ฝันร้าย

เรื่องของความฝัน เมื่อ “ฝันร้าย” รบกวนจิตใจ

เรื่องAdminAlljitblog

ฝันร้าย เป็นสิ่งที่รบกวนจิตใจของเรามากกว่าที่คิด เคยไหมที่รู้สึกไม่อยากเข้านอนเพราะฝันร้าย 

 

แล้วฝันร้ายถือเป็นโรคหรือไม่ เกิดจากอะไร และมีวิธีไหนบ้างไหมที่เราจะเปลี่ยนฝันร้ายให้กลายเป็นดี  Alljit Podcast

 

 

ความฝันเกิดขึ้นได้อย่างไร

 

ตอนที่ร่างกายกำลังนอนหลับพักผ่อน มีส่วนหนึ่งของร่างกายที่ไม่ได้หลับไปด้วยนั้นก็คือ  ‘สมอง’ สมองส่วนในการรักษาข้อมูลความจำ ส่งข้อมูลในรูปคลื่นสมองไปยังสมองใหญ่

 

ในตอนที่กำลังนอนหลับ เรามีการฝันตลอดเวลา เพราะสมองยังคงมีการทำงานอยู่ตลอดแต่เราจำได้บ้าง หรือไม่ได้บ้างเท่านั้นเอง

 

โดยเฉลี่ยแล้วแต่ละคืนเราอาจฝันได้มากถึง 4-5 เรื่อง แต่เรามักจะจำความฝันได้ไม่หมดทุกเรื่อง มักจะจำเรื่องสุดท้ายที่ฝันได้เพราะเป็นช่วยใกล้จะตื่นมากที่สุด

 

บางคนฝันเป็นภาพสี บางคนอาจฝันเป็นภาพขาวดำ โดยทฤษฎีแล้วไม่ได้มีความแตกต่างกัน

 

ทฤษฎี ซิกมันด์ ฟรอยด์ บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ความฝันเป็นความปรารถนาในจิตใจของมนุษย์ มักจะเกิดขึ้นเป็นเรื่องราวที่คนเราอยากจะทำเป็นอย่างมาก แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่สามารถทำได้

 

ฝันเป็นห้วงเวลาตอนที่เราหลับปล่อยให้ร่างกายมันวางอยู่ อะไรที่ฝังอยู่จะออกมาโลดแล่นในความฝัน รู้ตัวบ้างไม่รู้ตัวบ้าง สะท้อนออกมาจากจิตใต้สำนึก เรื่องกังวล เรื่องที่เราโฟกัสกับมัน

 

และมีอีกหนึ่งทฤษฎี คาล ยุง เป็นนักจิตวิทยาที่ได้รับอิทธิพลมาจาก ซิกมันด์ ฟรอยด์ อีกที ซึ่งทฤษฎีของ คาล ยุง มีความคล้ายกับของ ซิกมันด์ ฟรอยด์ ความฝันเติมเต็มปารถนาที่ขาดหายไปจากชีวิต เพื่อให้เกิดภาวะทางจิตใจที่สมบูรณ์

 

เพราะอะไรถึง ฝันร้าย

 

  • ฝันร้ายเพราะปัญหาสุขภาพ

 

มีเหตุผลทางการแพทย์หลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับการฝันร้ายบ่อยขึ้น เช่นเดียวกับปัญหาการนอนหลับโดยทั่วไป ฝันร้ายถูกพบว่าเกิดขึ้นร่วมกับโรคต่าง ๆ

 

เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ มะเร็ง โรคพาร์กินสัน และอาการปวดเรื้อรัง ถ้าร่างกายเจ็บปวดก็มักจะเกิดความฝันร้ายเกิดขึ้น เรียกว่า Fever Dream

 

ไข้และความเจ็บป่วยสามารถเพิ่มความไม่มั่นคงทางอารมณ์และเพิ่มความไวต่อความคิดเชิงลบ อาจเป็นเหตุผลว่าทำไมความฝันที่มีไข้ส่วนใหญ่จึงเป็นไปในทางลบและน่ากลัว 

 

  • ฝันร้ายเพราะสารเสพติด 

 

การใช้ยาไม่ว่าจะเป็นยารักษาโรค หรือ สารเสพติด ก็ส่งผลต่อการทำงานของระบบประสาทสมอง

 

  • ฝันร้ายเพราะภาวะความเครียด วิตกกังวล 

 

ดร. ซินเธีย บริก กล่าวว่า ฝันร้ายเกิดจากความเครียด แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่น่าหนักใจ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ ช่วงที่ใกล้สอบหรือต้องทำอะไรที่ต้องใช้ความคิดมาก ๆ

 

