Posts
Toxic parent มูฟออนชีวิต ถอนพิษพ่อแม่เผด็จการ
หนังสือเล่มนี้เขียนโดย ดร.ซูซาน ฟอร์เวิร์ด และคุณเครก บัก และแปลโดยคุณ เชิญพร คงมา
ดร.ซูซาน ฟอร์เวิร์ด เป็นจิตแพทย์ที่ดูแลเคสของลูกที่ถูกทำร้าย ทั้งร่างกายและจิตใจ สิ่งที่น่าสนใจของหนังสือเล่มนี้จะมัดรวมประเภทพ่อแม่ที่เป็นพิษหลากหลายประเภทต่าง ๆ
ที่เลือกมาใช้ควบคุมลูก เขียนมาเป็นเคสต่าง ๆ ที่คนเขียนเคยเจอ . . . พ่อแม่คือสถาบันแรกที่เราเกิดมาแล้ว
เป็นสถาบันแรกที่หล่อหลอมให้เราเป็นเราในทุกวันนี้มันปฏิเสธไม่ได้เลยว่า บาดแผล ความรู้สึก ความคิดต่าง ๆ ที่บ่มเพราะเราก็มาจากพ่อแม่อาจจะไม่ทั้งหมดในชีวิตแต่ก็เป็นส่วนสำคัญ
ประเภทของ Toxic parent
- พ่อแม่เทวดา พ่อแม่เทวดาในหนังสือเล่มนี้เปรียบเสมือนว่าจะทำตัวเหมือนเทพ ที่มักเชื่อว่าที่ทำอยู่ทำเพื่อประโยชน์ของลูกแต่จริง ๆ แล้วทำเพื่อตัวเอง คอยตั้งกฎเกณฑ์ ไม่ยอมให้ลูกออกไปใช้ชีวิตหรือทำอะไรเพื่อตัวเอง พอลูกทำผิดกลับมาก็ตำหนิแล้วบอกว่าทำไมไม่เชื่อฟัง
- พ่อแม่ผู้บกพร่อง ที่ไม่เลี้ยงดูลูก ไม่ให้ลูกได้ใช้ชีวิตวัยเด็ก วัยรุ่น และวัยโตอย่างเต็มที่
- พ่อแม่จอมบงการ ชอบดุ ชอบข่ม เช่น “ที่ทำทั้งหมดนี้เพื่อลูก” คำที่ยิ่งใหญ่เขาทำทั้งหมดเพื่อเราเราอย่าทำให้เขาผิดหวังนะ ถึงแม้สิ่งที่เราทำจะเป็นสิ่งที่ฝืนใจ สิ่งที่ไม่ใช่ความฝัน แต่ต้องไปสานฝันของพ่อแม่ คำนี้เหมือนคำที่สวยหรูแต่ไม่ได้สวยหรู
- พ่อแม่ที่ติดอบายมุข กินเหล้าจนเกินเหตุทำให้คนรอบข้างได้รับผลกระทบจากอบายมุขเหล่านั้น
- พ่อแม่จอมตำหนิ ถึงลูกจะทำดีแค่ไหนพ่อแม่ก็หาคำพูดที่ทำร้ายจิตใจลูกเสมอ
- พ่อแม่จอมโหดที่ทำร้ายร่างกาย การตบตี หรือแม้กระทั่งการทำร้ายร่างกายทางอ้อม การที่พ่อทำร้ายร่างกายลูก แล้วแม่ไม่ห้าม คนที่เป็นลูกก็จะรู้สึกถึงการถูกทอดทิ้ง
- ที่สุดแห่งการหักหลังคือ การล่วงละเมิดทางเพศลูก ไม่ว่าจะเป็นลูกชายหรือผู้หญิง อันนี้คือขั้นรุนแรง
หนังสือเล่มนี้ให้ทางออกเมื่อเราเจอพ่อแม่ที่เป็นพิษ มาหลากหลายกรณี ถ้าโดนคนที่ทำไม่ดีใส่โดยเฉพาะถ้าเป็นพ่อแม่ที่เป็นผู้มีพระคุณ
คำว่า ‘ทดแทดบุญคุณ’ เป็นสิ่งที่ลูกต้องแบกไว้ตลอด คงยากที่จะรู้สึกไม่ดี หรือรู้สึกโกรธ บางทีกลับมารู้สึกผิดเอง และรู้สึกว่าไม่ควรมีความรู้สึกนี้เกิดขึ้นด้วยซ้ำ
แต่อะไรที่มันมากเกินไปเราไม่จำเป็นต้องให้อภัยก็ได้นะ จดจำไว้เสมอว่า เราไม่สามารถทำให้ใครรู้สึกอะไรได้ทั้งนั้น
ทุกคนมีหน้าที่รับผิดชอบความรู้สึกของตัวเอง สิ่งที่ตัวเองเลือก เรามีหน้าที่ต้องหาทางออกให้ตัวเองเมื่อรู้สึกเวลามีใครมาทำร้าย พ่อแม่ก็มีหน้าที่ที่ต้องหาทางออกนี้เหมือนกัน
สิ่งสุดท้ายไม่ใช่แค่ในฐานะลูก แต่ในฐานะถ้าเราเป็นพ่อแม่อยู่หรือจะในฐานะไหนก็ตาม ลองถามว่าตัวเราเองว่าเราอยากอยู่กับคนนี้จริง ๆ หรอ
คนที่ทำนิสัย พฤติกรรมเหล่านี้ อยู่แล้วสุขสบายใจไหม หรือหนักใจ ทุกข์ใจ ถ้าคำตอบเป็นแบบหลัง เมื่อเราโตขึ้นแล้ว
เราสามารถดูแลตัวเองการตัดวงจร แยกออกมาเพื่อตัวเราเองปล่อยวางแล้วก้าวต่อไปเพื่อความสุขของตัวเองดีกว่า
การ กอดตัวเอง ดีอย่างไร?
กอดตัวเอง
กอดตัวเองทางร่างกายคือการเอาแขนมาโอบตัวเอง แต่การกอดตัวเองไม่จำกัดแค่การเอามือโอบกอด แต่มีหลากหลายรูปแบบ
การกอดตัวเอง ในมุมหนึ่งคือการเทคแคร์ตัวเอง คล้าย ๆ กับ Self-Care การกอดตัวเอง หมายถึง การกระทำของการโอบกอดตัวเองเพื่อเป็นการปลอบโยนและดูแลตัวเอง
การโอบแขนรอบลำตัว วางมือบนไหล่หรือแขนส่วนบน และบีบเบา ๆ การกอดตัวเองเป็นประโยชน์ต่อการปลดปล่อยออกซิโทซิน
ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการผูกพันและลดความเครียด และสามารถช่วยบรรเทาความรู้สึกเหงา วิตกกังวล หรือไม่สบายใจ
Butterfly Hug
หลายครั้งที่เรากำลังรู้สึกกลัว กังวล หายใจสั้นถี่ ท่า Butterfly Hug จะเหมือนการเลียนแบบว่าเหมือนมีคนมากอดเราอยู่ ทำให้รู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย
ทำให้อาการกลัวค่อย ๆ ทุเลาลง เพราะฉะนั้นท่า Butterfly Hug จะถูกใช้บ่อย ๆ เวลาที่เรารู้สึกวิตกกังวลมาก ๆ
แต่ก็ไม่จำเป็นต้องกอดตัวเองเสมอไป วิธีอื่นก็สามารถใช้ได้เหมือนกัน เช่น การหาจุดโฟกัสในสิ่งที่เราสบายใจ หรือการนึกถึงเรื่องดี ๆ ที่เกิดขึ้นในหัวจินจนาการถึงสิ่งที่เรามองแล้วรู้สึกอบอุ่นใจ
เราจะเริ่มต้นดูแลตัวเองได้อย่างไร
- เรากำลังรู้สึกอย่างไร มีอะไรที่เราอยากได้แต่ไม่ได้ไหม? ลองเขียนออกมาเพื่อความชัดเจนมากกว่าการคิดในใจ
- ลองเอาลิสต์ที่เราลิสต์ออกมาลองดูว่ามีอะไรที่เราสามารถทำได้ไหม?
