Posts
เปลี่ยนแฟนบ่อย มักถูกสังคมมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่ดี แต่ถ้าไม่ตัดสินใจเลิกรา
แน่นอนว่าอีกทางเลือกหนึ่งคือการทนอยู่กับความสัมพันธ์เดิม รูปแบบไหนมีข้อดีหรือข้อเสียอย่างไร
เปลี่ยนแฟนบ่อย การมีแฟนหลายคน . .
มีประโยคนึงที่เคยได้ยินมาตั้งแต่เด็ก ๆ เป็นผู้หญิงอย่าเปลี่ยนแฟนบ่อยถ้าเสียแล้วมันเสียเลย ซึ่งเราก็ไม่เข้าใจในตอนนั้นแต่ด้วยความที่โตมาเราเติบโตมาเรื่อย ๆ
เรามีความเข้าใจในความรัก พูดคุยกับคนใกล้ตัวมากขึ้นในเรื่องของการเปลี่ยนแฟนบ่อย ทุกครั้งที่เปลี่ยนความสัมพันธ์มีความเสียใจเกิดขึ้น และบางกรณีก็เจอความรักที่ไม่ดี
เมื่อเราโตขึ้น มีวุฒิภาวะขึ้น เรามีสิทธิ์ในร่างกาย และการใช้ชีวิตของเรา เราเลือกทำอะไรได้หลายอย่างมากขึ้นรวมถึงการมีแฟนก็เช่นเดียวกัน
ทำไมผู้หญิงมักถูกต่อว่าเมื่อเปลี่ยนความสัมพันธ์บ่อย ๆ
ความเชื่อที่มองว่าผู้หญิงจะเสียเปรียบ
ยังคงมีความเชื่อว่าผู้หญืงคือฝ่ายเสียเปรียบเมื่อเปลี่ยนแฟนบ่อย ๆ ถูกมองว่าไม่ดีบ้าง ถูดลดทอนคุณค่าจากทุกครั้งที่เปลี่ยนความสัมพันธ์
ซึ่งความจริงแล้วเราทุกคนย่อมมีสิทธิเลือกสิ่งที่ดี สิ่งเหมาะให้กับตัวเอง
ความเชื่อที่ว่าผู้หญิงต้องรักนวลสงวนตัว
ขนบธรรมเนียม ประเพณีตั่งต่างที่เกิดขึ้นทำให้ผู้หญิงต้องรักนวลสงวนตัว แต่งกายให้เรียบร้อย เป็นผู้หญิงต้องมีมารยาท มีความอาย ถ้าใครสวนทางหรือแสดงออกความเป็นตัวเอง
ที่ไม่ตรงกับขนบธรรมเนียม เช่น การแสดงความรักในที่สาธาณะ หอมแก้ม จับมือ หรือการที่คนอื่นเห็นว่าเปลี่ยนแฟนบ่อย ยังเป็นที่ไม่ยอมรับกันอยู่ในสังคม
เราให้คุณค่ากับรักยืนยงคงกระพัน เพราะมันดูสมบูรณ์แบบ
เป็นแฟนกันต้องอดทนนะ,คู่นี้คบกันนานจังดูดีจังเลย เพราะคำพูดเหล่านี้ทำให้ถูกมองว่าการเปลี่ยนแฟนบ่อย ๆ ถูกมองว่าไม่ดี ชอบคนง่ายบ้าง โลเลบ้าง
แต่ที่จริงแล้วความสัมพันธ์ที่ดีไม่จำเป็นต้องอดทนจนไม่เป็นตัวเอง และการคบกันยาวนานไม่ใช่สิ่งพิสูจน์ความรักเสมอไป
วัฒนธรรมดั้งเดิม การชายเป็นใหญ่ ซึ่งยังคงหลงเหลืออยู่บ้าง
ระบบชายเป็นใหญ่ ระบบที่เอื้อให้กับเพศชาย ไม่ว่าจะเป็นในฐานะพ่อ สามี ลูกชาย หรือผู้นำในชุมชน สถาบัน นั้น ๆ สามารถมีอำนาจและสิทธิเหนือกว่าเพศอื่น ๆ
ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม ศาสนา การตัดสินใจต่าง ๆในชีวิตประจำวัน รวมถึงการให้คุณค่า การยกย่องเชิดชู ความเป็นชายของบุคคลและสังคมนั้น ๆ
เพราะฉะนั้นแล้วจึงเป็นคำตอบทำไมผู้ชายเปลี่ยนแฟนบ่อยไม่ถูกโจมตี หรือตั้งคำถามเท่าผู้หญิง
ความสัมพันธ์ Toxic
ความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ ที่ทำให้ไม่มีความสุขทั้งจิตใจและร่างกาย เป็นความสัมพันธ์ที่จะมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรืออาจจะทั้งคู่ที่มุ่งจะทำร้ายกันมากกว่ามอบความรัก
ความเมตตาต่อกัน ทำให้รู้สึก ไร้ค่า หมดแรง หรืออาจจะกลับทบไปถึงความสัมพันธ์ของเรากับคนรอบตัว การทำงานต่าง ๆ ได้ด้วย
เราจะรู้ได้ยังไงว่าอยู่ในความสัมพันธ์ Toxic
- รู้สึกไม่ปลอดภัยเหมือนถูกจับผิดทั้งที่ไม่ได้ทำอะไร และไม่มีพื้นที่ส่วนตัวเลย
- รู้สึกเจ็บปวดทั้งร่างกายและจิตใจ อาจจะทั้งการโกหก การนอกใจ และรวมถึงการทำร้ายร่างกาย
- รู้สึดหมดแรงเวลาอยู่กับคนๆ นั้น และทั้งรู้สึก ทุกข์ เหนื่อยใจ โกรธ เหงา เหนื่อย
- รู้สึกโทษตัวเอง มองว่าตัวเองไม่มีคุณค่า เกิดการตั้งคำถามกับตัวเองซ้ำ ๆ
ส่งผลต่อความสัมพันธ์อย่างไร
- ทำให้เราไม่มีความสุขเมื่ออยู่ด้วยกัน เกิดเรื่องทะเลาะ ขัดหูขัดตากันตลอดเวลา
- ความรู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัย ในการใช้ชีวิตคู่
- กระทบกับการใช้ชีวิต คนรอบข้าง
- เกิดการตั้งคำถามกับตัวเองว่า เรามีค่าพอหรือไม่ เราไม่ดีตรงไหน
การเคารพความรู้สึกตัวเอง ความสัมพันธ์ไม่มีผิดหรือถูก
ถ้าเลือกได้ เชื่อว่าหลาย ๆ คนอยากเจอคนที่ใช่และคบกันได้ลงตัว คงไม่ใช่ทุกคนที่อยากจะเปลี่ยนแฟนบ่อย ๆ เพื่อมาเริ่มนับหนึ่งใหม่ทุกครั้งหรอก
แต่ในเมื่อความเป็นจริง ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถเจอคนที่ใช่ได้ง่าย ๆ และคนเรานั้นเปลี่ยนแปลงได้เสมอ เลือกเพื่อนยังเคยเลือกผิด เลือกเสื้อผ้ายังเคยเลือกผิด
เลือกแฟนผิดจะเป็นอะไร ทุกคนมีโลกในอุดมคติของตัวเอง อย่าตัดสินคนอื่นเพียงแค่เปลี่ยนแฟนบ่อยเลย และการพาตัวเองออกมาก็คือการที่เราเริ่มเคารพตัวเอง
ถ้าอันไหนไม่ดีและไม่ใช่อย่าเสียเวลาเลย ชีวิตคนเราสั้นเกินกว่าจะอยู่ในความสัมพันธ์ที่ Toxic
ความรู้สึกที่ทุกคนต้องเจอบางทีมาแบบเรารู้ตัวและบางทีก็ไม่รู้ตัว บางครั้งเวลามีคนมาหยอกหรือมาถามว่า ก็รู้สึก หัวร้อน
มาพูดคุยถึงอารมณ์หัวร้อน ความรู้สึกโกรธ ขี้วีน กับ Alljit 🙂
ทำไมเราถึง ‘หัวร้อน โกรธ’
เจอร์รี เดฟเฟนบาเชอร์ นำเสนอไว้ว่าเป็นผลมาจาก
- สิ่งกระตุ้น คือ เหตุการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดความโกรธ เช่น รถติด โดนพ่อแม่บ่น ทะเลาะกับแฟน
- ลักษณะนิสัยของแต่ละบุคคล หรือ บุคลิกภาพ
เช่น การหลงตัวเอง คนที่ชอบการแข่งขัน ไม่ชอบแพ้ และ ความอดทนต่อความคับข้องใจของตัวเองต่ำ หรือช่วงนั้นอยู่ในช่วงอารมณ์ไม่มั่นคง มีความเครียด ความเหนื่อย
- การประเมินสถานการณ์ และการรับรู้ของแต่ละคน
เช่น รู้สึกว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ยุติธรรมกับตัวเราเลย เรื่องนี้ฉันไม่ได้ทำอะไรผิด ทำไมฉันถึงถูกกระทำแบบนี้ ถูกลงโทษ
ความโกรธในเชิงวิทยาศาสตร์
ในทางวิทยาศาสตร์ได้มีการอธิบายความโกรธไว้ว่า เป็นสัญชาตยานหนึ่งของมนุษย์ที่มีมาตั้งแต่อดีต
ลองนึกถึงภาพว่าสมัยก่อนที่เราอยู่เป็นคนเผ่า ต้องล่าสัตว์ แย่งทรัพยากรในการใช้ชีวิตกัน เราใช้ความโกรธนี่แหละแย่งชิงและสร้างบรรทัดฐานของสังคม
รูปแบบ
Outward ความโกรธภายนอก สิ่งนี้แสดงออกมาภายนอกต่อบุคคลหรือสิ่งของ เช่น การขึ้นเสียงหรือการขว้างปาสิ่งของ
Inward ความโกรธภายใน แสดงออกต่อตัวเอง พูดเชิงลบกับตัวเอง หรือแม้แต่พฤติกรรมทำร้ายตัวเอง
Passive ความโกรธแบบไม่โต้ตอบ การแสดงความโกรธทางอ้อม เช่น การใช้คำพูดส่อเสียดหรือการเสียดสี
อะไรคือสิ่งที่บ่งบอกว่า ‘เป็นคนโกรธง่าย หรือ ความโกรธที่เกิดขึ้นเริ่มเป็นสิ่งที่มากเกินปกติ’
- โกรธแบบส่งผลต่อความสัมพันธ์ของเรากับคนรอบตัว
- โกรธแล้วจะมองในแง่ลบอย่างต่อเนื่อง มุ่งเน้นไปที่ประสบการณ์เชิงลบ
- รู้สึกว่าคนที่คิดต่างจากความโกรธของเราคือ ‘ศัตรู’
- ทะเลาะกับคนอื่นบ่อย ๆ และโกรธมากขึ้นเรื่อย ๆ
- มีความรุนแรงทางร่างกาย โกรธจนทำร้ายตัวเอง
- คุกคามคนอื่นเวลาโกรธ ลงไม้ ลงมือ ทำร้ายคนอื่นแบบจงใจให้รู้สึกว่าสะใจ
- ทำสิ่งรุนแรง หุนหันพลันแล่น เช่น ขับรถแบบประมาท ทำลายข้าวของ
ความโกรธแสดงออกมาในรูปแบบไหนบ้าง
พฤติกรรมก้าวร้าว (Aggression)
การแสดงออกทางอารมณ์ด้านลบที่รุนแรงทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น คำพูดเสียดสี โมโหร้าย ไม่รับฟังผู้อื่น ตะโกนด่าทอ ทำลายข้าวของ ทำร้ายตัวเอง และทำร้ายคนอื่น
ซึมเศร้าและวิตกกังวล (Depression and Anxiety)
เรามักถูกสอนตั้งแต่เด็ก ๆ ว่าอารมณ์เชิงลบต่าง ๆ จะไปทำลายความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น ทำให้เราเลี่ยงที่จะตอบโต้และพยายามข่มอารมณ์ไว้อยู่เรื่อยมา
เพื่อรักษาความสัมพันธ์ แต่มันอาจเป็นดาบสองคมเหมือนกัน เพราะเราต้องแบกทั้งความรู้สึกและความไม่พอใจเอาไว้ จนความโกรธกัดกินจิตใจและกลายเป็นความเศร้าในที่สุด
หรือโกรธมากจนร้องไห้ ส่วนมากจะเป็นเรื่องที่เราโกรธอย่างหนักและไม่สามารถจัดการมันได้ หรือระบายมันออกมาได้ มันอึดอัด มันควบคุมไม่ได้ ร้องไห้เลยเป็นวิธีเดียวที่ได้ที่ทำได้ ณ ตอนนั้น
การเงียบใส่ (Silent treatment)
เพราะการเงียบใส่ดีกว่าตอบโต้แบบขาดสติ บางคนก็เลือกใช้วิธีเงียบ เดินหนีมากกว่าแสดงการโต้เถียง หรืออารมณ์ออกมา ซึ่งการใช้วิธีเงียบเราอาจจะมองว่าเป็นสิ่งที่ดี
เพราะเราเงียบเรามีการควบคุมนะการใช้สติ แต่รู้ไหมว่าการเงียบมันสร้างความเจ็บปวดทั้ง 2 ฝ่าย บางครั้งฝ่ายเงียบเงียบนอกจริงแต่ในใจเราอาจกำลังลุกเป็นไฟ
ตบตีกับตัวเองและอีกฝ่ายในใจจนกลายเป็นความเก็บกด
เราจะผ่อนคลาย ความโกรธ ให้เบาลงได้ยังไงบ้าง
เพราะความโกรธเป็นอารมณ์เชิงลบพอ ๆ กับความเศร้าที่บางคนก็ไม่กล้าแสดงความรู้สึกโกรธออกมา ตามมาตรฐานของสังคมเวลาที่เรารู้สึกโกรธ
ก็จะมีสายตาที่มองว่าทำไมไม่รู้จักกักเก็บอารมณ์ เพราะโกรธเนี่ยเลยขาดสติเลยทำให้ทุกอย่างพลัง เพราะฉะนั้นเราจะดีลกับความเลือดร้อน ความหัวร้อนของเราได้ยังไงบ้าง
- รับรู้อารมณ์ตัวเองว่าเรากำลังโกรธอยู่นะ รู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นอารมณ์ตัวเองตอนนี้คือเรื่องไม่ปกติ เราหัวใจเต้นเร็วผิดปกติไหม หรือว่ามีอะไรมาสะกิดก็พร้อมติดหมดเลยหรือเปล่า
- หาวิธีระบายอารมณ์ที่เหมาะสมกับตนเองโดยไม่เดือนร้อนผู้อื่น
- รวบรวมสติ สติ สติ ไม่ให้ฟึดฟัดมากเกินไปหากว่าเราอยู่ในพื้นที่ที่เราไม่สามารถระบายความโกรธได้
- ถ้าควบคุมไม่ได้ให้เดินออกมาจากสถานการณ์นั้น
เราจะอยู่ร่วมกับคนขี้โกรธอย่างไร
1. ตอบรับได้ แต่อย่าแสดงออกไปด้วยความโกรธ
ถ้ามีคนมาแสดงความวีน โกรธ เหวี่ยงใส่เรา เราจะทำไงคะแม้ว่ามันอาจจะยาก แต่การฟัง การสงบสติอารมณ์ และโต้ตอบจะช่วยให้ผ่านพ้นสถานการณ์ที่ตึงเครียดได้
พยายามหลีกเลี่ยงการโกรธหรือกระวนกระวายใจในระหว่างการพูดคุย แต่ให้พยายามตอบสนองด้วยความเห็นอกเห็นใจและเอาใจใส่แทน
สิ่งนี้จะแสดงให้อีกฝ่ายเห็นว่าคุณได้ยินสิ่งที่พวกเขาพูด เข้าใจมุมมองของพวกเขา
2. Don’t take it personally
แต่มันก็อาจจะไม่เกี่ยวกับเราด้วยซ้ำ ความโกรธของบุคคลนั้นอาจเป็นผลมาจากสิ่งที่คนอื่นพูดก่อนหน้านี้ ที่ตึงเครียดในที่ทำงาน หรือเพียงแค่มีวันที่ยากลำบาก
3. หันเหความสนใจ
สิ่งนี้ทำให้พวกเขาสามารถก้าวออกจากความโกรธและอาจสะท้อนถึงพฤติกรรมของพวกเขาได้
4. กำหนดขอบเขต
กำหนดขอบเขตอาจเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาสมดุลทางจิตใจและอารมณ์ของตัวเอง ก่อนที่คุณจะต้องเผชิญกับการจัดการความรู้สึกของคนอื่น ให้พยายามกำหนดขีดจำกัดของตัวเองเสียก่อน
ความโกรธก็มีประโยชน์?
