หมดไฟในการทำงาน

หมดไฟในการทำงาน ไม่ใช่โรคซึมเศร้า ทำความรู้จัก “ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout Syndrome)”

เรื่องAdminAlljitblog

ทุกคนเคยรู้สึก หมดไฟในการทำงาน ไหมคะ? รู้สึกว่าไม่อยากทำงานเลย เหมือนการไปทำงานดูดพลังเราออกไปเรื่อย ๆ แล้วถ้าเกิดความรู้สึกแบบนี้ขึ้น เราจะมีวิธีจัดการกับตัวเองอย่างไรบ้าง?

 

บทความนี้ Alljit ร่วมกับ คุณรัชดาภรณ์ ศรีวิลัย นักจิตวิทยาคลินิก พูดคุยในทุกประเด็นในเรื่องสุขภาพใจ

อีกหนึ่งอาการที่ถูกพูดถึงในหมู่คนในวัยทำงานและวัยเรียน ภาวะหมดไฟในการทำงาน นอกจากโรคซึมเศร้าแล้วภาวะหมดไฟในการทำงานได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโรคใหม่ในองค์การอนามัยโลก

 

โดยเป็นโรคที่เกิดจากมีความเครียดเรื้อรังจากสถานที่ทำงานที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์เฉพาะทางไม่เช่นนั้นอาจจะส่งผลต่อการทำงานได้

อาการ หมดไฟในการทำงาน เป็นยังไง?

สารบัญ

อาการหมดไฟ เป็นเรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรถูกมองข้ามเป็นภาวะทางอารมณ์ที่อ่อนล้า รู้สึกว่าทำงานหนักเกินไป มากเกินไป แบกงานไว้กับตัวเองมานานเกินไป

 

และทำอยู่อย่างนั้นเป็นระยะเวลานาน ทำให้เรารู้สึกหมดพลัง หมดแรงจูงใจในการทำงาน และเริ่มการมองความสามารถของตนเองในทางที่ไม่ดี 

สัญญาณบ่งบอกว่าเรา หมดไฟในการทำงาน ?

เริ่มมองจาก 3 สัญญาณหลัก ๆ โดยอาการทั้งหมดเหล่านี้จะมาร่วมกันเข้าสู่ สภาวะหมดไฟ

1. เริ่มไม่อยากตื่นไปทำงาน รู้สึกอ่อนเพลีย อ่อนแรง เวลาทำงานก็อยากพักผ่อนตลอดเวลา

2. ทัศนคติต่อการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป เริ่มรู้สึกว่า ไม่ว่าจะทำยังไงก็ทำงานได้ไม่ดีสักที เริ่มจะลดคุณค่าและศักยภาพในการทำงานของตัวเองว่า เราทำงานในส่วนนี้ไม่ได้หรอก ทำไม่ได้ ทำไม่ไหว 

3. ประสิทธิภาพการทำงานเริ่มลดลง รวมไปถึงประสิทธิภาพกับเพื่อนร่วมงาน และองค์กรการทำงานลดลง 

ความเครียดแตกต่างกับภาวะ หมดไฟในการทำงาน อย่างไร?

ความเครียดและสภาวะหมดไฟมีความเกี่ยวเนื่องกัน หากว่าเราเกิดความเครียดที่สะสมจากการทำงานบ่อย ๆ จะสามารถไปสู่ภาวะหมดไฟได้

สาเหตุของการหมดไฟในการทำงาน?

สาเหตุอาการหมดไฟในการทำงานมีด้วยหลายสาเหตุ แล้วแต่ปัญหาที่เผชิญในแต่ละบุคคล บางคนอาจจะมาจากเนื้องานที่เริ่มรู้สึกว่าเราไม่สะสมกับการทำงานตรงนี้ จากเพื่อนร่วมงานและรวมไปถึงหัวหน้างาน

หมดไฟกับการทำงาน VS ขี้เกียจ เราจะแยกอย่างไรดี?

