ฮุกกะ และ ลากอม

ฮุกกะ และ ลากอม เพราะความสุขมีได้หลายรูปแบบ

เรื่องAdminAlljitblog

ใคร ๆ ต่างก็อยากมีความสุข . . แต่ในวันยาก ๆ การมีความสุขอาจไม่ใช่เรื่องง่าย แต่รู้หรือไม่ว่า..

 

ความสุขมีได้หลากหลายรูปแบบ เรียนรู้ได้จากปรัชญาของชาวตะวันตก ฮุกกะ และ ลากอม

 

 

ฮุกกะ และ ลากอม

ฮุกกะ

‘ฮุกกะ’ (Hygge) เป็นภาษาเดนมาร์กที่พจนานุกรมออกซ์ฟอร์ดเลือกให้เป็นคำศัพท์ประจำปี 2016 สะท้อนให้เห็นถึงกระแสความสนใจ ‘ความเป็นฮุกกะ’ จากทั่วโลก

 

แม้ฮุกกะจะเป็นที่รู้จักแพร่หลายไปทั่วโลกว่าเป็นจิตวิญญาณของชาวเดนมาร์ก แต่คำว่า ‘ฮุกกะ’ ไม่ได้มีต้นกำเนิดจากรากศัพท์ในภาษาเดนมาร์กแท้ ๆ

 

แต่เป็นคำในภาษานอร์เวย์โบราณซึ่งมีความหมายว่า “ความเป็นอยู่ที่ดี” คำว่า “ฮุกกะ” ปรากฏตัวครั้งแรกในเดนมาร์ก ผ่านงานเขียนของนักประพันธ์ชาวเดนมาร์กเมื่อราวปลายศตวรรษที่ 18

 

เดนมาร์กมักได้รับการยกย่องให้เป็น มหาอำนาจแห่งความสุข อันดับหนึ่งของโลกในการจัดอันดับของ UN และ OECD

 

ความหมายของฮุกกะในทัศนะของชาวเดนมาร์ก

ฮุกกะ (Hygge) ศิลปะการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขแบบชาวเดนิช

 

ถ้าจะให้คำแปล ‘ ฮุกกะ ’ สั้น ๆ ในภาษาไทย คงหมายถึง ‘ ความสุข ’ หรือ ‘ ความผ่อนคลายสบายใจ ’ เทียบเคียงกับภาษาอังกฤษคำว่า Coziness/Cozy  แต่ก็ยังไม่สามารถครอบคลุมได้หมด

 

โดยฮุกกะ คือ ศิลปะแห่งการสร้างความใกล้ชิดผูกพัน รวมถึงการหาความสุขจากสิ่งรอบตัวในปัจจุบัน

 

ฮุกกะเกี่ยวข้องกับบรรยากาศและประสบการณ์มากกว่าสิ่งของ การได้อยู่กับคนที่เรารัก ความรู้สึกของบ้าน แสงเทียน ในบ้าน ความรู้สึกปลอดภัย

 

บทสนทนาต่อเนื่องไม่จบสิ้นเกี่ยวกับเรื่องเล็กหรือใหญ่ในชีวิต หรือสบายใจเมื่ออยู่เงียบ ๆ ด้วยกัน หรือ กับการดื่มชาสักถ้วยตามลำพัง การกินเค้ก ดื่มกาแฟหอม ๆ 

 

เป็นคำขยายความที่ ไมก์ วิกิง (Meik Wiking) ผู้เขียนกล่าวไว้ ไมก์เป็นผู้อำนวยการสถาบันวิจัยความสุขและตัวแทนนักวิจัยจากเดนมาร์กในสถาบันฐานข้อมูลความสุขโลก

แนวคิดของ ฮุกกะ จากหนังสือ The Little Book of Hygge 

บรรยากาศ

 

บ้าน เนื่องจากประเทศเดนมาร์กถูกปกคลุมไปด้วยความมืดจากฤดูหนาวอันยาวนาน นอกจากไปทำงานแล้ว ชาวเดนมาร์กจึงใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในบ้าน

 

นอกจากนี้ยังมักเชิญเพื่อนฝูงมาสังสรรค์ที่บ้าน เพื่อหลีกเลี่ยงค่าร้านอาหาร ดังนั้นชาวเดนมาร์กจึงใส่ใจกับการตกแต่งบ้าน ไอเทมที่ฮุกกะขาดไปไม่ได้เลย

