Posts

ใคร ๆ ก็ต้องเคย อกหัก ร้องไห้แทบตาย แต่สุดท้ายก็ไปกันไม่ได้อยู่ดี ” อกหักไม่ถึงตาย ” คำที่มักจะใช้พูดเพื่อปลอบใจคนที่กำลังอกหัก แล้วอกหักมันไม่ถึงตายจริงไหม ทำไมบางคนรู้สึกเจ็บเจียนตาย ทำไมบางคนมูฟออนได้ไว

อกหัก ไม่ถึงตายจริงไหม ใครเป็นคนเจ็บกว่ากัน

จากงานวิจัยปี 2015 ได้สำรวจว่าผู้หญิงที่อกหักจะมีความฟื้นตัวเร็วกว่าผู้ชาย เพราะผู้หญิงจะมีความรู้สึกว่าต้องทำอะไรบางอย่างเพื่อก้าวต่อไปข้างหน้าให้ได้

 

แต่ผู้ชายจะรู้สึกว่าเจ็บนะ อยู่กับปัจจุบันให้เจ็บ รับรู้ความรู้สึกเจ็บตรงนี้ให้เต็มที่ และไม่ได้รู้สึกว่าต้องทำอะไรเพื่อก้าวข้ามความเจ็บแต่เรียนรู้กับความเจ็บปวดตรงจุดนี้แทน

 

แต่ความจริงไม่ว่าใครจะเจ็บกว่าหรือ Move on ได้เร็วกว่า ก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ความผูกพันทางอารมณ์และความรู้สึกของตัวบุคคลนั้น

ความเจ็บปวดทางกายคืออะไร?

ความเจ็บปวดทางกายเมื่ออกหักจะมีอาการ 3 วัน คือมีอาการหัวใจเต็นเร็ว หูร้อน หน้าชา มาจากระบบของการไหลเวียนของเลือด 

 

 

ความเจ็บปวดทางใจคืออะไร?

ความเจ็บปวดทางใจคือความรู้สึกอยากร้องไห้ตลอดเวลา เศร้า เจ็บปวดใจ

 

 

อกหัก ไม่ถึงตายจริงไหม?

 

อาจจะไม่จริง เพราะอาการทางร่างกายเมื่ออกหักก็สามารถทำให้ส่งผลกระทบได้ หากคนนั้นมีโรคประจำตัวก็สามารถส่งผลต่อร่างกายเขาได้เมื่อเขาอกหัก

 

 

อกหัก มีระยะเวลาไหม?

 

บางคน Mone on ได้เร็ว บางคนใช้เวลาเป็นปีกว่าจะก้าวออกมาจากความเจ็บปวดได้ แต่ละคนใช้ระยะเวลาไม่เท่ากันเพราะประสบการณ์ ความรู้สึกแตกต่างกัน

 

ระยะเวลาขึ้นอยู่กับตัวบุคคล ไม่สามารถตัดสินได้ เพราะเป็นเรื่องทางความรู้สึก

 

บางคนหายจากอาการอกหักแล้วแต่ยังคงไม่กล้ารักใครได้เลย เพราะประสบการณ์และความรู้สึกยังคงมีอยู่ แม้ว่าความเจ็บปวดจากการอกหักหายไปแล้วแต่ด้านความรัก มุมมองเปลี่ยนไปจากการอกหักก็มีได้

 

 

ปลอบใจคน อกหัก ทำอย่างไรดี?

ต้องให้เวลากับเขาก่อน เพราะอาการอกหักก็มีความเจ็บปวดทั้งทางใจ ทางกาย และทางความรู้สึก ซึ่งก็ถาโถมเข้ามาพร้อมกัน เวลาอาจจะช่วยให้เขารู้สึกเบาบางลงได้ เปรียบเหมือนกับความเจ็บปวดจากการฉีดยา

 

ในเวลานั้นอาจจะกลัวเจ็บมาก พอฉีดยาเสร็จแล้ว ความรู้สึกอาจจะไม่ได้เจ็บอย่างที่เราคิด เช่นเดียวกับการอกหัก ก็ต้องใช้เวลาในการเยียวยาความเจ็บปวด

 

 

เป็นไปได้ไหม ที่อกหักแล้วไม่เจ็บเลย?

 

เป็นไปได้ยาก ถ้าหากไม่เจ็บจริง ๆ บุคคลนั้นอาจจะไม่ได้รักกันหรือไม่รู้สึกอะไรเลย การอกหักก็ต้องมีเจ็บบ้าง เพราะเป็นความผิดหวัง เสียใจ เป็นความสูญเสียหลาย ๆ อย่าง 

 

 

อกหัก ส่งผลให้เป็นโรคซึมเศร้าได้ไหม?

เป็นไปได้ที่อกหักแล้วจะเป็นโรคซึมเศร้า แต่ก็มีหลายสาเหตุเข้ามาเกี่ยวข้องได้ เพราะคนที่อกหักแล้วไม่ได้เป็นซึมเศร้าหรือคนเป็นซึมเศร้าแล้วอกหักก็มีได้

 

แต่อาการอกหักไม่ใช่ปัจจัยหลักของโรคซึมเศร้า เพราะโรคซึมเศร้ามีปัจจัยหลายอย่าง ด้านสภาพแวดล้อม การเลี้ยงดู ประสบการณ์ในอดีต ความเครียด หรือสารเคมีในสมองต่างเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เกิดโรคซึมเศร้าได้

 

ควรทำอย่างไร หากเราหักอกเขาหรือบอกเลิกใคร แล้วเขาบอกว่า อยากฆ่าตัวตาย?

ต้องเริ่มจากใจเย็นๆและลองถามเขาให้ชัดเจนว่าสาเหตุคืออะไรที่ทำให้เขาอยากฆ่าตัวตาย ซึ่งไม่ต้องเกรงกลัวกับการถามหรือวิตกกังวลมากเกินไปจนส่งผลกระทบกับตัวเอง

 

เพราะสิ่งที่เขาบอกยังไม่มีอะไรมาการันตีได้ว่าเขาจะทำจริงหรือไม่จริง พูดคุยกับเขาให้เกิดความชัดเจน เข้าใจกันและกันก่อน เพราะบางทีสิ่งที่เขาบอกอาจจะไม่ใช่แค่การเรียกร้องความสนใจ

 

อาจจะเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นจริงได้เช่นกัน ด้วยประสบการณ์หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้เขาเจ็บปวดจนเขาไม่สามารถยอมรับความเจ็บปวดในจุดนี้ได้แต่เขาก็ไม่ได้อยากจากไป

 

จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เขานำมาต่อรองเพื่อให้เราอยู่กับเขาต่อไป และทุกคนต่างมีความซับซ้อนต่อความรู้สึก ก่อนที่จะเข้าใจใครต้องเข้าใจความซับซ้อนของตัวเองก่อนเพื่อแก้ไขและหาทางออกกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

 

หากพยายามใจเย็นและแก้ไขทุกทางแล้ว ยังไม่ดีขึ้น สามารถปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญได้ อาจจะเป็นทางเลือกที่ดีต่อความสัมพันธ์ 

 

Move On ไม่ได้ควรทำอย่างไร?

ต้องเริ่มจากชัดเจนกับตัวเองก่อนว่า Move on ไม่ได้เพราะอะไร เราต้องการอะไรจากความรักครั้งนี้ คาดหวังอย่างไรกับความสัมพันธ์ ถึงทำให้เราไม่สามารถก้าวออกมาจากความรู้สึกได้

 

และเลือกยอมรับความจริงว่าทุกคนมีสิทธิ์เลือกชีวิตตัวเอง ความรู้สึกของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ทุกเส้นทางชีวิตของแต่ละคนมีแตกต่างกันได้ อาจจะต้องไม่นำความสัมพันธ์มาตัดสินชีวิตทั้งหมด 

 

ถ้าหากยังไม่พร้อมที่จะก้าวออกมา เราเลือกที่จะอยู่กับความรู้สึกตรงนี้ได้ ว่าเรายังรักและคิดถึงเขาอยู่ ชีวิตเราอาจจะก้าวไปข้างหน้าแล้ว แต่ในเรื่องความรักเรายังคงเป็นเขาอยู่ ก็ไม่ต้องฝืนใจก้าวออกมา 

 

Move on อาจจะไม่ต้องกลับไปแก้ไขอะไรในอดีต แต่เป็นการเข้าใจและยอมรับในเรื่องที่เกิดขึ้นเพื่อให้ตัวเองได้กลับมาใช้ชีวิตกับปัจจุบันและก้าวต่อไปข้างหน้าได้

ไม่มี Safe Zone เป็นของตัวเอง ครอบครัวไม่ใช่เซฟโซน เพื่อนไม่ใช่เซฟโซน สัตว์เลี้ยงไม่ใช่เซฟโซน คำว่า เซฟโซน หมายถึงอะไร และจะทำอย่างไรในวันที่ขาดเซฟโซน

Safe Zone คืออะไร 

คือ พื้นที่หรือความรู้สึกที่ได้จากบุคคลหรือสถานที่นั้นๆ ที่ทำให้เรารู้สึกปลอดภัย รู้สึกคุ้นเคย สบายใจ Safe Zone อาจเป็นพื้นที่ที่เราได้เป็นตัวเองจริงๆ เป็นพื้นที่ที่ไม่มีการตัดสินจากบุคคลภายนอก

 

จากสายตาคนอื่นและไม่มีการต่อว่าตัวเอง เป็นพื้นที่ที่เรายอมรับตัวเองได้มากที่สุด แม้ว่าเราจะรู้สึกเชิงลบกับตัวเองก็ตาม

 

Safe Zone คือสถานที่อย่างเดียวหรือเปล่า

Safe Zone ไม่ใช่แค่สถานที่ แต่เป็นได้ทั้งบุคคลและสิ่งที่ทำให้เราได้รับความรู้สึกปลอดภัย เพียงแค่เราได้อยู่ใกล้กับคนนี้หรือสถานที่นี้ในบริเวณที่รับรู้ได้ก็ทำให้เราสบายใจได้ 

 

Safe Zone อาจจะไม่ใช่แค่สถานที่แต่เป็นความรู้สึกที่เรารู้สึกว่าเซฟตัวเราเอง ที่เรารู้สึกปลอดภัยเมื่ออยู่ใกล้ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยง สถานที่ บุคคล ต่างเป็น

 

Safe Zone ให้เราได้ทั้งหมด เพราะเกิดจากความรู้สึกเราเองที่รู้สึกคุ้นเคย

 

เราจำเป็นต้องมี Safe Zone จริงหรือเปล่า ?

เราควรมี Safe Zone เพราะทุกคนต่างมีเซฟโซนมาตั้งแต่เกิดมา คือ ครอบครัวของเราเอง เพราะตั้งแต่เกิดมาเราต่างก็มีภัยคุกคาม และคนที่ทำให้เราสบายใจและคุ้นเคยก็คือครอบครัว

 

เป็นเหตุผลที่เรามีเซฟโซนเป็นของตัวเอง แม้ว่าจะไม่อยากมี

 

Safe Zone ของเราเปลี่ยนไปตามกาลเวลาได้ไหม

เปลี่ยนได้ตามกาลเวลา หากบุคคลนั้นเปลี่ยนไป ความเป็นเซฟโซนของเขาก็จะลดลงตามความรู้สึกเรา บางทีอาจจะหายไปเลยก็ได้

 

เซฟโซนของเราอาจจะเปลี่ยนไปเป็นคุณครู เพื่อน สถานที่หรือ สัตว์ สิ่งของ ต่างก็เป็นเซฟโซนของเราได้ หากมีความผูกพันกัน

ครอบครัวไม่ใช่ Safe Zone

ต้องทบทวนกับตัวเองกันก่อน การที่ครอบครัวไม่ใช่ Safe Zone ของเรา เราได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง เพราะบางทีเซฟโซนก็อาจจะเป็นบุคคลอื่น สถานที่อื่นๆ ได้

 

ลองยอมรับกับสภาพแวดล้อมครอบครัวและเข้าใจกับความรู้สึกตัวเองก่อน บางทีลองมองรอบข้างให้มากขึ้น อาจจะได้ Safe Zone ที่ดี คอยให้คำปรึกษาและแนะนำเราได้เช่นกัน ไม่จำเป็นต้องเป็นครอบครัวเสมอไป

 

หากเราทบทวนแล้วบางทีการที่ครอบครัวไม่ใช่ Safe Zone อาจจะไม่ใช่ปัญหาหลัก เราเองก็สามารถสร้างเซฟโซนให้ตัวเองได้ การปล่อยวางจากครอบครัวอาจจะทำให้เกิด Safe Zone สังคมใหม่ๆ กับเราได้

 

คนแปลกหน้าเป็น Safe Zone ได้ไหม

อาจเป็นไปได้แต่เป็นความรู้สึกชั่วคราว เซฟโซน มีระดับความสำคัญ แม้ว่าเราจะสร้างเซฟโซนเกราะป้องกันทางความรู้สึกก็อาจจะไม่สามารถช่วยเราได้ทั้งหมด

 

เนื่องจากสังคม สภาพแวดล้อม หรือปัจจัยต่างๆ สามารถทำให้ความรู้สึกเปลี่ยนไปได้

 

สังคม หรือ โซเชียลมีเดีย เป็น Safe Zone ได้จริงไหม?

สามารถเป็นได้แต่ไม่ทั้งหมด เนื่องจากสังคมโซเชียลมีเดีย มีทั้งคําวิพากษ์วิจารณ์ ไม่มีความเป็นส่วนตัว แม้ว่าเราจะสร้างตัวตนกี่ครั้ง ก็ยังคงเป็นพื้นที่สาธารณะ ที่ทุกคนสามารถตัดสินได้

 

Safe Zone ข้างเดียว คิดว่าเขาเป็น Safe Zone แต่เขาไม่ได้คิดเหมือนกันกับเรา..

ลองทบทวนความสัมพันธ์ระหว่างเรากับเขาก่อน เรามองว่าเขาเป็นเซฟโซน เพราะอะไร การเป็นเซฟโซนต่างต้องมีจุดกึ่งกลาง สิ่งที่เขาทำกับสิ่งที่เราได้รับอาจจะรู้สึกต่างกัน ทำให้คิดต่างกันได้

 

พื้นที่ส่วนตัว เหมือนกับ Safe Zone ไหม 

ไม่เหมือนกัน เพราะพื้นที่ส่วนตัวคือพื้นที่ที่เราอยู่กับตัวเอง มีมุมของเรา แต่อาจจะไม่ใช่จุดที่เราสบายใจก็ได้ Safe Zone คือพื้นที่ปลอดภัย อาจจะไม่ใช่สถานที่ แต่อยู่แล้วสบายใจ

 

Safe Zone อาจจะไม่ต้องมีความเป็นส่วนตัว เพราะต่างก็เป็นความสัมพันธ์ระหว่างเรากับบุคคลหนึ่งหรือสถานที่หนึ่ง และต้องมีคนอื่นเข้ามาอยู่ใน Safe Zone เราเสมอ แต่เราก็มีเซฟโซนเป็นพื้นที่ส่วนตัวได้เช่นกัน

 

หากไม่มี Safe Zone ทำอย่างไรดี ?

