Posts
เคยไหม ? รู้สึกเหมือนถูกทิ้งไว้ข้างหลัง จะอยู่ในความสัมพันธ์แบบไหนก็ตาม เรามักจะเป็น ‘ คนที่ถูกลืม ’ ไว้ข้างหลังเสมอเลย..
ความรู้สึกเป็น คนที่ถูกลืม เป็นคนที่โดนละเลย
เป็นเราอีกแล้วหรอ..ที่ไม่มีใครเลือก เป็นเราอีกแล้วหรอที่จะต้องถูกลืม บางทีที่เกิดเป็นความรู้สึกแบบนี้กับตัวเอง เรามักจะบอกกับตัวเองว่าไม่เป็นไรหรอก เราอยู่คนเดียวได้
เราเคยสังเกตุตัวเองไหมว่าคำว่าไม่เป็นไรของเรา เราไม่เป็นไรจริง ๆ หรอเปล่า ? การที่เราบอกกับตัวเองซ้ำ ๆ เวลาที่เห็นคนอื่นเดินจากไปหรือเวลาที่เห็นเขามีความสุข ยิ้ม หัวเราะ และไม่มีเราอยู่ตรงนั้น
เป็นอีกครั้งที่เรารู้สึกว่าเราถูกทิ้งไว้ข้างหลัง เราถูกมองข้าม หรือแม้กระทั่งไม่สามารถไปยืนในจุดที่เราควรจะอยู่ได้.. ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเพื่อน ครอบครัว หรือความสัมพันธ์ในรูปแบบของคู่รัก
เพราะอะไรเราถึง ‘เป็น คนที่ถูกลืม ’ เสมอเลย ?
เราตั้งคำถามกับตัวเองในสิ่งที่เราเจอตรงนั้นว่าเราทำผิดอะไรหรือเปล่า ? เราทำพลาดตรงไหนไหม ? เพราะอะไรเราถึง ‘เป็นคนที่ถูกลืม’ เสมอเลย หลายคนโทษตัวเองที่เราดีไม่พอ เราไม่เก่งเลย เราหน้าตาธรรมดาจังเลย
จนกลายเป็นความรู้สึกไม่ชอบตัวเอง คงไม่มีใครรู้และเข้าใจว่าการถูกยอมรับมันสำคัญขนาดไหน จนกว่าวันนึงเราจะสัมผัสกับการถูกลืม การถูกมองข้ามและกลายเป็นคนข้างหลังอยู่เสมอ
สิ่งที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นเพราะว่าเราคาดหวังจากตัวคนอื่นมากเกินไป บางทีเราอาจจะต้องมองกลับมาในสิ่งที่เราอยากจะเป็น ในสิ่งที่เราอยากจะได้รับตรงนั้น
สำรวจตัวเองและรับมือกับ ‘ความรู้สึกถูกลืม’
เวลาที่เราบอกกับตัวเองว่าไม่เป็นไร คำว่าไม่เป็นไรของเรามันมีอะไรที่อยู่เบื้องหลังหรือเปล่า
การที่เราปลอบใจตัวเองหรือบอกกับตัวเองว่าไม่เป็นไรหรอก เบื้องหลังคำว่าไม่เป็นไรมักจะมีความรู้สึกบางอย่างซ่อนอยู่ อาจจะเป็นความเสียใจ น้อยใจ เจ็บปวดหรือแม้กระทั่งโกรธ
ให้สำรวจตัวเองเวลาที่เรามีความรู้สึกว่ากำลังถูกทิ้งไว้ข้างหลัง เราพูดว่าไม่เป็นไร เราไม่เป็นไรจริง ๆ หรือมีความรู้สึกอื่น ๆ ซ่อนอยู่
เพราะสิ่งนี้อาจจจะทำให้เราเห็นภาพตัวเองได้ชัดเจนว่าเรารู้สึกหรือต้องการอะไรกับการที่เราอยู่ในสถานการณ์แบบนี้
เราอาจจะลองตามหาเส้นทางของตัวเอง ทำความเข้าใจโลกของตัวเอง บางทีเราอาจจะแค่มองหาอะไรที่เราชอบและตามหาความมั่นใจของตัวเองให้เจอ ความสุขที่ออกมาจากตัวเราเอง
โดยที่เราไม่ได้โฟกัสว่าคนอื่นจะทิ้งเราไว้ตรงนี้ไหม แต่เรากลับพึงพอใจกับการที่เราอยู่ตรงนี้ ลองพาตัวเองไปอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อม ผู้คน ที่ทำให้เรารู้สึกว่าเรายังชอบตัวเองอยู่
การที่เราหันกลับมารักตัวเอง กลับมามองเห็นตัวเองในจุดที่เรารู้สึกว่าเราพึงพอใจบางทีสิ่งนี้อาจจะช่วยให้เราลดความคาดหวังที่เรามีต่อคนอื่นลง
ลองมองหามุมอื่น ๆ ของชีวิต เวลาที่เรารู้สึกไม่สำคัญกับคนนี้แต่ไม่ได้หมายความว่าเราไม่สำคัญกับใครเลย
“อยู่คนเดียว อยู่ลำพังหว่าเว้” สเตตัสจากคนคนหนึ่ง อาจจะกำลังส่งสัญญาณว่าเขาตกอยู่สภาวะของ โรคขาดความรักไม่ได้
โรคขาดความรักไม่ได้ คืออะไร ?
