เศร้าจนรู้สึกไม่อยากจะทำอะไร รู้สึกเหนื่อย หรือยากมาก ๆ ที่จะใช้ชีวิตเหมือนเดิม หรือบางทีเราก็อาจจะงง ๆ ว่า ทำไมเริ่มเป็นคนพลังงานน้อย เพราะป่วยเป็น ซึมเศร้า หรือเปล่า
ทำไม ซึมเศร้า ถึงทำให้เราพลังงานน้อย
อาการซึมเศร้ามักเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมอง เช่น โดปามีน นอร์เอปิเนฟริน และเซโรโทนิน “สารสื่อประสาทเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการควบคุมระดับพลังงาน การนอนหลับ ความอยากอาหาร แรงจูงใจ และ ความสุข”
เมื่อสารในเคมีสมองเราทำงานไม่ปกติก็จะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของเราด้วย จากคนที่เคยเป็นคนที่ร่าเริงแอคทีฟ ก็ไม่สามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้เหมือนเดิมจากที่เคยสามารถออกไปเดินเล่น ไปเที่ยวได้ก็ไม่สามารถทำได้ ทำไปแปปเดียวก็เหนื่อย ไม่อยากทำต่อ รู้สึกไม่สนุกเท่าเดิม
ความแตกต่างระหว่างภาวะ ซึมเศร้า และความเหนื่อยล้า?
พูดให้เข้าใจง่าย ๆ คนที่มีความเหนื่อยล้าเฉย ๆ ต้องการทำสิ่งต่าง ๆ แต่ขาดพลังงานในการทำ ในขณะที่ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าขาดแรงจูงใจในการจะทำ และที่สำคัญคือ ระยะเวลา หากเราเหนื่อยนอนก็จะดีขึ้นและสามารถออกไปทำกิจกรรมได้เช่นเดิม
ภาวะเหนื่อยจาก ซึมเศร้า
เมื่อมีอาการซึมเศร้า ระดับพลังงานของตัวเราก็จะลดน้อยลง และอาการหลายอย่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในตอนที่เป็นซึมเศร้าก็จะปรากฎขึ้น เช่น ความเศร้า ความเหงา อาการเหล่านั้นเหมือนการใช้พลังงานเหมือนกัน
ซึ่งอาจจะทำให้ความเหนื่อยล้าที่มีอยู่แล้วกลายเป็นความรุนแรงเพิ่มขึ้นไปอีกความเหนื่อยล้าเป็นคำที่ใช้อธิบายการขาดพลังงานหรือความรู้สึกเหนื่อยล้า มันต่างจากการรู้สึกง่วงหรือง่วงนอน เมื่อรู้สึกเหนื่อยล้า จะมีอาการเซื่องซึม ซึมเศร้า และไม่มีเรี่ยวแรง
พลังงานน้อยจนรู้สึกง่วงบ่อย ๆ เพราะซึมเศร้า?
อาการซึมเศร้าส่งผลเสียต่อการนอนหลับ ทำให้หลับยากหรือหลับไม่สนิท หรือตื่นเช้าเกินไป ซึ่งศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคได้กล่าวไว้ว่าคนเราควรนอนวันละ 7 ชั่วโมงขึ้นไป
แต่ไม่ใช่การอดนอนที่ทำให้เกิดความเหนื่อยล้าเท่านั้น การนอนเกินเวลาเวลาตื่นมาก็ทำให้เกิดความเหนื่อยล้า และเซื่อมซึมเหมือนกัน อาจทำให้รู้สึกเหนื่อยล้า ความผิดปกติของการนอนหลับประเภทนี้เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ใหญ่ที่สุดของความเหนื่อยล้าในผู้ที่มีอาการซึมเศร้า
จากพลังงานเยอะ เปลี่ยนเป็นพลังงานน้อย
ทำให้เรารู้สึกว่าตัวเราเองไม่มีคุณค่า รู้สึกว่าทำไมตัวเองต้องขี้เกียจ ทำไมการอยากจะลุกออกไปทำอะไร บางอย่างมันยากจัง มันฝืนจัง ซึ่งรู้สึกไม่ชอบตัวเองมาก ๆ
และมองไม่เห็นคุณค่าของตัวเอง จะทำอะไรก็เหนื่อยไปหมดแล้วอีกอย่างคือพอเราไม่มีแรงอยากจะทำอะไร เรารู้สึกเป็นภาระกับคนรอบตัวไปด้วย
