อกหัก

ความรู้สึกเมื่อ อกหัก ทำไมมันเจ็บจริง ๆ เหมือนเจ็บทางกาย

เรื่องAdminAlljitblog

ว่าด้วยเรื่อง ” อกหัก ” หลายคนกินข้าวไม่ลง นอนไม่หลับ ฟังเพลงเศร้าแล้วร้องไห้ ใครเคยอกหักอาจจะได้ผ่านช่วงเวลาเหล่านี้ แล้วทำไมอกหักถึงเจ็บขนาดนี้ ?

 

อกหัก ทำไมมันเจ็บจริง ๆ เหมือนเจ็บทางกาย

เพราะอะไร อกหัก ถึงทำให้รู้สึกเจ็บ?

มีความเกี่ยวข้องและเป็นเรื่องของร่างกาย ไม่ใช่เรื่องแปลก อกหักเป็นเรื่องของความรัก แต่เจ็บที่บริเวณอก เป็นไปได้เพราะสมองมีส่วนที่ดูแลและรับรู้ความเจ็บปวด จะแบ่งได้เป็น 2 อย่าง

 

1. Physical Pain 

แผลทางกาย มีดบาด ปวดขา ปวดหลัง

2. Social Pain

การถูกพลัดพราก โดนทิ้ง อกหัก ผิดหวัง โดนหักหลัง

 

 

ซึ่งการโดนกระทำสร้างความเจ็บปวดให้ แต่เจ็บตรงนี้คือเจ็บที่ความรู้สึก เจ็บที่ใจ หรือบางคนออกทางร่างกาย เพราะสมองมีการทำงาน overlap กัน มีจุดที่ทำงานเชื่อมกันอยู่ระหว่างความเจ็บปวด 2 แบบ

 

ส่วนนั้นมีตัวย่อคือ dAcc เป็นเปลือกสมองที่ดูแลเรื่องความเจ็บปวด เลยเป็นเหตุให้เวลาอกหัก นอกจากจะเป๋ ร้องไห้ อารมณ์ท่วมท้น จะยังมีเรื่องของความเจ็บปวดทางกายเพิ่มขึ้นมาด้วย

 

บางคนร้องไห้จนจะตาย บางคนร้องไห้เหมือนหัวจะระเบิด จากที่เคยฟังมา เพราะเวลาร้องไห้ จะมีฮอร์โมนกระตุ้นอยู่เรื่อย ๆ จึงเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้อกหักเจ็บจริง ๆ

 

 

อกหัก ทำให้อยากจบชีวิตตัวเอง จริงไหม?

เกี่ยวข้อง การฆ่าตัวตาย ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่เขาไม่ได้รู้สึกถึงความสัมพันธ์ เช่น เหตุที่ทำให้เสี่ยงจะเกิดการฆ่าตัวตายมากขึ้น คือ เขาให้คนรักทุกอย่างที่มี เขาไม่มีคนอื่นแล้ว ครอบครัวไม่ได้อยู่ในสายตา

 

วันหนึ่งเลิกกัน นั่นคือการถูกตัดขาดโดยสมบูรณ์ connectness หายที่เรียกว่า ” thwarted belongingness ” thwarted เหมือนการที่ขาดหรือไร้ซึ่งอะไรบางอย่าง belongingness คือความรู้สึกเป็นของผู้อื่น

 

ซึ่งการไม่มีความรู้สึกนั้น เป็นจุดสำคัญมาก เพราะว่าคนที่มีโอกาสฆ่าตัวตาย เพราะเขาหาที่พึ่งทางใจไม่เจอ เขาหาคนที่จะเข้าใจเขาและรับฟังเขาได้ยาก ตรงนี้เลยเป็นชนวน ดังนั้นอกหักมีส่วนเกี่ยวข้อง

 