1. เพื่อความอยู่รอด
ความโกรธจะถูกเปิดอัตโนมัติเมื่อเราถูกโจมตีและกระตุ้นให้โต้ตอบ อย่างรวดเร็วและรุนแรง เคยสังเกตไหมคะว่าเวลาเราโดนด่า บางครั้งเราจะมีปฏิกิริยาแบบโต้กลับอัตโนมัติ
2. ทำให้มีความคิดสร้างสรรค์
เคยได้ยินไหมว่า อ่านหนังสือสอบด้วยความโกรธ, ทำงานด้วยความโกรธ ความโกรธทำให้เรามีสมาธิกับสิ่งนั้น ๆ มากขึ้น ถ้าเราใช้ความโกรธเป็น
โกรธที่มีสติและใช้พลังของความโกรธชมุ่งสิ่งนั้นให้สำเร็จ
3. โกรธ ทำให้รู้ว่าเรายังมีความรู้สึกไง มันเป็นเรื่องปกติ ไม่โกรธซิแปลก
เป็นการตอบสนองทางสังคมและมีผลกระทบทางสังคม ทฤษฎีทางจิตวิทยาถือว่าความโกรธเป็นการตอบสนองต่อความเจ็บปวด
ดังนั้นเมื่อเรารู้สึกเจ็บปวด ระคายเคือง หรือผ่านความรู้สึกไม่พึงประสงค์ไปพร้อมกับการตระหนักถึงภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น เรามักจะโกรธ
ที่มา :
นินทา อาจจะเป็นส่วนหนึ่งในการใช้ชีวิตของบางคน แต่หลายครั้ง… พฤติกรรมแบบนี้มักจะถูกมองในแง่ลบ
เพราะอะไรเราถึงซุบซิบนินทา การซุบซิบนินทามีข้อดีข้อเสียอย่างไร และจะรับมืออย่างไร
ซุบซิบ นินทา ?
เรามักคิดว่า คำว่า ซุบซิบ นินทา คือการพูดถึงคนอื่นในเชิงลบ พูดถึงบุคคลที่สามในขณะที่เขาไม่อยู่ หรือการดูถูกเหยียดหยาม
แต่จริง ๆ แล้ว นักวิจัยมักให้คำจำกัดความกว้าง ๆ ว่า “กำลังพูดถึงคนที่ไม่อยู่ ณ ตรงนี้ ”
เมแกน ร็อบบินส์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ริเวอร์ไซด์ กล่าว “เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติสำหรับเรา”
เป็นส่วนสำคัญของการสนทนา การแบ่งปันข้อมูล และแม้แต่ความสัมพันธ์
“มันไม่จำเป็นต้องเป็นลบ” “อาจเป็นเชิงบวกหรือเป็นกลางก็ได้” David Ludden ศาสตราจารย์วิชาจิตวิทยาที่ Georgia Gwinnett College
และผู้เขียน The Psychology of Language: An Integrated Approach กล่าว
ทำไมคนเราถึงซุบซิบ นินทา
คุณ Robin Dunbar ได้เขียนหนังสือเรื่อง Why you were born to gossip ?
ได้อธิบายถึงวิวัฒนาการของการนินทาที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับพัฒนาการด้านภาษาเพื่อการสื่อสาร
ซึ่งเขาบอกว่า เคยคิดหรือไม่ว่าวันหนึ่งเราใช้เวลาว่างไปมากน้อยเท่าใดในการพูดคุยถึงใครทำอะไรที่ไหนอย่างไร
ซึ่งการนินทาเป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้น แม้ว่าเนื้อหาของการพูดคุยจะเป็นเรื่องธรรมดา แต่การพูดคุย เป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมได้เป็นอย่างดี
ทำให้สามารถได้ข้อมูลและแลกเปลี่ยนหรืออัพเดทข่าวสาร
สถิติการซุบซิบ นินทา
ในการวิเคราะห์ เมต้าปี 2019 ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Social Psychological and Personality Science ร็อบบินส์และเพื่อนร่วมงาน พบว่า โดยเฉลี่ยแล้วผู้เข้าร่วม 467 คน พบว่า
ผู้คนนินทาเฉลี่ย 52 นาที/วัน โดย 3 ใน 4 ของการนินทานั้นเป็นเรื่องกลาง และพบว่า ประมาณ 15% – เป็นการนินทาเชิงลบ ประมาณ 9% – เป็นการนินทาเชิงบวก
ดังนั้นแม้ว่าความเป็นจริงที่ผู้คนสามารถใช้เวลามากมายเพื่อพูดถึงคนรอบข้าง แต่บ่อยครั้งการพูดคุยกันนั้นไม่เป็นเรื่องดี
สาเหตุ Gossip ที่ทำร้ายกัน
การนินทาที่ไม่ดีอย่างชัดเจนเลยคือการนินทาที่สร้างความเสียหายให้คนอื่น สร้างความเกลียดชัง ไม่มีศีลธรรมอย่างทุกวันที่เราเห็น ๆ กันก็คือพวก fake news หรือการ bully
ขอขอบคุณข้อมูลจาก i strong หากจะถามว่าคนแบบไหนที่ชอบนินทา คนแบบนั้นก็มักจะเป็นคนที่…
– มีพฤติกรรมขี้ขลาด (Cowardly Behavior) คนที่ขี้ขลาดจะไม่กล้าเข้าไปถามตรง ๆ ก็เลยคิดว่า “ฉันฟังจากปากของคนอื่นก็ได้” หรือ “มันก็สนุกดีที่จะพูดต่อ ๆ กันไป”
– รู้สึกไม่มั่นคง/ต้องการเสริมพลังให้ตัวเอง (Insecurity/Empowerment) คนขี้นินทาส่วนใหญ่ต้องการได้รับความสนใจ และมักจะรู้สึกว่าตัวเองมีความสำคัญขึ้นมาเมื่อได้เป็นคนปล่อยข่าว
ทำให้มีคนเข้ามาคุยด้วยมากขึ้น โดยที่พวกเขาไม่รู้เลยว่าการเป็นคนขี้นินทามันมีราคาที่ต้องจ่ายก็คือความน่าเชื่อถือลดลงและ สุดท้ายก็จะไม่มีใครอยากอยู่ใกล้เพราะไม่อยากเป็นรายต่อไปที่จะถูกนินทา
– มีพฤติกรรมชอบซาดิสม์ (Sadistic Personality) คนขี้นินทาอาจจะเป็นคนเดียวกับคนที่ชอบเห็นคนอื่นเจ็บปวด และรู้สึกดีเมื่อได้เห็นคนอื่นต้องเจอกับประสบการณ์เจ็บปวดทุกข์ใจ
– มีความกังวลไม่มั่นใจ (Anxiety and Uncertainty) คนที่มีนิสัยขี้กังวลไม่มั่นใจสามารถกลายเป็นคนขี้นินทาได้ เพราะช่วงเวลาที่นินทาคนอื่นมันช่วยให้ลืมความกังวลของตัวเองไปได้ชั่วคราว
– เป็นผู้หญิง (You’re Female) คุณผู้หญิงอาจจะรู้สึกไม่ค่อยดีที่ต้องมาเจอกับข้อความนี้ แต่จากข้อมูลของ Dr. Hallowell จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นพบว่า การนินทามักมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นใน
กลุ่มผู้หญิงมากกว่า และก็มักจะพบว่าคนที่ชอบสร้างเรื่องขึ้นมานินทาส่วนใหญ่แล้วเป็นผู้หญิง
Gossip ต้องเป็นเชิงบวกจึงจะมีประโยชน์
การเมาท์มอย ซุบซุบ มักจะถูกเชื่อมโยงเข้ากับ “การนินทา” หรือการว่าร้ายผู้อื่นแบบลับหลังอยู่เรื่อยมา แต่อันที่จริงแล้วการเมาท์มอยนั้นไม่ได้เกิดขึ้นจากการประสงค์ร้ายเสมอไป ซึ่งผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า
การเมาท์มอยเรื่อยเปื่อยทั่วไปแบบไร้สาระและไร้พิษภัยระหว่างเพื่อนร่วมงานนั้น ดีต่อสุขภาพจิตแถมยังช่วยให้คนเราทำงานได้มีประสิทธิภาพขึ้นอีกด้วย แต่การนินทาว่าร้าย นี่ต่างหากนะคะที่อาจจะเป็นปัญหา
แฟรง ที แมคแอนดรูว์ ศาสตราจารย์สาขาวิชาจิตวิทยา “คนเรามักจะมองการนินทาคนอื่นเป็นพฤติกรรมเชิงลบที่แย่และดูไม่ดี แต่จริง ๆ แล้วมันไม่ใช่อย่างนั้น
เพราะความรู้ที่เราได้รับจากการนินทานั้น ช่วยให้เรานั้นก้าวหน้าเพื่อไปต่อในสังคม และคนที่ไม่สนใจในเรื่องนี้มักจะเป็นคนที่เสียเปรียบ”
ที่มา :
The Science Behind Why People Gossip
‘การนินทา’ หนึ่งในวิวัฒนาการที่ทำให้มนุษย์อยู่รอด
Psychologists say gossiping is a social skill.
Gossip เรื่องเลวร้ายหรือของฟรีที่มีค่า
เวลาที่เราได้รับรู้เรื่องใดเรื่องนึงมาในทุกวันนี้ที่มี internet ที่สามารถแพร่ข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว เราไม่รู้ด้วยว่าจริงหรือไม่จริง ยิ่งเร็ว ยิ่งสดใหม่
บางครั้งก็ดีใจที่ได้รู้ก่อน ดังนั้นจำเป็นหรือไม่ที่เราควรใช้วิจารณาญาณในการเสพสื่อต่าง ๆ
Critical Thinking คิด วิเคราะห์ แล้ว แยกแยะ
Critical Thinking คือ การคิดเชิงวิพากษ์ เป็นกระบวนการคิดรูปแบบหนึ่ง ที่ใช้ในการสร้างและประเมินข้อสรุปจากหลักฐานหรือสภาวการณ์ใด ๆ ได้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง
นอกจากความหมายนี้แล้ว ยังมีนักวิชาการที่ให้ความหมายของ Critical Thinking อีกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น
Critical Thinking คือ ความสามารถในการคิด วิเคราะห์ พิจารณา ประเมินและตัดสินใจข้อมูลที่ได้รับอย่างเป็นเหตุเป็นผล Benjamin Bloom (1956)
Critical Thinking คือ กระบวนการคิดวิเคราะห์และแยกแยะข้อมูลอย่างเป็นระบบ โดยไม่เอาความรู้สึกหรือความเชื่อส่วนตัวมาปะปน ทำให้เป็นทักษะที่สำคัญในด้านการตัดสินใจ
โดยเฉพาะในยุคที่ข้อมูลมากมาย ถูกลำเลียงมาสู่สายตาเราอย่างง่ายดาย
องค์ประกอบของ Critical Thinking มีอะไรบ้าง?
