Emotional First Aid ซ่อมแซมสุขที่สึกหรอ เวลาที่เราเจ็บปวดทางกาย ไม่สบายเรามักรู้อาการ
รู้วิธีรักษาว่าเราจะบรรเทายังไง กินยาอะไรถึงหายดี แต่ถ้าเราเจ็บปวดทางใจละ
คนอื่นก็รักษาเราไม่ได้ นอกจากตัวเราเองที่จะเยียวยา . . .
Emotional First Aid
‘ชุดปฐมพยาบาลทางอารมณ์เบื้องต้น เพื่อบรรเทาอาการแตกสลาย และป้องกันใจที่อักเสบลุกลาม’
หนังสือเล่มนี้เขียนโดย คุณ Guy Winch (กาย วินซ์) นักจิตวิทยา แปลโดยคุณลลิตา ผลผลา
หนังสือเล่มนี้ถ่ายทอดมาจากประสบการณ์คนไข้ของ คุณ กาย วินซ์ อีกด้วย
หนังสือเล่มนี้จะมี 7 ความรู้สึกที่เรารู้สึกกันอยู่เป็นบ่อยครั้ง
- การถูกปฎิเสธ
- ความเหงา
- การสูญเสีย
- ความรู้สึกผิด
- การครุ่นคิด
- ความล้มเหลว
- Low self-esteem
ทั้ง 7 ความรู้สึกทุกคนน่าจะเคยเผชิญและบางครั้งเราก็หาวิธีรักษาความรู้สึกเหล่านั้นไม่ได้ หรือวิธีการรักษาที่เราทำกันเป็นประจำอาจจะยังไม่มากพอให้มันจางลงไป
เลยเลือกที่จะหยิบ 1 ความรู้สึกที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งมาแบ่งปันเรื่องราวกัน 🙂
“การครุ่นคิด”
1. การครุ่นคิดทำให้ความทุกข์ของเราใหญ่มากขึ้น ยิ่งเราคิดถึงสิ่งที่เป็นประสบการณ์ที่ไม่ดีและเจ็บปวด ก็เหมือนกับเราได้เปิดแผลของตัวเองไปเรื่อย ๆ
กลายเป็นความบั่นทอนในชีวิต พัฒนาไปเป็นความเสี่ยงของ ‘โรคซึมเศร้า’ ได้ ถึงแม้ว่าตอนนี้ชีวิตเราจะไม่มีอะไร อาจจะไม่ได้ดีมาก แต่เรายังนึกถึงประสบการณ์ที่ไม่ดีที่เกิดขึ้นอาจจะบั่นทอนกับสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
2. ความโกรธ เป็นการเติมไฟของการครุ่นคิด ยิ่งเราโกรธเรายิ่งคิด และเมื่อเราคิดที่ระบายไม่ได้เราจึงเลือกระบายความโกรธ ความหงุดหงิดใส่คนรอบตัว
3. การครุ่นคิดเป็นบ่อนทำลายสติปัญญาและเผาพลาญเวลาที่มีค่าของเรา เคยครุ่นคิดวนไปจนเวลาในชีวิตของเรามันหมดไปกับห้วงความคิดเหล่านั้น
พอเรารู้ตัวอีกทีเราก็รู้สึกเสียเวลาและเสียดายช่วงเวลาที่เราน่าจะพาตัวของเราออกไปหาสิ่งใหม่ ๆ สิ่งที่เป็นแง่บวกมากกว่าการที่เรามาจมกับสิ่งที่เราครุ่นคิดอยู่
4. คนที่เรารักได้รับผลกระทบจากการครุ่นคิด เวลาที่เราครุ่นคิดอะไรบางอย่างเรามักจะระบายกับคนที่อยู่ข้าง ๆ เราและการระบายแต่ละครั้งก็เหมือนเรากดเล่นอะไรซ้ำ ๆ