- รู้ความต้องการของตัวเอง เมื่อเราโตขึ้นเรื่อย ๆ เสียงรอบข้างของคนรอบตัวจะเข้ามามีบทบาทมากกว่าเสียงของเรา
- กลับไปทำในสิ่งที่เคยชอบ ให้เวลาตัวเองกับสิ่งที่เราชอบ รือฟื้นสิ่งที่ทำให้มีความสุข
- กำหนดขอบเขต เรียนรู้ที่จะพูด “ไม่” กับสิ่งที่ไม่ต้องการหรือไม่สบายใจ
- ดูแลตัวเอง กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ
- ให้เวลากับตัวเอง ทำกิจกรรมที่ชอบ เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง หรือใช้เวลากับคนที่รัก
- ให้อภัยตัวเอง ทุกคนทำผิดพลาดได้ อย่าจมอยู่กับความผิดพลาดในอดีต
- พูดกับตัวเองด้วยความเมตตา หลีกเลี่ยงการวิพากวิจารณ์ตัวเองในแง่ลบ
การรักตัวเอง ไม่เท่ากับ การเห็นแก่ตัว
ในสังคมปัจจุบัน คำว่า “การรักตัวเอง” ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย แต่หลายคนอาจเข้าใจผิดว่าการรักตัวเองนั้นหมายถึงการเห็นแก่ตัว ซึ่งไม่เป็นความจริง
- การรักตัวเอง เป็นการดูแลและให้ความสำคัญกับความต้องการทางร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ของตัวเอง โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น
- การเห็นแก่ตัว เป็นการกระทำที่คำนึงถึงแต่ผลประโยชน์ของตัวเอง โดยไม่สนใจความรู้สึกหรือความต้องการของผู้อื่น
การรักตัวเองเป็นสิ่งสำคัญสำหรับความเป็นอยู่ที่ดีทางร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ แต่ต้องไม่สับสนกับการเห็นแก่ตัว
การรักตัวเองอย่างแท้จริงนั้นคำนึงถึงทั้งความต้องการของตัวเองและความต้องการของผู้อื่น โดยไม่เบียดเบียนหรือสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น
ความสัมพันธ์แบบ Friend with Benefit และ One Night Stand อาจเริ่มมีมานานแล้ว ด้วยมนุษย์เรามีความต้องการในเรื่อง Sex
เป็นเรื่องธรรมชาติ บางยุคสมัยที่เข้มงวดมากก็อาจเป็นเรื่องต้องห้าม แต่ในบางยุคที่ไม่ได้เข้มงวด ความสัมพันธ์แบบ FWB และ ONS ก็อาจมีได้ตั้งแต่ยุคโบราญ
เพราะอะไรคนถึงชอบความสัมพันธ์แบบ Friend with Benefit และ One Night Stand
เป็นความสัมพันธ์ที่ทำให้มีความสุข น่าตื่นเต้นและไม่ต้องรับผิดชอบอะไรมาก โดยความสัมพันธ์เกิดขึ้นจากความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ซึ่งก็คือ Sex
แต่การที่จะมีความสัมพันธ์ลึกซึ้ง ต้องมีการทำความรู้จัก จีบกัน เป็นแฟนกันจึงจะมี Sex ได้ ต้องผ่านการรับผิดชอบหลายขั้น ทำให้รู้สึกว่ายากเกินไป
บางคนแค่ต้องการมีความสุขแบบไม่ต้องรับผิดชอบ ก็เลือกที่จะมีความสัมพันธ์แบบ ONS แต่ FWB เป็นความสัมพันธ์อีกขั้นที่มากกว่า ONS
เป็นได้ทั้งเพื่อนและคนที่มีเพศสัมพันธ์กัน แต่ต้องไม่คาดหวังกับความสัมพันธ์ที่จะพัฒนากลายมาเป็นคนรัก
การเอาใจไปลงเล่นกับความสัมพันธ์แบบ Friend with Benefit และ One Night Stand
จากงานวิจัยความสัมพันธ์แบบ FWB มีโอกาสที่จะตกหลุมรักกันได้ โดยปกติเมื่อมี Sex ร่างกายจะกระตุ้นฮอร์โมนหลายตัว
ซึ่งมีหนึ่งฮอร์โมนที่เป็นตัวทำให้มีความผูกพันเกิดขึ้นคือ Oxytocin เมื่อหลั่งฮอร์โมนออกมาก็มีความผูกพันต่อกันมากขึ้น
และความสัมพันธ์ FWB บ่งบอกว่าเป็นความสัมพันธ์ Sex ที่ดี มีความเข้ากันได้จึงมีโอกาสสูงที่จะตกหลุมรักกัน
หากเอาใจลงมาเล่นกับความสัมพันธ์ FWB พร้อมกันทั้งสองฝ่ายก็ไม่ใช่ปัญหาเพราะเป็นจุดเริ่มต้นพัฒนาความสัมพันธ์
แต่ถ้าอีกฝ่ายไม่พร้อมก็อาจเสียความสัมพันธ์ FWB ได้ เพราะความต้องการไม่เท่ากัน
Friend with Benefit ที่มีแฟนอยู่แล้ว
เป็นความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นได้ เพราะ FWB เป็นการตกลงกันทั้งสองฝ่าย คือการมี Sex และเป็นเพื่อนกันแต่ความสัมพันธ์จะไม่เกินกว่านั้น
หรือ ONS เป็นความสัมพันธ์ของคนสองคนมีข้อตกลงแค่เรื่อง Sex แม้ว่าทั้งสองฝ่ายจะมีแฟนอยู่แล้วก็สามารถทำได้
แต่เป็นความสัมพันธ์ที่แสดงออกว่าคือการนอกกายและนอกใจ ถึงจะไม่ได้รู้สึกอะไรต่อกัน อาจทำให้เกิดปัญหามือที่สามได้
หากมีแฟนอยู่แล้วและต้องการมีความสัมพันธ์แบบ FWB หรือ ONS ควรคุยตกลงกับแฟนให้เข้าใจและยินยอม
ซึ่งการยอมรับหรือไม่ยอมรับ เป็นสิทธิ์อันชอบธรรมของแฟน ไม่ควรบังคับอีกฝ่าย
เมื่อแฟนยอมรับได้ ความสัมพันธ์ FWB ก็ไม่ใช่การนอกใจนอกกายแม้จะมีแฟนอยู่แล้วก็ตาม เพราะทั้งสองฝ่ายตกลงยินยอมเข้าใจกันแล้ว
ควรรับมืออย่างไร เมื่อเอาใจลงไปเล่นกับความสัมพันธ์ Friend with Benefit
อาจต้องคุยกับตัวเองก่อนว่าความสัมพันธ์ที่ตกลงกันตั้งแต่แรกคือ FWB สิ่งที่เรารู้สึกอาจทำให้ขัดกฎข้อตกลงกัน เตือนใจตัวเองก่อนว่าจะเกิดความเจ็บปวดได้
คุยกับตัวเองว่าต้องการจะเดินหน้าต่อเพื่อความสัมพันธ์ที่อาจจะพัฒนาต่อไปหรือจะถอยออกมาจากความสัมพันธ์ให้เร็วที่สุด
