Posts
… ‘ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ เราก็ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้’ ….
หลาย ๆ คนเวลาที่เริ่มอายุเยอะมากขึ้นก็เริ่มมีความกลัว กังวล ว่าชีวิตจะเป็นยังไงต่อไป จะป่วยไหม จะมีคนอยู่กับเราไหม
แต่ถึงแม้ว่าจะกังวลขนาดไหน สุดท้ายเราก็หนีการที่เราต้องเติบโตขึ้นในทุก ๆ วัน จนเข้าสู่ ‘วัยชรา’ ไม่ได้อยู่ดี
ถ้าได้ลองอ่าน จะได้รับคำแนะนำในการใช้ชีวิตอย่างมากมายและอบอุ่นหัวใจกับจิตแพทย์ที่วัยต่างกัน
วัยที่ก้าวเข้าสู่วัยชรา คุณสึเนะโกะ อายุ 92 ปี และ คุณโอะกุดะ จิตแพทย์ที่กำลังเข้าสู่วัยเกษียณ อายุ 54 ปี หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายโดย นานมีบุ๊คส์ จำกัด
หนังสือเล่มนี้จะพาเราไต่ระดับการเตรียมพร้อมสำหรับจิตใจจริง ๆ เริ่มตั้งแต่…
สารบัญบทแรกยันบทสุดท้าย การยอมรับ การปล่อยวางความสัมพันธ์ การปลดปล่อยความกังวล ความตาย การจากโลกนี้ไปด้วยรอยยิ้มและความสุข
ถ้าให้พูดถึงความรู้สึกดีที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ คงยาวมากจนไม่รู้จบ ขอเลือกมาหนึ่งเรื่องที่ค่อนข้างจะมีผลกับความรู้สึกของคนในวัยนี้ หรือ (อาจ) ในสังคมนี้
ความคิดที่ว่า ไม่อยากโดนคนอื่นเกลียด กลัวถูกเกลียด จนบางครั้งก็เก็บอารมณ์ข่มตัวเองไว้จนเครียด แต่เข้าใจนะถ้าเราเลือกได้เราคงอยากเกิดมาโดยที่ไม่มีใครเกลียดหรอก
เราอยากให้คนอื่นชอบ อยากเป็นคนที่ถูกรัก เป็นปกติที่จะมีความคิดแบบนี้
อาจเป็นเพราะเราถูกปลูกฝังมากับคำว่า ‘เกลียด’ เป็นอะไรที่ร้ายแรง
จนบางครั้งก็ยอมทนกับบางคนที่รู้สึกว่าเข้ากันไม่ได้ ไปด้วยกันไม่ได้ ความเห็นไม่ลงรอยกัน อยู่ด้วยแล้วมีแต่พลังลบ
ทะเลาะกันอยู่ตลอด ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ไหน ๆ ก็ตามแต่เพราะกลัวว่าเขาจะเกลียด เขาจะไม่ชอบ
เลยต้องยอมอยู่กับความรู้สึกแบบนี้ แบกความเครียดต่อไปจนกลายเป็นปัญหาสุขภาพจิต
คุณสึเนะโกะ แนะนำไว้ว่า
“แค่โดนคนสักหนึ่งหรือสองคนเกลียด อย่าไปสนใจเลย โดนเกลียดมันไม่ถึงตายหรอก
อย่าไปทนฝืนคบ ให้เรามองหาคนที่ยอมรับเราที่เป็นเราดีกว่า”
และคุณโอกุดะก็เสริมว่า “เราไม่จำเป็นต้องพยายามให้ทุกคนชอบเราขนาดนั้น คิดเสียว่าถ้าโชคดีก็จะเจอคนที่ชอบเราในแบบที่เราเป็น”
เมื่ออายุมากขึ้นแล้วถ้าเรายังต้องใส่ใจเรื่องรูปลักษณ์ภายนอก เรื่องผลประโยชน์หรือมานั่งใส่ใจว่าคนอื่นจะมองมายังไงจนไม่เกิดความรู้สึกดี ๆ กับตัวเอง
หรือกับความสัมพันธ์ ก็ควรที่จะสะสางความสัมพันธ์ที่ไม่ดีไปเลย ดีกว่ามานั่งเสียดายแรงกายแรงใจหรือเวลาที่เอาไปทุ่มเทประโยชน์กับอะไรที่ดีและมีค่ามากกว่านี้
เมื่ออ่านบทนี้จบเรารู้สึกว่าก็จริงนะ…บนโลกนี้มีคนอีกหลายคนที่เรายังไม่รู้จักที่อาจจะรอให้เราได้มีโอกาสได้รู้จักกัน
การที่เรามัวแต่รักษาความสัมพันธ์กับคนที่ไม่ได้ชอบเราหรือ ‘เกลียด’ เรา คิดดูว่ามันคงน่าเสียดายน่าดูถ้ามองกลับไป
ละทิ้งความสัมพันธ์ที่ชวนเครียดหรือปวดหัว และเลือกอยู่กับคนที่มีคุณภาพกับชีวิตกันเถอะ 🙂
สุดท้ายแล้ว หนังสือ เตรียมพร้อม ‘จิตใจ’ ก่อนวัย ‘เกษียณ’ หนังสือที่ทุกวัยสามารถอ่านได้
หนังสือที่เหมือนเราได้รับคำแนะนำจากญาติผู้ใหญ่ที่เราคุ้นเคย ญาติผู้ใหญ่ที่คอยบอกเราว่า ไม่เป็นไรนะ
การเติบโตถึงจะเจ็บปวดบ้างหรือมีอะไรที่ไม่คาดคิดบ้างแต่สุดท้ายมันจะจบและผ่านไปได้ด้วยดี
#เตรียมพร้อมจิตใจก่อนวัยเกษียณ
#HaveaBooktifulDay #Nanmeebooks #นานมีบุ๊คส์ #AlljitMiniReview
ทำไมคนเราชอบฟังเรื่องผี เพราะ เรื่องผี เรื่องลี้ลับ เรื่องสยองขวัญ เรื่องพวกนี้ถึงดึงดูดและน่าฟังกว่าเรื่องทั่วไปหรือเปล่า ไขข้อสงสัยทำไมเรื่องลี้ลับถึงน่าดึงดูดในทางจิตวิทยาได้ที่บทความนี้ค่ะ
ผี และ สิ่งลี้ลับ
“ผี” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ให้ความหมายว่า สิ่งที่มนุษย์เชื่อว่าเป็นสภาพลึกลับ มองไม่เห็นตัว แต่อาจจะปรากฏเหมือนมีตัวตนได้
มีทั้งดีและร้าย เช่น ผีปู่ย่าตายาย ผีเรือน หรือกระทั่งการใช้เรียกคนที่ตายไปแล้ว
“สิ่งลี้ลับ” คือ สิ่งที่ไม่สามารถพบเห็นได้โดยทั่วไป แต่เมื่อสัมผัสหรือพบเห็นแล้ว อาจทำให้เกิดความสนใจต่อมาได้ และสิ่งลี้ลับที่อยู่ในรูปของพลังงาน
จะเป็นพวกผี วิญญาณ แต่สิ่งลี้ลับที่มีตัวตนก็คือมีร่างกายไว้สิงสถิตย์ เช่น ปีศาจ สัตว์ประหลาด
ทำไมคนเราชอบฟังเรื่องผี
1. ปลดปล่อยอารมณ์
จริง ๆ แล้วภายใต้จิตใจของมนุษย์มีอารมณ์ที่รุนแรงซ่อนอยู่ เวลาที่ได้ฟังหรือ ดูเรื่องน่ากลัวทำให้รู้สึกได้ถูกปลดปล่อยออกมา
การดูหนังผีหรือ ฟังเรื่องเล่าเกี่ยวกับผี เวลาที่มีฉากที่ทำให้เราระทึก หรือรู้สึกกลัว ช่วงเวลานั้นในสมองเกิดฮอร์โมนอะดรีนาลีน หลั่งเพื่อตอบสนองกับสิ่งที่เสมือนอันตรายและเตรียมความพร้อมให้กับร่างกายในการสู้
ทำให้เกิดความรู้สึกคล้ายตื่นตัว และตื่นเต้น เป็นผลมาจากการที่สมองหลั่งฮอร์โมนความสุขชนิดหนึ่งที่เรียกว่าโดพามีน จึงทำให้การฟังเรื่องผีที่น่ากลัว ทำให้ตื่นตัวและมีความสุข
2. กิจกรรมทางร่วมกันทางสังคม
เคยไหมตั้งแต่เด็ก ๆ เวลาจับวงเล่าเรื่องผี และสิ่งเล้นลับ เพื่อนจะมาล้อมเป็นพิเศษ แล้วทุกคนจะเงียบตั้งใจฟัง ซึ่งการที่เป็นแบบนี้มีตั้งแต่สมัยโบราณแล้วนะเราจะเห็นได้จากหนังไทยยุคก่อน ๆ เช่น กระสือ ปอบ
3. ทำไมคนเราชอบฟังเรื่องผี เพื่อตอบสนองความรู้สึก
เพราะเรื่องผีเป็นเรื่องที่ไม่รู้ว่าจริงไม่จริง การฟังเรื่องผีเหมือนเป็นการเติมเต็มความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์
ทำไมคนเราชอบฟังเรื่องผี เพราะทำให้หลับง่ายขึ้น?