ลองเป็น Safe Zone ให้ตัวเองก่อน ความปลอดภัยเกิดได้จากตัวเราเองเช่นกัน หากเราชัดเจนกับตัวเอง เป็นตัวของตัวเองจะทำให้เรารู้สึกมั่นคงเข้มแข็งได้

 

การเริ่มจากตัวเราก่อนจะทำให้เราแยกความสัมพันธ์ได้ว่าความสัมพันธ์ไหน Toxic ความสัมพันธ์ไหน Healthy สามารถทำให้เราคัดคนที่เราเลือกที่จะเข้าหาได้

 

เพราะ Safe Zone อาจจะไม่ใช่แค่บุคคลแค่บุคคลเดียว แต่แบ่งแย่งตามความรู้สึกของเราเอง อาจจะไม่ใช่เซฟโซนมากที่สุด แต่ก็ทำให้เราผ่อนคลายได้เมื่ออยู่กับเขาหรือสถานที่นั้น

 

เรามักจะไม่ได้ ใช้ชีวิต ตามที่ตัวเองต้องการ แต่เรามักจะใช้ชีวิตตามที่คนอื่นต้องการ เวลาที่เราไม่ได้ใช้ชีวิตตามที่ตัวเองต้องการมันเป็นธรรมชาติมาก ๆ ที่เราจะเกิดความรู้สึกอึดอัด

 

แต่โดยธรรมชาติแล้วคนเราจะใช้ชีวิตไปตามคุณค่าสังคมรอบข้างที่ตีกรอบไว้ให้เสมอเลย…

 

โดยธรรมชาติแล้วนั้น คนเราก็มักจะดำเนินชีวิตไปตามคุณค่าของสิ่งที่อยู่รอบตัวเราเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการถูกตีกรอบจากครอบครัว สภาพแวดล้อมรอบข้างหรือว่ากฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่อยู่ในสังคมใหญ่ของเราเองก็ตาม 

 

บางครั้งสิ่งเเหล่านี้ก็สร้างภาวะความกดดันรู้สึกอึดอัดอยู่ในจิตใจของเราได้มากเลยทีเดียว 

 

อยาก ใช้ชีวิต ของตัวเอง

ในช่วงวัยเด็กของเรา การที่เราอยากเป็นตัวของตัวเอง เหมือนกับที่เราอยากทำอะไรแบบที่เราต้องการ เป็นอย่างที่เราอยากจะเป็น ไปเที่ยว หรือว่าอะไรก็ตาม อย่างที่เราต้องการ มันคงเป็นเรื่องที่ง่ายมาก ๆ 

 

เมื่อวันหนึ่งที่เราจะต้องมาใช้ชีวิตในวัยผู้ใหญ่ แน่นอนว่าเราจะต้องคำนึงถึง สิ่งต่าง ๆ รอบตัวให้มากขึ้น เพราะในวัยเด็กของเราอาจจะไม่ได้คิดหรือว่ามองเห็นว่าใครยอมรับเราหรือเปล่า

 

หรือว่ามีใครที่สามารถเข้าใจในตัวของเราไหม หรือว่ารักเราในแบบที่เราเป็นจริง ๆ แบบนั้นได้หรือเปล่า 

 

การโตเป็นผู้ใหญ่ มีอะไรมากกว่าที่คิดในด้านการ ใช้ชีวิต

เมื่อเราโตขึ้นมา สิ่งเหล่านั้นจะถูกเข้ามาตีกรอบและครอบงำของตัวเราเอง ทำให้หลาย ๆ ครั้ง เราก็ต้องทำตามความต้องการของคนอื่นอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน 

 

โดยทั่วไปมักจะเห็นอีกสิ่งหนึ่งหรือที่มักจะต้องทำตามความต้องการของคนอื่น ที่เราไม่สามารถทำตามความต้องการของตัวเราเองได้ นั่นก็คือการเลือก อาทิเช่น 

เพราะเขาอาจจะมอบสิ่งเหล่านั้นให้เราเพียงเพราะว่ารู้สึกว่ามันคือสิ่งที่ดีที่สุด หรือเป็นสิ่งที่เขาเลือกให้กับเราและมันอาจจะเป็นสิ่งที่ดีกับเราเอง 

 

แต่ในขณะเดียวกัน เราอาจจะไม่ได้รู้สึกว่ามันดีกับเราอย่างไร เราจึงเกิดความคิดเห็นที่มันขัดแย้งกับความต้องการของคนอื่นที่ไม่ได้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน

 

ครอบครัวคือเป้าหมาย หรือว่าแรงกดดันที่มีชีวิต…

ถ้าพูดถึงจุดนี้เรามักจะนึกถึงสังคมในครอบครัวเป็นหลัก เพราะบางทีครอบครัวก็เป็นอีกฐานหนึ่งที่ทำให้เรารู้สึกว่า เราจะต้องรู้สึกผิดกับสิ่งที่เราไม่ได้ทำอย่างที่เขาต้องการ เราจะต้องผิดหวังในตัวเอง 

 

ถ้าเราไม่สามารถทำอย่างที่ครอบครัวคาดหวังกับเราได้ ซึ่งหลาย ๆ ครั้งมันทำให้เรากดดันตัวเอง หรือว่าผลักดันตัวเองไปในทิศทางที่คนอื่นต้องการ

 

แต่ในขณะเดียวกัน เราก็สามารถรับรู้ได้ว่าความคาดหวังมันคืออะไร แต่ถ้าทำให้ได้เช่นนั้นมันก็เป็นเรื่องที่ยากเช่นกัน  ทำเพื่อลดแรงจากภายนอก แต่มากดดันภายในตัวเอง 

 

เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงความรู้สึกผิด หรือแม้กระทั่งความรู้สึกที่เราผิดหวังในตัวเอง จากการที่เราทำตามความคาดหวังของคนอื่นไม่ได้ ทำให้ความต้องการของคนอื่นหรือว่าครอบครัวหรือเป็นอย่างที่คนอื่นอยากให้เป็น 

 

การกระทำที่เรามักจะเลือกทำเพื่อเลี่ยงหรือว่าลดแรงกดดันจากรอบข้าง และเพื่อความสบายใจของตัวเอง และไม่รับแรงกดดันจากรอบข้างที่มันมากเกินไปด้วย 

 

คนรอบข้างคาดหวังในตัวเราให้ ใช้ชีวิต ตามที่เขาต้องการ

ความขัดแย้งในใจ มันมักจะมาจากการที่ตัวเราเองคาดหวังในแบบหนึ่งแต่ในขณะเดียวกัน สภาพแวดล้อมหรือคนรอบตัวเรา เค้าคาดหวังกับเราในอีกรูปแบบหนึ่ง

 

ทำให้เกิดเป็นความขัดแย้งในใจได้ และจะตามมาด้วยความรู้สึกอึดอัด หรือว่าคับข้องใจ หรือกับบางคนเกิดเป็นความรู้สึกสับสนในตัวเองด้วยซ้ำ

 

เมื่อเราไม่ได้เป็นตัวเอง และเป็นแบบที่คนอื่นอยากให้เราเป็นอยู่ตลอดเวลา บางครั้งตัวเราเองก็จะรู้สึกเหนื่อยที่จะทำ ไม่มีแรงจูงใจที่จะเป็นในอย่างที่เขาอยากให้เป็น 

 

กับบางคนหรือว่าบางครอบครัวทำให้เกิดปัญหาทะเลาะเบาะแว้ง ทำให้ไม่สามารถอยู่ด้วยกันได้ แต่ยังยอมทำตามเพราะยังรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่จะต้องทำ เพื่อลดความรู้สึกผิดบางอย่างในใจ

 

สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่มักจะถูกปลูกฝังมาและเป็นความเชื่ออย่างหนึ่งว่า ครอบครัวเป็นสิ่งที่เราจะต้องทำตามทำให้เราคิดว่านั่นคือสิ่งที่ดีที่สุด ที่เค้าสามารถเลือกให้เราได้

 

แต่ความจริงนั้นเราควรจะสามารถเลือกได้ด้วยตัวเองว่าเราต้องการให้ตัวเองเป็นอย่างไร ตัดสินใจและเลือกทางที่ดีที่สุดให้กับตัวเองได้ 

 

หลาย ๆ คนอาจจะรู้สึกเหมือนกับว่าเราไม่ได้ใช้ชีวิตอย่างที่เราอยากจะใช้หรือว่า ได้เป็นอย่างที่เราอยากจะเป็น แต่ในขณะเดียวกันเราต้องทำตามความต้องการของคนอื่น เป็นอย่างที่คนอื่นอยากให้เป็นอยู่ตลอดเวลา 

 

ถ้าเรามีคำถามเหล่านี้กับตัวเอง ลองสังเกตุตัวเองว่าสิ่งที่เราทำจนเกิดคำถามกับตัวเอง มาจากที่เราทำจนชินแล้วติดเป็นนิสัยของตัวเองหรือเปล่า

 

เป็นเพราะเราเองต้องทำ เป็นสิ่งที่เราอยากจะทำ หรือว่าเป็นสิ่งที่เราทำเพื่อลดความรู้สึกผิดในตัวเราเองหรือเปล่า 

 

การที่เรามีคำถามเหล่านี้กับตัวเอง หรือถามตัวเองสักครั้งกับคำถามเหล่านี้ มันอาจจะเป็นสิ่งที่ทำให้เราเข้าใจความรู้สึกของเราเองได้มากขึ้น หลังจากที่เราได้คำตอบจากการแสดงออกของเราเองแล้ว 

 

บางครั้งมันทำให้เราเข้าใจตัวเองมากขึ้นว่าเราทำไปเพราะมันเป็นนิสัยของเรา หรือเพียงเพราะว่าเราต้องการการยอมรับจากคนรอบข้างหรือครอบครัวของเราเองหรือเปล่า  

 

แต่ถ้าเมื่อใดก็ตาม ที่เราไม่เคยตั้งคำถามกับสิ่งที่ตัวเองทำเลยนั้น เราจะไม่มีทางได้คำตอบเพื่อทำให้ชีวิตของเรานั้น มีความสุขได้มากยิ่งขึ้น 

 

เมื่อเราทราบว่าอะไรคือความรู้สึกของเราจริง ๆ มันทำให้เราสามารถจัดการกับตัวเองและจัดการกับความรู้สึกขัดแย้งในตัวเองได้ 

 

ยิ่งกว่านั้นหากเราไม่รู้สึกสับสนในตัวเอง หรือว่าขัดแย้งในตัวเอง ไม่ได้เป็นอย่างที่เราอยากจะเป็น แต่ในขณะเดียวกันเราก็ยังคงทำตามความต้องการของคนอื่นได้

 

ก็สามารถลดความขัดแย้ง หรือว่าความรู้สึกแย่ รวมไปถึงไม่ต้องมารู้สึกผิดกับการเป็นตัวของตัวเองด้วยเช่นกัน 

ไม่ว่าใครก็อยากทำงานอย่างมีความสุขใช่ไหมคะ? ทั้งบรรยากาศการทำงาน งานที่เราทำ เพื่อนร่วมงานก็ส่งผลให้เรามี ความสุขในการทำงาน ยิ่งเราเอนจอยกับการทำงานมากเท่าไหร่

 

ก็ยิ่งทำให้เรามีแรงจูงใจ ไม่มีความรู้สึกเบื่อหน่าย ไม่หมดไฟกับการทำงาน แต่ว่าการทำงานก็เหมือนการเดินทางในรูปแบบหนึ่งที่ไม่ได้ทำให้เรามีความสุขและราบรื่นเสมอไป วันนี้เราก็จะมาพูดถึงการทำงานให้มีความสุข

อยากมี ความสุขในการทำงาน ทำได้อย่างไร?

ความสุขในความทำงาน คือ ความสุขที่เกิดขึ้นจากการทำงาน มีความพึงพอใจในการทำงาน งานที่ทำให้ไม่เกิดความเครียดมากจนเกินไป เป็นงานที่เราอยากจะตื่นขึ้นมาทำงานทุกวัน

 

อาจจะเป็นความท้าทายในการทำงานแต่ละวัน ได้รับอะไรจากการทำงานบ้าง ความสุขในการทำงานอาจจะมีหลายนิยามขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล

 

 

ความสุขในการทำงาน มาจากอะไรได้บ้าง

  1. ผลตอบแทนที่เหมาะสมต่อเวลาและสุขภาพร่างกายที่เราเสียสละไป 
  2. สถานที่ทำงานมีความปลอดภัย มีอุปกรณ์ที่สะดวกสามารถทำงานให้ราบรื่น
  3. การฝึกฝนพัฒนาความรู้พนักงานในองค์กร มีการอบรมช่วยอัพสกิลพนักงาน
  4. ความก้าวหน้า ปรับตำแหน่ง การเพิ่มผลตอบแทนในตำแหน่งที่สูงขึ้น
  5. ความสัมพันธ์ที่ดีภายในองค์กร หากมีความสัมพันธ์ที่ดีก็ส่งผลต่อการมาทำงาน
  6. องค์กรมีความยุติธรรม มีความเท่าเทียมกันในองค์กร 
  7. เวลาการทำงานที่พอดีกับชีวิต Work-Life Balance 

 

สิ่งที่สำคัญเลยคือ Work-Life Balance เราต้องมีความสมดุลในการทำงาน พักผ่อนเพียงพอ ไม่ทุ่มเทกับงานจนเสียเวลาชีวิตมากเกินไป หากขาดสมดุลในการทำงานก็มีผลต่อความสุขในการทำงานได้

 

ความสุขในการทำงาน สำคัญไหม?

ความสุขในการทำงานสำคัญกับองค์กรมาก เป็นตัวกลางของการทำให้ผูกพันระหว่างองค์กรและพนักงาน องค์กรจะขับเคลื่อนให้เติบโตได้ก็ขึ้นอยู่กับความสุขของพนักงาน

 

หากพนักงานมีความสุขก็สามารถดึงประสิทธิภาพในการทำงานออกมาได้ดี ส่งผลต่องานและการทำงานได้อย่างเต็มที่ ความสุขของการทำงานก็สามารถลดอัตราการลาออกได้ 

 

หากพนักงานไม่มีความสุขก็ทำให้เกิดการลาออกได้บ่อย อาจจะเป็นความท้าทายขององค์กรว่าทำอย่างไรที่จะไม่ให้สูญเสียพนักงานที่ดีไป หรือเรียกว่า “ภาวะสมองไหล”

 

*ภาวะสมองไหลในการทำงาน คือ การที่เราสูญเสียคนเก่ง ๆ ไปให้กับบริษัทอื่น

 

 

ความสุขในการทำงาน ส่งผลต่อพนักงานอย่างไร?

