เจ็บแต่ยังรัก

เจ็บแต่ยังรัก กับความสัมพันธ์ที่รุนแรง Abusive Relationship

เรื่องAdminAlljitblog

ความสัมพันธ์ เจ็บแต่ยังรัก Abusive Relationship ความสัมพันธ์ที่ต่างฝ่ายต่างทำร้ายกัน หรือไม่ก็ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกอีกฝ่ายทำร้าย

 

Abusive Relationship

สารบัญ

Abusive หมายถึง ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม Relationship แปลว่า ความสัมพันธ์ รวมกันเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่ถูกต้องไม่เหมาะสมหรือมีชื่อเรียกอีกอย่างว่าเป็นความสัพพันธ์ที่ใช้ความรุนแรงทั้ง คำพูด ร่างกาย ข่มขู่

 

ลงมือตบตี หรือถ้าใครนึกภาพไม่ออกอยากให้ลองนึกถึงละครไทย ที่พระเอกตบตีนางเอก พระเอกหึงหวงนางเอกใช้ความรุนแรง โกรธ งอน ง้อ ให้อภัย ได้คืนดี เป็นสเต็ปนี้เลย

 

มีความรุนแรงในรูปแบบไหนบ้าง 

ความรุนแรงในครอบครัว Domestic abuse คือการทำร้ายร่างกาย จิตใจ บังคับ ข่มเหง จากบุคคลในครอบครัว เกิดมาจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อม การติดการพนัน สุรา ยาเสพติด

 

หรือความเครียดจากเศรษฐกิจ ทำให้ก่อความรุนแรง สร้างความเจ็บปวด ทุกข์ทรมานต่อร่างกายและจิตใจของผู้ที่ถูกกระทำ อันนี้ก็จะใช้กับความสัมพันธ์ สามี ภรรยา พ่อ แม่ ลูก  ซึ่งเป็นครอบครัวเดียวกัน 

 

Dating abuse ความรุนแรงในคู่รัก  หรือ การข่มขู่ว่าจะใช้ความรุนแรง ที่เกิดขึ้นระหว่างคู่ที่อยู่ในระหว่างการเดทหรือการจีบ การคบหา และยังไม่แต่งงาน สิ่งนี้ยังหมายถึงการที่คนใดคนหนึ่งในความสัมพันธ์

 

พยายามคุมอำนาจและควบคุมอีกคนหนึ่งโดยใช้ความรุนแรง โดยอาจอยู่ในรูปแบบทำร้ายทางเพศ, คุกคามทางเพศ, การข่มขู่, การทำร้ายร่างกาย, การข่มเหงทางวาจา ทางจิต หรือ ทางอารมณ์, การทำร้ายทางสังคม,

 

และการเฝ้าติดตาม อาจรวมถึง การกรรโชกทางอารมณ์, การทารุณกรรมทางเพศ, ทารุณกรรมทางร่างกาย และการโน้มน้าว ทางจิตวิทยา

 

สถิติการทำร้ายร่างกายในครอบครัว/คนรัก

รายงานของ The National Coalition Against Domestic Violence’s Vision (NCADV) พบว่า ในทุก 1 นาทีจะมีผู้หญิงสหรัฐอเมริกาถูกทำร้ายร่างกายจากคนในครอบครัว 20 คน และผู้หญิง 1 ใน 4 ผู้ชาย 1 ใน 9 เป็นเหยื่อที่ได้รับความรุนแรงทั้งร่างกายและจิตใจ และขั้นร้ายแรง

 

The New York Times เผยว่า ในระหว่างการล็อกดาวน์ในสหราชอาณาจักรช่วงที่ผ่านมา  ผู้หญิง 1.6 ล้านคนต้องประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัวมากขึ้นกว่าปกติ เพราะเหยื่อไม่มีช่องว่างที่จะติดต่อเพื่อนหรือหน่วยงานภาครัฐในการขอความช่วยเหลือ เนื่องจากต้องอยู่กับผู้กระทำความรุนแรงตลอดเวลาในที่พักอาศัย