ในห้วงความคิดและบทสนทนาให้คนอื่นด้วย เวลาที่เราระบายไปแน่นอนว่าคนที่เรารักมักจะเสนอตัวช่วยวิธีแก้ไข แต่เรามักจะรับฟังแต่ไม่ค่อยได้เอาไปใช้เท่าไหร่
และเมื่อเรายังครุ่นคิดเราก็จะเล่าเรื่องซ้ำ ๆ ระบายเรื่องซ้ำ ๆ ให้กับคนที่เรารัก จนพวกเขารู้สึกว่าไม่ไหวแล้วไม่อยากฟังแล้วแล้วค่อย ๆ ถอยห่างจากเราออกไป
เมื่อเราพอรู้แล้วว่าการครุ่นคิดทำให้เราเกิดบาดแผลได้ยังไงบ้าง เรามาดูชุดปฐมพยาบาลที่หนังสือเล่มนี้ได้บอกให้เราทำกัน
เปลี่ยนมุมมอง
จากที่เราเป็นมุมมองผู้ครุ่นคิดเราลองเปลี่ยนมุมมองมาเป็นคนนอกในเรื่องที่เราครุ่นคิดอยู่ เวลาใครมาปรึกษาเรา เราสามารถหาวิธีแก้ไขให้พวกเขาได้
ให้คำแนะนำต่าง ๆ เราลองเอาวิธีเหล่านั้นในการเป็นมุมมองคนนอกที่กำลังมองเรื่องของเราอยู่ เราอาจจะเจจอวิธีแก้ไขเหล่านั้น และเข้าใจตัวของเราเองมากขึ้น
เบี่ยงเบนความสนใจ
การเบี่ยงเบนความสนใจไปหากิจกรรมอย่างอื่นทำเวลาที่เรารู้สึกครุ่นคิด คิดมากในเรื่องนั้น ลองออกกำลังกาย เข้าสังคม ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม
ถึงแม้ว่ามันจะเป็นการเบี่ยงเบนความคิดนั้นในช่วงเวลาที่สั้น ๆ ไม่ได้หายไป แต่มันก็ยังดีที่เราไม่ต้องคิดถึงเรื่องราวนั้นในขณะนั้น
ตีกรอบความโกรธใหม่
มีการศึกษาหลายอย่างพบว่า การที่เราระบายอารมณ์กับสิ่งของ จะช่วยให้ความโกรธหายลงไป แต่จริงแล้ว กลับทำให้เป็นแรงขับความโกรธได้มากกว่าเดิม
วิธีปฐมบาลคือเราต้องตีความความโกรธใหม่ ให้เราเปลี่ยนเจตนาความโกรธเป็นเจตนาที่ไปในทางบวก เหมือนเวลาที่เราครุ่นคิดว่าทำไมคนนั้นถึงเลือกที่จะทำแย่ ๆ ใส่เรา
พูดจาไม่ดี หรือทำให้เรารู้สึกไม่ดี คนนั้นอาจจะมีประสบการณ์หรือเจออะไรแย่ ๆ มา เลยเลือกที่จะทำแบบนั้นใส่เราหรือเปล่า
ความโกรธที่เรามีอาจะเปลี่ยนเป็นความเข้าใจว่า อ่อเพราะเขาคงผ่านเรื่องอะไรแบบนั้นมาสินะ
จัดการมิตรภาพ
เราต้องประเมินว่าเรากำลังสร้างภาระให้กับมิตรภาพของเราอยู่หรือป่าว
- เวลาผ่านไปนานเท่าไหร่แล้วกับเหตุการณ์นี้
เช่น การที่เราเลิกกับใครสักคน เราควรที่จะฟื้นตัวภายในระยะเวลาหนึ่งไม่เกิน 3-4 เดือน ฟื้นตัวจากการครุ่นคิดถึงสิ่งนั้น
- เราคุยประเด็นนี้กับเพื่อนคนนี้มากี่ครั้งแล้ว