หากพนักงานมีความสุขก็จะส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์

ความสุขจะทำให้ผลงานออกมาดีได้มากขึ้น พนักงานที่มีความสุขสามารถทำงานได้ดีกว่าพนักงานที่ไม่มีความสุขหลายเท่า

 

ในส่วนนี้องค์กรจึงควรให้ความสำคัญต่อความสุขของพนักงานเพราะทำให้ลดความเสี่ยงต่อการลาออกจากองค์กรได้

 

แนวทางการสร้าง ความสุขในการทำงาน คือใช้หลักการ Happy Workplace

  1. Happy Body ส่งเสริมด้านสุขภาพกาย
  2. Happy Heart ส่งเสริมการเกื้อกูล มีกิจกรรมให้พนักงานได้อยู่ร่วมกัน
  3. Happy Relax ส่งเสริมความผ่อนคลาย มีมุมให้พนักงานได้พักผ่อนคลายสมองและร่างกาย
  4. Happy Brain ส่งเสริมความรู้ความสามารถ พัฒนาความรู้พนักงาน
  5. Happy Soul ส่งเสริมการมีศีลธรรม ให้พื้นที่แต่ละศาสนา เคารพพื้นที่ของทุกคน
  6. Happy Money ส่งเสริมการจัดการรายรับ รายจ่าย จัดการผลตอบแทนให้พอดีและเหมาะสมกับแต่ละบุคคล
  7. Happy Family ส่งเสริมให้พนักงานมีเวลาอยู่กับครอบครัว
  8. Happy Society ส่งเสริมสังคมดี มีสังคมในการทำงานที่ดี

หากองค์ใส่ใจการทำงานและใส่ใจสุขภาพจิตของพนักงานก็จะเป็นผลดีต่อองค์กรมากที่สุด

 

องค์กรควรปรับตัวอย่างไรให้พนักงานมี ความสุขในการทำงาน

  1. การเสนอนโยบายองค์กรให้มีงานทำงานแบบ Hybrid ได้ เพื่อความสะดวกของพนักงาน สามารถทำงานแบบออนไลน์ เพื่อการปรับตัวสู่ยุคดิจิทัล
  2. ส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะใหม่และคอร์สเรียนใหม่ ๆ มาพัฒนาศักยภาพพนักงานอยู่เสมอ  เพื่อต่อยอดการทำงานอื่น ๆ ได้ 
  3. การสร้างสรรค์สวัสดิการใหม่ ๆ เพื่อปรับเปลี่ยนให้เข้ากับความต้องการของพนักงานในยุคสมัยใหม่ เช่น มี Workshops ให้พนักงานได้เลือกในสิ่งที่ตนเองสนใจ 
  4. สรรหาหรือเสนอนโยบายให้ผู้บริหารนำแอปพลิเคชัน Platform หรือซอฟต์แวร์เข้ามาช่วยพนักงานในการทำงาน 
  5. HR ต้องสร้าง Engagement ให้พนักงานทุกคนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมขององค์กร จัดกิจกรรมให้พนักงานได้ผ่อนคลายบ้าง 

 

การหากเราเริ่มรู้สึกว่าไม่มีความสุขกับการทำงานเลย อาจจะลองกลับมาทบทวนกับตัวเองก่อนว่าความรู้สึกที่เกิดขึ้น เกิดจากตัวเราหรือสภาพแวดล้อม

 

ค่อย ๆ หาคำตอบและทางออกให้กับตัวเองได้ว่าเรามีความสุขหรือเปล่ากับการทำงานนี้ อาจจะเป็นบันไดไปสู่การมองเห็นความสุขในความทำงานได้นะคะ:)

 

 

“หากพนักงานมีความสุขก็จะส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์”

เวลาที่เราเจอเรื่องร้ายๆหรือผ่านเหตุการณ์สะเทือนใจมา เป็นเรื่องธรรมดาที่เราจะเกิดความกลัวและขวัญเสียในช่วงเวลานั้นๆ หรือนึกถึงภาพเหตุการณ์นั้นบ่อยๆ แต่ถ้ามันเกิดอาการแบบนี้กับตัวเรามากขึ้นหรือนานเกินไปอาจจะไม่ได้ส่งผลดี และอาจจะนำไปสู่ภาวะ PTSD

ธรรมชาติของมนุษย์เรา เมื่อเจอกับเหตุการณ์เลวร้าย จะมีปฏิกิริยาตอบโต้ด้วยความรู้สึกเศร้า เสียใจ เป็นความรู้สึกปกติที่เกิดขึ้นได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งสามารถแยกออกเป็น 2 แบบคือ การก้าวผ่านมันไปได้ กับ ไม่สามารถก้าวผ่านมันไปได้

 

วันนี้จะมาทำความรู้จักกันใน 2 เรื่องคือ PTSD (Post – Traumatic Stress Disorder) และ PTG (Post – Traumatic Growth)

 

PTSD (Post-traumatic Stress Disorder)

สารบัญ

คือ ความเครียดหลังจากเจอเหตุการณ์ที่สะเทือนใจ

 

Trauma VS PTSD

Trauma = บาดแผล ในเชิงจิตวิทยา Trauma นี้หมายถึง ความรู้สึกตกใจหรือสั่นสะเทือนขวัญที่ส่งผลต่อจิตใจเป็นระยะเวลานาน

 

Post-traumatic Stress Disorder = บาดแผลในใจเรื้อรัง จะเกิดขึ้นเมื่อเจอกับเหตุการณ์รุนแรงที่ส่งกระทบต่อชีวิตหรือก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บอย่างรุนแรงหรือเกิดจากความกดดันที่รุนแรง อาการเด่นๆคือ

1.ความกลัว (Fear)

2.ความรู้สึกหมดหวัง (Helplessness)

3.ความหวาดกลัว (Horor)

 

ซึ่งในช่วง 3 เดือนแรกจะเรียกว่า Trauma

หลังจากนั้นจะเรียกว่า PTSD 

 

 

PTSD มี 2 รูปแบบ

รูปแบบที่ 1 เรียกว่า Single Truama

คือ การเผชิญกับเหตุการณหนึ่งเหตุการณที่มีความรุนแรงเป็นอย่างมาก ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยไม่ทันได้ตั้งตัว

 

จนอาจทําให้เกิดการบาดเจ็บสาหัสหรือรุนแรงอันตรายถึงชีวิต ทําให้เกิดความสะเทือนใจ ความหวาดกลัว

 

รูปแบบที่ 2 เรียกว่า Complex Trauma

คือ การเผชิญกับเหตุการณ์ที่มีความรุนแรงหลายเหตุการณที่มีความรุนแรงอันตรายถึงชีวิต หรือทําให้เกิดความสะเทือนใจแบบตอเนื่องเกิดขึ้นซํ้าๆ ยาวนานหลายปี

 

อาการทั่วไปของ PTSD

1.เห็นภาพเหตุการณ์

อาการที่สำคัญที่สุดและน่ากลัวที่สุดของโรคนี้ คือ การเห็นภาพเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบความฝัน หรือ เจอสิ่งกระตุ้นที่ทำให้นึกถึงเหตุการณ์นั้นซ้ำแล้วซ้ำแล้ว 

 

2.พยายามหลบหนีจากสิ่งกระตุ้น

อาการอีกอาการหนึ่งก็คือ การพยายามหลบหลีก หนีจากสิ่งที่กระตุ้นหรือทำให้นึกถึงเหตุการณ์ที่สะเทือนใจ เช่น คนที่ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ พวกเขาไม่อยากที่จะนั่งรถยนต์อีกต่อไป

 

3.วิตกกังวล

อาการทางจิตทั่วไปที่เกิดขึ้น  อาการวิตกกังวล หวาดระแวงตลอดเวลา อาการนอนไม่หลับ ตื่นตัวตลอดเวลา เกิดความเครียดง่ายขึ้นกว่าปกติ รู้สึกหวาดกลัว   สิ้นหวัง หรือบางครั้งก็มีอาการโกรธผู้คนเนื่องจากไม่มีใครช่วยเหลือพวกเขาในเหตุการณ์สะเทือนใจเหล่านั้น

 

4.อาการซึมเศร้า

อาการซึมเศร้าและโทษตัวเองซ้ำแล้วซ้ำอีก  รู้สึกไร้ค่า วิตกกังวล หันไปพึ่งสิ่งเสพติดเพื่อช่วยจากอาการให้ไม่ต้องนึกถึงเหตุการณ์ที่สะเทือนใจ ทำให้บางคนกลายเป็นผู้เสพติดสิ่งเหล่านั้น จนกระทั่งมีการทำร้ายตนเอง และ พยายามฆ่าตัวตาย

 

 

สาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดหลังเจอเหตุการณ์สะเทือนใจ

อาการ PTSD (Post-traumatic Stress Disorder) เกิดขึ้นเนื่องจากเหตุการณ์ที่รุนแรง รวมทั้งมีการเชื่อมโยงเหตุการณ์กับสิ่งที่เตือนให้นึกถึง เช่น ภาพ กลิ่น เสียง ที่ส่งผลต่อจิตใจและความรู้สึกของเรา

 

เมื่อพบสิ่งเหล่านั้นก็จะมีอาการหวาดกลัวราวกับเผชิญเหตุการณ์จริงในขณะนั้น 

 

ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ได้สูงกว่าคนไทยในพื้นที่อื่น ๆ เนื่องจากเหตุการณ์ไม่สงบในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2547 จนถึงเดือนธันวาคม 2560

 

มีรายงานเหตุการณ์ความไม่สงบทั้งหมด 19,622 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 6,703 ราย และบาดเจ็บกวา 13,247 ราย จากการศึกษาร้อยละ 14 ของนักเรียนโรงเรียนแห่งหนึ่งในอําเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

 

มีอาการของโรคเครียดจากการเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ ร้อยละ 87.5 เกิดอาการขึ้นภายหลังรับทราบ ข้อมูลการบาดเจ็บของครูในโรงเรียน

 

 

ประสบการณ์เชิงลบสามารถกระตุ้นให้เราซาบซึ้งกับชีวิตได้มากขึ้น

จุดมุ่งหมายของการใช้ชีวิตต่อไปหลังจากเรื่องที่ร้ายแรง ไม่ได้เป็นเพียงใช้ชีวิตเพื่อคนอื่นแต่รวมถึงการอยู่เพื่อตัวเราเอง อยู่กับปัจจุบันทุก ๆ วันที่เราใช้ชีวิต

ซึ่งการที่เราจมอยู่กับความทุกข์ ความเศร้า มันก็ส่งผลดีกับเราเหมือนกันตรงที่      “เรามีความตระหนักถึงความซาบซึ้งในชีวิต” มากกว่าการอยู่กับความสุข ซึ่งเมื่อเราผ่านมันมาได้

 

ทุกคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า เหมือนเกิดใหม่เลย แน่นอนว่ามันจะเป็นความรู้สึกเหมือนเราได้รับพลัง หรือเหมือนเกิดใหม่จริง ๆ เลย

 

 

ความงอกงามหลังเจอเหตุการณ์สะเทือนใจ

Post-Traumatic Growth คือ การเปลี่ยนแปลงทางจิตวิทยาเชิงบวก เป็นสภาวะที่มีความสัมพันธ์กับ PTSD

 

PTG (Post-Traumatic Growth) เป็นผลลัพธ์จากการเผชิญภาวะวิกฤตที่สำคัญในชีวิต หรือการผ่านประสบการณ์ที่เจ็บปวด สภาวะจิตใจเป็นในทิศทางที่ดีขึ้น งอกงามขึ้น จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นผ่านเหตุการณ์ที่เลวร้ายมาได้  

 

ความงอกงามนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ทั่วไป แต่ต้องเป็นเหตุการณ์ที่ร้ายแรงอย่างมาก (Trauma)  เป็นวิกฤต (Crisis) หรือเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดอย่างสูงต่อจิตใจ (Highli stressful events)

 

ความงอกงามสามารถแสดงออกได้หลายรูปแบบ เช่น การรู้ซึ้งในคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ การมีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลที่มีความหมายมากขึ้น การรับรู้ถึงพลังและความสามารถของตนเอง 

 

ความงอกงามจะไม่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเมื่อเวลาผ่านไป อาจต้องมีปัจจัยบางอย่างที่ส่งผลให้เกิดภาวะนี้ขึ้น เช่น การมีวิธีการจัดการกับปัญหาที่มีประสิทธิภาพ หรือการได้รับความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง

 

ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ การร้องไห้และปล่อยให้ตัวเองเสียใจ

 

 

ความงอกงาม 5 ด้าน

Tedeschi & Calhoun ได้สร้างและพัฒนาแบบวัดความงอกงามทางจิตใจ  Post-Traumatic Growth Inventory (PTGI) เขาได้แบ่งความงอกงามที่เกิดขึ้นเป็น 5 ด้าน

1.การมองชีวิตอย่างมีความหมายมากขึ้น

2.การมีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลที่มีความหมายมากขึ้น

3.ตระหนักถึงความเข้มเเข็งที่ตัวเองมี

4.ตระหนักว่าตัวเองยังมีเรื่องที่ทำได้ เป็นไปได้ ซึ่งจะส่งผลต่อความมั่นใจและการรับรู้คุณค่าในตัวเอง

5.ความงอกงามจะมีระดับที่สูงขึ้น การมองหาความหมายในชีวิตจะมีความละเอียดมากขึ้น มีการชื่นชมความงดงามของชีวิต

 

แต่ความงอกงามจะเกิดขึ้นได้ต้องมาจากหลายปัจจัยและต้องใช้เวลา จะไม่ได้เกิดขึ้นทันที่ที่ประสบกับเหตุการณ์นั้น

1.ปัจจัยภายใน

ตัวบุคคลนั้นมีบุคลิกภาพบางอย่างและ Mind Set ที่มีต่อการจัดการอารมณ์ การบอกเล่าหรือระบายความรู้สึกข้างในออกไป การปล่อยให้ตัวเองร้องให้เสียใจ เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ช่วยเรื่องความงอกงามด้วย

2.ปัจจัยภายนอก

บุคคลที่อยู่เคียงข้างต้องเปิดโอกาสให้เขาได้ระบายความในใจ เป็นตัวอย่างในการทำให้ชีวิตดีขึ้น เช่น  มองหาจุดมุ่งหมายในชีวิตใหม่ มองหาวิธีแก้ปัญหาหรือทางออก

เมื่อคนนึงเจอกับเหตุการณ์ที่เลวร้ายแล้วกระทบกระเทือนจิตใจเขาอย่างมาก อาจจะมองได้ว่าแต่ละคนมี การรับได้หรือว่ายอมรับเหตุการณ์ ของเรื่องนั้น ๆ ไม่เท่ากัน 

 

เพราะฉะนั้น เราก็ไม่สามารถไปตัดสินได้ว่า “เรื่องที่เขาเจอมันหนัก” หรือ “เรื่องแค่นี้เอง” ทุกคนมีเรื่องราวในชีวิตที่แตกต่างกัน การเติบโตมาที่แตกต่างกัน เราต้องรับฟังเขาอย่างไม่ตัดสิน

 

การที่เขาจะผ่านเรื่องราวเลวร้ายไปได้ ต้องมาจากทั้งตัวเองและคนรอบข้าง ซึ่งสำคัญมากเช่นกัน

 

ถ้าหากว่าเรามีคนใกล้ตัวที่มีอาการใกล้เคียงหรือว่าเขาอยากจะเล่าอะไรบางอย่างให้เราฟัง ถ้าเราทำได้ พยายามไม่กดดันให้เขาเล่าให้เราฟังแบบไว ๆ หรือว่าเร่งรีบจนเกินไป และไม่คาดเดาเรื่องราวของเขา หรือว่าไม่ตัดสินสิ่งที่คน ๆ นั้นเล่าออกมา 

 

“จงทำหน้าที่เป็นผู้รับฟังที่ดีเพื่อให้ความรู้สึกของเขางอกงามและสดใสขึ้นอีกครั้ง

 

 

ที่มา:

https://psychcentral.com/health/post-traumatic-growth#how-to-get-it

 

file:///C:/Users/Admin/Downloads/DigitalFile%231.pdf (วิทยานิพนธ์ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

 

https://www.doctorraksa.com/th-TH/blog/posttraumatic-stress-disorder.html

 

เคยไหมที่ ” ไม่มั่นใจในรูปร่างตัวเอง ” ไม่ค่อยชอบตัวเอง เปรียบเทียบรูปร่างของตัวเองกับคนอื่น จนทำให้รู้สึกแย่.. เรากำลังแคร์สายตาคนอื่นมากเกินไปจนกระทบต่อสุขภาพจิตอยู่หรือเปล่า ?

