ฝืนเข้าสังคม

ฝืนเข้าสังคม ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้ เหนื่อยจังเลย

เรื่องAdminAlljitblog

พลังงานน้อย เพราะ ฝืนเข้าสังคม ฝืนแอคทีฟ เวลาเข้าสังคม กินข้าว สังสรรค์กับเพื่อนเราควรทำอย่างไรดี? ถ้าเรารู้สึกการออกจากบ้านทีไรเราหมดแรงทุกทีเลย บางทีก็ต้องไปแต่ฝืนที่ไป

 

ฝืนเข้าสังคม

ไม่เข้าสังคมได้ไหม? 

มนุษย์เป็นสัตว์สังคมการที่จะไม่เข้าสังคมเลยเป็นไปได้ยาก เช่น การทำงาน การเรียน ถึงจะไม่ชอบเข้าสังคม แต่ถ้าถามว่าไม่เข้าสังคมได้ไหม? คงต้องบอกว่าเป็นไปได้ยาก

 

เพราะการเข้าสังคมเป็นเรื่องทั่วไปในชีวิตประจำวันที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะทำอะไร แทบทุกอย่างจะต้องพบปะผู้คน เช่น การทำงาน ที่จะต้องติดต่อพูดคุยกันเยอะ ๆ ต้องคุยงานกันเป็นทีม 

 

แต่ในปัจจุบันนี้รูปแบบการทำงานได้มีการเปลี่ยนแปลงไป เช่น บางบริษัทมีการทำงานรูปแบบ Work From Home การไม่เข้าสังคมมันสามารถเป็นไปได้ แต่เป็นไปได้ยากมาก ๆ ที่จะไม่เข้า

 

การที่เรา Work From Home ไปนาน ๆ ก็ทำให้ Skill ในการเข้าสังคมของมนุษย์ลดลงเหมือนกัน จากที่เคยเป็นคนกล้าแสดงออกอาจจะเป็นคนปิดบังตัวตน

 

จากที่เคยกระตือรือร้นกลายเป็นเอื่อยเฉื่อย แล้วมันส่งผลกระทบกับความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดด้วย

 

ฝืนเข้าสังคม ทั้งที่ไม่ได้อยากเข้า?

ฝืนทำกิจกรรมที่คนรอบตัวทำ เช่น กิจกรรมมหาลัย หรือเพื่อนในกลุ่มไปกินข้าวกันแต่เราไม่อยากไป ทุกครั้งที่ตกลงไปทั้งที่ไม่อยากไป จะต้องเจอกับความกังวลก่อนไปอย่างหนัก

 

เพราะเราจินตนาการไปแล้วว่าต้องเหนื่อย ต้องอึดอัด ต้องทำตัวไม่ถูกแน่เลย 

 

สถานการณ์อะไรหลาย ๆ อย่างเข้ามากระทบ เช่น โควิด ทำให้ไม่ชินกับการออกไปข้างนอกเยอะ ๆ การสื่อสารให้คนรอบข้างรู้ว่าเราไม่โอเคก็สำคัญเหมือนกัน

ประสบการณ์ประมาณนี้ เรียกว่า Peer Pressure 

Peer Pressure คือ อิทธิพลจากคนรอบข้าง ในทางจิตวิทยา อิทธิพลนี้จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น พฤติกรรม ทัศนคติ ความเชื่อ อย่างถ้ารู้ดีว่าตัวเองไม่ได้อยากไป

 

แต่ไปเพราะเพื่อนไปกันหมด นี่แหละ คือ Peer Pressure 

 

การโดนแบน จากการไม่ปรับตัวเข้ากับสังคม 

กิจกรรมละลายพฤติกรรมในมหาลัย มีกิจกรรมต่าง ๆ ที่เราต้องเข้าร่วมเพื่อให้ผ่านชั่วโมงกิจกรรม แล้วกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องเข้าร่วมทำให้รู้สึกไม่ Comfort ทำด้วยความฝืนใจล้วน ๆ ไม่โดนแบน แต่โดนมองว่าแปลกแยก

