Posts

วันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับ นิทรรศการ “Turn Yours Scars into Stars” “แม้จะเจ็บปวดแต่คุณก็งดงาม” เป็นนิทรรศการที่ถ่ายทอดเรื่องราวของผู้คนที่เจอกับประสบการณ์ต่างๆที่ไม่สวยงาม

 

และกลายเป็นบาดแผลที่เจ็บปวด โดยนิทรรศการจะจัดในวันที่ 4-5 กุมภาพันธ์  2566 ที่ The Palette Artspace ค่าเข้าชม 100 บาท 🙂

 

รวมถึงมุมมองของศิลปิน 2 ท่านที่จะนำงานศิลปะไปจัดแสดงที่นิทรรศการด้วย ในหัวข้อ “ความเจ็บปวดและบาดแผลทางจิตใจ”

จริงๆแล้ว ความเจ็บปวดสวยงามอย่างไร?

สารบัญ

Tum Ulit

Art of Hongtae

” โจทย์ในครั้งนี้มีความท้าทายไหม? ” 

 

Art of Hongtae : เป็นโจทย์ที่เบสิค เพราะไม่ว่าศิลปินคนไหนในประวัติศาสตร์ก็ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างผลงานจากความเจ็บปวดทั้งนั้น หากศึกษาดูศิลปินในประวัติศาสตร์ที่ชีวิตแย่

 

จะสร้างผลงานได้อย่างมีเอกลักษณ์และเรื่องราวที่น่าสนใจ แม้จะไม่ได้พูดออกมาเลยก็ตาม 

 

Tum Ulit : ความเจ็บปวดเป็นวัตถุดิบที่ดีสำหรับศิลปิน แค่เปลี่ยนรูปแบบไปในรูปแบบที่ศิลปินนั้น ๆ สื่อสารออกมา เช่น บางคนพูดคุยกับเพื่อน แต่ศิลปินใช้การวาดภาพในการสื่อสาร 

 

 

มุมมองที่มีต่อ “การยอมรับการจากลา” 

 

Tum Ulit : ก่อนที่จะเกิดการยอมรับการจากลาได้ อาจจะต้องเข้าใจก่อนว่า เราอยู่ในกฎข้อหนึ่งคือ เราพบเพื่อจาก เป็นสิ่งพื้นฐานและสากล  ฉะนั้น การจะยอมรับการจากลาให้ได้คือ

 

มองย้อนกลับไปเห็นว่าสิ่งที่เกิดขึ้นคือ เรื่องธรรมดา สุดท้ายแล้วเราเกิดมาเจอกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และจากลา ซึ่งเป็นสิ่งที่สื่อสารเสมอมาในผลงาน 

 

Art of Hongtae : แตกสลายเมื่อตอนต้นปี เนื่องจากถูกทิ้งและอกหักเมื่อตอนต้นปี 2022 เป็นการอกหักครั้งแรกตอนอายุ 35 เป็นการแตกสลายที่ยาวนาน แต่คนเลข 3 มักมีมุมมองทุกอย่างตาม

 

ความเป็นจริงมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องสามัญสำหรับโลกใบนี้ หากเป็นคำทางพุทธศาสนา คือเป็นสามัญลักษณะ หรือ ไตรลักษณ์ คือ ลักษณะอันเป็นปกติของโลกนี้ 3 อย่าง คือ ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้

 

และไม่มีตัวตน ซึ่งเป็นมาตรฐานของทุกอย่าง ความรักก็เช่นกัน มันจำเป็นที่จะต้องเกิดขึ้น ทนไม่ได้ และหายไป ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเวลา ว่าจะทนไม่ได้นานแค่ไหน หากยาวนานไปจนถึงตัวตาย

 

ก็จะเรียกรักนิรันดิ์ ถ้าเกิดทนไม่ได้แค่ 2-3 สัปดาห์ หรือ เป็นเดือน ก็เรียกว่าอกหัก พิจารณากันแบบนั้น  ซึ่งคุณค่าของการแตกสลายครั้งนี้ คือ ได้งานเยอะมากจากการอกหัก

 

เกิดความรู้สึกขึ้นเยอะมากในแบบที่ไม่เคยรู้สึกมาก่อน การเจ็บปวดเหล่านั้นเหมือนเป็นพาเลทสี ที่ใช้ในการเขียน ในการวาดงานศิลปะ เพราะสิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้นแล้ว

 

 

“อุปสรรคของการสร้างงานศิลปะครั้งนี้” 

 

Art of Hongtae :  ระหว่างทางไม่มีอุปสรรคใด ๆ แล้ว และไม่ร้องไห้กับเรื่องที่ผ่านมาแล้ว…เพราะร้องจนไม่เหลืออะไรให้ร้องอีกครั้ง ตอนนี้เหลือเป็นตะกอนของความทรงจำ

 

เกิดเป็น Flashback ขึ้นมาบ้างและเราจำภาพมันได้ค่อนข้างชัดเจน ความทรมานเราอาจจะอยู่นาน และแฟนตาซี 

 

Tum Ulit : การเห็นความจริงและยอมรับ ก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะยอมรับได้ถ้ามันเกิดขึ้นจริง ๆ เพราะมันไม่เคยง่าย แต่อุปสรรคจริง ๆ คือเรารู้ว่า ทุกอย่างมีเวลาของมัน และเราไม่สามารถเร่งให้หายเร็ว ๆ ขึ้นได้  

 

Art of Hongtae : รีบหายไม่ได้ แผลมันมีเวลาของมัน มันก็ค่อย ๆ แห้ง และตกสะเก็ด มันขึ้นอยู่ทีว่า เราเป็นมนุษย์ที่มีเกล็ดเลือดเยอะแค่ไหน มันก็จะตกสะเก็ดเร็วขึ้น

 

แทนที่จะไปโฟกัสว่าเมื่อไหร่จะหาย ก็เอาเวลาไปดูแลตัวเอง หรืออะไรที่เป็นประโยชน์กับแผล เป็นขั้นตอนเชิงบวกที่จะทำให้แผลหายเร็วขึ้น มากกว่าการเอาเข็มมาจิ้มแผลตัวเอง 

 

 

“แรงบันดาลใจในการสร้างผลงานศิลปะที่จะนำไปจัดแสดงในนิทรรศการ”

 

Art of Hongtae : แรงบันดาลใจหลัก ๆ คือ การอกหักเมื่อต้นปีที่ผ่านมา 

 

Tum Ulit : เป็นเรื่องของ ความสัมพันธ์กับทุกอย่าง เพราะสุดท้ายทุกอย่างก็ไม่ใช่ของเรา เราแค่หยิบยืมมาใช้ ฉะนั้นการยอมรับการจากลาคือ การยอมรับกับทุกอย่าง

 

อย่างแมวตัวแรกที่ตั้งชื่อว่า Good bye เพื่อเป็นการเตือนตัวเองว่าสุดท้ายเราก็ต้องจากลา

 

 

การก้าวผ่านความเจ็บปวด และช่วงเวลาที่ยากที่สุด?

 

Art of Hongtae : การพยายามหาความจริงและไม่พยายามหาความจริง การจากกันมี 2 รูปแบบ คือการจากเป็นและจากตาย  หากเป็นการจากตาย คำตอบมีเพียงคำตอบเดียว คือหมดลมหายใจ 

 

หากเป็นการจากเป็นจะเกิดคำถามมากมายขึ้น เช่น ตรงไหนที่เราไม่ดี ตรงไหนที่พอจะแก้ไขได้ไหม มันจะดีหากเราตอบมันได้ แต่ถ้าเราตอบมันไม่ได้มันก็จะทรมาน

 

แต่จะแย่กว่านั้นอีก หากหาคำตอบได้ แต่ไม่สามารถทำอะไรได้ทันแล้ว เพราะ เลิกกันแล้ว ไม่รักกันแล้ว ทนกันไม่ได้แล้ว ความทรมานนี้เกิดขึ้นตลอดเวลา เต็มไปด้วยความหวังและสิ้นหวังในเวลาเดียวกัน

 

Tum Ulit : เมื่อเกิดความเจ็บปวดเราจะตั้งคำถามว่าทำไมเราไม่ทำอย่างนั้น? อย่างนี้? ซึ่งเป็นสิ่งที่รบกวนจิตใจเราที่สุด แต่อีกส่วนหนึ่งคือ คำถามว่าเมื่อไหร่เราจะกลับมาเป็นปกติ

 

การรอเวลาเพื่อกลับไปถึงจุดนั้นมันทรมาน เพราะเรารู้สึกว่าการจะกลับมาเป็นตัวเองอีกครั้งต้องต่อสู้กับตัวเองเยอะมาก

 

“หรือจริง ๆ ที่เราทรมาน คือการที่เราปักเส้นชัย ว่าจะหายเจ็บเมื่อไหร่ แต่สุดท้ายยังไม่หายตามธงที่ปักไว้ – Art of Hongtae”

 

 

ความเจ็บปวด สุดท้ายแล้วงดงามไหม? 

 

Art of Hongtae : ในตอนนั้นไม่มีอะไรสวยงามเลย มันเเย่ จนรู้สึกอยากตาย มันจึงไม่มีอะไรสวยงามเลย ชีวิตเหมือนฝนตกทุกวัน สีเทาทุกวัน แต่เมื่อเราก้าวผ่านมาแล้ว

 

เราจะเริ่มมองเห็นบางจุดที่เริ่มใช้ได้ ประโยชน์ คือ ถ้าเพื่อนเราอกหักก็รู้ว่าจะดูแลเพื่อนยังไง สิ่งที่สวยงามคือ มิตรภาพ เพื่อนขับรถมาตอนตี 2

 

พาเราเดินในซอยแล้วส่งเราเข้านอน เพื่อนสมัยประถมที่ไม่เคยเจอกันโทรมาหา แล้วปลอบใจ  นั่นเป็นสิ่งที่สวยงาม 

 

Tum Ulit : ความงดงามคือการเห็นว่า มีใครที่รักเราบ้าง แต่หากให้ขยายความขึ้น ความงดงาม คือการที่ทำให้เราเติบโตขึ้น หมายความว่าถ้าเราไม่เจ็บปวด ไม่หกล้ม ไม่เคยผิดพลาด

 

เราจะไม่ได้เรียนรู้  แต่พอมันเกิดขึ้นแล้ว มันทำให้เราตระหนักถึงชีวิต ได้มองเห็นชีวิตตัวเองว่าเรามีความเจ็บปวดแบบไหน เรามีการจัดการกับความคิดแบบไหน

 

ความงดงาม คือ เราได้เรียนรู้ที่จะเผชิญหน้ากับมันโดยตรงแล้วจะผ่านมันไปได้ โดยเป็นคนที่ดีขึ้นกว่านี้ได้อย่างไร 

 

Art of Hongtae : ความเจ็บปวดทำให้เราครบเครื่องขึ้น เปรียบเหมือนเวลาสวมบทบาทตัวละคร สิ่งที่จำเป็นมากที่สุดคือ ต้องเข้าใจตัวละครนั้นมาก ๆ  การเข้าใจ คือการรู้จักเขารอบด้าน

 

รู้ไปถึงว่าเขาจะตัดสินใจยังไงเมื่อเจอเหตุการณ์เหล่านั้น มากไปกว่านั้นคือ ทำให้มีความ Emphathy มากขึ้น เพราะเคยหัวเราะเยาะเพื่อนที่อกหัก แล้วคิดว่า อะไรจะขนาดนั้นกับแค่ผู้หญิงคนเดียว

 

แต่วันนี้ เมื่อเจอเหตุการณ์เกิดขึ้นกับตัวเอง จึงพบว่า เราไม่มีสิทธิที่จะมองแบบนั้นอีกต่อไปและในวันนี้เราสามารถบอกคนที่อกหักได้ว่า “กูก็เคยเป็นแบบมึง เดี๋ยวก็หายไม่ตายหรอก” 

 

 

ศิลปะช่วยให้ก้าวผ่านเรื่องราวควงามเจ็บปวดได้มากน้อยเพียงใด

 

Tum Ulit : ช่วยได้ และเป็นปัจจัยนึงที่ทำให้เห็นตัวเอง งานชิ้นแรก ๆ ที่เป็นที่รู้จัก ก็สร้างออกมาจากความเจ็บปวดและบาดแผลทางใจของตัวเอง วาดภาพเล่าเรื่องราว

 

แต่ละเหตุการณ์ออกมามาในรูปแบบ Comic  การได้สื่อสารแบบนี้ออกไป ก็ทำให้สบายใจขึ้น อาจจะเหมือนการโทรไปเล่าให้ใครซักคนฟังฟัง ต่างกันตรงที่แค่ถ่ายทอดออกมาเป็นภาพ

 

ซึ่งช่วยให้ค่อย ๆ เข้าใจตัวเองมากขึ้น เห็นบาดแผลที่ผ่านมามากขึ้น แต่การทำศิลปะอาจไม่ได้ทำให้ทุกคนดีขึ้น ไม่สามารถการันตีแบบนั้นได้ 

 

Art of Hongtae : วิธีการของเเต่ละคนไม่หมือนกัน ทุกคนมีเครื่องมือที่แตกต่างกัน อย่างเช่น วาดภาพแล้วรู้สึกดีขึ้น หลาย ๆ คนก็แต่งตัวเซ็กซี่แล้วถ่ายรูป

 

นั่นอาจเพราะบางคนเห็นตัวเองสวย แต่เสียคุณค่านั้นไปเพราะโดนทิ้ง, บางคนร้องเพลงแล้วดีขึ้น ซึ่งมันเป็นคำตอบได้ว่า ทำสิ่งที่รู้สึกเป็นคุณค่าของเรา

 

เพื่อให้การเป็นอยู่ในโลกนี้ของเราชัดเจนขึ้น  เพราะฉะนั้นใครที่กำลังพบเจอกับความเจ็บปวด พยายามหาเครื่องมือที่เป็นตัวเองเพื่อสร้างพื้นฐานที่แข็งแรงให้กับตัวเอง 

 

 

ฝากถึงคนที่อยากจะก้าวผ่านความเจ็บปวด 

 

Tum Ulit : แค่รู้สึกว่าอยากจะผ่านมันไปได้ ก็เป็นการเริ่มต้นกระบวนการที่ดีแล้ว 

 

เคยได้มีโอกาสไปนั่ง วิปัสสนา กับพระอาจารย์โกเอ็นก้า เราได้เห็นความเจ็บปวดทางกายเชื่อมไปที่จิตใจของเรา โดยนั้งสมาธิโดยห้ามขยับ 1 ชั่วโมง ซึ่งความคัน ความเหงื่อไหล

 

ทำให้เรารำคาญใจ ถ้าในสถานการณ์ปกติ เราแค่ปาดเหงื่อออก มันก็หายไปแล้ว แต่ครั้งนี้ทำไม่ได้ ทำให้ได้เผชิญหน้ากับมัน ซึ่งมันทำให้เราเห็นตัวเองกับสิ่งเร้าภายนอกในขณะนั้น และเราจัดการกับสิ่งนั้นอย่างไร 

 

ในขณะที่นั่งวิปัสสนา มีแต่ความโกรธ และความรู้สึกว่าเมื่อไหร่มันจะหายไป เหมือนแบบจำลองชีวิต คือ บางความเจ็บปวดเกิดขึ้นโดยที่เราจัดการมันได้ 

 

แต่ความเจ็บปวดบางอย่างมันจัดการไม่ได้ตอนนั้น เหมือนทกับการคันมันจะอยู่กับเรา และมันจะหายไป 

 

การเชื่อว่าวันหนึ่งมันจะหายไป จะทำให้เราไม่ทุกข์ร้อนกับมัน แต่ไม่ได้บอกว่าความเจ็บปวดจะไม่มีอยู่จริง แต่ว่าเราจะไม่เป็นทุกข์กับมันมากเกินไป และอดทนเพราะมันทำอะไรไม่ได้ 

 

Art of Hongtae : เมื่อเราดึงตัวเองมาเป็นมือที่ 3 เหมือนตอนเราดูมวย และ ตอนเป็นนักมวยเอง เราเห็นภาพคนละมุมกัน เช่นกัน การวิปัสสนาหรือการฝึกจิต คือการที่เราดึงตัวเองออกมาให้เห็นตัวเอง

 