อาการขี้เกียจ หมายถึง เราไม่อยากจะทำงานตรงนั้นแต่ความรู้สึกอื่น ๆ นั้นยังอยู่ ยังไม่รู้สึกหมดพลังแต่รู้สึกขี้เกียจที่จะทำส่วนนี้ ตรงนี้ของการทำงาน

 

อาการหมดไฟในการทำงาน หมายถึง ความรู้สึกข้างในมันอ่อนล้ามาก ๆ ไม่อยากทำอะไรเลยในสิ่งที่เผชิญ ไม่ใช่แค่การทำงานที่เกิดภาวะหมดไฟได้ แต่ในเรื่องความสัมพันธ์ถ้าเราอยู่กับคนที่ทำให้เราหมดพลังงาน มอบ

 

แต่พลังงานด้านลบให้แก่เรา ก็จะทำให้เรารู้สึกเหนื่อยที่จะพูดคุยหรืออยู่ใกล้เขาได้เช่นกัน

ถ้าเราปล่อยให้ตัวเอง Burnout จะเป็นอย่างไร?

จะสามารถเห็นได้ชัดในด้านร่างกาย จากเป็นคนที่ทำอะไรกระฉับกระเฉงก็จะเริ่มเคลื่อนไหวช้าลง เริ่มทำอะไรเอื่อยเฉื่อย ปวดหัวไมเกรน ปวดกระบอกตา สืบเนื่องมาจากภาวะความเครียด

 

ปวดเมื่อยตามร่างกาย มีการผิดสรีระทางร่ายกาย บางคนมาทางลำไส้ อาการหมดไฟค่อนข้างส่งผลกระทบต่อร่างกาย 

 

ด้านจิตใจ จะรู้สึกท้อแท้ หมดหวังกับการทำงาน เริ่มแผ่ความเครียดไปเรื่อย ๆ ลามไปถึงความสัมพันธ์กับคนรอบข้างดูลบไปหมดเลย เริ่มกระทบปัญหาการนอนหลับภาวะหมดไฟสามารถนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้เช่นกัน

คนที่เป็นซึมเศร้ามีโอกาสที่จะเป็น Brunout มากกว่าคนปกติไหม?

ส่วนใหญ่แล้วคนที่มีภาวะซึมเศร้าจะรู้สึกว่าการไปทำงานมันลำบากอยู่แล้ว ส่วนใหญ่จะมีอาการเหนื่อยและหมดพลังงานมากกว่าปกติเพราะจากอาการที่เป็นซึมเศร้าอยู่ก่อนแล้วด้วย

สัญญาณเตือน เมื่อตัวเองเริ่มเข้าสู่ภาวะ Brunout

-ตรวจสอบในเรื่องอารมณ์ของตัวเองว่าตัวเราคิดถึงที่ทำงาน เราเริ่มรู้สึกหดหู่กับตัวเองหรือเปล่า

-เริ่มรู้สึกทำไมต้องตื่นไปทำงานด้วย

-หงุดหงิดใจกับตัวเองเวลาทำงาน 

-ตื่นเช้ามาแล้วเริ่มรู้สึกป่วยจิตป่วยใจ 

-เวลาไปทำงานร่วมกับคนอื่นแล้วรู้สึกหงุดหงิดกับคนที่ทำงาน

-เริ่มหนีปัญหาในที่ทำงาน หนีงานในต้องได้รับผิดชอบ

-เริ่มสงสัยและลดความสามารถของตัวเอง

ซึ่งอาการข้างต้นเหล่านี้ อยากชวนให้มาตรวจสอบตัวเองว่าเราเริ่มมีความคิดแบบนี้หรือเปล่า

วิธีจัดการกับตัวเอง ก่อนเข้าสู่ภาวะ Brunout

เราไม่ควรปล่อยให้ตัวเองเข้าสู่ภาวะหมดไฟ อยากให้ลองเช็คตัวเองก่อนว่าเราเข้าภาวะหมดไฟหรือยัง เพราะการทำงานเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตของเรา ถ้าเราเริ่มหมดไฟจะส่งผลกระทบต่อการทำงาน พอส่งผลกระทบต่อการ

 