เมื่อคนนั้นไม่เผื่อใจ ให้ไปหมดแล้ว วันหนึ่งเขาผิดหวัง จุดนี้จะเพิ่มความเสี่ยงขึ้นได้ ความรู้สึกไม่เป็นส่วนหนึ่ง เป็นอีกวงล้อหนึ่งของ thrwarted belongingness คือ ” perceived burdensomeness ”

 

คือ เรารู้สึกว่าเราเป็นปัญหา คนที่มีโอกาสฆ่าตัวตายจะมองว่า ทุกอย่างเป็นปัญหาของเขา เขาคือต้นตอ เขาคือต้นเหตุ เขาไม่สามารถที่จะจัดการตรงนี้ได้ เขามองว่าเราคือปัญหา เขาเลยไม่สนใจเรา

 

เขาเลยไม่อยากจะอยู่กับเราแล้ว เราถูกแปลกแยกออกมาจากเขา เขาเลยจะเริ่มมองว่าเราแปลกแยก เราไม่เป็นส่วนหนึ่ง เขาพยายามตีตัวออกห่างจากเรา ทั้งหมดนี้เลยเป็นส่วนผสมที่เพิ่มความเสี่ยงได้

 

การอกหักมีหลายสาเหตุ หลังจากการทะเลาะจนเลิกรากันไป ถ้าเรามองว่าปัญหาทุกอย่างเกิดขึ้นเพราะเรา เพราะฉะนั้น เลยมีโอกาสเป็นไปได้ ที่คน ๆ นี้จะรู้สึกผิดหวังกับความสัมพันธ์ครั้งนี้

 

 

ผู้ชายผู้หญิง ใครเจ็บกว่า?

เมื่อก่อนในทางวิจัย จะมีแบ่งเพศไปเลยว่า เพศนี้เสียใจมากกว่าเพศนั้น แต่ในโลกความเป็นจริงจะไม่ได้มีการแบ่ง ในทุกเพศ ตราบใดที่เราคาดหวังในความสัมพันธ์ ตราบใดที่คบกันนาน พอเลิกกัน

 

เลยมีโอกาสที่จะเสียใจ เจ็บในความสัมพันธ์ ถ้ายิ่งทุ่มเท ยิ่งให้อะไรบางอย่าง ทรัพย์สิน ความรัก หรืออื่น ๆ เราลงทุนเยอะ พอเลิกกันจึงเกิด ” sunk cost ” รู้สึกเสียดาย ทุนจม เราไม่อยากเสียไป

 

พอเสียเราเลยผิดหวัง เพราะเราใส่ให้ไปเยอะมาก แต่ทุกอย่างสูญเปล่า นี่คือจุดที่ทำให้ใครคนหนึ่งเสียใจ ที่มากไปกว่าเรื่องของ demographic เพศ อายุ

 

 

อกหัก นำไปสู่ภาวะอะไรได้บ้าง?

ถ้าเสียใจในระยะยาว เรียกว่าโรคซึมเศร้าได้ เพราะปัจจัยทางสังคมที่เกี่ยวข้องคือ stress life events หรือ เหตุการณ์ที่สะเทือนใจ ก่อให้เกิดความเครียด มีการพลัดพรากสูญเสีย มีผลเช่นเดียวกัน

 

แต่ว่าเปอร์เซ็นต์อาจจะไม่สูงมาก เพราะสิ่งที่มากกว่าคือเหตุการณ์ในอดีต วัยเด็ก หรือการพลัดพรากในระยะยาวมากกว่า ซึ่งตรงนี้เป็นสิ่งที่ควรพึงระวังไว้ แต่ไม่ได้ทำให้เป็นโรคซึมเศร้าได้ 100%

 

เพราะอาการของโรคซึมเศร้า มีตั้งแต่การที่เราหมดแรงจูงใจกับสิ่งรอบตัว การที่ไม่อยากอาหาร การที่เรามีการพักผ่อนผิดปกติ การที่เราเริ่มรู้สึกเศร้าในแต่ละวัน อาการจะต้องเป็นในระยะยาว

