” คบกันนานแต่ไปไม่รอด ” หรือเวลาอาจไม่ใช่คำตอบในความสัมพันธ์ สาเหตุที่ทำให้ความสัมพันธ์ที่คบกันมายาวนานไปกันไม่รอดเพราะอะไร ? มีวิธีรักษาความสัมพันธ์แบบไหนบ้าง ? หากไปกันไม่รอดจริง ๆ เราจะรับมือกับการเลิกราอย่างไร ?
เวลาอาจจะไม่ใช่คำตอบของความรัก
เมื่อก่อนจะมีคำพูดที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ ว่า รักง่ายหน่ายเร็ว เหมือนชี้กันว่า คนที่รักกันง่ายอาจจะเลิกกันเร็ว ส่วนคนที่รักกันนานแล้วก็มีโอกาสจะเลิกกันยากขึ้น
แต่จริง ๆ แล้ว เวลาอาจไม่การันตีได้ว่า คบกันมานานจะแปลว่ารักกันดี หรือจะตลอดไปแบบไม่เลิกลา แล้วเวลาไหน เวลากี่ปี หรือตอนไหนที่ฉันควรจะมีความรักดี
กฎ 37% ช่วยประหยัดเวลาในการหาคู่แต่งงาน
กฎ 37% หรือทางคณิตศาสตร์เรียกว่า ‘Optimal Stopping Problem’ โดย 37% นี้มาจากการพิจารณา 1/e ซึ่งมีค่าประมาณ 0.368 หรือคิดเป็น 37%
ซึ่งหากเราต้องการเพิ่มโอกาสในการเลือกสิ่งที่ดีที่สุดจากตัวเลือกทั้งหมด เราเพียงแค่พิจารณา 37% ของจำนวนทั้งหมด แล้วจึงเลือกสิ่งที่ดีที่สุดหลังจากนั้น
อธิบายง่าย ๆ คือ สมมติเรามีแฟนทั้งหมด 100 คน 37% ของ 100 คนก็คือ 37 คน นั่นแปลว่าให้คุณคบกับ 37 คนแรกไปก่อน และเริ่มพิจารณาจากคนที่ 38-100
ถ้าใครคือคนแรกที่ ดีกว่าคนที่ 1-37 ให้เลือกแต่งงานกับคนนั้นดังนั้นหากกำลังมองหาความรักในช่วงอายุระหว่าง 18-40 ปี อายุที่เหมาะสมในการเริ่มพิจารณา
หาคู่แต่งงานในอนาคตก็คือ 26 ปี (37% ของช่วงอายุ 22 ปี) ซึ่งก่อนหน้านี้เราอาจจะพลาดคนดี ๆ ที่เข้ามาในชีวิตไปแล้ว แต่หลังจากอายุ 26 อาจจะเจอคนที่ดีที่สุด
งานวิจัยเกี่ยวกับคู่แต่งงานที่ประสบความสำเร็จของ นิโคลัส เฮช. วูลฟินเกอร์ (Nicholas H. Wolfinger) นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐยูทาห์ ในปี 2015
อาจจะช่วยสนับสนุนทฤษฎีข้างต้นได้ เพราะจากงานวิจัยพบว่าอายุที่ดีที่สุด ในการแต่งงานที่สามารถหลีกเลี่ยงการหย่าร้างได้คือ อายุระหว่าง 28-32 ปี
โดยกลุ่มตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในการแต่งงานจำนวน 45% แต่งงานตอนอายุ 28 ปี นอกจากนี้ผลงานวิจัยยังเผยให้เห็นอีกว่าคู่รักที่แต่งงานหลังอายุ 32 ปี มีโอกาสจะเลิกกันเพิ่มขึ้นถึงปีละ 5%
ปัจจัยที่ทำให้ คบกันนานแต่ไปไม่รอด
1. จุดอิ่มตัวในความสัมพันธ์
นักจิตวิทยากล่าวว่า ทุก ๆ อย่างมีจุดอิ่มตัวเสมอ รวมถึงความรัก แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกคู่จะต้องเจอจุดอิ่มตัว หรือบางคู่อาจจะใช้ระยะเวลานานมาก ๆ กว่าจะเดินมาถึงจุดอิ่มตัว
โรซายส์พบว่า มีผู้ชายคนหนึ่งแต่งงานกับภรรยามา 20 ปี และเมื่อพบหน้ากันก็ยังพบว่าสารโดปามีนก็ยังหลั่งออกมาอยู่เป็นจำนวนมาก พอไปสัมภาษณ์เขาจึงบอกว่ายังรู้สึกตื่นเต้นทุกครั้งที่เจอหน้าภรรยา
แต่คนที่เป็นแบบนี้มีน้อยมาก เพราะส่วนใหญ่โดปามีนจะหยุดหลั่งเป็นเวลา 6 เดือน – 1 ปี เท่านั้น นั่นหมายความว่า เป็นไปได้ที่อาถรรพ์รัก 1 ปี 3 ปี อาจเกี่ยวข้องหรือเชื่อมโยงกับสารตัวนี้
2. เป้าหมายชีวิตที่แตกต่างกัน
จุดมุ่งหมายในชีวิต การให้คุณค่าในสิ่งต่าง ๆ ของแต่ละคนแตกต่าง อย่างเช่น อีกคนอยากเดินทางท่องเที่ยวรอบโลก อีกคนอยากมีลูก ดูแลลูกอยู่ที่บ้าน ถึงจุดหนึ่งเมื่อความต้องการไปคนละทาง ก็คงต้องเลือกเดินไปในทางที่เป็นของตัวเอง
3. ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต
จากสถิติของประเทศเกาหลีใต้ เมื่อปี 2018 พบว่า 60% ของการหย่าร้าง คือ เหตุผลว่า ไลฟ์สไตล์และ นิสัยแตกต่างกัน ชี้ให้เห็นว่าชีวิตคู่ ถึงแม้จะคบกันนานแล้ว เรียนรู้นิสัยกัน แต่หากความชอบ
การใช้ชีวิตไม่เหมือนกัน ก็ไปด้วยกันค่อนข้างยาก อาจจะต้องใช้ความพยายามในการเรียนรู้ ปรับตัว แต่ท้ายที่สุดหากการปรับตัวนั้นทำให้อีกฝ่ายไม่ได้เป็นตัวของตัวเอง ความสัมพันธ์ก็อาจจะต้องสิ้นสุดลง
งานวิจัยจาก Wellesley College in Massachusetts และ The University of Kansas เมื่อปี 2016 ระบุว่า คนที่มีทัศนคติเหมือนกัน จะใช้เวลาร่วมกันมากกว่าคนที่มีทัศนคติแตกต่างกัน งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร
SAGE journals เมื่อปี 2017 ที่ระบุว่า คนที่มีบุคลิกภาพคล้ายกัน เช่น มีความชอบเหมือนกัน หรือ ใช้ภาษาคล้ายกัน มักจะเป็นเพื่อนกัน ส่วนคนที่มีระดับความคล้ายคลึงกันสูงที่สุดมักจะเป็นคู่รักกัน เป็นต้น
4. เรื่องของการนอกใจ
ภาวะอารมณ์จากสถานการณ์นี้เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากและเป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด เพราะมีอีก 1 คนมาอยู่ในความสัมพันธ์ ต่อให้คบกันมานานมากแค่ไหน หรือคบกันไม่นาน เรื่องนี้เป็นสาเหตุทำให้การตัดสินใจ
หรือความสัมพันธ์ไขว้เขวอย่างแน่นอน ส่วนจะเลิกหรือไม่เลิกนั้น ก็แล้วแต่สถานการณ์ของแต่ละคู่ จากงานวิจัยที่ได้จัดทำการสำรวจการนอกใจคู่รักจากทั่วโลก ในปี 2016 ผลปรากฎว่า ประเทศไทยติดอยู่ในอันดับที่หนึ่ง
5. สภาพแวดล้อม และฐานะทางสังคม
ข้อมูลจาก APA สำรวจความเครียดของ ในอเมริกาปี 2014 เกือบหนึ่งในสามของผู้ใหญ่ที่มีคู่ครอง (ร้อยละ 31) รายงานว่าเงินเป็นสาเหตุหลักของความขัดแย้ง ในความสัมพันธ์ของพวกเขา
สำหรับคู่รักส่วนใหญ่ คนหนึ่งอาจทำเงินได้มากกว่าอีกคนหนึ่ง แทนที่จะมองว่าเงินทั้งหมดเป็น “เงินของเรา” แต่ไม่เป็นอย่างนั้น บางคู่คนที่หาเงินเข้ามามากที่สุดอาจรู้สึกว่ามีสิทธิ์พูดมากที่สุด
นอกจากนั้นการที่มีฐานะทางสังคม หรือสภาพแวดล้อมต่างกันมาก ก็ต้องใช้พลังในการปรับตัว ปรับใจ ในการการอยู่ร่วมกัน โดยที่ไม่ทำให้ฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งต้องอึดอัดเช่นกัน
4. ระยะทาง long distance relationship
“ระยะทางนี่แหละที่ทำให้รู้ว่าทั้งสองคนรักกันมากหรือรักกันน้อย” ปัญหาอาจไม่ได้อยู่ที่ระยะทาง แต่อยู่ที่ความรู้สึกของทั้งสองฝ่ายที่มีต่อกันมากกว่า
5. ปัญหาความสัมพันธ์ที่เรื้อรัง
ทุกคู่มีปัญหาเฉพาะตัว ที่แตกต่างกัน แต่อยู่ที่ว่าจะเปิดใจคุยกันมากน้อยแค่ไหน ถ้าปล่อยไว้ ไม่พอใจกันไปเรื่อย ๆ ประชดประชันกันไปเรื่อย ๆ สุดท้ายคงมีจุดที่แตกหักหรือระเบิดจนความสัมพันธ์จบลง
ฟางเส้นสุดท้ายของการ คบกันนานแต่ไปไม่รอด
เพิ่มเติมจากงานวิจัยที่ศึกษาคู่แต่งงานว่า เหตุผลที่เป็น ‘ฟางเส้นสุดท้าย’ ทำให้ตัดสินใจจบความสัมพันธ์ มีอะไรบ้าง แบ่งได้เป็น
1. ความผูกมัด commitment (75.0%)
2. การนอกใจ infidelity (59.6%)
3. ความขัดแย้ง conflict/arguing (57.7%)
4. การใช้สารเสพติด substance abuse (34.6%)
5. ปัญหาความรุนแรง domestic violence (23.5%)
6. อื่น ๆ others (less than 20%)
รักษาความสัมพันธ์อย่างไรให้ยาวนาน?
