ให้อภัย

การ ให้อภัย คนที่เคยใจร้ายกับเรา ไม่ใช่เพื่อเขา แต่ทำเพื่อให้ใจเราเบาขึ้น

เรื่องAdminAlljitblog

เราจะ ให้อภัย คนที่ใจร้ายกับเราได้อย่างไร? ในเมื่อสิ่งที่เขาทำกับเราไม่ใช่สิ่งที่จะลืมกันได้ง่าย ๆ

 

ในบทความนี้ Alljit ร่วมกับคุณวันเฉลิม คงคาหลวง (นักจิตวิทยาการปรึกษา) เจ้าของแฟนเพจ Trust.นักจิตวิทยาการปรึกษา ที่จะมาแบ่งปันและแนะนำวิธีให้อภัยคนที่ใจร้ายกับเรา เพื่อที่เราจะได้รู้สึกเบาลง

 

การให้อภัยคนที่เคยทำไม่ดีกับเรา เพื่อให้ใจของเราเบาขึ้น 

เราสามารถ ให้อภัย คนที่เคยทำไม่ดีกับเราได้อย่างไรบ้าง 

การให้อภัยหลาย ๆ คนมักเข้าใจว่าการที่เราไม่รู้สึกอะไรแล้ว ไม่โกรธเขาแล้วแล้วสามารถทำตัวให้ปกติได้ แต่จริง ๆ แล้วการให้อภัยคือการปลดล็อคความโกรธของเรา ความอคติในสิ่งที่เขาทำต่อเรา ออกไปจากตัวเรา

 

เราสามารถให้อภัยอย่างถูกวิธีได้ด้วยสิ่งต่อไปนี้

แบบอย่างที่ถูกต้องของการ “ให้อภัย”

การปลดเปลื้องความรู้สึก ปลดความรู้สึกที่เป็นภาระในใจ ความโกรธ ความเจ็บปวด ความอคติ ต่อสิ่งที่เขาทำการที่เราเอาความรู้สึกนี้ออกไปจากใจเราคือแบบอย่างที่ถูกต้องในการให้อภัย

 

แต่ไม่ได้หมายความว่าเมื่อเราไม่ได้ถือโทษโกรธอีกฝ่ายแล้ว จะสามารถทำให้ทุกอย่างกลับมาเป็นแบบเดิมได้ในความสัมพันธ์ เมื่ออีกฝ่ายทำเราเจ็บจะทำให้เรามีบทเรียนในเรื่องนั้น ๆ

 

เราต้องไม่เปิดโอกาสที่จะทำให้เขาเข้ามาทำให้เราเจ็บในเรื่องเดิม ๆ

 

เพราะฉะนั้น การที่เราปลดเปลื้องความรู้สึกโกรธ เสียใจจากเขา เราต้องไม่ลืมในสิ่งที่เขาทำให้เราเจ็บปวด เพื่อที่เราจะได้ไม่เปิดโอกาสให้เขากลับมาทำร้ายเราซ้ำ ๆ เช่นกัน 

เราสามารถ ให้อภัย เขาได้อย่างไร

ลองตั้งคำถามกับตัวเองว่าทำไมเราถึงอยากให้อภัยเขา การที่เราเลือกที่จะให้อภัยเขาเพื่ออยากให้ใจเบาผ่านการให้อภัย เราต้องดูด้วยว่าเราอยากให้ใจเราเบาจริง ๆ หรือเปล่า หรือเรายังอยากให้ความรู้สึกหนักใจยังโอบอุ้มอยู่กับเรา

 

หมายความว่าถ้าเรายังไม่พร้อมที่จะให้อภัยเขา ยังอยากที่จะโอบอุ้มความโกรธ ความเจ็บใจ เราไม่ต้องรีบเร่งที่จะให้อภัยเขา

 

เพราะคล้ายเหมือนกับว่าเรากำลังหลอกตัวเองว่าเราอยากปลดปล่อยความรู้สึกโกรธแต่จริง ๆ แล้วในใจของเรายังมีความโกรธแค้นต่อเขาอยู่ ซึ่งนั้นคือข้อควรระวังในการให้อภัย 