การเฝ้าดูตัวเอง  ตอนที่นั่งวิปัสสนา  แล้วปวดขา ถ้าเป็นปกติเราก็ยืดขา แต่อดทน จนการปวดขานั้นหายไปเองเลย ไม่แน่ใจว่าหายไปได้ยังไง เหมือนขาหายไปเลย  ฉะนั้น เกิดขึ้น ทนไม่ได้ ตั้งอยู่ ดับไป

 

ทุกอย่างเป็นแบบนั้นเสมอ สุดท้ายไม่ต้องไปอยากรู้หรอกว่ามันจะหายเมื่อไหร่ วัตถุดิบของเราไม่เหมือนกัน เราตอบแทนกันไม่ได้ เพราะเสบียงที่แต่ละคนมีไม่เท่ากัน

 

แต่ที่จะต้องทำคือ หายใจ แล้วไปต่อ เพราะมีคนที่รักคุณอยู่รอบ ๆ มีสิ่งที่นอกเหนือจากตัวคุณอยู่รอบ ๆ ตัวคุณ อย่ามองแค่ตัวเอง ให้มองไปรอบ ๆ เวลาเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ มีอะไรเยอะแยะไปหมด

 

เช่น ความจริง,มิตรภาพ ,ความเจ็บปวดของคนอื่น หรือ เรื่องสวยงามบนโลก แล้วมันจะช่วยบรรเทาเบาคลายให้ดีขึ้นไปเอง 

 

 

นิทรรศการ Turn Your Scars into Stars

 

Tum Ulit : อยากจะเชิญชวนมาชมว่า ศิลปินแต่ละท่านมีความเจ็บปวดอย่างไร ถ่ายทอดออกมาอย่างไร และสะท้อนถึงตัวเองอย่างไร อาจจะทำให้เราเข้าใจตัวเองมากขึ้น

 

หรือไม่มากขึ้น ก็ไม่เป็นไรอย่างน้อยได้มาชื่นชมศิลปะจากศิลปินหลาย ๆ ท่าน ก็เป็นสุนทรีทางจิตใจแล้ว 

 

Art of Hongtae : ถ้ามาเดินงานนี้ก็รู้แล้วว่า อย่างน้อยก็มีคนประมาณ 10 คนที่เจ็บปวดเหมือนกับคุณ  และเขาก็นำความเจ็บปวดมาทำเป็นงานศิลปะ และศิลปินในงานก็น่าสนใจ

 

เพราะกรอบประสบการณ์ของแต่ละศิลปินก็ต่างกัน  การถ่ายทอดงานออกมาก็แตกต่างกัน เป็นสิ่งที่ดีมากที่คุณจะได้มางานเดียวเเล้วเหมือนได้ไป 10 งาน 

 

 

ช่องทางติดตามรายละเอียดข้อมูลต่างๆของทางนิทรรศการ

Instagram : scarsintostars_event

Twitter : Turn Your Scars into Stars

Facebook : Turn Your Scars into Stars #แม้จะเจ็บปวดเเต่คุณก็งดงาม

Line : @starryteam

เวลาที่เราเจอกับความเจ็บปวดทางร่างกายสิ่งที่ทิ้งไว้คือ “รอยแผลเป็น” ความเจ็บปวด ทางใจก็เช่นเดียวกัน เพราสิ่งที่ทิ้งเอาไว้ คือ “บาดแผลทางใจ” ที่แม้ว่าเราจะมองไม่เห็นแต่กลับรู้สึกได้

 

บ่อยครั้งบาดแผลเหล่านั้นสร้างความเจ็บปวดนับไม่ถ้วน แต่บางครั้งบาดแผลเหล่านั้นก็กลายเป็นบทเรียนที่ทำให้เราเติบโตขึ้นเเละกลายเป็นเราที่ยังคงสวยงาม   

ศิลปะเป็นมากกว่าศิลปะ

เราอาจจะเคยได้ยินคำว่า ‘ศิลปะบำบัด’ กันมาบ้าง เคยสังเกตไหมว่าเพราะอะไร เวลาเราเดินชมงานศิลปะหรือแม้กระทั่งเวลาเราสร้างผลงานศิลปะขึ้นมาสักชิ้น… เราถึงรู้สึกดีขึ้นได้ขนาดนี้นะ? 

 

จริง ๆ แล้วศิลปะมีหน้าที่สำคัญ 2 อย่าง คือทำให้เราได้ปลดปล่อยความรู้สึกและทำให้เราได้แสดงตัวตน เพราะในผลงานที่แต่ละคนสร้างสรรค์ออกมา มักจะมีสัญลักษณ์อะไรบางอย่าง

 

ที่บ่งบอกถึงความเป็นตัวเองซ่อนอยู่เสมอ ศิลปะบำบัดถูกใช้ในวงกว้างมากเวลาบำบัดทางจิตวิทยา เพราะนอกจากจะช่วยให้ได้ปลดปล่อยความรู้สึก แสดงตัวตน ยังช่วยให้เราได้ ‘หยุดพัก’ จากปัญหาและโลกที่วุ่นวาย

 

ศิลปินหลายท่านล้วนใช้ศิลปะในการถ่ายทอดความรู้สึก ทั้งความสุข ความรัก หรือแม้กระทั่งความเจ็บปวด

 

 

นิทรรศการที่ถ่ายทอด ความเจ็บปวด ของผู้คน

นิทรรศการ “Turn Yours Scars into Stars” “แม้จะเจ็บปวดแต่คุณก็งดงาม” เป็นนิทรรศการที่น่าสนใจมาก เพราะเป็นนิทรรศการที่ถ่ายทอดเรื่องราวของผู้คนที่เจอกับประสบการณ์ต่าง ๆ

 

ที่ไม่สวยงามและกลายเป็นบาดแผลที่เจ็บปวด การที่พวกเขาได้ถ่ายทอดความเจ็บปวดที่ทิ้งเป็นรอยแผลไว้ผ่านทางผลงานศิลปะที่สวยงาม  ในวันที่ได้ผ่านเรื่องราวเหล่านี้มาได้

 

มันเหมือนกับคำพูดที่ว่า “วันนึงเรื่องราวที่เจ็บปวดจะกลายเป็นเพียงเรื่องเล่า” และจากชื่อนิทรรศการว่า แม้จะเจ็บปวดแต่คุณก็งดงาม ทำให้นึกถึงภาพลางๆ ของ post-traumatic growth

 

บางคนผ่าน trauma /crisis หรือ highli stressful events มาได้ ถึงเเม้ว่าเราจะเจ็บปวดจากอดีตที่เลวร้ายมากเเค่ไหน เเต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ การซาบซึ้งในชีวิตได้มากขึ้นและตระหนักได้ว่า

 

“เราก็ยังคงงดงามในแบบของเรา” และเราสามารถก้าวผ่านเหตุการณ์นั้น ใช้ชีวิตในแบบของเราและถ่ายทอดความรู้สึกให้กับคนที่เขาอาจจะกำลังเจ็บปวดเหมือนกันให้รู้สึกดีขึ้นได้ 

 

 

นิทรรศการจะจัดในวันที่ 4-5 กุมภาพันธ์ ที่ The Palette Artspace  ค่าเข้าชม 100 บาท 

วันที่ 4  กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566 : เวลา 10.00-17.00 น.

 

10.00 – 10.30 น.  : เริ่มลงทะเบียน

 

10.30 – 11.30 น.  : พบกับน้องธัญย์ สาวน้อยคิดบวก ในหัวข้อ “Mind set ของสาวน้อยคิดบวกคนนี้จากคนธรรมดาสู่ผู้พิการกลายเป็นนักพูด นักเขียน ผู้ดูแลสุขภาพจิตคนไข้”

 

13.00 – 15.00 น. : เปิดตัวผลงานศิลปินชื่อดังและพบปะแฟนคลับ  โดยจะมาพูดถึงแรงบันดาลใจในการสร้างผลงานศิลปะ มีทั้งหมด 11 ศิลปินคือ

 

คุณคิ้วต่ำ, Tum Ulit , Art of Hongtae,Banana Blah Blah,Manasawii ,puck ,คุณโรแมนติกร้าย,meetmrtwo,Yugo และ Pearytopia

 

16.00 – 17.00 น. พบกับศิลปินคนสำคัญคือ คุณเอิน กัลยากร นักร้องสาวชื่อดัง ในหัวข้อ “แม้ชีวิตหันเห แต่หัวใจไม่หุนตาม”

 

 

วันที่ 5  กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566 : เวลา 10.00-19.30 น.

10.00 – 10.30 น. : ลงทะเบียน ทุกคนจะได้รับคุ้กกี้เสี่ยงทายคนละ 1 ชิ้น แต่ละชิ้นจะมีคำทำนายซ่อนอยู่เพื่อลุ้นรับรางวัล

 

11.00 – 12.00 น. : พูดคุยกับคุณโอ เจ้าของเพจแพนิกที่รัก ในหัวข้อ “ทำความรู้จักโรคจิตเวช… พวกเราไม่ได้บ้านะ”

 

13.00 – 14.30 น. : workshop เอาใจสายมู จาก “คุณแอ้ Inner self-connection artist” ในการครีเอทไพ่ ORACLE ประจำตัวคุณเอง สร้างความมั่นใจกลับมาจากความเจ็บปวดอีกครั้ง

15.00 – 17.30 น. : workshop My Crystal Mandala สุดพิเศษจาก “คุณแคทผู้เชี่ยวชาญทางด้านหินแร่” ในการค้นพบคริสตัลประจำตัวของคุณและสัมผัสพลังงานของผืนดิน

18.00 – 19.30 น. : ประกาศรางวัลผู้โชคดีจากกิจกรรมคุกกี้เสี่ยงทายและผลงานที่ดีที่สุด 3 รางวัลจากทางบ้าน พิธีปิดงานด้วยดนตรีสดจาก “BenjaminTrai”

 

 

ช่องทางติดตามรายละเอียดข้อมูลต่าง ๆ ของทางนิทรรศการ

Instagram : scarsintostars_event

Twitter : Turn Your Scars into Stars

Facebook : Turn Your Scars into Stars #แม้จะเจ็บปวดเเต่คุณก็งดงาม

Line : @starryteam

New year’s resolution ” ตั้งเป้าหมายยังไงให้ทำสำเร็จ ? ตั้งยังไงไม่ให้กดดันตัวเองเกินไป ? ถ้าหากหมดปีแล้วยังทำตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ไม่ได้จะทำอย่างไร ? ไม่มีเป้าหมายได้หรือเปล่า ?

 

 

ตั้ง New year’s resolution ยังไงไม่ให้กดดันตัวเอง

New year’s resolution คืออะไร

New year’s resolution ไม่ใช่อะไรที่ยิ่งใหญ่ มันคือการที่เราตั้งปณิธานว่าจะทำบางอย่างให้สำเร็จ เป็นเหมือนการ set goal ที่เราต้องการที่จะทำเพื่อพัฒนาตัวเองหรือปรับปรุงจุดบางจุดที่ยังบกพร่อง

1. เป้าหมายเกี่ยวกับสุขภาพ 

ออกกำลังกาย กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และสร้างนิสัยที่ดีต่อสุขภาพ

2. เป้าหมายเกี่ยวกับงาน

หางานใหม่ ประหยัดเงิน เก็บเงิน ปลดหนี้ เรียนรู้สกิลใหม่ และจัดระเบียบการทำงาน

3. เป้าหมายทางสังคม

ใช้เวลากับครอบครัวมากขึ้น ช่วยเหลือคนอื่น และมีความสุขกับชีวิต

 

 

จุดเด่นของ New year’s resolution 

1. ให้ความสำคัญกับการพัฒนาตัวเอง

2. เน้นไปที่เรื่องของอนาคต 

3. มีระยะเวลาและการวัดผล

4. สั้นและง่าย 

5. เป็นเรื่องที่ต้องออกไปลุย ลงมือทำ

 

 

เมื่อเทศกาล ไม่ใช่ช่วงเวลาแห่งความสุข

1. ความคาดหวัง

ความคาดหวังที่ไม่เป็นจริง เมื่อช่วงเวลาดี ๆ ไม่เป็นไปอย่างที่หวัง คนติดงาน บางคนบ้านไกล ไม่ได้ใช้เวลากับคนที่รัก

2. ความรู้สึกกดดัน

บางคนกดดันว่า new year แล้วต้อง new me ไม่งั้นเราจะตามหลังคนอื่น

3. การเปรียบเทียบ

 เวลาเราเห็นชีวิตคนอื่น เรามักจะเอามาเปรียบเทียบกับชีวิตตัวเอง ซึ่งสิ่งนี้แหละที่เป็นสาเหตุหลักของคนยุคนี้เลยที่ทำให้เกิด Holiday blues  

 

 

Holiday blues เศร้าในช่วงเทศกาล

Holiday blues จาก verywellmind ให้ข้อมูลว่าเป็นความรู้สึกเศร้าที่ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม เทศกาลสำหรับบางคนอาจเป็นช่วงที่เกิดความเจ็บปวด ความเศร้า เหงา วิตกกังวล 

 

เทศกาลปีใหม่เป็นเทศกาลที่สำคัญสำหรับหลายคน เป็นช่วงเวลาที่ทุกคนต่างตั้งเป้าหมาย ให้ความสำคัญกับการเริ่มต้น การกดดันว่าจะต้องเป็น new me อาจทำให้จากช่วงเวลาดี ๆ กลายเป็นตรงกันข้าม 

 

บางครั้งการที่เรามีการตั้งเป้าหมายว่าจะต้องทำเเบบนี้ เป็นแบบนี้ ทำให้เกิดความกดดัน ปีใหม่เป็นจุดเริ่มต้นใหม่ที่ดี เเต่อย่าลืมว่า ชีวิตของเราคือเริ่มต้นใหม่ได้ตลอดเวลา เราปรับปรุงและพัฒนาตัวเองได้ตลอดเวลา

 

เราไม่อยากต้องมานั่งตั้งเป้าหมายปีใหม่ เราจะไปตั้งเดือนกุมภาก็ได้ หรือเราอยากจะให้วันปีใหม่เป็นวันพักผ่อนจริงๆ ก็สามารถทำได้ ทั่วทุกมุมโลกกำลังมีคนที่ต่อสู้กับความโดดเดี่ยวในวันรื่นเริงอยู่เพียงลำพัง

 

การที่เราไม่ได้ทำกิจกรรมแบบที่คนทั่วไปทำ ไม่ได้เจอกับครอบครัว ไม่ได้ออกไปเที่ยวกับเพื่อนๆ มันทำให้รู้สึกเหมือนเราไม่ใช่คนสำคัญของใครเลย เหมือนเราอยู่ท่ามกลางคนมากมายแต่กลับรู้สึกโดดเดี่ยว

 

 

จุดที่ยากของ New year’s resolution

ทุกคนชอบตั้งเป้าหมาย เพราะการสร้างเป้าหมายจะพาเราไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดี  แต่เราไม่ได้เก่งเสมอไปที่จะยึดมั่นในเป้าหมาย โดยเฉพาะกับ New Year’s resolution

 

จากการศึกษาพบว่า ประมาณ 64% ของผู้คน  New Year’s resolution ภายในหนึ่งเดือน ส่วนที่ยากของ New year New me ไม่ใช่ ‘การตั้งเป้าหมาย’ แต่เป็น ‘การยึดมั่นกับเป้าหมาย’

 

เพราะการ reflect ตัวเองในแต่ละปี คงมีอะไรที่อยากให้ดีขึ้นอยู่แล้ว เป้าหมายต่าง ๆ จะเกิดขึ้นจากตรงนี้ง่ายมาก ในขณะที่เราจะทำยังไงให้ตัวเองไม่ท้อแท้และประสบความสำเร็จได้

 

กลับกลายมาเป็นจุดหิน ๆ ที่ทำให้ New Year’s resolution จางหายไปตามกาลเวลา โดยปกติ เราจะเจอกับความล้มเหลวหรือผิดพลาดกันตลอดอยู่แล้ว บางครั้งอาจเป็นเพราะเรามี

 

ปลายทางที่อยากจะเป็น เราเลยไปโฟกัสอยู่กับผลลัพธ์  ทำให้อาจเป็นเรื่องยากที่จะทำตามเป้าหมาย เพราะมันไม่ได้เกิดขึ้นแบบรวดเร็ว มันต้องใช้เวลา หลายๆ คนเลยยอมแพ้ก่อนที่จะถึงเป้าหมาย

 

 

New year’s resolution Trick ตั้งเป้าหมายยังไงให้สำเร็จ?

