ควาอ่อนไหว

ทฤษฎีของ ความอ่อนไหว (ง่ายเป็นพิเศษ)

เรื่องAdminAlljitblog

ทฤษฎีของ ความอ่อนไหว (ง่ายเป็นพิเศษ)

 

เพราะ การเป็นคนอ่อนไหวไม่ได้ทำให้เราอ่อนแอ . .

 

 

หนังสือเล่มนี้เขียนโดย เมล คอลลินส์ เป็นที่ปรึกษาด้านจิตวิทยาบำบัด คุณคอลลินส์มีความเชี่ยวชาญกับคนที่เป็น Highly Sensitive Person เก็บเกี่ยวประสบกาณ์มาเรื่อย ๆ

 

จนเกิดหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา ซึ่งตัวคุณคอลลินส์เองก็เป็น Highly Sensitive Person มาตั้งแต่กำเนิดเหมือนกัน

 

ใครอยากรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ก็สามารถเข้าไปดูได้ที่ www.melcollins.co.uk

 

ความอ่อนไหงง่ายแก้ด้วยการ “รักตัวเอง”

 

Chapter ที่น่าสนใจที่อยากนำมาแบ่งปันคือ “การแก้ด้วยการรักตัวเอง” ขอหยิบยก 5 ขั้นตอนที่อ่านแล้วรู้สึกว่าเป็นขั้นตอนที่สามารถนำมาปรับใช้ได้โดยง่ายไหม?

 

ก็ไม่ง่าย แต่สามารถฝึกฝนและสามารถทำได้ การรักตัวเองคือสภาวะชื่นชมยินดีกับตัวเองจากการกระทำต่าง ๆ ทางร่างกาย อารมณ์ จิตวิทยา จิตวิญญาณ

 

การรักตัวเองคือการยอมเปลี่ยนแปลงข้อจำกัดต่าง ๆ ความเชื่อ ความคิดในแง่ลบที่จะเปลี่ยนไปทางแง่บวก พอได้อ่านแล้วก็รู้ว่าจากลบจะเปลี่ยนไปบวกได้อย่างไรบ้าง

 

การรักตัวเองพูดง่ายแต่ทำยาก จะมีทั้งช่วงที่เรารักตัวเองมาก หวงแหนตัวเองกับบางช่วงที่เราไม่รักและไม่เห็นคุณค่าตัวเองขนาดนั้นเลยก็มี เพราะฉะนั้นเรามาเริ่มจาก . . .

 

 

ขั้นตอนที่ 1 การหยุดเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น

บางครั้งการที่เราเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นก็เป็นแรงผลักดันเชิงบวกที่ดี แต่การเปรียบเทียบหลาย ๆ สิ่ง ไม่ว่าจะหน้าตา ฐานะการงาน ความฉลาด ประสบความสำเร็จ

 

จะส่งผลให้เรารู้สึกดีไม่พอ คือไม่ว่ายังไงก็จะต้องมีคนที่เรามองว่า ‘เขาดีกว่าเรา’ อยู่เสมอ และการที่เราคิดแบบนี้จะเป็นบ่อนการทำร้ายตัวเองเรื่อย ๆ

 

ทางที่ดีคือการที่เรายอมรับความเป็นตัวเรา การรักตัวเองไม่ได้อยู่ดีรูปลักษณ์ภายนอก ความสำเร็จภายนอกแต่สิ่งที่รักตัวเองคือการยอมรับตัวตนของเราเองจากภายใน

 

ถ้าให้เปรียบคนที่เป็น Highly Sensitive Person จะเบลมว่าเพราะเราเป็นคนอ่อนไหวง่ายไงเลยรู้สึกอ่อนแอ แต่เพราะความอ่อนไหวง่ายไงเราเลยรับรู้ความรู้สึกของคนอื่นได้

 

รับรู้สถานการณ์อะไรที่ควรหรือไม่ควรคำพูดที่ถนอมจิตใจคน นั้นคือข้อดี

 