เพราะไม่ว่าจะเลือกทางไหนก็มีผลต่อความสัมพันธ์แน่นอน เลือกว่าเราจะรับความเสี่ยงแบบไหนได้มากที่สุด
ไม่ว่าจะมีความสัมพันธ์แบบไหน ควรป้องกันให้ปลอดภัยเพื่อเซฟตัวเรา
สาเหตุของ ความลังเล เกิดจากความกังวลต่อผลลัพธ์ในสิ่งที่เลือก เหมือนกับการสอบ
บางครั้งการมีข้อมูลไม่มากพอก็ทำให้ลังเลที่จะตอบ แต่ถ้าเรามีข้อมูลที่ชัดเจนก็สามารถเลือกได้อย่างมั่นใจ
ประสบการณ์ส่งผลต่อทักษะการตัดสินใจ
การเติบโต วิธีการเลี้ยงดูในวัยเด็ก มีผลต่อการตัดสินใจ หากเราเติบโตมาแบบที่ผู้ใหญ่สอนให้เราเชื่อว่าควรเลือกอะไร
ทำแบบไหนถึงจะดีกว่า การมีคนเลือกและตัดสินใจแทนก็ทำให้เราไม่รู้ว่าแบบไหนถึงจะดีกับเรามากกว่า ไม่รู้วิธีวิเคราะห์การตัดสินใจ
ความลังเลมีผลทำให้ไม่รู้จักความต้องการของตัวเอง
ความลังเลควบคุมได้ยาก เพราะเกิดจากความไม่ชัดเจนกับตัวเอง อาจทำให้เราไม่รู้ความต้องการของตัวเอง แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่รู้ความต้องการของตัวเองเลย
ต้องฝึกชัดเจนกับความต้องการของตัวเอง การสื่อสารกับตัวเองให้เข้าใจว่าตัวเองต้องการอะไร ฝึกคุยกับตัวเอง ถามตัวเองว่าต้องการอะไรก็เป็นสิ่งสำคัญต่อการตัดสินใจ
ความลังเล กับ ความโลเล แตกต่างกันหรือไม่
ความลังเลเหมือนเรามีตัวเลือกให้เราได้เลือก แต่ความโลเลคือการที่เราไม่มีตัวเลือกหรือยังไม่แน่ชัดเจนกับตัวเองว่าคืออะไร
เป็นคำที่ใช้ร่วมกันได้ในบางครั้ง แต่ก็มีความหมายที่แตกต่างกัน
ข้อดีของความลังเล
ทุกความรู้สึกที่เกิดขึ้นมักมีข้อดีเสมอ ไม่ว่าจะรู้สึกอะไรก็เป็นประโยชน์กับตัวเองได้ ความลังเลก็อาจมีข้อดีได้เช่นกัน
การที่เราลังเลก็เหมือนทำให้เรามีความรอบคอบและละเอียดต่อการตัดสินใจมากขึ้น ความลังเลก็สร้างมุมมองได้หลากหลายมุม
ความลังเลทำให้เราได้หยุดคิด ซึ่งเรานำช่วงเวลาที่ลังเลมาทบทวนได้ว่าสิ่งไหนคุ้มค่ากับเราจริง ๆ
ไม่ว่าอารมณ์ทางบวกหรือทางลบก็เป็นประโยชน์ต่อเราเสมอ การที่เราลังเล หยุดคิดให้ช้าลงอาจทำให้เจอกับทางเลือกที่ดีและคุ้มค่ากับตัวเองได้
ความลังเลในความสัมพันธ์
บางครั้งที่เราเริ่มคิดว่าควรเลิกหรือไปต่อดีกว่า ก็ทำให้มีเวลาได้ทบทวนความรู้สึกของตัวเอง
ลองนำความลังเลตรงนี้มาทบทวนก่อนได้ ว่าทางเลือกไหนที่มีผลดีกับเราจริงๆ
การที่คนอื่นตัดสินใจแทนเราว่าแบบนี้ดีกว่า ก็ไม่ได้หมายความว่าอีกทางเลือกจะไม่ดีกับเรา
ความลังเลส่งผลต่อความรัก
เมื่อมีความลังเลในความสัมพันธ์แสดงว่าเรารู้สึกไม่มั่นคงกับความสัมพันธ์ของตัวเอง
หากเกิดความลังเลในความสัมพันธ์ก็บ่งบอกได้ว่ามีปัญหาบางอย่างที่ไม่เข้าใจกันเกิดขึ้นกับความสัมพันธ์ของเรา
จัดการกับความลังเลด้วยการเริ่มต้นค้นหาสาเหตุของความลังเล ว่าเกิดจากอะไรที่ทำให้เรารู้สึกไม่ปลอดภัย ลังเลในความสัมพันธ์นี้
รับมือกับความผิดหวังจากการตัดสินใจผิดพลาด
เราผิดพลาดเป็นเรื่องปกติ ก่อนที่จะถูกเราก็เคยผิดพลาดมาก่อน อาจลองยอมรับในสิ่งที่เราตัดสินใจ
การตัดสินมาจากการที่เราได้เลือกสิ่งที่ดีที่สุดกับตัวเองแล้วจริงๆ แม้ว่าจะมีความผิดพลาด
แต่ก็เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ ในความผิดพลาดก็ทำให้เรามีประสบการณ์มากขึ้น เพื่อที่จะใช้ชีวิตต่อไปในวันข้างหน้า
ถูกปฏิเสธจากสังคม หรือการโดนแบน เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทุกช่วงวัย
เหตุการณ์ที่มีคนรอบข้างเรามองว่าเราแตกต่างจากเขา มีมุมมองความคิดไม่เหมือนกัน ทำให้เราถูกปฏิเสธออกจากสังคม
Social rejection และ Social pain แตกต่างกันอย่างไร
Social rejection คือ การถูกปฏิเสธจากสังคมที่มีกลุ่มคนหนึ่งกลุ่มดึงเราออกจากสังคมของเขา
Social pain คือ ความเจ็บปวดทางสังคมจากการที่เราถูกปฏิเสธ
มีความแตกต่างคือโดนกระทำจากสังคมที่ถูกปฏิบัติไม่เท่าเทียม ไม่ถูกยอมรับจากสังคมและความรู้สึกหลังโดนกระทำจากสังคม
การรับมือจากการโดนแบน
ลดการตั้งคำถามที่ตัดสินตัวเองว่าเราทำอะไรผิดลงก่อน เพราะการที่เราถูกปฏิเสธจากสังคมไม่ได้หมายความว่าคุณค่าในตัวเราลดน้อยลง
ลองกลับมาทบทวนว่าเราควรอยู่กับกลุ่มอื่นหรือทำความรู้จักคนใหม่ๆ บ้างดีไหม
เพราะการจมอยู่กับการตั้งคำถามว่าตัวเราผิดอะไรก็เหมือนยิ่งสร้างความเจ็บปวดและตอกย้ำตัวเอง
การอยู่ร่วมกับสังคมโดนปฏิเสธ
เริ่มกลับมาทบทวนตัวเองก่อนว่าสาเหตุที่เราอยู่ในสังคมนี้คืออะไร
เรามีหน้าที่ทำอะไรในสังคม หากเราเป็นนักเรียน เราควรโฟกัสที่การเรียนและการพัฒนาตัวเอง กลับมาให้ความสำคัญในหน้าที่ของตัวเอง
และลองมองหาความสัมพันธ์กับคนอื่น ที่มีอะไรคล้ายกับเราหรือเข้ากับเราได้มากกว่ากลุ่มเดิม
ทุกความสัมพันธ์มีเปลี่ยนแปลงและแตกต่างกันได้ เราอาจเข้ากับสังคมนี้ไม่ได้ แต่อาจจะเข้ากันได้ดีกับสังคมใหม่ๆ
ถ้าไม่มีสังคมเพื่อนและเลือกที่จะอยู่คนเดียวได้ไหม?
มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องการที่พึ่งพิง ลองสำรวจความรู้สึกตัวเองก่อนว่าไหวไหม อยู่คนเดียวได้หรือเปล่า
เพราะการโดนแบนก็เหมือนสร้างพลังลบและดูดพลังเราไปทั้งหมด ทำให้ไม่มีที่พักพิง ถ้าเลือกที่จะอยู่คนเดียวก็เป็นความรู้สึกที่โดดเดี่ยวมากๆ
แม้ว่าเราสามารถอยู่คนเดียวได้แต่จะมีความสุขจริงๆหรือเปล่า เราตอบตัวเองได้ดีที่สุด
หากโดนแบนจากสังคมควรรับมือกับความรู้สึกตัวเองอย่างไร
การดูแลใจตัวเองลองหาพื้นที่ให้ตัวเองได้ทบทวนว่าเรื่องที่เกิดขึ้นมีสาเหตุอย่างไร แตกต่างกับคนอื่นเพราะอะไร และต้องไม่โทษตัวเอง
ไม่ตัดสินว่าตัวเองผิดหรือด้อยค่าตัวเองจากคำตัดสินของคนอื่น การที่เราโดนแบนไม่ได้แปลว่าเราไม่ดีหรือไม่มีค่าพอสำหรับสังคม
ยังมีสังคมอื่นที่ดีกว่าเดิม มีพื้นที่ให้กับเราได้เป็นตัวเอง โดยที่เราไม่ต้องหนีออกมาจากสังคมที่ไม่ยอมรับเรา
เลือกอยู่ในพื้นที่ที่เราสบายใจและมีความสุขแล้วเราจะไม่ถูกปฏิเสธจากสังคม เพราะทุกคนมีพื้นที่ที่สามารถเป็นตัวเองได้เสมอ
คำว่า แฟนเก่า คือคนที่เคยมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันและแยกกันไป สิ้นสุดความสัมพันธ์กัน ก็เหมือนผีที่ดูน่ากลัวในความสัมพันธ์ใหม่
ปัญหาเกี่ยวกับ แฟนเก่า
การส่งข้อความหาแฟนเก่า การเก็บรูปภาพกับแฟนเก่าไว้ในโทรศัพท์ บางกรณีอาจจะไม่ได้คบกันแต่ยังมีความหวังดีและความเป็นเพื่อนกันอยู่
หรือบางคนยังคงพร่ำเพ้อคิดถึงแฟนเก่าจึงเก็บรูปภาพไว้ เพราะช่วงเวลาที่คบกับแฟนเก่าเป็นเหมือนความทรงจำช่วงหนึ่งในชีวิตที่อาจมีสิ่งดี ๆ เกิดขึ้น คล้ายกับเป็นไดอารี่เล่มหนึ่ง
ปัญหาที่แฟนเรายังติดต่อกับ แฟนเก่า อยู่
ต้องลองกลับมาถามความรู้สึกตัวเองว่ารับได้หรือไม่ เพราะปัญหาที่เขายังติดต่อกับแฟนเก่าอยู่เป็นเรื่องของความยินยอม หากเรารับไม่ได้ก็ไม่ใช่เรื่องผิด
แต่เมื่อรับไม่ได้ก็ไม่ควรไปต่อ การที่แฟนเรายังติดต่อกับแฟนเก่าอยู่ก็ไม่ใช่เรื่องผิดเช่นกัน บางครั้งเขามีความจำเป็นที่ต้องติดต่อกัน
เช่น เรื่องงานธุรกิจหรือเรื่องลูก ซึ่งการเปิดใจยอมรับเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ความสัมพันธ์ไปต่อได้
Recheck แฟนเราว่าเขา ลืม หรือ ยังไม่ลืม แฟนเก่า?
บางทีก็ต้องกลับมาถามตัวเองเช่นกัน ว่าความรักของเรากับแฟนเกิดขึ้นหรือยัง เขายังรักแฟนเก่าอยู่หรือเปล่า
ถ้าเขาก็รักเราแต่ยังรักแฟนเก่าอยู่ก็เป็นไปได้ว่า เขารักสองคนไปพร้อมกัน
อาจต้องมาเปิดใจคุยกันก่อน ว่าความรักที่เขามีต่อแฟนอยู่ในระดับไหน ยังรู้สึกรัก รักมากหรือไม่รักแต่ยังมีแค่ความทรงจำที่เหลืออยู่
เพราะแต่ละระดับมีการจัดการที่แตกต่างกัน ซึ่งส่วนมากมักไม่ได้รักแต่ยังมีความทรงจำต่อกันอยู่ แม้ว่าความเป็นจริงจะไม่มีใครลืมความทรงจำในอดีตได้ก็ตาม
ถ้าหากเรายอมรับได้ว่าเขายังไม่ลืมและเลือกที่จะอยู่ในความสัมพันธ์ต่อไป อาจต้องค่อยๆให้เวลาเยียวยาความรู้สึกของเขา
การแก้ไขปัญหาความสัมพันธ์ของแฟน ต้องปรับตัวให้เข้ากันทั้งสองฝ่ายเสมอ
ไม่ควรมีฝ่ายไหนรับผิดชอบความรู้สึกทั้งหมดไว้คนเดียวเพราะอาจทำให้เหนื่อยล้าและบั่นทอนจิตใจได้ มั่นเตือนตัวเองว่าคนใหม่ไม่ใช่คนเก่า
ทุกคนมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน ความรู้สึกของเราควรรับผิดชอบและจัดการด้วยตัวเอง ไม่ควรเป็นปัญหาของคนใหม่
Recheck ความพร้อมสำหรับการสร้างความสัมพันธ์ครั้งใหม่
ลองทบทวนความรู้สึกตัวเองก่อนว่าเรายังคิดถึงคนเก่าอยู่หรือเปล่า ถ้าไม่คิดถึงและไม่มีความรู้สึกอะไรกับคนเก่าแล้วแสดงว่าเราก็พร้อมที่จะไปต่อในความสัมพันธ์ครั้งใหม่
แต่ถ้ายังคิดถึงและยังมีความรู้สึกกับคนเก่า อาจต้องถามตัวเองให้ชัดเจนก่อนว่าเราพร้อมที่จะเริ่มต้นใหม่จริงๆหรือเปล่า
หากเราก็พร้อมที่จะรักคนใหม่ แม้จะยังมีความทรงจำกับคนเก่า เราก็สามารถเริ่มต้นใหม่ได้ เพียงแต่อาจต้องใช้เวลาให้ความรู้สึกที่มีต่อคนเก่าลดน้อยลง
พฤติกรรมชอบส่อง Social media ของแฟนเก่า
บางครั้งการส่อง Social media เป็นเรื่องปกติ เหมือนเราส่อง Social media เพื่อน ดาราศิลปินที่ชื่นชอบ เป็นความชอบส่วนตัว แม้จะไม่ใช่แฟนเก่า
เราก็มีความต้องการอยากรู้อยากเห็น ถึงเราจะส่องแฟนเก่าแต่เราอาจไม่ได้รู้สึกอะไรกับแฟนเก่าแล้วก็ได้
แต่ถ้าหากส่องแล้วมีความรู้สึกอยู่ ต้องกลับมาจัดการที่ความรู้สึกของตัวเองเพราะอาจมีปัญหาทางจิตใจ มีความทรงจำที่ไม่ดีเกิดTraumaสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อบำบัดได้
วิธีรับมือกับความรู้สึกตัวเอง
ยอมรับในความรู้สึกตัวเองที่ระแวงแฟน และเปิดใจคุยกับแฟนตามตรงว่าเรายังไม่สามารถวางความระแวงเรื่องแฟนเก่าของเขาได้
ช่วยกันแก้ไขปัญหาร่วมกัน ว่าอะไรที่ทำให้เราสบายใจขึ้น บางครั้งความใส่ใจ ความห่วงใย ความสนใจที่เขามอบให้เราก็เป็นตัวช่วยที่เยียวยาจิตใจและความรู้สึกระแวงให้เบาบางลงได้
วิธีลืม แฟนเก่า
เวลาคือปัจจัยสำคัญที่ช่วยเยียวยาจิตใจและทำให้ความรู้สึกที่มีต่อแฟนเก่าลดน้อยลง ซึ่งเวลาของแต่ละคนไม่เท่ากัน
การกลับมารักตัวเองก็เป็นตัวช่วยที่ทำให้ความรู้สึกต่อแฟนเก่าลดน้อยลงได้ หากมีการจัดการความรู้สึกที่มีต่อแฟนเก่าไม่ได้จริงๆสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญได้เสมอ
‘ความโสด’ เป็นเรื่องปกติที่ทุกคนเคยผ่านช่วงเวลาการเป็นโสดมาก่อน แต่บางคนก็กลัวการเป็นโสด
โสดมานาน ยอมมีความสัมพันธ์ไม่ดีเพราะกลัวความโสด
ความโสด มีข้อดีอย่างไร
ความโสดมีข้อดีหลากหลาย มีโอกาสอะไรหลายอย่างที่คนมีคู่อาจจะไม่มี เช่น . .