 

 

Camila Cabello ดาราที่เผยว่าเคย ไม่มั่นใจในรูปร่างตัวเอง

สารบัญ

โพสต์จากเพจ MET 107 FM ได้แชร์เรื่องราวเกี่ยวกับนักร้องสาว Camila Cabello ที่เผยว่า เคยไม่มั่นใจในรูปร่างของตัวเองใน Instagram 

 

Camila บอกว่า ทุกครั้งที่ไป Beach Club จะต้องโดนถ่ายรูปเอาไปทำข่าวลง ทุกครั้งที่ใส่บิกินี่ Camila ไม่ได้สนใจว่าจะใส่แล้วจะออกมาเป็นอย่างไร

 

แต่พอเห็นรูปตัวเองและคอมเมนท์ในเชิงลบ กลับอดไม่ได้ที่จะรู้สึกแย่ ยิ่งไปกว่านั้น ถึงพยายามหนีแล้ว ปาปารัซซี่ยังมาแอบอยู่ตรงพุ่มไม้เพื่อถ่ายรูป

 

สาเหตุของการ ไม่มั่นใจในรูปร่างตัวเอง

1.การเปรียบเทียบ

การโฟกัสในสิ่งที่คนอื่นมีแต่ตัวเองไม่มี อาจทำให้ไม่พอใจในสิ่งที่ตัวเองเป็น

2. คำพูดคนรอบข้าง

การถูกล้อเลียนเกี่ยวกับรูปร่างหน้าตา อาจทำให้สูญเสียความมั่นใจในตัวเอง

3. วิวัฒนาการและค่านิยม

ตามวิวัฒนาการ ผู้หญิงที่ดูสุขภาพดีและเยาว์วัย จะดึงดูดเพศตรงข้ามได้มากกว่า ทำให้ผู้หญิงไม่มั่นใจในตัวเอง ถ้าไม่ได้มีลักษณะที่ดึงดูด

 

ผลกระทบของการ ไม่มั่นใจในรูปร่างตัวเอง

จากที่ Camila Cabello แชร์ในโพสต์ Instagram ของตัวเอง ผลกระทบจากการไม่มั่นใจในรูปร่างตัวเอง คือ

1. ส่งผลให้พยายามมากเกินไป 

เพราะไม่มั่นใจ ทำให้หลายคนเลือกที่จะแต่งภาพเกินความเป็นจริง จำกัดอาหารการกินของตัวเอง ออกกำลังกายหนักเกินไป 

2. ส่งผลเสียต่อสุขภาพจิต

Camila Cabello แชร์ความรู้สึกส่วนตัวว่า การพยายามทำให้ตัวเองดูดี แทนที่จะรู้สึกว่าชนะ สำเร็จ กลับรู้สึกเศร้าและว่างเปล่า

 

อยู่กับร่างกายตัวเองอย่างไรให้มีความสุข

วิธีของ Camila Cabello ที่ได้แชร์ไว้ในโพสต์ คือ

 1. ยอมรับว่าความไม่มั่นใจนี้เป็นไปตามวัย

อย่างที่ Camila บอกว่า “ฉันอยู่ในวัย 20 กว่าที่อยากดูดี ไม่ได้อยู่ในวัยที่จะไม่แคร์ไม่สนได้ขนาดนั้น” 

2. เลือกติดตาม

ฟัง Podcast เกี่ยวกับการกินเพื่อสุขภาพที่ถูกต้อง ติดตามผู้หญิงที่ยอมรับในจุดที่ไม่ Perfect ของร่างกาย 

3. เตือนสติตัวเอง

พยายามเตือนตัวเองว่า นั่นเป็นสิ่งที่คนอื่นคิด ไม่ใช่ฉัน เพราะจริง ๆ แล้ว Camila เองไม่ได้กังวลเลยว่าใส่บิกินี่แล้วจะออกมาเป็นยังไง 

4. พยายามดึงความรู้สึกให้กลับมาเป็นเด็กอีกครั้ง

อย่างที่ Camila พยายามดึงความรู้สึกให้กลับมาเป็นเด็ก 7 ขวบที่กำลังเล่นอยู่บนหาดทรายอีกครั้ง ซึ่งอาจจะทำให้มีความสุขกับสิ่งรอบตัวได้ง่ายขึ้น

5. ตั้งคำถามกับตัวเอง

อย่างที่ Camila ถามว่า “แล้วอะไรคือคำว่า Healthy ถ้าเรายังต้องเคร่งกับร่างกายตัวเองจนสุขภาพจิตแย่ ไม่สามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้” , “ฉันจะต้องดูดีไปเพื่อใคร” , “ฉันดูดีในสายตาตัวเองแล้วหรือยัง”

 

วิธีจัดการตัวเองเบื้องต้นเมื่อ ไม่มั่นใจในรูปร่างตัวเอง

1. พักจากโซเชียลมีเดีย ลดการเปรียบเทียบ

2. แก้ไขและปกปิดส่วนที่ไม่มั่นใจ เช่น การแต่งตัวให้เหมาะกับรูปร่างตัวเอง

3. ยอมรับความแตกต่าง ทุกคนเป็นเหมือนงานศิลปะ ที่มีความงดงามในแบบของตัวเอง

 

รู้จักแนวคิด Body Neutrality และ Body Positivity เสริมความมั่นใจ

– Body Neutrality

คือ การรักและยอมรับในร่างกายของเราตามสภาพความเป็นจริง ไม่ต้องมองมันในเชิงบวกหรือลบ เช่น ถึงแม้ว่าจะไม่ได้โดดเด่น แต่มันคือร่างกายที่พาเราไปเที่ยว ไปทำอะไรสนุก ๆ

– Body Positivity

คือ การมองรูปร่างตัวเองในด้านบวก เพื่อหยุดการนำ ลกษณะภายนอกของตัวเองมาโยงกับคุณค่าของตัวเอง เพิ่มความมั่นใจและความเคารพในตัวเอง เช่น เรารักหุ่นตัวเองจัง เพราะมันสวยในแบบที่มันเป็น 

 

อ้างอิง

– https://www.verywellmind.com/body-positivity-vs-body-neutrality-5184565

 

Burnout Syndrome คือ อาการหมดไฟในการทำงาน หมดไฟกับการเรียน หมดไฟในการใช้ชีวิต เป็นความรู้สึกที่หมดกำลังใจ เมื่อเกิดความรู้สึกหมดไฟแล้วมันทำให้เราอยากหยุดทุกอย่าง

 

ไม่อยากทำอะไรเลย เหมือนกับการที่เราทำอะไรไปด้วยความหมดใจที่จะทำสิ่งนั้นเลย 

บางครั้งการบ่นก็เป็นสัญญาณของความรู้สึกหมดไฟ (Burnout Syndrome)

สารบัญ

เช่นประโยคที่ว่า เบื่อจังเลยไม่อยากตื่นมาทำงานเลย พรุ่งนี้วันจันทร์แล้วหรออยากให้หยุดเพิ่มจังเลย คำพูดเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณบางอย่างที่บ่งบอกว่าเรากำลังหมดไฟในการทำงานได้เช่นกัน

 

 

สภาวะหมดไฟ (Burnout Syndrome)

สภาวะหมดไฟหรือชื่อเรียกภาษาอังกฤษก็คือ Burnout syndrome  เป็นภาวะหมดไฟในการทำงานเกิดจากความเครียดเรื้อรังในสถานที่ทำงาน ควรได้รับการดูแลจากแพทย์เฉพาะทางก่อนจะรุนแรงและคุกคามการใช้ชีวิต 

 

 

สาเหตุของภาวะหมดไฟ ( Burnout Syndrome )

สาเหตุอาจเกิดจากความเครียดเรื้อรังในสถานที่ทำงานเป็นหลักและความเครียดเรื้อรังของแต่ละคนมีที่มาที่ไปที่แตกต่างกันได้ บางคนความเครียดเกิดขึ้นเพราะงานที่หนักเกินไป รู้สึกไร้ตัวตนในที่ทำงาน รู้สึกโดนเอาเปรียบจากเพื่อนร่วมงาน 

 

ผลตอบแทนที่ได้รับมาอาจจะไม่คุ้มค่ากับการพยายามและความทุ่มเทในการทำงาน หรือหัวหน้างานก็เป็นสาเหตุได้เช่นกัน แล้วตัวเรามีความรู้สึกเบื่อ เหนื่อยหน่ายกับงานหรือเริ่มเครียดกับงานหรือเปล่า ลองสังเกตตัวเองได้ว่าสาเหตุที่ทำให้เรารู้สึกแบบนั้นเกิดขึ้นเพราะอะไร

 

 

สัญญาณเตือนภาวะหมดไฟ (Burnout Syndrome)

  1. รู้สึกเหนื่อยล้า หมดพลังทั้งกายและใจ
  2. รู้สึกทางด้านลบกับงานในหน้าที่ที่เรากำลังทำ
  3. รู้สึกเฉยเมย เห็นอกเห็นใจกับผู้คนน้อยลงอย่างไม่สมเหตุสมผล
  4. รู้สึกหงุดหงิดกับเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือหงุดหงิดเพื่อนร่วมงาน
  5. รู้สึกไม่เข้าใจเพื่อนร่วมงาน หรือเพื่อนร่วมงานเริ่มไม่ชอบเรา
  6. รู้สึกเหมือนไม่มีใครที่จะพูดคุยด้วยได้
  7. รู้สึกว่าประสบความสำเร็จน้อยกว่าที่ควรจะเป็น
  8. รู้สึกเหมือนอยู่ภายใต้แรงกดดัน
  9. รู้สึกว่ายังไม่ได้สิ่งที่ตัวเองต้องการในการทำงาน
  10. รู้สึกว่าเลือกทำงานในองค์กรที่ผิดหรือเลือกอาชีพผิด

 

 

การทำแบบประเมินภาวะหมดไฟ

ทั้งหมดเป็นสัญญาณเตือนเบื้องต้น สามารถทำแบบทดสอบภาวะหมดไฟในการทำงานจากแอปพลิเคชั่น Alljit  ซึ่งในแบบทดสอบจะมีคำถามที่มากกว่านี้เพื่อให้เราทราบคะแนนว่ามีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน

 

ที่จะเข้าสู่ภาวะหมดไฟในการทำงานพร้อมกับให้คำแนะนำเราได้ ซึ่งผลคะแนนที่ได้มาเป็นผลการประเมินเบื้องต้นเท่านั้นที่อ้างอิงมาจากกรมสุขภาพจิต

 

 

ถ้าหากเราตกอยู่ในภาวะหมดไฟ (Burnout Syndrome) ทำอย่างไรได้บ้าง?

ในสภาวะสถานการณ์ปัจจุบันที่ส่งผลให้คนค่อนข้างหมดไฟ ทั้งสภาพแวดล้อมเศรษฐกิจ ความเหน็ดเหนื่อย การเสียสุขภาพจิตในการทำงาน ถ้าเราอยากจัดการความรู้สึกหมดไฟ 

 

1.ยอบรับความรู้สึกของตัวเองก่อน

บางคนก็ปฏิเสธกับตัวเองว่าไม่เป็นไร เดี๋ยวความรู้สึกนี้มันก็หายไป แต่ความรู้สึกจริง ๆ คือมันล้าไปหมดจนกระทบกับร่างกาย พักก็ไม่หาย ในส่วนนี้ตัวเราต้องเริ่มรู้ให้เท่าทันกับตัวเองแล้วว่าเราไม่ไหวแล้ว 

 

2.คุยกับหัวหน้า หรือเจ้านาย

ส่วนนี้อาจจะทำได้ยากมาก อาจจะขึ้นอยู่กับที่ทำงานและความสัมพันธ์ของเรากับเจ้านายของแต่ละคน เพราะภาวะหมดไฟมันเกิดจากการทำงาน หากจะคุยให้ชัดเจนที่สุด

 

คือบอกเล่าความรู้สึกเหนื่อยล้าให้เจ้านายฟัง และอาจจะบอกถึงสาเหตุที่ทำให้หมดไฟ และอยากพักให้กับเจ้านายได้รับรู้ หรือถ้าหากไม่สามารถบอกได้จริงๆ อาจจะลองปรึกษาใครสักคนในที่ทำงาน

 

ที่เรารู้สึกสนิทใจเหมือนเป็นการแลกเปลี่ยนแชร์ปัญหากัน เพราะการหมดไฟส่งผลให้งานของเรามีประสิทธิภาพที่ต่ำลง เนื่องด้วยมันล้าทั้งกายและใจถ้าเราระบายกับคนที่ร่วมงานเช่นเดียวกับเรา เขาอาจจะได้เข้าใจเราถึงการเปลี่ยนแปลงในการทำงานได้

 

3.หาเวลาพักผ่อนให้ตัวเอง

พักที่แปลว่าพักจริ งๆ พักหมายถึงเราต้องเลือกหยุดคิดเรื่องงาน ให้เวลกับตัวเองแบบไม่โฟกัสเรื่องงาน

 

4.เช็คความรู้สึกตัวเองว่า เราหมดไฟ หรือ หมดรัก กับงานที่ทำอยู่

เช็คความรู้สึกของตัวเองเกี่ยวกับงานประจำที่ทำอยู่ว่า เรากำลังหมดไฟ หรือ เรากำลังหมดความรักกับงานของเราแล้ว หากหมดไฟเรายังพอปรับตัวได้ แต่ถ้าเรามีความคิดเชิงลบ ไม่มีความรักกับงานที่ทำอันนี้คือยากที่จะปรับตัว

 

5.กำหนดขอบเขตงานของตัวเองให้ชัดเจน

ลองกำหนดขอบเขตงานของตัวเองให้ชัดเจน ว่าหน้าที่ของเราคืออะไร สาเหตุที่เรารู้สึกหมดไฟ เพราะเราอาจจะกำลังแบกหน้าที่งานของคนอื่นจนเกินตัวอยู่หรือเปล่า เขียนลิสต์งานของเราไว้เพื่อเตือนตัวเองว่าเราควรทำแค่ไหน

6.หยุดพักระหว่างวัน

ลองหยุดพักระหว่างวันบ้าง หากรู้สึกว่าไม่ไหวแล้ว ปล่อยให้ตัวเราได้หยุดพักบ้าง  อาจจะทำให้เรารู้สึกดีและมีแรงกลับมาสู้กับงานต่อ

 

7.หลีกเลี่ยงการทำงานนอกเวลาหรือคิดเรื่องงานนอกเวลา

 

 

Burnout Syndrome ต้องปรับที่ตัวเราเองคนเดียวหรือเปล่า

บางครั้งอาการหมดไฟการแก้ที่เราอาจจะไม่พอ ลองกลับมานั่งทบทวนกับตัวเองดูก่อน ว่าเป็นเพราะสภาพแวดล้อมที่ทำงานเราหรือเปล่า นั้นก็คือเพื่อนร่วมงานกับหัวหน้า

 

การที่เราทำงานถึงแม้จะทำคนเดียวแต่เราอยู่ร่วมกับคนอื่น ๆ ทำงานร่วมกับคนอื่น บางทีพวกเขาเป็นปัจจัยภายนอกที่ทำให้เราเหนื่อยและแก้ได้ยาก

 

ถ้าหากหัวหน้าและเพื่อนร่วมงานเขายินดีที่จะรับฟังเรา เราสามารถลองคุยกับเขาได้ แต่ถ้าเรากับเพื่อนร่วมงานและหัวหน้าไม่สามารถหาตรงกลางที่จะสามารถอยู่ร่วมกันได้

 

แล้วเรารู้สึกว่าไม่ไหวจริงๆ เหนื่อยล้า และเกิดความรู้สึกลบขึ้นทุกวันจนส่งผลกระทบกับสุขภาพจิต ในส่วนนี้การออกมาอาจจะเป็นทางเลือกที่ดี บางครั้งเราก็เลือกสุขภาพจิตใจของเราก่อนได้

 

 

หัวหน้า หรือเจ้านายองค์กรควรมี Empathy ความเข้าใจกันและกัน

บางครั้งการที่เรามีความเข้าใจ เห็นใจกันในองค์กรก็เป็นเรื่องที่สำคัญ เหมือนเป็นการป้องกันกับภาวะหมดไฟให้เราได้ รวมถึงทำให้เรารู้ได้ด้วยว่าเพื่อนร่วมงานทำงานหนักไปไหม

 

เกิดความเครียดที่จะนำไปสู่ภาวะหมดไฟหรือเปล่า และที่สำคัญคือหัวหน้างาน หากขาด empathy ไปก็อาจจะเสียลูกน้องไปได้เช่นกัน 

 

มีหลายคนที่เกิดภาวะหมดไฟจากหัวหน้างาน เพราะบางทีหัวหน้างานมองว่า พนักงานคนนี้เก่งจังลองเพิ่มงานชิ้นนี้ไปดูสิว่าเขาจะทำได้ไหม พอพนักงานคนนั้นทำได้ทำออกมาดี ก็เพิ่มให้เรื่อย ๆ

 

จนไม่ได้ใส่ใจพนักงานคนนั้นเลยว่าเขาจะจัดการเวลาทำงานได้หรือไม่ และงานส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตหรือกินเวลาชีวิตคนนั้นหรือเปล่า  ไม่ได้ฉุกคิดว่าเรากำลังสั่งงานมากเกินไป อาจจะทำให้พนักงานคนนั้นเกิดภาวะหมดไฟได้เช่นกัน 

 