 

  • เทียนไขและโคมไฟ : หากพูดถึงฮุกกะแล้ว 85% ของชาวเดนมาร์กจะนึกถึงเทียนไขเป็นอันดับแรก รวมถึงแสงจากหลอดไฟ ซึ่งชาวเดนมาร์กมองว่าเป็นศิลปะมากกว่าเป็นเพียงแค่เครื่องมือให้แสงสว่าง จึงใส่ใจกับรูปร่างของโคมไฟและวัตต์ของหลอดไฟมาก ยิ่งแสงสลัวละมุนมากเท่าไหร่ ยิ่งฮุกกะเท่านั้น

 

  •  ฮุกกะโครก์ (มุมโปรด) : หามุมโปรดในบ้านที่คุณมักนั่งคุดคู้ แล้วจัดผ้าห่มไว้สักผืน หมอนอิงสักใบ หนังสือสักเล่ม ชาสักถ้วย จัดแสงให้ละมุนตา ให้มุมนั้นเป็นพื้นที่ปลอดภัยไว้ทิ้งตัวได้ทุกเมื่อ

 

  •  ผลิตภัณฑ์จากไม้และธรรมชาติ : ชาวเดนมาร์กคลั่งไคล้ธรรมชาติถึงขนาดยกทั้งป่ามาไว้ในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นใบไม้ ดอกไม้ กิ่งไม้ หนังสัตว์ถูกนำมาประดับประดาเต็มบ้านเพื่อเติมความสดชื่น

 

  • หนังสือเล่มโปรด : ไม่ว่าจะเป็นหนังสือวิชาการ นวนิยาย นิตยสาร หรือการ์ตูน หนังสือดีๆ สักเล่มช่วยเพิ่มความฮุกกะได้เสมอ

 

นอกจากนี้ยังไอเทมฮุกกะอื่นๆ เช่น ผลิตภัณฑ์เซรามิก, กาน้ำชา, เซตจานชามเข้าชุด, แก้วน้ำลายโปรด, หมอนและผ้าห่มนุ่มนิ่ม, และจดหมายจากคนที่ห่วงใย เป็นต้น

 

ความสุขเล็ก ๆ รอบตัว 

 

อาหารและเครื่องดื่ม ความสุขหาซื้อไม่ได้ แต่เราซื้อของหวานและอาหารอร่อย ๆ ได้ ซึ่งคล้ายคลึงกัน สำหรับเดนมาร์กซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่คลั่งไคล้ขนมหวานมากที่สุด

 

ของหวานเป็นสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวัน ไม่ใช่แค่วันพิเศษหรือ Cheat day ตามออฟฟิศและห้องประชุมจะมีขนมหวานวางไว้เสมอ สำหรับเครื่องดื่มต้องเป็นเครื่องดื่มร้อน

 

โดยเฉพาะกาแฟ คำว่า ‘คาฟฟีฮุกกะ’  อยู่ทั่วทุกหนแห่ง ยังมีคำขวัญที่ว่า “ใช้ชีวิตวันนี้ให้สุด เหมือนวันพรุ่งนี้ไม่มีกาแฟแล้ว” ด้วย กาแฟเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับการทำงาน

 

เราดื่มกาแฟเพื่อจะได้ทำงานได้มากขึ้นหรืออ่านหนังสือโต้รุ้งได้ แต่สำหรับชาวเดนมาร์ก การดื่มกาแฟอุ่น ๆ ท่ามกลางอากาศหนาวถือเป็นความสุนทรีย์ ได้ตื่นตัวเพื่อพบปะเพื่อนฝูงและใช้ชีวิตฮุกกะมากขึ้น

 

 

ให้ความสำคัญกับคนที่รัก

ฮุกกะเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ การได้ใช้เวลา เป็นการสร้างความทรงจำที่ดีและเกิดความฮุกกะ 

  • เท่าเทียม : “เรา” เหนือกว่า “ฉัน” ทุกคนแบ่งเบาภาระและแบ่งเวลาให้กัน เช่น ในช่วงเวลาสังสรรค์ฮุกกะกันที่บ้าน แขกจะนำของกินติดไม้ติดมือมาด้วยเสมอ ทุกคนช่วยกันเข้าครัวทำอาหารแทนที่จะปล่อยให้เจ้าบ้านทำคนเดียวหรือสั่งอาหารมากิน เพราะฮุกกะเป็นเรื่องของการมีประสบการณ์ ‘ร่วมกัน’

