจะกลายเป็นแพนด้าตอนที่ตัวเองรู้สึกควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ ในเรื่องจะเป็นการเลี้ยงลูกแนวเอเชียมากๆ เป็นการสะท้อนเรื่องราวครอบครัวชาวเอเชียผสมผสานกับความแฟนตาซี

 

อัดแน่นมาด้วยมุกตลก และประเด็นเกี่ยวกับการก้าวข้ามผ่านช่วงวัยหรือ Coming Of Age 

 

ตัวละคร

1. เมยเมย

อายุ 13 รักอิสระ สดใส ร่าเริง ทำได้ทุกอย่างเก่งครอบคลุมมากๆ แต่เมื่ออยู่กับแม่ เธอก็กลายเป็นลูกสาวตามระเบียบของครอบครัว ทำให้เราได้เห็นมุมมองว่าเธอคือเด็กผู้หญิงคนนึงที่ดูธรรมดาแถมยังแบกความคาดหวังง

 

ที่เติบโตแบบสังคมของลูกเอเชีย ทุกคนจะเห็นได้ว่า เมยเมยไม่ได้ใช้ชีวิตแบบที่อยากใช้จริงๆ ค่อนข้างจะเก็บกดอึดอัดด้วยซ้ำ  

2. แม่

แม่เมยเมยเป็นตัวอย่างของ Overprotective คือแม่ที่ห่วงลูกเกินเหตุ จนทำให้มีบางการกระทำ ที่ทำให้ลูกรู้สึกอึดอัด อับอาย แต่ไม่ใช่ว่าไม่มีมุมที่ดีเลย

 

ในเรื่องก็จะมีหลายๆ เหตุการณ์ที่แม่เมยเมยน่ารักกับเมยเมยเหมือนกัน

3. พ่อ

 

เป็นพ่อ สนับสนุนลูกมากๆ ตอนเปิดวิดิโอที่ลูกเป็นแพนด้าแดงแล้วมีความสุขทำให้เมยเมย ได้คิดกับตัวเองว่าไม่จำเป็นต้องจำกัดแพนด้าแดงออกไป

 

น้องสามารถอยู่ร่วมกันได้เพราะแพนด้าแดงก็คือตัวตนของน้องอีกคนเหมือนกันพ่อคอยดูลูกเติบโตอยู่ห่างๆ อย่างห่วงๆ เป็นคนที่แสดงออกว่าเข้าใจลูกที่สุด อีกอย่างฉากที่ประทับใจมากๆ

 

คือ ตอนที่พ่อบอกเมยเมยว่า ‘คนเราก็มีทุกด้านแหละ บางด้านก็เละเทะ สิ่งสำคัญไม่ใช่การพยายามผลักไสด้านแย่ๆ ออกไป แต่เป็นการให้พื้นที่กับมันและอยู่กับมัน’  

4. เพื่อนๆ ของเมยเมย

มีเรียม ปรีญา แอ็บบี้ กลุ่มเพื่อนของเมยเมย น่ารักกันมาก ๆ คอยซัพพอร์ต เป็นพื้นที่ปลอดภัยให้เมยเมย ตอนนี้เมยเมยเป็นแพนด้าแดง ตอนแรกเมยเมยเกลียดตัวเองมากที่ไม่สามารถควบคุมมันได้

 

แต่พอได้เจอเพื่อน ได้คุยตัวเองก็ควบคุมได้ เพราะรู้สึกว่าตัวเองมีที่พักทางใจ สบายใจเวลานึกถึงเพื่อน ซึ่งฉากที่เมยเมยควบคุมตัวเองได้แล้วแม่ถามว่า ทำได้ยังไง

 

เมยเมยบอกว่า เมยเมยนึกถึงคนที่ทำให้เมยเมยสงบ ซึ่งเมยเมยโกหกว่านึกถึงแม่ แต่จริงๆ แล้วนึกถึงเพื่อนๆ  

5. โฟร์ทาว 

กลุ่มไอดอลผช 5 คน ที่เมยเมยและเพื่อนๆ ชอบ เป็นตัวละครที่เป็นแรงขับเคลื่อนให้เมยเมยและกลุ่มเพื่อนหาเงินไปดูคอนเสิร์ต ได้ใช้เวลาร่วมกัน บางเหตุการณ์ในชีวิตก็ต้องมีเพื่อนผ่านไปกับเราด้วย อีกอย่างโฟร์ทาวก็มีบทบาทในความสัมพันธ์ของเมยเมยกับแม่ด้วย เพราะเป็นเหตุผลที่ทำให้เมยเมยทะเลาะกับแม่

 

ข้อคิด

1. การสนับสนุนลูกเป็นเรื่องสำคัญ

อ้างอิงจากในหนังเรื่องอื่นๆ ส่วนใหญ่ตัวละครของ เด็กจะมีความไม่รู้จักตัวเอง ต้องค้นหาตัวเอง แต่เรื่องนี้กลับกันเลยคือตัวละครหลัก

 

เมยเมย รู้จักตัวเองดี รู้ว่าตัวเองมีนิสัยยังไง สนใจอะไร เพียงแต่ต้องใช้ความกล้าอย่างมากในการแสดงตัวตนออกมา อย่างในเรื่องนี้ การแสดงตัวตนออกมาเป็นเรื่องยาก

 

เพราะกรอบวัฒนธรรม รวมถึงค่านิยมและความคาดหวังจากครอบครัวในมุมพ่อแม่คิดว่าไม่ผิดเลย ที่จะคอยตักเตือนหรือคอยห้ามในบางพฤติกรรม ถ้าพฤติกรรมนั้นทำให้คนอื่นเดือดร้อน แต่ในส่วนของตัวตนลูก

 

นิสัยลูก ความสนใจของลูก ถ้ายอมรับและสนับสนุนคงดีมากๆ เพราะจะทำให้เด็กกล้าลองผิดลองถูก พร้อมสู้กับอุปสรรคต่างๆ ที่ผ่านเข้ามา และเรียนรู้ที่จะยอมรับผลที่ตามมาจากสิ่งที่เขาเลือกด้วย  

 

2. ‘การเอาใจเขามาใส่ใจเรา’

ในมุมพ่อแม่ เมื่อลูกโตถึงจุดหนึ่ง ต้องปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลง การเอาใจลูกมาใส่ใจเราเป็นเรื่องสำคัญ

 

การปะทะกันระหว่าง เมยเมย และ แม่ กระทบใจจนต้องติด Trigger Warnings

ลูกสาวที่ทำดีมาทั้งชีวิตแต่แม่ไม่เคยไว้ใจ กับแม่ของเมยเมยที่ก็เคยผ่านเรื่องราวเจ็บปวดทะเลาะกับแม่แบบเดียวกันมาก่อนแต่กลับส่งต่อมายังลูก เมยเมย คือตัวแทนของลูกหลานชาวเอเชีย

 

ที่ไม่เคยโต้เถียงผู้ใหญ่ใดๆ เลย เป็นเด็กดีมาทั้งชีวิต จึงตกผลึกได้ว่าการที่เธอเชื่อฟังแม่มาตลอดนั้น คือการที่เธอจะไม่มีวันได้เป็นอิสระ

 

เพราะแม่คุมขังเธอด้วย “ความเป็นห่วง” และใช้คำว่า “ปกป้อง” มาเป็นเส้นกัันที่ไม่ให้เมยเมยได้ทำในสิ่งที่อยากทำ 

 

‘พ่อแม่รังแกฉัน’ น่าจะเป็นประโยคหนึ่งที่ได้ยินกันทั่วไป บางครั้งคำว่า ‘รังแก’ อาจไม่ได้หมายถึงการทำร้ายทางร่ายกายและจิตใจเท่านั้น อย่างในเรื่อง ความเป็นห่วงที่เกินพอดี บุ่มบ่ามทำอะไรลงไปโดยไม่ถามลูก

 

อาจทำร้ายลูกได้เหมือนกัน อย่างในฉากตอนที่ไปดุผู้ชายที่เป็นพนักงานร้านสะดวกซื้อ เพราะเข้าใจผิดว่าเขามาทำอะไรเมยเมย แล้วยังเอารูปที่เมยเมยวาด

 

ซึ่งเป็นรูปวาดเกี่ยวกับผู้ชายผู้หญิงแสดงความรักต่อกันไปโชว์ให้ดูด้วย ทำให้เมยเมยโดนล้อ เหตุการณ์อะไรแบบนี้สร้างปมให้เด็กได้ ซึ่งมันอาจจะพัฒนาไปเป็นนิสัยอะไรบางอย่างด้วย

 

เช่น ขาดความมั่นใจ ไม่กล้าทำอะไรเพราะกลัวว่าจะโดนล้อ กลัวไม่ได้รับการยอมรับ ซึ่งนิสัยพวกนี้เป็นปัญหาเมื่อโตขึ้น 

เป็นอีกประเด็นยอดนิยมในช่วงนี้เหมือนกัน นั่นก็คือ ‘ Introvert ’ สำหรับหลายๆ คน อาจจะกำลังคิดกันอยู่ว่า Introvert เป็นแบบไหน และกลัวสังคมกันจริงหรือไม่ 

ลักษณะของ Introvert

กล่าวคือ Introvert คือ บุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบเก็บตัว ไม่ชอบการอยู่กับสังคมที่มีคนเยอะ หรือว่าสำหรับบางคนก็อาจจะอยู่กับเพื่อนสนิท

 

แต่กับบางคนก็อาจจะมีโลกส่วนตัวที่สูงมากๆ และจะมีความสุขกับการอยู่ด้วยตัวเอง และทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง

 

ซึ่งเราสามารถตรวจสอบตัวเองได้ว่าเราเป็นบุคคล Introvert โดย

 

Introvert เข้าสังคมไม่เป็นจริงไหม?