 

ขั้นตอนที่ 2 เลิกวิพากษ์วิจารณ์ตัวเอง

การที่เราด่าทอตัวเอง วิจารณ์ตัวเองจะทำให้เราหมดกำลังใจ และทำลายความรู้สึกที่ตัวเองมีคุณค่า ไม่แปลกเลยที่เรามีนักวิจารณ์เกิดขึ้นกับตัวเรา

 

บางคนก็เลือกวิธีมองว่ามันคือศัตรูจึงพยายามมองข้ามมัน บางคนก็เลือกกดทับมันแล้วแล้วคิดถึงแต่สิ่งดี ๆ แต่วิธีเหล่านั้นเหมือนเป็นการปิดเสียงนักวิจารณ์เพียงชั่วคราว

 

คุณคอลลินส์ก็เลยมีแบบฝึกหัดที่ให้เราได้ผูกมิตรกับนักวิจารณ์ ให้เรานึกถึงนักวิจารณ์ในตัวเราเองแล้วตั้งชื่อให้มัน เช่น เอนักตัดสิน แล้วเออัดเสียงช่วงเวลาที่เราตัดสินตัวเอง

 

ตำหนิตัวเองลงไป ที่นี้กลับไปฟังเสียงที่อัดแล้วดูว่าสิ่งที่เราตัดสินตัวเอง ตำหนิตัวเอง มีใครเคยบอกเราอย่างนี้รึป่าว พ่อแม่ ครู แฟน เพื่อนรึป่าว

 

ถ้าเราฟังแล้วเรารู้ว่ามันเริ่มจากไหนเราจะเริ่มแยกแยะได้ ต่อไปก็ต้องตั้งข้อสงสัยว่า ความคิดแง่ลบที่เราตัดสินตัวเองตำหนิตัวเอง มันจริงหรือเปล่า ทำไมเราถึงได้รับคำชมว่าทำงานเก่ง

 

เป็นเพื่อนที่น่ารัก เป็นคนที่นิสัยดี แล้วเราจะตำหนิตัวเองด่าทอตัวเองหนักให้เจ็บปวดทำไม เมื่อเรารับรู้ถึงความรู้สึกนี้แล้วเราเปลี่ยนจากการด่าทอเป็นการสวมกอด เอนักตัดสิน

 

และบอกเอนักตัดสินว่า เอจะได้รับการเยียวยานะ ความเห็นอกเห็นใจ การเห็นคุณค่าในตัวของเอเองกำลังจะเริ่มขึ้น ไม่จำเป็นต้องด่าทอตัวเองให้เจ็บปวดแล้วนะ 

 

 

ขั้นตอนที่ 3 พัฒนาความเห็นอกเห็นใจของตัวเอง

คนเป็น Highly Sensitive Person จำนวนมาก จะมอบความเห็นอกเห็นใจให้คนอื่นอย่างมหาศาล แต่กลับไม่สามารถทำแบบนั้นได้กับตับเอง โทษตัวเอง วิจารณ์ตัวเอง ปฏิเสธตัวเอง

 

ดังนั้นการฝึกการรัก การเห็นใจตัวเองเป็นสิ่งสำคัญมาก คำถามที่ดีที่เหมาะที่จะถามตัวเองก็คือ “เราจะทำกับพ่อแม่ ลูก ๆ เพื่อน ๆ หรือคนที่เรารักเหมือนที่เราทำกับตัวเองหรือเปล่า”

 

ถ้าคำตอบคือไม่ ก็ให้สัญญากับตัวเองว่าจะปฏิบัติกับตัวเองด้วยความเมตตามากกว่านี้ เหมือนกับที่เรามักได้ยินบ่อย ๆ การรักตัวเองถ้าทำไม่เป็นลองดูว่าเรารักคนอื่น

 

ปฏิบัติกับคนอื่นยังไงเราลองเริ่มทำจากสิ่งนั้นไหม?