หลักจากเข้าใจถึงความหมายของ Critical Thinking ต่อมาเราจะมาถึงองค์ประกอบ (Elements) ของทักษะนี้ จริง ๆ แล้วองค์ประกอบของ Critical Thinking Skills
ถ้าจะเรียกให้ถูกควรจะเรียกว่า ทักษะย่อย (Subskills) แต่มันก็ไม่ได้เป็นกระบวนการ หรือ Process ที่ต้องเอาทุกองค์ประกอบมาทำต่อ ๆ กัน
พูดง่าย ๆ ก็คือ มี Subskill ที่ 2 ได้โดยไม่ต้องคิด Subskill 1 ก่อน นั่นเอง โดย Subskills ของ Critical Thinking มีดังนี้ช
1. การทำความเข้าใจ ( Understanding )
การทำความเข้าใจเป็นที่มีความสำคัญ และเป็นจุดเริ่มต้นเพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ประกอบ และข้อมูลที่จำเป็นต่อการนำไปวิเคราะห์ในขั้นต่อไป จริงแล้ว ๆ มนุษย์เราได้เปรียบกว่าสัตว์อื่น
เพราะเราพยายามทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ อยู่เสมอมาตั้งแต่อดีต และวิธีการที่มนุษย์ใช้ในการทำความเข้าใจ ก็คือ การตั้งคำถาม
2. การวิเคราะห์ข้อมูล ( Analysis )
สิ่งต่อมาคือการหาความเชื่อมโยงขององค์ประกอบเหล่านั้นว่าองค์ประกอบเหล่านั้น ถ้าสิ่งหนึ่งเพิ่มขึ้นอีกสิ่งหนึ่งจะเป็นอย่างไร หรือถ้าสิ่งหนึ่งขาดหายไปสิ่งไหนจะโดนผลกระทบบ้าง
เราเรียกการเชื่อมโยงที่ว่านี้ว่า การให้เหตุผล ซึ่งนี่ก็ยากบางทีเราก็วิเคราห์แบบใส่อคติลงไปโดยไม่รู้ตัว
3. การอนุมาน (Inference) การคาดการณ์..
การประเมินให้เกิดผลลัพธ์จาก องค์ประกอบที่มีความหมาย หรือผลจากการวิเคราะห์ เพื่อใช้ในการตัดสินใจ คาดการณ์ว่าผลลัพท์จะออกมาแบบนี้ น่าจะเป็นแบบนี้
ยกตัวอย่าง
มีคอลเซ็นเตอร์โทรมาบอกว่าคุณมีพัสดุตกค้างอยู่ที่ สมมุติเป็น บริษัทชื่อ DD จะต้องจ่ายเงินจำนวน 100 บาทถึง ทำความข้าใจกับข้อมูลก่อน โดยการตั้งคำถาม ฉันมีพัสดุจริง ๆ หรือ
จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาลองเชื่อมโยงกัน นำข้อมูลมาวิเคราะห์ ฉันมี พัสดุอยู่ที่ บริษัท DD แล้วจะต้องจ่ายเงิน 100 บาท วิเคราะห์จากข้อมูลที่ตัวเองมี รวมกับข่าวสารที่เคยได้รับมา
หรือหาข้อมูลจากการถามคนรอบข้าง อินเทอร์เน็ต อนุมาน ว่า มิจฉาชีพแน่ ๆ แบบนี้ไม่ปกติ ขั้นตอนต่อไปเป็นการตัดสินใจว่าจะเอายังไงต่อ
คิด วิเคราะห์ แล้ว แยกแยะ ในด้านต่าง ๆ
ด้านการทำงาน
ทักษะของ Critical Thinking เป็นทักษะนึงที่สำคัญมาก ๆ ในการทำงานคนในองค์กร ‘ควรที่จะ’ มีทักษะนี้ เพราะ Critical Thinking คือ การแก้ปัญหา และการตัดสินใจ แน่นอนว่าการทำงาน
หรือการใช้ชีวิตประจำวันมันหนีไม่พ้นกับการแก้ปัญหาเรื่องราวหรือการที่เราจะตัดสินใจในแต่ละวันอยู่แล้ว
ด้านความรัก ความสัมพันธ์
เวลาทะเลาะกับเพื่อน กับแฟน กับคนในครอบครัว เราสามารถนำ Critical Thinking มาปรับใช้ได้ คบกับแฟนช่วงแรกเราจะมีความรู้สึกหลงไหล เลยช่วงหลง ๆ ไป
จะเริ่มเกิดการตั้งคำถามกันบ่อยขึ้นแล้ว ทำไมเธอทำแบบนี้ ทำไมเธอเปลี่ยนไปแล้ว แต่ถ้าเราตั้งคำถามก็ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี
จากนั้นหลังจากการตั้งคำถามเราก็นำเหตุผลหลาย ๆอย่างมาวิเคราะห์ นำมาพูดคุยหาจุดลงตัว แก้ปัญหาความสัมพันธ์ต่าง ๆ จะถูกนำไปคลี่คลาย มากกว่าตั้งคำถามแล้วไม่พอใจอย่างเดียว
เช่นเดียวกันเราไม่เข้าใจพ่อแม่ เราไม่เข้าใจเพื่อน เราสามารถนำหลักการ วิเคราะห์ แยกแยะ แก้ไขได้เช่นเดียวกัน
ด้านการใช้ชีวิตประจำวัน
ในการใช้ชีวิตประจำวันของเราแบบว่าถ้านั่งนึกง่าย ๆ เลยคือเรื่องของการเล่นโซเชียลของพวกเรา แค่เราไถ หน้าจอ เราก็ได้รับสารได้อะไรมาใหม่ ๆ
ทุกวันนี้การพาดหัวข้อข่าวต่าง ๆ หัวข้อคลิปในยูทูปก็ล่อให้เรากดเข้าไปสุด ๆ การที่เรามี Critical Thinking จะทำให้เราไม่เชื่ออะไรได้ง่าย ๆ เราจะเริ่มคิดว่าจริงหรอ
เกิดการตั้งคำถาม มีการไปค้นหาข้อมูล และเอ๊ะอ๋อกับตัวเองว่ามันจริงหรือไม่จริงนะ
5 ข้อที่จะพัฒนาให้เรามี Critical Thinking ได้
อ้างอิงจาก Ted x Samantha Agoos
ฝึกตั้งคำถาม
ตั้งคำถามกับสิ่งรอบตัวแล้วเริ่มหาข้อมูล ถ้ามีผลลัพธ์ที่ต้องการในใจอยู่แล้วก็ลองคิดหาวิธีการที่จะทำให้ผลลัพธ์นั้นเกิดขึ้นได้โดยเปรียบเทียบข้อดี – ข้อเสีย
อย่างมีวิจารณญาณ จากนั้นจึงเลือกวิธีที่เหมาะสมที่สุด
รวบรวมข้อมูล
เมื่อมีคำถามที่ต้องการคำตอบ คำตอบในยุคนี้หาไม่ยากการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตแหล่งข้อมูลต่าง ๆ แต่ความถูกต้องและน่าเชื่อถือของข้อมูลต่างหากที่เป็นเรื่องสำคัญ
ข้อมูลที่น่าเชื่อถือในที่นี้อาจเป็นเปเปอร์ งานิจัยที่แหล่งที่มาชัดเจน หรือคำแนะนำโดยตรงของผู้เชี่ยวชาญ แต่อย่าลืมรวบรวมข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่ง
และนำมาเปรียบเทียบกันเพื่อพิจารณาอย่างละเอียดอีกที
นำข้อมูลไปใช้
การนำข้อมูลไปใช้ในที่นี้รวมถึงการตั้งคำถามกับข้อมูลนั้นด้วย นอกจากตรวจสอบว่าข้อมูลนี้ตอบคำถามที่เราสงสัยได้ไหม
คิดถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้
ไม่ว่าเราจะตัดสินใจทำหรือไม่ทำอะไรก็จะมีผลจากการตัดสินใจนั้น ๆ ตามมาเสมอ ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบในระยะสั้นและในระยะยาว
ผลกระทบทางตรงและทางอ้อม การได้ลองคิดว่าการตัดสินใจครั้งนี้จะทำให้เกิดผลอะไรตามมาบ้าง จะช่วยให้เราตัดสินใจได้รอบคอบกว่าเดิม
สำรวจมุมมองอื่น ๆ
ลองมองประเด็นเดียวกันจากขั้วความคิดตรงข้ามหรือสำรวจมุมมองอื่น ๆ อาจช่วยให้การตัดสินใจของเรามีน้ำหนักมากขึ้น
ขอบคุณข้อมูลและที่มา :
Critical Thinking เพราะการคิดที่ดีสร้างขึ้นได้
หนังสือ The Why Cafe คาเฟ่สำหรับคนหลงทาง
เขียนโดย จอห์น สเตรเลกกี
สำหรับเล่มนี้สิ่งที่รู้สึกสะดุดตาตั้งแต่แรกคือ หน้าปก ชื่อหนังสือ ‘ คาเฟ่สำหรับคนหลงทาง ‘ ไม่รู้จะเริ่มทำอะไรดีเลยสนใจซื้อหนังสือเล่มนี้
และสิ่งที่น่าสนใจคือ 3 ประโยค ของหนังสือเล่มนี้ที่เป็นหัวใจหลัก ๆ เลยคือ เหตุใดคุณจึงมาที่นี้,คุณกลัวตายไหม,คุณพึงพอใจกับชีวิตตัวเองหรือยัง?
* หนังสือเล่มนี้จะมี ตัวหลักอยู่ คือ จอน (คนหลงทางที่เข้ามาในคาเฟ่),เคซีย์ (พนักงานร้านคาเฟ่),ไมค์(เจ้าของคาเฟ่)
- บทที่ 1
คุณกลัวตายไหม
นิยามของ ความสำเร็จ ความสุข ความพึงพอใจ ที่ถูกตั้งโดยคนอื่น
บทนี้ ไมค์ แนะนำให้ จอน พูดคุยกับ แอน (แอนคือลูกค้าอีกนึงคนที่เข้ามาใช้บริการคาเฟ่แห่งนี้เหมือนกัน) ซึ่งแอนได้ถามคำถามที่ปรากฎอยู่ตรงเมนูกับจอนว่า คุณกลัวตายไหม?