 

องค์การสหประชาชาติ (UN) ระบุว่า ในระหว่างการล็อกดาวน์มีเด็กและผู้หญิงจำนวนมากต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย มีความเสี่ยงที่จะประสบกับความรุนแรงจากคู่ของตนเองหรือคนใกล้ชิด โดย 1 ใน 3 ของผู้หญิงทั่วโลก

 

ต้องเผชิญกับความรุนแรงทางร่างกายและทางเพศจากคู่ของตนเอง และในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา 18% ของผู้หญิงต้องเผชิญกับความรุนแรงที่เป็นอันตรายถึงชีวิต จากสถิติในทุกวันจะมีผู้หญิงประมาณ 137 คน เสียชีวิตจากการทำร้ายร่างกายโดยคู่หรือคนในครอบครัว

 

Red flag ❗❗ เรากำลังตกอยู่ในความสัมพันธ์ที่รุนแรงหรือเปล่า

  • ล้อเลียน ทำให้เราขายหน้าต่อหน้าคนอื่น
  • ควบคุมเราเราก้าวก่ายความเป็นส่วนตัว
  • gaslighting ปั่นหัวเราจนเรารสว่าตัวเองเป็นคนผิดในความสัมพันธ์
  • เวลาทะเลาะกันจะใช้น้ำเสียงดังข่มเราให้เรารู้ไม่กล้าคุยอะไรด้วยเป็นฝ่ายยอมไปฃ
  • เวลาทะเลาะกันเริ่มมีการทำร้ายร่างกายเกิดขึ้น
  • พูดจาดูถูก เสียดสี ไม่เชื่อใจ มองว่าเรานอกใจตลอดเวลา
  • เริ่มรู้สึกว่าตัวเราต้องปกป้องตัวเองจากเขา เขาไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัย ความสบายใจของเราอีกต่อไป

 

Abusive Relationship กระทบอะไรบ้าง

  • Low self-esteem ความมั่นใจในตัวเองถูกลดลงเพราะจมอยู่กับความสัมพันธ์ที่บั่นทอนคุณค่าในตัวเอง
  • เกิดเป็น PTSD สภาวะจิตใจที่ได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงจากการ ถูกการทำร้ายร่างกาย,ถูกข่มขืนด้วยความไม่เต็มใจ,ถูกใช้คำพูดที่ทำให้ลดทอนตัวเอง เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะส่งผลกับการใช้ชีวิต การมีความสัมพันธ์ในครั้งต่อ ๆ ไป
  • โรคซึมเศร้า
  • กระทบความสัมพันธ์กับคนรอบข้างที่เราต้องคอยหลบซ่อนความเจ็บปวดทางร่างกาย อาจจะทำคนรอบข้างไม่เข้าใจว่าทำไมไม่ออกมา

 

ความสัมพันธ์ที่รุนแรงมีด้านไหนบ้าง 

VERBAL ABUSE : ความรุนแรงทางคำพูด 

ใช้คำพูดที่รุนแรง หรือไม่รุนแรง แต่ส่งผลกระทบต่อจิตใจ เช่น คำพูดเหยียดหยาม คำพูดดูถูก การใช้เสียงตะโกนด้วยอารมณ์ฉุนเฉียว หรือการวิจารณ์ที่ทำให้เหยื่อรู้สึกไม่มีคุณค่า 

 

เกิดได้กับทุกความสัมพันธ์ ความรุนแรงทางคำพูดเหล่านี้มักเริ่มมาจากครอบครัว เช่น ด่าไรนิดหน่อยไม่ได้เลยอ่อนไหวง่ายจัง นี่เป็นพ่อนะหัดฟังกันบ้าง ซึ่งการที่จจะพูดคำเหล่านี้มันมีวิธีที่จะไม่ทำร้ายกันนะ