ความจริงแล้ว Introvert ไม่ใช่ขี้อายแต่เป็นอีกอย่าง ด้วยรูปแบบความคิด ด้วยเหตุที่ว่าคน Introvert จะชอบอยู่เงียบๆ คนเดียว เพราะรู้สึกว่าการได้อยู่คนเดียวเงียบ คือความสบายใจ

 

ต่างกับคนขี้อายรูปแบบความคิดคือไม่มีความมั่นใจในตัวเอง ไม่กล้าทำ เพราะ ว่าขี้อาย ไม่มั่นใจในตัวเองเท่านั้นเอง

 

ส่วนอาการกลัวสังคมเป็นชื่อโรคอย่างหนึ่ง มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Social Anxiety Disorder เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิต หรือว่าดำรงชีวิตของเขาเอง กลัวที่จะเข้าสังคม หรือว่าเข้าไปคุยกับผู้อื่นก่อน 

 

กล่าวโดยสรุป คน Introvert กับคนขี้อาย จะมีลักษณะภายนอกที่คล้ายๆกัน แต่ต่างกันที่กระบวนการคิด ที่จะไม่เหมือนกัน คนขี้อายคือคนที่ไม่มั่นใจ ไม่กล้าที่จะทำ

 

แต่กับคน Introvert คือคนที่สบายใจที่จะเก็บตัวเองและอยู่ในโลกส่วนตัวของเขาเอง

 

Introvert ปรับตัวอย่างไรดี

อาจจะเป็นเรื่องยากสำหรับคน Introvert แต่ก็ใช่ว่าจะทำไม่ได้เลย เพียงแต่ต้องพยายามเปิดใจของเขาเองกันก่อนเท่านั้น ที่จะเข้าไปคุยกับใครสักคนกันก่อน โดยเริ่มจากการคุยกับคนที่ดูเข้ากันได้ หรือว่าคุยด้วยได้

 

หรือว่าเป็นกิจกรรม อย่างเช่น เรื่องของงาน หรือว่ากิจกรรมมหาวิทยาลัย อาจจะต้องเข้าร่วมจริงๆ พยายามคิดว่าครู่เดียวมันผ่านไปได้เหมือนกัน

 

กรณีไปงานสังสรรค์ ก็อาจจะเข้างานบ้าง พอเป็นพิธีให้เจ้าภาพได้เห็นเราบ้าง แต่หลังจากนั้นอาจจะหามุมที่เราอยู่แล้วสบายใจก็ได้เหมือนกัน 

 

การเป็น Introvert เกิดมาจากบุคลิกภาพของบุคคลที่มีมาแต่กำเนิด หรือว่าจากพื้นฐานของครอบครัวที่ค่อนข้างเข้มงวดก็เป็นอีกส่วหนึ่งได้เหมือนกัน 

 

Introver มีกี่ประเภท

Introvert แยกออกได้เป็น 4 ประเภทด้วยกัน ได้แก่

 

1. Social Introvert คือ คนที่ชอบสังสรรค์กับกลุ่มเพื่อนเล็กๆ เท่านั้น มากกว่าการร่วมงานสรังสรรค์ที่มีคนเยอะ และคนกลุ่มนี้จะชอบอยู่บ้าน ในพื้นที่ของตัวเองมากกว่า 

 

2. Thinking Introvert คือ เป็นคนช่างฝัน มักจะใช้เวลาอยู่กับความคิดของตัวเอง ในโลกความคิดของตัวเอง ไม่ได้เหมือนกับการเพ้อฝันลมๆ แล้งๆ แต่เป็นการคิดเชิงสร้างสรรค์ คิดสิ่งแปลกใหม่ได้เสมอ

 

3. Anxious Introvert เป็นกลุ่มที่อยู่ตรงข้างกับ Social Introvert คือ มักจะชอบอยู่คนเดียว โดยการหลีกเลี่ยงการเข้าสังคม โดยเฉพาะกับคนที่ไม่รู้จัก ซึ่งมักจะมีอาการวิตกกังวล ไม่มั่นใจ

 

ไม่สบายใจกับทักษะทางสังคมของตัวเอง 

 

4. Restrained Introvert  เป็นคนที่ตื่นเช้ามาจะยังไม่มีพลังไปทำสิ่งต่างๆ ในทันทีพวกเขาจะค่อยๆ ลืมตาขึ้นมามองสิ่งรอบตัวจัดระบบความคิดในหัวเสียก่อน

 

ถึงจะลุกขึ้นมาทำอะไร คนกลุ่มนี้เวลาทำอะไรจะคิดให้ถี่ถ้วนก่อนถึงจะพูดหรือกระทำสิ่งใดๆ ออกมา เขาจะระมัดระวังตัวมากด้วย เมื่อต้องอยู่ในสถานการณ์ต่างๆ พวกเขาจะคิดตัดสินใจอย่างรอบคอบก่อนลงมือทำ

 

ข้อดี ข้อเสียของ Introvert 

 

แน่นอนว่าไม่ว่าจะเป็นใคร หรือว่าประเภทไหน ต่างก็มีข้อดีและข้อเสียด้วยกันทั้งสิ้น แต่สำหรับคน Introvert แล้วนั้น 

 

ข้อดีของ Introvert

ข้อเสียของ Introvert

 

การที่มีบุคลิกหวงแหนพื้นที่ส่วนตัวของตัวเอง การที่จะเข้าหาแน่นอนว่าคุณต้องเป็นคนสำคัญสำหรับเขา และต้องได้รับอนุญาตให้เข้าไปเช่นกัน 

 

นอกจากนั้นยังต้องคำนึงถึงจุดที่ว่า เราเข้าไปแล้วเข้าไปได้มากแค่ไหน โดยที่ไม่เป็นการล้ำเส้น หรือว่ามากเกินไปเพราะหากคุณเข้าหาเขามากเกินไป ก็อาจจะทำให้คน Introvert รู้สึกอึดอัดได้เหมือนกัน 

 

Introvert เป็น HR ได้ไหม

ถ้าถามว่าเป็นได้ไหม แน่นอนว่า ‘ได้’ เพราะไม่ว่าจะสายงานไหนก็ตาม Introvert จะต้องสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองให้เข้ากับบทบาท หน้าที่ที่เราได้รับมาเสมอ 

 

ถ้าสำหรับตำแหน่ง HR เองนั้น คน Introvert สามารถทำหน้าที่ได้ดี เพราะส่วนหนึ่งด้วยตำแหน่ง เราจะต้องดูแลพนักงานขององค์กร และด้วยความที่เป็นคนที่เข้าใจผู้อื่น รับฟังผู้อื่นได้ดีด้วย 

 

การเป็น Introvert แบบมีคุณภาพ คือการเป็นตัวของเราเอง เพียงไม่ทำให้ใครเดือดร้อน ในบางสถานการณ์ก็อาจจะต้องมีการปรับตัวด้วยเช่นกัน 

 

สุดท้ายวิธีปลอบใจตัวเอง สไตล์ของคน Introvert การที่เราได้อยู่กับตัวเอง หรือว่าไปในสถานที่ที่ทำให้เรารู้สึกสบายใจ ก็ช่วยได้เหมือนกัน

 

เพราะอะไรเราถึง ขี้เกียจ ถ้าหากเราขี้เกียจผิดไหม ใคร ๆ ก็เคยเผชิญกับความขี้เกียจ บางคนขี้เกียจเรียน ขี้เกียจไปทำงานความรู้สึกขี้เกียจก็มักจะมาพร้อมกับความเหนื่อยเสมอ

ความรู้สึก ขี้เกียจ เกิดจากอะไร

เกิดได้จากหลายสาเหตุ 

  1. Laziness คือความเกียจคร้านแต่ไม่ได้มีการขาดแรงจูงใจ คนทั่วไปมักใช้คำนี้
  2. Apathy คือความเฉยชา ไม่แยแส แต่ทางนักจิตวิทยามักใช้คำว่า ขาดแรงจูงใจเชื่อมโยงกับภาวะซึมเศร้า
  3. ความรู้สึกขี้เกียจเกิดได้จากการที่ยึดติดความสบาย
  4. Low energy คือพลังงานต่ำ ไม่มีความกระตือรือร้น
  5. ขาดแรงจูงใจ มีแต่สิ่งที่ต้องทำ มีเป้าหมายแต่ไม่มีแรงจูงใจ
  6. Burn out ภาวะหมดไฟ

คนที่รู้สึก ขี้เกียจ ผิดไหม ?

เป็นคนขี้เกียจไม่ผิด เพียงแต่ต้องนึกถึงผลลัพธ์ที่ตามมา หากขี้เกียจแล้วขาดความรับผิดชอบก็ไม่สมควร ถ้าหากรู้สึกขี้เกียจแต่ยังคงรับผิดชอบหน้าที่ของตัวเองได้ก็ไม่ผิดเลย

 

ซึ่งสาเหตุของความขี้เกียจอาจมีหลายความรู้สึกซ่อนอยู่ บางครั้งความขี้เกียจไม่ใช่ปัญหาหลัก ลองค้นหาสาเหตุความรู้สึกที่เกิดขึ้นก่อนว่าเกิดจากอะไร การที่เราขี้เกียจจะมีปัญหาอย่างไรหรือเปล่า

 

เพื่อให้เราเห็นภาพปัญหาได้ชัดเจนและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้

 

ความ ขี้เกียจ เป็นการมองในแง่ลบหรือเปล่า

อาจจะต้องให้ความยุติธรรมกับความขี้เกียจกันก่อน ความขี้เกียจเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นได้ทั่วไป เหมือนความรู้สึกหิว เหนื่อย ด้วยสังคมให้คุณค่ากับความขยันมากกว่า

 

จนลดคุณค่าของความขี้เกียจเพื่อให้เราไม่ควรรู้สึกขี้เกียจ แต่ความจริงเรามีความรู้สึกขี้เกียจได้ หากเราขี้เกียจแต่รับผิดชอบหน้าที่ตัวเองก็ไม่ใช่เรื่องที่ควรจะรู้สึกแย่เลย 

 

ตื่นสายเพราะเป็นคนขี้เกียจจริงหรือ ?