ความอิสระ อยากทำอะไรสามารถทำได้เลย โดยไม่ต้องขออนุญาตใคร
มีโอกาสเจอคนมากขึ้น สามารถทำความรู้จักกับคนได้หลากหลาย
มีเวลา ในกับตัวเอง มีเวลาให้กับครอบครัวและเพื่อนมากขึ้น
เราสามารถทุ่มเทเวลาให้กับตัวเอง ทำตามเป้าหมายของตัวเองได้มากขึ้น
ข้อเสียของความโสด
ความโสดอาจทำให้เหงา โดดเดี่ยว หว่าเว้ อยากมีคนแบ่งปันเรื่องราวในชีวิตประจำวันแต่ไม่มีใครพร้อมรับฟังเราเลย
การจัดการกับความเหงา
ความเหงาเกิดขึ้นได้เมื่อไม่คุ้นชินกับการอยู่คนเดียว หากเราสามารถอยู่คนเดียวเป็น สร้างความสุขกับตัวเองได้ เราจะไม่มีเวลาให้กับความเหงาเลย
การโสดอย่างมีความสุข
จากงานวิจัยบอกว่าเราสามารถโสดอย่างมีความสุขได้ เมื่อมีเพื่อนที่เป็นโสดเหมือนกัน การทำกิจกรรมร่วมกัน มีเวลาพูดคุยกันกับเพื่อนช่วยคลายความเหงาได้
หรือคนโสดที่เป็น Introvert ชอบอยู่คนเดียว ไม่ชอบเข้าสังคม ก็สามารถมีความสุขในแบบของตัวเองได้ โดยการทำสิ่งที่ชอบและสบายใจในแบบของตัวเอง
รับมือกับความกดดันจากสังคมอย่างไร?
แม้สังคมจะตั้งคำถามอย่างไรไม่สำคัญเท่าจิตใจของเรา เคารพในการตัดสินใจของตัวเอง ไม่ต้องสนใจใครว่าเขาจะคิดอย่างไรกับความโสดของเรา
ความคาดหวังของเขาเป็นปัญหาที่เขาควรจัดการ ไม่ใช่ปัญหาของเรา เรามีชีวิต เส้นทางของตัวเอง เราเลือกได้ว่าอยากเป็นแบบไหน แค่มีความสุขในสิ่งที่เราเลือกก็พอ
เริ่มต้นความสัมพันธ์ที่ยังไม่พร้อมส่งผลอย่างไร?
หากไม่พร้อมที่จะมีความสัมพันธ์ อาจทำให้เราต้องปรับตัวเองเพื่อมีเวลาให้กับอีกคนมากขึ้น จากแต่ก่อนมีความอิสระต้องแคร์อีกคนมากขึ้น
มีรายละเอียดที่ต้องใส่ใจมากขึ้น ส่งผลต่อภายในจิตใจทำให้เราคาดหวัง เกิดความสัมพันธ์ที่ Toxic
มีความสัมพันธ์เมื่อพร้อมทั้งภายในและภายนอก ลองสำรวจภายในจิตใจของเราก่อน ว่าเราพร้อมที่จะแบ่งปันเวลา คุณค่า และจุดหมายในชีวิต
ที่ต้องมีอีกคนเข้ามาอยู่ในชีวิตเราหรือเปล่า พร้อมที่จะหยุดอยู่กับความสัมพันธ์นี้แล้วจริง ๆ
เราควรมีความสัมพันธ์ในช่วงที่ชีวิตไม่ยุ่ง ไม่มีความเครียดหรือกดดันเกินไป หากชีวิตเรายังมีปัญหาอยู่ อาจมีปัญหากระทบต่อความสัมพันธ์ได้
เปิดใจอย่างไร เมื่ออยากเริ่มต้นความสัมพันธ์ใหม่
เมื่อไหร่ที่เจอคนที่ใช่ ใจเราจะเปิดเอง พร้อมที่จะก้าวจากเซฟโซนตัวเอง คนที่ใช่คือคนที่ปลอดภัยสำหรับจิตใจเราด้วยเช่นกัน
ไม่ว่าจะเป็นคนโสดอย่างมีความสุขหรือโสดอย่างเหงาๆ ควรมีความสุขจากตัวเองให้เป็น และเริ่มต้นเปิดใจกับคนที่ใช่จริงๆ
กล้าที่จะเป็นตัวเอง มีความสัมพันธ์เมื่อพร้อม ถึงยังไม่เจอคนที่ใช่ ก็ไม่เป็นไร เรามีความสุขกับการเป็นโสดได้เสมอ
มูเตลู เกี่ยวข้องกับทางจิตวิทยาคือการทำงานกับจิตใจ การมีที่พึ่งทางใจ การมูเตลูทำงานคล้ายกับจิตวิทยาที่ช่วยดูแลจิตใจได้
ทำไมหลาย ๆ คนถึงเลือกไปหาหมอดู
การไปเจอหมอดูอาจเป็นความสะดวก รวดเร็วและใช้เวลาไม่นานสามารถทำให้เราสบายใจมากขึ้นได้
วิธีจัดการปัญหาของหมอดูและนักจิตวิทยา
หมอดูช่วยจัดการปัญหาตามขั้นตอนจากศาสตร์ที่เรียนมา ว่าควรจัดการปัญหาอย่างไรบ้าง ต้องทำอะไรต่อไป
แต่กระบวนการของนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ใช้หลักการแก้ปัญหาตามความจริง
ที่เผชิญ ต้องใช้ระยะเวลาในการสำรวจจิตใจ เรียนรู้จิตใจ และตัดสินใจแก้ไขด้วยตัวเอง
การไปหาหมอดูไม่ใช่เรื่องแย่หากช่วยเป็นที่พึ่งทางใจทำให้ใช้ชีวิตต่อไปได้
แต่ถ้าหากไปหาหมอดูแล้วปัญหายังอยู่เหมือนเดิม อาจลองเปลี่ยนวิธีเพื่อมาพบนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ก็เป็นทางเลือกอีกทางได้เช่นกัน
มูเตลู อย่างไรไม่ให้กระทบกับชีวิต?
การไปพบหมอดูหรือการมูเตลูควรอยู่ในพื้นฐานความพอดี หากหมอดูทักว่าเรื่องที่ทำเป็นเรื่องอันตราย ลองกลับมาประเมินก่อน ว่าเป็นความจริงมากน้อยแค่ไหน
และจะจัดการป้องกันความอันตรายได้หรือไม่ เราสามารถใช้ความเชื่อจากการมูเตลูมาป้องกันและระมัดระวังตัวเองจากเรื่องอันตรายได้ โดยอยู่ในพื้นฐานความจริงที่ไม่กังวลมากเกินไป
จะมูเตลูอย่างไรไม่ให้กระทบต่อความสัมพันธ์?
หากเราเชื่อในคำพูดของหมอดูก็แสดงออกได้ว่าความสัมพันธ์อยู่ในความไม่มั่นคง
มีเรื่องที่ไม่มั่นใจเกิดขึ้น บางความคิดของเราก็อาจไม่ใช่เรื่องจริง ลองฝึกตั้งคำถามในสิ่งที่เราคิด ก็สามารถทำให้เรามีการไตร่ตรองมากขึ้น
ควรรีเช็คตัวเองอย่างไร?
เราควรรู้สาเหตุของการนำเรามาพบหมอดูหรือนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ ว่าต้นเหตุคือเรื่องอะไร การรู้สาเหตุเหมือนเป็นการย้ำเตือนตัวเอง
ถึงปัญหาที่เราต้องการหาทางออกและสุดท้ายความสบายใจที่เกิดขึ้นมาจากการจัดการกับปัญหา
มูเตลูที่ส่งผลต่อตัวเองและคนรอบข้าง ควรสื่อสารและเตือนคนรอบข้างอย่างไร?
เตือนผ่านความเป็นจริง สะท้อนถึงการมูเตลูและความเชื่อของเขาทำให้เกิดผลกระทบต่อเขาอย่างไรบ้าง
เราไม่สามารถบังคับให้เขาลดความเชื่อได้ แต่เราสามารถบอกปัญหาที่กระทบต่อเขาและคนรอบข้างได้
และไม่คาดหวังว่าเขาจะเปลี่ยนความเชื่อ เพราะความคิดและความเชื่อเป็นเรื่องของแต่ละคน มีมุมมองที่ต่างกัน
เมื่อต้องอยู่ร่วมกับผู้ป่วย โรคซึมเศร้า เราจะช่วยเหลือเขาได้อย่างไรบ้าง และเราจะดูแลตัวของเราอย่างไรดี
ความยากของการอยู่ร่วมกับผู้ป่วย โรคซึมเศร้า
ความยากมีระดับความยากที่แตกต่างกัน ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นแฟน เพื่อน หรือ คนในครอบครัว
อาจมีความสับสนเกิดขึ้นในจิตใจแบ่งเป็นสองข้างคือเราต้องดูแลผู้ป่วย เพราะเป็นโรคซึมเศร้าแต่เราก็ไม่โอเคกับบางพฤติกรรมที่มาจากการป่วยของเขาเลย เช่น การที่เขาหงุดหงิดใส่
หรือ การที่เขาไล่ให้เราไปไกล ๆ แต่ทั้งหมดอยากให้เราทำความเข้าใจว่าผู้ป่วยไม่ได้อยากที่จะทำพฤติกรรมแบบนั้น บางพฤติกรรมส่งผลมาจากสารเคมีในสมองเวลาป่วย
แต่ก็เป็นความรู้สึกแย่ของผู้ดูแลถึงแม้จะเข้าใจ แต่ความรู้สึกที่เกิดขึ้นต้องหาวิธีจัดการกับความรู้สึกของผู้ดูแล
ดูแลผู้ป่วยซึมเศร้าอย่างไร?