คือ ความผิดปกติและเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยจะมีปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมการแสดงออกทางอารมณ์ พฤติกรรมและความวิตกกังวล
คนที่ตกอยู่ในสภาวะของโรคขาดรักความไม่ได้ จะเเบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
- โรคบุคลิกภาพแบบฮิสทีเรีย (Histrionic Personality Disorder : HPD)
- โรคประสาทฮิสทีเรีย (Conversation Reaction)
โรคบุคลิกภาพแบบฮิสทีเรีย จะมีการแสดงออกของพฤติกรรมที่ดูเรียกร้องความสนใจมากเกินปกติ การแสดงออกก็จะเป็นในลักษณะของการยั่วยวน จนทำให้ถูกเข้าใจผิดว่าเป็นโรคขาดผู้ชายไม่ได้ ซึ่งที่จริงแล้ว hysteria เป็นได้ทั้งชายและหญิง
แต่การแสดงออกก็อาจจะเเตกต่างกันออกไป จนทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าโรคนี้เป็นโรคที่เป็นเฉพาะในเพศหญิง หรือมีพฤติกรรมที่เเสดงออกว่าเรียกร้องความสนใจจนเหมือนเด็ก หรือเหมือนแสดงละคร
โรคประสาทฮิสทีเรียจะตรงข้ามกับโรคบุคลิกภาพแบบฮิสทีเรียเลย คือ เวลาที่มีความเครียดหรือความกังวลใจมาก ๆ จะเกิดอาการผิดปกติที่ระบบการเคลื่อนไหว และการรับรู้
เช่น ชาที่แขนและขา พูดไม่มีเสียง ตามองไม่เห็น กล้ามเนื้อกระตุก สูญเสียความทรงจำบางเรื่องที่กระทบกระเทือนจิตใจ จำชื่อสิ่งของ สถานที่หรือเวลา ไม่ค่อยได้
แต่เมื่อผู้ป่วยตรวจร่างกายอาจจะไม่พบความผิดปกติเพราะเกิดจากจิตใจของผู้ป่วยเองไม่ได้มากจากโรคจริง ๆ
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ โรคขาดความรักไม้ได้
โรคขาดความรักไม่ได้หรือ hysteria มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นโรคขาดผู้ชายไม่ได้ เพราะอาการของ hysteria ใกล้เคียงกับโรคนิมโฟมาเนีย (nymphomania) หรือ โรคเสพติดเซ็กส์ อาการแสดงออกเพื่อเรียกร้องความสนใจทางเพศจึงทำให้เกิดความเข้าใจผิด
ทำไมคนถึงเข้าใจผิด มันมีประวัติศาสตร์
ต้องย้อนไปที่ยุคอียิปต์โบราณและกรีกโบราณ ในสมัยนั้นสังคมคิดว่าฮิสทีเรียเป็นโรคเฉพาะผู้หญิง เพราะเชื่อว่ามดลูกเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในร่างกายของคนที่จะเดินทางไปทั่วทุกทิศทางในร่างกายและไปอุดช่องทางเดินหายใจ
เป็นสาเหตุให้เกิดโรคที่หลากหลาย จึงตั้งชื่ออาการเหล่านี้ว่าฮิสทีเรียที่แปลว่า ‘มดลูก’ ในภาษากรีก
ฮิสทีเรียถูกพูดถึงมากขึ้นจริง ๆ ในยุควิคเตอเรียที่ผู้คนในสังคมต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ทางจริยธรรม หลักศาสนาอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะผู้หญิงที่ต้องอยู่ในกรอบศีลธรรมอันดี ต้องเป็นคนที่เก็บอารมณ์ ความรู้สึก
