โรคซึมเศร้า โรคที่กำลังมาแรงในช่วงนี้เคยสงสัยกันไหมว่าทำไมปัจจุบันคนเราเข้าถึงภาวะซึมเศร้ากันมากขึ้น โรคซึมเศร้ามีภาวะที่สารสื่อประสาททำงานผิดปกติจึงทำให้รู้เศร้าและรู้สึกไม่มีความสุข
ไร้เรียวแรงที่จะมีชีวิตอยู่ต่อ มีอาการทั้งด้านร่างกาย, จิตใจ
ปัจจัยมีได้หลายทางไม่ว่าจะเป็นทางพันธุกรรม การเลี้ยงดู สภาพแวดล้อม รวมทั้งความเครียดต่อเนื่องกันมานาน ๆ
บทความนี้ Alljit ร่วมกับ คุณรัชดาภรณ์ ศรีวิลัย นักจิตวิทยาคลินิก พูดคุยในทุกประเด็นในเรื่องสุขภาพใจ
เดิมทีโรคซึมเศร้ามีมานานแล้วเพียงแต่วิวัฒนการของเทคโนโลยีทำให้การเข้าถึงข้อมูลของข่าวสารได้ไม่กว้างมากพอ รวมถึงบทความของโรคซึมเศร้า แต่ในปัจจุบันมีการเข้าถึงได้มากขึ้น
วงการสุขภาพจิตก็ให้ความสำคัญโรคซึมเศร้ามากขึ้นมีการเผยแผ่ข้อมูลอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น
มีสถิติของคนป่วยโรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้นเพราะคนเริ่มตระหนักได้ว่ามีสัญญาณบางอย่างในตัวเองที่กำลังบ่งบอกถึงอาการโรคซึมเศร้า
วิธีสังเกตุตัวเองและคนรอบข้างที่เริ่มเข้าสู่ โรคซึมเศร้า
สาเหตุที่พฤติกรรมของคน ๆ นึงเปลี่ยนไปย่อมมีที่มาที่ไป รวมถึงสารสื่อประสาทที่หลั่งออกมาผิดปกติด้วย สังเกตุได้จากพฤติกรรมเดิมที่เคยทำการแสดงออกต่าง ๆ
มีการเปลี่ยนแปลงไปในเชิงลดลงความสนุกสนานเริ่มหายไปรู้สึกอยากอยู่คนเดียวเงียบ ๆ มากขึ้น
ไม่อยากเจอผู้คนเยอะ ๆ แบบเมื่อก่อนค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงจนสังเกตุได้ชัด แม้แต่บางคนที่เข้าสู่กระบวนการรักษาแล้วแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถดีขึ้นอย่างรวดเร็ว
ล้วนใช้เวลาในการรักษาใช้เวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์ที่จะสามารถปรับสมดุลในการรักษา
เป็น โรคซึมเศร้า จำเป็นต้องเศร้าตลอดเวลาหรือเเปล่า?
ความเศร้าสามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่มีเหตุผลในช่วงที่หาสาเหตุไม่เจอ อาจมาจากสารสื่อประสาทที่หลั่งออกมาอย่างรวดเร็วโดยที่เราตั้งตัวไม่ทัน และคนที่เศร้าไม่จำเป็นต้องเศร้าตลอดเวลา
เนื่องจากคนเป็นซึมเศร้ามีภาวะอารมณ์ที่เศร้าอยู่ภายในตัวเองเด่นออกมาแต่ยังสามารถใช้ชีวิตได้ปกติเพียงรู้สึกเหนื่อยใช้พลังมาก ๆ ในการใช้ชีวิต
บางคนเลือกทำร้ายตัวเองเพื่อระบายความเหนื่อยความเจ็บปวดที่อยู่ภายในจิตใจออกมา
คนใกล้ตัวสำคัญกับผู้ป่วย โรคซึมเศร้า มากแค่ไหน?
การดูแลคนเป็นซึมเศร้าคนใกล้ตัวสำคัญมาก ๆ เพราะคนใกล้ตัวคนเป็นซึมเศร้ามักมีมุมมองเข้าใจไปในทิศทางที่ผิดว่าการเจอจิตแพทย์เท่ากับเป็นบ้า จึงทำให้คนที่ป่วยเริ่มถอยห่างจากการรักษา
ถอยห่างจากคนที่มองเขาแบบนั้นไปด้วย การไม่เข้าใจพฤติกรรมในตัวผู้ป่วยตัดสินไปก่อนมักทำให้เขารู้สึกแย่ หากพฤติกรรมบางอย่างของคนไข้ ไม่ว่าจะเป็นเก็บตัว, ทำร้ายตัวเองนั่นเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า
ควรเข้าไปช่วยเหลือเขาเพราะเขารู้สึกอัดอั้นในใจแต่ไม่รู้จะบอกอย่างไร
ญาติควรมีส่วนร่วมในการพาคนไข้ไปรักษา เนื่องจากเวลาส่วนมากคนไข้อยู่กับญาติมากกว่าจึงควรเข้าใจสิ่งที่เขาเจอ พฤติกรรมต่าง ๆ ของเขา
หากผู้ป่วยมีการทำร้ายตัวเองเกิดขึ้นคนใกล้ตัวควรทำอย่างไร?