การดูแลผู้ป่วยเป็นเรื่องยากที่จะดูแลได้ทั้งหมด พยายามไม่กดดันตัวเอง และคาดหวังว่าตัวเองจะต้องดูแลผู้ป่วยให้หายดีได้ในทันที ไม่แบกรับทุกอย่างไว้คนเดียว
เราที่เป็นผู้ใกล้ชิดผู้ป่วย เราเลือกที่จะรับฟังเขาอยากตั้งใจ เข้าใจปัญหาที่เขาเผชิญและไม่ตัดสินปัญหาของเขาผ่านมุมตัวเอง ควรมีผู้เชี่ยวชาญดูแลควบคู่กับการดูแลผู้ป่วย
คำพูดที่ควรหลีกเลี่ยง ในการสื่อสารกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
คนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามีอาการและรายละเอียดแตกต่างกัน คำพูดบางคำอาจมีผลกระทบที่รุนแรงหรือเฉย ๆ ไม่รู้สึกอะไร
เมื่อเรารู้สึกกังวลใจ อยากดูแลจิตใจผู้ป่วย เราสามารถเปิดใจคุยกับเขาตามตรงได้ ว่าเรารับรู้ความรู้สึกของเขาที่เขาดูเศร้าหรือเสียใจ
บางคำพูดหรือจุดประสงค์ของเราอาจจะไม่ตรงกับที่เขาต้องการ หากเขาต้องการให้ช่วยอย่างไรบอกกับเราได้ เราจะคอยซัพพอร์ตเขาเสมอ
เพียงแค่เราแสดงออกว่าห่วงใยและเข้าหาเขาในช่วงเวลาที่เขารู้สึกแย่ ก็เป็นสิ่งที่ดีที่เราช่วยเหลือเขาได้และเขาไม่ได้โดดเดี่ยวคนเดียว
ความโดดเดี่ยวเป็นปัจจัย ที่ทำให้เกิดอาการรุนแรงในผู้ป่วยซึมเศร้า
การแสดงออกว่าเรารับรู้ถึงความรู้สึกของผู้ป่วย รับฟังสิ่งที่เขารู้สึกก็เป็นตัวช่วยที่ทำให้เขาไม่รู้สึกโดดเดี่ยวคนเดียว
การมีคนที่พร้อมรับฟังในเวลาที่เขาต้องการ ทำให้ความโดดเดี่ยวเบาบางลงได้ การสื่อสารสำคัญมากบอกความรู้สึกของทั้งสองฝ่ายให้เข้าใจกันได้มากขึ้น
วิธีการดูแลตัวเองเมื่อต้องอยู่กับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
การโฟกัสและให้ความสำคัญกับผู้ป่วยตลอดเวลา อาจทำให้เราละเลยความรู้สึกของตัวเองไป
การพยายามทุ่มเทเวลาทั้งหมดเพื่อดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ก็สามารถทำให้เราหมดไฟ รู้สึกแย่กับตัวเองและหลงลืมการดูแลตัวเองไป
ลองเริ่มแบ่งขอบเขตให้กับตัวเองอย่างชัดเจน อาจไม่ต้องใช้เวลามากแค่ช่วงเวลาเล็ก ๆ ที่เราสามารถแบ่งกลับมาให้ตัวเองได้ลองกลับมาตั้งคำถามกับตัวเอง
ว่าเราต้องการอะไร วันนี้อยากทำอะไร มีสิ่งไหนที่สามารถเติมเต็มความต้องการของตัวเองได้บ้าง ให้ช่วงเวลานั้นหันกลับมาโฟกัสตัวเองและใส่ใจตัวเองบ้าง
เราดูแลคนอื่นได้แต่อย่าลืมดูแลตัวเองไปพร้อมๆกัน 🙂
ความกังวล ความวิตกกังวล (Anxiety) เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน เป็นเหมือนสัญชาตญาณช่วยป้องกันอันตราย
ความกังวลเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนควรมี หากไม่มีความกังวลเลยเราก็จะไม่กลัวอะไร อาจทำให้เราไม่ระวังตัวในเรื่องที่อันตราย
ประโยชน์จาก ความกังวล
ความกังวลที่เกิดขึ้นเป็นประสบการณ์สอนให้เราเป็นคนที่ดีขึ้นกว่าเดิม เรียนรู้ว่าความกังวลทำให้เรามองเห็นสิ่งที่อยู่ในใจเราชัดมากขึ้น
เราเลือกที่จะเรียนรู้ทำความรู้จักกับความกังวลและเรียนรู้การได้แก้ปัญหาจากเรื่องที่เรากังวลเพื่อไม่ให้เกิดปัญหากับตัวเรา ทำให้เราได้ประโยชน์จากความกังวลของตัวเอง
เพราะอะไรทำให้ระดับความกังวลถึงแตกต่างกัน?
มี 3 ปัจจัย
- การเติบโตและประสบการณ์มีผลต่อความกังวลที่แตกต่างกันได้
บางคนมีความกังวลจะรู้สึกไม่แน่นอนเพราะประสบการณ์ชีวิตมีแต่เรื่องที่ไม่แน่นอน ไม่ชัดเจน การเลี้ยงดูในวัยเด็กที่คาดเดาไม่ได้ ทำให้เราไม่มั่นคงในจิตใจส่งผลทำให้มีความกังวลอยู่เสมอ
- ความคาดหวังว่าทุกอย่างจะผิดพลาดไม่ได้
ส่งผลให้มีความกังวลมากกว่าปกติ การคิดวางแผนให้กับทุกเรื่องจะทำให้ไม่มีสิ่งที่ผิดพลาดแต่ความผิดพลาดเกิดขึ้นได้เสมอ
- การพยายามควบคุมทุกอย่างส่งผลให้เกิดความกังวลกับตัวเองว่าเราต้องรับผิดชอบทุกอย่าง หากสิ่งที่เกิดขึ้นไม่เป็นไปตามที่ควบคุมจะเกิดอันตรายกับตัวเอง
บางคนมีความยืดหยุ่นให้กับตัวเอง สามารถยอมรับความไม่แน่นอนได้ เข้าใจว่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้นสามารถทำให้มีความกังวลไม่เท่ากัน
ความกังวลนำไปสู่ โรคทางจิตเวช ได้หรือไม่?