 

  • ปรองดอง : ไม่มีการแข่งขัน พูดโอ้อวด หรือฝืนจนไม่เป็นตัวของตัวเอง เพราะเราชอบทุกคนที่มาอยู่ร่วมกัน ณ ที่นี่อยู่แล้ว

 

  • งดดราม่า : หัวข้อที่นำไปสู่ความขัดแย้งได้ง่าย เช่น การเมือง ถือเป็นเรื่องต้องห้ามในช่วงเวลาฮุกกะ

 

ข้อเสีย

สิ่งหนึ่งที่ทำให้ฮุกกะยังมีความฮุกกะคือ การอยู่เป็นกลุ่มเล็ก ๆ เฉพาะคนที่สนิทใจกันเท่านั้น ชาวเดนมาร์กกังวลว่ายิ่งคนมาก ยิ่งฮุกกะน้อยลง

 

จึงเป็นข้อจำกัดของวิถีฮุกกะแบบชาวเดนิชที่เปิดใจรับคนใหม่ ๆ เข้ามายาก แต่หากทะลุกำแพงเข้ามาอยู่ในวงฮุกกะได้แล้ว ก็อาจจะได้เจอมิตรภาพที่ยาวนานตลอดชีวิต 

 

แม้จะเป็นที่ถกเถียงกันว่า สิ่งที่ทำให้ปรัชญาความสุขแบบฮุกกะงอกงามและ ‘ใช้ได้ผล’ ในเดนมาร์ก เป็นเพราะรัฐสวัสดิการที่เป็นเลิศและวัฒนธรรมการทำงานที่ไม่ได้มีการแข่งสูงเท่าประเทศอื่น

 

ลากอม

‘ลากอม’ เป็นภาษาสวีดิช แปลได้หลาย เช่น ความพอดี ความพอประมาณ ความยั่งยืน สังเกตได้ว่าทุกความหมาย ทุกคำที่แปลมาล้วนมีแต่ความหมายเชิง พอดีทั้งนั้น

 

ซึ่งต้นตอมาจากสุภาษิตของสวีเดน “Lagom är bäst เป็นสุภาษิตเก่าแก่ของชาวสวีดิช หมายถึงความพอดีนั้นดีที่สุด

 

และมีอีกความหมายที่เก่ากว่านั้น ว่ากันว่า ‘ลากอม’ มาจากคำพูดของพวกไวกิ้งที่ว่า “Laget om.” หรือ “Around the team.” ซึ่งพวกเขาจะพูดเมื่อส่งเหล้ามให้จิบต่อ ๆ กันไป

 

เป็นการย้ำเตือนให้ดื่มแต่พอดี เพื่อให้เหลือพอสำหรับทุกคนในทีม

 

แนวคิดของลากอม

ในขณะที่ฮุกกะหมายถึงไลฟ์สไตล์การทำอะไรเล็กๆ น้อยๆ เป็นพิเศษ เพื่อสร้างความสุขส่วนตัว แต่ลากอมไม่ใช่ ลากอมคือการไม่ทำเรื่องไม่จำเป็น

 

การไม่ฟุ่มเฟือย ถ้ารู้ว่าเท่านี้คือ พอ จะต้องการมากขึ้นอีกทำไม

 

‘Not too little, not too much. Just right.’

‘ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป พอดีๆ’

หรือ “ไม่มาก ไม่น้อยเกินไป ไม่มีใครดีเด่นกว่าคนอื่นแต่พวกเราทุกคนเด่นไปพร้อมๆกัน”

 

จะเอาแนวคิด ลากอม ไปปรับใช้ได้ยังไง

  • เรื่องของเสื้อผ้าที่ใส่ใจนำสิ่งที่มีไปปรับซ่อมแซมเพื่อยืดระยะเวลาของใช้งาน ไม่ต้องซื้อใหม่ อันนี้ดีมากเพราะจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันนี้เรารณรงค์เรื่องของ Fast Fashion มันสำคัญและจำเป็น เพราะทำให้โลกร้อน และเกิดขยะกับโรคด้วย การซื้อมือสองหรือยืดระยะสิ่งของถ้าอันไหนทำได้เป็นสิ่งที่ดีต่อโลกมาก ๆ 