รวมถึงความต้องการทางเพศเอาไว้ ผู้หญิงที่แสดงออกความต้องการทางเพศมากเกินไป เช่น โสเภณี ผู้หญิงที่แต่งตัวโป๊ (ในยุคนั้น) ก็จะถูกวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยทางจิต ‘ฮิสทีเรีย’ ทั้งหมด
บุคคลสำคัญที่นิยามว่า ‘ฮิสทีเรีย’ คือความผิดปกติทางจิตในกลุ่มความผิดปกติทางบุคลิกภาพ คือ ปิแอร์ จาเนต์ และ ซิกมันด์ ฟรอยด์ ซึ่งทั้งสองบอกว่า ‘ฮิสทีเรีย’ เป็นความเจ็บป่วยจิตใจ มีสาเหตุมาจาก Trauma ในอดีต
เช่น ขาดความรักในวัยเด็ก พบเจอเหตุการณ์ที่ทำให้ผิดหวังหรือสะเทือนใจจะส่งผลให้สมองเกิดการปรับสถานะของความตระหนักรู้ ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมการกระทำบางอย่างของตนเองได้
ปิแอร์ จาเนต์ ยังได้บันทึกไว้อีกว่า “คนที่เป็นฮิสทีเรียโดยทั่วไปแล้ว เขาไม่ได้มีความต้องการทางเพศมากไปกว่าคนทั่วๆไป”
ส่วนซิกมันด์ ฟรอยด์ ก็ได้บอกไว้ว่า “ผู้ชายเป็นฮิสทีเรียได้และการแพทย์ในอดีตที่โยงฮิสทีเรียเข้ากับเรื่องเพศ เป็นการดูถูกผู้หญิงรูปแบบหนึ่ง”
อยากให้เข้าใจโรคฮิสทีเรียว่ามันเป็นโรคหนึ่ง ไม่ใช่ว่าเขาขาดผู้ชายไม่ได้
Hysteria โรคนี้ไม่ได้หมายความว่าเขาต้องลงเอยด้วยการมีเพศสัมพันธ์ หลงไหลเพศตรงข้ามหรือกระหายผู้ชายจนควบคุมตัวเองไม่อยู่ จึงอยากให้มองโรคนี้ด้วยความเข้าใจและไม่อคติกับผู้ที่ป่วยด้วยโรคฮิสทีเรีย
ซึ่งจริง ๆ แล้วเราควรมีความรู้ก่อนจะไปว่าหรือตัดสินใครด้วยถ้อยคำที่ออกมาจากเพียงแค่จากความรู้สึกตัวเอง ไม่ถูกไตรตรองผ่านข้อเท็จจริง
หากลองคิดดูดี ๆ ถ้าสมมติตัวเราเป็นจริง ๆ แล้วถูกคนอื่นพูดใส่ว่า ‘ขาดผู้ชายไม่ได้’ เราก็คงรู้สึกแย่หรืออีกมุมนึง ถ้าเราไม่ได้เป็น ‘ฮิสทีเรีย’ แต่เรากลับโดนคนรอบข้างต่อว่าแบบนี้ เราคงรู้สึกแย่เช่นกัน
อาการของ โรคขาดความรักไม่ได้
- อิจฉา “เหม็นความรัก” เห็นคนรักกันหรือแสดงออกว่ารักกันไม่ได้
- เรียกร้องความสนใจ พยายามแสดงออกให้ตัวเองเป็นจุดเด่น จนบางทีดูไม่ถูกกาลเทศะ แสดงว่ามีตัวตนหรือเล่าว่าชีวิตดีกว่าคนอื่น
- ต้องมีคนคุยตลอดเวลา เพื่อไม่ให้ตัวเองรู้สึกเหงา โดดเดี่ยว รู้สึกเหมือนมีคนคอยอยู่ข้าง ๆ
- วิตกกังวล กลัวไม่มีใครรัก ถ้าโดนตำหนิเพียงเล็กน้อยก็จะมีความรู้สึกกังวลว่าจะถูกเกลียด ไม่มีใครรัก มีความกังวลมากกว่าระดับปกติ
สาเหตุของ โรคขาดความรักไม่ได้
- ความเหงา ส่งผลให้เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยว นิยามความเหงาของฮิสทีเรีย คือ “สะสมความเหงาแบบมหาศาล”
- ขาดความอบอุ่น วัยเด็กบางคนถูกเลี้ยงดูมาในครอบครัวที่ค่อนข้างไม่ใส่ใจ ทำให้เขาไม่รู้จักกับคำว่าอบอุ่น เลยโหยหาความรัก ความอบอุ่น กลัวว่าจะไม่ได้รับความรัก