ความกังวลที่ไม่สามารถประเมินผลได้ การมีความกังวลมากเกินไปส่งผลต่อชีวิตประจำวัน สามารถนำไปสู่โรคทางจิตเวชได้
หากรู้สึกว่ามีการประเมินตัวเองต่ำกว่าความเป็นจริง เริ่มหนีปัญหา เก็บตัวอยู่กับตัวเอง อาจบ่งบอกได้ว่าเราควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
วิธีการรักษากับผู้เชี่ยวชาญ
การรักษามี 2 รูปแบบ
- การใช้ยา จิตแพทย์ประเมินความรุนแรงของอาการ ระยะเวลาที่มีอาการ แนวโน้วการรักษาหากทานยาร่วมด้วยก็อาจทำให้จัดการได้ดีขึ้นการบำบัด
- จิตแพทย์มีการประเมินว่าเราสามารถจัดการตัวเองได้ อาจต้องมีนักจิตวิทยาเป็นผู้แนะนำในการบำบัดว่าควรจัดการกับความกังวลอย่างไรบ้าง หรืออาจประเมินแล้วว่าสามารถรักษาควบคู่กันได้
วิธีรับมือกับความกังวลในชีวิตประจำวัน
ค่อย ๆ ทำความเข้าใจกับความกังวลที่เกิดขึ้นว่าเป็นเรื่องอะไร มีเหตุผลในการแก้ไขเรื่องที่เรากังวลอย่างไร
ฝึกการคิดเชื่อมโยงความกังวล บางครั้งความเครียดก็เป็นความกังวลและความกลัวได้ เริ่มรู้เท่าทันว่าตัวเรากำลังมีความกังวลนะ
มีการตั้งคำถามว่าเราจัดการกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นอย่างไรต่อไป ก็สามารถป้องกันความกังวลได้ดีขึ้น
บางครั้งความคิดกังวลที่เกิดขึ้นก็เป็นเพียงความคิดที่อาจจริงหรือไม่จริง
เรามีความกังวลเกิดขึ้นได้แต่อยู่ในความพอดี รู้เท่าทันความคิดของตัวเองว่าคิดกังวลเรื่องอะไร บางครั้งการคิดว่าอะไรจะเกิดก็ต้องเกิด เรายอมรับในสิ่งที่จะเกิดขึ้นก็ช่วยให้เราเข้าใจความกังวลได้
คนมีเพื่อนน้อย ทำไมยิ่งเติบโตคนรู้จักในวัยเด็ก วัยรุ่น ถึงหายไปตาลกาลเวลา ?
ยิ่งโต ยิ่งมีเพื่อนน้อยลง
การที่เรามีอายุมากขึ้น เพื่อนลดน้อยลงเป็นเรื่องปกติ เมื่อมีสังคมใหม่ เพื่อนใหม่ ความชอบใหม่ ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับเพื่อนก็แคบลง
การที่เพื่อนสนิทมีน้อยลง ไม่ได้หมายความว่าเราแปลกหรือแตกต่างจากคนอื่น
ไม่มีเพื่อน การขาด Social Support
อาจส่งผลกระทบต่อจิตใจทำให้รู้สึกขาดที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ รู้สึกล้มเหลว
การมีเพื่อนคอยทำกิจกรรมร่วมกันทำให้เรารู้สึกสนุก รู้สึกปลอดภัย
การไม่มีเพื่อนทำให้ความมั่นคงลดลง ไม่มั่นใจในตัวเอง
Social Support ไม่ใช่เพื่อนเสมอไป อาจเป็นครอบครัว ศิลปินดาราที่ชื่นชอบก็เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจช่วยขับเคลื่อนชีวิตได้เช่นกัน
วิธีรับมือเมื่อต้อง “สูญเสียเพื่อน”
การที่เราไม่สนิทกับเพื่อนเหมือนเดิมคล้ายกับอาการอกหัก ความสัมพันธ์ไม่มีความยั่งยืนเสมอไป
ทำความเข้าใจในเหตุผลที่เพื่อนแยกจากเรา เพื่อนอาจมีเหตุผลคือการมีความคิด มีประสบการณ์กับสังคมที่แตกต่างจากเรา
เปิดใจยอมรับเมื่อเจอกับความเปลี่ยนไปไม่เหมือนเดิมในความสัมพันธ์เพื่อน ช่วงแรกเราอาจจะยอมรับไม่ได้ โกรธ โมโห
ในการรับมือสิ่งสำคัญที่สุดคือการยอมรับเหตุผลของเพื่อนที่เปลี่ยนแปลงไป แม้ว่าจะไม่เหมือนเดิมแต่เรายังเป็นเพื่อนกันได้เสมอ
สร้างความสัมพันธ์ใหม่อย่างไร
เริ่มจากชัดเจนกับความต้องการของตัวเองว่าต้องการเพื่อนแบบไหน คนที่จริงใจ คนที่คุยกันได้ทุกเรื่อง
จริง ๆ คนที่เราต้องการอาจอยู่เคียงข้างเรามาตลอดบางทีสิ่งที่เราอยากมี อาจทำให้เราเผลอมองข้ามหรือคิดว่าตัวเองไม่มีเพื่อน
หากเราลองสำรวจรอบข้างแล้วว่ายังมีคนที่หวังดีกับเรา คนที่พร้อมรับฟังเราเสมอ เรากลับมาให้ความสำคัญกับเขาก่อนได้
หากไม่มีจริง ๆ เราลองออกจาก Comfort zone ของตัวเองก่อน ไม่ปิดกั้นตัวเอง มองหาคนที่เรารู้สึกสบายใจหรือมีอะไรคล้ายกัน
อาจทำให้เราสบายใจที่จะทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ได้มากขึ้น 🙂
ถึงแม้ว่าเราจะไม่มีใครซัพพอร์ตแต่เรายังมีตัวเอง กลับมาสำรวจตัวเราว่าทำอะไรแล้วมีความสุข รู้สึกสบายใจ
การทำกิจกรรมง่าย ๆ ที่ทำให้เรามีความสุขได้ด้วยตัวเองช่วยทำให้ ผ่อนคลายและลดการโฟกัสการหาคนอื่นมาซัพพอร์ตความรู้สึกตัวเองได้
ลองใจดีกับตัวเอง ภูมิใจในตัวเองจากสิ่งเล็ก ๆ ที่ทำด้วยตัวเอง ก็ทำให้รู้ว่าโลกไม่ได้ใจร้ายกับเราขนาดนั้น
เคยสังเกตเห็นพฤติกรรมตัวเองกันไหม เวลาเราเจออะไรซักพัก มองอะไรซักพัก เราเหมือนถูกสะกดจิต
เช่น มีเพลงฮิตหนึ่งเพลง เป็นแนวเพลงที่โดยปกติจะไม่ฟัง แต่พอฟังได้บ่อย ๆ เพราะได้ยินคนอื่นเปิดก็ชอบเพลงนั้นไปเลย
หรือ การที่เราอยากจะกินอาหารที่เราไม่ชอบกิน แต่เห็นผ่านสื่อบ่อย ๆ วันนี้เห็นซื้อกินดีกว่า
ทำความรู้จักกับ Mere-Exposure Effect คุ้นเคยกับอะไรแล้ว ไม่อยากเปลี่ยนใจ ชอบแล้ว ชอบเลย ชอบตลอดไป
Mere-Exposure Effect
Mere-Exposure Effect เป็นกลไกจิตใจที่เกิดขึ้น เมื่อคนเราได้รับรู้ เช่น ได้เห็น ได้ยิน ได้พบสิ่งนั้นมาก่อน
เราจะมีแนวโน้มที่จะยอมรับสิ่งนั้นได้ง่าย หรือไม่ก็ชอบไปเลย โดยไม่จำเป็นต้องเข้าใจสิ่งนั้นอย่างลึกซึ้ง เรียกว่าแค่คุ้น ๆ ก็มีใจให้แล้ว โดยความคุ้นที่ว่านั้นเราอาจจะรู้ตัวหรือไม่ก็ได้
คุณ Daniel Kahneman นักวิจัยและนักเขียนหนังสือชื่อดังอย่าง Thinking, Fast and Slow เคยกล่าวไว้ว่า วิธีที่จะสร้างความน่าเชื่อถือได้ ไม่ว่าเรื่องนั้นจะจริง หรือเท็จ คือการพูดซ้ำ ๆ บ่อย ๆ เพราะความคุ้นเคยนั้นแยกความแตกต่างจากความจริงไม่ได้ง่าย ๆ”