เป็นคำถามที่คนส่วนใหญ่ทุกคนมักจะกลัว คนที่ไม่เคยถามตัวเองด้วยคำถามที่เห็นบนเมนู และไม่เคยลงมือทำสิ่งที่อยากให้บรรลุ ‘ เป้าหมายชีวิต ‘ คนเหล่านั้นจะกลัวตาย
ไมค์ก็บอกว่าตัวของเขาเองไม่ได้คิดถึงเรื่องความตายทุกวัน แอนเลยบอกว่า ไม่ใช่เลย เรื่องของ ความตายอยู่ในระดับจิตใต้สำนึก การคิดถึงความตายไม่ได้อยู่อันดับแรก ๆ
ที่เราคิดแต่เรามักจะคิดว่าระหว่างที่เราใช้ชีวิตผ่านไปในแต่ละวัน มันใกล้กับความตายแล้วต่างหากเหมือนกับว่าเรามีชีวิตอยู่บนโลกนี้อีกเท่าไหร่
เราจะไม่กลัวการมีโอกาสทำบางอย่าง ถ้าได้ทำไปแล้วหรือกำลังทำมันอยู่
จอนทบทวนกับตัวเองว่า รู้แค่แนวคิดยังไม่พอสิ่งสำคัญคือการลงมือทำ
- บทที่ 2
บทเรียนชีวิตที่หาได้จากเต่าตนุ
เคซีย์ พนักงานสาวในคาเฟ่ เล่าว่า ได้เรียนรู้บทเรียนชีวิตสำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง เกี่ยวกับการเลือกสิ่งที่จะทำในแต่ละวัน
วันหนึ่งเคซีย์ดำน้ำแบบสนอกเกิลแล้วบังเอิญได้เจอกับเต่าตนุ เคซีย์ดีใจและตั้งใจจะว่ายน้ำตามดูสักพัก แต่ว่ายยังไงก็ว่ายไม่ทัน พอสังเกตจริง ๆ เคซีย์ถึงเข้าใจว่า
เต่าตนุตัวนั้นใช้ประโยชน์จากกระแสน้ำ เมื่อไหร่ที่กระแสน้ำพัดไปในทางที่อยากไปค่อยตีขาว่ายไปทางนั้นและลอยตัวพักนิ่ง ๆ เมื่อกระแสน้ำพัดสวนทาง
เคซีย์กลับตีขาไปเรื่อย ๆ โดยไม่ได้สนใจว่ากระแสน้ำจะพัดไปทางไหน สุดท้ายจึงเหนื่อยและไม่มีแรงพอที่จะใช้ประโยชน์จากกระแสน้ำ
เปรียบได้ว่า เมื่อใครสักคนมีเป้าหมายชีวิต เรารู้ว่าตัวเองจะไปทางไหน เราจะใช้เวลาไปกับการทำสิ่งต่าง ๆ นั้นได้เต็มที่
แต่ถ้าไม่มีเป้าหมายชีวิต เราจะเสียเวลาทำแต่สิ่งที่ไม่ได้ช่วยให้เข้าใกล้เป้าหมายนั้น
ประโยคที่อยากบอกเล่าจากคนอ่าน
-“ความท้าทายคือการตระหนักว่าบางสิ่งบางอย่างน่าพึงพอใจ เพราะเราตัดสินว่ามันน่าพึงพอใจด้วยตัวเราเอง ไม่ใช่เพราะคนอื่นบอก”-
หลาย ๆ ครั้ง มาตรฐานทางสังคม มักจะเข้ามาทำให้เราสูญเสียความมั่นใจในการใช้ชีวิตของตัวเอง ถึงเราจะบอกตัวเองแล้วว่าเราเลือกแบบนี้
แต่พอได้ฟังความคิดเห็นคนรอบข้างหรือได้ฟังเรื่องราวของคนอื่น เรามักจะไขว้เขว แล้วกลับมาตั้งคำถามกับตัวเองว่า สิ่งที่เราเลือก ณ ตอนนี้ดีพอหรือยัง
เพราะมันยากจริง ๆ ที่จะบอกว่าเส้นทางที่เราเลือกมันดีพอ มันเหมาะสมกับเรา เป็นไปได้อยากที่จะตัดสินด้วยตัวเองว่า… สำหรับเรามันดีพอ
อยากพูดได้เต็มปากว่า “พอใจกับชีวิตและเส้นทางที่เลือกเดิน”
คิดว่าต้องอาศัยการทุ่มเทแรงกายแรงใจที่ตัวเองมีเพื่อพิสูจน์ และที่ขาดไม่ได้คือ การเคารพตัวเอง
เพราะถ้ามองในอีกแง่ เราอาจจะยังเคารพการตัดสินใจของตัวเองไม่มากพอถึงยังเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น
สุดท้ายแล้วการตามหาเป้าหมายชีวิตในปัจจุบันทั้งยากและกดดันขนาดไหน เราจะพอรู้แต่หวังว่าเราจะหาสิ่งที่ทำให้เรามีความสุขเจอ 😃
ข้างนอกสดใส ข้างในฮือฮือ เป็นประโยคหนึ่งที่ใช้อธิบายคำว่า Smiling Depression จริง ๆ แล้ว คืออะไร
มาสาเหตุมาจากอะไร เพราะอะไรบางคนถึงเลือกที่จะซ่อนความรู้สึกเศร้า ดิ่ง ดาวน์ ไว้ภายใต้รอยยิ้มและคำว่า
“ไม่เป็นไร เราโอเค”
Smiling Depression
เป็นคำอธิบายอาการที่เราพยายามซ่อน ภาวะซึมเศร้า ไว้ในใจ โดยการเสแสร้งว่าตัวเอง มีความสุขกับชีวิต เช่น คนที่ร่าเริง ยิ้มแย้ม แจ่มใส สร้างเสียงหัวเราะกับผู้อื่น
อาจเป็นคนเดียวกับคนที่นอนเศร้าเมื่ออยู่ตัวคนเดียว Smiling Depression อาจมีชีวิตที่คนภายนอกมองเห็นว่าดูดี มีความสุข ทั้งที่ความจริงแล้วภายในใจอาจจะมีเรื่องกังวล
Smiling Depression ถูกตีความไว้ให้เป็น “ High-functioning depression ” หรืออาการซึมเศร้าที่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ดูเหมือนจะเป็นคนที่ตลกง่าย หัวเราะง่าย คอยสร้างเสียงหัวเราะให้คนรอบกายอยู่เสมอ
Smiling Depression จะพยายามจัดการกับความรู้สึกด้วยการหาเรื่องหักเหความสนใจ เช่น ออกไปซื้อของใหม่ ๆ ซื้อมาแล้วอาจจะไม่ได้ใช้บ้างแต่หาอะไรทำเพื่อให้ลืมเรื่องที่เศร้า
ไปเที่ยวแบบไม่ได้หยุดพักถึงจะเที่ยวแล้วแต่ก็ไม่มีความสุขเหมือนที่หวังไว้ วิธีนี้ก็ไม่ได้ผลที่ระยะยาวเพราะไม่ได้เผชิญหน้าจัดการกับปัญหาอยู่ดี
Smiling Depression คือ โรคซึมเศร้า?
Smiling Depression คือ หน้ากากแห่ง ‘รอยยิ้ม’ ที่ซ่อนความรู้สึกเศร้าอยู่ข้างใน มีอีกนิยาม คือภาวะที่มีอาการซึมเศร้าที่สามารถใช้ชีวิตได้ปกติ
พอกล่าวถึงโรคซึมเศร้าแล้วเราจะนึกถึง ความเศร้าที่บางคนอาจจะแสดงออกผ่านทางสีหน้าอารมณ์ได้ชัดเจน แต่ Smiling Depression ที่ต้องซ่อนความเศร้าไว้ข้างใน
เราจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าข้างในจิตใจเขาเป็นยังไง เป็นซึมเศร้าที่เสี่ยงกว่าซึมเศร้าที่แสดงออก เพราะไม่มีใครรับรู้อาการของพวกเขา
แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าเราอยากยิ้มจริง ๆ หรือเรากำลังยิ้มเพื่อปกปิดความเศร้าของเราอยู่
ในภาวะ Smiling Depression เราอาจรู้สึกดีชั่วขณะ ชั่วคราว เวลามีสิ่งดี ๆ เกิดขึ้น แต่จะเพียงแค่เวลาสั้น ๆ ขั้นแรกคือการเปรียบความรู้สึกกับสิ่งที่ปรากฎออกไปให้คนภายนอกเห็น
เวลาอยู่คนเดียว เรามีอาการเศร้าอย่างต่อเนื่องไหม แล้วเราไม่เคยแสดงให้คนอื่นรู้เลย เก็บความเศร้าของตัวเองไว้ แล้วบอกกับคนอื่นว่าโอเค
อาการจะคล้ายกับซึมเศร้าเลยเพราะ Smiling Depression ก็เหมือนการที่เป็นโรคซึมเศร้าแต่ไม่ได้แสดงออก
- ขาดพลังงานเหนื่อยล้าหรืออ่อนเพลีย
- หงุดหงิด ฉุนเฉียว หรืออารมณ์เปลี่ยนแปลง
- การเปลี่ยนแปลงของความอยากอาหารหรือความผันผวนของน้ำหนัก
- สูญเสียความสนใจหรือความสุขในกิจกรรมที่คุณเคยชอบ
- รู้สึกไร้ค่าหรือรู้สึกผิด
- มีปัญหาในการคิด มีสมาธิ หรือตัดสินใจ
- ความคิดเรื่องความตายหรือการฆ่าตัวตาย
สิ่งที่โดดเด่นออกมาสำหรับคนที่เป็น Smiling Depression
- พยายามใช้ชีวิตตามปกติ ทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว ทำเหมือนว่าไม่ได้มีอะไรเกิดขึ้นข้างใน
- แสดงออกว่าร่าเริง มองโลกในแง่ดี
สาเหตุในชีวิตประจำวันที่บางคนไม่กล้าจะแสดงความเศร้า
Amy Morin นักจิตบำบัดได้อธิบายเอาไว้ว่า การที่คนหนึ่งคนเลือกที่จะซ่อนอารมณ์ไว้เพราะว่า . .
- ไม่อยากให้ตัวเองเป็นภาระ ไม่อยากให้คนต้องมาดูแลความลำบากของตัวเอง ความรู้สึกนี้มักจะเกิดขึ้นกับคนที่ชอบดูแลคนอื่นหรือใส่ใจความรู้สึกคนอื่นมาก ๆ
- ไม่อยากให้ส่งผลต่อหน้าที่การงาน ถึงแม้ว่าสังคมจะเปิดกว้างและเข้าใจสภาวะนี้กันมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยตำแหน่งหน้าที่การงาน ก็เลยเลือกที่จะปกปิดอาการเหล่านี้ไว้ เพื่อให้มันส่งผลกระทบน้อยที่สุด
- ไม่อยากยอมรับความเศร้า อาการนี้อาจจะดูน่ากลัวในสายตาบางคน ก็เลยเลือกที่จะยิ้มรับทุกอย่างไว้ ทั้งที่ภายในไม่ได้แก้ไขอย่างถูกต้อง
- ไม่อยากรู้สึกว่าตัวเองไม่สมบูรณ์แบบ/ไม่อยากรู้สึกอ่อนแอ ในบางครั้งคนเราเลือกที่จะยิ้มสู้ เพื่อที่จะทำให้ตัวเองรู้สึกว่าเข้มแข็ง และคนที่เสพติดความเป็น Perfectionist มักจะไม่ยอมรับความเจ็บปวดทางร่างกายหรือจิตใจอะไรง่าย ๆ
- ไม่อยากแปลกแยก Social Media ในปัจจุบัน เราจะพบเลยว่า ทุกคนต่างนำเสนอมุมความสุขในแบบฉบับของตัวเอง แต่พอเราเริ่มรู้สึกเศร้า รู้สึกแย่ มันมักจะทำให้เราโดดเดี่ยวและแปลกแยกจากคนทั่วไป ทำให้บางครั้งไม่กล้ายอมรับมันการสร้างกลไกการป้องกันตัวเองแบบนี้จะทำให้เขารู้สึกดีกว่าการแสดงความรู้สึกที่แท้จริง
Smile Depression ในคนที่เป็นโรคซึมเศร้า
อ้างอิงจากข้อมูลจาก I strong ในทางจิตวิทยาโรคซึมเศร้านั้นประกอบด้วยอาการหลักคือ อารมณ์เศร้าหมอง
ดังนั้น การยิ้ม หัวเราะ ร่าเริง จึงเป็นเหมือนกลไกปกป้องตัวเอง (Defense mechanism) คือความพยายามที่จะซ่อนแอบความรู้สึกที่แท้จริง
Learn How to Recognizing the Signs of Smiling Depression
คอยสังเกตอาการ สัญญาณ ของตัวของเราค่ะ เพราะ การที่เราเป็น Smiling Depression เราใช้รอยยิ้ม ความร่าเริง อาจดูเหมือนประสบความสำเร็จในชีวิต
แต่อาการที่ซ่อนอยู่ข้างในจะนำพาไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ ได้ นำไปสู่การทำร้ายตัวเอง เพราะการที่เราแสดงว่า ฉันไม่เป็น ฉันโอเค ฉันยิ้มได้ทำให้คนอื่นไม่ได้เข้าใจในสิ่งที่เรารู้สึกอยู่ข้างใน
แก้ไขอย่างไรดี
การรักษาที่สามารถทำได้จะเหมือนกับ Major Depressive Disorder ทั้งการรักษาด้วยยาจากจิตแพทย์ การพูดคุยทำจิตบำบัด
การเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีขึ้น เช่น ออกกำลังกาย ทานอาหารที่มีประโยชน์ ทำงานอดิเรกที่ชอบ อยู่กับคนที่ทำให้เรามีความสุข
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเริ่มต้นที่จะดูแลตัวเอง การเล่าเรื่อง เล่าปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ให้กับคนที่เป็นพื้นที่ปลอดภัยของเราเป็นก้าวแรกที่สำคัญสำหรับผู้ป่วย
มื่อผ่านช่วงนี้ไปได้ทุกอย่างจะค่อย ๆ ดีขึ้น เพราะไม่ต้องเก็บปัญหานี้ไว้คนเดียว มีคนที่พร้อมจะช่วยเหลือเราเสมอ
การพูดเรื่องสุขภาพจิตเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน ใคร ๆ ก็สามารถเป็นได้ และการหาจิตแพทย์ก็ไม่ได้หมายความว่าเราอ่อนแอ
หรือเป็นบ้าอย่างที่คนเข้าใจผิดกัน การพูดให้เคยชินจะทำให้ผู้ป่วยกล้าที่จะแสดงออกความรู้สึก ๆ ที่มีมากยิ่งขึ้น
สำหรับการเก็บซ่อนความรู้สึกเศร้า และทำเหมือนตัวเองมีความสุขตลอดเวลา อยากให้ลอง
สำรวจความรู้สึก ด้วยการจดบันทึก หรือนั่งคุยกับตัวเอง คอนเน็คกับความรู้สึกตัวเอง
หาพื้นที่ปลอดภัย สภาพแวดล้อม หรือผู้คนที่เรารู้สึกว่า เราสามารถแสดงออกความเป็นตัวของเราได้นะ เข้มแข็ง เสียใจ ร้องไห้ ผิดหวัง
ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ เศร้า เสียใจ บ้างก็ได้ ไม่มีใครไม่เคยเสียใจ ไม่มีใครไม่เคยเศร้า
ที่มา :
Smiling Depression: When Things Aren’t Quite What They Seem
ความลับของคนยิ้มหัวเราะง่ายแต่ในใจอาจเป็นโรคซึมเศร้า
เรื่องบางเรื่อง ไม่ต้องรู้ก็ได้ บางเรื่องรู้ก็ดีนะ แต่ไม่รู้ดีกว่า ถึงมีประโยคนี้ให้ได้ยินกันบ่อย ๆ ” เรื่องบางเรื่อง ไม่ต้องรู้ก็ได้ ” จริง ๆ แล้วแต่ละแบบมีข้อดีข้อเสียอย่างไร
วันนี้เราจะมาร่วมพูดคุยกันใน Alljit Podcast กับรายการ Learn & Share
ในชีวิตประจำวันของเรา เรามักอยากรู้หลาย ๆ เรื่อง เพื่อการใช้ชีวิตดำเนินไปแบบมีเรื่องราว มีเรื่องคุย บางเรื่องรู้แล้วไม่ได้ช่วยอะไรเลย บางเรื่องรู้แล้วทุกข์
บางเรื่องพยายามจะรู้ให้ได้ พอรู้แล้วรับไม่ได้นั่นเพราะอะไร
ทำไมเราต้องอยากรู้ ? วิทยาศาสต์กับความสงสัยอยากรู้ของมนุษย์
Curiosity คือ ความอยากรู้อยากเห็นหรือความสงสัยใคร่รู้ ส่วนใหญ่จะถูกอธิบายว่าคือ ความต้องการหรือความปรารถนาที่จะรู้ เป็นแรงผลักดันที่ทำให้เราออกไปค้นหาความแปลกใหม่หรือสร้างองค์ความรู้ต่าง ๆ
นักจิตวิทยา Jordan Litman กล่าวไว้ว่า Curiosity แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
I Curiosty Interest = ความสนใจ เป็นความอยากรู้ที่เกิดขึ้นเองแบบ เชิงรุกก็คือ เช่น อยากรู้แหล่งที่มาของสถานที่เที่ยวนั้น,ทำไมตรงนี้เกิดอุบัติเหตุบ่อย
D Curiosty Deprivation = เป็นความอยากรู้ที่ถูกกระตุ้นด้วยคำถาม ความกระวนกระวายใจ จนต้องหาคำตอบ เช่น เรานึกถึงเพลงเพลงหนึงที่เราเคยชอบมากแต่ไม่รู้ว่าเพลงอะไร จนต้องค้นหาเพื่อให้ได้คำตอบ
Litman กล่าว่า ระหว่างที่ยังไม่ได้คำตอบนั้น D -curiosity ก็คือความเครียดเล็ก ๆ จนกระทั่งเมื่อได้คำตอบแล้ว D-curiosity
ถึงจะเปลี่ยนเป็นความพอใจและความสุข ดังนั้น คนเราจึงไม่ค่อยชอบ D-curiosity
ความอยากรู้ของคน มีกี่รูปแบบ
นักจิตวิทยา ทอดด์ แคชแดน Todd Kashdan ยังจำแนกประเภทของ “คน” ที่อยากรู้อยากเห็นออกเป็น 4 ประเภทด้วย คือ
1. Problem Solvers คนแบบนี้จะมีอาการคันอยากจะแก้ปัญหาให้ได้อยู่เรื่อย เห็นประเด็นอะไรก็เกิดความสงสัยว่าจะทำให้ดีกว่าได้ไหม
2. Empathizers สนใจเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน พยายามเข้าใจพฤติกรรมของคนที่พบเห็น รวมถึงผู้คนต่าง ๆ ในสังคมที่ได้ยินมา
3. Avoiders คือ คนที่ไม่อยากรู้อยากเห็นอะไรเท่าไหร่ อาจเป็นเพราะรู้สึกเครียด มีภาระอยู่แล้ว หรือชีวิตก็เครียดอยู่แล้ว ก็เลยเลือกที่จะไม่สนใจอะไร
4. The Fascinated คือ คนที่อยากรู้ไปหมด มีความสุขกับการอยากรู้ คนแบบนี้คือคนที่รับเอาความ curiosity ทุกรูปแบบไว้ในตัวเอง
รวมทั้งเป็นทั้ง Problem Sovers และ Empathizer ในคนคนเดียวกัน ทำให้น่าจะเป็นคนที่มีความสุขที่สุด และมีชีวิตน่าสนใจที่สุดด้วย
เรื่องบางเรื่อง ไม่ต้องรู้ก็ได้ ?