ผลตอบแทนและสวัสดิการมีผลหรือไม่กับการหมดไฟ

มีผลวิจัยจาก Gallup พบว่า กว่า 71% ของคนรุ่นใหม่ไม่มีความสุขกับงาน และหากเจองานใหม่ โอกาสที่ดีกว่า เงินที่ดีกว่า ก็พร้อมจะลาออกเสมอ  ซึ่งผลตอบแทนส่งผลต่อการตัดสินใจได้สูงมากกับการเลือกทำงาน

 

ถ้าหากเราทำงานไป 100% แต่ผลตอบแทนไม่เพิ่มขึ้น แต่หน้าที่ที่ได้รับต้องทำมากขึ้น มันก็ทำให้เราหมดไฟและหมดใจได้ เพราะทุกๆ ผลงานที่เราทำไป เราตั้งใจ แลกมาด้วยเวลาและความคิดของเรา

 

 

ผลตอบแทนมีส่วนกับการตัดสินใจในการทำงานหรือเปล่า

ผลตอบแทนที่เราได้รับจากการทำงานนั้นมันมีส่วนมากๆ  ถ้าหากเราได้รับงานเพิ่ม มีหน้าที่เพิ่ม แต่ผลตอบแทนมันยังไม่ต่างจากเดิมก็ทำให้รู้สึกว่าที่เราทุ่มเทไป

 

ไม่มีประโยชน์เลย เพราะการที่เราเปลี่ยนตัวเอง พัฒนาตัวเอง เพื่อที่ทำงานก็เพื่อรายได้ที่มากขึ้น เพื่อเอามาดูแลครอบครัว หรือเพื่อมาเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินชีวิตที่ทุกวันนี้ค่าครองชีพมันสูงมากขึ้น

 

ถ้าหากเราพัฒนาแล้วองค์กรเติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่เรายังย่ำอยู่ที่เดิมมันก็จะทำให้เกิดเป็นภาวะหมดไฟได้

 

ไม่ว่าการทำงานหรือการเรียน ก็สามารถหมดไฟได้เช่นกัน ส่วนมากภาวะการหมดไฟมาจากภาระงานมันทับถมเรามา เลยทำให้รู้สึกว่าอยากเททุกอย่าง อยากทิ้งทุกอย่างอาจไม่ใช่แค่ความเหนื่อยกายแต่มันเหนื่อยใจ

 

การได้หยุดพัก การหยุดคิดเรื่องงาน เรื่องการเรียนบ้าง ก็ทำให้เราได้ผ่อนคลายขึ้น การออกกำลังกายก็ช่วยให้เราหยุดอยู่กับตัวเองกับสิ่งอื่นที่ไม่ใช่เรื่องงานก็ช่วยได้ เราทุ่มเทกับงานได้แต่ต้องไม่ลืมทุ่มเทให้ตัวเองเช่นกัน

โรคซึมเศร้า เป็นโรคที่ทุกคนมีโอกาสเป็นได้ โดยเฉพาะกับคนที่ต้องทำงาน หรือว่าใช้ชีวิตของตัวเองแบบที่ต้องสวมบทบาท หรือว่าอยู่ในคาแรกเตอร์ที่คนอื่นสร้างขึ้นมาให้เป็น คือ “บทบาทของนักแสดง กับ โรคซึมเศร้า”

มันเป็นเรื่องจริงที่ว่า “สุขภาพจิตใจไม่ควรเป็นเรื่องที่ถูกมองข้าม” แต่พอเป็นนักแสดงที่เป็นที่รู้จักของใครหลาย ๆ คน  บางครั้งกลับถูกมองข้ามและมีคำพูดนึงที่เห็นได้บ่อย คือ

 

“เมื่อคุณมายืนอยู่ตรงนี้ก็ต้องรับให้ได้กับทั้งคำวิพากษ์ คำวิจารณ์ การกร่นด่า การกลั่นแกล้ง (Bully) “

 

 

โรคซึมเศร้า

สารบัญ

โรคซึมเศร้า (Depressive Disorder) คือ โรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อย เกิดขึ้นจากความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง ที่ส่งผลกระทบทั้งร่างกายและจิตใจ

 

เช่น อารมณ์หรือว่าความรู้สึกเปลี่ยนไปอย่างมาก ซึมเศร้า รู้สึกไร้ค่า การกินการนอนเปลี่ยนไป เป็นต้น ซึ่งอาการที่เป็นจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตและเป็นในระยะเวลานาน

 

(ต้องมาจากการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น)

 

ถ้าหากเรามีอารมณ์เศร้าตามปกติ ความรู้สึกนั้นก็จะหายได้เมื่อปัจจัยที่มันกระตุ้นให้เรารู้สึกเศร้าหมดไป หรือเราสามารถจัดการควบุมได้ 

 

แต่ถ้าหากความเศร้าอยู่เป็นเวลานานกับเรา ไม่ได้รับการแก้ไข มีโอกาสก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย โดยจะทำให้เกิดการเสียสมดุลของสารเคมีในสมองอย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น 

 

เเต่เราจะไม่ได้เจาะจงว่านักแสดงมีความเสี่ยงแค่โรคซึมเศร้าอย่างเดียวเท่านั้น รวมถึงสภาวะสุขภาพจิตอื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น Panic กลัวสังคมหรือ Imposter Syndrome เช่นกัน 

 

ทำไม โรคซึมเศร้า กับ นักแสดง ถึงเชื่อมโยงกัน

1.ความคาดหวังและการถูกจับตามอง

จุดนี้มาจากทั้งตัวเขาเองและสังคมภายนอก เมื่อคนคนนึงเป็นคนของประชาชนแล้ว มักจะถูกตั้งความคาดหวัง ทั้งเรื่องของชีวิต ความคิด ความรู้สึก ชีวิตส่วนตัว ผลงาน 

 

ซึ่งนั่นทำให้คนที่ต้องแบกรับความกดดันนี้อาจจะเครียด เช่น นักร้องเกาหลีที่ค่ายจะสร้างคาแรกเตอร์แบบหนึ่งมาให้ เช่น เราต้องเป็นคนที่มีภาพลักษณ์เรียบร้อย นิ่ง ๆ

 

แต่ในความเป็นจริง นั่นอาจจะไม่ใช่ตัวตนของเรา มันจะทำให้เราเกิดความเครียด รู้สึกไม่เป็นตัวของตัวเอง 

 

ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อคนดูชินกับเราในเวอร์ชั่นนั้นที่ค่าสร้างมาให้เป็น ทำให้เกิดความคาดหวังขึ้นเมื่อเจอกับคำพูดหรือพฤติกรรมที่มันไม่เหมือนที่คนดูคิดไว้ ก็จะผิดหวัง

 

รวมถึงตัวนักแสดงเองก็ต้องกดดันตัวเอง ให้ประสบความสำเร็จ มีชื่อเสียง ได้รางวัล ซึ่งไม่ผิดเลย มันเกิดขึ้นได้ แต่ เมื่อพบเจอกับความผิดหวัง มันก็ยากที่จะให้ผ่านความรู้สึกเหล่านั้นไปได้เช่นกัน 

 

2.การสวมบทบาท

หลายครั้งที่เราจะเห็นว่านักแสดงที่ต้องเข้าถึงบทบาทของตัวละคร อาจจะเกิดมีปัญหาสุขภาพจิตตามมา เนื่องจากการแยกชีวิตจริงกับละครไม่ออก  

 

การเข้าถึงบทบาทมากเกินไปทำให้เกิดความเครียด ขอยกตัวอย่างเช่น   คุณเจมส์ ธีรดนย์ ที่ต้องรับบทเป็น “ “บู” เด็กมอปลายที่ตกอยู่ในสภาวะของโรคซึมเศร้า เขาบอกว่า การออกจากคาแรกเตอร์ต้องใช้เวลา 

 

บางครั้งการที่นักแสดงเล่นเป็นตัวละครตัวนึง ไม่ใช่แค่เล่นไปตามบทที่ให้มาหรือว่าพูดไปตามบทที่มี แต่ต้องเข้าใจถึงมุมมอง ท่าทาง ความคิด รวมถึงเรื่องราวเบื้องหลังของตัวละครด้วยเหมือนกัน 

 

3.คำวิพากษ์วิจารณ์

บางครั้งเราอาจจะมองว่าคำเหล่านั้นมันมีประโยชน์ในการใช้ชีวิตและ การทำงาน แต่เรามองว่ามันต่างกัน บางครั้งคำวิพากวิจารณ์ก็ไม่ชัดเจน ไม่สมเหตุสมผล ถ้าเราเสพคำวิพากวิจารณ์มาก็ไม่ได้ทำให้รู้สึกดี หรือว่าถูกต้องเสมอไป 

 

ในรายการ The chair ทำให้เราได้เข้าใจว่า การจะออกจากความคิดเห็นที่ไม่ดีได้ต้องใช้เวลา เพราะบางครั้งความเห็นที่ทำให้เรามีความสุขหรือว่ารู้สึกดี 100 คน ไม่เท่าคำวิจารณ์ 1 อันเช่นกัน 

 

เรื่องการเข้าถึงบทบาทของนักแสดงในบางคนอาจจะมีเป็นคนที่มีความอ่อนไหวง่ายพอเข้าถึงบทบาท มีความอินในตัวละครมากเกินไปทำให้ออกมายาก     จึงส่งผลให้เกิดอาการซึมเศร้า 

 

สิ่งสำคัญคือคำวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงลบค่อนข้างสร้างความเจ็บปวดให้กับคนอื่นมากๆ เพราะบางทีพวกเขาไม่ได้รับคำวิจารณ์เรื่องผลงาน แต่พวกเขาได้คำวิจารณ์ในเรื่องส่วนตัว

 

ซึ่งในจุดนี้พวกเขา ก็คือคนธรรมดาเช่นเดียวกับคนทุกคน แต่เขาเป็นเพียงแค่บุคคลสาธารณะชนที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย 

 

ช่วงนี้มีการไหลตามกันในโซเชียลอย่างที่เราเคยยกมาพูดด้วย ทำให้มีอะไรที่เกิดความเคลือบแคลงใจก็นำมาถกเถียง วิพากษ์วิจารณ์กันได้ง่ายมากขึ้น

 

 

นักแสดงขายความเป็นส่วนตัว

บุคคลสาธารณะไม่ได้ขายแค่ความสามารถ แต่เขาต้องยอมขายความเป็นส่วนตัว หรือจะพูดอีกนัยหนึ่ง  “คนเป็นนักแสดงจะไม่สามารถแสดงออกว่ารู้สึกแบบที่รู้สึกจริง ๆ ได้เหมือนคนทั่วไป เพราะด้วยคำพูดว่า เป็นคนของสาธารณะชน”

 

 

ทางจิตวิทยา ทำไม โรคซึมเศร้า กับ นักแสดงจึงเชื่อมโยงกัน

จากบทความของ Mychicagotherapist ชื่อบทความว่า “5 Reasons Actors Are Prone to Depression You Never Knew!” คนเขียนบทความนี้เป็นนักบำบัดที่ทำงานร่วมกับนักแสดงหลายคนในชิคาโก

 

เขาได้ให้เหตุผล 5 ข้อว่า “เพราะอะไรนักแสดงถึงตกอยู่ในสภาวะของโรคซึมเศร้า”

 

1.เพราะโลกแห่งการวิพากษ์วิจารณ์

เมื่อเป็นดาราคนดัง จะเหมือนการที่เราก้าวเข้าสู่โลกแห่งการวิพากวิจารณ์ ทั้งเรื่อง หน้าตา รูปร่าง เสียง การแสดง ชีวิตรัก ชีวิตครอบครัวและการเข้าถึงบทบาท รวมถึงการที่ต้องเข้ารับการออดิชั่น

 

ลองค่อย ๆ นึกภาพตามว่าคำวิพากวิจารณ์มันเหมือนกับแฟชันโชว์ที่ไม่มีวันจบสิ้น เตี้ยเกินไป อ้วนเกินไป แก่เกินไป

 

2.เพราะปัญหาการเงิน

อันนี้คิดว่า ไม่ใช่ทุกคนที่เข้ามาอยู่ในวงการนี้แล้วดังเลย แต่ ทุกอย่างมีต้นทุน ค่าตอบแทนในช่วงแรก ๆ อาจจะไม่คุ้มมาก ๆ

 

3.เพราะความคิดว่า “ต้องทำให้ดีเหมือนเป็นการเเสดงสุดท้าย”

ถ้ามองในมุมนึง ความคิดแบบนี้มันก็ดีนะ แต่ มันคือความกดดันแบบไม่สิ้นสุด แล้วอันนึงที่สังเกตได้คือ อายุเท่านี้ยังเป็นนางเอกได้ เเต่หลุดจากอายุเท่านี้ ๆ คือเป็นไม่ได้

 

4.เพราะไม่มีความเป็นส่วนตัว

ภาพลักษณ์ในที่สาธารณะคือสิ่งสำคัญ เมื่อก้าวเท้าเข้าสู่วงการบันเทิงไม่มีสิ่งที่เรียกว่าความลับอีกต่อไป

 

5.เพราะต้องทำตามความคาดหวัง

ทุกคนจะคาดหวังกับตัวเรา เช่น คุณเป็นตลก เพราะฉะนั้นคุณต้องแสดงออกมาให้คนอื่นขำ ดาราตลกส่วนใหญ่ต้องซ่อนความรู้สึกจริงภายใต้หน้ากาก

 

 

“คิมจงฮยอน Shinee”

ในปี 2017 เขาได้เสียชีวิตจากการเป็นโรคซึมเศร้าที่สะสมมาเป็นเวลานาน เขาได้พยายามรักษามันแล้วนะแต่มันก็เหมือนกลืนกินเขาไป การที่สูญเสียเขาทำให้คนที่รักเขาทั้งเพื่อนพ้องในวง ในค่าย และแฟนคลับได้เสียใจมาก ๆ  

 

จงฮยอนเป็นหนึ่งในนักร้องค่าย SM Entertainment ที่ถ้าใครติดตามวงการของศิลปินเกาหลีจะรู้ว่าค่ายนี้ ค่อนข้างมีแรงกดดันมาก ๆ ด้วยชื่อเสียง และการฝึกที่หนักของค่าย ซึ่งแฟนคลับก็เหมือนโลกอีกใบของเขา

 

อุตสาหกรรมทางดนตรีก็มีการแข่งขันสูง เราอาจจะไม่ทราบว่าภายในใจของเขามีความเครียด ความกดดัน ความรู้สึกบางอย่างที่เขาไม่สามารถต่อสู้ได้ 

 

อย่างไรก็ตาม การสูญเสียที่เกิดจากโรคซึมเศร้าที่ผ่านมา เชื่อว่าไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น ไม่ว่าคนคนนั้นจะเป็นใครก็ตาม ยิ่งถ้าหากว่าเป็นการสูญเสียของคนที่เรารัก คนที่เราชื่นชม เราจะยิ่งรู้สึกเจ็บปวดมากกับเหตุการณ์นั้น ๆ 

 

เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าคนที่กำลังสร้างรอยยิ้มให้เรา สร้างความสุขให้เรา ในใจเขาต้องแบกรับอะไรไว้บ้าง ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ได้มีชีวิตอยู่ต่อไปแต่เขายังฝากเสียงร้องของเขา รอยยิ้มของเขาที่สดใสไว้ในความทรงจำของใครหลาย ๆ คน

 

ในช่วงที่มีข่าว ณ ตอนนั้น ทำให้หลายคนได้ฉุกคิดขึ้นว่า ทุกคนแตกสลายได้ เขาเป็นนักร้อง มีชื่อเสียง แต่เขาก็มีหัวใจ มีความรู้สึกเช่นกัน 

 

ท้ายที่สุด เขาต้องเป็นคนที่แบกรับมัน อยู่กับมัน ซึ่งเราไม่เคยรู้เลยว่า เบื้องหลังรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ หรือผลงานที่น่าติดตาม มันซ่อนไว้ภายใต้ความรู้แย่มากแค่ไหน

 

 