EMOTIONAL ABUSE : ความรุนแรงทางอารมณ์

เป็นรูปแบบของพฤติกรรมที่พยายามควบคุม สร้างความหวาดหวั่นกับอีกคนในความสัมพันธ์ ทำให้อีกฝ่ายมีอารมณ์ที่หวั่นไหว สับสน ลดทอนตัวตนของอีกฝ่าย ทั้งการพูดจาและการกระทำปั่นหัว (Gaslight) ให้เหยื่อตั้งคำถามกับตัวเอง 

 

FINANCIAL ABUSE : ความรุนแรงทางการเงิน 

ควบคุมการเงินของอีกฝ่าย ห้ามไม่ให้อีกฝ่ายทำงาน เพื่อเอาอำนาจมาไว้ในมือ เพิ่มอำนาจในการควบคุมให้กับตนเอง 

 

SEXUAL ABUSE : ความรุนแรงทางเพศ

ถึงแม้จะเป็นแฟนกัน หรือสามีภรรยากัน ก็เกิดการคุกคามทางเพศเกิดขึ้นได้ เช่น การข่มขืน ล่วงละเมิด โดยที่อีกฝ่ายไม่เต็มใจ หรือแม้แต่การใช้ความรุนแรงโดยที่อีกฝ่ายไม่ยินยอม 

 

PHYSICAL ABUSE : ความรุนแรงทางร่างกาย

ความรุนแรงในรูปแบบของร่างกาย ตบตี หรือการกระทำใดๆ ก็ตามที่ทำให้ร่างกายเราบาดแผลเป็นขั้นที่ร้ายแรงที่สุด

 

SILENT ABUSIVE : ความเงียบ

ความเงียบสามารถใช้ทำร้ายกันได้ในความสัมพันธ์ โดยอีกฝ่ายยากให้เอ่ยปากขอโทษก่อนมากกว่าการที่จะเคลียร์คุยกันเพื่อทำความเข้าใจ เมื่ออีกฝ่ายขอโทษแล้วอีกฝ่ายที่เป็นฝ่ายเงียบจะรู้สึกว่าเป็นคนที่กุมอำนาจมากกว่า

 

วงจรความรุนแรงในความสัมพันธ์ Cycle of Abuse

ในความสัมพันธ์ที่เป็นพิษสามารถแบ่งได้เป็น 4 ขั้นตอนที่มีลักษณะเป็นวงจร อันได้แก่

 

1. การก่อตัวของความตึงเครียด (Tension Building)  อาจเริ่มจากปัญหาที่ก่อตัวสะสมมานาน 

 

2. ช่วงที่เกิดความรุนแรง (Incident) ซึ่งเป็นช่วงที่มากการใช้ความรุนแรง ไม่ว่าจะทั้งร่างกาย จิตใจ หรือในรูปแบบอื่นๆ ก่อนจะเข้าสู่ช่วงถัดไป 

 

3. ช่วงคืนดี (Reconciliation) หรือช่วง Honey Moon Period ที่ผู้ใช้ความรุนแรงจะพยายามขอโทษสิ่งที่ทำไป ผ่านการกล่าวโทษผู้ถูกกระทำว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้ตนต้องใช้ความรุนแรง

 

พร้อมทั้งสัญญาว่าสิ่งนี้จะไม่เกิดขึ้นอีก และ ‘ขอโอกาสครั้งสุดท้าย’ การกระทำนี้เป็นไปเพื่อหวังให้ผู้ถูกกระทำรู้สึกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นปัญหาร้ายแรงขนาดนั้น และผู้กระทำได้ ‘เปลี่ยนไปแล้ว’

 

จากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นถัดไปของวงจร  *หากความรุนแรงเกิดขึ้นบ่อยมากขึ้นหรือรุนแรงมากขึ้น ช่วงคืนดีก็อาจจะกินระยะเวลายาวนานมากขึ้น เป็นวิธีการหว่านล้อม (Manipulation) ทำให้ผู้ถูกกระทำกลับเข้ามาอยู่ภายใต้การควบคุมอีกครั้ง (Re-establish control) 

 