ข้อดี
ในเชิงวิทยาศาสตร์ คือ เมื่อเรารู้สึกสงสัยอยากรู้อะไร สมองมีกลไก ‘Rewarding system’ และหลั่งสาร Dopamine ทำให้มีความรู้สึกดี
กลไกเหล่านี้เองที่ช่วยให้มนุษยชาติก้าวไปข้างหน้า และไม่หยุดค้นหาคำตอบใหม่ ๆ
อย่างเช่น นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นอกจากนั้นความอยากรู้ อยากเห็นส่งผลให้เรามีแรงขับเคลื่อนในการเข้าสังคม สร้างความสัมพันธ์ใหม่ ๆ
ข้อเสีย
เมื่อไหร่ที่เรามีความสงสัย อยากรู้ แล้วไม่ได้รู้กมันค้างคาใจ จะทำให้เรากระวนกระวายใจ อาจส่งผลให้เครียด นอนไม่หลับ วิตกกังวล
แต่หากเรารู้ความจริง แต่รับความจริงไม่ได้ก็เครียดอีกเช่นเดียวกัน
ที่มา :
‘เรียนรู้ว่าเราไม่ต้องรู้ไปทุกอย่าง’
ใคร ๆ ต่างก็อยากมีความสุข . . แต่ในวันยาก ๆ การมีความสุขอาจไม่ใช่เรื่องง่าย แต่รู้หรือไม่ว่า..
ความสุขมีได้หลากหลายรูปแบบ เรียนรู้ได้จากปรัชญาของชาวตะวันตก ฮุกกะ และ ลากอม
ฮุกกะ และ ลากอม
ฮุกกะ
‘ฮุกกะ’ (Hygge) เป็นภาษาเดนมาร์กที่พจนานุกรมออกซ์ฟอร์ดเลือกให้เป็นคำศัพท์ประจำปี 2016 สะท้อนให้เห็นถึงกระแสความสนใจ ‘ความเป็นฮุกกะ’ จากทั่วโลก
แม้ฮุกกะจะเป็นที่รู้จักแพร่หลายไปทั่วโลกว่าเป็นจิตวิญญาณของชาวเดนมาร์ก แต่คำว่า ‘ฮุกกะ’ ไม่ได้มีต้นกำเนิดจากรากศัพท์ในภาษาเดนมาร์กแท้ ๆ
แต่เป็นคำในภาษานอร์เวย์โบราณซึ่งมีความหมายว่า “ความเป็นอยู่ที่ดี” คำว่า “ฮุกกะ” ปรากฏตัวครั้งแรกในเดนมาร์ก ผ่านงานเขียนของนักประพันธ์ชาวเดนมาร์กเมื่อราวปลายศตวรรษที่ 18
เดนมาร์กมักได้รับการยกย่องให้เป็น มหาอำนาจแห่งความสุข อันดับหนึ่งของโลกในการจัดอันดับของ UN และ OECD
ความหมายของฮุกกะในทัศนะของชาวเดนมาร์ก
ฮุกกะ (Hygge) ศิลปะการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขแบบชาวเดนิช
ถ้าจะให้คำแปล ‘ ฮุกกะ ’ สั้น ๆ ในภาษาไทย คงหมายถึง ‘ ความสุข ’ หรือ ‘ ความผ่อนคลายสบายใจ ’ เทียบเคียงกับภาษาอังกฤษคำว่า Coziness/Cozy แต่ก็ยังไม่สามารถครอบคลุมได้หมด
โดยฮุกกะ คือ ศิลปะแห่งการสร้างความใกล้ชิดผูกพัน รวมถึงการหาความสุขจากสิ่งรอบตัวในปัจจุบัน
ฮุกกะเกี่ยวข้องกับบรรยากาศและประสบการณ์มากกว่าสิ่งของ การได้อยู่กับคนที่เรารัก ความรู้สึกของบ้าน แสงเทียน ในบ้าน ความรู้สึกปลอดภัย
บทสนทนาต่อเนื่องไม่จบสิ้นเกี่ยวกับเรื่องเล็กหรือใหญ่ในชีวิต หรือสบายใจเมื่ออยู่เงียบ ๆ ด้วยกัน หรือ กับการดื่มชาสักถ้วยตามลำพัง การกินเค้ก ดื่มกาแฟหอม ๆ
เป็นคำขยายความที่ ไมก์ วิกิง (Meik Wiking) ผู้เขียนกล่าวไว้ ไมก์เป็นผู้อำนวยการสถาบันวิจัยความสุขและตัวแทนนักวิจัยจากเดนมาร์กในสถาบันฐานข้อมูลความสุขโลก
แนวคิดของ ฮุกกะ จากหนังสือ The Little Book of Hygge
บรรยากาศ
บ้าน เนื่องจากประเทศเดนมาร์กถูกปกคลุมไปด้วยความมืดจากฤดูหนาวอันยาวนาน นอกจากไปทำงานแล้ว ชาวเดนมาร์กจึงใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในบ้าน
นอกจากนี้ยังมักเชิญเพื่อนฝูงมาสังสรรค์ที่บ้าน เพื่อหลีกเลี่ยงค่าร้านอาหาร ดังนั้นชาวเดนมาร์กจึงใส่ใจกับการตกแต่งบ้าน ไอเทมที่ฮุกกะขาดไปไม่ได้เลย
- เทียนไขและโคมไฟ : หากพูดถึงฮุกกะแล้ว 85% ของชาวเดนมาร์กจะนึกถึงเทียนไขเป็นอันดับแรก รวมถึงแสงจากหลอดไฟ ซึ่งชาวเดนมาร์กมองว่าเป็นศิลปะมากกว่าเป็นเพียงแค่เครื่องมือให้แสงสว่าง จึงใส่ใจกับรูปร่างของโคมไฟและวัตต์ของหลอดไฟมาก ยิ่งแสงสลัวละมุนมากเท่าไหร่ ยิ่งฮุกกะเท่านั้น
- ฮุกกะโครก์ (มุมโปรด) : หามุมโปรดในบ้านที่คุณมักนั่งคุดคู้ แล้วจัดผ้าห่มไว้สักผืน หมอนอิงสักใบ หนังสือสักเล่ม ชาสักถ้วย จัดแสงให้ละมุนตา ให้มุมนั้นเป็นพื้นที่ปลอดภัยไว้ทิ้งตัวได้ทุกเมื่อ
- ผลิตภัณฑ์จากไม้และธรรมชาติ : ชาวเดนมาร์กคลั่งไคล้ธรรมชาติถึงขนาดยกทั้งป่ามาไว้ในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นใบไม้ ดอกไม้ กิ่งไม้ หนังสัตว์ถูกนำมาประดับประดาเต็มบ้านเพื่อเติมความสดชื่น
- หนังสือเล่มโปรด : ไม่ว่าจะเป็นหนังสือวิชาการ นวนิยาย นิตยสาร หรือการ์ตูน หนังสือดีๆ สักเล่มช่วยเพิ่มความฮุกกะได้เสมอ
นอกจากนี้ยังไอเทมฮุกกะอื่นๆ เช่น ผลิตภัณฑ์เซรามิก, กาน้ำชา, เซตจานชามเข้าชุด, แก้วน้ำลายโปรด, หมอนและผ้าห่มนุ่มนิ่ม, และจดหมายจากคนที่ห่วงใย เป็นต้น
ความสุขเล็ก ๆ รอบตัว
อาหารและเครื่องดื่ม ความสุขหาซื้อไม่ได้ แต่เราซื้อของหวานและอาหารอร่อย ๆ ได้ ซึ่งคล้ายคลึงกัน สำหรับเดนมาร์กซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่คลั่งไคล้ขนมหวานมากที่สุด
ของหวานเป็นสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวัน ไม่ใช่แค่วันพิเศษหรือ Cheat day ตามออฟฟิศและห้องประชุมจะมีขนมหวานวางไว้เสมอ สำหรับเครื่องดื่มต้องเป็นเครื่องดื่มร้อน
โดยเฉพาะกาแฟ คำว่า ‘คาฟฟีฮุกกะ’ อยู่ทั่วทุกหนแห่ง ยังมีคำขวัญที่ว่า “ใช้ชีวิตวันนี้ให้สุด เหมือนวันพรุ่งนี้ไม่มีกาแฟแล้ว” ด้วย กาแฟเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับการทำงาน
เราดื่มกาแฟเพื่อจะได้ทำงานได้มากขึ้นหรืออ่านหนังสือโต้รุ้งได้ แต่สำหรับชาวเดนมาร์ก การดื่มกาแฟอุ่น ๆ ท่ามกลางอากาศหนาวถือเป็นความสุนทรีย์ ได้ตื่นตัวเพื่อพบปะเพื่อนฝูงและใช้ชีวิตฮุกกะมากขึ้น
ให้ความสำคัญกับคนที่รัก
ฮุกกะเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ การได้ใช้เวลา เป็นการสร้างความทรงจำที่ดีและเกิดความฮุกกะ
- เท่าเทียม : “เรา” เหนือกว่า “ฉัน” ทุกคนแบ่งเบาภาระและแบ่งเวลาให้กัน เช่น ในช่วงเวลาสังสรรค์ฮุกกะกันที่บ้าน แขกจะนำของกินติดไม้ติดมือมาด้วยเสมอ ทุกคนช่วยกันเข้าครัวทำอาหารแทนที่จะปล่อยให้เจ้าบ้านทำคนเดียวหรือสั่งอาหารมากิน เพราะฮุกกะเป็นเรื่องของการมีประสบการณ์ ‘ร่วมกัน’
- ปรองดอง : ไม่มีการแข่งขัน พูดโอ้อวด หรือฝืนจนไม่เป็นตัวของตัวเอง เพราะเราชอบทุกคนที่มาอยู่ร่วมกัน ณ ที่นี่อยู่แล้ว
- งดดราม่า : หัวข้อที่นำไปสู่ความขัดแย้งได้ง่าย เช่น การเมือง ถือเป็นเรื่องต้องห้ามในช่วงเวลาฮุกกะ
ข้อเสีย
สิ่งหนึ่งที่ทำให้ฮุกกะยังมีความฮุกกะคือ การอยู่เป็นกลุ่มเล็ก ๆ เฉพาะคนที่สนิทใจกันเท่านั้น ชาวเดนมาร์กกังวลว่ายิ่งคนมาก ยิ่งฮุกกะน้อยลง
จึงเป็นข้อจำกัดของวิถีฮุกกะแบบชาวเดนิชที่เปิดใจรับคนใหม่ ๆ เข้ามายาก แต่หากทะลุกำแพงเข้ามาอยู่ในวงฮุกกะได้แล้ว ก็อาจจะได้เจอมิตรภาพที่ยาวนานตลอดชีวิต
แม้จะเป็นที่ถกเถียงกันว่า สิ่งที่ทำให้ปรัชญาความสุขแบบฮุกกะงอกงามและ ‘ใช้ได้ผล’ ในเดนมาร์ก เป็นเพราะรัฐสวัสดิการที่เป็นเลิศและวัฒนธรรมการทำงานที่ไม่ได้มีการแข่งสูงเท่าประเทศอื่น
ลากอม
‘ลากอม’ เป็นภาษาสวีดิช แปลได้หลาย เช่น ความพอดี ความพอประมาณ ความยั่งยืน สังเกตได้ว่าทุกความหมาย ทุกคำที่แปลมาล้วนมีแต่ความหมายเชิง พอดีทั้งนั้น
ซึ่งต้นตอมาจากสุภาษิตของสวีเดน “Lagom är bäst เป็นสุภาษิตเก่าแก่ของชาวสวีดิช หมายถึงความพอดีนั้นดีที่สุด
และมีอีกความหมายที่เก่ากว่านั้น ว่ากันว่า ‘ลากอม’ มาจากคำพูดของพวกไวกิ้งที่ว่า “Laget om.” หรือ “Around the team.” ซึ่งพวกเขาจะพูดเมื่อส่งเหล้ามให้จิบต่อ ๆ กันไป
เป็นการย้ำเตือนให้ดื่มแต่พอดี เพื่อให้เหลือพอสำหรับทุกคนในทีม
แนวคิดของลากอม
ในขณะที่ฮุกกะหมายถึงไลฟ์สไตล์การทำอะไรเล็กๆ น้อยๆ เป็นพิเศษ เพื่อสร้างความสุขส่วนตัว แต่ลากอมไม่ใช่ ลากอมคือการไม่ทำเรื่องไม่จำเป็น
การไม่ฟุ่มเฟือย ถ้ารู้ว่าเท่านี้คือ พอ จะต้องการมากขึ้นอีกทำไม
‘Not too little, not too much. Just right.’