สร้าง Alter-ego

ในทางจิตวิทยาการ ‘สร้าง Alter Ego’ หรืออีกตัวตนหนึ่งขึ้นมาใหม่ สวมบทบาทเป็นอีกคาแรคเตอร์หนึ่ง สามารถปลดปล่อยความเครียดในชีวิตประจำวันได้ และยังช่วยเพิ่มความมั่นใจแต่การจะทำแบบนี้ได้ต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

 

นักแสดงหลาย ๆ คนก็มีการสร้าง alter-ego เช่น  บียอนเซ่ (Beyoncé) มีอีกตัวตนหนึ่งที่ชื่อว่า ‘ซาชา เฟียรส์ (Sasha Fierce)’ ที่เธอสร้างขึ้นมา เพื่อสร้างความมั่นใจเวลาที่เธอแสดงบนเวที

 

หรือซุปเปอร์โมเดลชื่อดังอย่างเบลลา ฮาดิด (Bella Hadid) ก็มี Alter Ego ถึงสองตัวตนด้วยกัน เบลินดา (Belinda)  และรีเบกกา ฮาราจูกุ (Rebekka Harajuku)

 

อย่างคนธรรมดา ๆ ของเราที่ไม่ใช่ดาราก็สามารถทำได้เหมือนกันนะคะ วันไหนที่เราอยากสลัดตัวตนของเรา อยากมีความมั่นใจ เราก็สามารถทำได้ 2-3 ชั่วโมงจนกว่าเราจะรู้สึกพอใจ 

 

แต่อย่างที่เราเน้นย้ำไปว่าการที่จะทำแบบนี้ต้องผ่านการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพราะ alter-ego กับโรคหลายบุคลิกมีความใกล้เคียงกันมาก ๆ ถ้าเราทำไปนานๆ จนไม่สามารถแยกออกจากกันได้จะทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพจิตได้ 

 

คนที่เป็น โรคซึมเศร้า จะเป็นนักแสดงที่ดีได้ไหม

คนที่เป็นโรคซึมเศร้าคือคนที่มีความรู้สึกลึกซึ้งและคิดแบบละเอียดถี่ถ้วน           ดังนั้น มันจึงสมเหตุสมผลที่เขาจะมีการทำการศึกษาตัวละครที่ลึกซึ้ง มีคนจำนวนมากที่มีอาการซึมเศร้าแต่ทำงานได้ดี

 

ถ้าคนที่เป็นซึมเศร้าใช้แต่การแสดงเพื่อให้มีชื่อเสียง มันไม่ดีต่อสุขภาพ  แต่กลับกันถ้าใช้การแสดงเพื่อการถ่ายทอดอารมณ์ของพวกเขา ดึงตัวเองและเบี่ยงเบนตัวเองออกมากับการแสดงก็สิ่งที่ดีเช่นกัน 

 

 

ทำอย่างไรได้บ้างเพื่อป้องกัน โรคซึมเศร้า ที่เชื่อมโยงกับนักแสดง

นักแสดง

 

คนดู คนฟัง

 

ค่าย/วงการบันเทิง

 

หากว่า มีนักจิตวิทยาตามกองถ่าย เพื่อเป็นที่ปรึกษาให้กับนักแสดง ที่สวบทบทต่าง ๆ ไปด้วย ก็ถือเป็นสวัสดิการที่นักแสดงจะได้รับ หรือกลับกันทางค่ายกับผู้จัดการ อาจจะต้องพาไปพบจิตแพทย์เพื่อรีเช็คเป็นระยะ เพราะบางครั้งโรคซึมเศ้าอาจจะมาโดยที่เราไม่ทันตั้งตัว

 

ที่มา : 

 

https://www.insider.com/mental-health-of-actors-suffers-when-long-series-ends-rehab-2019-8

 

https://scoopempire.com/the-psychological-wellbeing-of-actors/

 

https://www.thethings.com/bella-hadids-alter-egos-rebekka-harajuku-and-belinda-explained/

 

https://www.mychicagotherapist.com/5-reasons-actors-are-prone-to-depression-you-never-knew/

มนุษย์เติบโตมาพร้อมกับความไม่รู้ เวลาที่คาดการณ์ คาดเดาอะไรไม่ได้ ในเรื่องโชคชะตา ความรัก สุขภาพ การเจ็บป่วย บางทีการทำนายก็อาจจะไม่พอ แต่พอมี ของขลัง

 

มาติดตัวมันก็เหมือนมีเกราะป้องกันบางอย่างมายึดเหนี่ยวจิตใจของเราให้รู้สึกดีมากขึ้น เช่น สร้อยข้อมือ วอลเปเปอร์ ธีมไลน์ ยันต์ เบอร์มงคล

ของขลัง เครื่องราง คืออะไร

วัตถุอะไรสักอย่างที่อาจจะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้น สามารถบูชาที่บ้านหรือนำติดตัวก็ได้ 

 

และตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายความว่า ของที่นับถือว่าป้องกันอันตราย ยิงไม่ออก ฟันไม่เข้า เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ เหล็กไหล

ของขลัง ช่วยได้จริงไหม?

ถ้าเป็นเรื่องนอกเหนือจากหลักวิทยาศาสตร์หรือหลักจิตวิทยาไม่แน่ใจว่าจะสามารถช่วยได้จริงไหม แต่เรื่องที่สามารถช่วยได้แน่ๆ คือเรื่องของความสบายใจ ที่เขาชอบพูดกัน

 

คือ พกเพื่อความอุ่นใจ บูชาเพื่อความสบายใจ และยึดเหนี่ยวจิตใจ แต่มันก็ขึ้นอยู่กับความพยายามของตัวของเราด้วย

 

ถ้าหากว่าเราเน้นบูชาแต่ไม่ได้พยายามทำในสิ่งที่ตั้งเป้าหมายไว้ก็อาจจะทำให้ผลที่คาดหวังเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์แบบ

การเปลี่ยนชื่อ 

เหตุผลของการเปลี่ยนชื่อของคนส่วนใหญ่ คือ อยากมีชีวิตที่ดีขึ้น ส่วนมากคนที่คิดจะเปลี่ยนชื่อ คือคนที่มีเรื่องอะไรที่ทุกข์ใจ รู้สึกว่าทำอะไรก็ติดๆ ขัดๆ ไปหมดเลย

 

หรืออาจจะเจอแต่เรื่องเเย่ๆ เข้ามาในชีวิต เลยเลือกที่จะเปลี่ยนชื่อเผื่อว่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีบ้าง 

เหตุผลอะไรที่คนเลือกบูชาของขลัง?

1. ความมั่นคงทางจิตใจ (Spiritual Security )

คนเราเวลาที่เจอกับปัญหาต่างๆ หรือเจอกับแรงกดดันจากทั้งตัวเอง ครอบครัว เพื่อนหรือสังคมรอบข้าง จะส่งผลต่อ ความมั่นคงทางจิตใจ (Spiritual Security)

 

เป็นเรื่องของการที่จิตใจมีที่พึ่ง มีที่ยึดเหนี่ยว มีความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย และแน่นอนว่า เมื่อใครก็ตามที่เกิดความไม่มั่นคงทางจิตใจ ก็จะต้องพึ่งพา ความเชื่อของตัวเอง

 

เพราะฉะนั้นของขลังเป็นอย่างหนึ่งที่สามารถเป็นที่ยึดเหนี่ยวเพื่อความมั่นคงทางจิตใจได้

2. การส่งต่อความเชื่อ

ต้องยอมรับว่าความเชื่อแยกออกจากสังคมได้ยากมาก เพราะฉะนั้นไม่แปลกที่หลายๆ คนเลือกที่จะบูชาหรือพกอะไรสักอย่าง เพราะมนุษย์เราเป็นสัตว์สังคม เราส่งต่อความเชื่อกันได้

 

อย่างถ้าพื้นฐานคนคนนึงมีความเชื่อเรื่องเครื่องราง ของขลังอยู่แล้ว ถ้ามีคนมาแนะนำว่าดีนะอันนี้ ก็มีผลทำให้คนนั้นเชื่อ เพราะข้อมูลความคิดเดิมที่มีอยู่แล้ว

 

มนุษย์เราสร้างความเชื่อจากข้อมูลที่มี พร้อมกับประสบการณ์และตรรกะ แล้วพออยู่ร่วมกันก็จะใช้ความเชื่อเพื่อหลอมหลวมให้เป็นหนึ่งได้

 

ความเชื่อและสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ อยู่คู่กับคนไทยมานาน ไม่ว่าสถานการณ์ในบ้านเราจะเป็นอย่างไร เรื่องการบูชาเครื่องราง ของขลังมันอยู่กับเรามานานมากๆ

 

โดยในปัจจุบันก็มีการทำของขลังให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบันมากขึ้น พกพาสะดวก มีความสวยงามเจาะได้ทุกวัยให้เราเลือกให้เข้าถึงมากกว่าเดิม

 

และยิ่งด้วยช่วงที่เรารู้สึกไขว่เขวทางจิตใจการมีอะไรมาช่วยเสริมแรงให้รู้สึกมั่นใจ รู้สึกปลอดภัย ก็เป็นอีกวิธีที่ดีมากๆ เลย

 

เพราะสิ่งที่คาดการณ์ หรือคาดเดาไม่ได้ สิ่งที่เราไม่รู้เป็นเรื่องที่มนุษย์อย่างเรารู้สึกกลัว ไม่อยากให้มันเกิด การที่มีอะไรมายึดเหนี่ยวจิตใจในทางวัตถุเหมือนมีตัวเสริมแรงจริงๆ 

ธุรกิจที่เล่นกับความเชื่อ

ผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล อาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวว่า

 

“คนเรามีพื้นฐานอยู่เรื่องหนึ่งก็คือเรื่องของความกลัว เรื่องที่กลัวก็มีตั้งแต่กลัวจน กลัวแฟนไม่รัก กลัวการงานไม่ดี กลัวตกงาน กลัวเจ็บ กลัวป่วย ก็เลยกลายเป็นว่าเมื่อคนมีความกลัวหรือ Fear เรื่องของ Faith หรือความศรัทธาจึงเข้ามาช่วยบรรเทา”

 

วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ ซีเอ็มเอ็มยู (CMMU) เผยข้อมูลงานวิจัย “Marketing in the Uncertain World การตลาดของคนอยู่เป็น”

 

ซึ่งได้จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 1,200 คน พบว่า คนไทยกว่า 52 ล้านคนมีความเชื่อเรื่องของโชคราง โดย 5 อันดับความเชื่อเรื่องโชคราง ได้แก่ 1.พยากรณ์ โหราศาสตร์ ลายมือ ไพ่ยิปซี 2.พระเครื่อง วัตถุมงคล 3.สีมงคล 4. ตัวเลขมงคล 5.เรื่องเหนือธรรมชาติ

 

ตอนนี้มีอุตสหรรม การค้าขาย การตลาดหลายๆ อย่างที่นำของขลังมาร่วมกับการทำธุรกิจ เช่น ศัลยกรรมความงามเสริมโหงวเฮ้งใบหน้า เบอร์มงคลตามค่ายมือถือต่างๆ 

 

แต่มันก็จะมีปัญหาตามมาที่ของมูของขลังมันเยอะมากบางคนก็อาจจะ อาจจะเลือกตามเก็บทุกอันไม่ไหว จนเงินในกระเป๋าที่หมดไปกับการมูมันเริ่มน้อยลง

 

วิธีแก้คือเรามูได้สะสมของขลังได้แต่อย่าทำให้มันลำบากเรา เบียดเบียนเงินในกระเป๋าของเราเกินไป

 

ย้ำกันอีกรอบความเชื่อ = ส่วนบุคคล ใครอยากเชื่อแบบไหน สบายใจแบบไหน สามารถทำได้ คิดได้ เชื่อได้ ไม่ผิดเลย และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือเราไม่ควรไปละเมิดสิทธิของเขา ถ้าตัวเราเองไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่เขาเชื่อ  

คำว่า Childhood Trauma หลายๆ คนอาจจะยังไม่รู้จักหรือไม่ได้ทำความเข้าใจ แต่มันสำคัญมากๆ เลย การที่เด็กซักคนจะเติบโตมา ประสบการณ์ต่างๆ ที่เขาเจอมันจะสร้างตัวตนให้เขา

 

การที่เรารู้สึกเจ็บปวดทางจิตใจบ่อยๆ รู้สึกว่างเปล่า รู้สึกโหยหาอะไรบางอย่าง โดยที่เราไม่รู้ว่ามันคืออะไร บางคนอาจจะเป็นการเอาใจใส่ ความรู้สึกที่อยากได้รับความรัก

 

หรือแม้กระทั่งการที่เราไม่สามารถมีความสัมพันธ์ที่ยืนยาวกับใครได้ไม่ว่าจะสถานะเพื่อนหรือแฟน สิ่งที่กล่าวไปข้างต้นอาจจะสัญญาณเตือนว่าเรากำลังมีบาดแผลทางใจอยู่หรือเปล่า

อะไรคือบาดแผลทางใจในวัยเด็ก Childhood Trauma

The National Institute of Mental Health ในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า บาดแผลทางใจในวัยเด็ก

 

คือ “ประสบการณ์ที่ได้รับจากเหตุการณ์ที่สร้างความเจ็บปวด และความทุกข์ทางใจต่อเด็ก ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งทางกายและจิตใจของเด็กคนนั้น”

 

ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าว สามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ เช่น มีการใช้ความรุนแรงในครอบครัว ถูกทำร้ายร่างกาย ถูกล่วงละเมิด หรือแม้แต่การเจอเหตุการณ์รุนแรง อุบัติเหตุต่างๆ

ประสบการณ์ใดบ้างที่อาจเป็นบาดแผล?

1. การล่วงละเมิดและการละเลยทางร่างกาย ทางเพศ หรือทางจิตใจ

2. ภัยธรรมชาติและเทคโนโลยีหรือการก่อการร้าย

3. ความรุนแรงในครอบครัวหรือชุมชน

4. การสูญเสียคนที่คุณรักอย่างกะทันหันหรือรุนแรง

5. ความผิดปกติของการใช้สารเสพติด (ส่วนบุคคลหรือครอบครัว)

6. ประสบการณ์ผู้ลี้ภัยและสงคราม (รวมถึงการทรมาน)

7. อุบัติเหตุร้ายแรงหรือการเจ็บป่วยที่คุกคามชีวิต

8. แรงกดดันที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวทางการทหาร (เช่น การนำไปใช้ การสูญเสียผู้ปกครอง หรือการบาดเจ็บ)

 

ซึ่งบาดแผลที่เกิดขึ้นในวัยเด็กไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นแผลที่ใหญ่ก็ได้ แต่มันก็สามารถทำให้เรารู้สึกฝังใจได้

 

ถ้าให้เข้าใจง่ายๆ เลยคือมันเกิดจากเหตุการณ์ที่ทำให้เรารู้สึกไม่ดีมากๆ พอนึกถึงมันทีไรก็รู้สึกเจ็บปวดได้ทุกครั้งเลย

อาการจากบาดแผลทางใจในวัยเด็กที่ส่งผลต่อผู้ใหญ่

 เมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่สร้างความเจ็บปวดทางใจให้กับเรา เราจะมีวิธีหลายรูปแบบเพื่อช่วยปกป้องร่างกาย และ จิตใจของเราจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 

แสดงออกโดยการหลีกหนี

เราจะรู้สึกว่าโลกใบนี้ไม่ปลอดภัยในบางครั้ง จนอยากที่จะหลบหนี หลบซ่อนต่อสิ่งที่เรารู้สึกว่าไม่ปลอดภัยสำหรับเรา สาเหตุเหล่านี้อาจจะมาจากในวัยเด็กเราไม่ได้รับการปกป้อง หรือถูกทอดทิ้ง 

มองว่าตัวเองสมควรเป็นผู้ถูกกระทำ

คนที่เคยถูกละเมิดในวัยเด็กจำนวนมาก มีความคิดว่า พวกเขาคู่ควรกับการถูกกระทำเช่นนั้น การที่พวกเขาคิดลบ และพูดจาในเชิงลบอยู่เสมอๆ

 