คุณเจฟ คาห์น หนึ่งในผู้วิจัยเกี่ยวกับการปรับพฤติกรรมการนอนโดยอาศัยเทคโนโลยีและผู้ร่วมก่อตั้ง RISE Application เพื่อการนอนหลับได้อธิบายความสัมพันธ์
ของการฟังและการนอนหลับว่า การฟัง Podcast ก่อนนอนจะช่วยให้สมองรู้สึกผ่อนคลาย และเหมือนเป็นการสร้างกิจวัตรให้ร่างกายรับรู้ว่าถึงเวลานอนแล้ว
ดร.ลินซีย์ บราวนิง นักจิตวิทยาคลินิกและผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการนอน Navigating Sleeplessness กล่าวว่า การฟัง Podcast จะช่วยเบี่ยงเบนความสนใจเราไปยังเรื่องอื่นนอกเหนือเรื่องที่เรากำลังเครียด
ซึ่งเหตุผลที่เรื่องผีเป็นที่นิยมในการฟังก่อนนอน เพราะการเสพสื่อพวกนี้ สามารถลดระดับคอร์ติซอลหรือฮอร์โมนความเครียดได้
จากงานวิจัย Pandemic practice : Horror fans ในวารสาร Personality and individual differences กล่าวว่า ความกลัวจะกระตุ้นการตอบสนองทางสรีรวิทยา
เช่น หัวใจเต้นแรง เหงื่อออก รูม่านตาขยาย หลังจากนั้นร่างกายจะเข้าสู่โหมดจัดการอารมณ์ลบเพื่อหนีความกลัว และเมื่อเริ่มสงบสติอารมณ์ลง หัวใจจะเต้นช้าลง และหยุดผลิตคอร์ติซอล สมองรู้สึกผ่อนจะคลายในท้ายที่สุด
โรคกลัวผี Phasmophobia
‘โรคกลัวผี’ เป็นอาการกลัวสิ่งเหนือธรรมชาติ สิ่งลี้ลับ จัดอยู่ในกลุ่มโรคอาการกลัว Phobia แต่โรคกลัวผี จะต้องมีอาการต่อเนื่อง อย่างน้อย 6 เดือน
มีความกลัวและวิตกกังวลเกินปกติและควบคุมไม่ได้ พยายามทำทุกทางที่จะหลีกหนีสิ่งนั้น ซึ่งอาการต่าง ๆ เหล่านี้ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น
ไม่กล้าอยู่คนเดียว กลัวความมืดแม้เพียงเล็กน้อย นอนหลับยาก สำหรับโรคกลัวผีนี้ นอกเหนือจากความกลัวจากภาพจำในสมองแล้ว ยังกลัวสิ่งต่าง ๆ รอบตัวและทึกทักว่า เป็นผีอีกด้วย
ซึ่งพวกสื่อหรือภาพยนตร์ แม้กระทั่งความเชื่อที่ส่งต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น เรื่องเล่าต่าง ๆ สภาพแวดล้อมก็มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยจะพบความกลัวผีได้มากในวัยเด็ก
และเริ่มหายกลัวเมื่อโตขึ้น แต่หลายคนก็ยังคงมีอาการนี้ และอาจร้ายแรงขึ้นจนมีอาการหลอน หากกระทบกับชีวิตประจำวันมาก ก็ต้องเข้าพบแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยด่วน
การรักษามี 2 แบบ คือ รักษาทางจิตบำบัดและยา หรือทั้งสองอย่างร่วมกัน การใช้ยาจะเป็นการรักษาชั่วคราว แค่บรรเทาอาการทางกายลง
แต่การเอาชนะความกลัวอาจจำเป็นต้องเข้ารับการบำบัดพฤติกรรมกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เพื่อจัดการกับความกลัวและอาการต่าง ๆ ให้สามารถดำเนินชีวิตได้เป็นปกติ
ประโยชน์ของความกลัว
จากงานวิจัยของนักสรีรวิทยาในลอนดอน พบว่าเมื่อเรารู้สึกกลัวจากการดูหนังสยองขวัญ อัตราการเต้นของชีพจรจะสูงขึ้น ทำให้อะดรีนาลินและเลือดไหลเวียนเร็วขึ้น
ทำให้ไขมันและน้ำตาลถูกดึงมาใช้ในกระบวนการเผาผลาญ จึงช่วยลดน้ำหนักได้ อีกทั้งยังมีนอร์อิพิเนฟริน ถูกปล่อยออกมาพร้อมกัน ซึ่งเป็นสารที่ช่วยให้เราตื่นตัวเต็มที่ มีสมาธิเตรียมพร้อมรับมือสิ่งต่าง ๆ
ความกลัวทำให้เซโรโทนินถูกหลั่ง ซึ่งเป็นสารที่ทำให้สมองเกิดการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดีมากขึ้น เช่น เดินกลับบ้านเส้นใหม่ที่ไม่คุ้นเคย
ความกลัวจะทำให้เราระวังตัวมากขึ้น รวมถึงบางที การทำตามสัญชาตญาณจากความกลัว ก็อาจจะช่วยเราให้เลี่ยงเผชิญอันตรายได้เร็วกว่าเดิม
จริง ๆ แล้วความกลัวก็เป็นสัญชาตญาณของเราที่ช่วยปกป้องเราให้มีชีวิตรอดด้วย ถ้าเราไม่กลัวอุบัติเหตุ เราก็คงเดินข้ามถนนโดยไม่แคร์ความปลอดภัยของตัวเอง
ที่มา:
คุยเรื่องผี ๆ แบบจิตวิทยา เรื่องที่ว่าปรากฏการณ์เกี่ยวกับ “ผี”
The Psychology Behind Why We Love (or Hate) Horror
8 เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ อธิบายว่าทำไม “ความกลัว” ส่งผลดีกับเรา
หนังสือเล่มม่วง ปกน่ารัก ๆ อย่าง “เป็นคนธรรมดาแต่ว่าซึมเศร้าเล็กน้อย” วันนี้เลยอยากมาเล่าสู่กันฟัง
“เป็นคนธรรมดาแต่ว่าซึมเศร้าเล็กน้อย” เป็นหนังสือที่ถ่ายทอดชีวิตของคุณอีซูย็อน
นักดนตรีชาวเกาหลีในรูปแบบของไดอารี่ประจำวัน วางจำหน่ายที่ไทยครั้งแรกช่วงปีพ.ศ. 2564 โดยสำนักพิมพ์ Bloom
คำนำของเล่มจั่วหัวได้น่าสนใจมาก โดยบอกว่า “เรารับรู้” ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากมาย แต่บางครั้งกลับยังไม่ “เข้าใจ” ผู้ป่วยซึมเศร้าเท่าที่ควร
จริงที่ว่าหลายคนมีความรู้มากมายเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า และอาจเป็นอาการป่วยทางจิตเวชที่ถูกพูดถึงบ่อยที่สุดด้วยซ้ำ
แต่ถึงอย่างนั้น เราหลายคนก็อาจยังไม่ได้ “เข้าใจ” ความรู้สึกนึกคิดของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสักเท่าไหร่