1. สื่อสาร
ความเข้าใจเกิดขึ้นได้จากการสื่อสารกัน ในทีนี้คือการสื่อสารแบบตรงไปตรงมา เพราะหากเป็นการสื่อสารแบบ Passive ไม่ว่าจะเป็นการงอน แสดงความไม่พอใจแต่ไม่บอกว่าเรื่องอะไร ไปจนถึงการใช้ Silent Treatment คือ การเงียบ เพิกเฉย อาจทำให้ปัญหาก่อตัวในความสัมพันธ์นั้น
2. รักษาตามอาการ
การแก้ไขปัญหาความสัมพันธ์ไม่มีสูตรตายตัว ในปัญหาเดียวกันเป็นไปได้ที่วิธีแก้ไขนี้ใช้ได้กับคู่หนึ่ง อาจใช้ไม่ได้กับคู่หนึ่ง หากตัดสินใจที่จะไปต่อ ก็เป็นเรื่องที่ทั้งสองฝ่ายต้องพูดคุยหาทางออกที่เหมาะสมกับคู่ของตัวเองไปด้วยกัน
3. เติมเต็มความรัก
จากประสบการณ์ของคู่รักที่คบกันนาน 7 ปี 10 ปี หรือมากกว่านั้น ปัญหาหนึ่งคือ ‘ความเบื่อ’ การเติมเต็มความรัก หาอะไรใหม่ ๆ ในความสัมพันธ์เลยเป็นเรื่องจำเป็นเรื่องหนึ่งที่จะช่วยรักษาความสัมพันธ์ได้
4. ความเป็น “ทีม” เดียวกัน
หากเราคิดว่าเราเป็นทีมเดียวกันได้จริง ๆ เราจะคอยช่วยเหลือ จัดการ หลาย ๆ อย่างไปด้วยกัน หากเกิดปัญหาเราก็อยากจะช่วยทีมเราให้อยู่รอด
คบกันนานแต่ไปไม่รอด จะตัดใจอย่างไรดี?
1. หยุดเสียดายเวลาที่ผ่านมา
ส่วนใหญ่คู่รักจะรั้งกันไว้ด้วยคำว่า เสียดายเวลาที่ผ่านมา เสียดายสิ่งที่ทำด้วยกันมา ไม่อยากเริ่มต้นใหม่ แต่การเสียดายเวลาที่ผ่านมา คงดีกว่า เสียดายเวลาที่จะต้องอยู่กับคนที่ไม่ใช่ต่อไปอีก 1 ปี 5 ปี หรือ 10 ปี
2. ยอมรับความจริง
ยอมรับความจริงว่าความสัมพันธ์นี้ไปต่อไม่ได้ ทางออกคือ เริ่มต้นใหม่เท่านั้น แต่คำว่าเริ่มต้นใหม่ อาจจะเป็นการเริ่มต้นชีวิตโสด ชีวิตอิสระ หรือเริ่มต้นชีวิตใหม่ กับคนใหม่ ที่เข้ากันได้มากกว่า
3. ทำกิจกรรม
กิจกรรมที่ทำให้เราโฟกัส อาจทำให้เราลืมความเจ็บปวดไปได้บางเวลา อีกอย่างอาจได้เพื่อนใหม่ ๆ จากการออกไปพบปะกับผู้คนอีกด้วย
4. ยอมรับความคิด ความรู้สึก และอารมณ์ที่เกิดขึ้น
จะไม่แสร้งทำเป็นมีความสุข จะไม่แสร้งทำเป็นทุกข์ จะซื่อตรง การยอมรับกับความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายในใจจะช่วยให้เราค่อย ๆ เห็นตัวเอง เข้าใจ และก้าวผ่านความรู้สึกนั้นได้
ที่มา :
Reasons for Divorce and Recollections of Premarital Intervention: Implications for Improving Relationship Education
8 สิ่งที่จะอธิบายว่า “การอยู่คนเดียว” ทำให้คุณโตขึ้นและแข็งแกร่งขึ้น ได้อย่างรวดเร็ว
26 คืออายุที่เหมาะสมจะแต่งงานที่สุดตามสูตร(รัก)คณิตศาสตร์
Happy couples: How to avoid money arguments
Post Views: 5,170