4. ช่วงสงบสุข (Calm) ซึ่งเป็นช่วงที่ผู้กระทำปฏิบัติตนราวกับว่าความรุนแรงไม่เคยเกิดขึ้น ก่อนที่จะเข้าสู่ช่วงก่อตัวของความตึงเครียดและตามมาด้วยการใช้ความรุนแรงอีกครั้ง เป็นวงจรที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าที่ยิ่งลดอำนาจของผู้ถูกกระทำ ทำให้การออกจากความสัมพันธ์ดูเหมือนเป็นทางเลือกที่เป็นไปไม่ได้

 

 

ทำไมเรามักจะยังเลือกอยู่ในความสัมพันธ์ที่รุนแรง 

ความรุนแรงในประเทศไทยที่เพิ่มขึ้น มีเหตุผลหลายอย่างที่ไม่อยากไปดำเนินคดีทางกฎหมาย กลัวคนนอกมองมาที่ครอบครัวไม่ดี กลัวว่าจะเป็นเรื่องใหญ่ กลัวว่าจะส่งผลกระทบต่อคนในครอบครัว 

 

มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ได้เปิดเผยเหตุผลมุมมองของผู้หญิงในฐานะที่เป็นผู้ถูกกระทำต้องทนต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้นในครอบครัว 5 ข้อด้วยกัน

 

1. ความรักความผูกพัน หลังก่อความรุนแรงฝ่ายชายมักจะขอโอกาสเพื่อกลับตัวและจะไม่ใช้ความรุนแรงอีก ด้วยความรักความผูกพันที่มีให้จึงยอมที่จะทน หวังว่าฝ่ายชายจะปรับปรุงตัว

 

2. อดทนเพื่อลูก ฝ่ายหญิงมักจะคิดว่าถ้าลูกไม่มีพ่อ ลูกจะมีปมด้อย ขาดความอบอุ่น ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของลูกในอนาคต

 

3. พยายามรักษาความเป็นครอบครัว ด้วยสภาพสังคมที่ปลูกฝังความเป็นครอบครัวที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งต้องประกอบไปด้วย พ่อ แม่ ลูก ทำให้ผู้หญิงต้องยอมอดทนต่อความรุนแรง

 

4. คิดว่าความรุนแรงเป็นเรื่องส่วนตัว ค่านิยมที่ว่า ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า เรื่องราวไม่ดีของครอบครัวอย่าไปเล่าให้คนอื่นฟัง เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้ผู้หญิงอดทนต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้น

 

5. ปัญหาเศรษฐกิจ ผู้หญิงหลายคนเมื่อแต่งงานมีลูกแล้ว ลาออกจากงานเพื่อมาดูแลลูก เมื่อเกิดความรุนแรงขึ้นในครอบครัว หากจะเลิกรากับสามีก็กลัวจะไม่มีงานทำ ไม่มีเงินเลี้ยงดูตัวเองและลูก จึงต้องทนต่อความรุนแรง

 

ในฝั่งของนักจิตวิทยาบำบัด  Rita Edah ต่างประเทศ ให้เหตุผลไว้ 5  ข้อที่น่าสนใจ

ยังไม่ค่อยเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นกับตัวเอง

อาจเข้าใจผิดคิดว่าความสัมพันธ์เป็น ‘ความสัมพันธ์ปกติ’ และ ‘ทุกความสัมพันธ์ปกติมีปัญหา’ ทั้งที่ความจริงแล้วมันไม่ใช่ความสัมพันธ์ระหว่างกันธรรมดา มันเป็นความสัมพันธ์ที่เป็นพิษที่อีกฝ่ายคือการควบคุม จัดการ และใช้อำนาจเหนือเรา

 

 

ยังไม่ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นกับคุณอย่างเต็มที่

อาจเป็นเรื่องยากที่จะรับรู้ว่าคน ๆ หนึ่งอยู่ในความสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสม เมื่อสิ่งนั้นเกิดขึ้น อาจต่อสู้กับความคิดที่ว่ามันเกิดขึ้นจริงๆ การยึดมั่นในความว่ามันไม่มีทางเกิดขึ้นได้ อาจทำให้ไม่สามารถรับรู้

 