หนังสือเล่มนี้พาเราไปถึงตรงนั้นได้ มันคือการชวนเราไปลองใช้ชีวิต ลองเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าคนหนึ่ง
พาเราไป “เข้าใจ” ความเจ็บปวด ความทรมานและความตะเกียกตะกายอย่างยากลำบากเพื่อที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป ไม่ใช่ในระยะยาว แต่เป็นการอยู่ต่อไป…แบบวัน ต่อ วัน
ถึงหนังสือเล่มนี้จะถูกเขียนออกมาในรูปแบบของไดอารี่แต่คุณอีซูย็อนก็เล่าชีวิตของตัวเองออกมาได้อย่างน่าติดตาม มีปริศนา มีการคลายปม
และแทบจะให้ความรู้สึกเหมือนอ่านวรรณกรรมดี ๆ สักเล่มหนึ่งเลยด้วยซ้ำ
นอกจากประสบการณ์การอ่านที่ดีแล้ว หนังสือยังหยิบยกหลายประเด็นที่น่าสนใจและชวนให้ได้คิดตามอีกมากมาย ไม่ใช่แค่ในเรื่องของโรคซึมเศร้าเพียงอย่างเดียว
“การจากไปของเพื่อนสามีทำให้เราได้รู้ว่าความตายเป็นแค่คำพูดหนึ่งคำ ข้อความเพียงหนึ่งข้อความ
โทรศัพท์เพียงหนึ่งสายที่เปลี่ยนวันซึ่งเคยคิดว่าเป็นวันธรรมดาให้กลายเป็นวันที่ผิดเพี้ยนไป…”
ไดอารี่วันจันทร์ที่ 14 เดือนสิงหาคม (หน้า 24-26) เป็นอีกบทที่ชอบ ในบทนี้คุณอีซูย็อนเขียนถึงความตายและมุมมองของความตายต่อความสัมพันธ์
เรื่องเริ่มที่ข่าวเพื่อนสามีของเธอที่เสียชีวิต และจบลงที่บทสนทนาระหว่างเธอกับจิตแพทย์ของเธอ
เหมือนเธอจะมองว่าความตายคือสิ่งสามัญ ธรรมดาและเรียบง่ายไม่ต่างจากตอนที่เราเกิดมา มันอาจเจ็บปวดสักชั่วครู่สำหรับคนที่อยู่ต่อ แต่มันก็จะหายไป
“เมื่อเด็กสักคนเกิดมา ทุกคนล้วนยอมรับได้ว่าชีวิตย่อมเปลี่ยนแปลงไป
แต่เมื่อใครสักคนตายจากไป ทุกคนกลับพยายามใช้ชีวิตให้ ‘เหมือนปกติ’ ”
กับความสุขก็เหมือนกัน สำหรับเธอ ดูเหมือนความสุขเป็นสิ่งที่ เข้าใจได้ แต่ รู้สึกไม่ได้
“แต่ถึงเข้าใจก็ใช่ว่าจะรู้สึก หมายถึง ความสุขแบบที่ผุดขึ้นในใจ”
ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าก็คงจะประสบกับเหตุการณ์คล้าย ๆ กัน เข้าใจว่าชีวิตมีความสุขกระจัดกระจายอยู่ในนั้น
แต่ด้วยเพราะตัวโรคและสารเคมีในสมองจึงรู้สึกถึงมันไม่ได้ คงเป็นอะไรที่น่าปวดใจไม่น้อย
กับเรื่องความสัมพันธ์ก็เหมือนว่าคุณอีซูย็อนจะมีมุมมองของการ เว้นระยะห่าง ระหว่างตัวเองกับคนรอบตัวอยู่พอสมควร
เพราะตัวเธอมองว่าการเว้นระยะห่างจะทำให้ เมื่อเธอจากไป ความเจ็บปวดของคนรอบตัวจะได้ไม่หนักจนเกินไป
“แต่ฉันชอบนั่งห่างจากคุณหมอหนึ่งเมตรแบบนี้
เพราะมันเป็นระยะห่างที่ช่วยปกป้องความรู้สึกของทั้งสองฝ่ายไงคะ”
กลายเป็นว่านอกจากจะทรมานจากโรคซึมเศร้า สิ่งที่ผู้ป่วยคนหนึ่งนึกถึง กลับเป็นความเจ็บปวดของคนรอบตัวก่อนความรู้สึกของตัวเอง
เป็นอีกหนึ่งบทที่ลึกซึ้ง เล่าได้อย่างน่าสนใจและรู้สึกปวดใจไปด้วยนิด ๆ ระหว่างที่อ่าน
“เป็นคนธรรมดาแต่ว่าซึมเศร้าเล็กน้อย” เป็นหนังสืออีกหนึ่งเล่มที่อยากแนะนำหากคุณอยากเข้าใจโลกซึมเศร้า
และมุมมองอื่น ๆ ของชีวิต อาจจะหม่นหมองนิดหน่อยระหว่างที่อ่าน แต่เราเชื่อว่าคุณจะได้อะไรกลับไปแน่นอน
#เป็นคนธรรมดาแต่ว่าซึมเศร้าเล็กน้อย
#HaveaBooktifulDay #Nanmeebooks #นานมีบุ๊คส์ #AlljitMiniReview
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับนักจิตวิทยา หลายคนเชื่อว่าพวกเขาสามารถดูดวงหรืออ่านใจคนได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องเข้าใจผิด
มาร่วมพูดคุย แลกเปลี่ยนมุมมองกับนักจิตวิทยาการปรึกษาในหัวข้อที่น่าสนใจนี้ ใน Alljit x คุณวันเฉลิม คงคาหลวง นักจิตวิทยาการปรึกษา
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับนักจิตวิทยา : นักจิตวิทยาอ่านใจคนได้
เมื่อเราเห็นนักจิตวิทยา สามารถสะท้อนความรู้สึกหรือพฤติกรรมของบุคคลได้อย่างแม่นยำ สิ่งนี้อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า พวกเขามีพลังพิเศษในการเข้าใจจิตใจผู้อื่น
แม้ว่าการสะกดจิตเป็นหนึ่งในเทคนิคที่นักจิตวิทยาใช้ในช่วงยุคหนึ่งในอดีต แต่การใช้วิธีนี้ไม่ได้หมายความว่านักจิตวิทยาสามารถ “อ่านใจ” ผู้อื่นได้อย่างที่หลายคนเชื่อ
เมื่อมีคนบอกว่านักจิตวิทยาอ่านใจได้จริง ๆ นั่นอาจเป็นการคาดเดาจากประสบการณ์มากมายที่นักจิตวิทยาสั่งสมมา ไม่ได้เกิดจากความสามารถวิเศษแต่อย่างใด
ยกตัวอย่างจากอาจารย์ท่านหนึ่ง ท่านสามารถบอกได้ว่าบุคคลนั้นเติบโตมาอย่างไรเพียงแค่ฟังเพียงประโยคสองประโยคแรกที่พูด ซึ่งสร้างความประหลาดใจมาก
แต่เมื่อถามท่านเพิ่มเติม ท่านบอกว่า นี่เป็นผลจากการทำงานมาหลายสิบปี ทำให้สามารถมองเห็นพฤติกรรมและเชื่อมโยงเข้ากับทฤษฎีทางจิตวิทยาได้
นักจิตวิทยาเป็นมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่ง
แม้ว่าจะมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับนักจิตวิทยาอยู่ แต่จริง ๆ แล้ว นักจิตวิทยาก็เป็นคนธรรมดา บางคนยังคงเชื่อในศาสนาหรือ มีความเชื่อในเรื่องที่ไม่สามารถอธิบายได้ทางวิทยาศาสตร์ หรือ ดูดวง