1. SMART

New year’s resolution ที่ดี อาจจะใช้วิธีการตั้งแบบ SMART ( S=Specific / M=Measurable / A=Attainable / R=Realistic / T=Time bound)

1. S=Specific

การระบุเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง ให้เหตุผลไว้ด้วยว่าทำไมฉันถึงอยากเปลี่ยนแปลงในสิ่งนี้ ถ้าทำได้จะเกิดผลยังไง

2. M=Measurable

ามารถวัดผลได้ หาวิธีที่สามารถวัดความคืบหน้า ว่าตอนนี้เรามาถึงไหนแล้ว

3. A=Attainable

เป็นไปได้ ลองเช็คดูว่าเราสามารถทำเป้าหมายนั้นให้สำเร็จได้จริงไหม เช่น ดูจากความสามารถ เงื่อนไขในชีวิต การเงิน จังหวะเวลา

4. R=Realistic

ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงและมีความท้าทายเหมาะกับความสามารถของตัวเรา การตั้งเป้าหมายที่ง่ายหรือยากเกินไป จะทำให้เกิดแรงจูงใจในการทำตามเป้าหมาย

 5. T=Time bound

ควรหาตารางเวลาที่เหมาะสมให้กับตัวเอง และอย่าลืมให้รางวัลตัวเองทุกก้าวที่เราทำสำเร็จจะทำให้เรามีแรงบันดาลใจ เหมือนเป็นการเติมเชื้อเพลิงให้กำลังใจของเรา

 

2. Quick Win or Long Run?

New year’s resolution ไม่ใช่อะไรที่ยิ่งใหญ่ แต่คือก้าวเล็กที่สำคัญมาก เพราะเป้าหมายระยะยาวต้องใช้เวลา หากมีแต่เป้าหมายใหญ่ ก็อาจจะมองว่ามันเป็นไปไม่ได้

 

เพราะฉะนั้น นอกจากตั้งเป้าหมายใหญ่แล้วให้แบ่งเป้าหมายย่อยๆ ด้วยอาจจะเริ่มจากสิ่งเล็กๆ ที่ทำได้ง่ายและทำได้เลย ทำทีละข้อให้สำเร็จ 

 

3. มีความยืดหยุ่น

ถ้าหากว่าระหว่างเจอกับอะไรที่ไม่ได้ดั่งใจไปบ้างก็ให้ยืดหยุ่นกับตัวเอง ถ้าเราฟิคมากเกินไปจะรู้สึกผิดหวังในตัวเอง เช่น วันนี้ตั้งใจว่าจะออกไปวิ่งแต่ฝนตก

 

ก็ให้เปลี่ยนมาเป็นออกกำลังกาย indoor แทน เพราะปลายทางของการออกกำลังกายก็ทำให้ร่างกายเเข็งแรงเหมือนกัน

 

4. ปรับ routine ด้วยการแทรกสิ่งใหม่เข้าไป

จาก APA ยกตัวอย่างไว้ได้เห็นภาพคือการกิน ถ้าอยากปรับอาหารให้ดีต่อสุขภาพมากขึ้น อาจจะเริ่มจากการลองทดแทน ‘ของหวาน’ ด้วย ‘ผลไม้ หรือ โยเกิร์ต’ 

 

5. การพูดคุยเรื่องเป้าหมายกับคนอื่น

เราอาจจะฝากไว้ว่าปีนี้เราจะทำสิ่งนี้ เพราะการบอกให้คนอื่นรู้เป็นตัวกระตุ้นที่ดีเลย  

 

 

การตั้งเป้าหมายปีใหม่สำคัญอย่างไร?

1. ทำให้รู้เส้นทางที่จะไป

มันจะสับสนและเคว้งคว้างนะถ้าไม่รู้ว่าปลายทางที่จะไปคือที่ไหน การตั้งเป้าหมายก็เหมือนกับเปิด GPS แล้วเลือกจุดมุ่งหมาย

2. ทำให้เกิดความมุ่งมั่น

การตั้งเป้าหมายจึงเหมาะกับช่วงเวลาปีใหม่ เพราะมันทำให้เราเกิดความมุ่งมั่นในการปรับปรุงตัวเอง พัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นในปีต่อไป

 

 

ไม่มี New year’s resolution ได้ไหม?

เป้าหมายและการวางแผน มักมาพร้อมกัน คำตอบคือได้ ถ้าเราอยากจะใช้ชีวิตแบบไม่มีเป้าหมายไม่มีแพลน ก็ go with the flow ไปเลย ใช้ชีวิตวันต่อวัน ทั้งนี้ทั้งนั้นจะเลือกทางไหน

 

อาจจะต้องเกิดจากการรู้จักตัวเอง ว่าเราเป็นคนแบบไหน เหมาะกับแบบไหน ถ้าเราเป็นที่ตั้งเป้าหมายทีไรก็กดดัน ไม่มีความสุขทุกที การตั้งเป้าหมายอาจจะไม่ตอบโจทย์

 

หรือถ้าเราไม่ตั้งเป้าหมายทีไร เละเทะทุกที ก็อาจจะต้องมีการวางแผนชีวิตก่อน  การตั้งเป้าหมายเป็นเรื่องของปัจเจกและความแตกต่างในแต่ละคน ไม่ว่าสื่อไหน ๆ หรือใคร ๆ

 

จะบอกว่าการตั้งเป้าหมายมันดี แต่ถ้าไม่เหมาะกับเราก็คือไม่เหมาะกับเรา หรือถ้าไม่อยากให้สุดโต่ง ลองปรับใช้กับแต่ละเรื่องก็ได้ เรื่องงานเราอาจจะเข้มงวดขึ้นมาสักหน่อย

 

แต่เรื่องเที่ยวเราอาจจะปล่อยไหลไม่ต่อต้านดูก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิด อย่าลืมดูความเหมาะสมและสำรวจตัวเอง ว่าแบบไหนที่เหมาะกับเรามากที่สุด เพื่อให้ใช้ชีวิตได้อย่างเป็นตัวเราที่สุด

 

 

ขอให้ปีใหม่นี้ เป็นการเริ่มต้นใหม่ที่ดีของทุกคน อย่าลืมดูแลสุขภาพกายให้เเข็งแรง และอย่าลืมว่าสุขภาพจิตก็สำคัญมากๆ เช่นกัน 🙂 

 

 

ที่มา : 

The Psychology Behind New year’s resolution 

Making your New year’s resolution stick

How to Write a New year’s resolution 

What are the Holiday Blues? 

ความ เหงา เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่พอเหงาแล้วจะสร้างความรู้สึกกวนใจให้กับเราและมีความรู้สึกอื่น ๆ ตามมากับความรู้สึกเหงา

 

มาร่วมพูดคุยผ่านมุมมองของนักจิตวิทยากับรายการพูดคุย Alljit X คุณวันเฉลิม คงคาหลวง นักจิตวิทยาการปรึกษา 🙂

 

ทำไมถึงเกิดความรู้สึก เหงา ?

ความเหงาเป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นด้วยตัวของความรู้สึกเอง แต่เป็นสิ่งที่สะท้อนอะไรที่อยู่ภายในจิตใจของเรา และเกิดขึ้นได้ในทั้งตอนที่เราอยู่คนเดียว หรือตอนที่มีคนคนอยู่รอบตัวเรา 

 

ทำไมอกหักแล้วเหงากว่าเดิม 

ความเหงาเป็นการสะท้อนจากอะไรบางอย่าง เวลาที่เราอกหักคือการสูญเสีย ไม่คุ้นชินกับการอยู่คนเดียว สิ่งสำคัญคือความรู้สึกที่อยู่ข้างใน ความเหงาเหมือนกับตัวแทนของความรู้สึกอะไรบางอย่าง เป็นสิ่งที่ซ้อนสิ่งที่อยู่ภายในใจของเราอีกทีหนึ่ง

 

ข้อดี/ข้อเสีย ของความเหงา

การที่คนจะมองเห็นข้อดีของความเหงานั้นยากมาก ๆ แต่สำหรับนักจิตวิทยาการที่เหงาก็เหมือนสิ่งที่ทำให้เรารู้ว่าเรายังมีความรู้สึกอยู่ ปฏิบัติกับความเหงาในทางที่ดี เมื่อรู้สึกเหงาลองเข้าไปค้นหาภายในจิตใจของเรา

 

ว่าอะไรที่ทำให้เกิดความรู้สึกนี้ และต้นตอนี้เราสามารถจัดการได้ไหมถ้าจัดการได้ด้วยตัวเองลองค่อย ๆ จัดการ แต่ถ้าความเหงาที่เกิดขึ้นเกิดจากสิ่งอื่นที่เราจัดการไม่ได้ อาจจะลองหาคนที่เราไว้ใจระบายความรู้สึกเหงาที่เกิดขึ้นให้ฟัง

 

กลางคืนทำไมเหงากว่าเดิม

เพราะเราอาจจะเจอเรื่องแย่ ๆ มาทั้งวันแล้วต้องการคนที่สามารถซัพพอร์ตทางจิตใจที่แย่มาทั้งวัน เราต้องลองไขความรู้สึกและจัดการกับสิ่ง ๆ นั้น

 

ความเหงาสามารถแก้ได้ด้วยตัวเราเองไหม

ต้องทำงานร่วมกันกับคนอื่นด้วย การที่เราแก้ไขได้ด้วยคนเดียวอาจจะไม่ถึงขั้นแย่ แต่ถ้าเราเกิดความมั่นคงทางอารมณ์ ความรู้สึกด้วยตัวเองความสัมพันธ์ที่ดีจะตามมา

 

เราจะคัดสรรสิ่งในชีวิตของเราได้ดีขึ้นเมื่อเรารับรู้สึกต่าง ๆ รอบตัวได้ พอเรารู้ว่าอะไรดีอะไรแย่เราจะดึงดูดและตัดสินใจเรื่องนั้นได้ง่ายขึ้น

 

สภาวะทางจิตมีความเกี่ยวข้องกับความรู้สึกเหงาไหม?

สภาวะทางจิตสามารถมีความเกี่ยวข้องกับความรู้สึกเหงาได้ แต่ไม่ใช่ทุกอย่าง คือสิ่งที่มัดรวมกันในใจโดยที่ไม่แสดงออกมา คนที่ป่วยเป็นโรคบุคลิกภาพ

 

หรือสภาวะ Borderline Personality Disorder ภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง ที่เป็นปัญหาสุขภาพจิต

 

 

ทำให้เกิดความไม่มั่นคงทางอารมณ์และอาจส่งผลกระทบการจัดการอารมณ์ของคนและการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นได้

 

เปิดประตูเข้าไปดูว่าความเหงานั้นคืออะไร ความเหงามักมีเหตุผลซ่อนอยู่ข้างในนั้น ใครที่ยังรู้สึกเหงาอยู่ลองทบทวนกับตัวเองถึงความเหงา แล้วใช้เวลาอยู่กับสิ่งนั้นเพื่อหาคำตอบกันนะ 🙂

คิดมาก คิดวน จนนอนไม่หลับ ทั้ง ๆ ที่เป็นความคิดของตัวเอง แต่กลับหยุดคิดไม่ได้? จะรับมืออย่างไรดี? กับอาการ “ คิดมาก

 

 

คิดมาก ปกติไหมในทางจิตวิทยา?

เวลาพูดถึงคำว่า คิดมาก หมายถึง เรามีความคิดบางอย่างที่หมกมุ่น วกวน ซึ่งโดยธรรมชาติมนุษย์จะต้องใช้ความคิดอยู่แล้ว 

 

ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะคิดมาก เกิดขึ้นได้เป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าถามว่าปกติไหมถ้าอยู่ในระยะเวลานานจนกระทบฟังก์ชันการใช้ชีวิต

 

แต่ถ้ามีอาการทางกายเกิดขึ้น อาจจะเกิดเป็นความผิดปกติเกิดขึ้น แต่ถ้าโดยทั่วไป จัดการแล้วดีขึ้น จะถือว่าอยู่ในระดับที่ปกติ

 

 

คิดมาก แบบไหนที่ไม่ปกติ ต้องพบแพทย์?

อาการคิดมาก จะมี 2 ส่วนหลัก ๆ ที่จะกระทบการใช้ชีวิต อย่างแรกคือหมกมุ่นกับความคิดของตัวเอง คิดถึงสิ่งที่ผ่านมา

 

แล้วไม่สามารถหลุดพ้นจากความคิดนั้นได้ คิดวน ๆ คิดซ้ำ ๆ คิดอยู่แต่เรื่องเดิม ๆ บางคนอาจจะติดอยู่กับความผิดพลาด

 

บางคนติดกับความรู้สึกผิดบางอย่างในสิ่งที่เคยทำลงไป บางคนรู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพอ ทำให้คิดวนอยู่แบบนั้นเรื่อย ๆ 

 

แบบที่ 2 คือ คิดไปเกินกว่าที่เป็นจริง คิดถึงโลกอนาคต โดยส่วนใหญ่การคิดมากรูปแบบนี้จะตามมาด้วยความวิตกกังวล

 

เวลาที่เราคิดเรามักจะเห็นว่า พรุ่งนี้ต้องเป็นแบบนี้แน่เลย ต้องเกิดแบบนี้แน่เลย วนลูปกับเรื่องเดิม ๆ โดยไม่ได้ดึงขึ้นมาว่าคืออะไร

 

เลยจะคิดซ้ำไปซ้ำมา โดยที่ไม่อยู่บนโลกความเป็นจริง เราไม่ได้คิดอะไรที่อยู่กับปัจจุบัน คิดถึงแต่สิ่งที่ยังไม่เกิด คาดว่าจะเกิด

 

2 ส่วนนี้จะเป็นส่วนหลัก ๆ เลย ถ้าเราสังเกตตัวเองว่า สิ่งนี้เกิดขึ้นบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ แล้วเราเริ่มเห็นว่าสิ่งนี้เข้ามาทำให้เราหมกมุ่นกับตัวเอง 

 

เริ่มเอาทักษะความคิดไปใช้กับอย่างอื่นไม่ได้ คงเริ่มเป็นสัญญาณที่จะทำให้รู้ตัวเองได้ว่า แบบนี้จะต้องไปเจอจิตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ 

 

 

คิดมาก พัฒนาไปเป็นโรคทางจิตได้ไหม?

เกิดขึ้นได้ ขึ้นอยู่กับพื้นฐานและบุคลิกภาพของบุคคล หลายคนที่คิดมาก มักจะเป็นคิดมากที่มีอะไรซ้อนอยู่ข้างใน 

 

บางคนคิดมากเพราะกังวล บางคนคิดมากเพราะว่ากลัวบางอย่างจะเกิดขึ้น บางคนคิดยึดติด ไม่สามารถยืดหยุ่นกับความคิดตัวเองได้

 

อาจจะเกิดเป็นโรควิตกกังวล โรคย้ำคิดย้ำทำ ต้องดูว่าความคิดออกไปในรูปแบบไหน ถ้าคิดมากคิดวน คิดถึงอนาคต อาจจะเป็นวิตกกังวล

 

แต่ถ้าคิดถึงอดีต เรื่องที่เคยผ่านมา อาจจะทำให้เกิดเป็นอารมณ์บางอย่าง เช่น โรคซึมเศร้า รู้งี้น่าจะทำแบบนั้น รู้งี้ควรจะตัดสินใจเลือกแบบนี้ 

 

พอมีแต่ความ ‘รู้งี้’ แปลว่า เรายังไม่หลุดออกมาจากตรงนั้น การกลับไปคิดมาก แล้วเราสามารถคิดได้ว่า เรื่องนั้นผ่านมาแล้ว ใช้ชีวิตต่อในปัจจุบันได้ คงไม่กระทบอะไร

 

 

คิดมาก ทำให้มีอาการทางกายได้ไหม?