แล้วกดดันจะสังเกตว่าช่วงนั้นตอนนอนจะฝันร้าย ทางเว็บ Psychcen บอกว่าสาเหตุที่ทำให้ความเครียดกลายเป็นฝันร้าย

 

-ความเครียดในจิตใจ เราคิดอะไรเยอะ ๆ มักเป็นเบื้องหลังของความฝัน

-การนอนที่ไม่เป็นรูทีน การตื่นกลางดึก เพราะความเครียด

– กลุ่มคนที่อยู่กับโรควิตกกังวลมี % ที่จะฝันร้ายมากกว่าคนปกติ

 

  • ฝันร้ายเพราะเจอเรื่องกระทบจิตใจอย่างรุนแรง

 

Barrett ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาคลินิก กล่าวว่า ในฝันร้ายหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ พื้นที่ของสมองที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมความกลัว เป็นโครงสร้างที่อยู่ลึกเข้าไปในสมอง

 

ซึ่งทำงานเพื่อระบุภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น อาจทำงานมากเกินไปหรือไวเกินไป จึงเกิด “ฝันร้ายหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ”  “ซึ่งมันอาจไม่แตกต่างกับการย้อนเวลาในตอนกลางวันที่ผู้ประสบกับฝันร้ายกำลังประสบอยู่”

 

  • ฝันร้ายเพราะกินเยอะ 

 

การรับประทานอาหารก่อนนอนส่งผลให้การทำงานของระบบเมตาบอลิซึมเพิ่มขึ้น ระบบเมตาบอลิซึมก็คือ ระบบที่ร่างกายใช้เผาพลาญแคลอรี่ อีกทั้งยังส่งสัญญาณให้สมองตื่นตัวมากกว่าเดิม

 

ในแพทย์แผนจีนจะพูดถึงม้ามไม่แข็งแรง ถ้าหากรับประทานอาหารจะทำให้ท้องอืด ลมตีขึ้นกระทบหัวใจ ทำให้นอนไม่หลับ และฝันร้าย

 

การรับประทานอาหารหนัก ๆ โดยเฉพาะอาหารประเภทไขมัน อาหารที่มีรสจัด รวมถึงอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตมาก เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เรานอนไม่หลับ เลยเถิดไปจนถึงเกิดฝันร้ายอยู่บ่อย ๆ ด้วย

 

ทั้งนี้จากผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ The Mind and Body ยังชี้ให้เห็นว่า การรับประทานอาหารขยะที่อุดมไปด้วยน้ำตาล เช่น ไอศกรีม ลูกอม ลูกกวาด

 

จะยิ่งกระตุ้นให้เกิดคลื่นสมองขณะนอนหลับ และอาจส่งผลให้กลุ่มทดลอง 7 ใน 10 คนฝันร้ายตอนนอนด้วย ซึ่งนอกจากนี้ ผลการวิจัยยังเตือนว่า

 

หากเข้านอนในขณะที่อิ่มจัดก็อาจกระตุ้นให้คลื่นสมองทำงานและก่อฝันร้ายได้เช่นกัน

 

  • ฝันร้ายเป็นเรื่องปกติไหม 

 

ข้อมูลจากเว็บไซต์  Sleep foundation เป็นเรื่องปกติที่ทั้งเด็กและผู้ใหญ่จะมีฝันร้ายและฝันร้ายเป็นครั้งคราว การศึกษาพบว่า 47% ของนักเรียนฝันร้ายอย่างน้อย 1 ครั้งในช่วงเวลาสองอาทิตย์

 

ถึงแม้การฝันร้ายในผู้ใหญ่จะเกิดได้น้อยกว่าง่าย ๆ ก็คือ ฝันร้ายมักพบบ่อยในเด็กและวัยรุ่น โดยมีอัตราความถี่ที่ลดลงเมื่ออายุมากขึ้น ฝันร้ายอาจพบบ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึงสองเท่า

 

 

โรคฝันร้าย

โรคฝันร้ายเกิดขึ้นเมื่อคน ๆ หนึ่งฝันร้ายบ่อยจนรบกวนการนอน อารมณ์ หรือการทำงานในเวลากลางวัน เป็นโรคเกี่ยวกับการนอนหลับที่เรียกว่า Parasomnia รวมถึงพฤติกรรมที่ผิดปกติหลายประเภทในระหว่างการนอนหลับ

 

  • Nightmare Disorder หรือ ฝันร้าย เกิดในช่วง REM จำความฝันได้ พบบ่อยในเด็ก มักเกิดหลังมีความกดดันด้านจิตใจ ไม่มีการรักษาจำเพาะ

 