ทำงานก็จะเริ่มทำให้เราโดนตำหนิ และขาดรายได้ในการทำงาน มีหนี้สิน การป้องกันก่อนจะสู้ภาวะหมดไฟ

 

1. กลับไปดูแลสุขภาพกายตัวเอง เริ่มสังเกตว่างานเริ่มเข้าไปกัดกินเวลาการใช้ชีวิต การนอนหลับพักผ่อน เวลาการดูแลสุขภาพร่างกายตัวเองหรือเปล่า งานแบบไหนที่มีโอกาสเสี่ยงเป็น Brunout

2. กลับไปดูแลสุขภาพจิตใจ ทำงานในเฉพาะเวลาที่ทำงาน อย่าทำงานในช่วงเวลาเลิกงาน หรือเวลาพักผ่อน 

3. เวลาที่เราหยุดทำงานควรให้เวลากับคนรอบข้างออกไปทำกิจกรรม เพื่อให้ตัวเราได้ผ่อนคลาย ให้เวลากับครอบครัว สัตว์เลี้ยง หรือดูหนัง 

4. ดูแลทัศนคติของตัวเอง อย่าปล่อยให้ตัวเองยึดติดกับการทำงานที่เกินความสามารถตัวเองมากเกินไป เราสามารถปล่อยวางให้คนอื่นเข้ามาช่วยเหลือในส่วนที่เราทำไม่ได้หรือเกินความสามารถ อย่าฝืนทำงานในส่วนที่เราทำไม่ได้

5. จัดลำดับความสำคัญของการทำงาน งานไหนที่ทำให้เรารู้สึกชาร์ตพลัง ให้เราทำงานส่วนนั้นเป็นอันดับแรก เพื่อเป็นการประหยัดพลังงานของเราในการทำงาน

งานแบบไหนที่มีโอกาสเสี่ยงเป็น Brunout

แต่ละคนชอบงานแตกต่างกัน ทุกงานสามารถมีโอกาสเสี่ยงมีภาวะหมดไฟได้ ไม่ว่าจะลูกน้องหรือหัวหน้างานก็สามารถเผชิญเข้าสู่ภาวะหมดไฟ

ถ้าเรารู้ตัวว่าเรามีอาการรุนแรงแล้ว ควรไปพบแพทย์เลยหรือเปล่า?

ถ้าเราเริ่มจับสัญญาณตัวเองว่าเราเริ่มเข้าสู่ภาวะหมดไฟแล้ว เริ่มไม่ไหวกับหน้าที่การทำงานที่เราทำอยู่ อาการของเรากระทบต่อความสามารถในการทำงาน ทำให้ทำงานได้น้อยลงและเริ่มตำหนิตัวเอง ถ้าเรามีอาการที่

 

กล่าวไปข้างต้นอย่าปล่อยให้ตัวเองรู้สึกถึงอาการเหล่านี้แบบมากเกินไป เราสามารถเข้าพบผู้เชี่ยวชาญได้เลย

ถ้าทำแบบประเมินภาวะหมดไฟในการทำงานของ App Alljit แล้วเราควรจะทำอย่างไรดี?

ในแบบประเมินของ Alljit นอกจากบอกค่าคะแนนแล้วยังบอกคำแนะนำด้วย ถ้าเราเริ่มปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแอปพลิเคชั่นของ Alljit แล้วยังไม่ดีขึ้นควรไปขอพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อได้รับคำแนะนำ

 

ถ้าหากว่าเรากำลังสงสัยตัวเองอยู่ว่าเรากำลังขี้เกียจทำงาน หรือเรากำลังเข้าสู่ภาวะหมดไฟ เราสามารถตรวจสอบตัวเองตามสัญญาณของภาวะหมดไฟ ถ้าเรารับรู้ว่าเรากำลังเริ่มเข้าสู่ภาวะหมดไฟ เราสามารถหาวิธีป้องกัน

 

ตัวเอง แต่ถ้าเราป้องกันตัวเองหรือดูแลตัวเองแล้วแต่ยังไม่ดีขึ้น เราควรที่จะไปพบจิตแพทย์ นักจิตบำบัดเพื่อรับคำแนะนำ

Related Posts