จริง ๆ พฤติกรรมมีเหตุและผลในการเกิดขึ้นอยู่แล้ว การคิดมากอาจเป็นเหตุหนึ่งที่ส่งผลให้มีอาการทางกายตามมาได้ 

 

ถ้าคิดมากหมายความว่าไม่สามารถหยุดคิดได้ ซึ่งเกิดเป็นอาการทางกายได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ใช่แค่อาการนอนไม่หลับ

 

ถ้าจะสังเกต บางคนคิดมากจะเริ่มกินข้าวไม่ได้ ไม่อยากออกไปข้างนอก เหนื่อย ปวดท้อง ปวดหัว อาการเหล่านี้เกิดได้หมด

 

ถ้าเรามีกลไกการป้องกันตัวเอง เช่น คิดมากทำให้ทุกข์ พอทุกข์มากทำให้กลไกป้องกันตัวเองจะต้องพยายาม balance 

 

โดยดึงบางอย่างขึ้นมาเพื่อทดแทนไม่ให้กลับไปอยู่กับความคิด ความกังวล ความคิดมาก อาจจะแปรผันออกเป็นอาการทางกายได้ 

 

บางคนตึงตัว บางคนปวดบ่า ปวดไหล่ เกิดจากการที่เราไม่หยุดใช้ความคิด ทำให้ตึงไปทั้งระบบการทำงานของสมอง 

 

กล้ามเนื้อไม่ได้ผ่อนคลาย สารสื่อประสาทหลายตัวไม่ได้หลั่งออกมาให้รู้สึกผ่อนคลาย ทำให้มีอาการเหล่านี้ตามมาได้เหมือนกัน 

 

 

คิดมาก หยุดไม่ได้ นอนไม่หลับ รับมือเบื้องต้นยังไงดี?

คิดมากจนนอนไม่หลับ ต้องชัดเจนกับตัวเองว่า นอนไม่หลับเป็นแค่เฉพาะช่วงต้นไหม เพราะพอพูดถึงนอนไม่หลับจากความคิดมาก 

 

จะเกิดได้หลายรูปแบบ ถ้าเป็นแค่ช่วงแรก นอนยาก ใช้เวลานานอยู่บนที่นอนกว่าจะหลับ อาจจะเป็นแบบหนึ่ง แต่ถ้านอนไม่ได้เลย

 

ตื่นง่าย สะดุ้งตื่นกลางคืนบ่อย ๆ ตื่นมาแล้วไม่สดชื่น แบบนี้คงจะเป็นอาการอีกแบบ แบบแรกอาจจะเป็นช่วงต้น ใช้เวลานานในการนอน

 

ปกติกว่าร่างกายจะสงบ จะใช้เวลา 15-30 นาที ถึงจะผ่อนคลายและเข้าสู่ระบบการนอนหลับได้ ถ้าเป็นแบบนี้อาจจะต้องเขียนออกมา

 

ว่าที่คิดอยู่คืออะไร เพราะบางคนยังไม่ชัดเจนกับความคิดตัวเองว่าเรากำลังคิดเรื่องอะไร ถ้าคิดว่าพรุ่งนี้จะต้องไปเจอคุณครูแต่งานไม่เสร็จ

 

เราคงจะวนอยู่กับเรื่องเหล่านั้น ลองเขียนว่า เกิดอะไรขึ้น จะทำอย่างไรกับความคิดได้บ้าง พรุ่งนี้จะจัดการยังไงได้บ้าง

 

อยากให้ลองดึงความคิดนั้นออกมาก่อน ว่าคิดอะไร ทำอะไรได้บ้าง เช่น ถ้ารู้ว่าคิดเรื่องการบ้าน ไม่เห็นเป็นอะไรเลย เดี๋ยวพรุ่งนี้ไปคุยกับคุณครู

 

ถ้าเราหาทางออกให้กับความคิดตัวเองได้ ความคิดนั้นจะเบาบางลงได้ ทำให้เราค่อย ๆ จัดการได้ทีละส่วน แต่คนคิดมากหลายคนมักจะรวม

 

คิดเรื่องนี้ คิดเรื่องนี้ยังไม่เสร็จ แล้วไปคิดเรื่องนี้ เรื่องนี้เข้ามาอีก เดี๋ยวกลับไปคิดเรื่องนี้ก่อน หลายอย่างไปหมด ทำให้งงว่าตกลงคิดอะไรอยู่

 

ทำให้วกวนไปเรื่อย ๆ ไม่จบ เราเลยจะต้องใช้เวลานานมากขึ้นกว่าจะนอนหลับได้ ซึ่งพอได้ปัญหามา เราจะได้รู้ว่าเราจะจัดการยังไง

 

อะไรที่ควบคุมได้ในการจัดการกับปัญหานั้น บางอย่างเราคุมไม่ได้ เช่น คน สภาพอากาศ หรือสภาพแวดล้อม เราลองเขียนแล้วทำความเข้าใจกับตัวเองก่อน

 

ซึ่งจะช่วยให้เราปลดล็อกและนอนได้ดีขึ้น แต่ถ้าคิดมากจนสะดุ้งตื่น อันนี้คงมีอย่างอื่นร่วมด้วย บางคนพยายามดึงออกมาแล้ว 

 

แต่สุดท้ายไม่มีวิธีจัดการปัญหา ทุกคนจะคิดวน ทำให้หลับได้สักพักแล้วสะดุ้งตื่นเรื่อย ๆ บางคนอาจจะคิดไม่สุด เหมือนจะเข้าใจแต่ยังคงวนอยู่ในใจ

 

เขาอาจจะต้องกลับมาอยู่กับปัจจุบันขณะของตัวเอง โดยส่วนมากจะแนะนำให้ลองฟังในยูทูปเกี่ยวกับการฝึกสติ แต่พอพูดว่าฝึกสติ

 

หลายคนจะคิดว่าให้ไปนั่งสมาธิหรอ ไปนั่งวิปัสสนาหรอ จริง ๆ ไม่ใช่ ในทางจิตวิทยา การฝึกสติคือการให้เรารับรู้อยู่กับปัจจุบันขณะของตัวเอง 

 

ตอนนี้เราอยู่บนที่นอน เราได้กลิ่นอะไรบ้าง อากาศในห้องเป็นยังไง เกิดอะไรขึ้นกับเราตอนนี้บ้าง เหมือนดึงตัวเองมาอยู่กับปัจจุบัน

 

เราจะได้หยุดความคิด ร่างกายจะผ่อนคลายและเริ่มนอนได้มากขึ้น เวลาฝึกหายใจ รับรู้ลมหายใจ ส่วนมากจะเพ่งว่าหายใจเข้า หายใจออก

 

จริง ๆ เราเอาการหายใจให้สบาย ๆ เราหายใจแบบไหนแล้วเราสบาย ๆ กับตัวเอง ทิ้งทุกอย่าง ทำร่างกายให้เหมือนทิ้งตัวลงไป

 

หายใจเข้าหายใจออก เวลาที่เราหายใจแล้วเราไปโฟกัสกับลมหายใจของตัวเอง เราจะเห็นว่าเวลาท้องป่อง ท้องยุบลง 

 

พอเอาตัวเองไปโฟกัสกับการหายใจของตัวเอง เราจะเริ่มรู้สึกว่าเราไม่ได้คิดเรื่องที่อยู่ในอนาคต ไม่ได้คิดเรื่องที่อยู่ในอดีต 

 

เราอยู่ในปัจจุบันขณะของเราจริง ๆ อาจจะช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายตามระบบของร่างกายอยู่แล้ว 

 

 

ถ้าเราอยากเลิก คิดมาก จำเป็นไหม? เป็นไปได้ไหม? 

เป็นคำถามที่ตอบยาก แปลว่าการที่เราอยากเลิกคิดมากไปเลย แสดงว่ามีบางอย่างอยู่ข้างหลังหรือเปล่า เราถึงไม่อยากเป็นคนแบบนั้นแล้ว

 

ถ้าเรายังคงเป็นมนุษย์ การคิดเป็นเรื่องหนึ่ง เป็นกระบวนการหนึ่งที่ควรจะมี แต่ถ้าจะเลิกคิดมากไปเลย แปลว่าตัวเราเองต้องกลับมาโฟกัสที่ตัวเอง

 

โดยส่วนมาก คนคิดมากจะชอบเอาตัวเองไปผูกกับคนอื่น ไปคิด ไปแคร์ ไปรู้สึกกับเรื่องที่คนอื่นทำแล้วกระทบตัวเรา 

 

ถ้าเลิกไปเลย หายไปเลย อาจจะยาก เพราะสุดท้ายแล้วอยากให้ยอมรับมากกว่าว่าเราเป็นคนแบบนี้แหละ เราชอบเก็บอะไรมาคิด

 

เราเป็นคนที่จะต้องวางแผนกับอนาคตอยู่เสมอ เปลี่ยนมุมมองใหม่ต่อคำว่าคิดมากของตัวเอง เพราะว่าจริง ๆ คงเป็นทั้งข้อดีอีกด้านหนึ่งให้กับเราได้เหมือนกัน

 

ไม่ใช่แค่ว่าเราคิดมากแล้วเป็นเรื่องที่แย่อย่างเดียว ถ้าจะต้องเลิกไปเลย อาจจะยาก แต่ลดลงได้ ถ้าเริ่มคิดเยอะต้องดึงออกมา ว่าเรากำลังคิดอะไรอยู่

 

เราจัดการยังไงได้บ้าง จะช่วยให้ความคิดของเรา จากที่คิดบ่อย ๆ อาจจะลดน้อยลงได้ในบางเรื่อง แต่สิ่งสำคัญคือจะต้องยอมรับก่อน 

 

เพราะสุดท้ายตัวเราคือตัวเรา เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเราได้อย่าง 100% ถึงวันหนึ่งเราจะพยายามไม่คิดมาก 

 

แต่อยากให้ลองถามตัวเองดูว่า เราแน่ใจหรอ ว่าเราชอบตัวเองที่แบบนั้น เราแน่ใจใช่ไหม ว่าถ้าเราไม่คิดอะไรเลย จะดีต่อตัวเราจริง ๆ 

 

คนที่หมกมุ่นกับเรื่องที่ผ่านมา มันอาจจะเป็นบทเรียน ข้อคิด ที่ทำให้ได้กลับมาทบทวนตัวเองว่าจะทำยังไงไม่ให้กลับมาเป็นแบบเดิม

 

ทำยังไงให้เจอปัญหานั้นแล้วไม่กลับมาเกิดขึ้นอีก ‘รู้งี้’ เกิดขึ้นได้ แต่สุดท้ายแล้ว ในวันนั้นเราคงมีทางเลือกอยู่ประมาณนั้น

 

คงเป็นทางเลือกที่ดีของเราแล้ว เราถึงตัดสินใจแบบนั้น เราคงเป็นตัวเราที่สุดแล้วที่เราเลือกแบบนั้น จะทำให้เราได้ข้อคิด ได้กลับมาตระหนักกับตัวเอง

 

ว่าเราจะทำยังไงให้ไม่กลับมาเป็นตัวเราในอดีต หรือบางคนที่คิดไปถึงอนาคต กังวลกับสิ่งที่ยังไม่เกิด มันจะทำให้เขามีแผนการ

 

ในการจัดการตัวเอง เพื่อให้วันพรุ่งนี้ออกมาดีที่สุด ถ้าเรามองแบบนี้ การคิดมากก็อาจจะไม่ได้แย่เสมอไป 

 

 

ถ้าคนใกล้ตัว คิดมาก เราพูดกับเขายังไงดี?

เราพูดกันได้ตรง ๆ อาจจะไม่ใช่พูดว่า เธอคิดมากจัง แต่เป็นการบอกถึงสิ่งที่เขากำลังทำอยู่ แล้วแสดงออกถึงความคิดมาก

 

เช่น เธอกำลังคิดถึงเรื่องนี้ แต่มันยังไม่เกิดขึ้นนะ เธอคิดว่าตอนนี้เราทำอะไรได้บ้าง อีกคนหนึ่งอาจจะอยู่ข้างหน้าโดยที่ไม่รู้ว่าไม่อยู่กับปัจจุบัน

 

หรือเราอาจจะเห็นอีกคนกำลังพูดเรื่องเก่า ๆ บ่อย ๆ อาจจะบอกว่า เธอคิดว่ามันเกิดขึ้นมานานแค่ไหนแล้ว การพูดกันตรง ๆ ไม่จำเป็นต้องทำร้ายจิตใจกัน

 

หรือไม่จำเป็นต้องไม่ถนอมความรู้สึกของกันและกัน เพียงแต่ว่าเราต้องตั้งต้นว่าเราหวังดีที่จะบอกเขา เพื่อให้เขากลับมาตระหนักกับตัวเองมากขึ้น

 

เราจะใช้คำถามเหล่านี้แหละเพื่อเป็นการบอกเขาว่า เธอไม่อยู่ตรงนี้นะ เธอกำลังมองกลับไปในช่วงเวลาที่ผ่านมานานมาก หรือถ้าเขายังติดอยู่ตรงนี้

 

อาจจะลองถามว่า เราช่วยอะไรเธอได้บ้าง เราอยากให้เธอกลับมาอยู่กับเราตรงนี้ อยากให้ก้าวไปข้างหน้า เราช่วยอะไรได้บ้างไหม 

เวลาที่ทุกข์ใจ ทำไมการรับฟังถึงช่วยเสมอ? รับฟัง อย่างไรที่ใจเราจะไม่พังไปด้วย เพราะการรับฟังเป็นมากกว่าการฟัง

 

ฟังอย่างเข้าอกเข้าใจคนอื่น และการรับฟังเป็นการแสดงออกในรูปแบบคำว่า รัก อีกรูปแบบหนึ่ง 🙂

 

ระดับของการ รับฟัง

I: Ignoring Listening (ฟังแบบไม่สนใจฟัง)

เป็นระดับพื้นฐานที่สุด เกิดขึ้นเมื่อเราใช้ความพยายามเป็นศูนย์ในการฟัง “อีกฝ่ายพูดแต่เราไม่ได้ฟัง” 

 

II: Pretending Listening (ฟังแบบเเกล้งฟัง)

“อีกฝ่ายพูดเราแกล้งทำเป็นฟัง (แต่จริงๆไม่ได้ฟัง)” วิธีนี้ใช้ได้ดีจนกว่าอีกฝ่ายจะถามคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่กำลังพูด แน่นอนว่าจะกระทบต่อความสัมพันธ์

 

III: Selective Listening (ฟังแบบเลือกสรร)

การฟังแบบเลือกสรรก็ฟังดูไม่แย่ แต่ปัญหาในการฟังระดับนี้คือเราฟังเพียงบางส่วนของข้อความ  มักส่งผลให้เกิดการสื่อสารที่ผิดพลาดและความเข้าใจผิด   “ฟังเฉพาะบางอย่าง ไม่ได้ฟังทั้งหมด”

 

IV: Attentive Listening (ฟังแบบสนใจฟัง)

เป็นระดับที่เราควรทำให้ได้มากที่สุดในการปฏิสัมพันธ์ในแต่ละวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมการทำงาน  เป็นระดับที่เราให้ความสนใจกับบุคคลอื่นและทำให้ข้อความเป็นความลับ

 

มักเกี่ยวข้องกับ การสบตา  เข้าใจ  ทบทวน  เพื่อให้เรามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่และเป็นการส่งข้อความไปยังอีกฝ่ายหนึ่งว่า “ฉันมีส่วนร่วมและพยายามทำความเข้าใจ”

 

แม้ดูเหมือนจะดีที่สุด แต่ระดับการฟังนี้ยังคงอิงตามความเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ส่วนตัวหรือกรอบความคิดของเรา 

 

V: Empathetic Listening (ฟังแบบเข้าใจ)

การฟังด้วยความเห็นอกเห็นใจเป็นระดับสูงสุดของการฟังและเป็นระดับที่ต้องใช้พลังงานทางจิตและอารมณ์มากที่สุด มันเข้าถึงมากกว่าการฟังแบบ Attentive เพราะเราจดจ่อและค้นหาความรู้สึกลึก ๆ ของอีกฝ่าย

 

โดยใช้ทักษะการฟัง  บวกกับหัวใจและความคิดของเราเมื่อเราฟังอย่างมีความเห็นอกเห็นใจ เราจะโฟกัสว่าอีกฝ่ายคิดและรู้สึกอย่างไร

 

โดยปราศจากมุมมองและประสบการณ์ของเราพยายามเดินไปกับอีกฝ่าย มองอย่างที่เห็นและรู้สึกตามที่รู้สึก

 

 

Empathy VS Sympathy คืออะไร

Empathy

Empathy คือ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา เป็นการเข้าใจผู้อื่นแบบร่วมรู้สึก เข้าถึงความรู้สึกของอีกฝ่ายเหมือนกับว่าเข้าไปอยู่ในประสบการณ์กับเขาด้วย โดยปราศจากความคิดของตัวเอง

 

ตัดประสบการณ์ที่เคยเจอออกไปและไม่ตัดสิน   “Walk in Someone Else’s Shoes”

 

นักจิตวิทยา คาร์ล โรเจอร์ส บรรยายถึง Empathy ว่า “การมองโลกผ่านสายตาของอีกฝ่าย โดยไม่เห็นโลกของคุณสะท้อนอยู่ในดวงตาของพวกเขา”