และอาจมีบางสถานการณ์ที่นักจิตวิทยาอาจไม่สามารถจัดการกับอารมณ์ของตัวเองได้อย่างสมบูรณ์แบบที่เราคิดกันเอง
การเป็นนักจิตวิทยาไม่ได้ทำให้บุคคลนั้น “เหนือ” กว่าผู้อื่น สิ่งที่นักจิตวิทยามีคือ ความรู้และ ประสบการณ์ที่ทำให้พวกเขาเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์ได้มากขึ้น
ในที่สุดแล้ว นักจิตวิทยาไม่ใช่ผู้วิเศษ พวกเขายังคงเป็นมนุษย์ธรรมดา เพียงแต่ว่ามีทักษะที่สามารถช่วยให้ผู้อื่นเข้าใจและจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้ดียิ่งขึ้น
ติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่นี่
จิตแพทย์ VS นักจิตวิทยา เป็นวิชาชีพที่ดูแลเรื่องจิตใจ แต่แตกต่างกันอย่างไร มีปัญหาหัวใจจะเลือกใครดี ร่วมพูดคุยหาคำตอบกับ Alljit x คุณวันเฉลิม คงคาหลวง นักจิตวิทยาการปรึกษา
นักจิตวิทยา VS จิตแพทย์ แตกต่างกันอย่างไร
ระบบการทำงานในแต่ละสถานบริการมีรายละเอียดเฉพาะที่แตกต่างกัน ส่วนภาคของการปฎิบัติงานมีความแต่กต่างกันค่อนข้างมาก
จิตแพทย์ เน้นในการวนิจฉัย จ่ายยา และรักษาความผิดปกติ ร่วมถึงวางแผนการรักษา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโครงสร้างของโรงพยาบาล
นักจิตวิทยา ในโครงสร้างของบางโรงพยาบาล นักจิตวิทยาจะทำหน้าที่รับคำสั่งงานต่อจากจิตแพทย์ เพื่อมาทำงานต่าง ๆ ตามสายงานของตัวเอง
เช่น Psychological Test หรือแบบทดสอบทางจิตวิทยา หรือ Psychotherapy พูดคุยทำจิตบำบัด
จุดแตกต่างที่สำคัญมากในนักจิตวิทยา คือ ไม่สามารถจ่ายยา หรือปรับยาให้ผู้เข้ารับบริการได้เหมือนจิตแพทย์
แต่จุดประสงค์สำคัญร่วมกันของทั้งสองวิชาชีพคือ การดูแลรักษาปัญหาสุขภาพจิตในทุกมิติ
วิธีการสำรวจตัวเองเพื่อตัดสินใจเลือกพบผู้เชี่ยวชาญ
จุดเริ่มต้นคือ สำราวจความต้องการ จากการศึกษาเกี่ยวกับวิธีการทำงานของผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาทางเลือกที่เหมาะสม โดยการมองหลักการทำงานของแต่ละวิชาชีพ
โดยเริ่มทำความเข้าใจ จิตแพทย์ และนักจิตวิทยา ว่าแต่ละสาขาทำงานอย่างไร แบบใดในเบื้องต้น เพราะหนึ่งปัญหาสามารถตีความออกมาได้หลากหลายรูปแบบ
ขึ้นอยู่กับมุมมองที่เฉพาะเจาะจงของนักวิชาชีพแต่ละสาขา เมื่อตั้งหลักที่การรับรู้ความต้องการของตัวเองความ ซับซ้อนของทางเลือกจะลดลงจะลดลง
แต่ในยุคสมัยนี้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้เราเข้าถึงตัวเลือกในการเข้ารับบริการ ของแต่ละสถานบริการได้ง่ายขึ้น
แต่ละสถานที่ก็จะให้ข้อมูลความถนัดในการให้คำปรึกษาของผู้เชี่ยวชาญ เราสารถหาข้อมูลกับผู้ให้บริการที่เราถูกตาต้องใจได้ มากกว่านั้นคือสามารถรับเข้ารับการปรึกษาเบื้องต้นผ่านออนไลน์ได้
ติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่นี่
ทำไมต้องปรึกษานักจิตวิทยา ในวันที่มีปัญหารุมเร้า ? จุดเด่นของนักจิตวิทยาคืออะไร ? แตกต่างจากการพูดคุยกับคนใกล้ตัว ครอบครัว เพื่อน แฟน อย่างไร ? กับ Alljit x คุณวันเฉลิม คงคาหลวง นักจิตวิทยา
การเลือกปรึกษาใครซักคน เราสามารถเลือกได้ตามความต้องการของตัวเอง ที่เราสบายใจ บางเรื่องนักจิตวิทยาก็อาจจะไม่ได้ตอบโจทย์ปัญหาภายในใจ
“การเลือกปรึกษานั้นขึ้นอยู่กับว่า อยากคุยเรื่องอะไร อยากได้รับอะไร จากกการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นนั้น”
ทำไมต้องปรึกษานักจิตวิทยา? เรื่องบางเรื่องต้องเป็นนักจิตวิทยาเท่านั้น
จุดเด่นสำคัญอย่างหนึ่งของการปรึกษานักจิตวิทยาคือ การทำให้ผู้รับบริการเห็นมิติของปัญหาในมุมกว้าง รวมถึงความลึกซึ้ง และข้อมูลรายละเอียดของ ปัญหา ความรู้สึกที่มากขึ้น
โดยการเริ่มจากให้ผู้รับบริการ รีวิวรายละเอียดของเหตุการณ์ที่ตัวเองพบเจออยู๋ เช่น ตอนนี้คุณรู้สึกอย่างไร และตั้งคำถามต่อว่า
ทำไมถึงเป็นแบบนั้น เพื่อให้มองเห็นห้วงอารมณ์ รวมถึงทำความเข้าใจถึงสาเหตุต่าง ๆ ได้ลึกลงไป
แต่การให้บริการ การตีความในแต่ละละเหตุการณ์ แตกต่างกันออกไปตามวิธีการของนักจิตวิทยาแต่ละท่าน ด้วยเทคนิค และประสบการณ์
สิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน คือ นักจิตวิทยาพร้อมที่จะอยู่เคียงข้างเพื่อช่วยเหลือให้ผู้คนได้เข้าใจตัวเอง
นอกเหนือจากการเจาะลึกปัญหา สิ่งที่่สำคัญคือ การจัดการความรู้สึก รวมถึงหาวิธีการทำให้ผู้รับิการเห็นรภาพรวม โดยอาศัยบรรยากาศ สถานการณ์ เวลาที่เหมาะสม
เนื่องด้วย การจำกัดเวลาในการเข้ารับบริการ ส่วนหนึ่ง คือ เพื่อให้ผู้รับบริการจดจ่อ ไม่ออกนอกประเด็น ไม่จมกับความรู้สึกจนเกินไป
ติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่นี่
Self-Portrait การวาดภาพตัวเอง ทำให้รู้จักตัวเองได้มากขึ้นอย่างไร ?
