นักจิตวิทยา : ผู้ช่วยมืออาชีพเพื่อสุขภาพจิต

เรื่องAdminAlljitblog

ในปัจจุบันที่สังคมหันมาให้ความสำคัญกับสุขภาพจิต “นักจิตวิทยา” จึงกลายเป็นอาชีพหนึ่งที่ถูกพูดถึง นักจิตวิทยา คือใคร ? ทำหน้าที่อะไ ร? แต่ละสาขาแตกต่างกันอย่างไร ?

 

มาหาคำตอบกับรายการพูดคุย Alljit x คุณวันเฉลิม คงคาหลวง นักจิตวิทยา

พารู้จักกับอาชีพ “นักจิตวิทยา”

 

นักจิตวิทยา เป็นอาชีพที่ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ด้วยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และ เหตุผลที่รองรับได้ในหลากหลายมิติ เช่น เชิงสังคม เชิงปัจเจก สรีระ

 

โดยทำการทดลอง เก็บข้อมูล การสำรวจ หรือจากประสบการณ์ความชำนาญในการทำงาน 

 

เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคม  และยังมีเรื่องที่วิทยาการทางวิทยาศาสตร์ไปไม่ถึง เช่นถ้าวันนี้ฉันเป็นซึมเศร้า สรุปแล้วสารเคมีในสมองสร้างความซึมเศร้าขึ้นมา

 

หรือซึมเศร้าก่อนแล้วสารเคมีเป็นตัวอธิบายความเศร้าที่เกิดขึ้น  

 

 

นักจิตวิทยามีสาขาอะไรบ้าง ? ทำหน้าที่อะไรบ้าง ?

 

1. นักจิตวิทยาการปรึกษา

มุ่งเน้นการให้บริการกับบุคคลทั่วไป ที่ไม่มีความผิดปกติ การทำงานจะเอื้ออำนวยให้ผู้รับบริการเข้าใจปัญหา 

 

2. จิตวิทยาคลินิก 

จะให้ความสำคัญการช่วยเหลือผู้ที่มีสภาวะผิดปกติคืนสู่สภาวะปกติ สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้อย่างราบรื่น

 

3. จิตวิทยาพัฒนาการ

ศึกษาพัฒนาการตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่  เพื่อทำความเข้าใจ และอธิบายพฤติกรรม 

 

4. นักจิตวิทยาองค์กร

ศึกษาเกี่ยวกับบุคคลและสิ่งแวดล้อมในสถานที่ทำงาน เพื่อนำความรู้ไปพัฒนา เช่น สร้างแรงจูงใจ หรือพัฒนาบุคคล เพื่อนำไปสู่เป้าหมายขององค์กร 

 

 

นักจิตวิทยาทำงานข้ามสาขาได้หรือไม่ ?

 

สามารถทำได้ แต่จะต้องทำตามความเหมาะสม ตัวอย่างเช่น นักจิตวิทยาการปรึกษาสามารถเข้าไปดูแลบุคลากรในองค์กร ที่เกิดความรู้สึกวิตกกังวล จนส่งผลกระทบต่อการทำงานได้

 

 

นักจิตวิทยาคลินิก และ นักจิตวิทยาการปรึกษา แตกต่างกันอย่างไร ?

 

จิตวิทยาคลินิก เป็นศัพท์ทางการแพทย์ รูปแบบหนึ่งจึงมีรายละเอียดเฉพาะตัว เช่น การทำงานเชิงคลินิก  การเก็บข้อมูล การทดลองเชิงคลินิค ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับโรคต่าง ๆ 

 

เพราะฉะนั้นอาจไม่จำเป็นต้องอยู่เฉพาะในคลินิก สามารถไปทำงานในโรงเรียน ในองค์กรได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับเนื้องาน และประสบการณ์ 

 

ส่วนจิตวิทยาการปรึกษา  เน้นในทักษะของการรับฟัง วิเคราะห์ปัญหา และนำไปสื่อสาร คุยกับผู้เข้ารับคำปรึกษา และสามารถพัฒนาเพิ่มเติมได้  

 

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าควรเลือกไปหานักจิตวิทยาสาขาไหน ?

 

เลือกตามจุดประสงค์ของตัวเอง เช่น  หากคุณไม่ได้ป่วย อยากได้รับคำปรึกษาที่ชัดเจน ก็เข้าไปพบนักจิตวิทยาการปรึกษา

 

อยากเช็ค อยากตรวจประเมินสุขภาพจิต เลือกเข้าพบนักจิตวิทยาคลินิก หรืออยากปรึกษาเรื่องของลูก ก็สามารถเข้าไปพบ นักจิตวายาพัฒนาการได้ 

 

 

 

 

 

 

Related Posts