 

ถ้าเราเศร้าในระยะเวลาประมาณหนึ่งหลังเลิกกันแฟนหรืออกหักจากเรื่องบางเรื่องที่ไม่ใช่ความรัก อาจจะเป็นการสูญเสียของจุกจิก หรือสิ่งที่เรารักหรือหวงแหน สัตว์เลี้ยง ทำให้เสียใจได้หมด

 

การรับมือกับการเสียใจ จะมีทฤษฎี Stages of Grief แบ่งเป็น 5 ขั้น ขั้นแรก ๆ อารมณ์จะท่วมท้น รับไม่ได้ โกรธ ทำให้เรารู้สึกเจ็บ ผ่านมาอีกช่วง เมื่อสลัดออกไปไม่ได้ เราจะเริ่มจมกับความเศร้า

 

ซึ่งในขั้นนี้อาจจะนำไปสู่ Depression ได้ ถ้ามีปัจจัยเสี่ยงในตัวร่วมด้วย ทั้งปัจจัยทาง Biology และ Psychology เพราะว่าปัญหาสุขภาพจิตต้องดูโมเดล Bio Psycho Social คู่กัน

 

แต่สุดท้ายแล้วถ้าผ่านความเศร้าไปได้ จะไปสู่ขั้นที่เรายอมรับได้ ยังไงก็ตาม ความเศร้าเกิดขึ้นได้ทุกคน ไม่สามารถรู้ได้เลยว่าวันไหนจะเกิดเรื่องอะไรขึ้นกับเรา สิ่งที่สำคัญมากคือการเตรียมตัว

 

เตรียมตัวให้พร้อม เพราะเราต่างไม่อยากเจ็บเมื่อวันนั้นมาถึง เหมือนกับพอจะล้ม เราล้มบนฟูก ลองหาเวลาไปซื้อฟูกมา ล้มจะได้ไม่เจ็บมาก เรามีเวลาในการเตรียมใจตรงนี้อยู่ อาจจะเป็นการ

 

นึกสถานการณ์ในหัว ว่าถ้าเราเจอสถานการณ์เราจะทำยังไง เราจะไปทางไหน เราลองอนุญาตตัวเองให้เศร้าได้ ตอนที่เราเจอเหตุการณ์นั้น ไม่เป็นไร ยังไม่ต้องคาดหวังว่าจะเกิดอะไรขึ้นตามมา

 

แต่แผนในระยะยาวของแต่ละคนควรที่จะมีเผื่อไว้ เพื่อที่เราจะลุกขึ้นมาใช้ชีวิตต่อได้

 

 

เดี๋ยวมันก็ผ่านไป ช่วยเรื่อง อกหัก ได้จริงไหม? 

เดี๋ยวมันก็ผ่านไป ได้ยินคำนี้คิดว่าเป็นคำที่ดี เป็นคำที่ให้กำลังใจได้ แต่สิ่งที่เราอยากได้ยินจริง ๆ ในตอนที่เราอกหักใหม่ ๆ คือ พื้นที่ระบาย หรือเป็นคำที่ออกมาจากการที่เขาเข้าใจในมุมมองที่เราเจอ

 

มากไปกว่าคำว่า เดี๋ยวมันก็ผ่านไป ขอยกตัวอย่างคำให้กำลังใจที่หลายคนตั้งคำถาม คือ สู้ ๆ คำนี้เป็นคำที่ไม่ได้ช่วยอะไร แต่ส่วนตัวมองว่าช่วย ถ้าเรามีการพูดคุย การรับฟัง สนทนาตอบกลับ

 

ทำให้คน ๆ นั้นเห็นว่าเราใส่ใจในเรื่องของเขา เราอยากช่วยเขา เราอยากที่จะพูดสิ่งนี้ คำว่า สู้ ๆ ด้วยใจจริง เลยมองว่า เดี๋ยวมันก็ผ่านไป สู้ ๆ เป็นกำลังใจให้นะ คำต่าง ๆ นี้จึงเป็นคำที่ดีในการทำให้