คำนิยาม Self-Portrait
Avant Arte ‘การอธิบายตัวตนของบุคคล ๆ หนึ่งซึ่งสร้างขึ้นโดยตัวเขาเอง เป็นศิลปะประเภทหนึ่งที่ถ่ายทอดภาพของตัวเองออกมา โดยส่วนใหญ่ผ่านการวาด การถ่ายภาพ หรือเทคนิคอื่นๆ ผสม เพื่อถ่ายทอดการรับรู้ของตัวเขาเองผ่านศิลปะที่บุคคลสร้าง’
ประวัติศาสตร์ของ Self-Portrait
- ในยุคอียิป Self-Portrait ถือเป็นอภิสิทธิ์ของชนชั้นสูง มีแค่ฟาร์โรเท่านั้นที่จะมีภาพเหมือนของตนเองได้
- เพลโต นักปราชญ์ในยุคกรีกเองมองว่า ร่างกายคือกรงขังของวิญญาณ = ไม่ได้ให้ความสำคัญในการเก็บภาพเรือนร่างของตัวเองซักเท่าไหร่ Self-Portrait ในยุคนั้นจึงไม่ค่อยมี
- ช่วงศตวรรษที่ 15 สังคมเริ่มมีอิสระและมีความเป็นปัจเจคบุคคลมากขึ้น เลยเกิดการวาดภาพตัวเองมากขึ้น ใช้การวาด เพราะยังไม่มีกล้อง
- ช่วงศตวรรษที่ 20 Self-Portrait ก็ถูกสร้างเรื่อยมา เน้นเรื่องความงามและเรือนร่าง เป็นช่วงที่ Beauty Standart ในสังคมกำลังเข้มข้นทั้งในวงการนางแบบ เครื่องสำอางและวงการอาหาร
หลักจิตวิทยาเบื่องหลัง Self-Portrait
Self-Image เป็นตัวแทนการรับรู้ตัวตนของเราในหัวเรา พูดง่าย ๆ คือ เรามีภาพอยู่ในหัวว่าเรามีรูปร่างหน้าตาแบบไหน
มาจากประสบการณ์ของเรา สังคมและวัฒนธรรมที่เราอยู่ เงาสะท้อนในกระจก ของเล่น ไปจนถึงสื่อที่เราดู และปฎิสัมพันธ์ต่อคนรอบตัวเรา
Self image เป็นส่วนหนึ่งของ Self-Concept
Self-Concept คือ ชุดข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวกับตัวเราในความเข้าใจของเรา ทั้งมุมมอง ไอเดีย ความคิดเห็นที่ตัวบุคคลมีต่อตัวเอง ลักณะนิสัย ข้อดีข้อด้อยของตัวเอง
ไม่จำเป็นว่าจะต้องถูกหรือตรงกับความเป็นจริง แต่เป็นข้อมูลในหัวเราทำให้เราสามารถอธิบายออกมาได้ว่า เราเป็นใคร
งานวิจัยพบว่า Self-portraits สัมพันธ์กับ ความเชื่อเกี่ยวกับตัวเอง (Self-beliefs)
เช่น คนที่มีมุมมองเชิงลบต่อรูปร่างของตัวเองจะเลือกภาพที่เป็นตัวแทนของตัวเองใหญ่เกินกว่าความเป็นจริง เมื่อเทียบกับกลุ่มที่มีมุมมองเชิงบวกต่อร่างกายของตัวเอง
เป็นหนึ่งในเครื่องมือทางจิตวิทยา ความรู้ทางจิตวิทยาโดยส่วนใหญ่เป็นทฤษฎีและเป็นภาวะสันนิษฐาน
หมายความว่ามันเป็นสิ่งที่วัดไม่ได้ตรงๆ ต้องวัดผ่านเครื่องมืออื่นๆ หรือพฤติกรรมภายนอกเพื่อใช้ทำความเข้าใจสิ่ง ๆ นึง
Self-Esteem ก็ไม่สามารถวัดได้ตรง ๆ เหมือนการวัดอุณหภูมิร่างกาย หรือวัดความดัน แต่ก็จะวัดผ่านการใช้เครื่องมือ
เครื่องมือทางจิตวิทยาที่สร้างมาจากการศึกษาและทดลองมาแล้วว่า ข้อคำถามหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบ สามารถวัดตัวแปรๆ นั้นๆ ได้จริงๆ
ที่มา :
What is a Self-Portrait? | A guide to art terminology.
This Is How We See Our Face and Body in Our Mind
About the psychological interpretation of drawing
A Powerful Way to Increase Self-Control.
เสพข่าวร้าย ข่าวร้ายฟรี ข่าวดีเสียเงิน… ในยุคที่ข่าวสารทุกอย่างเข้าถึงง่ายและรวดเร็ว บ่อยครั้ง เรามักจะอินไปกับข่าว เราจะจัดการตัวเองได้อย่างไรบ้าง ? กับคุณรัชดาภรณ์ ศรีวิลัย นักจิตวิทยาคลินิก 🙂
เสพข่าวร้าย ส่งผลต่อสุขภาพจิตจริงไหม
ถึงแม้จะไม่มีงานวิจัยรองรับอย่างเป็นทางการว่าข่าวร้ายส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง แต่แน่นอนว่าส่งผลต่อความรู้สึกของเราได้แน่นอน
อาทิเช่น ภาวะเครียด รู้สึกสงสารผู้ถูกกระทำในข่าว รู้สึกหดหู่ และส่งผลกระทบถึงภายในจิตใจของเราได้ ยิ่งในยุคที่ข่าวสารเข้ามาหาเราได้ง่ายและไวมากยิ่งขึ้น
ข่าวร้าย ส่งผลให้มีภาวะทางจิตได้ไหม
เมื่อข่าวร้ายเข้าไปสั่งคลอนอารมณ์ภายในของเรา อาจส่งผลถึงสารสื่อประสาทของเราได้ ยกตัวอย่างในช่วงการระบาดของ Covid-19 ที่ผ่านมา
หลาย ๆ คนเกิดภาวะตื่นตระหนก หรือ Panic เด่นชัดขึ้นในบางบุคคล เพียงเพราะเราเสพข่าว Covid ที่ค่อนข้างน่ากลัว รุนแรง เราไม่สามารถควบคุมโรคได้
เราก็เริ่มกลัวการออกจากบ้าน เริ่มล้างมือบ่อย ๆ ต้องกินของร้อนเท่านั้น ต้องอุ่นอาหารทุกครั้ง ทำทุกอย่างเป็น Pattern เป็นพฤติกรรมซ้ำ ๆ
เพื่อให้ตัวเองติดอยู่กับความรู้สึกไม่แน่ไม่นอนในใจของตัวเอง จากการเสพข่าว
อินข่าวจนกระทบความสัมพันธ์ ทำอย่างไร
1. เคร่งครัดและจำกัดเวลาในการเข้าชมข่าวต่าง ๆ
2. เมื่อใดที่เริ่มมีอารมณ์ มีความรู้สึกร่วม ก็ควรรู้ตัวเอง และหยุดพฤติกรรมเสพสื่อก่อน
3. รับฟังข่าวสารจากสื่อที่เชื่อถือได้ เพราะเราจะได้ข้อเท็จจริงว่าเกิดอะไรขึ้น โดยทั่วไปคนเราเมื่อฟังสิ่งที่ไม่แน่นอน ความแตกต่างของข้อมูลกจะทำให้
4. ในบางข่าวอาจจะมีแง่มุมที่ดีบางแง่มุมเกิดขึ้นในข่าวได้
ดาวน์ โกรธ จากการเสพข่าว จัดการอย่างไร
ปิด หยุดเสพข่าว และออกมาใช้ชีวิตจริง ๆ ของตัวเอง อย่าลืมว่าเเรา และคนในข่าวคือคนละคนกัน และตัวเราเองก็ไม่ได้รับรู้ถึงข้อมูลทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับเขา
จริง ๆ เราอาจจะช่วยเขาได้แค่เพียงเล็กน้อย หรือช่วยไม่ได้เลยด้วยซ้ำ
อยากวิจารณ์ หยุดตัวเองอย่างไร
ตั้งคำถามว่าเราที่เราพิมพ์วิจารณ์ เราทำเพื่อตอบสนองความรู้สึกอะไรของตัวเอง ถ้าเรารู้สาเหตุว่าไปเพื่ออะไร ก็จะช่วยทำให้เรายับยั้งช่างใจตัวเองได้ง่ายขึ้น
เพราะหลาย ๆ ครั้งการที่เราพิมพ์ในโลกโซเชียล มันมาจากความต้องการลึก ๆ ของตัวเอง เกิดจากการเชื่อมโยงชีวติตัวเองที่เราไม่สามารถทำอะไรได้
เสพข่าวร้าย แล้วอยากทำตาม ทำอย่างไร
หากเราเริ่มมีคำถามกำตัวเองว่าจะทำพฤติกรรมนี้ หรือเริ่มวางแผน การเข้าพบผู้เชี่ยวชาญเป็นทางออกที่ดีที่สุด เพราะภายในจิตใจอาจมีแรงขับเคล่อนบางอย่างที่ไปกระตุ้นทำให้เราอยากทำตาม
ทั้ง ๆ ที่ในใจรู้อยู่แล้วว่าเป็นเรื่องราวที่ไม่สมควรกระทำ
ความไวของโลก และเทคโนโลยี เป็นไปตามยุคสมัย แต่เราไม่จำเป็นต้องวิ่งตาม อยากให้ลองประเมินว่าเสพข่าวได้แค่ไหน แต่อย่าลืมว่า เรายังคนต้องใช้ชีวิตจริงของตัวเอง
ติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่นี่
ฝันกลางวันทั่วไปคือการ มโน การมีความหวัง การมีความฝัน การมีจินตนาการถึงภาพชีวิตที่สวยงาม
หรือการมีชีวิตตามต้องการสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ แต่ถ้าแบบไม่ปกติ คืออะไร?