 

การที่จะมีความเห็นอกเห็นใจอย่างแท้จริงและเข้าใจมุมมอง ความรู้สึก และแรงจูงใจของอีกฝ่าย เราต้องอยากรู้เกี่ยวกับบุคคลนั้น

 

Sympathy

Sympathy คือ การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น สงสาร จนบางครั้งพัฒนาไปถึงความเวทนา แต่ความเข้าใจและรับรู้ถึงความรู้สึกของอีกฝ่ายในระดับนี้ จะไม่ได้ลึกซึ้งถึงความรู้สึกลึก ๆ ของเขา

 

จะเป็นการมองและตัดสินผ่านอารมณ์ ความรู้สึกและประสบการณ์ของตัวเราเอง

 

สรุปความแตกต่าง 

Empathy เกี่ยวข้องกับการเข้าใจและรู้สึกในสิ่งที่คนอื่นรู้สึก ในขณะที่ Sympathy จะเกี่ยวกับการเข้าใจและรับรู้ความรู้สึกผ่านมุมมองของเราเอง Sympathy คือการที่เรามองเห็นสิ่งต่าง ๆ

 

โดยที่เราเอาตัวเราเป็นจุดศูนย์กลาง เช่น A เล่าเรื่องความรักให้ Bฟัง แล้ว B ก็เอาตัวเองไปอยู่ในสถานการณ์เดียวกันกับ A  แต่ถ้าเป็น Empathy คือมองทุกอย่างจากสายตาของ A เข้าใจผู้อื่นจากจุดที่เขายืนอยู่

 

ข้อดี

Empathy 

1.สร้างความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้ง เพิ่มความรู้สึกเชื่อมต่อ เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความเข้าใจระหว่างคนสองคน

2.ฝึกทักษะในการสื่อสาร

3.ช่วยเหลือคนอื่นเพื่อการก้าวผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากได้

 

Sympathy

1.มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ความสงสาร

2.ทำให้เราพยายามคิดหาคำพูดที่จะทำให้คนรอบข้างรู้สึกดีขึ้น

 

ข้อเสีย

Empathy

1.Empathy trap กำดับความรู้สึกร่วม บ่อยครั้งที่เราเผลอเอาใจลงไปเล่น จนตัวเราเกิดความทุกข์

2.ใช้เวลากับการครุ่นคิดถึงความรู้สึกของคนอื่นมากกว่าตัวเอง

3.โฟกัสในสิ่งที่คนอื่นพูดมากกว่าสิ่งที่เราต้องการจะพูด EX.ในระหว่างการประชุม

4.สูญเสียความเป็นตัวเอง

 

Sympathy

1.คำพูดเป็นพิษ 

2.ใช้อารมณ์ในการตัดสินมากเกินไปจนลืมความเป็นจริง

3.เมื่อมีการใช้อารมณ์ที่มากเกินไปจะทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหาที่ต้นเหตุได้

4.เกิดคำแนะนำที่ผิดที่ผิดทาง

 

ตัวอย่างจากบทความ Better up

ถ้าเพื่อนในที่ทำงานถูกตำหนิ เขารู้สึกเศร้าและผิดหวังในตัวเอง ถ้าเป็น Sympathy เราจะสามารถบอกเขาว่าเรารู้สึกเสียใจที่เขาต้องเจอเรื่องนี้ แต่สิ่งนี้ไม่ได้หยุดให้เราไม่ตัดสินสถานการณ์ของเขา

 

บางทีเราอาจตัดสินเขาเพราะถูกตำหนิ บางคนอาจจะถึงกับพูดว่า “อย่างน้อยก็ยังมีงานทำนะ”

 

ในทางกลับกัน Empathy ด้วยการเอาใจใส่ เราจะรู้สึกถึงความเศร้า ความประหม่า และความผิดหวังที่อีกฝ่ายรู้สึก คุณใส่ใจเกี่ยวกับความเป็นอยู่ที่ดีของพวกเขา

 

เราสามารถทำให้เขารู้ว่าไม่ได้อยู่คนเดียว โดยไม่จำเป็นต้องหาวิธีแก้ไขปัญหาให้  เช่น “ฉันรู้สึกเสียใจจริงๆ และดีใจที่คุณบอกฉัน ฉันอยู่ตรงนี้นะ”

 

อีกตัวอย่างหนึ่ง A โดนแฟนทำร้ายร่างกายมาแล้วร้องไห้เสียใจ

เพื่อนที่เป็น Empathy > เราเข้าใจที่ A เป็นนะ A ไม่ได้อยู่คนเดียวยังมีเราอยู่ แทนที่เพื่อนจะรู้สึกแย่ไปกับ A แต่เพื่อนปลอบใจ แล้วมองสถานการณ์ผ่านสายตาของเพื่อน ทำให้ A รู้สึกว่าอยากแชร์เรื่องราวความเจ็บปวดกับเพื่อน

 

เพื่อนที่เป็น Sympathy > เพื่อนคนนั้นก็จะกอดคอปลอบ A แล้วร้องไห้ไปกับ A ด้วย ซึ่งจริง ๆ ก็ไม่ใช่สิ่งที่แย่เลย แต่การที่เราพยายามบานลานซ์ sym และ em จะค่อนข้างโอเคมากกว่า

 

การฝึก Empathy

เข้าใจแบบลึกซึ้ง หมายถึง การรับฟังอีกฝ่ายอย่างเต็มที่  ถ้าเขาเป็นคนที่เราสนิทและสบายใจด้วย  ลองถามพวกเขาว่าต้องการคุยเรื่องนี้กับเราไหม

 

ไม่จำเป็นต้องพยายามแก้ไขปัญหา แต่ลองเสนอช่วงที่เวลาที่เราจะอยู่ตรงนี้ข้าง ๆ เขาแทน

 

คนที่เข้าอกเข้าใจก็คือคนจับอารมณ์คนได้เก่ง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะแปลความรู้สึกได้ถูก ดังนั้นตัวช่วยอันดับแรกก็คือหยุดแปลความหมายของอารมณ์เหล่านั้น

 

ไม่ใช่การฟังมากไปที่ไม่ดี การตีความมากเกินไปต่างหากที่เป็นปัญหา

 

HARVARD HEALTH BLOG  “three ways to practice empathy”

1. ตระหนักรู้เกี่ยวกับอคติของตัวเอง เราทุกคนล้วนมีอคติ ทั้งอคติต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคล เเม้ว่าการที่เราระบุอคติของตัวเองเป็นเรื่องที่น่าละอายใจ

 

แต่ยิ่งเราเห็นอคติเหล่านั้นชัดเจนมากเท่าไร ก็ยิ่งควบคุมความคิด ความรู้สึก และการกระทำของเราได้มากขึ้น

 

2. ถามคำถามอย่างระมัดระวัง  เพราะในบางครั้งด้วยอคติที่มี เราอาจจะถามคำถามที่แสดงถึงการตัดสินได้เพราะเคยเจอสถานการณ์เดียวกันมาก่อน ถ้าเราไม่รู้จริง ๆ ว่าเขารู้สึกอย่างไร

 

การถามคำถามคือคำตอบ เช่น “ถึงแม้ว่าเราจะเจอเรื่องราวคล้ายกัน แต่ฉันไม่มีทางรู้ว่าเธอรู้สึกอย่างไร  เรื่องราวเป็นอย่างไร เธอคิดยังไงบ้างเหรอ”

 

3. รับฟังอย่างตั้งใจ เมื่อถามคำถามแล้ว สิ่งที่ต้องทำต่อมาคือการตั้งใจฟังสิ่งที่เขาต้องการสื่อสาร 

 

ในวันที่แย่ที่สุด การรับฟังของเราอาจจะเป็นสิ่งที่ช่วยเยียวยาจิตใจได้ ท้ายที่สุดแล้ว เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาในการฝึกฝน การรู้จักและพัฒนาการฟังของเราเอง

 

เชื่อว่ามันไม่ได้มีประโยชน์แค่ความสัมพันธ์อย่างเดียว แต่อาจจะมีประโยชน์ในการทำงาน การเรียน หรือธุรกิจ ก็ได้นะ 😀

 

 

 

ที่มา 

THE LEVELS OF LISTENING

Understanding the difference between sympathy and empathy

Hyper-Empathy Syndrome: Too Much of a Good Thing

Practice empathy

ความรู้สึกว่างเปล่า เหมือนกับ ความรู้สึกไร้ตัวตนไหม? รู้สึกว่างเปล่าจะนำไปสู่ภาวะทางจิตได้หรือเปล่า? รับมือเบื้องต้นยังไงดี?

เมื่อเกิดความรู้สึกว่างเปล่าจัดการอย่างไรดี?

ความรู้สึกว่างเปล่า คืออะไรในทางจิตวิทยา?

ความรู้สึกว่างเปล่าคืออะไรที่เราไม่รู้ว่าคืออะไร เหมือนกระดาษเปล่า ๆ ที่โล่ง ๆ ไม่มีอะไร ไม่รู้จะเรียกว่าอะไร ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น 

 

แค่รู้สึกว่าเหนื่อย ๆ ช้า ๆ เนิบ ๆ เหมือนกับว่าเราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าสิ่งที่กำลังรู้สึกคือความรู้สึกอะไร คงเป็นอะไรที่โล่ง ๆ ว่าง ๆ เป็นพื้นที่กว้าง ๆ ที่เบลอ ๆ 

 

ความรู้สึกว่างเปล่า เป็นปัญหาแค่ไหน?

แน่นอนว่า เป็นมนุษย์ต้องมีความคิดและความรู้สึก เมื่อไหร่ที่มนุษย์เริ่มไม่รู้สึกหรือเริ่มเข้าไม่ถึงอารมณ์ของตัวเอง 

 

เริ่มไม่สามารถเรียกชื่อได้ว่าคืออะไร มาจากไหน คงเป็นปัญหาอยู่แล้ว อาจจะไม่ได้เป็นปัญหาว่าเรารู้สึกว่างเปล่า แต่เป็นปัญหาในการใช้ชีวิต

 

เมื่อไหร่ที่เราขาดความรู้สึกไป เราคงไม่แฮปปี้ เพราะเราไม่รู้สึกด้วยซ้ำว่าแฮปปี้หรือทุกข์ คงแย่มาก ๆ ถ้าเราไม่มีความรู้สึก 

 

เหมือนกับการที่เราเดินไปเรื่อย ๆ โดยที่ไม่มีอะไรมากระทบกระทั่งเราได้ เหมือนซอมบี้ที่ไปเรื่อย ๆ ไม่รู้หรอกว่าคืออะไร 

 

ความรู้สึกว่างเปล่า นำไปสู่ภาวะอะไรได้บ้าง?

พอเป็นปัญหา น่าจะไปได้หลายทางมาก ๆ ถ้าเราไม่รู้สึกแปลว่าเราคงไม่เข้าใจความคิดของตัวเองเหมือนกัน พอเราไม่รู้สึก ไม่รู้ว่าเราคิดอะไร 

 

เราคงไม่รู้ว่าเราจะทำอย่างไรกับตัวเอง พอไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร ชีวิตคงยากขึ้น คงไปได้หลายทางมาก ไม่ใช่แค่เกิดอะไรได้บ้าง

 

แค่เริ่มมีความรู้สึกว่าเราไม่สามารถรับรู้อารมณ์ ความรู้สึก ความคิดได้ พฤติกรรมเราคงเปลี่ยน พอพฤติกรรมแลตัวเราเปลี่ยน

 

สภาพแวดล้อมคงจะสงสัยในตัวเราได้เหมือนกัน คงกระทบเป็นแพที่กว้างขึ้น นอกจากกระทบตัวเรา อาจจะเกิดเป็นโรคที่ผิดปกติทางอารมณ์หรือเปล่า

 

หรืออาจจะเป็นทางบุคลิกภาพหรือเปล่า รวมไปถึงความสัมพันธ์กับคนรอบข้างคงจะแย่ลงตามไปด้วย จะเป็นอย่างไรถ้ามีคนส่งความสุขมาให้

 

แต่เราว่างเปล่า เราเฉย ๆ ตอบกลับไป หรือถ้ามีเรื่องใหญ่มาก ๆ แต่เราเข้าถึงความรู้สึกนั้นของเพื่อนไม่ได้ เพื่อนคงรู้สึกว่าไม่เข้าใจเราเลย 

 

ลองให้นึกถึงว่าถ้าเราคุยกับป้ายโฆษณา คงเป็นความรู้สึกว่าไม่อยากคุยกับคนนี้แล้ว รวมถึงตัวเราเอง 

 

ความรู้สึกว่างเปล่า มาจากไหนได้บ้าง?

เราอาจจะต้องถอยกลับไปก่อน แล้วเมื่อก่อน ก่อนหน้าที่เราจะเป็นแบบนี้ ก่อนหน้าที่เราจะรู้สึกว่างเปล่า ดูไร้เป้าหมาย 

 

ดูเบลอ ๆ กับสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเอง ลองกลับไปก่อนหน้านั้นว่าเกิดอะไรขึ้น ไปเริ่มกับตัวเองตรงนั้นก่อน นั่นคงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้น 

 

หลายคนเกิดจากการที่พยายามทำอะไรหลาย ๆ อย่าง ลงมือทำบางอย่างให้ประสบความสำเร็จแล้วทำไม่ได้สักที คงจะท้อเลยเริ่มไม่ไหว เริ่มเบลอ 

 

แล้วจะไปยังไงต่อดี รู้สึกโหวง ๆ ว่าง ๆ จังเลย หลายคนพยายามเท่าไหร่กลับไม่มากพอ จนเหนื่อยที่จะพยายามแล้ว พอเหนื่อยมาก ๆ 

 

สุดท้ายเราจะเริ่มช้าลง ความเบลอจะเริ่มเข้ามาครอบงำว่าตกลงเป้าหมายอยู่ตรงไหน เรากำลังจะทำอะไร 

 

รู้สึกเหนื่อยจังเลย คงต้องกลับไปตั้งแต่จุดเริ่มต้นว่าสิ่งนี้มายังไง เพื่อให้เราเห็นสาเหตุและที่มาที่ไปได้ชัดเจนขึ้น 

 

สัญญาณเตือน เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์?

เริ่มรู้สึกว่าตัวเองไม่มีการตั้งเป้าในการใช้ชีวิตแล้ว เริ่มรู้สึกว่าทำทุก ๆ วันให้ผ่าน ๆ ไป เริ่มมองเห็นตัวเองในเวอร์ชันที่เฉื่อยชาและเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม 

 

เริ่มเห็นตัวเองว่า สุขก็ไม่สุข ทุกข์ก็ไม่ทุกข์ ไม่สุดสักทาง สิ่งเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนที่ค่อนข้างดี ที่จะทำให้เรากลับมาเข้าใจตัวเอง

 

ว่าเกิดอะไรขึ้น อาจจะไม่ได้ป่วย ไม่ได้เป็นโรคอะไร แต่ถ้าเราเริ่มเห็นว่าตัวเราเองไม่เหมือนเดิม เราลองนึกภาพตาม

 

เราเป็นคนที่มีเป้าหมายมาตลอด วางแผนมาตลอด แล้ววันหนึ่งหายไป คงต้องรู้สึกแล้วว่านี่เกิดอะไรขึ้น แค่นี้อาจจะบ่งบอกว่าต้องมีเจอผู้เชี่ยวชาญแล้ว

 

ใช้ชีวิตไปวัน ๆ เป็นปัญหาไหม?

สิ่งที่จะตอบได้คือตัวเขาเอง เขาต้องตอบว่าเขาชอบตัวเองไหมที่เราอยู่แบบนี้ เขารู้สึกดีไหมที่ชีวิตเขาค่อย ๆ ดำเนินไปแบบวันต่อวัน 

 

เพราะการที่เขาใช้ชีวิตไปวัน ๆ คงมีความยากที่ทำให้เขาตั้งเป้าระยะไกลไม่ได้ แค่ผ่านไปหนึ่งวันคงยากสำหรับเขาแล้ว 

 

เป็นปัญหาไหมอยู่ที่ตัวบุคคลมากกว่าว่าเขายังรู้สึกดีไหม ถ้ายังโอเคอยู่ เขาชอบตัวเองที่เป็นแบบนี้อยู่ คงไม่เป็นปัญหาสำหรับเขา 

 

เขาคงอยากใช้ชีวิตแบบนั้นของตัวเอง แต่ถ้าเขาเริ่มรู้สึกเริ่มฉุกคิดว่า ชีวิตแบบนี้ไม่ชอบเลย ชีวิตแบบนี้ดูไม่มีความสุขเลย 

 

ยิ่งมองไประยะไกลยิ่งรู้สึกไม่ชอบตัวเองมากขึ้น เพราะอะไรเราถึงไม่มีเป้าหมาย ไม่มีจุดยืน ได้ขนาดนี้ นั่นแหละเป็นจุดเริ่มต้นที่เรียกว่าปัญหาสำหรับตัวเขาแล้ว 

 

รู้สึกว่างเปล่า อยากหลุดจากความรู้สึกนี้ ทำยังไงดี?