ทำให้พวกเขาลืมไปว่า ที่จริงแล้วพวกเขามีทางเลือกและความสามารถที่จะนำพาชีวิตไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้ด้วยตัวของพวกเขาเอง

 

สิ่งสำคัญโดยเฉพาะผู้ใหญ่จะต้องตระหนักรู้ก็ คือ การตัดสินใจ และ การกระทำของตัวเราเองเป็นตัวกำหนดชีวิตของเรา

ดื้อเงียบ 

ความโกรธเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับมนุษย์ทุกคน แต่ถ้าเด็กคนไหนที่รู้สึกโกรธบ่อยๆ ทำให้เขารู้สึกว่า อารมณ์โกรธนี้ไม่ดีกับพวกเขา พวกเขาก็จะเรียนรู้ในการกดความโกรธของตัวเองไว้ 

ไม่เป็นตัวของตัวเอง

การพยายามเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองให้เป็นในรูปแบบที่พ่อแม่พึงพอใจ เพราะไม่อยากรับการใส่ใจที่มากพอในวัยเด็ก ทำให้เด็กคนหนึ่งสูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง 

ความรู้สึกที่ส่งผลในตอนโต

1.ความรู้สึกเชื่อใจ

บุคคลที่มีบาดแผลทางใจในวัยเด็กจะมีความรู้สึกหวาดระแวง ไม่กล้าไว้ใจคนอื่น รู้สึกว่าคนที่มามอบความรักให้มาเพื่อผลประโยชน์และสักวันจะทิ้งเราไป

2. มีปัญหาการสื่อสารกับผู้อื่น

คนที่มีบาดแผลทางใจในวัยเด็กจะมีแนวโน้มการสื่อสารที่เป็นปัญหากับผู้อื่น

แบบยอมตาม

แสดงออกตามคนอื่น ไม่สื่อสารความรู้สึกที่แท้จริงของตัวเองออกไป เลือกที่จะเก็บกดความรู้สึกตัวเองเอาไว้ไม่ยอมบอกตรงๆ และมักจะชอบพูดว่า “ขอโทษ” บ่อยๆ แม้ในเรื่องที่ตัวเองไม่ผิดก็ตาม

แบบก้าวร้าวอ้อมๆ 

มีความก้าวร้าวในรูปแบบอ้อมๆ เช่น ชอบใช้คำพูดสุภาพแต่เชือดเฉือนหรือเหน็บแนมคนฟัง

แบบก้าวร้าว 

ตรงข้ามกับการก้าวร้าวแบบอ้อม ๆ เช่น โกรธแล้วถีบประตู ทำร้ายร่างกายคนอื่น พูดจาหยาบคายตะคอกตะโกน

3. การทำให้ตัวเองกลับไปเผชิญกับบาดแผลทางใจซ้ำอีกครั้ง 

เช่น มีผู้ปกครองเป็นคนเจ้าชู้ชอบทำร้ายร่างกาย แต่พอโตไปก็เลือกที่จะมีแฟนที่นิสัยแบบผู้ปกครองเพื่อกลับเข้าไปสู่วงจรที่ทำให้เกิดบาดแผล

บาดแผลทางใจในวัยเด็กสู่โรคซึมเศร้า

จากสถิติพบว่า เด็กหญิงจำนวน 3-5% และ เด็กชายจำนวน 1-6% มีภาวะ PTSD (Post Traumatic Stress Disorder) หลังจากผ่านเหตุการณ์ที่รุนแรง 

 

เมื่อเด็กมีภาวะ PTSD เขาก็มักจะฉายภาพเหตุการณ์ความรุนแรงที่เขาประสบในหัวซ้ำๆ และมีพฤติกรรมในการพยายามหลีกเลี่ยงเหตุการณ์

 

หรือ สิ่งต่างๆ ที่จะทำให้เขานึกถึงเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น หรือ แม้แต่ จำลองเหตุการณ์นั้นออกมาในระหว่างการเล่นของเขา

 

เด็กกลุ่มนี้ จะมีความวิตกกังวล และ พยายามมองหาสัญญาณที่พวกเขาคิดว่า จะเป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ความรุนแรง

 

ที่มา :

 

https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0165032721000719

 

https://www.betteryoubypair.com/post/childhood-trauma

 

เคยมีพฤติกรรมนี้กันไหมที่ตอนเช้าต้องแวะซื้อข้าว ซื้อกาแฟ ทั้งๆ ที่จริงแล้วมันไม่ใช่หน้าที่เราเลย และคำตอบคือไม่กล้าปฏิเสธ, เห็นใจเพื่อนๆ, เอาใจคนอื่น ฝืนใจตัวเอง, แค่นี้ฉันยอมได้, อยากเป็นที่ยอมรับ 

 

นั่นอาจแปลว่าคุณผู้ฟังกำลังมีบุคคลิกแบบ People-Pleaser นั่นเอง

People-Pleaser เอาใจคนอื่น ฝืนใจตัวเอง คือ?

People-Pleaser คือ บุคคลที่ช่วยเหลือ ดูแลเอาใจใส่ผู้อื่นตลอดเวลา พอพูดแบบนี้แล้วเราอาจจะมองว่าเอ้อมันเป็นเรื่องที่ดีนินา แต่การที่ เอาใจคนอื่น ฝืนใจตัวเอง อยากให้คนอื่นยอมรับในตัวของเขา

 

ไม่ใช่ทำเพียงเพราะอยากทำจริง ๆ ทำเพราะโหยหาการที่จะได้รับการยอมรับจากคนอื่น พูดชมคนอื่นเสมอๆ เพราะอยากอยู่ร่วมสังคมกับคนๆ นั้น

 

ไปในที่ที่ไม่อยากไปเพียงเพราะคนอื่นชวน การกระทำของเขาที่ทำไปจะส่งผลทำให้เขารู้สึกว่ากำลัง ฝืน และรู้สึกไม่มีความสุข

People-Pleaser เกิดจากอะไร

บุคลิกต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับคนคนนึงมันมีผลมาจากการถูกเลี้ยงดูมาตั้งแต่เด็ก เกิดจากประสบการณ์ต่างๆ ที่หล่อหลอมจนทำให้คนคนนึงมีพฤติกรรม มีบุคลิกต่างๆ เกิดขึ้น

 

ซึ่งการถูกเลี้ยงดูมาจากวัยเด็กสำคัญมากเป็นอันดับหนึ่งเลย เพราะสังคมแรกที่เราเจอและเติบโตมานั้นคือ ครอบครัว ถ้าหากว่าเราถูกเลี้ยงดูมาโดยการที่ต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการมาเป็นผลตอบแทน

 

หรือทำเพื่อให้เป็นที่ยอมรับ เป็นที่รักของคุณพ่อคุณแม่ ก็คงไม่แปลกที่คนนั้นจะเติบโตมาเป็นคนที่มีบุคลิก People-Pleaser ได้

 

ยกตัวอย่างง่ายๆ ที่คิดว่าน่าจะเคยได้ยินกันนั่นคือคำพูดติดปาก คำพูดยอดฮิตคือ อย่าร้องไห้นะไม่งั้นจะโดนตี,จะอดกินขนม ซึ่งการร้องไห้มันคือการระบายความรู้สึกมันไม่ใช่สิ่งที่ผิด

 

แต่ถ้าเราร้องเราจะโดนตีเราจะอดกินขนม เราเลยเงียบและเก็บความรู้สึกเหล่านั้นไว้ในจิตใจเพื่อแลกกับความปรารถนาที่จะไม่โดนตี,จะได้กินขนม

 

ซึ่งถ้าเจอกับอะไรแบบนี้บ่อยๆ หรือครอบครัวชอบต่อรองให้ทำบางสิ่งบางอย่างให้ก่อน เราถึงจะได้สิ่งที่เราต้องการ ทั้งๆ ที่จริงแล้วเราไม่ได้อยากทำ ไม่ใช่หน้าที่ ไม่ใช่สิ่งที่เราต้องทำ

 

แต่กลับเป็นเขามาใช้เราทำแทนซึ่งเราก็ปฏิเสธไม่ได้ ถ้าเจอแบบนี้เข้าเรื่อยๆ ก็จะหล่อหลอมให้เรามีบุคลิก People-Pleaser ได้

เราเป็นคนที่มีบุคลิก People-Pleaser หรือเปล่า?

1. เห็นด้วยกับทุกอย่างที่คนอื่นพูดเสมอ ถึงแม้ว่าในใจลึกๆ ของเราไม่อยากเห็นด้วยก็ตาม แต่พวกเขาทำไปด้วยเพราะอยากได้รับการยอมรับจากคนอื่น อยากได้รับคำชื่นชมจากคนอื่น

 

2. การพูดคำว่าขอโทษเป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าเราพูดบ่อยเกินไป หรือแม้กระทั่งพูดขอโทษทั้งๆ ที่เราไม่ใช่คนผิด ขอโทษบ่อยจนเราไม่สามารถควบคุมได้นั้นคือสัญญาณที่ไม่ดี คนที่เป็น People-Pleaser

 

พวกเขาจะพูดขอโทษบ่อยๆ เพราะกลัวว่าคนอื่นจะมองว่าเขาคือตัวปัญหา หรือแค่เห็นคนอื่นทำท่าทางไม่สบอารมณ์เขาก็เริ่มที่จะพูดขอโทษแล้ว

 

3. ไม่ค่อยกล้าที่จะยอมรับความรู้สึกของตัวเอง ความรู้สึกเจ็บ เศร้า ทุกข์ใจ โกรธ เพราะกลัวคนทำให้คนรอบข้างรู้สึกแย่

 

4. ไม่กล้าพูดว่า ไม่ ออกไป ในสิ่งที่ไม่อยากลงมือทำ

 

5. หลีกเลี่ยงการปะทะกับคนอื่น ยอมได้ก็ยอม ถึงแม้ว่าสิ่งนั้นคือสิ่งที่ผิด

ข้อเสียของคนที่มีบุคลิก People-Pleaser

1. เสียสุขภาพจิตจนถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้าได้ 

บุคลิกของคนที่เป็น People-Pleaser คนที่มีบุคลิกนี้ต้องแบกรับความรู้สึกต่างๆ ไว้เพียงคนเดียว เครียดคนเดียว ทุกข์ใจคนเดียว ไม่สามารถบอกกับใครได้ แล้วถ้าหากเราต้องแบกรับความรู้สึกด้านลบไว้นานๆ

 

สะสมเอาไว้นาน ๆ ผลที่จะตามมานั่นก็คือปัญหาสุขภาพจิตนั่นเอง

2.เราจะมีความเคารพในตัวเองต่ำและเปิดโอกาสให้คนอื่นใช้เป็นเครื่องมือ 

บางครั้งการที่เรายอมคนอื่นมากๆ มันไม่ได้แปลว่าเราไม่รู้นะว่าจุดประสงค์คนนั้นคืออะไร บางครั้งก็รู้ว่าหลอกใช้ รู้ว่าคนนั้นกำลังโยนหน้าที่ของเขามาให้กับเรา รู้ว่าคนนั้นต้องผ่านร้านกาแฟทุกเช้าก่อนมาทำงาน

 

แต่เราก็ยอมทำให้ ยอมที่จะเป็นคนเข้างานสายหรือรีบหอบกาแฟวิ่งมาเข้างานให้เขา เพื่อที่เราเองอยากให้คนอื่นว่าเราเข้ากับคนอื่นง่าย เราเองเป็นคนง่าย ๆ อะไรก็ได้ และอยากให้ตัวเองเป็นที่ต้องการของคนอื่น

3.เราจะรู้สึกเหนื่อยล้ากับการรักษาสถานะนี้ไว้ 

เพราะจริงๆ แล้วคนที่เอาใจคนอื่น จะรู้สึกไร้อำนาจ ไร้ตัวตน ซึ่งเขาเองก็อยากที่จะให้คนอื่นทำตามเขาบ้างนะ อยากมีอำนาจเหมือนกันอยากให้คนอื่นๆ นึกถึงเขาบ้างก็เลยต้องพยายามที่จะเอาใจคนอื่นอยู่ตลอด

 

ยอมคนอื่นตลอด ก็จะทำให้คนที่มีบุคลิกนี้รู้สึกเป็นความเหนื่อยล้าได้

4.เราจะสูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง 

เพราะเราทำเพื่อคนอื่นทั้งหมดไม่ได้ทำอะไรเพื่อตัวเองเลย แล้วเขาก็ไม่ได้มีความสุขทุกครั้งที่เขาทำอะไรเพื่อใคร เขาเองก็ทุกข์ใจกับการกระทำตัวเองเหมือนกัน

 

แต่ด้วยความที่เป็นคนที่มีบุคลิกแบบนี้มันเลยทำให้เขายอมที่จะทุกข์ใจเพื่อที่จะเอาใจคนอื่นๆ 

เลิกเป็นคนที่มีบุคลิก People-Pleaser เอาใจคนอื่น อะไรก็ยอม

การที่เป็นที่มีบุคลิก People-Pleaser มันค่อนข้างเหนื่อยและเป็นพลังงานที่ลบกับตัวเองมากๆ เรามาลองริเริ่มที่จะเลิกเป็น People-Pleaser หรือคนที่ชอบเอาใจคนอื่นกันดีกว่า 

1. ใจดีกับคนอื่นในตอนที่เรามีความรู้สึกที่อยากใจดีจริงๆ การที่เราใจดีมอบสิ่งดีๆ ให้คนอื่นเป็นเรื่องที่ดีมากๆ แต่จะดีกว่านี้ถ้าเราทำมันด้วยความรู้สึกจริงใจ ความรู้สึกที่อยากทำจริง ๆ

 

อย่าทำเพียงเพราะอยากได้รับการยอมรับ หรือได้รับคำชม

2. คิดถึงตัวเราเองเป็นอันดับแรก เวลาที่เราช่วยคนอื่นเราต้องใช้พลังงานเยอะมากๆ ในการช่วยคนอื่น เพราะฉะนั้นเราต้องมี สมดุล หรือ ตรงกลางในการที่เราจะช่วยเหลือคนอื่น

 

เช่น ในสถานการณ์ที่เรากำลังรู้สึกไม่ดี ไม่พร้อมที่จะช่วยเหลือใครแต่ถ้ามีคนมาขอความช่วยเหลือ เราควรที่จะเลือกความรู้สึกของเราก่อน

3. เราต้องมีขอบเขตเสมอ ไม่มีใครที่สามารถทำได้ทุกเรื่อง ช่วยคนอื่นได้ทุกเรื่อง เราต้องกำหนดขอบเขตตัวเอง รู้จักปฏิเสธคนอื่นบ้าง

 

การที่เราชอบช่วยเหลือคนอื่น มีความเห็นอกเห็นใจ เป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าเราเอาทุกอย่างมาใส่ความคิดของเรา ใส่การกระทำของเรา ใส่ใจของเรา มันจะหนักเกินไปจนเราแบกไม่ไหว

 

บางทีการปล่อยวาง การช่างมัน ก็เป็นอีกวิธีที่ดีมากๆ ค่อยๆ กลับมาแคร์ตัวเองมากขึ้น ใส่ใจตัวเองให้มากกว่าคนอื่น การที่เราอยากเป็นที่รัก ที่ยอมรับคนอื่นเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องการจะเป็น

 

แต่เหนือสิ่งใด การรักตัวเอง การยอมรับความรู้สึกตัวเอง ก็เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ  เหมือนกัน ถ้าเราเริ่มมีความรู้สึกทุกข์ใจไม่กล้าปฏิเสธคนอื่น นั่นอาจจะเป็นสัญญาณเตือนแว่าเราเป็นคนที่มีบุคลิก People-Pleaser 

 

และเป็นผลเสียต่อตัวเราเองอย่างมากจนทำให้มีปัญหาสุขภาพจิตได้เลย ลองสังเกตหรือทบทวนตัวเองดูว่าเรามีบุคลิกแบบ People-Pleaser หรือเปล่า เพื่อตัวของเราเอง 🙂

 