ตื่นสายไม่ใช่ความขี้เกียจ การตื่นสายอาจเพราะเราเหนื่อยล้าได้ การตื่นสายไม่ได้แปลว่าเราขี้เกียจไม่ควรตัดสินว่าการตื่นสายเป็นคนขี้เกียจ ทุกคนมีหน้าที่แตกต่างกัน อยู่ที่ตัวเราจัดการเวลาของเราได้ดีและรู้หน้าที่ตัวเอง

 

ไม่อยากขี้เกียจควรทำอย่างไร

เลือกที่จะใช้ชีวิตให้สดใส ไม่จมดิ่งอยู่กับความเหนื่อยมากเกินไปจนเกิดความรู้สึกขี้เกียจ ทบทวนกับตัวเองว่าความรู้สึกขี้เกียจเกิดขึ้นเพราะอะไร

 

แล้วเราแก้ไขจากต้นเหตุนั้นทีละนิดและปรับให้เกิดเป็นความมีวินัยต่อการใช้ชีวิต 

 

ขี้เกียจอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

ควรขี้เกียจแบบมีวินัย มีแบบแผนให้ตัวเอง ว่าเราควรทำอะไรก่อนในแต่ละวัน หากเราวางแผนแล้วอาจจะทำให้เราเห็นภาพว่าเรามีเวลาช่วงไหนและทำให้เรามีเวลาพักได้

 

หากเราทำงานเสร็จตรงตามตารางที่วางแผนไว้เรียบร้อยแล้ว เราก็อาจจะยืดหยุ่นได้ว่าเวลานี้เราพักขี้เกียจได้นะ ให้เวลาอยู่กับตัวเอง

 

ความรู้สึกขี้เกียจไม่ใช่เรื่องผิดเรามีความรู้สึกขี้เกียจเกิดขึ้นได้แต่เราก็ควรมีขอบเขตให้ตัวเองทำหน้าที่ของตัวเองเช่นกัน 😀

เรื่องของการ ดูดวง หลาย ๆ คนอาจจะชอบหรือว่ายกให้เป็นสิ่งที่ถ้าว่างก็อยากจะลองดูดวง หรือว่าอ่านดวงของตัวเองเช่นกัน แต่เพราะอะไรที่ทำให้เราชอบเรื่องเหล่านั้น มีอยู่หลายคำตอบด้วยกัน

 

ทำไมคนเราชอบดูดวง

เรื่องของการดูดวงอาจจะมองได้หลายความหมายเหมือนกัน ทั้งเรื่องของผลประโยชน์ หรือว่าอีกอย่างว่า วิทยาศาสตร์เทียม

 

ซึ่งเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวกับดวงดาว ซึ่งหลายหลาย ๆ คน ก็จะเลือกเลี่ยงทำนายในสิ่งที่ตรวจสอบได้ในทางวิทยาศาสตร์ ไปเป็นการทำนายแบบกว้าง ๆ แทน  เพื่อไม่ให้ถูกกล่าวหาว่าทำนายผิดพลาด

 

ปรากฏการณ์ฟอเรอร์ (Forer Effect)

หรือจะพูดอีกชื่อว่า ปรากฏการณ์บาร์นัม เป็นการกระทำที่ให้แนวความคิดในระดับสูงเกี่ยวกับการอธิบายบุคลิกภาพของบุคคล ซึ่งเชื่อว่าทำขึ้นมาเพื่อบุคคลเหล่านั้นโดยเฉพาะ

 

ทั้งที่จริงแล้วเป็นการให้คำอธิบายที่คลุมเครือและเป็นวงกว้างพอให้ครอบคลุมถึงใครหลาย ๆ คน

 

โดยปรากฏการณ์นี้ได้อธิบายถึงเหตุผลบางส่วนเบื้องหลังความเชื่อที่เป็นนิยมหลายสาขา เช่น โหราศาสตร์ การดูดวง การทำนายจากลายมืออักษร และบททดสอบบุคลิกภาพบางตัวนั่นเอง 

 

อีกสิ่งที่บอกได้ คือเกี่ยวกับคนเราเองเช่นกัน ที่ต้องการหาความเชื่อ หลักยึดเหนี่ยว ที่ว่าเพราะอะไรถึงเกิดเรื่องเหล่านั้นขึ้น แต่ท้ายที่สุด คนที่ดูดวง ก็ต้องตอบให้ได้เช่นกัน ว่าเราอยากได้อะไรจากการดูดวงเหมือนกัน 

 

เพราะแน่นอนว่าไม่มีใครอยากได้คำพูดแย่ ๆ จากการดูดวงเหมือนกัน คำพูดที่สวยหรู อาจจะเป็นสิ่งที่ถูกใจคนเรามากกว่าแน่นอนเหมือนกัน 

 

เพราะอะไรหมอดูคนนี้แม่นจัง…

บางครั้ง ความชอบดูดวงก็อาจจะไม่ได้เป็นสิ่งที่ทำให้เราเชื่อ แต่เพราะคำพูดที่ใช่จากหมอดูเหล่านั้น หรือว่าตรงกับความรู้สึกของเราเอง ทำให้เราเชื่อว่านั่นแหละที่ใช่และถูกต้องสำหรับเรา 

 

เพราะคำพูดกว้าง ๆ เองก็เช่นกัน ที่ทำให้เราเกิดความรู้สึกว่ามันใช่ เพราะคำพูดที่คลุมเครือเองและครอบคลุมความรู้สึกของเราเองด้วยเหมือนกัน ทำให้เราเกิดความเชื่อนั้นขึ้นมา

 

คนดูดวงตอนที่ชีวิตกำลังแย่… 

การดูดวงในตอนที่ชีวิตกำลังอยู่ในจุดดิ่งของตัวเองนั้น ก้เหมือนกับการหาที่ยึดเหนื่อย หรือว่าหลักยึดทางจิตใจ สำหรับบางคนก็อาจจะหันไปพึ่งพาทางศาสนาได้เหมือนกัน 

 

ซึ่งสิ่งเหล่านั้นคือที่พึ่งพาทางใจ เช่นเดียวกับการดูดวงช่วงที่แย่ของชีวิต ก็เหมือนกับการหาที่ยึดเหนี่ยว และจุดยืนยัน ว่าความเชื่อของเราเอง ได้การยอมรับและหาทางไปต่อได้แน่นอน 

 

อีกอย่างคือ “ของขลัง” หรือว่าสิ่งของพึ่งพาทางจิตใจ เหมือนกับการดูดวงเช่นกัน ที่หลาย ๆ คน “มีไว้เพื่อความอุ่นใจเช่นกัน”

 

ดูดวงให้พอดี

เรื่องของการดูดวง ก็เป็นเรื่องของความเชื่อด้วยเหมือนกัน ดังนั้นการให้ตัวเองตั้งสติกับตัวเอง และเลือกเชื่อ ควบคุมความคิด ความรู้สึกของเราเองให้อยู่ในระดับที่พอดี 

 

ซึ่งก็สามารถโยงเกี่ยวกับ Self-Control เองด้วยเหมือนกัน การควบคุมตัวเองและความคิดของเราเองก็ถือเป็นสิ่งที่สำคัญเหมือนกัน การฟังหูไว้หู เป็นสิ่งที่ช่วยได้

 

แต่หากว่าเราฟังการดูดวงในช่วงที่เราอ่อนไหว หรือว่าช่วงที่ความรู้สึก หรือว่าอารมณ์ของเราค่อนข้างอ่อนไหว

 

แน่นอนว่ามันก็อาจจะทำให้เราไม่สามารถควบคุมความคิด ความรู้สึกของเราเองให้ได้ และอยู่ในระดับที่พอดีเหมือนกัน

 

คนใกล้ตัวดูดวงมากเกินไปบอกอย่างไรดี

เรื่องของการบอกคนใกล้ตัวนั้น ก่อนอื่นเราอาจจะต้องทำความเข้าใจกันก่อนด้วยเหมือนกัน ว่าเราอาจจะทำได้เพียงแค่บอก

 

หรือว่าเตือนเท่านั้นเพราะเขาดูดวงด้วยความเชื่อของตัวเขาเอง ดูได้แต่พยายามบอกเขาให้ฟังหูไว้หูด้วยเหมือนกัน เราอาจจะเปลี่ยนความคิดเขาไม่ได้เสมอไป ทำได้เพียงแต่เตือนด้วยคำพูดเท่านั้น

 

นอกจากนี้การเลือกพูดออกไปตามตรง ด้วยคำพูดที่ทำให้รู้สึกถึงความห่วงใย แทนกันออกคำสั่ง หรือว่าเตือนด้วยคำพูดที่รุนแรงก็อาจจะเป็นอีกทางเลือกที่ช่วยได้เหมือนกัน 

 

ท้ายที่สุด การดูดวงไม่มีผิดหรือว่าถูก เพราะขึ้นอยู่กับวิจารณญาณส่วนบุคคล และความชอบตัวเองด้วยเหมือนกัน ฟังได้ ดูได้ แต่ให้ฟังด้วยสติ และฟังเท่าที่จำเป็น หรือว่าเห็นว่าเป็นประโยชน์กับตัวเราเองก็เพียงพอเช่นกัน 

เคยไหมที่เวลาเจอปัญหา เจอกับความเครียดต่างๆ ที่เข้ามาในชีวิต เราก็จะไป ชอปปิง ซื้อของเพื่อระบายความเครียด หากว่าเราเป็นแบบดังกล่าวในระดับที่พอดี

 

สามารถควบคุมตัวเองได้โดยที่ไม่รบกวนเงินในกระเป๋าตัวเองคงจะเป็นวิธีที่ระบายความเครียดได้ดีมากๆ แต่ถ้าเราไม่สามารถจัดการได้ล่ะ เราอาจจะเข้าค่าย Shopaholic อยู่หรือเปล่า?

