เราเป็นคนใจร้อนหรือเป็นคนใจเย็น กันแน่

เราเป็นคนใจร้อนหรือเป็นคนใจเย็น กันแน่

เรื่องAdminAlljitblog

เราเป็นคนใจร้อนหรือเป็นคนใจเย็น กันแน่ เราเป็นคนใจร้อนหรือเป็นคนใจเย็นกันแน่ คนใจเย็น คนใจร้อนเป็นแบบไหน? การที่เป็นคนใจร้อนแปลว่าเป็นคนที่จัดการอารมณ์ไม่เก่งหรือเปล่า และการเป็นคนใจเย็นแปลว่าเป็นคนนิ่งเฉยกับปัญหาไหม

 

เราเป็นคนใจร้อนหรือเป็นคนใจเย็น ?

คนใจเย็น 

 

คนใจเย็นในทางจิตวิทยา  ก็คือ คนที่มีสติเมื่อเกิดปัญหาขึ้น เขาจะมีความสามารถในการสงบสติอารมณ์ที่กำลังพลุ่งพล่าน ณ ขณะนั้น

 

มีความชะลอรับมือและอดทนต่อการตอบสนองกับสิ่งที่กำลังเผชิญหน้าตอนนั้นได้ดี  หากสังเกตคำว่าใจเย็นในภาษาอังกฤษก็ไม่มีจำกัดความไว้ได้ในคำเดียว

 

 โดยส่วนใหญ่จะตีความกว้าง ๆ แทน โดยจะเป็นส่วนผสมของคำว่า Calm, Cool และ Patient ก็คือ สงบ เยือกเย็น และอดทนนั่นเอง

 

คนใจร้อน

 

ความใจร้อน เป็นคำที่เราใช้เรียกคน ๆ นึงที่เขาแสดงอาการโมโห หงุดหงิด หุนหันหรือที่เราเรียกกันว่าอารมณ์ร้อน ซึ่งพื้นฐานของอารมณ์ร้อนก็คือ ‘ความโกรธ’

 

และเจ้าความโกรธถือว่าเป็นอารมณ์พื้นฐานของมนุษย์เหมือนกับ เศร้า มีความสุข ยินดี ซึ่งเจ้าความโกรธเป็นอารมณ์ที่ทำให้มนุษย์อยู่รอดมาได้ถึงปัจจุบัน

 

และความใจร้อนบางครั้งก็ทำให้เราตัดสินใจผิดพลาด รีบ หรือทำให้เกิดความประมาทได้

 

 

ใจเย็น = เพิกเฉย,ไม่มีความรู้สึก

 

คำอธิบายจากคุณซาราห์ เอ. ชไนต์เคอร์ (Sarah A. Schnitker) รองศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาและประสาทวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเบย์เลอร์ สหรัฐอเมริกา อธิบายเพิ่มด้วยว่า ‘ความใจเย็น’

 

ไม่ใช่คุณสมบัติที่อยู่ตรงข้ามกับ  ‘ความใจร้อน’ เสมอไป สมมติถ้าเราทะเลาะกัน การใจเย็น คือ เราจะสงบสติอารมณ์ รับฟังกันและกันเพื่อหาทางออกร่วมกัน แต่หากเราด่ากันไปมา ไม่รับฟังกัน ก็อาจเรียกว่าใจร้อน

 

แต่ก็จะมีการทะเลาะในรูปแบบของการละเลย ทำหูทวนลม และไม่สนใจความต้องการของอีกฝ่ายด้วย ซึ่งนั่นถือว่าไม่ใช่การใจเย็นด้วยเหมือนกัน สรุป คือ สิ่งที่ตรงข้ามความใจเย็นก็จะมี ทั้งความใจร้อนและการเพิกเฉย

 

 

การกระทำของคนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ หรือ EQ สูง 

 

การที่เราจะอยู่ให้เย็น เป็นสกิลที่สามารถฝึกกันได้ ใครที่เย็นอยู่แล้วอยากฝึกก็ฝึกได้ และใครที่กำลังร้อนก็ฝึกได้เช่นกัน 

 

เริ่มจากพฤติกรรมของคนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ โดยคนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ นอกจากเขาจะควบคุมจัดการอารมณ์ตัวเองได้ดีแล้ว เขายังมีพฤติกรรมเหล่านี้ด้วย

 

1. บ่งบอกความรู้สึกตัวเองได้ ถ้าอะไรไม่โอเคก็ปฏิเสธเป็น เพราะถือเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่านี่คือคนที่รู้จักตัวเองดี

 

2. ไม่ด่วนตัดสินตอนอารมณ์ไม่คงที่ รวมถึงการไม่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง เพราะคนเราอาจจะเจอเรื่องราวมาแตกต่างกัน คนที่มี EQ สูง มักจะเลือกสื่อสารด้วยเหตุผลมากกว่าใช้อารมณ์นำพา

 

3. ไม่ยึดติดกับการเปลี่ยนแปลงหรือสิ่งลบ ๆ ที่มัวแต่จะบั่นทอนจิตใจ เช่น อะไรที่ควบคุมไม่ได้ก็ควรเลือกที่จะปล่อยไป หรือสามารถแยกตัวตนของตัวเองออกจากความผิดพลาดได้ ซึ่งก็จะทำให้สามารถให้อภัยตัวเองได้

 

4. รักษาสมดุลความคิด รู้ว่าเมื่อไรควรพัก ให้เวลากับตัวเอง ซึ่งข้อนี้จะทำให้กลับมาสู่ภาวะปกติได้ดีและเร็วที่สุด

 

เสริมเกี่ยวกับขั้นตอนการรู้เท่าทันอารมณ์ตัวเอง ขอบคุณข้อมูลจาก The Matter ได้บอกไว้ว่า

 

อย่างแรกระบุสิ่งที่ทำให้เราร้อนใจ อะไรที่ทำให้เรารู้สึกร้อนใจ สาเหตุของที่เราร้อนใจคืออะไร ต่อไป ปรับวิธีคิดต่อเหตุการณ์นั้น

 

เขาบอกว่าให้เราลองเอาตัวเองออกจากเหตุการณ์นั้นแล้วลองเป็นคนอื่นที่มองมาแทน เช่น รถติดมากเราหงุดหงิดอารมณ์เสียที่จะไปไม่ทัน

 

แต่เราลองปรับและคิดว่าที่สาเหตุรถติดมันอาจจะมีอะไรรึป่าวอุบัติเหตุก่อนหน้านั้น หรือเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นไหม โดยที่เราไม่ต้องหงุดหงิดให้เสียอารมณ์ที่จะทำอะไรต่อไป

 

อย่างสุดท้าย นึกถึงเป้าหมายที่แท้จริง เหตุและผลที่ว่าถ้าเราใจร้อน ถ้าเราหงุดหงิด มันจะดีขึ้นจริงหรอ มันคุ้มค่าที่เราต้องเสียอารมณ์ของเราไหม ?

 

 

บทความอื่น ๆ ที่ Alljit Blog

 

ที่มา : 

แต้มต่อของ ‘คนใจเย็น’

10 การกระทำ ที่เหล่าผู้ที่มี “ความฉลาดทางอารมณ์” จะไม่ทำกันเด็ดขาด