โรคฝันกลางวัน
ภาวะหนึ่งในช่วงกลางวันที่ทำให้เราจินตนาการและเห็นภาพความคิดชัดเจนเป็นประจำ ชัดถึงขนาดที่เราจะรู้สึกว่าเหตุการณ์นั้นเหมือนเกิดขึ้นจริง
อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะพอเกิดอาการนี้ เราจะหยุดทำกิจกรรมที่เราทำอยู่ทันที
เช่น เรียน ๆอยู่แล้วเกิดภาวะนี้ขึ้นมา เราก็จะหลุดโฟกัสไปอยู่ในจินตนาการของตัวเอง ก็จะเหม่อไปเลย และอาจจะเคลื่อนไหวร่างกายตามจินตนาการนั้นด้วย
อาการของ โรคฝันกลางวัน
- เห็นภาพอย่างชัดเจน เป็นฉาก ๆ คล้ายกับการดูภาพยนตร์
- ฝันกลางวันบางครั้งอาจยาวนานหลายชั่วโมง เกิดบ่อย รุนแรง และนาน
- หลงใหลการฝันกลางวัน และอยากให้ความฝันเกิดขึ้นต่อ แม้จะมีสิ่งที่รบกวนหรือดึงตัวเองออกจากการฝันกลางวัน
- มีการเคลื่อนไหวของร่างกายขณะจินตนาการอยู่ แสดงสีหน้า พูดคนเดียว และมีพฤติกรรมซ้ำ ๆ โดยไม่รู้ตัว เช่น เดินวนไปมา โยนของ หรือหมุนสิ่งที่อยู่ใกล้มือ
- ไม่สามารถจดจ่อกับการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้
- มีปัญหาด้านการนอนหลับ
- มีความยากลำบากในการควบคุม
มีความคล้ายกับโรคจิตเภท แต่ต่างกันที่ คนที่มีอาการฝันกลางวันมักรู้ตัวตลอดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในหัวเป็นเพียงความฝัน
แต่ไม่สามารถควบคุมอาการได้ ส่วนผู้ป่วยโรคจิตเภทจะ ไม่สามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องจริงหรือแค่จินตนาการ
โรคฝันกลางวัน เกิดจากอะไร
โรคฝันกลางวันไม่ได้จัดเป็นโรคทางจิตเวช แต่สันนิษฐานว่าโรคทางจิตอื่นที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ เช่น โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคสมาธิสั้น
หรือ โรคย้ำคิดย้ำทำ มีส่วนทำให้เกิดอาการหรือเป็นสัญญาณของโรคฝันกลางวันได้
สาเหตุก็อาจเกิดจากเหตุการณ์ในวัยเด็ก เช่น ถูกทำร้าย ถูกทอดทิ้ง ความโดดเดี่ยวจากการไม่มีเพื่อน
การฝันกลางวันจึงเป็นวิธีหลีกหนีจากโลกแห่งความจริง เข้าไปอยู่ในโลกแห่งความฝันที่มีความสุขและปลอดภัยกว่า
หนีจากความกลัวการเข้าสังคม และทำให้ความต้องการที่ไม่สามารถทำได้ในชีวิตจริงสำเร็จ
เช่น หนังเรื่อง The Secret Life Of Walter Mitty ที่ตัวเอกมักจะหลุดเข้าไปในโลกจินตนาการบ่อย ๆ
ตลอดจนอาจเกิดจากเพราะชีวิตประจำวันมันน่าเบื่อหรือมีความเครียดหนัก เลยอยากจินตนาการถึงเรื่องที่น่าตื่นเต้นในหัวแทนก็ได้
อีกตัวอย่างจาก กรมสุขภาพจิต เจย์น บีเกลเซน นักวิจัยสาวชาวอเมริกัน เคยประสบกับโรคนี้มาด้วยตัวเอง
โดยตั้งแต่ 8 ขวบ ทุกครั้งเวลาว่าง เธอจะเริ่มจินตนาการถึงซีรีส์ที่เธอชอบ แต่แทนที่เธอจะรอดูตอนต่อไป เธอกลับสร้างตอนใหม่ขึ้นมาในหัว
ภาพในหัวเธอนั้นมันชัดเจนมากแถมยังสนุกกว่าเรื่องต้นฉบับอีกด้วย ทุกครั้งที่เธอมีอาการฝันกลางวันนี้ เธอจะเดินวนไปวนมา หรือกำบางอย่างไว้ในมือ
เพราะทำให้มีสมาธิและภาพชัดขึ้น รู้ตัว ตลอดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในหัวเธอนั้นมันคือความฝันที่ไม่ได้เป็นจริง แต่เธอก็ยังคงหลงใหลที่จะฝันกลางวันแบบนี้ต่อไป
จนขึ้น high school เธอเริ่มรู้สึกว่าโลกความจริงและโลกจินตนาการมักจะเชื่อมโยงกันโดยที่เธอควบคุมไม่ได้
แต่ในทางการแพทย์ยังไม่มีการวิจัยไว้อย่างชัดเจนด้วยความที่เป็นโรคที่ค่อนข้างใหม่
เธอเข้ารับการบำบัดอยู่นานจนเธอพบว่า การแชร์ประสบการณ์กันระหว่างผู้ที่เป็นโรคฝันกลางวัน เป็นเหมือน “ยาที่ดีที่สุด”
วิธีรักษา
- สังเกตตัวเองและหลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการ
- อยู่กับตัวเองในปัจจุบัน
- พยายามทำตัวให้ไม่ว่าง ลองหาเป้าหมายหรือสิ่งที่อยากทำอยู่ตลอด เช่น ออกไปรับแสงแดดอ่อน ๆ ในช่วงกลางวันแทนการอยู่แต่ในห้อง ออกกำลังกาย (สมาธิ สติ)
- หรือใช้ประโยชน์จากจินตนาการ นำไปเขียนนิยาย เป็นผลงานของตัวเองแทนก็ได้
- ตั้งเวลาฝันกลางวัน ค่อย ๆ ลดจำนวนเวลาลงจาก 45 นาที-30 นาที-15 นาที
ถ้าควบคุมอาการได้ดีขึ้น ก็อย่าลืมที่จะชื่นชมและให้กำลังใจตัวเองด้วย แต่ถ้าอาการเกินควบคุม แนะนำให้เข้าพบจิตแพทย์ เพื่อหาทางออกและแนวทางการรักษาตามอาการ
ที่มา :