  • Sleep Terror Disorder พบบ่อยในเด็ก ผู้ป่วยสะดุ้งตื่น ผวา กรีดร้องเสียงดัง ท่าทางหวาดประหวั่น มีการทำงานของ autonomic nervous system สูง เกิดในการนอน stage 4 เมื่อตื่นจะจำเหตุการณ์ไม่ได้

 

  • Sleep Walking Disorder หรือ Somnambulism พบบ่อยในเด็กมักหายเมื่อโตขึ้น พบร่วมกับ Night terrors ได้บ่อย เกิดใน Stage 4 เช่นกัน ผู้ป่วยลุกขึ้นเดินโดยรู้ตัวไม่เต็มที่ เมื่อตื่นจะจำเหตุการณ์ไม่ได้ การรักษา เหมือนกับใน night terrors คือให้ imipramine หรือ benzodiazepine ขนาดต่ำ

 

ข้อสังเกต คือ คนที่ฝันร้ายเป็นครั้งคราวไม่ได้เป็นโรคฝันร้าย ความผิดปกติของฝันร้าย ฝันร้ายที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ซึ่งนำมาซึ่งความทุกข์ใจในชีวิตประจำวัน

 

 

ไม่อยากฝันร้าย เราสามารถควบคุมความฝันได้ไหม

 

Lucid dream หรือก็คือ การควบคุม ความฝัน หรือการรู้ตัวว่าเออเรากำลังฝันอยู่ แล้วเรารู้ว่าเรากำลังฝัน รับรู้ได้ทั้งความรู้สึก ความคิด และอารมณ์ระหว่างที่ฝัน

 

แถมบางครั้งยังสามารถควบคุมฝันของตัวเองได้ด้วย ควบคุมในรูปแบบเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนเรื่อง หรือเปลี่ยนคนที่กำลังเดินอยู่รอบ ๆ ได้ถึงจะไม่ใช่เรื่องง่ายแต่เป็นสิ่งที่สามารถฝึกฝนได้

 

ขณะที่เรากำลังฝัน ร่างกายจะถูกหยุดนิ่งไม่เหมือนเป็นอัมพาต เพื่อป้องกันไม่ให้เราทำให้ตัวเราเจ็บในขณะฝัน แต่กล้ามเนื้อตายังสามารถทำงานได้ปกติ 

 

ที่เรารู้สึกเหมือนขยับไม่ได้เพราะ ช่วงหลับฝันจะเริ่มขึ้นเมื่อเกิดการส่งสัญญาณจากส่วนก้านสมองไปยังสมองส่วนธาลามัส เพื่อถ่ายทอดสัญญาณดังกล่าวไปยังชั้นสมองส่วนนอกที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเรียนรู้

 

กระบวนการคิด และการจัดการข้อมูล ขณะที่เซลล์สมองส่งสัญญาณ ร่างกายจะหยุดการทำงานของเซลล์ประสาทตรงไขสันหลัง ส่งผลให้กล้ามเนื้อแขนขาขยับไม่ได้ชั่วขณะ

 

หากบางสิ่งเข้ามากระทบกระบวนการนี้ ร่างกายจะเกิดปฏิกิริยาตอบโต้ออกมานอกฝัน 

 

 

ช่วงเวลาของการหลับฝัน 

 

ช่วงเวลาการนอนของเราจะมี 2 ช่วง การนอนที่ดีควรให้ 2 ช่วงนี้สลับกันไปมา แต่คนเรามักจะฝันในช่วงของ REM

 

Non REM Sleep

เป็นการนอนหลับที่ดวงตาจะไม่ขยับ และถูกแบ่งเป็น 3 ระยะ

 

ระยะ 1 ระหว่างการนอนหลับในระยะนี้ ร่างกายยังคงทำงานอยู่ จะยังไม่ได้เข้าสู่ขั้นของการพักผ่อนอย่างเต็มที่ แต่การทำงานของร่างกายจะค่อย ๆ ทำงานช้าลง หรือจะมีอาการกระตุก

 

ระยะ 2 ร่างกายจะเข้าสู่สภาวะสงบนิ่งมากขึ้น รวมทั้งอุณหภูมิลดลง กล้ามเนื้อผ่อนคลายคนส่วนใหญ่มักจะอยู่ในระยะนี้

 

ระยะ 3 คือระยะที่เราหลับลึก ไม่ฝัน ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าในระยะนี้มีความสำคัญต่อการนอนหลับพักผ่อน จะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัว เสริมระบบภูมิคุ้มกัน และกระบวนการทางร่างกายที่สำคัญอื่น ๆ 

 

 

REM sleep  Rapid eye movement 

การนอนหลับในช่วงนี้จะมีการเคลื่อนไหวไปมาของตาอย่างรวดเร็ว สมองจะทำงานใกล้เคียงกับตอนตื่น การนอนหลับในช่วงนี้จะช่วยเรื่องความทรงจำ การเรียนรู้ การสร้างจินตนาการ