 

ใครคนหนึ่งก้าวผ่านช่วงเวลาร้าย ๆ ไปได้ และคงจะแย่กว่าถ้าไม่มีใครพูดอะไรเลย ดังนั้น พูดไปเถอะ คำให้กำลังใจ เราให้เจตนาดีกับใคร เราให้สิ่งดี ๆ กับใคร นั่นเป็นเรื่องที่ดี แต่เราต้องแน่ใจก่อนว่า

 

สิ่งที่เราพูด พูดออกมาด้วยความหวังดีจริง ๆ ผ่านการที่เราใช้กระบวนการปรึกษา พูดคุยรับฟัง ให้ได้แลกเปลี่ยนกันบ้าง ไม่ใช่การพูดส่ง ๆ น่าจะช่วยได้ ถ้าเป็นเพื่อนกันอาจจะมีการปลอบ การกอด

 

ส่วนคำให้กำลังใจ ถ้าไม่ได้เป็นการตัดสิน กล่าวโทษ หรือไม่ได้เป็นการลดคุณค่ากันและกัน คิดว่าพูดไปเถอะ

 

 

ฮีลใจยังไงดี?

นึกถึง 2 คำ คือ มีกันกับแก้ กัน คือ Prevention ในมุมของศัพท์สุขภาพจิตมักจะกันก่อน ทีนี้มาแก้ คือ Intervention บ้าง ตอนที่เราเศร้าเสียใจ เรามองว่าเป็นจุดที่ไม่ต้องกดดันตัวเอง

 

ถ้าเราอยากร้องไห้ เราไม่ต้องกดดันตัวเองว่าเราจะต้องกลับมาได้เมื่อไหร่ ถ้าไม่ได้มีสิ่งอื่นรอเราอยู่ จริง ๆ ความรู้สึกที่อยู่ข้างใน ที่แสดงออกมาผ่านการร้องไห้ การระบาย เป็นสิ่งที่

 

ถ้าเก็บไว้ข้างในจะยิ่งแย่ แต่จุดที่ดีไปกว่านั้นคือ เราระบายแล้ว เราต้องทำอะไรต่อเพื่อที่จะแก้ไขปัญหานี้กับตัวเอง การที่เราเศร้า เป็นปัญหาที่เกิดกับตัวเอง ว่าเราจะก้าวผ่านจุดนี้

 

ไปได้ยังไง อาจจะเป็นการมองหาคนที่ไว้ใจ Social Support สำคัญมากในการพยุงเราให้ก้าวผ่านไป บางครั้งเรายืนคนเดียวไม่ไหว เราให้คนอื่นช่วย เรามีจุดที่แข็งแกร่ง

 

แต่ไม่ใช่ทุกจุด บางครั้งที่เราเป๋จนยืนไม่ไหว เป็นไปได้เสมอ ซึ่งเราต้องการใครสักคนมาพยุง มาดามใจ ซึ่งสิ่งนี้เป็นเรื่องสำคัญ เราเป็นมนุษย์ เรามีเพื่อนมนุษย์ สังคมจะช่วยให้เราผ่านไปได้

 

และเรียนรู้ เริ่ม ที่จะให้ความสำคัญกับตัวเองผ่านการให้รางวัลตัวเองบ้าง เราอาจจะยังไม่ได้ทำสิ่งที่เราอยากทำจริง ๆ บางครั้งเราอยู่กับความสัมพันธ์ เรายังไม่ได้ทำสิ่งนี้

 

ยิ่งถ้าอยู่ในความสัมพันธ์ที่ Toxic เราจะถูกปิดกั้นไม่ให้เป็นตัวเอง เราถูก Gaslighting ถูก Manipulating ควบคุมไม่ให้เราทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ จนทำให้เราลดทอนความมีคุณค่าในตัวเองลงไป