‘ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป พอดีๆ’
หรือ “ไม่มาก ไม่น้อยเกินไป ไม่มีใครดีเด่นกว่าคนอื่นแต่พวกเราทุกคนเด่นไปพร้อมๆกัน”
จะเอาแนวคิด ลากอม ไปปรับใช้ได้ยังไง
- เรื่องของเสื้อผ้าที่ใส่ใจนำสิ่งที่มีไปปรับซ่อมแซมเพื่อยืดระยะเวลาของใช้งาน ไม่ต้องซื้อใหม่ อันนี้ดีมากเพราะจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันนี้เรารณรงค์เรื่องของ Fast Fashion มันสำคัญและจำเป็น เพราะทำให้โลกร้อน และเกิดขยะกับโรคด้วย การซื้อมือสองหรือยืดระยะสิ่งของถ้าอันไหนทำได้เป็นสิ่งที่ดีต่อโลกมาก ๆ
- ความพอดี ที่ไม่ต้องแข่งขัน ขกยกตัวอย่าง ของบทความลากอมของ Potancial ที่ชอบมากและอยากแชร์ เรื่องของการทำงาน เขาบอกว่า ลากอมอะไม่่ได้ปฏิเสธเรื่องของการแข่งขันนะ แต่เขาแข่งที่จำเป็น ที่สุขภาพเขาไหว คิดในมุมกลับกันว่า ถ้าเราทำงานน้อยลง ได้เงินน้อยลงด้วย แต่เราได้สุขภาพที่ดีคืนมา พร้อมลดความเครียดคลายความกดดันลงไป มีเวลาเพิ่มขึ้น เราจะโอเครึป่าว? ไม่มีคำตอบไหนที่ถูกต้อง เพราะมันขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละคน
- สภาพของบ้านเมืองสวีเดน สะท้อนถึงสถาปัตยกรรมที่ดูเรียบง่าย ไม่หรูหราชวนประหม่าหรือเกรงใจการที่จะเข้าไป
- งานสังคมจะชวนเพื่อน ๆ มาทำกินกันที่บ้าน ไม่ได้จัดของหรูหราดูแพง เพราะมีความกังวลว่าแขกที่มาจะเก้อเขิน และเขาจะมีการคิดเผื่อล่วงหน้าว่าถ้าอีกฝั่งเป็นคนชวนบ้างละจะกังวลใจหรือเปล่าถ้าจัดไม่หรูพอ เลยจัดแบบไม่ฟุมเฟือย
ข้อเสีย
ไม่ใช่ว่าคนจะเห็นชอบกับ (การใช้ชีวิต) แบบเป็นกลางไปทั้งหมด ชาวสวีดิชบางส่วนก็เห็นว่า ลากอม คือหนทางสุดโต่งอีกด้านหนึ่ง ที่นำสังคมไปสู่ภาวะที่ทุกคน ‘ลอยตัวเหนือปัญหา’
ไม่เผชิญหน้า ไม่ขัดแย้ง และพยายามเป็นกลางมากเกินไปเห็นได้จากสถานการณ์ทางการเมืองของสวีเดน ที่มักมีการหลบเลี่ยงการเผชิญหน้ากันระหว่างฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา
ทำให้ไม่ได้ข้อสรุปที่แน่ชัด ไม่มีการตัดสินอย่างเด็ดขาด เป็นอีกด้านที่ถูกนำเสนอเพื่อค้านกระแสไลฟ์สไตล์แบบลากอม เป็นธรรมดาโลกที่เมื่อเกิดกระแสนิยมในสิ่งใดอย่างท่วมท้น
ในไม่ช้าย่อมมีกระแสเห็นต่างสิ่งนั้นตามมาและแท้ที่จริง หากเปรียบลากอมเป็นเหรียญ ลากอมอาจไม่ใช่ด้านใดด้านหนึ่งของเหรียญ แต่เป็นด้านที่อยู่ตรงกลางระหว่างเหรียญสองด้านนั้น
สังเกตว่าข้อดีที่ลากอมกล่าวออกไปและการที่ประเทศเขาติด TOP ความสุข มันไม่ใช่แค่แนวคิดที่ผู้คนทำ แต่เขามีสิ่งที่เอื้อกับชีวิตเขาด้วยคือ สวัสดิการของรัฐ ที่บ้านของเราอาจไม่ได้เท่ากับ
เขาทำให้ในบางอย่างแนวคิด ความพอดีบางอันเราก็อาจจะสามารถทำได้และทำไม่ได้ ต้องลองปรับใช้กัน 😊
ที่มา
สรุปหนังสือ The Little Book of Hygge : ฮุกกะ ปรัชญาความสุขฉบับเดนมาร์ก
ลากอม (Lagom): ความพอดีแบบสวีเดนที่มาแตะไหล่ให้เราพอใจกับสิ่งที่มี
Move Over Hygge: Why Lagom Is The Scandinavian Lifestyle Concept We Really Need
The Swedish philosophy of lagom: how “just enough” is all you need
“Manifest” “เชื่ออะไร ก็ได้แบบนั้น” จริง ๆ แล้ว Manifest คืออะไร เกี่ยวข้องกับกฏแรงดึงดูดหรือไม่ จะเริ่มทำได้อย่างไร วันนี้เราจะมาร่วมพูดคุยกันใน Alljit Podcast กับรายการ Learn&Share
Manifest
Manifest ในมุมมองทางวิทยาศาตร์ คือ Core Value สิ่งที่เราให้ความสำคัญ ในทางวิทยาศาสตร์ได้กล่าวถึง growth mindset การที่เรามีความคิด ทัศนคติแบบยืดหยุ่น ไม่หยุดอยู่กับที่ ไม่ปิดกั้น
Dr. Carol Dweck – ถ้าเรามีความเชื่อในสามารถของเรา เชื่อว่าเราจะทำได้อย่างสำเร็จ เราก็จะตั้งใจ สอดคล้องกับหลักทางจิตวิทยาที่ว่า ความเชื่อของเรามีผลต่อ ความคิด พฤติกรรมของเรา
เมื่อเรามีความเชื่อแบบไหน เราก็มักจะมีพฤติกรรม และ การลงมือทำที่สอดคล้องกับความเชื่อของเรา ส่งผลให้เกิดเป็นผลลัพธ์นั่นเอง
Dr. Barbara Fredrickson – อารมณ์ในด้านบวกช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์เรา
Dr. Sonja Lynbomirsky – หากเรามีความสุขกับสิ่งใด เราก็มักจะประสบความสำเร็จในการทำสิ่งนั้น
กฎแรงดึงดูด
เป็นหลักปรัชญาที่ได้รับการพูดถึงตั้งแต่ปี 1887 โดยสอนว่า ความคิดในแง่ดีจะดึงดูดผลลัพธ์ในเชิงบวก ส่วนความคิดในแง่ลบจะดึงดูดผลลัพธ์ในเชิงลบเช่นเดียวกัน ความเชื่อดังกล่าวมีฐานคิดมาจากความเชื่อที่ว่า
ความคิดเป็นเหมือนพลังงานรูปแบบหนึ่งที่สามารถดึงดูดสิ่งที่เหมือนกันได้ โดยพลังงานเชิงบวก (การคิดบวก) จะสามารถดึงดูดความสำเร็จในด้านต่าง ๆ ของชีวิตได้ เช่น ด้านสุขภาพ ด้านการเงิน และด้านความสัมพันธ์
Manifest VS กฎแรงดึงดูด
Law of Attraction เป็นหลักความคิดที่เชื่อว่าเราสามารถดึงดูดสิ่งต่าง ๆ ที่เราต้องการ ผ่านแรงปรารถนา หรือความคิดเชิงบวก เพื่อทำให้ชีวิตของเราดีขึ้น หรือที่เรียกอีกอย่างว่าการ Manifest
เพื่อดึงดูดสิ่งดี ๆ เข้ามาในชีวิต หลักการที่สำคัญของกฎแห่งแรงดึงดูด คือ “พลังงานที่เหมือนกันย่อมดึงดูดซึ่งกันและกัน”
Manifest คือ การตั้งจิตอย่างแน่วแน่ และการสร้างภาพในใจเกี่ยวกับสิ่งที่คุณต้องการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรัก ครอบครัว การเรียน และอื่น ๆ อีกมากมาย บางคนอาจใช้การนั่งสมาธิ ใช้การจดบันทึก หรืออื่น ๆ
ที่ทำให้คุณสามารถเพ่งจิตไปสู่สิ่งที่เราอยากให้เกิดขึ้น และเชื่อจริง ๆ ว่าสิ่งนั้น ๆ จะต้องเกิดขึ้น นับว่าเป็นส่วนสำคัญของกฎแรงดึงดูด
ข้อดี
1. Set Standart ของตัวเอง
สร้างจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนให้กับชีวิต มีเป้าหมายที่ชัดเจนในการชีวิต
2. สร้าง Self -Esteem
เช่น พอเราบิ้มตัวเอง ว่าเราสวย เราต้องได้แบบนี้ เหมือนเป็นการปรับ mindset ของตัวเราเอง เมื่อเราสนใจตัวเองมากขึ้น เราจะโฟกัสรอบข้างน้อยลง อะไรที่เป็นคำพูดลบ ๆ ที่เคยได้ยินมาก็จะไม่มีผลกับเรามาก
3. สร้างพลังความตั้งใจของเรา
เชื่อว่าเราจะทำมันได้สำเร็จอย่างแน่นอน ซึ่งเมื่อเราเชื่ออะไรมาก ๆ เราก็มีแนวโน้มที่จะพยายามทำมันให้ดีที่สุดอย่างไม่ย่อท้อ และไม่คิดลบกับตัวเองว่าคนอย่างฉันไม่เหมาะที่จะได้สิ่งนั้น หรือคนอย่างฉันไม่มีวันทำได้
4. เรื่องของการจัดการความคิดด้วยแง่มุมเชิงบวก สร้างความมั่นใจ
Manifesting เป็นสิ่งที่มอบพลังใจ หลายคนก็อาจจะมีกำลังแรงในการทำตามความตั้งใจ เพราะรู้ว่ามีบางสิ่งหนุนหลังอยู่ ความเชื่อแบบนี้จึงสามารถพัฒนาความมั่นใจ หรือทำให้เรากล้าขึ้นในหลาย ๆ เรื่องได้
ข้อเสีย
ตามที่ ฮอว์ลัน อู๋ Hawlan Ng นักจิตบำบัดบอกกับ SELF ว่าผู้คนอาจเชื่อมั่นในพลังนั้นว่าจะสามารถทำให้สิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นได้จริง แต่ในความจริง
คนเรามีอุปสรรคในเรื่องต่าง ๆ เช่น ความยากจน การถูกเลือกปฏิบัติ และความเป็นคนชายขอบพื้นที่ห่างไกล
การทำให้เรารู้สึกว่า เราสามารถควบคุมหรือนำทางชีวิตของตัวเองได้ ถ้าเราพยายามหรือคิดเรื่องนี้หนักมากพอ ซึ่งบางคนที่เขารู้สึกว่าเขายังทำไม่มากพอเขายังไม่ได้ มันคือการพาตัวเองไปสู่ความเครียด
การแสดงออกนี้อาจเป็นวิธีดึงดูดให้ผู้คนหลีกเลี่ยงความชอกช้ำในอดีตหรือสถานการณ์ที่ยากลำบาก แต่สิ่งสำคัญสำหรับคนจำนวนมากคือต้องทำใจกับความเจ็บปวดก่อนที่จะโฟกัสไปที่อนาคต
เริ่มต้นทำ Manifest อย่างไร
ขั้นตอนที่ 1 : มีเป้าหมายที่ชัดเจน ขั้นตอนแรกของ Manifesting คือ การมีเป้าหมายที่แน่ชัดและเฉพาะเจาะจง รู้อย่างชัดเจนว่า อะไรคือสิ่งที่เราอยากดึงดูดเข้ามาสู่ชีวิตของเราเองจริง ๆ
ขั้นตอนที่ 2 : จินตนาการภาพแห่งความสำเร็จ จินตนาการคือองค์ประกอบสำคัญของ Manifesting คนที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่ จะจินตนาการภาพของตัวเองในวันที่ประสบความสำเร็จไว้อย่างชัดเจนแล้ว
ขั้นตอนที่ 3 : ใช้ถ้อยคำที่เป็นบวก เขียน พูดกับตัวเองทุกวัน ถึงสิ่งที่เป็นบวก เช่น ฉันเป็นคนที่ประสบความสำเร็จ ฉันมีสุขภาพที่ดี สิ่งดีๆ มากมายเกิดขึ้นกับชีวิตฉัน ฉันเป็นคนที่ร่ำรวย พูดเหมือนสิ่งนั้นเกิดขึ้นแล้ว
ขั้นตอนที่ 4 : หยุดคิดลบและหยุดด้อยค่าตัวเอง การคิดลบ และการไม่มั่นใจในตัวเอง คือ สิ่งที่จะกระทบกระบวนการของการ Manifestingได้มากที่สุด จงคิดถึงสิ่งที่เป็นบวก มั่นใจในตัวเอ และมั่นใจว่าทุกอย่างเป็นไปได้
ขั้นตอนที่ 5 : รักษาพลังบวกไว้ พลังงานในตัวเรา และความรู้สึกของเรา มีบทบาทที่สำคัญที่สุดในกระบวนการ Manifesting การรักษาพลังบวกและความรู้สึกที่เป็นบวกไว้ จะช่วยให้เรายังคงดึงดูดพลังบวกเข้ามาในชีวิต
ขอขอบคุณข้อมูล จากคุณ Satangbank
ที่มา :
‘Manifestation’ หลักคิดที่หลายคนยึดถือ ว่าหากเรา ‘เชื่อ’ ว่ามันจะเกิดขึ้น มันก็จะเกิดขึ้น
Why Is Everyone Obsessed With Manifesting and Does It Actually Work?