ผลกระทบที่แตกต่างของคนที่ พลังงานน้อยเพราะซึมเศร้า
คนที่พลังงานน้อยเฉย ๆ ไม่ได้เกิดจากซึมเศร้า คงไม่ได้รับผลกระทบแบบนี้แน่ ๆ เพราะอย่างที่เราเข้าใจกันคนพลังงานน้อยคือคนที่สามารถทำทุกอย่างได้อย่างปกติ แต่อาจจะทำได้ไม่หลาย ๆ อย่างใน 1 วัน หรือใน 1 ช่วงเวลา แต่คนที่เป็นซึมเศร้าแล้วพลังงานน้อย จะส่งผลดังนี้
ข้อมูลจาก ดร.เอมี่ แคทเธอรีน ริกก์ อาจารย์และผู้เชียวชาญด้าน จิตเวชศาสตร์
- ทางกายภาพ : กิจวัตรประจำวัน เช่น กิน อาบน้ำ แต่งตัว และอื่น ๆ อาจกลายเป็นเรื่องยาก “ร่างกายสามารถรู้สึกอึน ๆ ช้า เนื่องจากภาวะซึมเศร้า” Ricke กล่าว
- ทางด้านสติปัญญา : การโฟกัสยากขึ้น สมาธิมีน้อย และการประมวลผลข้อมูลได้ยาก” ซึ่งแน่นอนว่า การอดนอนอาจส่งผลกระทบเช่นเดียวกัน
- ทางอารมณ์ : “ความเหนื่อยล้าทำให้ยากขึ้นในการกำจัดความคิดและความรู้สึกที่สับสนอยู่แล้ว
อยากเพิ่มพลังตัวเองในขณะที่เป็นซึมเศร้าสามารถทำได้ไหม
1. ทำความเข้าใจ
อย่างแรกเลยเราอาจจะต้องทำความเข้าใจก่อนว่าเรากำลังเป็นซึมเศร้า ที่รู้สึกไม่เหมือนเดิม ขาดแรงจูงใจในการทำสิ่งต่าง ๆ เป็นเพราะสารเคมีในสมองนะ ต้องทำความเข้าใจกับตรงนี้ก่อน และไม่ต้องฝืนและกดดันตัวเองให้กลับมาแอคทีฟ ให้กลับมาแพชชั่นในการใช้ชีวิตเลย
2. ค่อย ๆ ใช้เวลา
ให้เวลากับความรู้สึกทุก ๆ อย่างต้องใช้เวลาจริง ๆ ไม่ใช่พอเราเข้าใจแล้วอีกวันเราจะเปลี่ยนแปลงได้ แต่เราค่อย ๆ ให้เวลาเปลี่ยนเรา ให้เวลาในการรักษา สักวันเราจะต้องกลับมาเป็นคนที่มีแพชชั่นแน่ ๆ
3. ออกกำลังกาย
ถ้าเรามีพลังกาย พลังใจก็ตามมาค่ะ อาจจะไม่ต้องโหมคาดิโอ หรือเวทอะไรให้เหงื่อท่วมตัว อาจจะลองกิจกรรมเล็ก ๆ ให้ได้อออกกำลัง พอเราออกกำลังกายมันทำให้เรามีแรงมากขึ้น การออกกำลังกายช่วยทำให้เราแอคทีฟ
4. กินอาหารที่ดีกับร่างกาย
อาหารปรุงแต่งต่าง ๆ มีวิจัยอ้างอิงว่า อาหารเหล่านั้นเพิ่มความเสี่ยงภาวะซึมเศร้ามากขึ้น
นอกจากนี้มีรายงานที่ระบุว่าในคนไข้กลุ่มเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า ถ้ากินอาหารที่หลากหลาย ลดอาหารที่มีน้ำตาลสูงและอาหารที่เป็น Processed Food แต่หันมากินอาหารสุขภาพ (Healthy Food) ก็จะพบว่ามีอาการดีขึ้น อีกทั้งร่างกายยังตอบรับกับการรักษาดีขึ้นกว่าคนที่กินอาหารขยะ (Junk Food)
อาหารที่มีน้ำตาลสูง น้ำตาลจะไปรบกวนระบบสารสื่อประสาท ถ้าติดน้ำตาลแล้วไม่ได้กินอาหารที่มีน้ำตาลสูง เราก็จะมีภาวะของการซึมเศร้า หรือภาวะหงุดหงิดเมื่อเราไม่ได้กินน้ำตาลตามช่วงเวลาที่เราอยากกิน เมื่อสารสื่อประสาทเปลี่ยนไป ทำให้ฮอร์โมนแห่งความสุขลดลง เรียกภาวะนี้ว่าภาวการณ์ติดหวาน
แม้จะใช้ความหวานทดแทนก็ยังพบว่าในกลุ่มคนไข้ที่ใช้สารให้ความหวานทดแทนไม่ได้ช่วยให้การติดหวานลดลง ก็จะกระทบในเรื่องความไม่สมดุลของสารอาหารที่ได้รับ ซึ่งมีผลต่อภาวะซึมเศร้าอยู่ดี
อ้างอิง
อาหารที่เหมาะสมสำหรับคนเป็นซึมเศร้า
Why depression makes you tired and how to deal with fatigue
Post Views: 1,947