 

เราลองกลับมาทำสิ่งที่เราอยากทำดีไหม? กลับมาเป็นในสิ่งที่เราอยากเป็นจริง ๆ ดีไหม? เริ่มมองหาจุดที่เราอยากไปต่อ เป็นกิจกรรมเล็ก ๆ ก็ได้ เอาไว้ทำเพื่อให้ผ่านช่วงเวลานี้ไปก่อน

 

แต่จะดีถ้าเป็นกิจกรรมที่ได้อยู่กับตัวเองเยอะ ๆ เช่น ต่อจิ๊กซอว์ เขียนไดอารี่ เป็นกิจกรรมที่เราทำไปเพื่อให้เราได้อยู่กับตัวเอง เป็นการฝึกไปเรื่อย ๆ ดูเหมือนจะเป็นกิจกรรมที่ Abstract

 

แต่ลองนึกดูว่าเวลาเราเขียน เราแทบไม่นึกถึงคนอื่นเลย เราจะนึกถึงแต่ในหัวว่าเราจะเขียนอะไรดี เราไม่ได้ไปนึกว่า คนอื่นจะคิดยังไงกับเรา คนอื่นจะมองยังไง คนนั้นจะไปมีใหม่รึยัง

 

เราไม่ได้คิดตรงนั้น อันนี้แหละที่เป็นจุดสำคัญ ที่อยากให้ทุกคนกลับมาโฟกัสที่ตัวเอง จะช่วยให้เราค่อย ๆ ฟื้นฟูตัวเอง ผ่านไปได้ เหมือนเราล้มบนฟูกแล้วกลายเป็นตุ๊กตาล้มลุก

 

ที่พร้อมจะเด้งขึ้นมาใหม่ตลอดเวลา แล้วนี่จะกลายเป็นทักษะที่เรียกว่า Resilience หรือความยืดหยุ่นทางใจ ในครั้งต่อไปถ้ามีใครมาผลักเราล้มอีก เราจะยิ่งลุกขึ้นมาได้เร็วขึ้นเรื่อย ๆ

 

สุดท้ายแล้วความเศร้า ก็จะเป็นสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกเศร้าได้ชั่วคราวแต่ไม่ยาวนาน

 

 

มีคนใหม่เพื่อลืมคนเก่าช่วยเรื่อง อกหัก ได้ไหม?

จะดีก็ต่อเมื่อคน ๆ นั้นมีความรู้สึกดี ๆ ให้เราจริง ๆ หรือเราแน่ใจแล้วว่าคนนี้คือคนที่เราตามหา ในช่วงเวลาที่เลิกกันใหม่ ๆ คนจะชอบบอกว่าเป็นช่วงเวลาที่อ่อนไหว อ่อนไหวทางความรู้สึก

 

เราไม่ทันได้คิดไตร่ตรองอะไรได้ดีเท่าตอนที่เราปกติ อาจจะเสี่ยงที่ว่า ความสัมพันธ์ที่มาดามใจ อาจจะไม่ยั่งยืน เพราะเราอ่อนไหว ตัดสินใจอะไรไม่ค่อยดี อยากให้คนนี้รับฟังหน่อยได้ไหม

 

เราจะวิ่งหาคนอื่นเวลาเราเศร้า บางครั้งเราอกหัก เรามักจะหาผู้คนมาเพื่อทำให้เรารู้สึกว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของสังคมอยู่ เรายังไม่ได้ถูกทอดทิ้ง แยกไปเลย อยู่นอก circle ไปเลย

 

ซึ่งบางทีการดามใจ ต้องหาคนที่ดี ๆ รู้สึกกับเราจริง ๆ อยากที่จะมีเราในชีวิต

 

 

น้ำตาก็เหมือนฝน พอฝนหยุดแล้ว หวังว่าทุกคนจะได้พบเจอกับวันที่สดใสกว่าเดิม 🙂