ใครเป็นบ้าง? ดูคลิปสัตว์แล้วมีความสุข

ใครเป็นบ้าง? ดูคลิปสัตว์แล้วมีความสุข

เรื่องAdminAlljitblog

ดูคลิปสัตว์แล้วรู้สึกมีความสุข เพราะอะไรการดูคลิปสัตว์หรือการเลี้ยงสัตว์ถึงทำให้รู้สึกมีความสุข ? สัตว์เลี้ยงสามารถฮีลใจในทางจิตวิทยาได้หรือไม่ ?

 

 

ดูคลิปสัตว์แล้วมีความสุข เมื่อคลิปสัตว์เยียวยาหัวใจ

ช่วงประมาณกลาง ๆ เดือนที่แล้วเวลาเล่นโซเชียลปฏิสธไม่ได้เลยว่ากระแสของ ‘น้องจุ๊มเหม่ง’ มาแรงจริง ๆ  การดูคลิปสัตว์สามารถช่วยฮีลใจเราได้จริง ๆ คุณแป้นพูดตอนสัมภาษณ์ในรายการ

 

ไว้ว่า “ดีใจมากๆที่คลิปของจุ๊มเหม่งช่วยเยียวยาจิตใจคน ทำให้คนหัวเราะได้ ยิ้มได้ แค่นี้มันที่สุดแล้ว” คุณแป้นยังบอกอีกว่า “เด็กๆ เขาเกิดมาบนโลกใบนี้เพื่อสร้างเสียงหัวเราะให้กับโลกนี้อยู่แล้ว”

 

 

เพราะอะไรถึง ดูคลิปสัตว์แล้วมีความสุข

1. ความน่ารัก

ความน่ารักคือความดึงดูด นักสัตวิทยาชาวออสเตรีย ได้เสนอแนวคิดชื่อว่า Kinder Schema  เพื่ออธิบาย ‘ความน่ารัก’ ว่าเกิดจาก ‘ลักษณะของความเป็นทารก’ สัตว์ที่มีลักษณะคล้ายทารก

 

จะมีส่วนให้สิ่งมีชีวิตนั้นดูน่ารัก เกิดความรู้สึกดีที่ได้มอง มีแรงดึงดูดให้อยากดูแลปกป้อง ยิ่งเหมือนทารก ยิ่งน่ารัก ยากจะหักห้ามใจได้ ไม่แปลกเลยที่เราจะหลง อยากเหมาอาหารมาให้

2.สัญชาตญานของมนุษย์

มีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์เหมือนกันว่าที่เรารู้สึกมีความสุข เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามสัญชาตญานของคน เริ่มจากสมองกลีบหน้าผากส่วนหน้า จะทำงานโดยอัตโนมัติให้เรารู้สึก

 

อยาก ปกป้อง เลี้ยงดู สิ่งนั้น ๆ ส่วนที่สองคือ Nucleus Accumbens เป็นส่วนหนึ่งของสมองที่เชื่อมโยงกับการให้รางวัล ความพึงพอใจ และการเสพติด จะปล่อยสารเคมีที่ชื่อ

 

‘โดปามีน’ ซึ่งเป็นสารเดียวกับที่ร่างกายได้รับเมื่อตกหลุมรัก มีเซ็กส์ ใช้ยาเสพติด ซึ่งช่วยให้เรารู้สึกดีและมีความสุข นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมเราจึงชอบคลิปสัตว์น่ารัก ๆ บนโซเชียล

3.ช่วยเปลี่ยนโฟกัส

ช่วยดึงเราออกมาจากความเครียดไปในช่วงเวลานึง เมื่อเปลี่ยนโฟกัสมาที่น้อง ๆ ก็จะช่วยให้ความเครียดคลายลงได้  ถ้าอยากจะลองหาคลิปสัตว์มาดู

 

เพื่อคลายเครียด ขอแนะนำ “ควอกกา”  จิงโจ้เเคระ จุดเด่น คือ น้องจะมีหน้าที่เหมือนยิ้มตลอดเวลา เลยถูกเรียกว่า ‘สัตว์ที่มีความสุขที่สุดในโลก’