- เจอกับความผิดหวัง บางคนเจอกับสถานการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจมาก ๆ เกินกว่าที่จะรับไหว แล้วมีวิธีจัดการแบบไม่เหมาะสม
การรักษา โรคขาดความรักไม่ได้
- จิตบำบัด ปรับความคิด ปรับพฤติกรรม หากแพทย์วินิจฉัยแล้วมีอาการซึมเศร้าหรืออื่น ๆ ร่วมด้วยต้องใช้ยาในการรักษา
- เลือกโฟกัสที่ปัจจุบัน ไม่ทำให้ตัวเองจมอยู่กับเมื่อวานหรือกังวลในวันพรุ่งนี้
- ฝึกการหายใจ
- เขียนระบายความรู้สึก เขียนเพื่อระบายอารมณ์และความรู้สึก
- ดูแลตัวเอง ออกกำลังกาย ทานอาหารที่มีประโยชน์และวางแผนการนอนหลับ
คนรอบข้างสำคัญอย่างไร ?
คนรอบข้างสำคัญมาก ๆ บางครั้งปัญหาหนัก ๆ ในชีวิตของเราที่เห็นว่าไม่น่าจะมีทางออกแล้ว เราก็มีคนรอบข้างที่ทำให้เราผ่านไปได้ ไม่ว่าจะเป็นการก้าวผ่านปัญหาหรือเราตกอยู่ในสภาวะอะไรก็ตามและสำหรับใครมีคนข้าง ๆ ตกอยู่ในสภาวะของโรคขาดความรักไม่ได้
เบื้องต้นอยากให้ทำความเข้าใจว่าฮิสทีเรียคือโรคที่เกิดจากภายในจิตใจ จะทำให้เขาไว้วางใจ กล้าที่จะขอความช่วยเหลือและหลีกเลี่ยงการต่อว่าหรือตัดสินการกระทำ
สิ่งที่สำคัญคือคนรอบข้าง ถ้าเรามีคนข้างกายที่กำลังเจอกับช่วงเวลาที่เเย่ ๆ เราคอยอยู่เคียงข้างเขา รับฟังเขา ทำให้เขารู้สึกว่าเขายังมีเราอยู่ข้าง ๆ และเชื่อว่าปัญหาต่าง ๆ เขาจะผ่านไปได้อย่างแน่นอน
ถ้าเป็นตัวเราเองกำลังตกอยู่ในสภาวะที่ต้องการคนเคียงข้าง ลองสื่อสารออกไปให้คนสำคัญได้รับรู้อาจจะส่งผลดีต่อตัวเรา
ที่มา:
https://www.doctorraksa.com/th-TH/blog/hysteria.html
ใคร ๆ ก็ชอบความสมบูรณ์แบบ แต่โลกนี้ไม่มีอะไรที่สมบูรณ์แบบไปทั้งหมด เราจะ Perfectionist อย่างไร? ไม่ให้ทำร้ายตัวเองและคนอื่น
Perfectionist คือ
Oxford Language ให้คำนิยาม Perfectionist ไว้ว่า a person who refuses to accept any standard short of perfection. บุคคลที่มักจะปฏิเสธและไม่ยอมรับมาตรฐานใด ๆ ที่ขาดความสมบูรณ์แบบ
Perfectionist แปลเป็นไทย คือ ผู้ที่ชื่นชอบในความสมบูรณ์แบบ คำว่า สมบูรณ์แบบ เป็นความหมายเชิงบวก แต่อะไรที่มากเกินก็ไม่ใช่แค่ส่งผลดี ผู้ที่ชื่นชอบในความสมบูรณ์แบบเขาจะหลงใหลความสมบูรณ์มาก
ประมาณว่าถ้าอะไรผิดไปจากลำดับขั้นตอนชีวิตของเขา เขาจะรู้สึกกังวล กดดัน ตึงเครียด และบางรายอาจจะก่อไปถึงปัญหาสุขภาพจิตถึงขั้นซึมเศร้าได้เลย
จากข้อมูลของ Brandinside บอกว่า
ในช่วงปี 1950 Perfectionist ถูกมองในแง่ลบถูกจัดให้เป็นเรื่องเกี่ยวกับระบบประสาท ทุกอย่างต้องเป็นไปตามความคิดในอุดมคติของตัวเอง ต้องสามารถแก้ไขปัญหาทุกอย่างได้
ทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้กลายเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ มีการตั้งความหวังกับตัวเองที่มากเกินไป แต่ในยุคถัดมามีการเปลี่ยนมุมมองต่อ Perfectionist จากอาการที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท
เป็นเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพจิต ประเภทเดียวกับความเครียด ความหดหู่ และอาการหมดไฟ ที่เกิดจากการตั้งความหวังกับตัวเองมากเกินไป
ลักษณะ สัญญาณที่บอกว่าเราเป็น Perfectionist
1. ตั้งเป้าหมายที่สูงทำงานหนักเพื่อเป้าหมายที่ตั้งไว้ และไม่ยอมที่จะตกลงมา จะทำให้ถึงที่สุด แบบสุดโต่ง ถ้าทำแล้วไม่เป็นแบบเป้าหมายก็จะรู้สึกว่าตัวเองผิดหวังมาก ล้มเหลวมาก
2. มีความเข้มงวดกับความไม่สมบูรณ์แบบของตัวเอง ถ้าตัวเองเคยทำสิ่งผิดพลาดจะไม่ปล่อยวางความผิดพลาดนั้น
3. Perfectionist จะมีความรู้สึกกลัวว่าถ้าเขาไปไม่ถึงเป้าหมายหรือสำเร็จน้อยกว่าเป้าหมายที่เขาตั้งไว้คือความล้มเหลว
4. มีการตั้งเป้าหมายที่สูงมาก ๆ จนบางทีเป้าหมายนั้นก็เกินจะเอื้อมถึง เช่น แบบ ต้องมีเงินเก็บภายใน …. ต้องได้สิ่งนั้นภายใน … มีความกดดันตัวเอง
5. Perfectionist จะมุ่งมั่นที่จะทำเป้าหมายให้สำเร็จจนลืมระหว่างทางในการทำให้สำเร็จจนทำให้ระหว่างทางพวกเขารู้สึกว่ามันไม่สนุก ทำด้วยความเหน็ดเหนื่อยไม่มีความสุข
6. การผลัดวันประกันพุ่ง พวกที่เป็น Perfectionist จะรู้สึกว่าถ้าวันนี้มันไม่ดี เขาก็จะไม่ทำเลยเพื่อหลีกเลี่ยงความล้มเหลวที่เกิดขึ้น
7. การแสดงออกถึงความไม่สมบูรณ์แบบค่อนข้างจะเป็นสิ่งที่น่าเจ็บปวดสำหรับ Perfectionist พวกเขาจึงมักจะมีการเติบโต้หรือแรงตั้งรับเสมอสำหรับคำวิจารณ์ที่ได้รับ
8. Perfectionist จะมีความวิจารณ์ตัวเอง ลดคุณค่าในตัวเอง เวลาที่ตัวเองล้มเหลว การ Low Self-Esteem สิ่งนี้อาจส่งผลกระทบที่ร้ายแรงต่อสุขภาพจิตได้
9. ชอบอะไรที่สามารถคาดการได้ล่วงหน้า
ประเภทของ Perfectionist
มีทั้งหมด 3 ประเภท
1. Self-oriented Perfectionist คือ Perfectionist ที่ตั้งมาตรฐานความสมบูรณ์แบบให้กับตัวเอง คาดหวังว่าตัวเองจะต้องทำทุกอย่างให้ดีที่สุด แต่ไม่ได้ไปกดดันคนอื่นให้ทำตามมาตรฐานของตัวเอง
2. ประเภทที่สองคือ Socially Prescribed Perfectionist คือ Perfectionist ที่เชื่อว่าคนอื่นๆ ในสังคมจะยอมรับถ้าตัวเองมีความสมบูรณ์แบบ
3. Other-oriented Perfectionist คือ Perfectionist ที่ตั้งความหวังกับคนรอบตัวว่าจะต้องสมบูรณ์แบบ ไร้ที่ติ ไร้ข้อผิดพลาด ซึ่งแน่นอนว่า Perfectionist ประเภทนี้ย่อมส่งพลังในแง่ลบสู่คนอื่นได้ง่าย
ทำไมถึงเป็น Perfectionist
1. กลัวการตัดสิน
กลัวว่าคนอื่นจะตัดสินในความผิดพลาด ทำให้เป็น Perfectionist ได้ ถึงภายนอกจะดูเป็นคนที่มุ่งมั่น มีเป้าหมาย แต่ในความกระหายความสำเร็จลึก ๆ ได้ซ่อนความกลัวไว้