อาจจะต้องลองเขียนออกมาว่าสิ่งนี้คืออะไร ลองเรียกชื่อสิ่งนี้ดู ถ้าไม่ได้ ลองหาสีให้สิ่งนี้ได้ไหม หาตัวแทนให้สิ่งนี้ได้ไหม ลองให้ความหมายว่าสิ่งนี้คืออะไร 

 

บางทีเป็นเรื่องยาก เพราะคนไทยไม่ได้ถูกสอนให้เข้าใจอารมณ์และความรู้สึก คนไทยถูกสอนให้ทำอย่างไรถึงจะถูกต้อง พฤติกรรมเลยเด่นกว่า

 

การเข้าใจอารมณ์และความรู้สึกเป็นสิ่งที่ถูกเก็บไว้ อย่าร้องไห้สิ อย่าโกรธโมโหขนาดนี้สิ เป็นเด็กไม่ดี เราถูกสอนมาแบบนี้

 

การจะเข้าใจอารมณ์และความรู้สึกของตัวเองเลยยาก แต่ถ้ายากแล้วไม่ทำอะไรเลย คงจะเป็นปัญหา เพราะงั้นถ้ายังเรียกชื่อสิ่งนี้ไม่ได้

 

ลองหาอะไรก็ได้ที่เป็นตัวแทนของสิ่งที่เกิดขึ้นกับเรา ลองให้นิยามกับสิ่งนี้หน่อย เช่น ตอบไม่ได้ว่ารู้สึกเศร้า แต่พอรู้ว่าข้างในหม่น ๆ 

 

เหมือนเป็นสีเทา ๆ สีเทามาจากไหน ลองถามแล้วคุยกับตัวเอง สีเทามาจากการที่เรารู้สึกว่าไม่ประสบความสำเร็จสักที 

 

แล้วทำอะไรกับสิ่งนี้ได้บ้าง ถึงจะเป็นจุดเริ่มต้นได้ว่า เราจะเอากลุ่มก้อนความรู้สึกว่างเปล่าออกไปได้อย่างไรบ้าง 

 

ความว่างเปล่าคงจะเป็นความรู้สึกหนึ่งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น ถ้าเราเรียกชื่อไม่ได้ เราบอกไม่ได้ว่าเศร้า โกรธ โมโห มีความสุข

 

เราจะจัดการกับสิ่งนั้นให้ดีขึ้นได้ ตราบใดที่เราปล่อยให้สิ่งนั้นเบลอ ๆ ไม่แตะต้อง เราจะลงมือจัดการได้ยากมาก 

ในทุก ๆ วันของการใช้ชีวิต ความเครียด เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะเจอเรื่องอะไร ความเครียดมีข้อเสียอย่างเดียวจริงหรือเปล่า? แล้วถ้าเราปล่อยให้ความเครียดสะสมไปนาน ๆ จะเป็นอะไรไหม?

มาจัดการความเครียดกันเถอะ

ความเครียด คืออะไร?

ความเครียดเป็นปฏิกิริยาปกติของมนุษย์ ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมหรือแรงกดดันต่าง ๆ ที่เข้ามา ซึ่งการตอบสนองอาจจะออกไปได้ทั้งทางกายและทางจิตใจ 

 

มนุษย์มีความเครียดเป็นเรื่องปกติ ไม่งั้นเราจะนิ่งเฉย เวลาที่เรารับรู้ถึงสิ่งที่เข้ามา สิ่งนั้นจะส่งเข้าไปที่สมอง สมองจะส่งสัญญาณประสาท 

 

ส่งสารสื่อประสาทออกมา สารพวกนั้นจะมีผลต่อร่างกาย ดังนั้นเวลาเครียดจะสังเกตได้ว่า ทางกายจะมีความรู้สึกบางอย่าง ทางจิตใจจะมีความรู้สึกบางอย่างเกิดขึ้น

 

ความเครียด มาจากอะไรได้บ้าง?

อะไรก็ได้ที่ทำให้เรารับรู้ว่าเราต้องโฟกัส ต้องให้สมาธิ หรือมากระทบตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ 

 

เช่น ต้องทำงานบางอย่างให้เสร็จ หรือ เป็นเรื่องใหญ่ ๆ เช่น ต้องเอาตัวรอดจากบางสิ่งบางอย่าง

 

ความเครียด มีแบ่งเป็นระดับไหม? 

แบ่งได้หลายแบบ แต่ถ้าเอาแบบง่าย ๆ แบ่งเป็น เครียดน้อย เครียดปานกลาง เครียดมาก และเครียดมากที่สุด 

 

ถ้าเครียดน้อยจะเป็นความเครียดในระดับที่เจอได้ในชีวิตประจำวัน อันนี้เป็นความเครียดที่ดี เพราะทำให้เรามีแรงกระตุ้นในการขับเคลื่อนชีวิตและการงาน

 

แต่ถ้าเริ่มมีเครียดปานกลาง อาจจะมีความเครียดจากการที่มีสิ่งกระทบบางอย่างแล้วแก้ไขไม่ได้ง่าย ๆ ตรงนี้อาจต้องมานั่งดูและรู้ตัวว่าเรากำลังเครียด 

 

แล้วหาทางที่จะหาทางคลายความเครียดลง แต่ยังเป็นอะไรที่ยังพอจัดการเองได้ แต่ถ้าเครียดมาก จะเริ่มต้องระวัง

 

เพราะว่าอาจจะเกิดจากสิ่งที่มากระทบแล้วจัดการไม่ได้ หรือเกิดจากสุขภาพร่างกายที่ไม่พร้อม ทำให้เป็นความเครียดที่จัดการยาก

 

ถ้าปล่อยไว้อาจทำให้ความสามารถในการจัดการสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ลดลง 

 

อันนี้ถ้ารู้ตัวว่ามีความเครียดนี้อาจจะต้องเริ่มขอความช่วยเหลือ ปรึกษาคนใกล้ตัว ปรึกษาคนที่ไว้ใจได้ ไปหากิจกรรมเพื่อลดความเครียด

 

อันสุดท้ายคือเครียดมากที่สุด อันนี้จะเกิดจากเรื่องที่ใหญ่จริง ๆ กระทบกระเทือนชีวิต หรือสะสมมานานจนเข้าสู่จุดที่เครียดที่สุด 

 

อันนี้จัดการไม่ได้ ถึงขั้นเริ่มส่งผลเสียบางอย่างต่อร่างกายและจิตใจมาก อันนี้ปรึกษาคนใกล้ตัว ถ้ายังหาทางออกไม่ได้ แนะนำเลยว่าต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

 

ไม่เคยพบแพทย์ ดึงความกล้าเพื่อไปพบแพทย์ยังไง?

คนที่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ โดยพื้นฐานเขามีความพร้อมที่จะรับฟังและมีจิตใจที่ดีอยู่แล้ว ดังนั้นขอใช้คำว่า ไม่ต้องกลัว เพราะผู้เชี่ยวชาญกลุ่มนี้พร้อมฟัง

 

แต่บางคนอดกลัวไม่ได้ เพราะว่าเราไม่ได้ชินกับการที่จะไปคุยกับจิตแพทย์ นักจิตวิทยา ฟังดูแอบน่ากลัว 

 

ถามว่าทำยังไงให้กล้า เริ่มจากบอกตัวเองก่อนว่าคนกลุ่มนี้ไม่น่ากลัว ถ้าไม่ได้ผล บอกตัวเองว่าที่เราเครียดอยู่ตอนนี้มันเหนื่อยมากไหม? มันไหวไหม?

 

ถ้าเหนื่อยมากหรือไม่ไหว บอกตัวเองว่าบางทีเราอาจจะต้องเผชิญหน้ากับความกลัวเพื่อไปเจอคนที่จะช่วยเราได้ อาจจะทำให้เรามีแรงฮึดที่จะเดินเข้าไปในครั้งแรกมากขึ้น 

 

ความเครียด มีข้อดีอะไรบ้าง?

ข้อดีเยอะนะ ต้องบอกแบบนี้ ถ้าโลกนี้ไม่มีความเครียดเลย ทุกอย่างชิลล์เกินไปหมด คนจะทำงานไม่เสร็จ คนจะอายุสั้นลง 

 

เพราะว่าความเครียดเป็นการตอบสนองต่อแรงกดดันหรือสิ่งเร้า เพื่อให้เราทำอะไรบางอย่าง ดังนั้นถ้าหากว่าเราไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าตามเหมาะสม 

 

เราอาจจะเอาตัวรอดได้ยากขึ้น งานไม่เสร็จ อะไรบางอย่างไม่ประสบความสำเร็จ ดังนั้นความเครียดแบบน้อย ๆ แบบจัดการได้

 

 แบบพอเป็นแรงขับ ถือว่าเป็นของดี แต่ถ้าเกิดว่ามากเกินไป อาจจะกลายเป็นตัวที่วกกลับมาทำให้เราจัดการได้ยากขึ้น เพราะกายไม่พร้อมใจไม่พร้อมก็เคลียร์ปัญหายาก

 

สะสม ความเครียด จัดการไม่ได้ จะส่งผลยังไงบ้าง?

ความเครียดส่งผลต่อทั้งกายทั้งใจได้ ทางใจคือเราอาจจะมีความสุขลดลง ไม่สามารถสุขใจได้แบบเดิม ทุกข์ง่าย 

 

ในแง่ของความคิด บางทีเครียด ๆ จะคิดอะไรไม่ออก และในทางกาย ความเครียดมีผลต่อสารสื่อประสาท มีผลต่อฮอร์โมน

 

ดังนั้นพวกนี้ที่เป็นตัวขับเคลื่อนร่างกาย จะมีอาการได้มาก บางคนใจเต้น ใจสั่น รู้สึกกระวนกระวาย นอนไม่หลับ ร่างกายอ่อนแอลง

 

ไปหาหมอได้ไหม? ไปหาหมออะไร? 

ถ้ารู้ตัวว่ามีความเครียดและจัดการไม่ได้ ถ้าถามว่าหมอที่มีความเชี่ยวชาญในเชิงการแพทย์จะเป็นจิตแพทย์นี่แหละ จิตแพทย์จะดูเรื่อของจิตใจ มาปรึกษาได้เลย 

 

ไม่ต้องมีเรื่องใหญ่ แค่บอกว่าเครียดหรือมีอาการอาจจะเดินเข้ามาบอกได้เลย เช่น นอนไม่หลับ มึน ๆ คิดอะไรไม่ออก 

 

เดี๋ยวเราจะค่อย ๆ ตามไปดูว่าความเครียดอยู่ตรงไหน และจะแก้ไขปัญหายังไง หรืออาจจะช่วยหาเทคนิคที่จะผ่อนคลายความเครียดที่เหมาะสมให้ 

 

การทำงานของจิตแพทย์ จะรักษาแบบไหน?

ในแง่ของการรักษาจะใช้ทุกอย่าง เรามีเครื่องมือเป็นยาช่วยคลายความเครียดและอาการจากความเครียดได้ 

 

บางคนเครียดเยอะ ๆ จนออกมาเป็นความกังวลมาก ๆ ยาจะช่วยได้ หรือถ้าเครียดแล้วนอนไม่หลับ ยาก็ช่วยได้ 

 

แต่ยาเป็นเพียงเครื่องมือหนึ่ง แต่เรื่องของการพูดคุยก็สำคัญ เพราะความเครียดส่วนใหญ่มีที่มา ถ้าเราพูดคุยถึงที่มาที่ไป

 

หาทางออกได้ หรือหาทางออกไม่ได้ แต่หาวิธีจัดกาอารมณ์ได้ ตัวนี้จะช่วยได้เหมือนกัน ที่ต้องระวังคือ สิ่งที่เราเครียด มันมีอย่างอื่นซ่อนอยู่

 

เช่น เรามีภาวะซึมเศร้าแล้วเราไม่รู้ตัว หรือมีโรคทางจิตเวชไม่รู้ตัว อันนี้ถ้ามาคุยแล้วจิตแพทย์วินิจฉัยหรือรู้แล้ว จะได้ทำการรักษาไป 

 

เทคนิครับมือความเครียด จากจิตแพทย์

ส่วนตัวชอบการอยู่กับลมหายใจ อยู่กับตัวเอง อยู่กับปัจจุบัน เพราะจริง  ๆ แล้วสิ่งที่ทำให้เราเครียดไม่ได้อยู่ที่นี่ตรงนี้

 

สมมติเราอยู่คนเดียว สิ่งที่ทำให้เราเครียดอาจจะเกิดขึ้นเมื่อห้านาทีที่แล้ว หรือถ้าเป็นบางอย่างที่ยังเกิดขึ้นอยู่ มันก็เกิดขึ้นนอกห้อง

 

ดังนั้นเราเลยจะกลับมาอยู่ที่ลมหายใจ กลับมาอยู่กับตัวเองที่นี่ตอนนี้ เพื่ออย่างน้อยให้เป็นช่วงเวลาหนึ่งที่เราได้ผ่อนคลายและพักผ่อน พอชาร์จพลังพร้อมก็ค่อยออกไปลุยใหม่

 

บางทีเกิดขึ้นจบไปแล้ว หรือถ้ายังไม่จบมันก็ไม่ได้อยู่ตรงนี้ อย่างน้อยลองพักแปปนึงแล้วค่อยออกไปแก้มันก็ได้ 

 

ในทางการแพทย์ รักษาความเครียดยังไง?

อันดับแรกให้รู้ก่อน เราต้องสอนให้คนที่มารู้ตัวก่อนว่าเครียด แล้วมุ่งไปที่ทีละจุด บางทีมุ่งไปที่สาเหตุ ทำความเข้าใจสาเหตุ แล้วช่วยกันมองหาทางแก้ปัญหา 

 

หรือไม่ก็ไปทำความเข้าใจและปรับบางสิ่งบางอย่าง พาปรับอารมณ์ ความคิด ให้รับมือกับความเครียดได้ 

 

อีกวิธีการหนึ่งคือพากันฝึกการจัดการอารมณ์แล้วดึงเทคนิคต่าง ๆ เข้ามา อย่างเมื่อกี้ที่บอกไปว่ากลับมาอยู่ที่นี่ตอนนี้ 

 

บางคนนังอยู่ด้วยกัน อาจจะชวนโยนของเล่นรับกัน เพื่อให้ต้องอยู่ที่นี่ตอนนี้ หรือบางคนเรามีเทคนิคอื่น ๆ เช่น พาเขาเบี่ยงเบนความสนใจจากความเครียด

 

แนะนำ ลองไปเที่ยวตรงนี้ไหมแต่ถ้าเที่ยวไม่ได้ก็หาวิธีอื่นอีก วิธีมันมีหลากหลายมาก แล้วแต่คน สำคัญก็คือวิธีไหนเหมาะกับใคร แต่ที่แน่ ๆ ต้องรู้ตัวว่าเครียดแล้วจัดการด้วยกัน

ความเครียด ” คือปฏิกิริยาตอบโต้ของร่างกาย จิตใจและสติปัญญาต่อสิ่งที่มาคุกคามทำให้เกิดความไม่สมดุล มนุษย์จึงหลีกเลี่ยงอะไรก็ตามที่ทำให้เกิดความเครียด แต่รู้หรือไม่ว่าความเครียดก็มีข้อดีเหมือนกัน

 

 

ความเครียด ในทางจิตวิทยา คืออะไร ?

อาการที่เป็นผลต่อปฏิกิริยาตอบสนอง ของร่างกาย จิตใจ อารมณ์ ต่อสิ่งที่มาคุกคามเรา เป็นเพียงแค่ภาวะชั่วคราวที่ทำให้เกิดความไม่สมดุลเกิดขึ้น ซึ่งจะเกิดเป็นกระบวนการรับรู้ต่อสิ่งที่เข้ามาแต่ละบุคคล

 

และประสบการณ์ ประเมินว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่คุกคาม จนทำให้เกิดความเครียดเกิดขึ้น และแต่ละคนจะเกิดความเครียดได้ไม่เท่ากัน 

 

ความเครียด เกิดจากอะไร ?