4. ความหมั่นเขี้ยว

ความหมั่นเขี้ยว หรือ Cute aggression อยากฟัดพุงหมาแมว หอมให้แก้มบี้  เชื่อว่าทุกคนอาจเคยทำกับสัตว์เลี้ยงของตัวเอง พฤติกรรมเหล่านี้เรียกว่า ความหมั่นเขี้ยว อาการมันเขี้ยวเป็นอาการแบบ

 

‘Dimorphous expression’ เป็นพฤติกรรมการแสดงออกที่ไม่ตรงกับความรู้สึกภายใน เหมือนกับคนที่ร้องไห้เพราะดีใจ หรือคนที่หลุดหัวเราะออกมาตอนที่กำลังโมโห เป็นสัญชาตญานของมนุษย์

 

 

สัตว์เลี้ยงกับสุขภาพจิต

นอกจากการดูคลิปสัตว์โลกต่าง ๆ ช่วยฮีลจิตใจเราได้  ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่เรียกว่า  ‘Pet therapy’  หรือ ‘สัตว์เลี้ยงบำบัด’ เป็นการใช้สัตว์เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถรับมือและฟื้นตัวจากปัญหาทางสุขภาพ

 

การบำบัดด้วยสัตว์สร้างขึ้นจากแนวคิดที่เรียกว่า ความผูกพันระหว่างมนุษย์กับสัตว์  (Human-animal bond)  การมีปฏิสัมพันธ์กับสัตว์เลี้ยงที่น่ารักและเป็นมิตร จะสร้างสภาวะสงบภายในตัวบุคคล

 

ลดความเครียด ลดความกังวลและซึมเศร้าได้ Pet Therapy ส่วนใหญ่จะถูกนำเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการเสริมการรักษา รวมถึงช่วยควบคุมพฤติกรรม ทำให้การรักษาหลักมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

 

ดูคลิปสัตว์แล้วมีความสุข ยังมีผลดีอะไรอีกบ้าง?

1. ลดความกังวลและความเครียด

2. ช่วยเรื่องการเคลื่อนไหวผ่านการทำกิจกรรม เช่น เดินเล่น ว่ายน้ำ

3. ให้ความเป็นเพื่อน ลดความเหงา 

4. เพิ่มปฏิสัมพันธ์ทางสังคม

5. ปรับปรุงอารมณ์ให้มีความสมดุลมากขึ้น เพิ่มแรงจูงใจและโฟกัส

6. ลดการรับรู้ความเจ็บปวด

 

 

อยากเลี้ยงสัตว์สักตัวบ้าง ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง?

การตัดสินใจรับน้อง ๆ มาเลี้ยง ต้องมีการคิดและวางแผนอย่างรอบคอบ ความพร้อมที่ว่ามาจากหลายปัจจัย ได้แก่

1. ศึกษาธรรมชาติของสัตว์

เราต้องศึกษาธรรมชาติของสัตว์แต่ละชนิด รวมถึงสายพันธุ์ที่เราจะเลี้ยงให้ดี  พิจารณาร่วมกับธรรมชาติของเราด้วย เช่น เราเป็นคนพลังงานน้อย การที่จะเลี้ยงไซบีเรียนอาจจะไม่เหมาะ 

2. สภาพแวดล้อม

สัตว์บางชนิดต้องการพื้นที่สำหรับการวิ่งเล่น ยิ่งกับสุนัขที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ 

3. ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยง

โดยส่วนใหญ่แล้วจะมี ค่าอาหาร ค่าอุปกรณ์ ค่าฉีดวัคซีน ค่าถ่ายพยาธิ ค่ารักษาหากเกิดอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย

4. ความรับผิดชอบต่อสัตว์และผู้อื่น

ความรับผิดชอบต่อสัตว์เลี้ยง เช่น มีเวลาดูแล ความรับผิดชอบต่อผู้อื่นก็สำคัญ เช่น ถ้าเราเลี้ยงสัตว์มีเสียง สัตว์เลี้ยงเราอาจจะสร้างความรบกวนกับคนอื่นๆ ได้

 

 

ในเวลาเศร้า ๆ น้องหมาน้องแมวเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ช่วยทุกคนได้แน่นอน แต่อย่าลืมดูแลน้องดี ๆ นะคะ 🙂 ติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่นี่ Alljit Blog – สุขภาพจิตใจเราช่วยได้

 

 

ที่มา :

วิทยาศาสตร์ว่าด้วยความน่ารัก

What to know about animal therapy