กลัวว่าแบบนั้น กลัวว่าแบบนี้เลยมีความสุดโต่งกับตัวเองไปเลยว่าเราต้องทำสิ่งนี้ให้สำเร็จ
2. บาดแผลในวัยเด็ก (Childhood trauma)
การถูกปลูกฝัง เลี้ยงดู ความคาดหวังของพ่อแม่ ได้สร้างบาดแผลในวัยเด็ก ส่งผลให้พอเติบโตมากลายเป็น Perfectionist
3. มีปัญหาทางจิต เช่น ย้ำคิดย้ำทำ (OCD)
Perfectionist กับ OCD จะมีความคล้ายคลึงกันคือจะทำสิ่งนั้นย้ำ ๆ บ่อย ๆ จนกว่าจะเกิดความพึงพอใจ เช่น ถ้า Perfectionist ที่รักในความสะอาดก็จะถูพื้นบ่อย ๆ ไล่เก็บเส้นผมที่ร่วงบนพื้นถึงแม้จะมีเพียงเส้นเดียวที่หล่น
4. เคยถูกเพิกเฉย ไม่ได้รับความสนใจ
พื้นฐานของคนเราต้องการการมีสังคม การที่ถูกละเลยไม่ได้รับความสนใจในวัยเด็กก็เป็นหนึ่งสาเหตุที่กระตุ้นให้เราหันมาพัฒนาตัวเอง เพื่อให้เป็นจุดสนใจได้รับความรักและคำชื่นชม
5. ความคาดหวังจากครอบครัวและตัวเอง
ครอบครัวอาจจะคาดหวังและสร้างเงื่อนไข เพื่อให้ลูกประสบความสำเร็จ ลูกก็จะทำทุกอย่างเพื่อให้ตัวเองประสบความสำเร็จ จนเขากลัวความผิดพลาด
เด็กเป็น perfectionist ได้
เช่น คาดหวังกับตัวเองสูง โฟกัสที่คนอื่นว่าจะมองตัวเองยังไง แพ้ไม่เป็น หวั่นไหวง่าย จัดลำดับความสำคัญของตัวเองไม่เป็น
ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า เด็กที่ติดความสมบูรณ์แบบมาจาก สองอย่างหลัก ๆ คือ ติดสมองเด็กมาตั้งแต่เกิด และ จากการเลี้ยงดู ซึ่งการที่เด็กเป็น Perfectionist ส่วนใหญ่จะมาจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่
เช่น การได้รับคำชม การได้รับคำชมมันดีมาก ๆ เลย แต่อะไรที่มันมากเกินไปหรือชมในทางที่มันผิด อาจจะทำให้ลูกมีความมั่นใจในตัวเองจนไม่กล้าตกลงมาจากที่สูงที่ที่เขาอยู่เลย
ในอีกกรณีนึงคือการแบกความคาดหวังของพ่อแม่ การเลี้ยงลูกที่เลี้ยงเพื่อตอบสนองความต้องการของพ่อแม่เอง เลี้ยงลูกเพื่อคลายปมในใจของพ่อแม่ในวัยเด็กก็ทำให้ลูกกลายเป็น Perfectionist ได้
พ่อแม่และคนอื่นๆ ควรมีความคาดหวังที่สมเหตุสมผลและให้ความสำคัญกับความพยายามของลูกมากกว่าผลลัพธ์ ชมในสิ่งที่เขาทำได้ดี แนะนำในสิ่งที่เหมาะสม
ข้อดี
1. มีความละเอียด รอบคอบ เช่น เวลาทำงาน คนที่เป็น perfectionist งานของเขาจะมีความเป๊ะ และสมบูรณ์แบบมาก ๆ
2. มีเป้าหมาย ทำให้มีเปอร์เซ็นต์ประสบความสำเร็จสูง
3. ถูกรับเลือกให้เป็นหัวหน้า ผู้นำ
หัวหน้าส่วนใหญ่จะเป็น Perfectionist เขาจะมีความสามารถในการประคับประคองโปรเจคให้สำเร็จได้ หรือ สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้
Perfectionist จะละเอียดรอบคอบมาก เหมาะกับงานที่ต้องใช้ความแม่น ความเป๊ะสูง
ข้อเสีย
1. Perfectly Hidden Depression (PHD)