ที่มา :

https://www.healthline.com/health/people-pleaser

 

https://www.webmd.com/mental-health/what-is-a-people-pleaser

กฎแรงดึงดูด หรือ Law of Attraction ซึ่งกฏของแรงดึงดูด คือ แนวคิดที่เชื่อว่าจิตของมนุษย์เรามีพลังที่จะสามารถดึงดูดทั้งสิ่งที่ดีและไม่ดีเข้ามาในชีวิตของเราได้

 

ผ่านเหตุการณ์และสถานการณ์ต่าง ๆ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ เราจะดึงดูดสิ่งที่เราคิดเข้ามาในชีวิตเสมอ เช่นเดียวกันกับประโยคที่ว่า “แม่เหล็กย่อมดึงดูดแม่เหล็ก แม่เหล็กย่อมไม่ดึงดูดไม้”

กฎแรงดึงดูด Law of Attraction

กฏของแรงดึงดูด เป็นหลักปรัชญาที่ได้รับการพูดถึงตั้งแต่ปี 1887 และได้รับความสนใจมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากคุณ Rhonda Byrne ได้เขียนหนังสือที่มีชื่อว่า The Secret 2016 

 

มีเนื้อหาอ้างอิงถึงกฏของแรงดึงดูดและได้รับความนิยมอย่างมาก และสำหรับกฎของแรงดึงดูดจะประกอบไปด้วย 3 กฎดังต่อไปนี้

1. เหมือนดึงดูดเหมือน 

สิ่งที่เหมือนหรือคล้ายกันมักจะดึงดูดกันและกัน เช่น คนเก่ง คนขยัน ก็จะดึงดูดคนที่ขยันและเก่งเหมือนกัน หรือ คนที่มีความคิดแง่ลบก็จะดึงดูดความล้มเหลวเข้ามาในชีวิตเราได้เช่นเดียวกัน

 

ยกตัวอย่าง เมื่อสมัยตอนเรียนถ้าเราไม่ได้เป็นเด็กที่ตั้งใจเรียน ชอบหลับ ชอบแอบกินขนม รวมถึงโดดเรียนด้วยเหมือนกัน เราก็จะมีเพื่อนที่เป็นแบบเดียวกันกับเรา เพื่อนที่เป็นเด็กตั้งใจเรียนอาจจะไม่มีในกลุ่มเลย 

 

ซึ่งเหมือนจะดึงดูดเหมือน สามารถดึงดูดได้ทั้งความคิด ทัศนคติ คำพูด การกระทำ และวิธีการใช้ชีวิตของเราก็จะดึงดูดคนที่มีลักษณะที่ใกล้เคียงกันกับตัวเราเข้ามาในชีวิตมากกว่าคนไม่เหมือน

 

เช่น ดึงดูดเรื่องการงาน ดึงดูดเรื่องการเงิน ดึงดึงเรื่องความรัก ดึงดูดความชอบแบบเดียวกัน จะเห็นได้ว่าเดี๋ยวนี้มีกลุ่มที่ตั้งขึ้นมาเป็นกลุ่มเฉพาะเจาะจงในโซเชียลมีเดียมากมาย

 

ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนชอบท่องเที่ยวธรรมชาติ กลุ่มคนชอบตั้งแคมป์ กลุ่มส่งต่อเสื้อผ้า ก็ทำให้คนที่ชอบอะไรเหมือน ๆ กันได้มีโอกาสเจอคนชอบแนวเดียวกัน ดึงดูดกันและกัน ได้ทำกิจกรรมที่ชอบร่วมกัน

2. ธรรมชาติรังเกียจสูญญากาศ 

สมองของคนเรามีพื้นที่จำกัด แต่มักเสียพื้นที่ไปกับการคิดอะไรที่ฟุ้งซ่านหรือคิดเรื่องที่ไม่จำเป็นอยู่ตลอดเวลา หรือบางคนชอบคิดอะไรที่เป็นไปไม่ได้ อย่างคิดที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง

 

รวมถึงเปลี่ยนแปลงนิสัยบางอย่างของคนบางคน ซึ่งจริง ๆ แล้วเราแทบจะไม่สามารถทำได้เลย เหมือนกับที่เราต่างคุ้นเคยกับประโยคที่ว่า “การเปลี่ยนคนอื่นนั้นยาก เปลี่ยนตัวเราเองนั้นง่ายยิ่งกว่า” 

3. ปัจจุบันสมบูรณ์แบบเสมอ

เราทุกคนสามารถพัฒนาปัจจุบันได้เสมอ แต่เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอดีตหรือรู้อนาคตได้ ไม่ว่าปัจจุบันเราจะผิดหวังและไม่สมบูรณ์แบบหรือไม่ก็ตาม เราก็ควรที่จะโฟกัสที่ปัจจุบันและทำให้เต็มที่

 

ในหนังสือ The secret กล่าวไว้ว่า อะไรก็ตามที่คุณคิดและรู้สึกในวันนี้ คือสิ่งที่สร้างอนาคตของคุณนั่นเอง ดังนั้นอย่าลืมกลับมาโฟกัสที่ปัจุบันของเราและเต็มที่กับสิ่ง ๆ นั้น

 

เพราะสิ่งที่เราทำในปัจจุบันจะดึงดูดสิ่งต่าง ๆ เข้ามาในชีวิตของเราในอนาคตที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

 

และหากตอนนี้เรากำลังคิดหรือมีความรู้สึกกับอะไรบางอย่างอยู่ เราควรที่จะรีบลงมือทำสิ่งนั้นในทันที เพราะบางครั้งเรามัวแต่คิด แต่ไม่ได้ลงมือทำหรือมัวแต่คิดถึงอนาคตจนลืมลงมือทำปัจจุบันให้ดีก่อน

 

สุดท้ายปัจจุบันจะไม่นำส่งไปยังอนาคต เช่น ถ้าหากวันนี้เรามีเป้าหมายที่อยากจะเป็นคนที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน เราก็ควรเริ่มสร้างตั้งแต่วันนี้ ขยัน อดทน สม่ำเสมอ 3 คำนี้จะเป็นตัวเสริมให้กับเรา

 

และดึงดูดความสำเร็จเข้ามาในชีวิต การที่เราเลือกที่จะลงมือทำปัจจุบันให้เต็มที่ ต่อให้ผลลัพธ์จะออกมาดีหรือไม่ดีมากน้อยแค่ไหน สุดท้ายเราจะไม่มีทางนึกย้อนกลับไปเสียใจหรือโทษตัวเองในวันนั้นอย่างแน่นอน

เกลียดอะไรมักได้สิ่งนั้น

กฏแรงดึงดูดเขาบอกว่า ความคิดหรือจิตของคนเรามีพลังที่จะดึงดูดสิ่งต่าง ๆ มาได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดี ลองนึกถึงว่าเราเคยไหมกับการที่รู้สึกเกลียดใครคนหนึ่งมาก ๆ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาก ๆ

 

แล้วรู้สึกไม่ชอบ ไม่ถูกชะตา ไม่ชอบคนบุคลิกแบบนี้ นิสัยแบบนี้ แต่เรากลับยิ่งเจอกับคนแบบนี้ มันเป็นเพราะจิตใจของเรามัวแต่จดจ่ออยู่กับความเกลียดความไม่ชอบนั่นเอง

 

เราก็เลยยิ่งเจอหรือยิ่งรู้สึกจดจ่อกับสิ่งนั้นมากกว่าสิ่งอื่นแทน หรือคนในแบบที่เราชอบที่เราอยากเจอ เพราะฉะนั้นลองกลับมาโฟกัสสิ่งที่เราชอบ ลองนึกถึงว่าเราชอบอะไร ชอบแบบไหน

 

ความชอบนั้นก็มีพลังไม่แพ้กับความเกลียดหรือความไม่ชอบเช่นกัน ทุกอย่างล้วนขึ้นอยู่กับว่าเราเลือกที่จะแบกอะไรไว้มากกว่ากันนั่นเอง

กระบวนการสร้าง กฎแรงดึงดูด สิ่งดี ๆ  จากหนังสือ The Secret

1. คิดเชิงบวก

ความคิดของเรามีพลังในการดึงดูด เมื่อเรามีความคิดหรือกังวลกับเรื่องไหนบ่อย ๆ เรื่องนั้นก็จะเกิดขึ้นจริง เช่น หากตื่นนอนตอนเช้าวันไหนแล้วคิดเอาไว้ว่าวันนี้ต้องเป็นวันที่ดี

 

ตอนอาบน้ำล้างหน้าพยายามคิดถึงเรื่องที่ดีหรือเรื่องตลก ๆ ที่เคยพูดเล่นกับเพื่อน ๆ วันนั้นก็จะอารมณ์ดีไปตลอดวัน รวมถึงเจอกับเรื่องที่ดี ถึงจะไม่ได้ดีมากแต่ก็ไม่ได้ทำให้เราเกิดเป็นความเครียดได้

 

แล้วถ้าวันไหนตื่นมาแล้วคิดถึงเรื่องค่าใช้จ่ายหรือเรื่องที่เป็นกังวล วันนั้นทั้งวันก็จะเครียดไปกับเรื่องเงินแทบจะตลอดทั้งวัน ถึงเราจะหวังว่าขอให้เราเจอเรื่องที่ดีบ้างเถอะวันนี้

 

เพราะเจอแต่เรื่องเครียดมาทั้งวัน พยายามให้ใครสักคนสร้างความสุขให้กับเรา สุดท้ายก็ไม่ได้ทำให้เราเจอกับเรื่องดี ๆ นั้นขึ้นมาได้เลย หรือทำให้เรามีความสุขขึ้นมาได้

 

เพราะสิ่งที่จะสร้างความสุขหรือสิ่งที่ดีให้กับตัวเราได้ คือใจของเราและความคิดของเราเองมากกว่า

2. รู้เท่าทันความคิดตัวเอง 

การรู้เท่าทันความคิดของตัวเองเหมือนเป็นการที่เรามีสติอยู่ตลอดเวลา รู้ว่าเรากำลังคิดอะไร มีความคิดด้านไหนดีหรือไม่ดี พอเรารู้ทันความคิดตัวเองก็ช่วยให้เราคัดแยกความคิดที่ไม่ดี

 

หรือความคิดที่จะส่งผลให้อารมณ์ของเราไม่ดีได้เช่นกัน เพราะส่วนหนึ่งคิดว่าอารมณ์ก็เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ ที่ทำให้เกิดเป็นการกระทำอีกรูปแบบหนึ่งขึ้นได้ อย่างที่ได้ยกตัวอย่างไปเมื่อหัวข้อที่แล้ว

 

หากตื่นมาเรามัวแต่คิดถึงเรื่องเครียด ๆ อย่างค่าใช้จ่าย วันนั้นทั้งวันก็จะเครียดและทำให้เกิดอารมณ์ฉุนเฉียวตลอดทั้งวันได้ เช่น หงุดหงิด โกรธง่าย แล้วอารมณ์นั้นมักถูกถ่ายทอดผ่านสีหน้าและน้ำเสียง

 

หน้าตาบึ้งตึงตลอดทั้งวัน ส่งผลทำให้คนรอบข้างก็สะท้อนกลับมาแบบนั้น ซึ่งความเป็นจริงคนรอบข้างเขาไม่ได้รู้และเข้าใจว่าเราเป็นอะไร แต่พอเขาเจอสีหน้าน้ำเสียงที่ไม่ดีของเราไป

 

เขาก็ตอบกลับมาด้วยน้ำเสียงที่ไม่ดี หรือใส่อารมณ์กลับมา และอาจถูกต่อว่าได้ ว่าทำไมเราต้องพูดเสียงแข็ง ทำไมทำหน้าไม่พอใจ ซึ่งไม่ได้ส่งผลดีทั้งกับตัวเราและคนรอบข้างเลย

 

ดังนั้นหากเรารู้เท่าทันความคิดของตัวเรา เราก็จะสามารถระงับความคิดและอารมณ์เหล่านั้นไว้ได้  

กฎแห่งขั้วตรงข้าม Law of Polarity

นอกจากกฎแรงดึงดูดที่เราได้พูดถึงกันไปแล้ว ยังมีอีก 1 กฎที่หลายคนอาจจะไม่ค่อยคุ้นหูกันมากนัก คือ กฎแห่งขั้วตรงข้าม ซึ่งเป็นหนึ่งในกฎแห่งจักรวาล

 

หลายคนอาจจะทราบกันดีอยู่บ้างแล้วว่าทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกนี้มีเป็นคู่ ทุกสิ่งทุกอย่างมีตรงข้าม และทุกสิ่งทุกอย่างมี 2 ขั้ว

 

ในตัวด้วยกัน เช่น บวกลบ ขาวดำ ร้อนเย็น อาทิ น้ำแข็งกับน้ำร้อนมีความแตกต่างกันแต่เริ่มต้นที่มาก็คือเป็นน้ำเหมือนกัน ในความมืดก็มีแสงสว่างและในแสงสว่างก็มีความมืดปะปนอยู่

 

ซึ่งเราเรียกว่า “กฎแห่งขั้วตรงข้าม” นั่นเอง

“ คุณไม่มีทางที่จะคิดบวกได้ ในขณะที่คุณกำลังคิดลบ

คุณไม่มีทางที่จะร่ำรวยมั่งคั่งได้ ในขณะที่คุณยังคิดถึงแต่เรื่องความยากจน

เมื่อไหร่ที่คุณตัดความกังวล คุณจะหาหนทางสำเร็จ ”

 

ขอบคุณบทความสั้น ๆ จากเว็บของครูอลิซ ที่ชี้ให้เรามองเห็นและเข้าใจได้มากขึ้นกับคำว่า กฎแห่งขั้วตรงข้ามที่ทำงานกับความคิดแล้วก็จิตใจ ทำให้เรารู้ได้เลยว่า อะไรดี อะไรไม่ดี อะไรคือสิ่งที่เราชอบ

 

แล้วอะไรคือสิ่งที่เราไม่ชอบ เพื่อที่เราจะได้เลือกในสิ่งที่เราชอบใจมากที่สุด

 

ยกตัวอย่างจาก นักธุรกิจผู้ใฝ่ในธรรม คุณวีรณัฐ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิบ้านอารีย์ และเจ้าของโครงการบานาน่า แฟมิลี่ปาร์ค จากหนังสือ “สุดยอดเดอะซีเคร็ต” ผลงานของ ดร.เมล กิลล์

 

เขาเผยว่า เมื่อสมัยตอนที่เขาเป็นเด็ก เขาเป็นคนขวางโลก และมักคิดอะไรตรงข้ามกับคนอื่นอยู่เสมอ โดยส่วนหนึ่งได้รับความคิดเหล่านั้นมาจากคุณพ่อที่เป็นนักธุรกิจ จึงมีวิธีการมองตลาด มองสินค้า

 

รวมถึงมองการทำประชาสัมพันธ์ที่แหวกแนวกว่าคนอื่น หลังจากที่เขามีวิธีการมองแบบนั้นมาตลอด ซึ่งเป็นการสอดคล้องกับการมองว่า ทุกเรื่องมีสิ่งที่ตรงข้ามกันเสมอ เพียงแต่เราจะมองออกหรือไม่

 

และเมื่อเขาเรียนจบ ความไฟแรงของตัวเราที่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ก็ได้รับคำแนะนำจากผู้รู้ แล้วบอกกับตัวเขาว่า “ให้เลือกทำสิ่งที่เขารัก” ซึ่งคุณวีรณัฐเองก็ใช้กฎขั้วตรงข้ามทันทีนั่นก็คือ “รักในสิ่งที่ทำ”

 

ดังนั้น หากเราอยากเป็นคนแบบไหนจงพาตัวเองไปอยู่ใกล้กับคนแบบนั้น เพราะกฎของแรงดึงดูดมักจะดึงดูดคนที่มีความเหมือนกันเข้าหากัน ส่วนกฎแห่งขั้วตรงข้ามก็สามารถทำให้เรามีมุมมองอีก 1 มุมได้จาก

 

“เลือกทำในสิ่งที่รัก” ให้ “เป็นรักในสิ่งที่ทำ”