 

เสพติดการ ชอปปิง Shopaholic คือ?

Shopaholic หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า Compulsive  Buying Disorder (CBD) หรือมีอีกชื่อคือ Oniomania จะมีอาการคร่าวๆ คือเสพติดการช้อปปิ้งอย่างควบคุมตัวเองไม่ได้

 

ชอบซื้อของอยู่ตลอดเวลา รู้สึกดีเวลาได้เห็นราคา แต่เป็นความรู้สึกดีได้ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว เมื่อซื้อเสร็จจะมีความรู้สึกทุกข์ใจ

 

ซื้อของซ้ำบ้าง ใช้จ่ายเกินตัวบ้าง และอาจจะทำให้มีปัญหากับคนรอบข้างเรื่องการซื้อของด้วย

 

หมอ Astrid Mülle กล่าวว่าอีกด้วยว่า “Shopaholics คือการซื้อมากเกินจำเป็น ซึ่งส่วนใหญ่สินค้าที่ผู้มีอาการเสพติดการซื้อมักจะเป็นสิ่งของไม่จำเป็นหรือไม่ได้ใช้ก็ได้”

 

พร้อมระบุอีกว่า อาการเหล่านี้เป็นการปิดบังอารมณ์เชิงลบหรือเพื่อความสุขชั่วครั้งชั่วคราว และผลลัพธ์ด้านไม่ดีของมันจะส่งผลออกมาในระยะยาวเป็นรูปแบบของหนี้สิน

 

สาเหตุของ Shopaholic

1. ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า หรือไม่ต้องถึงซึมเศร้าก็ได้ อาจมีความวิตกกังวล เกิดภาวะเครียดจึงต้องชอปปิงเพื่อคลายเครียด หรือหาทางระบายอารมณ์ด้วยการชอปปิ้ง

 

เนื่องจากสารเคมีในสมองมีสารเซโรโทนินสูง เมื่อได้ซื้อของชอปปิงสมองจะหลั่งสารโดปามีน อย่างรวดเร็วและรุนแรง ทำให้เกิดความสุขในขณะนั้นซึ่งทำให้ผู้เสพเกิดความพอใจ

 

หรือภาวะ High และมีความต้องการทำการกระทำนั้นซ้ำๆ ขึ้นมา
 

2. ไม่มีความภาคภูมิใจในตนเอง ผู้ป่วยอาจต้องการสร้างตัวตนเพื่อให้เกิดการยอมรับในการเข้าสังคม เช่น การแต่งตัวตามแฟชั่นเพื่อให้ตัวเองดูดี ซื้อกระเป๋าแบรนด์เนม ซื้อเสื้อผ้าราคาแพงเพื่อให้เหนือกว่าคนอื่น เป็นต้น

 

3. ชดเชยความรู้สึกไม่มั่นใจตัวเอง low selfesteem เวลาที่ซื้อของจะรู้สึกว่าเราสามารถควบคุมตัวเองได้ ควบคุมสิ่งต่างๆ ได้ด้วยเงิน

 

4. สื่อโฆษณา การได้เห็นสินค้าที่สนใจบ่อยครั้งในอินเทอร์เน็ต หรือเห็นรีวิวตามช่องทางต่าง ๆ อาจทำให้เกิดความอยากได้ และตัดสินใจซื้อในที่สุด

 

5. ความสะดวกในการซื้อ ปัจจุบันมีแอปพลิเคชันชอปปิงออนไลน์มากมายทำให้เอื้ออำนวยต่อการซื้อขาย

 

6. เสพติตวัตถุนิยม เห็นของต่างๆ ที่คนอื่นๆ มีในโลกออนไลน์ แล้วเราอยากจะมี อยากจะซื้อบ้าง โดยเรายังอาจไม่ได้คำนึงถึงความจำเป็นในการใช้เลย

 

อาการ Shopaholic

สังเกตได้จากพฤติกรรมการซื้อเป็นหลัก โดยผู้ที่เข้าข่ายป่วยเป็นโรคนี้ ได้แก่ นักชอปที่หมกมุ่น ไม่สามารถหยุดยั้งความคิด ในการซื้อของ โดยจะรู้สึกสนุกสดชื่น หรือมีความสุขอย่างมากกับทุกขั้นตอนในการซื้อ

 

ไม่ว่าจะเป็นการเลือกสินค้า หรือการแย่งซื้อสินค้าในงานลดราคา การต่อรองราคาสินค้า โดยเฉพาะช่วงที่มีการจ่ายเงินและได้รับสินค้ามาครอบครอง 

 

ในทางตรงกันข้ามจะมีความรู้สึกโกรธหรือทรมานอย่างมาก หากไม่ได้ซื้อตามที่ต้องการ การซื้อเหล่านี้เกิดขึ้นมากหรือบ่อยเกินไป จนเป็นเหตุให้เกิดผลเสียกับตนเองทางใดทางหนึ่ง เช่น เป็นหนี้ มีความเสียการเสียงาน

 

มีปัญหาจากการจับจ่ายจนต้องทะเลาะกับแฟนหรือคนในครอบครัว ซึ่งจากปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้าเข้ามาจากการใช้จ่ายที่มากเกินไปนี้

 

อาจเกิดเป็นวังวนสู่ปัญหาอื่นๆ ที่ยุ่งเหยิงอีกมากมาย เกิดความรู้สึกผิด และนำไปสู่โรคเครียด ภาวะซึมเศร้า หรือปัญหาด้านอารมณ์อื่นๆ

 

ทำไมเครียดต้อง Shopping ?

1. เรารู้สึกมีอำนาจ

โดยปกติแล้วทุกคนมีความเครียดที่สะสมอยู่ ไม่ว่าจะเป็นจากเรื่องงาน เรื่องครอบครัว เรื่องความสัมพันธ์ต่างๆ ส่งผลให้บางครั้งเราไม่มีอำนาจที่จะตัดสินใจอะไร

 

เราจะรู้สึกอึดอัดเป็นมนุษย์ตัวเล็กๆ ที่ไม่สามารถทำอะไรได้ การชอปปิงจะช่วยเติมเต็มเราในส่วนนี้ เรามีอำนาจในการตัดสินใจอยู่ในมือ เราสามารถเลือกได้ตามความต้องการ มีพนักงานที่คอยบริการอยู่เสมอ

 

ซึ่งเราสามารถเลือกที่จะซื้อหรือปฏิเสธก็ได้ เพราะแบบนี้จึงทำให้เรารู้สึกถึงอำนาจที่มีอยู่ในมือ

 

2. ทำให้เราลืมเรื่องต่างๆ ไปในชั่วคราว

ปกติแล้วเรามักจะนึกถึงเรื่องเครียดๆ อยู่ตลอดเวลาแม้จะกลับมาบ้านแล้วก็ตาม แต่การชอปปิงนั้นต้องใช้เวลาและสมาธิในการเลือกซื้อของที่ถูกใจ

 

ทำให้เราต้องคิดเรื่องชอปปิงแทนเพื่อตอบสนองสิ่งที่เราต้องการ ทำให้เราลืมคิดถึงเรื่องเครียดไปได้ชั่วคราว

 

3. เพิ่มความมั่นใจ

เมื่อเราได้ซื้ออะไรบางอย่างไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้า ลิปสติก ส่วนใหญ่นั้นเรามักใช้กับตัวเองแล้วมันจะช่วยเสริมความมั่นใจให้รูปร่าง ฐานะ หรือสภาพแวดล้อมของเราได้

 

บางคนมีชุดตัวเก่งที่ซื้อมาใส่ไปออกงานอยู่เสมอๆ ได้รับการเติมเต็ม ผลวิจัยบางชิ้นชี้ว่า การซื้อของบางอย่างที่เราไม่เคยมีหรือเคยอยากได้นั้นช่วยทำให้เรามีความสุขได้

 

เช่น วัยเด็กเราอาจจะไม่ได้มีเงินพอที่จะซื้อของเล่นชิ้นนี้ เมื่อโตมาเราได้ซื้อนั้นจะช่วยเติมเต็มความรู้สึกและทำให้เรามีความสุขได้ 

 

Chek list เราเป็น Shopaholic หรือเปล่า? 