และเข้าใจความเจ็บปวดจากประสบการณ์ที่ไม่เหมาะสมในครอบครัวอย่างไรก็ตาม การปฏิเสธประสบการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจไม่ได้เป็นการลบล้างผลกระทบของมันเสมอไป หากมีสิ่งใด มันทำให้สุขภาพจิตและอารมณ์ของคุณแย่ลง

 

ยังคงโทษตัวเองในสิ่งที่เกิดขึ้น

อาจกำลังพูดกับตัวเองในทำนองว่า “ควรจะพยายามให้มากกว่านี้” ,”น่าจะรู้ดีกว่าไปทำให้เขาโมโห” , “ควรจะเข้าใจว่างานของเขาเครียดแค่ไหน”

 

แบกรับความอับอายของการถูกทำร้าย 

ไม่กล้าที่จะบอกใคร หรือร้องขอความช่วยเหลือ เพราะอับอายกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเอง 

 

Trauma Bonding ทั้งรัก ทั้งเจ็บ

 ผูกพันกับคนที่อยู่ด้วยกันมานานและทำอะไรหลายอย่างร่วมกันมามากมาย โดยไม่ได้เผื่อใจว่าสักวันหนึ่งเขาอาจเปลี่ยนไปจากคนดีกลายเป็นคนที่ทำร้ายเราตลอดเวลา 

 

จัดการกับความสัมพันธ์ที่รุนแรงอย่างไร 

ยอมรับความรุนแรงที่เกิดขึ้นและไม่หาเหตุผลมาซัพพอร์ตกับการกระทำรุนแรงที่เขาทำกับเรา คิดไว้เสมอว่าถ้าเราให้อภัยเขาจะทำแบบเดิมกับเราไปเรื่อย ๆ แบบวนลูป 

 

หันมาตระหนักว่าเรามีคุณค่าในตัวเอง เราสามารถดูแลตัวเอง เพราะคนที่จะหลีกหนีออกมาได้จากความสัมพันธ์นี้คือ ตัวของเราเองและบอกความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ให้คนรอบข้างเรารับรู้

 

หนีได้หนีห่างได้ห่าง ทั้งความสัมพันธ์แบบครอบครัว ที่ทำร้ายร่างกายด้วยเข้าใจว่าถ้าเรายังไม่บรรลุนิติภาวะ ยังต้องพึ่งพาเขาอยูการจะหนีออกไปอาจต้องใช้ระยะเวลาที่เราพอจะเติบโตยืนด้วยตัวเอง

 

แต่หากว่าไม่ได้จริง ๆ เราสามารถขอความช่วยเหลือมูลนิธิ ใช้กฎหมายคุ้มครองเข้าสู้ได้ และสำหรับความสัมพันธ์ที่เป็นแบบคู่รักอยากให้ยอมรับและตระหนักถึงสัญญาณเตือนต่าง ๆ

 

ที่เขาทำออกมาไม่ใช่แค่การทำร้ายความรู้สึกมันส่งผลอันตรายกับร่างกายของเราแล้วก็ได้ การอยู่ต่อในความสัมพันธ์นี้มีแต่ความเสี่ยงและความไม่ยั่งยืน หากอีกฝ่ายไม่คิดจะปรับเปลี่ยน

 

ทางเดียวเท่านั้นที่จะจบเรื่องนี้ก็คือการเดินออกมาสุดท้ายให้ระวังไว้ว่าการกระทำแบบนี้เกิดการเลียนแบบกันได้ระวังว่าเราอาจจะเป็นคนทำเอง

 

ที่มา

รู้จัก DOMESTIC VIOLENCE ความรุนแรงหลากรูปแบบจากซีรีส์เรื่อง MAID

จะทำอย่างไร เมื่อความรุนแรงไม่ใช่เรื่องไกลตัว และบ้านไม่ใช่ Safe Zone ของทุกคน

5 reasons you’re still trapped after domestic abuse

‘ทารุณทางวาจา’ อีกรูปแบบการสร้างความเจ็บปวดที่ยากจะลบล้าง

What Are the Effects of Emotional Abuse?