How to Manifest Anything You Desire
Manifestation กับคำอธิบายเชิงจิตวิทยาและวิทยาศาสตร์
หรือตัวเราเองที่ Toxic เพราะ “Toxic” มีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะในรูปแบบครอบครัว คนรัก เพื่อน เมื่อจำเป็นต้องอยู่ใกล้คน Toxic หรือ ในวันที่เรา Toxic เสียเอง เราจะทำอย่างไรได้บ้าง
มาหาคำตอบกันในรายการพูดคุย X คุณรัชดาภรณ์ ศรีวิลัย นักจิตวิทยาคลินิก
Toxic มีรูปแบบไหนบ้าง
ไม่จำเป็นนต้องแยกว่ากี่รูปแบบ แต่ขอเรียกทุก ๆ อย่างว่าบริบท เช่น พ่อแม่ คนรัก เจ้านาย เพื่อนร่วมงาน เพราะนั่นคือ บทบาทหน้าที่ที่เราเมื่อต้องไปอยู่ ณ สิ่งแวดล้อมตรงนั้น
แต่เมื่อเราอยู่ในภาวะความสัมพันธ์กับใครซักคน ในลักษณะ เห็นแก่ตัว พยายามควบคุมทุกอย่าง คนที่ชอบซุบซิบนินทา หรือบางกลุ่มคนที่วิจารณ์ เห็นแต่แง่ไม่ดีของคนอื่น พูดถึงคนอื่นในแง่ลบ
จนทำให้เราสงสัยในความสามารถของตัวเอง ไม่ว่าอยู่ในบริบทไหนก็สามารถเจอบุคคลต่าง ๆ เหล่านี้ได้ทั้งสิ้น
จะแยกอย่างไรว่าใครสักคน Toxic ไม่ใช่เพราะอคติของเรา
แน่นอนว่ามีเส้นบาง ๆ กลั้น แต่ให้ลองนึกถึงเมื่อเราอยู่กับคนที่ไม่ชอบ ไปด้วยมาก ๆ และ นาน ๆ ก็จะเริ่มเป็นความ Toxic เพราะเราไม่อยากอยู่กับเขา
บางทีที่เราไม่ชอบเพราะเรารู้สึกไม่ดีกับนิสัยบางอย่างของบุคคลนั้น และเราก็อยู่กับเขาได้ยากขึ้น แต่ละคนจะมีประเภทของคนที่ไม่ชอบแตกต่างกัน ระดับความไม่ชอบก็ไม่เท่ากัน อาจจะอยู่รวมกันได้ หรืออาจจะทนไม่ได้
แต่สุดท้ายคงไม่จำเป็นต้องแยกว่าเเป็นเพราะเรา หรือเขา เพียงว่าหากเราอยู่กับเขาแล้วเราไม่สุขสบายใจ การพาตัวเองห่างออกมา จะดีกว่า และเป็นวิธีการที่ชาญฉลาด
จำเป็นต้องอยู่กับคน Toxic ทำอย่างไร
อยู่กับเขาเท่าที่จำเป็นเท่านั้น อยู่กับเขาเท่าที่ต้องอยู่ หลีกเลี่ยงเท่าที่เราทำได้ เพราะเราไม่สามารถเลือกคนรอบข้างได้ในทุก ๆ สถานการณ์
เรียนรู้ที่จะซื่อสัตย์กับความรู้สึกของตัวเอง โดยไม่ต้องเเสแสร้ง ว่าเอ็นดูเขา อยากอยู่กับเขา หรืออยากทำงานด้วย อยากพูดคุยด้วย หลาย ๆ คนจะรู้สึกแบบนั้น และฝืนตัวเองโดยไม่กล้าที่จะบอกว่าเราไม่ชอบคนนี้
เพียงเพราะว่าเรายังคงต้องอยู่ด้วยกันอยู่ ย่าให้พลังงานลบของคนอื่น ซื่อสัตย์ต่อความรู้สึกเป็นการแสดงออกที่อาจจะทำให้เราและเขา ค่อ ๆ เข้ามา “กัดกิน” หัวใจตัวเอง
หรือตัวเราเองที่ Toxic รีเช็คตัวเองอย่างไร
เมื่อเวลาเราพูดถึงคน ก็จะต้องมีปฎิสัมพันธ์ เมื่อเราอยากรู้ว่าเราหรือเขา Toxic ให้ลองดูว่าเรามีปฏิสัมพันธ์กับเขาได้ไหม หรือเขามีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นเป็นยังไง
อาจจะไม่ต้องหาคำตอบที่ชัดเจนว่าเราหรือ เขาที่ Toxic เพราะ การที่เขา Toxic ใส่เรา ไม่ได้แปลว่าเราจะไม่ Toxic ใส่เขา คงมีบางอย่างที่เราไม่ชอบในนิสัยของเขา เขาไม่ชอบนิสัยของเรา
ฉะนั้นถ้าปฎิสัมพันธ์ของเราไปต่อกับใครไม่ได้ นั่นอาจแปลว่าเราเองเข้าไม่ได้กับคนนั้น เช่นเดียวกันหากเราปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นได้ อย่างน้อยท้ายที่สุดเราก็ยังเป็นมวลสารที่ดีให้กับคนอื่น
หรือตัวเราเองที่ Toxic จะปรับแก้อย่างไร
1. ใส่ใจแต่ไม่คิดแทน
ใส่ใจในรายละเอียดว่าสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนี้ เข้าจะชอบไหม เขาจะรู้สึกแย่ไหม แต่ไม่ใช่การคิดแทนกันว่าอันนี้ดี หรือไม่ดี จนทำให้เขารู้สึกอึดอัดเกินไป
2. อย่าใช้อารมณ์ชนะเหตุผล
หลาย ๆ ครั้งที่เรารู็สึก Toxc ใส่กันเพราะเราสาดอารมณ์ใส่กันโดยไม่ใช้เหตุผลที่อยู่ตรงกลาง ทุกคนมีเหตุผลของตัวเอง เหตุผลของเธอ เหตุผลของฉัน เพราะฉะนั้นเรียนรู้ที่จะควบคุมอารมณ์มากกว่าให้อารมณ์ควบคุมเรา
3. ขอโทษและขอบคุณให้เป็น
ในวันหนึ่งที่เราทำผิดเราต้องเรียนรู้ที่จขอโทษให้ได้ หรือแม้ในวันที่เรารู้สึกไม่ผิด แต่เรื่องกำลังแย่ แต่เราไม่ได้ลำบากในการขอโทษ ก็สามารถขอโทษได้เพื่อให้เรื่องดีขึ้นและได้เริ่มคุยกันใหม่ การขอบคุณก็เช่นกัน
4. อย่าให้โลกหมุนตัวเอง
ถ้าเมื่อไหร่ที่เราปล่อยให้โลกหมุนรอบตัวเอง เราจะไม่เห็นคนอื่น ๆ เลย เมื่อเราเป็นแบบนั้นแล้ว เราจะอยู่กับคนอื่นได้อย่างไร
self Expression เคยไหม… ที่ต้องซ่อนความเป็นตัวเองไว้เพราะกลัวว่าคนอื่นจะไม่ชอบ การทำเช่นนั้นส่งผลต่อสุขภาพจิตของเราอย่างไร การเป็นตัวของตัวเองในทางจิตวิทยาคืออะไร
วันนี้เราจะมาร่วมพูดคุยกันใน Alljit Podcast กับรายการ Learn&Share
Self – Expression
การแสดงตัวตน คือ การแสดงความคิด ค่านิยม หลักการ ความเชื่อ อารมณ์และความรู้สึกของคุณ มันเป็นวิธีที่เรานำเสนอตัวเองต่อโลกต่อสังคม และสามารถมีได้หลากหลายรูปแบบ
คำพูด สีหน้า ร่างกาย พฤติกรรม การเคลื่อนไหว เสื้อผ้า การกระทำวิธีที่เราสื่อสารความคิด อารมณ์ และทัศนคติของเรา ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงออกถึงความเป็นตัวตนของเรา
วิธีที่เราเลือกที่จะแสดงออกเป็นการบอกข้อมูลอื่น ๆ เกี่ยวกับความสนใจและลักษณะนิสัยของเรา ในขณะเดียวกัน การแสดงตัวตนของผู้อื่นก็ให้ข้อมูลที่สำคัญแก่เราเกี่ยวกับพวกเขา
ผู้คนต้องการแสดงความเป็นตัวเอง และ ต้องการสะท้อนตัวตนของตัวเอง ซึ่งจำเป็นมาก ๆ เลย และเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่เราจะสามารถแสดงออกมาได้
ซึ่งจริง ๆ ไม่ใช่เรื่องแปลกที่บางคนคนจะซ่อนความรู้สึกที่แท้จริงของตัวเองไว้ เพราะการแสดงตัวตนที่แท้จริง อาจเป็นการกระทำที่อ่อนแอ หรือกลัวคนตัดสิน
บางคนพบว่าตัวเองหลีกเลี่ยงการแสดงออกแม้ในความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด แตกต่างจากผู้อื่นที่สุด เพราะกลัวว่าจะถูกตัดสิน ถูดต่อว่า
Self – Expression กับ Mental Health?
ตั้งแต่แรกเกิดเราแสดงตัวตนออกมาเพื่อตอบสนองความอยู่รอด และความต้องการทางสังคม การแสดงออกถึงตัวตนเป็นช่องทางในการตัดสินใจ เลือกคนที่เราต้องการเพื่อเชื่อมต่อและเป็นสมาชิกด้วย
แต่บางครั้ง เรามักจะมองข้ามและลืม ทัศนคติและค่านิยมที่เป็นความเชื่อที่แท้จริงของเราเอง โดยเฉพาะหากเราไม่ได้รับการส่งเสริม เช่น โตมาในสังคมที่ห้าม อย่าทำแบบนั้น ห้ามทำแบบนี้ แบบนี้ไม่ถูกต้อง
ทำให้การแสดงออกในช่วงนั้นถูกปิดกั้นมากกว่า ทำให้เด็กในวัยนั้นเติบโตมาทุกวันนี้อาจจะไม่ได้เห็นตัวตนที่แท้จริงเท่าที่ควร เมื่อเราไม่สามารถแสดงตัวตนที่แท้จริงได้
เราอาจรู้สึกสูญเสียความเป็นตัวเอง หวาดกลัว หรือแม้แต่ผิดหวังกับวิธีที่เราทำหรือไม่แสดงออกไป เป็นเรื่องปกติที่จะต่อสู้กับความคิดต่าง ๆ เช่น เรา ‘ควร’ ประพฤติตัวอย่างไร ภาพลักษณ์แบบไหนที่เรา ‘ควร’ คล้อยตาม
การได้เป็นตัวของตัวเองในรูปแบบที่ตัวเองอยากจะเป็นดีอย่างไร
เมื่อเรามีอิสระและความมั่นใจที่จะพูดในสิ่งที่เราเชื่อและ รู้สึกอย่างแท้จริง และเมื่อการกระทำของเราสอดคล้องกับความเชื่อและค่านิยมของเราเอง เราก็มีแนวโน้มที่จะมีสุขภาพจิตที่ดี ความสัมพันธ์ และความเป็นอยู่ที่ดี
เพิ่มทักษะการแสดงออก?