ผลกระทบจาก Shopaholic

 พฤติกรรม Shopaholic เสพติดการชอปปิงโดยที่ไม่คำนึงรายรับ-รายจ่ายของตนเอง หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา เช่น

 1. ชอปสนุกแต่ทุกข์เมื่อต้องจ่าย พฤติกรรมเสพติดการชอปปิงที่เกินตัวอาจทำให้เกิดการหยิบยืม หรือกู้ยืมเงินเพื่อมาจ่ายค่าสิ่งของที่เราซื้อไป ส่งผลให้เกิดภาระหนี้สินเพิ่มพูนมากขึ้น

2. ปัญหาด้านความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด เพราะต้องโกหกว่าของที่ซื้อมานั้นมีคนให้มา หรือซื้อในราคาที่ถูกกว่าความเป็นจริง  

3. สุขภาพจิตเสื่อม หากมีหนี้สินแล้วไม่สามารถจัดการกับหนี้สินได้ย่อมส่งผลให้เกิดภาวะเครียด ซึมเศร้า เมื่อหาทางออกของปัญหาไม่ได้อาจถึงขั้นก่อเหตุอาชญากรรม ซึ่งนำไปสู่การจับกุมและถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

 

จัดการตัวเองอย่างไรเมื่อเราเป็น Shopaholic

วิธีที่อยากแชร์จาก Alljit 😀

1. คิดแล้วคิดอีกไม่รีบซื้อ บอกตัวเองรอลดราคาก่อน หรือบางทีก็ลืมๆ ไปบ้าง 

 

2. ซื้อตอนเทศกาลการลดราคา หรือบางทีเราก็จะใส่ตะกร้าไว้ก่อน แล้วชั่งใจตัวเองว่าตอนนี้มันยังไม่จำเป็นขนาดนั้น พอกลับมาดูอีกทีความรู้สึกมันหายไปแล้วที่อยากได้

 

3. เวลาจะซื้ออะไรให้เก็บไว้ใจสัก 1 อาทิตย์ ถ้าครบแล้วเรามีสิ่งนั้นติดค้างอยู่ให้ซื้อแต่ถ้าไม่ก็พอกับตัวเอง

 

ที่มา :

 

psychologytoday.com/intl/blog/the-intelligent-divorce

 

rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/shopaholic

 

verywellmind-com

 

petcharavejhospital.com/th/Article/article_detail/Shopaholic

 

innnews.co.th/lifestyle/

การเป็นตัวของตัวเองเป็นสิ่งที่ดีแต่ทำไมมันยากจัง ทุกวันนี้เรากำลังลดความเป็นตัวเองเพื่อ อยากให้คนอื่นยอมรับ อยู่หรือเปล่า?

 

Alljit Podcast x รัชดาภรณ์ นักจิตวิทยาคลินิก

 

แคร์คนนอก อยากให้คนอื่นยอมรับ

การใช้ชีวิตของเราเอง ณ ปัจจุบันตอนนี้ มันเป็นอย่างที่เราเองต้องการจริง ๆ หรือเปล่า หรือเพียงเพราะว่าเป็นไปตามที่คนอื่นอยากให้เราเป็น 

 

ไม่กล้าเป็นตัวของตัวเองเพราะ…?

หากเราลองตั้งคำถามกับตัวเองในตอนนี้ตัวเราเป็นอย่างที่เราต้องการจริง ๆ หรือเปล่า หรือว่าเราเพียงทำตามสิ่งที่คนอื่นอยากให้เราเป็น หรือว่าเราเป็นตัวของเราเองจริง ๆ แบบที่เราอยากจะเป็นจริง ๆ 

 

เพราะจริง ๆ แล้ว เราอาจจะต้องการความรัก ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม หรือว่าต้องการเป็นสิ่งที่ทุกคนรอบข้างให้ความสำคัญ

 

อาจจะทำให้หลาย ๆ ครั้ง ทำให้เราหลงลืมตัวตนจริง ๆ ของตัวเอง และเป็นอย่างที่คนอื่นอยากให้เป็น จนหลงลืมสิ่งที่เราเองต้องการจริง ๆ 

 

แต่ก็เพื่อให้คนเหล่านั้นรู้สึกชื่นชมตัวของเราเอง หรือว่า Self-Esteem ซึ่งมันก็โยงเข้าหาการรับรู้ถึงคุณค่าในตัวตนของเราเองด้วยเหมือนกัน 

 

แต่กับคนบางกลุ่มก็น่าเห็นใจ เพราะทำตามความต้องการของคนอื่น เป็นอย่างที่คนอื่นอยากให้เป็น จนถึงขั้นที่สูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง

 

เพียงเพราะว่าความกลัว หรือว่ากังวลว่าตัวเองจะไม่ได้รับการยอมรับ และเป็นส่วนหนึ่งของสังคม หรือว่ากลุ่มในจุดนั้น 

 

สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับเราได้ง่ายในช่วงที่เราเป็นวัยรุ่น เพราะถือเป็นช่วงที่เราได้พัฒนาตัวตนของเราเองต้องการการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเพื่อได้รับการยอมรับเป็นส่วนหนึ่งของเราในวันนั้น 

 

แต่เมื่อเป็นเช่นนั้นจนเราเองสูญเสียการเป็นตัวของเราเองมากเกินไป มันกัดกินในใจของเราเองที่เราอาจจะเริ่มแยกไม่ออกว่า จริง ๆ แล้วตัวตนของเราเองนั้นเป็นอย่างไรเหมือนกัน 

 

ความต้องการความรัก หรือว่าต้องการการยอมรับจากสังคม ถือเป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์เรา จากการที่ตัวเราเองจะต้องทำบางสิ่งให้คนรอบตัวยอมรับตัวเราเองได้ 

 

แต่หากว่าความต้องการไม่สอดคล้องกับตัวเราเองจริงๆ มันก็ทำให้เราอึดอัดใจ รู้สึกแย่ และสับสนกับสิ่งที่ตัวเราเองทำไปเหมือนกัน 

 

แต่หากสิ่งที่เราทำไป มันไม่ได้รับการตอบรับอย่างที่เราคิดจริง ๆ มันก็ทำให้เราเกิดความรู้สึกไม่ดี เสียความรู้สึกเศร้ากับสิ่งที่เราทำได้เหมือนกัน ความต้องการของคนเรามีมากมายจนมันไม่อาจจะหาจุดสิ้นสุดได้

 

บางทีการที่เราเป็นอย่างที่คนอื่นอยากให้เป็นและเข้าใจว่าเราเป็นเช่นนั้นจริง ๆ ซึ่งมันไม่ขัดแย้งเราสามารถอยู่กับสิ่งเหล่านั้นได้และมันก็สอดคล้องกับความรู้สึกของเราเองจริง ๆ

 

มันก็อาจจะไม่ใช่ปัญหาที่เราจะต้องเอามาจัดการ แต่เมื่อใดก็ตาม ที่เรารับรู้ว่าสิ่งที่เราทำมันขัดแย้งกับความรู้สึก และความคิดของเราเอง

 

นั้นก็อาจจะเป็นปัญหาที่เราจะต้องหยิบยกขึ้นมา เพื่อแก้ไขมันและดูแลตัวเองให้มากขึ้น เพื่อให้ตัวเราเองไม่สูญเสียตัวตนที่แท้จริงของเราเองที่อยู่ข้างในด้วยเหมือนกัน 

หากแคร์คนอื่นมากกว่าตัวเอง…?

บางคนนอกจากการต้องการความรัก และเป็นอย่างที่คนอื่นอยากจะให้เป็น และบางคนก็อาจจะแคร์ความรู้สึกของคนอื่นมากจนเกินไป จนลืมที่จะกลับมาดูแลความรู้สึกของตัวเองกันก่อนด้วยเหมือนกัน 

 

การที่เราเอาใจใส่ความรู้สึกของคนอื่นเป็นเรื่องที่ดี แต่บางครั้งเราก็ต้องกลับมาถามตัวเองด้วยเหมือนกันว่าเราคิดถึงความรู้สึกของตัวเราเองแล้วหรือยัง

 

ว่าเรารู้สึกอย่างไรกับสิ่งที่คนอื่นอยากให้เราทำหรือว่าอยากให้เราเป็น การดูแลความรู้สึกของตัวเอง ไม่ได้หมายความว่าเราต้องดูแลตัวเองทำตามใจของเราเอง หรือว่าการแสดงตัวตนของเราออกมาอย่างสุดโต่ง

 

แต่จุดนี้หมายถึงเราจะต้องเข้าใจความต้องการของเราเอง และแสดงมันออกมาได้อย่างเหมาะสม การดูแลใส่ใจตัวเองที่แท้จริง คือการไม่ละทิ้งตัวตนที่แท้จริงของเราเอง

 

หรือไม่ปล่อยความต้องการของตัวเองไปตามสิ่งที่ต้องการรอบตัวมากเกินไป

 

แน่นอนว่าไม่มีใครเข้าใจหรือว่ารู้ว่าตัวตนของตัวเองเป็นคนอย่างไรได้เต็มร้อย แต่บางคนอาจจะเข้าใจตัวเองในบางมุมแต่กับอีกบางมุมก็ยังทำตามความต้องการวิ่งตามความคาดหวังของคนอื่น

 

แต่สุดท้ายก็ไม่ควรปล่อยให้ตัวตนของเราถูกกลืนไปกับทุก ๆ เรื่อง

 

บางคนอาจจะกลัวและไม่กล้าที่จะแสดงออกมาในตัวตนของตัวเองจริง ๆ เพราะอาจจะคิดว่า เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ กับบางคนก็ไม่สามารถเป็นตัวของตัวเองได้ เพราะว่าสภาพแวดล้อมที่บีบให้ต้องทำ อาทิเช่น

หรือแม้กระทั่งกับคนรักเอง บางทีก็หลงลืมไปด้วยเหมือนกัน เพราะเรากลัวที่เค้าจะไม่ยอมรับ หรือว่าไม่ได้รับความรักตอบเช่นกัน 

 

การเป็นตัวเองในแบบที่เราอยากเป็นหรือทำตามความต้องการของตัวเองที่แท้จริง จนไม่หลงลืมตัวตนของเราเองไปกับกระแสสังคม หรือว่าไปกับการถูกกลืนจากสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบตัวของเราเอง

 

มันอาจจะเป็นเรื่องที่ยากมาก ๆ แต่การทำเพื่อคนอื่นจนมากเกินไปกว่าที่เขาควรจะได้ มันก็ไม่ได้มีประโยชน์อะไรที่เราจะทำไปการเป็นตัวเองในแบบที่เราอยากจะเป็ จนไม่หลงลืมตัวเองไปกับกระแสสังคม

 

หรือไปกับการถูกกลืมจากสภาพแวดล้อมมันอาจจะเป็นเรื่องที่ยากเพราะการทำตัวให้นิ่งกับสิ่งรอบตัว มันอาจจะต้องใช้ความพยายามอย่างมาก 

 

เพราะฉะนั้นการที่เราเป็นตัวเอง ไม่จำเป็นต้องทวนกระแสน้ำหรือไม่จำเป็นต้องต่อต้านกับสังคมที่อยู่  เพียงแต่ว่าเราจะอยู่ตรงนั้นแบบไหน ให้เป็นเราได้ในแบบที่เราเป็นจริง ๆ

 

และตัวเราเองก็ไม่ได้รู้สึกต่อต้าน หรือว่าอึดอัด ในขณะเดียวกันตัวเราเองก็ต้องให้เกียรติคนอื่น ๆ ที่อยู่ร่วมกันกับเราเช่นกัน 

 

จิตใจของคนเราเป็นสิ่งที่ยากจะหยั่งถึง เมื่อเราคิดมาถึงจุดนี้ อาจจะต้องทบทวนตัวเองกันก่อน ว่าชีวิตของเรา หรือว่าการที่เราเป็นเราอยู่ ณ ปัจจุบันนี้

 

มันเป็นตัวตนที่แท้จริงของเราเองแล้วหรือยัง หรือว่าเรากำลังถูกกลืนไปกับความคาดหวัง หรือว่าการต้องการเป็นที่ยอมรับของคนอื่นอยู่หรือเปล่า

 

 

คนบางคนที่ยิ้ม หัวเราะ ร่าเริง เราไม่มีทางรู้เลยว่าในใจของพวกเขาคิดอะไรอยู่ ร่าเริงไม่ได้แปลว่ามีความสุข ในใจอาจจะเป็น โรคซึมเศร้า

 

เศร้ากับ โรคซึมเศร้า ต่างกันอย่างไร?

ก่อนอื่นเราอาจจะต้องทำความเข้าใจกันก่อน ก่อนจะเป็นโรคซึมเศร้า แน่นอนว่าเราต้องเศร้ามาก่อนเช่นกัน 

 

ความเศร้า (Sadness) คือ หนึ่งในอารมณ์ของคนเรา ที่มีความเครียด ความสุข และความเศร้า ขุ่นมัว ซึ่งสามารถจัดการได้ด้วยการพูด ร้องไห้ออกมา เป็นอะไรที่เรียบง่าย

 

ส่วนซึมเศร้า (Depression) จัดเป็นอาการทางจิตเวชอย่างหนึ่ง ที่เริ่มมาจากความรู้สึกเศร้า แต่เราไม่สามารถจัดการกับความรู้สึกที่เกิดขึ้นเหล่านั้นได้

 

ทำให้พัฒนากลายเป็นอาการซึมเศร้าตามมานั่นเอง และส่งผลกับชีวิตของคนเราในหลายส่วน แม้ว่า Mood & Tone ในขณะนั้นอาจจะไม่ได้เศร้า มันก็จะยังแสดงความรู้สึกเหล่านั้นออกมาเช่นกัน 

 

แน่นอนว่าโรคซึมเศร้าไม่ได้เลือกว่าใครเป็นได้ หรือว่าไม่ได้ คนร่าเริงเองก็มีโอกาสเป็นได้เช่นกัน ซึ่งหากจะพูดถึงคนร่าเริงที่เป็นซึมเศร้า

 

ก็จะนึกถึงคำๆ หนึ่งที่ว่า High Functioning Depression หรือว่าซึมเศร้าแบบศักยภาพสูงนั่นเอง 

 

ซึ่งกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้านั้น ทักษะหลายๆ อย่างในชีวิตจะลดลง อย่างการกินได้น้อยลง นอนได้น้อยลง ทักษะมนุษยสัมพันธ์เริ่มแย่ หรือว่าไม่สามารถเข้าสังคมได้ เป็นต้น

 

คนร่าเริงเป็นซึมเศร้าได้ไหม

แน่นอนว่าเป็นได้ ซึ่งก็จะโยงไปถึงข้างต้นที่ได้กล่าวมาก่อนหน้านี้ คือ High Functioning Depression หรือซึมเศร้าแบบประสิทธิภาพสูง 

 

คนที่เป็น High Functioning Depression คือคนๆ หนึ่งที่เป็นโรคซึมเศร้า แต่ว่าเศร้าอยู่ข้างใน แต่สามารถทำทุกอย่าง ทำกิจกรรมได้ปกติแต่มีความรู้สึกซึมเศร้าอยู่ภายในจิตใจ

 

สังเกตได้ เมื่อคนๆ นั้นอยู่คนเดียว หรือว่าในพื้นที่ของเขาเองจริงๆ อาการหรือว่าความรู้สึกดิ่ง และดาวน์ จะเกิดขึ้นกับตัวของเขาเองในตอนนั้นๆ 

 

ซึ่งหมายความว่า คนร่าเริงก็เป็นซึมเศร้าได้เช่นกัน และสามารถเป็นได้กับทุกเพศและทุกวัย และทุกบุคลิกภาพเช่นกัน 

 

เมื่อเกิดอารมณ์ดิ่ง เศร้า จัดการยังไงดี?

การจัดการกับอารมณ์นั้น หากว่าจัดการด้วยตัวเอง มันอาจจะเป็นสิ่งที่ยาก แต่หากเลือกเข้าพบผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เป็นอีกทางเลือกที่ดีกับตัวของผู้ป่วยเอง 

 

แม้ว่าการเข้าพบคุณหมอ หรือว่าผู้เชี่ยวชาญอาจจะไม่สามารถเข้าพบได้ทุกเวลาที่เราต้องการ แต่ในช่วงการเข้าพบ หรือว่าดำเนินการการรักษา ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้เราไม่ได้เผชิญกับปัญหาเหล่านั้นด้วยตัวคนเดียว 

 

สิ่งที่เราจะได้รับหลังจากการเข้าพบผู้เชี่ยวชาญ คือ ยารักษา และตัวของผู้เชี่ยวชาญเอง ที่เข้ามาให้คำปรึกษากับตัวผู้ป่วย ให้มีแนวทางการจัดการกับอารมณ์ที่ดีขึ้นเช่นกัน 

 

นอกจากจุดนั้นแล้ว ยังมีเรื่องของการจัดการกับความคิด ความรู้สึกของตัวเองด้วยเหมือนกัน แต่หากว่าในระหว่างทางการรักษา มีอาการดาวน์ หรือว่าความรู้สึกดิ่ง

 

สิ่งสำคัญก็คือตัวของผู้คนรอบข้าง หรือว่าสภาพแวดล้อมรอบตัวของผู้ป่วยเอง ว่ามีทางพูดคุยกับผู้ป่วยอย่างไรบ้าง เพื่อดึงผู้ป่วยออกมาจากความรู้สึกนั้น 

 

หากว่าตัวผู้ป่วยไม่ได้พบผู้เชี่ยวชาญแต่ยังพอรับรู้ได้ว่าตัวเองรู้สึกอย่างไร หรือว่าอะไรเข้ามาทำให้เรารู้สึกไม่ดี ก็เป็นอีกจุดที่ทำให้ตัวของเขา สามารถจัดการกับความรู้สึกที่เกิดขึ้นได้ในเบื้องต้นเช่นกัน

 

แต่สำหรับบางคน ก็อาจเลือกที่จะทำร้ายตัวเอง เพื่อระบายความรู้สึกเหล่านั้นออกมาผ่านความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นเช่นกัน

 

ซึ่งแน่นอนว่าการทำร้ายตัวเองไม่ได้เป็นสิ่งที่ดีเช่นกัน หากว่าเราเลือกระบายความรู้สึกของตัวเอง ผ่านวิธีอื่นแทนการทำร้ายตัวเองเพื่อระบายอารมณ์ของเราเองแบบนั้นก็อาจจะเป็นอีกสิ่งที่ดีตัวเลือกที่ดีสำหรับตัวผู้ป่วย

 

สิ่งสำคัญที่สุด คือการเข้าใจว่าการที่เราดาวน์ หรือว่าเกิดความรู้สึกดิ่งนั้น มันคืออะไร และพยายามเอาตัวเองออกมาจากจุดนั้นกันก่อน

 

พยายามไม่ปล่อยให้ตัวเองอยู่จุดนั้น หรือว่าจมดิ่งกับความรู้สึกที่เกิดขึ้นนานเกินไป

 

หลีกเลี่ยงการเป็นโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้าเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสภาพแวดล้อม ปัจจัยทางครอบครัวว่าคนในครอบครัวของเราเคยมีใครเป็นมาก่อนหรือเปล่า 

 

แต่โดยรวมสิ่งสำคัญคือการใช้ชีวิตของเราเอง ทำอย่างไรให้การใช้ชีวิตของตัวเราเองมีความสุข มีชีวิตแบบที่เราต้องการให้เป็น

 

มีคุณภาพชีวิตที่ดีสร้างสมดุลให้กับชีวิตของตัวเองได้ ทุกข์ได้ แต่อย่าทุกข์มากเกินไป อย่าจมอยู่กับความทุกข์ที่เกิดขึ้นนานเกินไปด้วยเช่นกัน 