สามารถเกิดได้เป็นความกดดัน เกิดได้จากทั่งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ ปัญหาต่าง ๆ สภาพแวดล้อม ปัญหาด้านการเงิน การงาน ครอบครัว ที่อยู่อาศัย สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งหมดเลยถ้ามีอะไรเข้ามากระทบแล้วเราไม่สามารถควบคุมได้

 

 

ความเครียด ส่งผลกระทบกับอะไรบ้าง ?

 

 

ทำไมคนเราจะคิดมากตอนกลางคืน ?

ช่วงกลางคืนมันเป็นเวลาที่เงียบและเราอยู่กับตัวเอง ก็อาจจะทำให้เราเกิดอาการคิดมาก คิดไปเรื่อย และเราอาจจะไปเจอเรื่องราวต่าง ๆ ระหว่างวัน พอเราอยู่กับตัวเราเองคนเดียวไม่รู้จะพูดคุยหรือระบายกับใคร ก็ก่อให้เกิดความเครียดขึ้นได้

 

 

ถ้าเครียดมาก หยุดคิดไม่ได้ มีทางออกไหม ?

ถ้าเครียดมากจนไม่สามารถหยุดคิดได้ ขอแนะนำว่าควรต้องพบนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์เป็นการดีที่สุด 

 

“เครียดทำไม เรื่องแค่นี้เอง” จัดการอย่างไรกับคำพูดแบบนี้

เรื่องราวของแต่ละคน ส่งผลต่อความเครียดแตกต่างกันในแต่ละบุคคล เรื่องเล็กของเราอาจจะเป็นเรื่องใหญ่ของเขาก็ได้ หรือเรื่องใหญ่ของเรา อาจจะเป็นแค่เรื่องเล็ก ๆ ของเขาก็ได้

 

และถ้ามีคนมาพูดกับเราว่า “เครียดทำไม เรื่องแค่นี้เอง” ให้คิดว่าคนที่พูดเขาไม่ใช่เรา เขาคงไม่เข้าใจเราได้ทั้งหมดว่าเพราะอะไรเราถึงเครียดกับเรื่องนั้น ๆ

 

 

ข้อดีของความเครียด 

1. ความเครียดทำให้เราฝึกแก้ปัญหา เวลาที่เราเครียด จริงอยู่ว่าเราจะรู้สึกอึดอัดจากภายใน แต่ในขณะเดียวกันสมองของเราก็จะคิดหาทางออก หาหนทางเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา เพราะถ้าเราไม่มีความเครียดใด ๆ เลยก็เป็นไปได้ว่าเราอาจจะไม่ได้พัฒนา 

 

2. ความเครียดมีผลดีต่อร่างกาย เวลาเครียดร่างกายจะปลดปล่อยสารเคมีในสมองที่ช่วยให้เราตอบสนองต่อความเครียดในระดับต่ำ สามารถกระตุ้นการผลิต Neurotrophin เป็นสารเคมีที่ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเซลล์ประสาทในสมอง

 

3. ความเครียดช่วยปกป้องเรา ในคนเราเวลาเกิดความเครียดร่างกายจะหลั่งสารเพื่อเตรียมความพร้อมที่ช่วยควบคุมระบบภูมิคุ้มกันที่ชื่อว่า Interleukin ซึ่งร่างกายจะมีระบบปกป้องเราในรูปแบบความเครียดที่ไม่มากเกินไป ถือว่าเป็นผลดีที่ช่วยกระตุ้นความระมัดระวังให้เรา

 

4. ความเครียดฝึกให้เราคิดเชิงบวก เมื่อเราเกิดความเครียดในช่วงแรกเราอาจจะรู้สึกกดดัน แต่หลังจากนั้นเราจะหาวิธีผ่อนคลายด้วยการคิดบวก ซึ่งการคิดบวกนั้นอาศัยทัศนคติที่ดี ทัศนคติที่ดีจะนำทางออกที่ดีให้กับเราเสมอ

 

เครียดในระดับที่พอดี ไม่มากจนเกินไป ต้องรู้จักวิธีคลายเครียดด้วย และบางทีเครียดแล้วก็ต้องรู้จักช่างมันบ้างนะ แต่ถ้าจะให้ดีเลยควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญได้เลยนะ  🙂

IQ EQ เชื่อมต่อกันอย่างไร? เป็นไปได้ไหมถ้าเราจะมีแค่สิ่งไหนสิ่งหนึ่ง

 

IQ EQ คืออะไร .. 

IQ หรือ Intelligence Quotient

ความฉลาดทางด้านสติปัญญา เป็นคำที่ William Stern เป็นผู้บัญญัติขึ้น เพื่อบ่งถึงระดับเชาว์ปัญญาของแต่ละบุคคล

 

เราไม่ได้ใช้เพื่อวัดว่าใครฉลาดกว่าใคร แต่เราวัดเพื่อให้เราทราบว่าการเรียนรู้ของแต่ละคนว่าอย่างไร ซึ่งคะแนนของ ของ IQ มีคะแนน

 

ยิบย่อยในนั้นอีก เช่น ความสามารด้านภาษา การประมวลผล การเรียนรู้สิ่งใหม่ ETC. ซึ่งจะนำคะแนนเหล่านี้มาเพื่อปรับแผนการเรียน การสอนให้เข้ากับเด็กคนนั้น 

 

IQ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถจับต้องได้แต่สามารถวัดเป็นตัวเลขได้จากการทำ Test  แต่ Test ต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญ ถึง IQ จะจับต้องไม่ได้แต่สามารถแสดงออกให้เห็นได้ผ่านพฤติกรรม

 

ที่แสดงถึงความสามารถในการเรียนรู้ ความสามารถปรับตัวต่อเหตุการณ์ใหม่ ๆ ความสามารถเข้าใจและเชื่อมโยงเหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างมีเหตุผล เป็นพฤติกรรมที่มีจุดมุ่งหมาย

 

เห็นได้ว่า IQ ไม่ใช่ผลจากความสามารถอย่างใดอย่างหนึ่งเราจึงไม่สามารถนำพฤติกรรมใดเพียงอย่างเดียวไปตัดสินว่าคน ๆ นึงโง่หรือฉลาดได้

 

แบบทดสอบ IQ ทางอินเทอร์เน็ต 

ณ ปัจจุบัน แบบทดสอบมาตรฐานที่ใช้วัด IQ อย่างแพร่หลายคือ Wechsler Adult Intelligence Scale (WAIS) สำหรับผู้ใหญ่

 

และ Wechsler Intelligence Scale for Children® Fifth Edition (WISC®-V) สำหรับเด็ก มีจำแนกแยกกัน 

 

แปลว่าแบบทดสอบในอินเตอร์เน็ตก็อาจเชื่อถือไม่ได้ เพราะไม่ได้วัดโดยนักจิตวิทยาที่ผ่านการเทรนตามมาตรฐานมาแล้ว

 

เราไม่ควรนำตัวเลข IQ มาเปรียบเทียบเด็กแต่ละคนว่าใครเก่งกว่าใคร แต่ควรนำ IQ มาเป็นสิ่งที่ช่วยแนะแนวทางว่าเด็กคนนี้ต้องได้รับการช่วยเหลือด้านไหน เพื่อให้เขาได้เรียนรู้ได้อย่างเเหมาะสม 

 

 

EQ Emotional Intelligence ความฉลาดทางอารมณ์ 

คือความสามารถที่จะรับรู้อารมณ์ของตนเองและผู้อื่น  และมีความสามารถที่จะจัดการอารมณ์นั้น ถ้าเราเรารู้จักการใช้ EQ จะทำให้ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างดีขึ้น

 

ทั้ง ครอบครัว เพื่อน แฟน ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน การทำงานกับคนอื่น ๆ ใครที่มีความฉลาดทางอารมณ์ที่ดีก็จะช่วยเสริมให้สามารถแสดงออกทางพฤติกรรมต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม

 

รวมถึงช่วยในเรื่องการเข้าสังคมให้เป็นคนที่อยู่เป็นกับทุกคน และยังช่วยให้มีจิตใจที่มั่นคง ควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ดีอีกด้วย

 

เราจะพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ได้อย่างไรบ้าง

ความฉลาดทางอารมณ์ประกอบไปด้วย 4 อย่าง และจะสามารถจัดการอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้ด้วย 4 วิธีนี้

 

1. การรับรู้อารมณ์ของตัวเอง

มีความสุข เศร้า โกรธ ขยะแขยง กลัว ตกใจ 6 ความรู้สึกที่มนุษย์มี การที่เรามีการรับรู้อารมณ์ของตัวเอง Self- Awareness ที่เรายอมรับได้ว่าในจุดนั้นเรากำลังรู้สึกอะไรอยู่ เช่น มีคนมาพูดไม่ดีใส่เรา

 

เราไม่ยอมรับว่าเราโกรธ แต่จริง ๆ เราโกรธมาก แต่พยายามเลี่ยงว่าเราไม่โกรธ จะทำให้เราจัดการอารมณ์ตัวเองไม่ถูก

 

2. การจัดการความคิดที่เกี่ยวกับอารมณ์นั้น

ในทุก ๆ อารมณ์จะมีความคิดที่แล่นผ่านเข้ามาในสมองของเรา เช่น มีคนเดินมาชนเรา เราจึงโกรธทันที เพราะ อารมณ์เกิดขึ้นที่สมอง อย่างในตัวอย่าง ความคิดที่เกิดขึ้นในอารมณ์นั้น เช่น ทำไมซุมซ่ามอย่างนี้

 

ทำไมหยามกันอย่างนี้ ในบางความคิดอาจมีประโยชน์ แต่บางความคิดอาจไม่เป็นประโยชน์เวลาที่มีอารมณ์ใดผ่านเข้ามาให้มองดูมันอย่างช้า ๆ ที่เรารู้สึกอย่างนี้ นี่เพราะอะไร มีอารมณืใดผ่านเข้ามา จึงทำให้เรารู้สึกอย่างนี้

 

3. ความเข้าใจอารมณ์และธรรมชาติของอารมณ์

แต่ละอารมณ์ สื่อสารอะไรกับเราบ้าง เพราะอารมณ์เป็นสัญญาณที่บ่งบอกความต้องการลึก ๆ ที่อยู่ในใจเรา หรือ บ่งบอกอะไรซักอย่างในสัญชาตญาน เช่น อารมณ์โกรธ อารมณ์เหงา

 

อาจจะบ่งบอกว่าเราต้องการมีความสัมพันธ์กับใครซักคน รวมถึงในเรื่องของการเข้าใจ อารมณ์ เกิดขึ้น และหายไป หรือแม้แต่กระทั่ง อารมณ์เปลี่ยนไปเป็นอารมณ์อื่นได้

 

4. การจัดการอารมณ์

คุณหมอจริง นักจิตแพทย์บอกว่า หากเราฝึก มาทั้ง 3 ข้อนี้แล้ว การจัดการอารมณ์ก็เป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น

 

เพราะถ้าเราฝึกเข้าใจอารมณ์ของตัวเอง อารมณ์มีที่มาที่ไปยังไง ฝึกดูว่าเราต้องการอะไรจากอารมณ์นั้น ก็จะทำให้เราจัดการอารมณ์ได้ ก่อนที่เราจะไปลงมือ ทำอะไรจากอารมณ์ของเรา

 

อนุญาตให้ตัวเองได้อยู่กับอารมณ์นั้น รับรู้ เพื่อที่จะการมันได้อย่างเหมาะสม รวมไปถึงเราจะไม่ให้คนอื่นมาทำให้อารมณ์ของเราไขว้เขว ถ้าเราโกรธ เศร้าเสีย ใจ จะทำให้การใช้ชีวิตเราของเราชะงักไป

 

ทำอะไรไม่ได้เหมือนเดิมเพราะมีอารมณ์ที่ค้างเติ่งอยู่ เช่น เราทะเลาะกับแฟน ทั้งวันนั้นเราอาจจะไม่อยากทำอะไร เมื่อเรารับรู้แบบนี้แล้วเราจะจัดการอารมณ์เราอย่างไรไม่ให้มากระทบกับการใช้ชีวิตของเรา

รีเช็คตัวเองได้ยังไงว่าเราควรพัฒนา EQ เพิ่ม

 

เราจะพัฒนา EQ ของเราได้ยังไง

จากเว็บไซต์ facscompany เขาได้บอกว่า 5 ข้อที่เราสามารถพัฒนา ความฉลาดทางอารมณ์ของเราได้ และสามารถฝึกได้ทุก ๆ วัน

1. เข้าใจอารมณ์ของตัวเองมากขึ้น 

ถ้าเราเข้าใจอารมณ์ตัวเอง ยอมรับอารมณ์ ความรู้สึกตัวเองเวลาที่เกิดอะไรขึ้นจะทำให้เราควบคุมและจัดการอารมณ์ของตัวเองได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งการเข้าใจอารมณ์จะเป็นก้าวแรกของการพัฒนา EQ ของเรา

 

2. ฟังให้มากขึ้น

การพยายามเป็นผู้ฟังที่ดีเป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนา EQ ได้ การที่เราพยายามใส่ใจ และตั้งคำถามกับคู่สนทนาจะทำให้เราน่าค้นหา และเกิดมุมมองที่ดีกับคนอื่นได้

 

3. หลีกเลี่ยงการสนทนาคนเดียว ให้คนอื่นมีบทสนาทาบ้าง

เวลาคุยกับใครพอเราเป็นฝ่ายพูดอยู่อย่างเดียว พูดแต่เรื่องของเราจนลืมตัว เราจะสัมผัสได้ว่าอีกฝ่ายมีอาการเบื่อ หลีกเลี่ยงที่ไม่อยากคุยกับเราอีก ธรรมชาติของมนุษย์ต่างฝ่ายต่างอยากแชร์เรื่องราวกันอยู่แล้ว

 

เช่นเดียวกันพยายามสังเกตว่าคนอื่น ๆ มีความสนใจในเรื่องอะไร เพื่อจะได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดี คอนแนคชั่นที่ดีด้วย

 

4. พักบ้างในเวลาที่เราอยากพัก

 

5. REVIEW YOUR DAY

ก่อนนอนให้เราลองพิจารณา ทบทวนว่าใน 1 วันที่เราใช้ชีวิตมาเป็นอย่างไรบ้าง ลองจดบันทึกให้คะแนน อารมณ์ ความรู้สึกของตัวเอง คิดถึงเรื่องที่ทำได้ดี

 

เรื่องที่ทำให้มีความสุข หรือเรื่องที่ทำให้เราติดขัดในระหว่างวันเพื่อให้วันต่อๆไปเราได้ปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น

 

 

IQ กับ EQ แตกต่างกัน…?

IQ กับ EQ เป็นคำแพ็คคู่ที่มาด้วยกัน ที่ได้ยินมาบ่อย ๆ คือถ้ามี 2 สิ่งนี้จะทำให้เรามีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในเรื่องต่าง ๆ มากขึ้น แต่ 2 สิ่งนี้ตรงข้ามกันอย่างชัดเจน

 

เพราะ IQ คือสติปัญญาที่สามารถวัดเป็นตัวเลขออกมาได้ แต่ EQ เกี่ยวข้องกับอารมณ์ที่ไม่สามารถวัดป็นตัวเลขออกมาได้ แต่ทุกคนจำเป็นต้องมีสองอย่างนี้เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้เป็นอย่างดี

 

EQ IQ ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปได้ไหม?