1. การยอมรับตนเอง
การแสดงออกเริ่มต้นด้วยการยอมรับตนเอง มันอาจไม่ง่ายอย่างนั้น เพราะรับการฝึกฝนมาตั้งแต่เด็กว่าควรพูดอะไร ไม่ควรพูดอะไร วิธีปฏิบัติตัว และวิธีไม่ควร เราควรนำเสนอตัวเองต่อโลกอย่างไร เราต้องมองเข้าไปในตัว
ตนที่แท้จริง และยอมรับว่าเป็นเราจริง ๆ เริ่มค้นหาว่าเราเป็นใครด้วยการฟังตัวเอง รับทราบอารมณ์ของเราและให้เกียรติความรู้สึกของเรา หากตรหนักรู้ตนเองและยอมรับตนเอง การแสดงตัวตนของเราก็จะง่ายขึ้น
2.การเขียน
บันทึกประจำวัน เป็นวิธีการแสดงออกถึงตัวตนที่แท้จริงของ ความรู้สึกและประสบการณ์ที่จับต้องไม่ได้ กลายเป็นสิ่งที่จับต้องได้
3. พูดอย่างเปิดเผย
บ่อยครั้งที่เราไม่เปิดใจ พอที่จะพูดความรู้สึกหรือประสบการณ์ อาจเพราะ กลัวความขัดแย้งขาดความมั่นใจ หรือ ไม่ต้องการทำร้ายอีกฝ่าย ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม
4. คนจะคิดยังไง
กังวลว่า คนจะชอบหรือไม่ ทำแบบนี้ถูกต้องหรือเปล่า อย่าให้ความคิดเห็นของพวกคนอื่นมีความสำคัญต่อการแสดงออกของเรา
5. การแสดงออกที่สร้างสรรค์
การแสดงออกอย่างสร้างสรร เช่น วาดภาพ หรือทำการ์ตูน ร้องเพลง เต้นรำ ระบายสี แต่งเพลงหรือทำงานประดิษฐ์ เพื่อสะท้อนถึงความรู้สึก อารมณ์ และความคิดของคุณ
6. กำจัดความอาย และฝึกความมั่นใจ
การขาดความมั่นใจเป็นอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดในการแสดงออก เมื่อกำลังพูดคุยกับใครสักคน จงพูดด้วยความมั่นใจ มีท่าทางตรง สบตา ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ออกเสียงอย่างถูกต้องชัดเจน
ความเหมาะสมของ Self Expression
แน่นอนว่าการที่เราแสดงความเป็นตัวเองนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่การที่เราแสดงความเป็นตัวเองนั้นก็ต้องถูกในสถานการณ์ต่าง ๆ ด้วย ยกตัวอย่างจากบทความของ carolyn stern
กล่าวว่า “ถ้าการแสดงออกความเป็นตัวเองของเราที่ มากเกินไป จนทำร้ายคนอื่น” เช่น ถ้าเราแสดงอารมณ์อารมณ์ ความรู้สึกที่มีมากเกินไปอาจทำให้คนอื่นรู้สึกอึดอัดและกดดันที่จะตอบสนอง
เพราะฉะนั้นแล้ว การที่เราจะแสดงออก ไม่ว่าจะในทางใดก็ตามย่อมมีผลลัพธ์กับคนอื่นเสมอ สิ่งสำคัญคือเราต้องเคารพบบุคคลที่อยู่ในสังคมเดียวกับเราด้วย เพราะเราก็เป็นคนที่มีความแตกต่างเช่นกัน
ที่มา:
express yourself more effectively
บทความที่น่าสนใจอื่น ๆ คลิก
หนังสือ ชีวิตเราไม่ได้ยืนยาว พอที่จะอยู่อย่างอดทน
เขียนโดย จิตแพทย์ คุณซูซูกิ ยูซึเกะ
หนังสือเล่มนี้เป็น 28 วิธีคิดที่เพื่อชีวิตที่ปลอดโปร่งสบายใจ เลิกฝืนทำสิ่งที่ตัวเองรู้สึกแย่ เลิกเดินตามความคาดหวังของคนอื่น และหันมาใช้เวลาในแต่ละวันเพื่อตัวเองจริง ๆ สักที
ชีวิตของเรามันไม่ยั่งยืนยืดยาวอะไรขนาดนั้นจริง ๆ นะ เคยคิดเหมือนกันว่า ในการที่เราใช้ชีวิต การที่เราจะทำอะไรเพื่อตัวเองคืออะไร
ซึ่งวันนี้เราจะหยิบยกมา 2 บทที่อยากนำมาให้คุณผู้อ่านได้อ่านกันค่ะ 🙂
บทที่ 1
- ทิ้งสิ่งที่ทำให้ รู้สึกแย่ หรือ ไม่สนุก
เพราะทำงานแล้วเพราะเป็นผู้ใหญ่ ทำให้ต้องอดทนอะไรมากมาย ต้องฝืนทำอะไรจนร่างกายเริ่มส่งสัญญาณเตือนว่าเริ่มไม่ไหวแล้วนะ
แนวคิดการเป็นผู้ใหญ่ และการทำงาน คุณซูซูกิไม่ได้เห็นต่างด้วยนะ เขาเข้าใจว่ามนุษย์ต้องทำมาหากินถึงจะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้
‘ แต่…โลกนี้มีคนมากมายที่ไม่แม้แต่จะรู้ตัวว่างานนั้นหรือคนคนนั้น ไม่เหมาะกับตัวเอง ‘
คุณซูซูกิได้ยกตัวอย่างว่า ถ้าเกิดเราอยู่ในครอบครัวที่ทุกคนเป็นครู เราเลยเป็นครูตามครอบครัวเรา แล้วเราดันทำอาชีพ ครูได้ดี ทำได้ถนัด ทำแล้วมีคนชื่นชม
แต่สิ่งที่เราเป็นทำให้สัญญาณร่างกายที่เราส่งออกมา มันตรงกันข้าม เราไม่มีความสุข ทุกข์ใจ คุณซูซูกิได้บอกว่า เวลาทำสิ่งที่ทำได้ดี แม้ไม่อยากทำ เราได้รับคำชมแล้วคำชมนั้นก็เหมือนปิดหูปิดตาเราอีกทีหนึ่ง
จนไม่รู้ตัวว่าจริง ๆ แล้วสิ่งนั้นเราไม่อยากทำ นอกจากเรื่องงานแล้ว คุณซูซูกิ ก็ได้พูดเรื่องคน
‘ โลกนี้ยังมีคนที่ทำให้รู้สึกว่า ไม่ใช่คนไม่ดี แล้วก็คงไม่ได้คิดร้ายอะไรกับเรา แต่อยู่ด้วยแล้วเหนื่อยยังไงไม่รู้ ‘
คนที่เรารู้สึกว่าเราอยู่ด้วยแล้วเหนื่อย เขาไม่ใช่คนไม่ดี ไม่ใช่คนที่คิดร้าย แต่เรารู้สึกว่าเรากับเขาเข้ากันไม่ได้ นั้นแหละคือสิ่งที่ร่างกายเราส่งสัญญาณถ้าเราอดทนไปเรื่อย ๆ
มันอาจจะบั่นทอนจิตใจเราจนเหมือนการทำร้ายความรู้สึกตัวเอง เมื่อรู้สึกแบบนั้นให้ถอยห่างออกมา ถ้าถอยออกมาแล้วเรารู้สึกว่าการอยู่ใกล้เขามันดีกว่าการถอย ก็ค่อย ๆ เขยิบเข้าไปใกล้เขาใหม่
แต่กว่าเราจะรู้ว่าอะไรที่เข้ากับเราได้ อะไรที่เข้ากับเราไม่ได้ เราจะรู้ได้ยังไง จะมีทักษะในการคัดกรองได้ยังไง คุณซูซูกิก็มีทริคมาบอกเราเหมือนกัน
- ให้จับสัญญาณของร่างกายเราให้ดีเวลาที่มนุษย์ต้องเผชิญหน้ากับสิ่งที่ไม่ชอบ ร่างกายจะส่งออกมาอย่างไว แต่ความมนุษย์ของเราจะมีความเชื่อ อารมณ์มาครอบงำ สัญญาณนั้นทำให้เราปฏิเสธไป “ปวดท้อง ไม่สบายใจ คลื่นไส้” 3 อย่างนี้ จะปรากฎผ่านร่างกายเพื่อตอบว่าเริ่มไม่ไหวแล้วนะ
- รู้สึกดีจัง อารมณ์ดีจัง เมื่อเราเจอแล้วว่าสิ่งอะไรที่ทำให้เรารู้สึกดี ให้เราดื่มด่ำกับสิ่งนั้น ถึงแม้ว่าสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกดี จะเป็นแค่จินตนาการ เรื่องผิดศีลธรรม เรื่องที่เล่าให้ใครฟังไม่ได้ ก็ไม่เป็นไร และการที่เรากำลังดื่มดำ ให้ตัดเหตุผลที่ว่าทำไมเราถึงรู้สึกดี หรือ ทำไมถึงรู้สึกไม่ดี เพราะถ้าเราคิดหาเหตุผลแล้วจะทำให้เราหลุดสัญชาตญาณการแบบสัตว์
- เวลาผ่านไปช้า เวลาผ่านไปเร็วถึงจะมีเวลา 1 ชั่วโมงเท่ากัน แต่เวลาที่เราทำสิ่งที่ชอบ ทำสิ่งที่สนุก เราจะรู้สึกผ่านไปเร็ว และทำในสิ่งที่ไม่ชอบ แม้จะผ่านไป 1 นาทียังรู้สึกว่านาน ทั้งการใช้ชีวิต หรือการอยู่กับความสัมพันธ์ ผู้คนที่ทำให้เรารู้สึกว่าอยู่ด้วยแล้วพลังการใช้ชีวิตลดลง และเมื่อเรารู้ว่าอะไรที่เราอยู่ด้วยแล้วรู้สึกว่าเวลามันผ่านไปช้าจัง ก็ควรหลีกเลี่ยงมันให้ดีที่สุดดีกว่า
“ถอยห่างจากสิ่งที่ไม่ชอบ ปฏิเสธสิ่งที่ไม่ต้องการ เลิกทำสิ่งที่ไม่เหมาะกับตัวเอง”
ในช่วงแรกเราอาจจะไม่เก่งพอที่จะทำอะไรแบบนี้อาจจะมีเสียงรบกวนในหัวว่าเราสามารถทำได้จริงหรอ สิ่งที่ทำมันถูกไหม แล้วถ้าทำไปแล้วโดนเกลียดโดนไม่ชอบขึ้นมาจะทำยังไง
แต่เชื่อไว้เถอะว่า ชีวิตมันคือการลอง ลองทำสิ่งที่เราไม่ชอบ ลองคบคนที่ทำให้เรารู้สึกไม่สบายใจ ไม่ชอบตัวเองเลยเวลาฝืนใจทำ เพราะเมื่อเรารู้แล้ว
เราจะได้รู้ก็จดจำความรู้สึกนั้นไว้และนึกไว้เสมอว่า ชีวิตเราไม่ได้ยืนยาวที่จะอดทนกับความรู้สึกเหล่านั้น
บทที่ 2
ชีวิตหาคอนเทนต์
คุณซูซุกิขึ้นเริ่มมาด้วยประโยค เราจะเข้าหาคนที่รู้สึกอยากตายยังไงดี?
คำตอบที่เป็นสูตรสำเร็จของแพทย์ให้บอกว่า สัญญากันก่อนนะว่าจะไม่ตาย คุณซูซุกิบอกว่า แพทย์อย่างพวกผมเรียนกันมาแบบนี้ ทั้งตอนเรียนในคณะหรือตอนสอบใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ
ตัวเขาเองก็เคยพูดอยู่หลาย ๆ ครั้ง แต่เขาก็รู้สึก ไม่ได้ผลอยู่หลายครั้งและเหมือนเป็นการกระทำที่อวดดีและใจร้าย
อย่างไรก็ตามถึงแม้จะไม่ได้เกิดมาด้วยความโชคดีมีคนที่ทำให้รู้สึกว่า ถ้ามีคนคนนี้อยู่ด้วยก็มีชีวิตไปต่อได้ ก็ไม่ได้แปลว่าสิ้นหวัง เพราะเราสามารถยืมพลังจากคอนเทนต์มาเป็นแรงใจในการใช้ชีวิตต่อได้
คอนเทนต์คือ..?
ต่อให้ เป็นคนที่ ตอนนี้ไม่ได้สนใจอะไรเป็นพิเศษ หรือคนที่ แค่ทำงานกับใช้ชีวิตประจำวันไปวัน ๆ ก็เหนื่อยจะแย่แล้วไม่ว่างดูละครหรือกาตูนสนุก ๆ หรอก
อยากให้ลองสละเวลาสัก 1 นาที อาจจะเจอคอนเทนต์ที่เปลี่ยนชีวิตของเราก็ได้
“แม้ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่อะไร แต่คุณอาจเจอกับสิ่งที่ทำให้รู้สึกผูกผันจนอยากอยู่กับมันไปตลอดก็ได้”
การที่เรารับรู้ตัวเราเองว่าเราพอใจกับอะไร ไม่พอใจกับอะไร สามารถทำให้เราใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากขึ้น และขอให้คุณผู้อ่านทุกคนได้หาคอนเทนต์ที่เราชอบเจอกันนะคะ
สุดท้ายแล้วชีวิตเราไม่ได้ยืนยาวพอที่จะอยู่อย่างอดทน .. 🙂