 

และเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตอย่างมีข้อจำกัดด้วยเช่นกัน คาดหวังได้ แต่ก็ต้องไม่คาดหวังกับสิ่งต่าง ๆ จนเกินไป ทำปัจจุบันของเราเองให้มีความสุข อะไรที่ดีสำหรับตัวเองและทำเพื่อตัวเองกันก่อนด้วยเหมือนกัน  

 

Introvert เสี่ยงเป็นซึมเศร้ามากกว่า Extrovert ไหม

Introvert คือ คนที่ชอบเก็บเนื้อเก็บตัว ใช้เวลาคิด อยู่กับตัวเอง ชอบใช้เวลาร่วมกับเพื่อนสนิทกลุ่มเล็กๆ มากกว่าใช้เวลากับคนจำนวนมาก และชอบอยู่กับตัวเองเพื่อพักผ่อน ชาร์จพลังให้กับตัวเอง ซึ่งจะต่างจาก 

 

Extrovert คือ คนที่ชอบอยู่กับคนกลุ่มใหญ่ๆ ไม่ชอบอยู่คนเดียว ชอบเข้าสังคม เวลาพักผ่อนชอบอยู่กับคนอื่นเพื่อชาร์จพลังให้กับตัวเอง เป็นคนง่ายๆ ช่างพูดช่างคุย ชอบเป็นจุดสนใจของคนอื่น

 

จริง ๆ แล้วทุกคนมี 2 สิ่งนี้อยู่ในตัวของเราเองเสมอ เพียงแต่ว่าเรามีสองอย่างนี้ในช่วงไหนและเอามันออกมาใช้ในตอนไหนมากกว่ากันเท่านั้นเอง 

 

2 สิ่งนี้ไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกว่าอะไรที่เสี่ยงมากกว่ากัน แต่เป็นเรื่องความเจ็บปวดทางจิตใจในอดีต หรือว่าสภาพแดล้อมที่เราอยู่ด้วยเหมือนกัน 

 

รับมือกับคนเป็น โรคซึมเศร้า ที่คิดทำร้ายตัวเองอย่างไร

สิ่งที่เราทำได้ คือการรับฟังให้เป็น ตั้งใจฟัง เหมือนกับการขออนุญาตรับฟังจากเรื่องที่เขาคนนั้นเผชิญ เพราะสำหรับบางคนจริงๆ แล้วเขาอาจจะไม่ได้อยากตาย

 

แต่เพียงแค่อยากออกมาจากความรู้สึกนั้น แต่ว่าเขาทำไม่ได้ ซึ่งการเปิดใจรับฟังเขาอย่างตั้งใจคืออีกสิ่งที่เราทำได้ช่วยได้เช่นกัน 

 

การรับฟังความรู้สึกความคิดของผู้ป่วย อาจจะเป็นเพียงการช่วยผ่อนคลายอารมณ์ ความรู้สึกของผู้ป่วยเท่านั้น

 

แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการรู้ว่าอะไรคือสาเหตุให้เกิดความรู้สึกเหล่านั้นขึ้นมา และแก้ไขที่ต้นเหตุจึงจะเป็นทางแก้ไขที่ยั่งยืนที่สุด

“การ คิดบวก คิดในแง่ดี โลกสวย” คำเหล่านี้ที่เรามักจะได้ยินกันบ่อย ๆ คำที่พอพูดแล้วจะเป็นคำพูดในทางบวกแต่ความหมาอาจจะแตกต่างกัน  และการคิดบวกมันดีจริง ๆ หรอ?

การ คิดบวก คืออะไร (Positive Thinking)

เป็นการคิดที่อยู่กับความเป็นจริงและในความเป็นจริงมีเรื่องดีอยู่และโฟกัสเฉพาะสิ่งดี ๆ ไม่ใช่การหลอกตัวเองและไม่ใช่การเข้าข้างตัวเอง

 

เรารับรู้ได้ว่าเรื่องนี้มีทั้งดีและร้ายแต่เราเลือกโฟกัสสิ่งที่ดีไว้ก่อนเพื่อให้เราไม่ประมาทกับเหตุการณ์นั้น 

 

การ คิดบวก จำเป็นกับเราแค่ไหน

ขึ้นอยู่กับบุคคล การคิดบวกไม่จำเป็นกับทุกคนเสมอไป ไม่จำเป็นต้องโฟกัสแค่เรื่องที่ดีอย่างเดียวต้องยอมรับในเรื่องร้าย ๆ ที่เกิดขึ้นด้วยโดยมีพื้นฐานจากประสบการณ์และความเป็นจริง

 

สังคมอาจจะทำให้เรามองว่าการคิดบวกจะก้าวข้ามทุกอย่างไปได้ แต่บางครั้งการคิดบวกก็เหมือนหลอกตัวเอง เข้าข้างตัวเองมากเกินไป ตรงข้ามกับความเป็นจริงได้ การที่เราไม่ได้คิดบวกไม่ได้แปลว่าเราแย่ทุกอย่าง 

 

คิดบวกกับโลกสวยต่างกันอย่างไร

โลกสวย คือ การฝันและจินตนาการว่าเป็นเรื่องดีซึ่งไม่ตรงกับความเป็นจริงต่างกับการคิดบวก ที่มองความเป็นจริงและเลือกโฟกัสสิ่งที่ดี

 

ไม่ว่าเราจะโลกสวยหรือคิดบวกก็ต้องมีสติกับเหตุการณ์นั้นเสมอก่อนจะตัดสินใจบางทีการคิดบวกมากเกินไปก็เป็นการหลอกตัวเองได้

 

หากเป็นเช่นนั้นการเลือกมีสติอยู่กับปัจจุบัน คิดและประเมินสถานการณ์บนพื้นฐานความเป็นจริงอาจเป็นสิ่งที่ดีกับเรามากกว่า

 

คิดบวกอย่างไรให้เป็นผลดีกับตัวเอง

เลือกที่จะไม่กดดันตัวเองก่อนว่าเราต้องคิดบวกกับทุกเหตุการณ์ เพราะทุกอย่างมีทั้งด้านดีและร้าย เราไม่จำเป็นต้องคิดบวกมากเกินไปและไม่จำเป็นต้องคิดลบตลอดเวลา

 

และมองความเป็นจริงก่อนที่จะโฟกัสว่าควรคิดลบหรือคิดบวก ทุกอย่างจะดีขึ้นจากการมองตามหลักความจริง

 

คิดบวกแล้วไม่ช่วยอะไรเลย..

การคิดบวกแล้วไม่ช่วยอะไรเลย ไม่ได้ผิดร้ายแรงขนาดนั้นหากเรารู้สึกฝืนตัวเองให้คิดบวกมากเกินไป อาจจะต้องถอยออกมาสักหนึ่งก้าวเพื่อให้เราได้ทบทวนอะไรหลาย ๆ อย่างดูก่อน

 

ไม่ต้องใช้ชีวิตให้สดใส ควรมีชีวิตที่บาลานซ์ ยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตให้ได้ แล้วตั้งหลักและก้าวต่อไป แม้ว่าเราพยายามคิดบวกแล้วแต่ยังไม่ได้ช่วยอะไรให้ดีขึ้นเลย

 

ไม่ได้แปลว่าเราทำได้ไม่ดีหรือทำทุกอย่างแย่เกินไป บางทีวิธีการคิดบวกอาจจะไม่ใช่คำตอบกับเหตุการณ์นั้น แต่ยังมีอีกหลายวิธีที่ทำให้เราผ่านเหตการณ์นี้ไปได้อย่าพึ่งหมดหวังนะคะ 

 

เคยรู้สึกถึงพลังงานบางอย่างในช่วงก่อนมีประจำเดือนหรือเปล่ามีอารมณ์ที่อ่อนไหวง่าย เสียใจง่าย หรือหงุดหงิดง่าย เป็นช่วงเวลาที่หนักหน่วง ซึ่งอาการต่าง ๆ เหล่านี้เรียกว่า  PMS 

PMS คืออะไร

Premenstrual Syndrome หรือเรียกย่อ ๆ ว่า PMS คืออาการก่อนมีประจำเดือน จะเกิดขึ้นกับผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ อาการจะเกิดก่อนมีประจำเดือนประมาณ 1-2 สัปดาห์

 

จะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ ร่างกาย และพฤติกรรม เช่น ปวดเมื่อย ขี้เหวี่ยง ขี้วีน ขี้หงุดหงิดแบบไม่มีสาเหตุ

 

ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นอาจจะบรรเทาลงเมื่อประจำเดือนมาหรือหมด ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลและเเต่ละเดือน อาการส่วนใหญ่จะไม่รุนแรงแต่ก็มีผู้หญิงบางส่วนที่มีอาการรุนแรง

 

ลองสำรวจตัวเองเกี่ยวกับอาการ PMS

ด้านอารมณ์และจิตใจ

1. โกรธง่าย ฉุนเฉียว

2. วิตกกังวล กลัวคนสำคัญไม่รัก

3. ภาวะซึมเศร้า เช่น รู้สึกไร้ค่า เศร้า หดหู่ ร้องไห้ง่าย

4. หงุดหงิดง่าย

5. ความรู้สึกท่วมท้นทางอารมณ์

6. ไวต่อการปฏิเสธ

7. ถอนตัวออกจากสังคม (Social Withdrawal)

ด้านร่างกาย

1. ปวดหัว 

2. ความอยากอาหารเพิ่มขึ้น

3. เจ็บเต้านม 

4. ท้องอืด ปวดท้อง

5. ง่วงนอน ต้องการนอนมากผิดปกติ (Hypersomnia)

6. ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ

7. มือเท้าบวม 

ด้านพฤติกรรม

1. เหนื่อยล้า

2. ขี้ลืม

3. ไม่ค่อยมีสมาธิ

 

ปวดท้องประจำเดือน ไม่ใช่ PMS

จากบทความของแพทย์  พญ.พิชิตา ประสงค์เวช  จาก มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ อาการปวดท้องประจำเดือน ไม่ได้เกี่ยวข้องกับภาวะ PMS แต่ส่วนมากจะเป็นอาการของภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

 

หากปวดไม่มากสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ อาจจะรับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการได้

 

แต่ถ้ามีอาการปวดมากจนทนไม่ได้ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ ควรมาพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการและสาเหตุที่ชัดเจน

 

ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ เดือนเว้นเดือน สามารถพบแพทย์ได้ เพราะอาจมีโรคอื่น ๆ แทรกซ้อนอยู่

 

เช่น ฮอร์โมนน้ำนมผิดปกติ หรือโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ รวมถึงความเครียดสะสม พักผ่อนไม่เพียงพอ ก็เป็นปัจจัยได้เช่นกัน 

 

นิสัยไม่ดี หรือเพราะ PMS 

การจะตัดสินว่านิสัยดีหรือไม่ดีเป็นเรื่องยากที่จะตัดสิน หากให้เลือกตัดสินเพราะเป็นประจำเดือน อยากให้ลองมองแบบระยะยาวว่าปกติเขาเป็นคนอย่างไร ถ้าปกติไม่ได้เป็นแบบนี้เลยอาจจะเป็นไปได้ว่า

 

เพราะประจำเดือนทำให้เขาเป็นแบบนี้ ถ้าหากมองแบบระยะยาว ทั้งที่ผ่านมาและหลังจากที่หมดประจำเดือนก็ยังเป็นแบบนี้อยู่ อาจเป็นนิสัยส่วนตัวของเขาได้

 

แต่ไม่ว่าเขาจะไม่น่ารักเพราะประจำเดือนหรือนิสัยส่วนตัว ควรบอกเขาตามตรงเพราะบางคนเผลอ Toxic ใส่คนอื่นแบบไม่รู้ตัว

 

หรืออีกแบบคือมีอาการแบบนี้เพราะเขาเป็นประจำเดือนก็บอกเขาได้ ว่ากำลังเป็นอะไรอยู่ เพื่อเป็นเสียงสะท้อนให้กับเขา เขาจะได้กลับมาดูแลตัวเองให้เหมาะสมและจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ 

 

มีการระบายอารมณ์แตกต่างกันได้

บางคน PMS เลือกที่จะอยู่คนเดียว หาทางจัดการด้วยตัวเอง หาทางออกเอง บางคน PMS ระบายอารมณ์ใส่คนอื่น ในส่วนนี้หลาย ๆ คนเลยมองว่า นิสัยไม่ดี

 

พยายามรู้ให้เท่าทันตัวเองว่าเรากำลังอยู่ในอารมณ์ไหน เพื่อไม่ให้กระทบต่อคนอื่น อย่างน้อยแคร์คนรอบข้างสักนิด เพราะ PMS ไม่ใช่เหตุผลที่เราสามารถระบายอารมณ์ออกมาใส่คนอื่นได้โดยที่ไม่ผิด

 

PMS เกิดจากอะไร

ณ ปัจจุบันนักวิจัยเห็นตรงกันว่ามาจากสาเหตุของชีววิทยา 

 

มากกว่ามาจากจิตวิทยา การวิจัยไม่ใช่สิ่งที่แน่นอนว่า PMS เกิดจากอะไรและนักวิจัยได้เสนอว่ามีทฤษฎีที่แตกต่างกันสองทฤษฎี

 

1. การเปลี่ยนแปลงของวัฏจักรของฮอร์โมน

ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเชื่อว่า PMS เกิดจากการ ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน

 

ฮอร์โมนเหล่านี้มีความผันผวนธรรมชาติ ตามรอบเดือนของเรา   ในระหว่างระยะเวลาการตกไข่

 

ฮอร์โมนจะถึงจุดสูงสุดและลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อเกิดการผันผวนของฮอร์โมน อาจนำไปสู่ความวิตกกังวล ความหงุดหงิด และการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์อื่น ๆ

2. การเปลี่ยนแปลงทางเคมีในสมอง

สารสื่อประสาท serotonin และ norepinephrine มีหน้าที่สำคัญหลายอย่างในร่างกาย รวมทั้งช่วยควบคุมอารมณ์ อารมณ์ และพฤติกรรม สารเคมีเหล่านี้อาจเป็นปัจจัยใน อาการของ PMS

 

ถ้าระดับเซโรโทนินต่ำ อาจจะทำให้รู้สึกหงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ ความต้องการกินจะเพิ่มขึ้น แต่ถ้าระดับเซโรโทนินสูง อาจมีอาการหนาวสั่น เป็นไข้ ปวดศีรษะ ท้องเสียร่วมด้วย

 

การสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีนเป็นประจำ ก็มีส่วนทำให้เป็น PMS และการมีความสะสมความเครียด สภาพจิตใจและร่างกายก็มีส่วน

 

และคนที่มีน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน คือ ผู้หญิงที่มีค่าดัชนีมวลกายสูงกว่า 30 อาจมีแนวโน้มที่จะมีอาการก่อนเป็นประจำเดือนมากกว่าผู้หญิงที่มีน้ำหนักปกติประมาณ 3 เท่า

 

PMS อันตรายหรือไม่

 

PMS จะไม่อันตราย ถ้าเราดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม แต่ว่าถ้ารุนแรงผิดปกติ อาจจะเป็นสัญญาณที่กำลังบอกว่าเราอาจจะเป็น PMDD 

PMS และ PMDD ต่างกันอย่างไร

PMS มักจะมีอาการที่ไม่รุนแรง แต่จะมีบางกลุ่มที่มีอาการรุนแรง 

 

เรียกว่า PMDD (Premenstrual Dysphoric Disorder) กลุ่มอาการอารมณ์ผิดปกติก่อนมีประจำเดือนแต่จะพ่วงกับโรคซึมเศร้าได้

 

คือจะมีอาการรุนแรง เช่น  หงุดหงิดมาก โมโหร้าย หรือซึมเศร้าอย่างมาก หรืออาจจะเป็นเพราะเคยเจอกับเหตุการณ์สะเทือนใจ

 

PMDD  (Premenstrual Dysphoric Disorder) หรือกลุ่มอาการรุนแรงก่อนมีประจำเดือน ภาวะนี้จะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตอย่างเห็นได้ชัด อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับอาการทางร่างกาย

 

แต่จะทำให้เกิดปัญหาทางจิตใจและอารมณ์ที่รุนแรงขึ้น บางคนอารมณ์อ่อนไหว แปรปรวนง่าย ซึมเศร้าอย่างมาก สิ้นหวัง ไม่อยากมีชีวิต วิตกกังวลอย่างรุนแรง ร้องไห้บ่อย โมโหร้าย อารมณ์รุนแรง

 

อาการ PMDD เป็นอาการที่พบได้ค่อนข้างน้อยพบเพียง 2-10% ของผู้หญิงที่มีประจำเดือนเท่านั้น 

 

สาเหตุของ PMDD คืออะไร

สาเหตุอาจจะมาจากเรื่องของฮอร์โมนเพศหญิงในช่วงรอบเดือน กรรมพันธุ์ ความเครียด เหตุการณ์ร้ายแรงในชีวิต ความเครียด ความวิตกกังวลต่าง ๆ ซึ่งล้วนมีส่วนทำให้เกิดอาการเหล่านี้

 

อย่าพึ่งตัดสินว่าเรามีอาการเป็น PMDD ต้องได้รับการวินิจฉัยจากจิตแพทย์เท่านั้น แต่เบื้องต้นเราก็ต้องสังเกตุอาการเราอยู่เสมอหากกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

 

เลือกพบจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเพื่อรักษาอาการตามที่แพทย์เห็นสมควร

 

วิธีจัดการอาการ PMS 

จากบทความของ MAYOCLINIC  บอกไว้ว่า  PMS สามารถจัดการหรือลดอาการก่อนมีประจำเดือนได้โดยการเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ เช่น การกิน การออกกำลังกาย และชีวิตประจำวัน 

1. ปรับเปลี่ยนการกิน ไดเอท

2. แทรกการออกกำลังกายเข้ามาในชีวิตประจำวัน

3. ลดความตึงเครียด

4. บันทึกอาการของเราหลังจากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสัก 2-3 เดือน ลองจดบันทึกในทุกๆเดือนหลังจากที่เราได้ลองทำว่าดีขึ้นไหม  

5. ในกรณีที่จำเป็น ผู้หญิงที่ทรมานจากอาการไม่สบายช่วงก่อนมีประจำเดือนควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับความช่วยเหลือที่เหมาะสม

 

รู้เท่าทันอารมณ์ตัวเองเป็นเรื่องที่สำคัญ แม้เป็นเรื่องที่มองว่าค่อนข้างปกติ ถ้าเราจะมีอารมณ์ที่อ่อนไหว หวั่นไหวง่ายในช่วงเป็นประจำเดือน

 

แต่สิ่งที่สำคัญคือต้องรู้ว่าที่เป็นแบบนี้คือเพราะอะไร แล้วพยายามไม่ปล่อยให้มีผลกระทบรุนแรงดีกว่า

 

ที่มา :

hellokhunmor.com

 

www.mayoclinic.org

 

sis-treatment/drc

 

healthline-com

 

tu.ac.th/thammasat-130764-med-expert-talk-relieve-premenstrual-syndrome