 

สาเหตุ ที่ทำให้ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้

1. Social Anxiety

คนที่เป็น Social Anxiety Disorder หรือโรคกลัวสังคมแล้ว การปฏิสัมพันธ์กับคนทุกรูปแบบจะยากไปหมด 

 

2. Low self-esteem 

พอเราไม่มีความมั่นใจ ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง มันทำให้เรากลัวการที่จะเข้าสังคมพบปะกับคนใหม่ ๆ 

3. ประสบการณ์ที่ทำให้เกิดบาดแผลในจิตใจ

ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ต้องเจอกับสภาพแวดล้อมใหม่

 

4. บุคลิกภาพ Introvert เก็บตัวมากเกินไป 

มี Introvert บางส่วนที่เก็บตัวมากเกินไปจริง แต่มี Introvert บางส่วนเหมือนกันที่เข้าสังคมเก่ง ทำให้เห็นว่า

 

เป็น Introvert ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ชอบยุ่งกับใคร เขาอยู่กับคนอื่นได้ อยู่ได้ดีด้วย แต่มีลิมิต ต้องมีเวลาส่วนตัวด้วยเท่านั้นเอง 

ผลกระทบ ฝืนเข้าสังคม

1. ฝืนเข้าสังคม ส่งผลกระทบอะไรบ้าง

กระทบกับสุขภาพจิตได้ ถ้ารู้สึกว่าสังคมนั้นไม่ใช่เซฟโซนแล้วต้องฝืนบ่อย ๆ เพราะมันสูบพลังงานพลังชีวิต ลองนึกว่าเราต้องฝืนทำอะไรสักอย่างที่ไม่ใช่ตัวของเราเลย

 

เช่น ฝืนกินของที่ไม่ชอบ ฝืนดูสิ่งที่ไม่ชอบเรายังรู้สึกไม่ดีเลย แล้วเป็นการฝืนเข้าสังคมที่ค่อนข้างต้องใช้พลังงานในการพูดคุย หรือแสดงสีหน้าต่าง ๆ อาจจะทำให้วันนั้นเป็นวันที่ไม่ดีสำหรับเราไปเลยก็ได้

 

2. เข้ากับสังคมไม่ได้ ส่งผลกระทบอะไรบ้าง

ไม่มีคอนเนคชัน อ้างอิงจากโพสต์จากเพจ psyche.tourlife ที่จะมาพูดคุยใน Alljit Podcast ด้วย ข้อนึงที่สำคัญเลยคือ “อย่ามองข้ามคอนเนคชัน”

 

เพราะคอนเนคชั่นนำไปสู่โอกาสมากมายจริง ๆ โอกาสที่จะได้เรียนรู้หรือได้ทำงานในสายที่สนใจ พยายามคนเดียวก็สำเร็จได้แต่ถ้ามี คอนเนคชัน อาจจะทำให้สำเร็จได้มากกว่า

 

มีปัญหาความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง คนภายนอกอาจจะเข้าใจผิดได้ว่าเราแยกตัว เพราะเราไม่ชอบเขา เราไม่โอเคกับเขาหรือเปล่า อันนี้อาจจะต้องสื่อสารกับคนรอบข้างให้เข้าใจด้วยว่าเราแค่รู้สึกไม่สบายใจที่จะอยู่ตรงนั้น

 

เพราะเราเหนื่อยเท่านั้นเอง ไม่ต้องฝืนตัวเองเพื่อให้คนอื่นสบายใจ อยู่กับตัวเองจนกว่าจะพร้อมแล้วค่อย ๆ พาตัวเองออกไปทีละนิดดีกว่า

 

วิธีรับมือ ถ้าจำเป็นต้องเข้าสังคม

ข้อมูลที่น่าสนใจจากเว็บไซต์ WebMD ว่าเราจะ Make friends ได้โดยการ..