 

  • ความพอดี ที่ไม่ต้องแข่งขัน ขกยกตัวอย่าง ของบทความลากอมของ Potancial ที่ชอบมากและอยากแชร์ เรื่องของการทำงาน เขาบอกว่า ลากอมอะไม่่ได้ปฏิเสธเรื่องของการแข่งขันนะ แต่เขาแข่งที่จำเป็น ที่สุขภาพเขาไหว คิดในมุมกลับกันว่า ถ้าเราทำงานน้อยลง ได้เงินน้อยลงด้วย แต่เราได้สุขภาพที่ดีคืนมา พร้อมลดความเครียดคลายความกดดันลงไป มีเวลาเพิ่มขึ้น เราจะโอเครึป่าว? ไม่มีคำตอบไหนที่ถูกต้อง เพราะมันขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละคน 

 

  • สภาพของบ้านเมืองสวีเดน สะท้อนถึงสถาปัตยกรรมที่ดูเรียบง่าย ไม่หรูหราชวนประหม่าหรือเกรงใจการที่จะเข้าไป

 

  • งานสังคมจะชวนเพื่อน ๆ มาทำกินกันที่บ้าน ไม่ได้จัดของหรูหราดูแพง เพราะมีความกังวลว่าแขกที่มาจะเก้อเขิน และเขาจะมีการคิดเผื่อล่วงหน้าว่าถ้าอีกฝั่งเป็นคนชวนบ้างละจะกังวลใจหรือเปล่าถ้าจัดไม่หรูพอ เลยจัดแบบไม่ฟุมเฟือย

 

ข้อเสีย

ไม่ใช่ว่าคนจะเห็นชอบกับ (การใช้ชีวิต) แบบเป็นกลางไปทั้งหมด ชาวสวีดิชบางส่วนก็เห็นว่า ลากอม คือหนทางสุดโต่งอีกด้านหนึ่ง ที่นำสังคมไปสู่ภาวะที่ทุกคน ‘ลอยตัวเหนือปัญหา’

 

ไม่เผชิญหน้า ไม่ขัดแย้ง และพยายามเป็นกลางมากเกินไปเห็นได้จากสถานการณ์ทางการเมืองของสวีเดน ที่มักมีการหลบเลี่ยงการเผชิญหน้ากันระหว่างฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา

 

ทำให้ไม่ได้ข้อสรุปที่แน่ชัด ไม่มีการตัดสินอย่างเด็ดขาด เป็นอีกด้านที่ถูกนำเสนอเพื่อค้านกระแสไลฟ์สไตล์แบบลากอม เป็นธรรมดาโลกที่เมื่อเกิดกระแสนิยมในสิ่งใดอย่างท่วมท้น

 

ในไม่ช้าย่อมมีกระแสเห็นต่างสิ่งนั้นตามมาและแท้ที่จริง หากเปรียบลากอมเป็นเหรียญ ลากอมอาจไม่ใช่ด้านใดด้านหนึ่งของเหรียญ แต่เป็นด้านที่อยู่ตรงกลางระหว่างเหรียญสองด้านนั้น

 

สังเกตว่าข้อดีที่ลากอมกล่าวออกไปและการที่ประเทศเขาติด TOP ความสุข มันไม่ใช่แค่แนวคิดที่ผู้คนทำ แต่เขามีสิ่งที่เอื้อกับชีวิตเขาด้วยคือ สวัสดิการของรัฐ ที่บ้านของเราอาจไม่ได้เท่ากับ

 

เขาทำให้ในบางอย่างแนวคิด ความพอดีบางอันเราก็อาจจะสามารถทำได้และทำไม่ได้ ต้องลองปรับใช้กัน 😊

 

 

ที่มา

สรุปหนังสือ The Little Book of Hygge : ฮุกกะ ปรัชญาความสุขฉบับเดนมาร์ก

ลากอม (Lagom): ความพอดีแบบสวีเดนที่มาแตะไหล่ให้เราพอใจกับสิ่งที่มี

Move Over Hygge: Why Lagom Is The Scandinavian Lifestyle Concept We Really Need

The Swedish philosophy of lagom: how “just enough” is all you need