 

และเป็นช่วงที่กล้ามเนื้อต่าง ๆ ของร่างกาย หยุดทำงานหมดยกเว้น หัวใจ กระบังลม กล้ามเนื้อตาและกล้ามเนื้อเรียบ ซึ่งเป็นช่วงที่ฝันเป็นเรื่องเป็นราว

 

โดยการนอนแบบนี้จะเกิดขึ้นในช่วงหลังของการนอนเป็นเหตุให้ฝันบ่อยๆในช่วงเช้ามืด

 

มีงานวิจัยอื่น ๆ พบว่าการนอนหลับ REM Sleep อาจช่วยให้ผู้คนฟื้นตัวจากเหตุการณ์ที่ตึงเครียด หรือเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ สามารถช่วยลดโอกาสที่จะเกิดโรคเครียดหรืออาการซึมเศร้าได้

 

หลีกเลี่ยงการฝันร้ายให้กลายเป็นดีด้วยนิสัยการนอนหลับ

1. สร้างนิสัยการนอนที่ดีด้วยการ กำหนดตารางเวลานอน เข้านอนในเวลาที่เราแพลนไว้  และอีกทริคคือพยายามไม่งีบระหว่างวันถ้างีบหลับจะทำให้บางทีเราเกิดการนอนหลับยากจะทำให้เวลานอนเราไม่เป็นรูทีน

 

2. การออกกำลังกาย ตั้งใจออกกำลังกายวันละ 20 ถึง 30 นาที การออกกำลังกายทุกวันจะช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น จากการศึกษาวิจัยบางรายงานบันทึกว่า การออกกำลังกายก่อนนอนอาจมีผลเสีย

 

เพื่อประโยชน์สูงสุดให้ออกกำลังกายประมาณห้าถึงหกชั่วโมงก่อนเข้านอน และรองลงมาอย่างน้อย 3 ชั่วโมงก่อนเข้านอน ซึ่งจะถือเป็นช่วงเวลาที่รบกวนการนอนหลับได้อย่างมีประสิทธิภาพตามลำดับ

 

3. หลีกเลี่ยงคาเฟอีนนิโคตินและแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนซึ่งเป็นตัวกระตุ้น

 

4. พักผ่อนก่อนนอน การอาบน้ำอุ่นการอ่านหนังสือหรือกิจวัตรการผ่อนคลายอื่น ๆ จะทำให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น

 

5. ลดความครียด วิตกกังวล ก่อนนอน อาจจะหาอะไรที่ชอบดูเพื่อให้สมองเราได้รับการรีแลกซ์ก่อนนอน

 

6. ควบคุมอุณหภูมิห้อง สร้างสภาพแวดล้อมที่ดี รักษาอุณหภูมิที่สะดวกสบายในห้องนอน กลิ่น ผ้าปู หมอนก็เป็นส่วนที่สำคัญในการนอน

 

7. พบแพทย์หากปัญหาการนอนหลับรบกวนการดำเนินชีวิตปกติประจำวัน และมีผลต่อการทำงาน

 

 

ฝันร้ายมีข้อดีอยู่บ้างหรือไม่ 

ฝันร้ายอาจไม่ใช่สัญญาณที่ไม่ดีเสมอไปและจริงๆแล้วอาจเป็นสัญญาณที่ดีด้วยซ้ำจากรายงานของบีบีซีนิวส์ไทยแลนด์ทีมนักประสาทวิทยาจากมหาวิทยาลัยเจนีวาในสวิตเซอร์แลนด์

 

มหาวิทยาลัยวิสคอนซินในสหรัฐอเมริกาศึกษาว่าสมองตอบสนองต่อความฝันประเภทต่าง ๆ และพบว่าความรู้สึกกลัวที่เกิดขึ้นในความฝันอาจช่วยให้สมองมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

ในการตอบสนองต่อความกลัวง่ายง่ายคือฝันร้ายของเราคือความพยายามของสมองในการแก้ไขความเครียดความขัดแย้งทางอารมณ์หรือบาดแผลทางจิตใจของเรา

 

แม้ว่าสาเหตุที่เราฝันยังไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจน แต่ความฝันไม่ได้มีขึ้นมาเฉย ๆ เพราะการที่เราฝันขณะนอนหลับเป็นการช่วยปลอบประโลมจิตใจราวกับได้ทำการบำบัดจิตด้วยตัวเองอย่างที่เราคาดไม่ถึง

 

ที่มา

ความผิดปกติด้านการนอน (Sleep Disorders)

What Are Fever Dreams

Nightmares

Nightmares and the Brain

Understanding the Cause of Stress Dreams