 

ขั้นตอนที่ 4 เรียนรู้ที่จะปฏิเสธโดยที่ไม่รู้สึกผิด

การที่เราเป็น Highly Sensitive Person จะมีปัญหากับการบอกปฏิเสธคนอื่น ๆ ยิ่งถ้าเป็นสถานการณ์ที่ถูกกดดัน จนลำบากใจ หรือสถานการณ์ที่เราคิดว่าต้องแย่แน่ ๆ เลยถ้าเราปฏิเสธคนนี้

 

คนนี้ต้องไม่โอเค จึงมักจะรู้สึกผิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเห็นแก่ตัวถ้าไม่ช่วยเหลือคนอื่น จึงตอบตกลงไปถึงแม้ว่าจะไม่อยากทำก็ตาม เมื่อตอบตกลงไปเรากลับรู้สึกถูกฉวยโอกาสจากความใจดี

 

พอมาถึงตรงนี้เราจะฝึกปฏิเสธอย่างไรดี เริ่มแรก ลองพูดก่อนว่า “ฉันจะให้คำตอบคุณเร็วๆนี้” , “ฉันจะติดต่อกลับไปนะ” เวลามีคนขอให้เราทำอะไรจนกว่าเราจะมีความมั่นใจในการปฏิเสธ

 

หรือการถามตัวเองว่า เรา ‘อยาก’ จะทำไหม หรือ มีความรู้สึกว่า ‘เราควร’ หรือ ‘สมควรต้อง’ ทำ ถ้ามันเป็นความรู้สึก ควร สมควรต้อง

 

ส่วนใหญ่มันมักจะเป็นสารหรือความคาดหวังของคนอื่น ๆ ที่เรารับมาแบกไว้ และมันก็ ok นะถ้าเราจะปฏิเสธ

 

 

ขั้นตอนที่ 5 แสดงความรู้สึกที่แท้จริงของเรา

ใครเป็นคนที่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น อารมณ์ ความรู้สึก ของตัวเองบ้างราวกับว่าเรามีสิ่งคำพูดในหัวมากมายแต่ไม่กล้าที่จะพูดออกไป ไม่รู้ว่าควรพูดไหม

 

ถ้าพูดไปแล้วมันแย่กว่าเดิมละ จนละเลยความรู้สึกตัวเองบ่อย ๆ การที่เราเป็นตัวเราเป็นเจ้าของความรู้สึกของเรา เราควรยอมรับและแสดงมันออก ด้วยวิธีการที่เหมาะสมและปลอดภัย

 

การบอกความต้องการของตัวเองให้คนอื่นรู้ เช่น เราเจอคนที่พูดไม่ดีกับเรา นิสัยไม่ดีใส่เรา เรารู้สึกแบบนั้นเราจะแสดงออกบอกไปยังไงดี

 

คุณคอลลินส์บอกว่า เราสามารถบอกด้วย เรารู้สึกแย่เวลาที่เธอแสดงความคิดเห็นแบบนี้กับเรา มันทำให้เราเจ็บปวด เราสามารถพูดประโยคนี้ได้ ถึงแม้ว่าจริง ๆ เราจะพูดว่า

 

เรารู้สึกแย่ที่เธอแสดงความคิดเห็นแบบนี้ เธอนิสัยไม่ดี เธอทำให้ฉันรู้สึกแย่ แสดงความเห็นของตัวเอง ครส ความต้องการ และไม่โทษคนอื่น แค่พูดความจริงเกี่ยวกับความรู้สึกของตัวเอง

 

ประโยคที่อยากบอกเล่าจากคนอ่าน

จงให้สัญญาว่าจะทำสิ่งที่อ่อนโยนใจดีต่อตัวเองทุก ๆ วัน แม้ว่ามันจะเป็นแค่การใช้เวลาทำอาหารอร่อย ๆ ให้ตัวเอง

 

ฟังเพลงที่ชอบ และซื้อของเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้ตัวเองหรือออกไปเดินเล่นในสวนสาธารณะก็ตาม 🙂