เมื่อเลือกระบายกับเพื่อนคนนี้กับเรื่องนี้บ่อยครั้ง ‘เกินไป’ ไหม คนที่เป็นผู้รับฟังแน่นอนว่าเขาจะอ่อนล้ากับสิ่งที่เราได้พูดออกไป
บางทีเราอาจจะต้องลองเกลี่ยเรื่องนี้ให้ผ้รับฟังคนอื่นบ้าง เพื่อไม่ให้เป็นการสร้างความอ่อนล้าจนความสัมพันธ์เริ่มห่างหาย
- อย่าพูดแต่เรื่องของตัวเอง
เวลาที่เรารู้สึกไม่สบายใจ แน่นอนว่าเรามักจะระบายสิ่งที่อยู่ในใจของเรา แต่การที่เราไม่ถามอีกฝ่ายเลยว่าสะดวกใจฟังไหม
หรือแบ่งพื้นที่ให้อีกฝ่ายแชร์เรื่องของตัวเองบ้าง ตัวของเราเองกำลังเสี่ยงที่จะทำให้มิตรภาพนี้ตกอยู่ในอันตราย ไม่มีใครที่อยากรับฟังไปตลอดทุกบทสนทนา อย่าลืมที่จะถามไถ่อีกฝ่ายบ้าง
- เราปล่อยให้ความครุ่นคิดมันครอบงำมิตรภาพไปหรือเปล่า
ลองสังเกตว่าในเวลาสนทนาเราปล่อยให้ความครุ่นคิดทางอารมณ์ ความรู้สึกคิดมาก ความหดหู่ มาปะปนกับความสนุก การที่ได้ใช้เวลากับเพื่อน ๆ มากเกินไป
จนทำให้บรรยากาศมันตึงเครียดไปด้วยไหม แน่นอนว่าตอนที่เรายังเป็นเหยื่อทางอารมณ์ของการครุ่นคิดจะมีเงาเทา ๆ หรือความคิดของเราที่ไม่ได้ Positive ขนาดนั้น
แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเราได้ออกมาเจอเพื่อน ๆ แล้วพยายามเก็บเกี่ยวรอยยิ้มของคนตรงหน้าให้มากที่สุดลืมเรื่องราวครุ่นคิดไปสักพักแล้วมีความสุขกับช่วงเวลานี้
สุดท้ายแล้วถ้าการปฐมพยาบาลเบื้องต้น 4 วิธี ลองทำแล้วไม่ดีขึ้นหรือเรายังมอยู่กับความครุ่นคิดนานเกินไป ความครุ่นคิดเหล่านั้นบั่นทอนกินเวลาชีวิตของเราเหลือเกิน
คุณ กาย วินซ์ ก็ได้แนะนำให้เราไปพบผู้เชี่ยวชาญ นักบำบัด นักจิตวิทยา เพราะถ้าเราครุ่นคิดบ่อยครั้งบ่อย เราก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ และภาวะซึมเศร้า
ประโยคจากที่อยากบอกเล่าจากคนอ่าน
ไม่มีอะไรที่ทำให้เราคิดถึงบางสิ่งได้เท่ากับการพยายามเต็มที่ไม่ให้คิดถึงมัน เป็นข้อคิดที่ได้จาก การครุ่นคิด
เชื่อว่าหลายคนคงเคยพยายามที่จะลืมอะไรบางอย่างลืมเรื่องที่สร้างความจุกจิกในใจของเราแต่ยิ่งอยากลืมยิ่งคิดถึงมัน
เพราะฉะนั้นแล้วเราลองไม่รีบลืมแต่หาวิธีอยู่กับสิ่งนั้นให้ได้โดยไม่ให้มันมารบกวนจิตใจกันดีกว่า
สิ่งที่ทำให้เราอยู่กับมันได้ที่เราอยู่เหนือความคิดที่เข้ามารบกวนเหล่านั้น 🙂
Post Views: 850