  1. ยิ้มแย้ม แสดงท่าทีที่เป็นมิตร 
  2. เริ่มบทสนทนา ลองถามและเป็นผู้ฟังที่ดี
  3. สลับกันแชร์เรื่องราวทั่วไปให้ได้รู้จักกันมากขึ้น 

นอกจากมี DOs แล้ว DONTs ที่ในบทความพูดถึงก็น่าสนใจเหมือนกัน เช่น อย่าพยายามเปลี่ยนแปลงตัวเอง เพราะนี่คือการ ฝืน นอกจากจะทำให้เหนื่อย

 

ยังทำให้คนรอบข้างรู้สึกว่าเราไม่จริงใจกับเขาด้วยถ้าเราอยู่ในสถานการณ์ที่อีกฝ่ายฝืน มันสามารถแสดงออกทางสายตา กิริยาท่าทางได้ 

 

แต่ถ้าในกรณีที่เรารู้ว่าเราไม่อยากเข้าสังคมนี้ สังคมนี้ไม่ใช่เซฟโซน วิธีคือทบทวนตัวเอง ถ้าแน่ใจแล้วให้ทำตามที่ใจตัวเองต้องการ ไม่อยากอยู่ก็ไม่ต้องอยู่

 

แต่ในบางสถานการณ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จะให้กำลังใจตัวเองว่า “รออีกนิด เดี๋ยวจะผ่านไปแล้ว” เพราะในบางครั้ง เราอาจจะทุกข์ซะจนลืมไปว่าเดี๋ยวเวลาผ่านไปทุกอย่างจะผ่านไปเช่นกัน

 

ยอมรับว่าในบางจุดของชีวิตมีเรื่องที่ต้องฝืนจิตฝืนใจกันบ้าง

 

รับมือกับสายตาคนนอกที่ไม่เข้าใจ

คนนอกที่ไม่เข้าใจบางทีเขาอาจจมองเราแบบนั้นไปแล้ว มองว่าเราดูไม่เข้ากลุ่มกับคนอื่น ๆ โดยคิดเหตุผลไปแล้ว ถ้ากรณีนี้ไม่ต้องเหนื่อยที่จะต้องอธิบายหรือชี้แจ้งที่ตัวตนของเราเป็นเลย

 

เพราะคนที่เขาอยากทำความรู้จัก Make friends กับเรา เขาจะเข้ามาถามและเราจะสัมผัสได้ถึงความรู้สึกเหล่านั้นโดยทันที

 

สำหรับคนที่ชอบเข้าสังคม แล้วได้รับสิ่งดี ๆ จากการอยู่กับคนอื่น อาจจะสงสัยว่าทำไมไม่อยากเข้าสังคม หรือถ้าอีกแง่หนึ่งคืออย่างเราไม่เข้ากลุ่ม อาจจะทำให้ถูกมองว่า เราแปลกแยก

 

เข้าใจว่าเรื่องแบบนี้ยากที่จะไม่เก็บมาคิด เรื่องนี้คือการที่เรากำลังแคร์สายและความคิดของคนอื่นมากเกินไป เราต้องเตือนตัวเองว่า ไม่มีใครสนใจเราขนาดนั้นหรอก

 

ซึ่งในทางจิตวิทยาคนมักจะรู้สึกว่าตัวเองถูกจับจ้อง เรียกว่า Imaginary Audience ทำให้เราเกิดความกลัว ว่าเราทำอะไรบางอย่างแล้วจะถูกมองถูกตัดสิน แต่ความจริงคือทุกคนสนใจแต่ตัวเอง

 

ไม่มีใครใช้เวลาในการจับผิดคนอื่นอยู่แล้ว การเตือนตัวเองเลยทำให้มิ้นสบายใจขึ้น ไม่โฟกัสไม่จมอยู่แต่กับความกลัวนั้น 

 

How to Make New Friends