สิ่งที่ต้องยอมรับสำหรับการเริ่ม ให้อภัย

เรามีสิทธิที่จะเจ็บปวดกับความรู้สึกที่ถูกกระทำ ลองให้ตัวเราเองได้อยู่กับความรู้สึกที่ถูกกระทำ พอเรารู้สึกว่าตัวเราโกรธจนอยู่ในจุดที่เต็มที่

 

จุดที่ทำให้เรารู้สึกโกรธไปแล้วได้ตั้งคำถามกับตัวเราเองว่าได้อะไรกลับมาจากการโกรธ ตัวเราอยากให้อภัยแก่คนที่ทำให้เราเจ็บหรือยัง

 

เราลองมาเราตั้งคำถามว่าตัวเองว่าอยากให้อภัยเขาเพื่อให้ใจเราเบาจริง ๆ ไหม ถ้าคำตอบของเราคือ ‘ใช่’ เวลาที่เรารับอะไรสักอย่างมา เช่น ความเจ็บปวด ความแค้น ความรู้สึกที่คนนั้นทำให้เราเจ็บ เราสามารถรับได้ไหม

 

บางทีตัวเราอาจจะไม่ได้รู้สึกโกรธแล้วแต่เป็นความรู้สึกอคติต่อคนที่ทำกับเราแทนมาบดบังความรู้สึกโกรธของเราจนหมด สองสิ่งนั้นคือสิ่งที่เราต้องยอมรับสำหรับการที่เราจะเริ่มให้อภัยแก่เขาให้ได้

 

เพราะถ้าเราไม่สามารถยอมรับได้เราจะไม่สามารถปล่อยความรู้สึกนี้ออกไปได้จริง ๆ

 

แต่ถ้าเมื่อใดที่เราสามารถยอมรับได้ว่าเรารู้สึกไม่โอเค เกลียด หรือรู้สึกทางลบ เราไม่จำเป็นที่จะต้องมองโลกในแง่บวกให้เขา หรือหาเหตุผลเพื่อสนับสนุนเขาว่าเขาไม่ตั้งใจหรอก เพราะนั้นคือการเลี่ยงที่จะทำให้เรายอมรับกับความรู้สึกของเรา 

ไม่ควรตัดสินเขาทั้งหมดจากความรู้สึกที่ “เขาทำให้เราโกรธ”

สิ่งที่เขาทำกับเราอาจจะไม่ใช่ทั้งหมดในชีวิตของเขา คนเรามีข้อดีและข้อเสียเช่นกัน การกระทำของเขาที่ทำให้เราไม่ชอบไม่สามารถตัดสินการใช้ชีวิตของเขาได้ทั้งหมด

 

เราต้องสามารถยอมรับสิ่งลบ ๆ ที่เขาทำกับเราโดยที่ไม่ตัดสินเขาจากพฤติกรรมของเขาเพียงอย่างเดียว 

การที่เราจะให้อภัยใครสักคนที่ทำให้เราเจ็บปวด 

อย่างแรกเราต้องถามตัวเองก่อนว่าเราพร้อมไหม ถ้าไม่พร้อมเราสามารถอยู่กับความเจ็บปวดนั้นได้ก่อนจนกว่าจะถึงจุดที่เราอยากให้อภัยเขา เมื่อเราให้อภัยเขาแล้วเราก็ต้องไม่เปิดโอกาสให้เขากลับมาทำให้เราเจ็บปวดในเรื่องเดิม ๆ

 

ไม่งั้นเราจะโทษตัวเองหรือลดคุณค่าในตัวเองว่าเราไม่น่าให้อภัยเขาเลย เรียนรู้การให้อภัยคนอื่นเพื่อให้เราเบาใจและปกป้องตัวเองเราไม่ให้เจ็บปวดซ้ำ ๆ กับเรื่องเดิม

Related Posts