EQ กับ IQ อย่างที่บอกไปว่าเป็นสิ่งตรงข้ามกัน (ลองนึกถึงหยินหยาง) แต่คนทุกคนควรต้องมีเหมือนกัน ลองนึกถึงคนที่ฉลาดมาก ๆ แต่ไม่มี EQ เขาอาจจะไม่สามารถทำงาน ใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นได้

 

ไม่มีมนุษย์สัมพันธ์กับคนอื่น เหมือนที่เราเน้นย้ำกันตลอดว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคมการทำอะไรเพียงคนเดียวทำได้นะ แต่ถ้ามีคนอื่นมาร่วมจอยโมเม้นด้วยแน่นอนว่าต้องดีกว่าการทำอะไรคนเดียวอยู่แล้ว

 

และในขณะที่บางคนทำงานไม่เก่งเท่าไหร่  แต่เป็นคนที่มีมนุษย์สัมพันธ์ดี  รู้จักพูดคุยมีเพื่อนเยอะ  แปลว่าคนประเภทนี้คือคนที่มี EQ มากกว่า IQ  จะเห็นได้ว่าทั้งสองสำคัญทั้งคู่ 

 

จะมีอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ ถ้าเรามี 2 อย่างนี้ก็จะช่วยให้สามารถประสบความสำเร็จในชีวิตได้ง่ายมากขึ้น

 

Introvert ใช้ชีวิตเหมือนคนอมทุกข์เลย พวกเขามีความสุขจริงๆหรือเปล่า? มาร่วมกันตามหาความสุขของ Introvert ว่าพวกเขามีความสุขกับอะไร เข้าสังคมได้ไหม

 

รายการพูดคุย Alljit X คุณวันเฉลิม คงคาหลวง นักจิตวิทยาการปรึกษา:)

 

 

Introvert คืออะไร?

หลาย ๆ คนอาจจะเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Introvert เพราะ quote บนอินเตอร์เน็ตที่ย่อออกมาให้สั้น ๆ หรือแบบทดสอบที่เราทำ อาจจะไม่ใช่แบบทดสอบที่ทำโดยนักวิชาชีพจริง ๆ ในทางจิตวิทยาเราต้องทำแบบทดสอบที่เป็นตัวจริง

 

ไม่ใช่แบบทดสอบแบบย่อ ถึงการย่อจะมีความสมบูรณ์แบบมากแค่ไหนแต่ทางหลักจริง ๆ เราจะไม่นับผลทดสอบนั้นเป็นทางการ และถ้าหากทำแบบทดสอบตัวจริงแต่ไม่ได้รับการแปรผลหรืออธิบายผลลับโดยนักจิตวิทยา ผลที่ได้ก็ไม่นับเช่นกัน

 

ว่าด้วยเรื่องของ MBTI หรือ แบบทดสอบบุคลิกภาพ ได้รับต้นแบบมาจากแนวคิดของนักจิตวิทยาชื่อ Carl G. Jung และในทฤษฎีของ Carl G. Jung ได้พูดถึงแบบแผนของบุคลิกภาพของบุคคลไว้ด้วย

 

ซึ่งจะมี 3 อย่าง คือ Introvert Extrovert หรือ Ambivert ถ้าหากถามว่าคนเราเป็น Introvert Extrovert หรือ Ambivert ไหม ? คำตอบคือไม่ใช่เพราะเราไม่ได้เป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง เราเป็นเพียงแค่มนุษย์ที่มีความเด่นด้าน Introvert มากขนาดไหน

 

หรือเราเด่นด้าน Extrovert ขนาดไหน. . คนเราจะมีรูปแบบเป็นของตัวเอง แต่จะมีอันใดอันหนึ่งที่มีความโดดเด่นที่สุด Introvert มีความสนใจที่จะมุ่งเน้นไปที่ความรู้สึกและความคิดของตัวเอง

 

ส่วน Extrovert คือคนที่ให้ความสนใจกับผู้อื่นและโลกภายนอก อันนี้คือลักษณะง่าย ๆ แต่พอมีการศึกษาทดลองและการจดบันทึก Carl G. Jung ก็ค้นพบว่า Introvert มักจะเป็นคนขี้อาย ครุ่นคิดและสงวนตัว

 

มีแนวโน้มที่จะปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ของสังคมได้ค่อนข้างยากมากกว่า คนส่วนใหญ่เลยตีความว่าคนที่มีบุคลิกภาพแบบ Introvert ชอบเก็บตัว เงียบโดดเดี่ยว

 

ซึ่งอันนี้เป็นเพียงลักษณะนิสัยที่โดนแผ่ขยายและแยกออกมาจาก Introvert แต่ในความเป็นจริงแล้ว Introvert คือคนที่สนใจในเรื่องของความรู้สึกและความคิดของตัวเองเป็นหลัก

 

Introvert ชอบเก็บตัวจริงไหม?

คนที่มองกลุ่มคนที่มีบุคลิกภาพแบบ Introvert หรือไปตัดสินคนที่มีบุคลิกภาพแบบ Introvert ว่าชอบเก็บตัว ที่จริงแล้วเขาคิดกันเอาเอง เหมือนเป็นการที่เราตัดสินการใช้ชีวิตของคนอื่นว่าน่าจะเป็นคนแบบนี้

 

ส่วนจะจริงไม่จริงมันขึ้นอยู่กับคน ๆ นั้นว่าเขาใช้ชีวิตและเขาเป็นคนยังไงมากกว่า หลักสำคัญคือการที่เรารู้ว่าชีวิตเราเป็นยังไง และชีวิตเราต้องการอะไร 

 

 

Introvert สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ไหม?

มีงานวิจัยในเชิงผลสำรวจ พบว่าครอบครัวที่มีลักษณะบุคลิกภาพแบบ Introvert มีประมาณ 60% ที่ลูกออกมาแล้วจะมีบุคลิกภาพแบบ Introvert แต่ถ้าหากเรามาดูเชิงลึกว่าพ่อแม่มีบุคลิกภาพแบบไหน

 

เวลาเลี้ยงลูกพ่อและแม่จะถ่ายทอดบุคลิกของตัวเองไปสู่ลูกและลูกก็จะซึมซับ เพราะเวลาที่มนุษย์เกิดมาการเรียนรู้แรกเริ่มของเราคือการเลียนแบบ มนุษย์เราจะเรียนแบบทุกอย่าง เรียนรู้วิธียิ้ม วิธีส่งสายตา วิธีพูดและออกน้ำเสียง

 

เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเลียนแบบ ทำให้มีโอกาสที่ลูก ๆ จะเหมือนพ่อแม่ หากพ่อแม่มีบุคลิกภาพแบบ Introvert แต่ครอบครัวไม่ใช่ทุกอย่างแม้ว่าจะเป็นพื้นฐาน เพราะเรายังมีสังคมอื่น ๆ

 

พอเขาเป็นวัยรุ่นเขาก็เริ่มเลียนแบบเพื่อน เลียนแบบคนรอบข้าง สะสมหลาย ๆ อย่างจนสร้างตัวตนของเขาขึ้นมา

 

 

Introvert เป็นเพื่อนกับ Extrovert ได้ไหม?

เป็นได้และเป็นเรื่องปกติมาก ๆ เพราะการเป็นเพื่อนกับใครสักคนบุคลิกภาพอาจจะไม่ใช่เรื่องสำคัญมากเท่าไหร่ สื่งที่สำคัญคือลักษณะนิสัยที่เราและเขาต่างเข้ากันได้ และการเป็นเพื่อนกันมีหลายมิติมาก ๆ

 

อย่างเพื่อนในเกมส์ เพื่อนร่วมงานหรือเพื่อนสนิท บางทีความแตกต่างระหว่างเรากับเขาก็สามารถเป็นความลงตัวในความสัมพันธ์ได้เช่นกัน

เคยไหม ? มีคำถามกับตัวเองอยู่เสมอว่าชอบอะไร อยากทำอะไร เราเป็นคนแบบไหน..  ตอนนี้เรา  รู้จักตัวเอง มากแค่ไหนกันนะ ?

มารู้จักตัวเองให้มากขึ้นกันเถอะ

คนที่เข้าใจได้ยากที่สุดก็คือตัวเราเอง ในบางครั้ง บางวัน เราก็ไม่เข้าใจตัวเอง  ฉะนั้นการที่เรารู้จักตัวเอง ทั้งข้อดี ข้อเสีย จะทำให้เรารู้เท่าทันตัวเองมากขึ้น ก็จะทำให้เรามีความสุขกับตัวเองมากขึ้นด้วย

 

Self-Awareness คือ?

Self-awareness คือ ความสามารถในการมองเห็นตัวเองและ ตระหนักถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเองได้อย่างชัดเจน ผ่านการรับรู้และเข้าใจสภาวะต่าง ๆ เช่น

 

การ รู้จักตัวเอง มีกี่ด้าน 

ตาม ทฤษฎีของ The Johari Window จิตวิทยาชาวอเมริกัน  2 ท่านคือ Joseph Luft และ Harry Ingham เฝ้าสังเกตพฤติกรรมนุษย์ จนเกิดเป็นทฤษฎี The Johari Window

 

ทฤษฎีที่บอกว่าคนทุกคนจะนำเสนอตัวตนใน โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ช่อง ภายในพื้นที่เหล่านั้นคือที่อยู่ของตัวตนต่างแง่มุม ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนจะเลือกเปิดเผยหรือซุกซ่อน จะแสดงออกหรือ ต้องการปิดบัง

 

ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นวิธีปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคล

1.Open self : ตัวตนส่วนที่เรารู้จักตัวเองดี รู้ว่าตัวเองคิดอะไร มีศักยภาพอะไร รู้สึกอย่างไร และเราเปิดเผยให้คนอื่นรับรู้ตัวตนของเราแบบตรงไปตรงมา คนรอบตัวจึงรู้และเข้าใจตัวตนของเราส่วนนี้ 

 

2.Blind self : ตัวตนส่วนนี้คนอื่นรอบตัวสัมผัสรับรู้ แต่ตัวเราเองกลับไม่รู้ว่าเรามีพฤติกรรมหรือความสามารถส่วนนี้ อย่างเช่น A เป็นคนชอบเอาชนะ ชอบแข่งขันกับคนอื่นแบบไม่รู้ตัว

 

แต่คนอื่นก็รู้ว่า A ชอบแข่งขัน เพราะ A จะทำทุกทางขอแค่ให้ได้สัมผัสชัยชนะ ซึ่งถ้าหากเราปล่อยให้ตัวเองมีส่วนนี้เยอะก็คงไม่ค่อยดีเท่าไหร่ เพราะจะทำให้ขาดตัวช่วยให้เราพัฒนาตัวเองให้เก่งขึ้นได้ 

 

3.Hidden self : ตัวตนที่เรารู้แต่เพียงผู้เดียว คนอื่นไม่เคยรู้มาก่อน เพราะเรารู้แล้วซ่อนไว้เป็นความลับส่วนตัว เช่น A เป็นคนวาดรูปเก่ง แต่วาดอยู่คนเดียวลำพัง ไม่เคยบอกใคร ไม่เคยวาดรูปให้ใครดู

 

4.Unknown self : ตัวตนส่วนนี้มืดมิดเลย เป็นดินแดนที่ไม่มีใครค้นพบ ตัวเราเองก็ไม่รู้ คนรอบตัวก็ไม่รู้เลยว่าเรามีความสามารถ หรือทักษะประเภทนี้ด้วย ซึ่งตัวตนส่วนนี้อยู่ระหว่างการสืบเสาะค้นพบ

 

 

การ รู้จักตัวเอง มีมิติไหนบ้าง

1.ความสนใจ (Interest)

2.ความชอบหรือลักษณะนิสัยติดตัว (Preference and Temperament)

3.พฤติกรรมและการแสดงออก (Behavior and Expression)

4.ความเข้าใจทางด้านอารมณ์ความรู้สึก (Emotion)

การเข้าใจอารมณ์ของตนเองเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยความตระหนักรู้ในตนเอง เช่น เมื่อมีความโกรธเกิดขึ้น เราสามารถรับรู้ได้ถึงการมีอยู่ของความโกรธนี้ และเมื่อความรู้สึกเปลี่ยนแปลงไป เราสามารถรับรู้ความรู้สึกที่เปลี่ยนแปลงของตนเองได้ไหม 

5.ลักษณะของการมีความสัมพันธ์ (Relationship Pattern)

6.คุณค่า (Value)

คุณค่าคือคุณลักษณะที่แสดงความเป็นสิ่งนั้น ๆ ในกระบวนการเติบโตและหล่อหลอมของมนุษย์ มีการเลือกคุณค่าทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว  และ ส่วนใหญ่คุณค่าที่เราเลือกรับมาจะเกิดขึ้นในสภาวะที่ไม่รู้ตัว เกิดจากสิ่งแวดล้อม เหตุการณ์ในชีวิตจริง

7.จุดมุ่งหมายในชีวิต (Life Purpose)

 

 

ข้อดีของการ รู้จักตัวเอง

ข้อมูลจากเว็บไซต์ Positivepsycolohy 

  1. สามารถทำให้เรามีความกระตือรือร้นมากขึ้น ส่งเสริมการยอมรับ และส่งเสริมการพัฒนาตนเองในเชิงบวก 
  2. การรู้จักตัวเองทำให้เรามองเห็นสิ่งต่าง ๆ จากมุมมองของผู้อื่น ฝึกการควบคุมตนเอง ทำงานอย่างสร้างสรรค์ และสัมผัสความภาคภูมิใจในตนเองและงานของเรา รวมถึงการเห็นคุณค่าในตนเองได้ดียิ่งขึ้น
  3. มีความสามารถในการตัดสินใจทำสิ่งต่าง ๆ ได้ง่ายมากขึ้น
  4. ทำงานได้ดีมากขึ้น สื่อสารได้ดีมากขึ้น เพราะเมื่อเรารู้จักตัวเองจะทำให้ความมั่นใจ ของเราเพิ่มขึ้นไปด้วย 

 

 

เราจะเริ่มรู้จักตัวเองได้อย่างไรบ้าง

  1. ฝึกทำสมาธิ และพยายามมีสติอยู่เสมอ 

การมีสติหมายถึงการที่เราอยู่กับปัจจุบัน ให้ความสนใจกับตัวเองและสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว มากกว่าที่จะจมอยู่ในความคิดในอดีต และการทำสมาธิเป็นการฝึกสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งหนึ่ง

 

เช่น ลมหายใจหรือ ความรู้สึก และปล่อยให้ความคิดลอยไปแทนที่จะยึดติดอยู่กับมัน ซึ่งการทำทั้งสองแบบสามารถช่วย ให้ตระหนักถึง สัมพันธ์ ของเรา และปฏิกิริยาต่อสิ่งต่างๆ ของเรามากขึ้น

 

สามารถช่วยให้เราจัดการความคิด ความรู้สึก และป้องกันไม่ให้จมจนรู้สึกสูญเสีย “ตัวเอง”

 

  1. ฝึกโยคะ หรือออกกำลังกาย

การทำโยคะสามารถช่วยได้จริงหรอ? การฝึกโยคะช่วยให้โฟกัสกับท่าทาง ท่วงท่าของตัวเอง ทำให้เสียงของเราชัดขึ้น หากได้ทำการฝึกฝน จะนำไปสู่รู้จักตัวเองมากขึ้นด้วย 

 

  1. ใช้เวลา

การใช้เวลาสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การจัดบันทึก การทบทวนสิ่งต่าง ๆ เช่น Self Talk กับตัวเองสามารถช่วยได้มาก เพราะถ้าเราเริ่มให้เวลากับตัวเองเราก็จะมีเวลาในการทบทวน

 

ความคิด พฤติกรรมต่าง ๆ ที่ผ่านมาของเรา อะไรที่เราทำแล้วดี อะไรที่เราเคยล้มเหลว 

 

  1. การเขียนไดอารี่

การที่เราเขียนไดอารี่ทำให้ยอมรับความคิดและความรู้สึกของเราได้ ถ้าเราบันทึกแต่ละวันพอ กลับมาย้อนอ่านจะทำให้เรา เกิดคำถามกับตัวเอง

 

อีกทั้งการเขียนไดอารี่ทำให้เราโฟกัสสิ่งที่สำคัญกับชีวิตของเราได้ง่านมากขึ้นด้วย 

 

  1. ถามที่รักเรา คนรอบตัว

พิจารณาสิ่งที่พวกเขาพูดอย่างรอบคอบและคิดเกี่ยวกับมันเมื่อคุณจดบันทึกหรือไตร่ตรอง แน่นอน อย่าถือเอาคำพูดของคนใดคนหนึ่งเป็นสิ่งที่ดีเกินไป

 

เราต้องพูดคุยกับผู้คนที่หลากหลายเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเรา และจำไว้ว่าในท้ายที่สุด ความเชื่อและความรู้สึกในตนเองของคุณสำคัญที่สุดสำหรับเรา 

 

 

ผลกระทบถ้าเราไม่ รู้จักตัวเอง

 

ที่มา:

self-awareness

self-awareness-matters-how-you-can-be-more-self-aware

schoolofchangemakers.com/knowledge