เหมือนกับการที่เรากินอาหารร้านเดิม เมนูเดิม ฟังเพลงเดิม ดูหนังเรื่องเดิมได้ซ้ำ ๆ ไม่เบื่อ แม้คนอื่นจะถามเราว่าไม่เบื่อหรอ
ที่มา
1960s Robert Zajonc นักจิตวิทยาสังคม ชาวอเมริกัน เชื้อสายโปแลนด์
ซึ่งเป็นอาจารย์ที่ University of Michigan ได้ทำการศึกษาถึงปรากฏการณ์นี้ และพบว่า …
การทดลองฉายภาพตัวอักษรญี่ปุ่น Hirakana บางตัวให้คนที่ไม่รู้ภาษาญี่ปุ่นดู โดยการฉายนั้นแต่ละตัวอักษรจะปรากฏเพียง 1 ใน 30 วินาทีเท่านั้น
แน่นอนว่าสายตาคนมองไม่ทัน แต่เมื่อนำตัวอักษร Hirakana ต่าง ๆ มาให้คนดู ก็พบว่า คนมักจะเลือกตัวอักษรที่ถูกฉายให้ดูแล้วมากกว่า
จึงไม่ต้องสงสัยว่า เมื่อคนเราได้รับรู้หรือมี Exposure กับสิ่งต่าง ๆ นานกว่า 1 ใน 30 วินาที ความคุ้นเคยจะยิ่งมีมากกว่า และตามมาด้วยการยอมรับโดยไม่ยาก
มีการทดลองมากมายเกี่ยวกับ Mere-Exposure Effect เช่น เอาคนแปลกหน้าเดินผ่านเข้าไปในห้องทดลอง
ต่อมาให้คนแปลกหน้านี้มาขอความช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในห้อง โดยขอให้ช่วยตรวจอ่านข้อความที่เขาเขียนหน่อย ผลคือมีคนยอมช่วยถึง 50%
ในขณะที่ถ้าลองให้คนแปลกหน้านั้น ปรากฏตัวเดินเข้ามาขอความช่วยเหลือ โดยไม่มีใครเคยเห็นมาก่อนจะมีคนยอมช่วยเพียงไม่ถึง 20%
ตัวอย่างในชีวิตประจำวัน
- โฆษณา
ทำไมเวลาเราเห็นโฆษณาที่สินค้าซ้ำ ๆ Ad ที่รันมาซ้ำ ๆ จะสร้างความไม่ชอบหรือรำคาญพอไปนาน ๆ เราจะรู้สึกชอบหรือซื้อตาม
- ดนตรี
ทำไมเรามักจะชอบเพลงที่เราเคยได้ยินมาก่อนมากกว่าเพลงใหม่ ๆ ที่เราไม่เคยได้ยิน แต่เพลงนั้นดันแมสแล้วเราได้ยินบ่อย ๆ
ตามที่สาธารณะแล้วเนื้อเพลงทำนองก็มาวนเวียนในหัวเราจนเราเผลอหลุดร้องออกมาไม่รู้ตัวแล้วบางครั้งก็พัฒนามาเป็นความชอบ
- ความรัก
การที่เราได้ใช้เวลากับใครสักคนมากขึ้น เราจะพบว่าทำไมเขาถึงมีเสน่ห์มากขึ้นบางครั้งก็เป็นสาเหตุว่าทำไมเราถึงเริ่มชอบหรือตกหลุมรักคนใกล้ตัวเรา
เพื่อนสนิท เพื่อนที่ทำงาน เราสามารถนอกจากนี้แล้วเรายังใช้ประโยชน์จาก Mere-Exposure Effect ได้ในเรื่องความรัก
การที่เราได้ใช้เวลากับคนที่เราชอบบ่อย ๆ จะทำให้เขารู้สึกผูกพันกับเรามากขึ้น
- สินค้า
คนมักจะซื้อสินค้าเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพราะความคุ้นเคยกับสินค้าเหล่านั้น ไม่ใช่เพราะเป็นสินค้าที่ดีที่สุดหรือเพราะพอใจกับสินค้านั้น
- การตลาด
Anthony Grimes ศาสตราจารย์วิชาการตลาด มหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ เปิดเผยว่า การที่เราได้เห็นโฆษณาบางตัวเพียงแค่ครั้งเดียวก็ถือว่ามีผลแล้ว
และยิ่งได้เห็นบ่อยครั้งหลักจิตวิทยา Mere Exposure Effect ก็จะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
Mere-Exposure Effect แย่ไหม?
Mere-Exposure Effect มีทั้งในแง่ดีและไม่ดีถ้าในแง่ดี ก็จะเป็นเรื่องของการตลาดที่เราเห็นอะไรบ่อย ๆ เราจะคุ้นชิน
อาจจะทำให้เราซื้อสินค้าเหล่านั้นได้มากกว่าสินค้าที่เราไม่เคยเห็น หรือความสัมพันธ์กับผู้คนที่เราได้ใช้เวลาร่วมกันบ่อย ๆ สถานที่ที่เดิม ๆ
ที่ไปแล้วเรารู้สึกดีแต่ในทางที่ไม่ดีคงจะเป็นเรื่อง Comfort Zone เมื่อเราติดอยู่กับอะไรเดิม ๆ ที่เราชอบและสบายใจ คงทำให้เราไม่อยากมองสิ่งใหม่ที่อาจจะดีกว่าเดิม
อาจจะพลาดโอกาส ข้อมูล หรือประสบการณ์อะไรใหม่ๆ
ถึง Mere-Exposure Effect จะไม่ได้ถึงกับไม่ดีแต่ถ้าเราจากหลีกเลี่ยงเราจะทำยังไงได้บ้าง เพราะบางทีผลกระทบที่เกิดขึ้นนี้ก็รบกวนการตัดสินใจ
- หากเรารู้ว่าเรากำลังติดอยู่กับกับดักอะไรเดิม ๆ เช่น เพลงเดิม หนังเรื่องเดิม ร้านข้าวร้านเดิม เมื่อเรารู้แบบนั้นแล้วเราพยายามที่จะชอบอะไรเดิม ๆ อยู่ไหม เรามีความสุขกับแบบเดิมจริงไหม ลองฟังเสียงตัวเองให้มากเพื่อเปิดโอกาสสิ่งใหม่
- ท้าทายตัวเองออกจาก Comfort Zone ออกจากสิ่งเดิมที่เคยยึดติด เริ่มแรกอาจเป็นไปร้านเดิม แต่ลองสั่งเมนูใหม่ ฟังเพลงจากศิลปินคนเดิมแต่ลองฟังเพลงอื่น ๆ ในลิสต์บ้าง อาจจะทำให้เราเจอประสบการณ์ ด้านอาหาร แนวเพลงใหม่ ๆ ด้วย
- พักจากลูปเดิม ๆ แน่นอนว่าลูปเดิมย่อมเหมือนที่เซฟใจทำให้เรามีความสุข แต่บางครั้งเราก็ต้องปรับเปลี่ยนบ้าง ลองออกไปกิจกรรมใหม่ ๆ ทำ บางสิ่งที่เราคิดว่าชอบแต่พอได้ทำอะไรใหม่ ๆ เราอาจจะกลับมามีแรงเติมไฟให้เราอีกครั้ง
Mere-Exposure Effect คนเราชอบสิ่งที่คุ้นเคยเป็นข้อความง่าย ๆ ที่เราหลงลืม ยกตัวอย่าง คนเรามักไม่ชอบรูปตัวเองในกระจก
เหตุเพราะเราไม่คุ้นเคยกับการมองตัวเองอยู่ก่อนแล้ว ไม่นับว่าไม่มีทางเลยที่คนเราจะเห็นใบหน้าหรือรูปร่างตัวเองได้ทั้งหมดผ่านกระจกเงา
ในขณะที่คนอื่นมองเห็นร่างกายและใบหน้าของเราทั้งหมดได้มากกว่าและคุ้นเคยกว่า ถึงวันนี้ปรากฏการณ์นี้ยิ่งเห็นเด่นชัด
ทุกครั้งที่เราถ่ายรูปเรามักไม่พอใจภาพที่ออกมา ในขณะที่คนอื่นจะพูดว่าเธอก็เป็นแบบนี้อยู่แล้ว
แม้กระทั่งเรื่องเสียง คนเราไม่ได้ยินเสียงของตัวเองตามที่เป็นจริงเพราะเสียงบางส่วนผ่านกะโหลกศีรษะออกมาด้วย เ
ราจึงมักประท้วงว่าเสียงของเราในเครื่องบันทึกเทปไม่ตรงกับเสียงของเราที่แท้จริง แต่คนที่ฟังจะบอกว่าเสียงของเธอก็เป็นแบบนี้อยู่แล้ว
ที่มา :
Mere Exposure Effect ทำไมยิ่งเห็นหรือได้ยินอะไรบ่อยๆ ถึงเริ่มชอบสิ่งนั้น
Mere Exposure Effect: How Familiarity Breeds Attraction