โรคฝันกลางวัน ภาวะของการหลุดเข้าสู่โลกแห่งจินตนาการ
เพื่อนหาว เราหาวตาม เพื่อนขำ เราขำด้วย ทำไมเราถึงทำแบบคนอื่นโดยไม่รู้ตัว
ชวนทำความรู้จักและเข้าใจกับ Mirror Neurons ทฤษฎีกระจกเงา
Mirror Neurons คืออะไร
เซลส์สมองส่วนหนึ่งของมนุษย์ ที่ทำหน้าที่รับรู้ความรู้สึก ของมนุษย์ต่อสิ่งมีชีวิต รอบ ๆ ตัวเรา เช่น คำที่บอกว่า คนรอบตัวเราเป็นแบบไหน เราก็เป็นแบบนั้น
แต่ก็อาจจะไม่ได้หมายถึงว่าเราจะเป็นแบบเขาทั้งหมด เราอาจได้พฤติกรรม นิสัยบางอย่างมา ไม่ใช่แค่พฤติกรรมอย่างเดียว
แต่หมายถึง การเห็นใจเห็นใจ การรับรู้ความรู้สึก คนข้าง ๆ เศร้าเราก็เศร้า หรือมีความสุขก็ได้รับมวลความสุขไปด้วย
ซึ่งทฤษฎี Mirror Neurons มาจากนักวิจัยชาวอิตาเลียน ตอนแรกถูกทดลองในลิงก่อนโดยลิงจะถูกติดเครื่องมือวัดคลื่นสมอง
แล้วให้นั่งดูคนกินไอติม สรุปคือ คลื่นสมองของลิงกระตุกเป็นตามจังหวะการเลียไอติมของคน
นักวิจัยเลยทดลองต่อจนพบว่ามันมีเซลล์สมองกลุ่มนึงถูกกระตุ้นเมื่อลิงเห็นภาพและสะท้อนภาพนั้นไปยังสมองส่วนอื่นเหมือนกับกระจกสะท้อน
ทำให้ตอบคำถามได้ว่าที่เรามีความเห็นอกเห็นใจกัน มันไม่ใช่แค่เรื่องของนามธรรมแบบจับต้องไม่ได้
แต่มีความรูปธรรมถึงในระดับเซลล์ที่ทุกคนมีอยู่ในสมองตั้งแต่เกิด ก็คือ เราสามารถรับรู้อารมณ์ ความรู้สึกของคนอื่นได้โดยยังไม่ต้องถามไถ่นั่นเอง
Mirror Neuron กับ Copycat
‘เข้าเมืองตาลิ่วต้องลิ่วตาตาม’ ก็คือการที่เราทำอะไรให้เหมือนกันคนส่วนใหญ่ที่สังคมเราทำ จะได้ไม่ดูแปลกแยกในสังคม
ซึ่งการที่เราจะทำอะไรให้เหมือนกับคนส่วนใหญ่ก็เกิดจากการที่เราเรียนรู้ หรือเลียนแบบเพื่อให้ตัวเราได้กลมกลืนกับสังคม
ลองคิดดูว่าถ้าเราเป็นคนพูดเสียงดังมาก แต่ในสังคมมีแต่คนพูดเสียงเบาๆ หรือไม่ดังเท่า การที่จะพูดเสียงดังต่อไปในสังคมก็จะดูแปลก
Mirror Neurons เป็นส่วนนึงของ Copycat เพราะการเลียนแบบพฤติกรรมเกิดจากเซลล์ในสมองจำและทำตามเพื่อการอยู่รอดในสังคม
Mirror Neuron คือดาบสองคม ควรใช้ยังไง
ด้วยความที่เราสามารถเลียนแบบพฤติกรรมคนรอบข้างรวมถึงสภาพแวดล้อมก็มีทั้งแง่ดีและไม่ดีเหมือนกัน ดังนั้น อยากเป็นคนแบบไหนก็เลือกไปอยู่ในสังคมแบบนั้น
ถึงแม้ว่าพ่อแม่จะดูแลเราเหมือนไข่ในหินขนาดไหนก็ตาม เราก็ต้องเติบโตไปเจอผู้คนมากมายร้อยพ่อพันแม่ มีอะไรให้เราได้เลียนแบบพฤติกรรมเต็มไปหมด
ซึ่งถ้าหากตัวเราไปเลียนแบบอะไรที่ไม่ดี ซึ่งไม่ดีของแต่ละคนก็ต่างกันไป ก็คงจะไม่ได้ดีกับตัวเราสักเท่าไหร่กว่าจะรู้ตัวก็สายไป
เพราะฉะนั้นทุกอย่างก็ขึ้นอยู่กับตัวเราจริง ๆ การที่เราอยากเป็นคนแบบไหน ให้ตัวเราเป็นคนกำหนด
ปฏิเสธไม่ได้เหมือนกันว่าสภาพแวดล้อมมีผลต่อบุคลิกตัวตนคนหนึ่งคนจริง ๆ ถ้าเราอยากเป็นคนแบบไหน ก็ให้พาตัวเองไปอยู่ในสังคมแบบนั้น
และถ้าปรับตัวแล้วยังรู้สึกว่ามันไม่ใช่ที่ของเรา ก็แค่เดินออกมา เพราะเราไม่สามารถเปลี่ยนใครได้
ที่มา :
ความสัมพันธ์ของคนคิดมากที่ต้องอยู่กับคนไม่คิดอะไรเลย สองความสัมพันธ์ถ้ามาอยู่ด้วยกัน จะอยู่ด้วยกันได้ไหม?
คนคิดมาก
คนคิดมาก มาจากความคิดมากที่เกิดจากความวิตกกังวล ยิ่งคิดยิ่งต้องใช้พลังงานชีวิตมากขึ้นทำให้รู้สึกเหนื่อย นอนไม่หลับ
จนคิดและตัดสินใจผิดพลาด ทำให้ส่งผลกระทบต่อตัวเองและคนรอบข้าง ซึ่งสอดคล้องกับบทความ Alljit
ที่เคยกล่าวถึงไปในหัวข้อ “คิดมาก คิดวนจนนอนไม่หลับ” ที่ว่า
คนที่คิดมาก คือคนที่ยึดติดอยู่กับความผิดพลาด อยู่แต่กับเรื่องนั้นจนกระทบชีวิตปัจจุบัน กับคนที่คิดมากถึงสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น
ไม่คิดอะไรเลย คือ ภาวะสมองโล่ง?
ภาวะที่อยู่ ๆ ก็ลืมว่าจะพูดอะไร จะเดินมาหยิบอะไร อยู่ ๆ สมองโล่งว่างเปล่าเลยเรียกว่า “ปรากฏการณ์ปากประตู” (doorway effect)
การที่สมองเราจะล้างความทรงจำการใช้งานเฉพาะหน้าเพื่อรับข้อมูลใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้น
ต่างกับอาการที่มีช่วงเวลานึงเลยที่คิดอะไรไม่ออกหรืออาการสมองตื๊อ เรียกมันว่า “ภาวะสมองล้า” คือ เราจะไม่มีสมาธิกับอะไรเลยแล้วจะรู้สึกหงุดหงิด อารมณ์บ่จอย เหนื่อยง่าย
แต่ถ้าในมุมของ คนคิดมาก กับ คนไม่คิดอะไรเลยในความสัมพันธ์ ..