สามารถถามผู้ป่วยถึงที่มาที่ไปได้ว่าเกิดอะไรขึ้น อยากลองเล่าให้ฟังไหม เขารู้สึกอย่างไร และอยากให้เราช่วยอย่างไรได้บ้าง โดยที่เราไม่จำเป็นต้องคิดวิธีการของตัวเองในการแนะนำเขา
เพราะเขาอาจต้องการแค่ระบายสิ่งที่อยู่ในใจออกมาเท่านั้นเอง
ผู้ป่วยซึมเศร้ามักจะคิดอะไรอยู่?
ค่อนข้างมีความคิดที่หลากหลาย บางคนรู้สึกว่างเปล่าที่แฝงไปด้วยความเหนื่อยบางคนมักรู้สึกว่าการมีชีวิตอยู่นั้นยากมาก ดูไร้จุดหมายไร้ความหวัง รู้สึกเป็นภาระ ไม่อยากโดนคาดหวัง
แต่ความคิดที่อยากฆ่าตัวตายไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้นแล้วจะทำเลย เป็นความคิดที่ค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อรู้สึกไม่ไหวจะนำไปสู่จนขั้นทำร้ายตัวเอง หรืออาจเกิดจากความคิดที่ไม่กลัวความตายจึงทำให้มีความคิดที่ไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อ
ผู้ป่วยซึมเศร้ามักจะไม่กล้ามีความสุข
เมื่อคนเป็นซึมเศร้ามักรู้สึกไม่มีความสุข ไม่ได้เป็นเพราะเขาไม่อยากรู้สึกมีความสุขแต่อย่างใด เพียงกลัวว่าเมื่อรู้สึกมีความสุขแล้วความรู้สึกนั้นจะหายไป รู้สึกว่าไม่สุขดีกว่า
เพราะเมื่อไหร่ที่ความสุขเกิดขึ้นมักจะตามมาด้วยความกลัวหลาย ๆ อย่างจึงไม่อนุญาตให้ตัวเองมีความสุขสักเท่าไหร่
ทำไมผู้ป่วยซึมเศร้าถึงนอนไม่เป็นเวลา นอนเยอะ นอนน้อย นอนหลับยาก?
การนอนยากมาจากความคิด พฤติกรรมบางอย่างที่เข้าไปกระตุ้น รวมถึงสารสื่อประสาทที่หลั่งผิดปกติในช่วงเวลานั้น หรือบางคนอาจรู้สึกว่าไม่อยากตื่นมาเจอกับวันพรุ่งนี้
เพราะการต้องเจอกับวันใหม่เป็นสิ่งที่เหนื่อยมากเลยเลือกที่จะนอนอย่างเดียวไม่ต้องเผชิญกับความเหนื่อยใด ๆ เลย
วิธีทำให้ผู้ป่วยซึมเศร้าหลับง่ายขึ้น
ทางการแพทย์จ่ายยาเพื่อให้การนอนหลับดีขึ้นในทางปฎิบัติสามารถทำได้เองโดย
1. ฝึกสติให้กลับมาอยู่กับร่างกายปัจจุบันขณะ วางความคิดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นลงทำร่างกายให้ค่อย ๆ ผ่อนคลาย
2. จัดสถานที่การนอนให้เหมาะสม แสง สี เสียง กลิ่น ที่ช่วยให้นอนหลับได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
3. งดเล่นโทรศัพท์มือถือก่อนเข้านอนสัก1-2 ชั่วโมง
วิธีรักษาโรคซึมเศร้า
1. ใช้ยา จ่ายยาโดยจิตแพทย์ให้เหมาะสมกับคนไข้
อาการซึมเศร้าจะไปช่วยปรับสารสื่อประสาทในสมองให้กลับสู่สมดุล
2. การทำจิตบำบัด ทำโดยจิตแพทย์, นักบำบัด, นักจิตวิทยาเป็นการรักษาที่มักใช้ควบคู่ไปกับการรักษาด้วยยา ซึ่งการทำจิตบำบัดมีหลายวิธี เช่น การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม
สุดท้ายการทำความเข้าใจต่อโรคซึมเศร้าของคนใกล้ตัวเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่จะเป็นกำลังใจในการมีชีวิตอยู่ต่อ เนื่องจากอาการต่าง ๆ สามารถกลับมาเป็นได้อีกเมื่อต้องพบเจอกับสิ่งเร้า
หรือเรื่องที่มากระทบจิตใจขึ้นอยู่กับว่าผู้ป่วยมีวิธีจัดการกับความรู้สึกต่าง ๆ นั้นได้หรือไม่และหากผู้ป่วยได้รับการรักษาต่อเนื่องอย่างเหมาะสมรวมถึงได้รับความเข้าใจอย่างถูกต้องจากคนใกล้ชิดก็สามารถทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสดีขึ้นได้และสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ
Post Views: 2,764