คนที่ไม่คิดอะไร เลยอาจเป็นคนที่ปล่อยใจจอย ๆ ในความสัมพันธ์ได้ อาจมีบ้างที่คิดบ้างแต่อาจจะแค่น้อยไปเลยคิดไม่ถึงไม่รอบคอบ
เหมือนคำพูดที่ว่า “โอ๊ย ทำไมแค่นี้ก็คิดไม่ได้/ไม่คิดเลย” คือจริง ๆ อาจจะคิดก่อนทำแล้วแต่อาจจะพลาดเพราะคิดน้อยไปหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ซึ่งตรงข้ามกับ คนคิดมาก ที่บางเรื่องไม่ต้องคิด ก็คิด พอมีอะไรมากระทบก็จะคิดวนไปมาอยู่เรื่อย เพราะฉะนั้นก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องในชีวิต ที่ต้องเรียนรู้การแก้ไข
คนใกล้ตัวเป็นคนไม่คิดอะไรเลย มีวิธีรับมือยังไงเพื่อหาจุดตรงกลางอยู่ร่วมกัน
การเว้นระยะห่าง หรือการมีระยะห่างที่พอดีก็อาจช่วยให้ความสัมพันธ์ดีขึ้นได้
เพราะถ้าเราไม่สบายใจกับการที่อีกคนไม่คิดอะไรเลย มีแต่เราที่คิดมากอยู่ฝ่ายเดียว
ลองเฟดตัวออกมาแปปนึง ทำความเข้าใจตัวเขาตัวเราแล้วอาจจะลองสื่อสารความรู้สึกนั้นออกไป
และอีกวิธี คือการสื่อสารอยากตรงไปตรงมา ที่บอกความรู้สึกความต้องการของทั้งคู่ออกไป
การสื่อสารที่ไม่ทำร้ายจิตใจของอีกฝ่าย ด้วยการบอกอย่างถนอมใจและรักษาความรู้สึก
ที่มา :
คนคิดมาก ข้อมูล โรงพยาบาล มนารมย์
นอกจากเราที่ไปพบเจอคน Toxic แล้วบางครั้งตัวเราเองก็ไป Toxic ใส่คนอื่นเหมือนกัน …
และอีกพฤติกรรมนึงที่อยากนำเสมอคือ Chronic liars เสพติดการโกหก
Chronic liars
Chronic – เสพติด
Liars – โกหก
การโกหก เป็นพฤติกรรมและลักษณะทั่วไปของการเข้าสังคมของมนุษย์ แม้แต่สัตว์บางชนิด เช่น ลิง ก็มีพฤติกรรมแบบนี้ด้วยเช่นกัน
คนโกหก มักจะมีเหตุผลที่ชัดเจนที่พวกเขาพูดโกหก การโกหกอาจเป็นเครื่องมือในการบรรลุเป้าหมายได้บางสิ่ง บางอย่าง
เช่น โกหกแฟนเพื่อที่จะได้ออกไปเที่ยวเล่นกับเพื่อน โกหกว่าไม่มีแฟน จะได้มีแฟนเพิ่ม
โกหกว่าไม่ได้ทำ.. เพราะกลัวความผิด เรียกว่าเป็นพฤติกรรมทั่วไปที่มนุษย์มี
นพ.วรตม์ กล่าวว่า เมื่อวิธีที่ ‘ตรงไปตรงมา’ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ คนเราจึงเลือก ‘การโกหก’ เป็นทางออกแก้ปัญหา
การโกหกถือเป็นรูปแบบหนึ่งในการสื่อสาร แม้รู้ว่าปลายทางความจริงจะถูกเปิดเผย หรือไม่สามารถโกหกต่อไปเรื่อยๆ ได้
หากคนเราสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการ ‘พูดความจริง’ เราก็เลือกที่จะพูดจริงอยู่แล้ว เพราะ การโกหกเป็นเรื่องที่ยากและซับซ้อน
Chronic liars ถ้าในทางการแพทย์ Compulsive Liar หรือ เสพติดการโกหก ก็คือโกหกซ้ำ ๆ จนเป็นนิสัย รู้ว่าโกหกแต่ก็ชินกับการโกหก
การศึกษาในปี 2559 ระบุว่าสมองคุ้นเคยกับความไม่ซื่อสัตย์ นักวิจัยได้ศึกษาสมองของผู้เข้าร่วมเพื่อดูว่าเกิดอะไรขึ้นเมื่อพวกเขาโกหก
และพบว่ายิ่งมีคนโกหกมากเท่าไร พวกเขาก็จะยิ่งโกหกได้ง่ายขึ้นและบ่อยขึ้นเท่านั้น
บางคนโกหกบ่อย รู้สึกตื่นเต้นที่ได้โกหก ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม ก็อาจจะมีโรคเสพติดการโกหก
แต่ว่าไม่ได้เป็นโรคที่พบได้บ่อย แล้วการโกหกเพียงครั้งหรือสองครั้ง จะไม่สามารถใช้สำหรับการวินิจฉัยโรคได้ ต้องใช้การวินิจฉัยของจิตแพทย์อย่างละเอียด
โรคหลอกตัวเอง (Pathological Liar)
ภาวะการโกหกที่ควบคุมไม่ได้ มักกระทำโดยไม่มีเหตุผลและไม่คำนึงถึงผลที่ตามมา
คำโกหกเหล่านี้กว้างขวางและซับซ้อน แยกไม่ได้ว่าเรื่องที่ตัวเองพูดนั้นโกหกอันไหนจริงเท็จ
ถ้าเป็นโรคโกหกตัวเองแล้วเขาจะหลอกแม้แต่ความทรงจำของตัวเอง
คนโกหกที่อยากเลิกโกหกทำ
- รู้เท่าทันทุกคำพูดของตัวเอง โกหกไปเรื่อย อย่าทำลายความน่าเชื่อถือของตนเอง
- สำรวจว่าทำไมเราถึงชอบโกหก เพราะอยากเป็นที่รักของเพื่อน
- พบผู้เชี่ยวชาญ
สิ่งสำคัญคือรู้เท่าทันตัวเอง ว่ากำลังโกหก โกหกเรื่องอะไร ทำไมถึงโกหก ลองค่อย ๆ ทำความเข้าใจกับตัวเองว่าทำไมถึงชอบโกหก
ถ้าเรารู้สาเหตุแล้วเราอาจจะแก้ไขทัน อย่าโกหกแม้กระทั่งโกหกตัวเอง โกหกเพื่อให้ตอนนี้เรารอดจากสถานการณ์นี้ไปวัน ๆ
ยังไงการหาวิธีบอกความจริง สื่อสารให้อีกคนรู้คงจะดีกว่าเขามารับรู้ทีหลังแล้วจะบานปลาย
รับมือกับคนที่ชอบโกหก
- แสดงออกให้เขารู้ ว่าเรารู้โดนโกหก เพราะส่วนมากถ้าเรารู้ว่าเขาโกหก เขาจะไม่ค่อยอยากโกหกเราต่อ
- การที่คน ๆ นั้นต้องโกหกจะสะท้อนถึงตัวเขามากกว่าตัวเรา
- อธิบายว่าคำโกหกของพวกเขาส่งผลต่อเราอย่างไร เช่น “ฉันโกรธและเสียใจเมื่อรู้ว่าคุณโกหกฉัน” “ ถ้าคุณโกหกฉัน มันยากสำหรับฉันที่จะพึ่งพาคุณเพื่อทำสิ่งนี้ให้สำเร็จ” “มันยากสำหรับฉันที่จะเชื่อว่าคุณกำลังบอกความจริงกับฉันตอนนี้”
- หากจับได้ว่าคน ๆ นั้นโกหก พยายามอย่าหงุดหงิด และพยายามดึงความจริงกลับไปกลับมา
- กำหนดขอบเขตกับพวกเขา
ที่มา :
How to Understand and Cope with Compulsive Liars