จากข้อมูลของเว็บไซต์พญาไทย.com บอกไว้ว่า ติดความเนี๊ยบมากเกินไปอาจจะเสี่ยง Perfectly Hidden Depression (PHD) กลุ่มอาการซึมเศร้าที่มาจากการเสพติดความสมบูรณ์แบบ
กลุ่มอาการนี้จะมีอาการแสดงออกที่ไม่รุนแรง ไม่มีความรู้สึกจมดิ่ง ไม่เคยมีความคิดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย เพราะเขาจะเก็บซ่อนความหดหู่เอาไว้ภายใต้ความสำเร็จ ความเครียดที่สะสมจะทำร้ายเรา
จากทั้งความคาดหวังจากตัวเอง ครอบครัวและสังคม เขาจะไม่เปิดโอกาสให้ตัวเองได้มีอิสระหลุดจากรอบของความสมบูรณ์แบบ มีแต่ความรู้สึกว่าต้องทำได้ดีกว่านี้ วนลูปไปเรื่อย ๆ
สิ่งนี้อาจจะนำไปสู่อาการซึมเศร้าแฝงได้โดยไม่รู้ตัว
2. คนรอบข้างอึดอัด
หากเราอยู่กับคนที่ตรงเป็นไม้บรรทัดมากเกินไป แน่นอนว่ามันจะตามมาด้วยความรู้สึกที่อึดอัด การที่ตึงมากเกินไป ทำอะไรเป็นลำดับขั้น เพื่อให้มันออกมาสมบูรณ์แบบมันคือข้อดี
แต่ถ้ามันมากเกินไปมันก็ไม่ถือว่าดีที่สุดอยู่ดีเพราะฉะนั้นต้องมีความยืดหยุ่นบ้าง อาจจะไม่ใช่ทุกเรื่อง แต่ต้องดูสถานการณ์ เพื่อให้การใช้ชีวิตและความสัมพันธ์ของคนรอบตัวมีความ Healty และ balance
3. เมื่อเจอกับสิ่งที่ไม่ตรงตามมาตรฐานจะอึดอัดใจ
เหมือนมีบางอย่างไม่ถูกปลดล็อค หรือถ้ามี Process การทำงานที่มันเปลี่ยนไปจากเดิมที่เราวางแผนไว้จะไม่สบายใจ กังวลมาก ๆ ว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร
แต่เอาเข้าจริงการที่เรารู้จักยืดหยุ่นกับตัวเองจะทำให้เราเจอกับวิธีที่จะทำให้เราทำงานง่ายและสร้างสรรค์มากขึ้น ไม่fixed กับตัวเองจนเกินไป
4. มีการคิดแบบ 2 ขั้วตรงข้ามสุดโต่ง Black and White Thinking
สิ่งนี้คือ กลไกป้องกันตัวเองทางจิตวิทยาของคนที่มีปัญหา เขาจะรู้สึกว่าการคิดแบบนี้ ทำให้เขามีชีวิตที่มีกฎหรือแบบแผนที่แน่นอน มั่นคงและเข้าใจง่าย เขาจะยึดมั่นเรื่องกฎเกณฑ์ระเบียบแบบแผน
สรุปเร็วและง่ายเกินไป ไม่เปิดใจกว้าง ไม่ยืดหยุ่น ถ้าไม่ได้ทั้งหมด ก็ไม่ได้อะไรเลย หรือถ้าไม่สมบูรณ์แบบ ก็คือย่ำแย่ที่สุด คนนี้แย่ที่สุด คนนี้ดีที่สุด
รับมืออย่างไรถ้าคนใกล้ตัวเป็น Perfectionist
ต้องถามว่าเป็น Perfectionist ประเภทไหน ถ้าเป็นแบบที่เขามีมาตรฐานของตัวเอง ในการทำงานหรือใช้ชีวิตเราจะไม่ต้องไปหนักใจกับเขาเลยไม่เหนื่อยเพิ่ม
ส่วนถ้าเป็นประเภทที่ตั้งมาตรฐานให้กับคนอื่นว่าต้องเป๊ะ อันนี้มันค่อนข้างน่าอึดอัดใจมาก ๆ สิ่งที่เราทำได้คือ Approve แค่ในส่วนที่มัน Make Sense เท่านั้น ส่วนอื่นที่มันเกินไปก็แค่รับฟัง
ในการทำงาน พยายามอย่าปล่อยให้ Perfectionist สร้างมาตรฐานและตั้งความหวังกับงานที่ทำมากเกินไป เพราะอาจจะกลายเป็นการส่งพลังในแง่ลบให้คนอื่น
ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อเนื้องานและความสัมพันธ์ในการทำงาน อันนี้เป็นเรื่องที่คนในทีมต้องคุยกัน
ทำอย่างไรให้ความเป็น Perfectionist มีประโยชน์
สิ่งที่ทำได้คือ Positive self talk ให้กำลังใจตัวเอง พูดถึงข้อดีของตัวเอง ไม่เปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น มันอาจจะดูเป็นเรื่อง Basic
แต่เชื่อไหมว่า การมองว่าตัวเองไม่ดีหรือเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น เป็นจุดฉนวนที่ทำให้เรา Low-Self Esteem และกลายเป็น Perfectionist ที่ไม่มีความสุข
และฝึก Flexible คือ ยืดหยุ่นกับตัวเอง การที่เป็น Perfectionist เป็นเรื่องที่ละเอียดกับสิ่งรอบตัวมาก ๆ จนบางทีก็นำสิ่งเหล่านั้นมาใส่ตัวเองทั้งหมด ใส่จนมันหนักกับตัวเอง
การระบายมันออกมาโดยการจัดวางความคิดผ่านการเขียน เขียนทีละอย่างลงโน้ต และก็ Self Talk ทำความรู้จักและเท่าทันความรู้สึกของตัวเอง การที่ทำอะไรสุดโต่งมากเกินไปมันเหนื่อยมาก ๆ เลย
“โลกนี้ไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ” รวมถึงตัวเราเองด้วย เราทำผิดพลาดได้ การมีมาตรฐานในใจเป็นเรื่องที่ดี แต่อย่าให้มาตรฐานนั้นกระทบกับคนอื่นและที่สำคัญที่สุดอย่าให้มาตรฐานนั้นเป็นกำแพงความคิดของเรา
ทำให้เราไม่เจอกับวิธีที่สร้างสรรค์และดีกับตัวเรา Nobody Is Perfect ทุกคนสามารถทำผิดได้ สามารถแพ้ได้ สามารถมีความรู้สึกผิดได้ ไม่ใช่เรื่องแปลกเรื่องที่ผิดเลย
คนที่รักความสมบูรณ์แบบถ้าใครกำลังเป็นอยู่แล้วรู้สึกว่าชีวิตมันตึงจังเลย ลองหาวิธีปรับเปลี่ยนในบางเรื่องดูก่อน ค่อย ๆ ทำ ให้เวลาตัวเองเพราะชีวิตของเราการมีตรงกลาง
ไม่ขวาสุด ไม่ซ้ายสุด ไม่สุดโต่งก็จะทำให้เรามีความสุขมากขึ้น
ที่มา :
https://brandinside.asia/perfectionist-personality-may-harmful-work-environment/
https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/110657
https://www.mindtools.com/pages/article/flexibility-at-work.htm
https://www.verywellmind.com/signs-you-may-be-a-perfectionist-3145233
‘ โรคหลงตัวเอง ’ โดยปกติมนุษย์มักจะสนใจตัวเองมากกว่าคนอื่น จนทำให้คนรอบข้างรู้สึกแย่ในการกระทำหรือคำพูดของเรา ถ้าหากสนใจตัวเองมากกว่าคนอื่นในระดับที่ผิดปกติล่ะ ?
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งที่เป็นอยู่เข้าข่าย โรคหลงตัวเอง
โรคหลงตัวเอง ชอบยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง ทุกคนต้องเชื่อฟังฉัน
รู้จัก โรคหลงตัวเอง
โรคหลงตัวเอง หรือ Narcissistic Personality Disorder (NPD) เป็น 1 ในกลุ่มของความผิดปกติทางบุคลิกภาพ (Personality Disorder)
มาจากคำว่า Narcissism ที่หมายถึง บุคลิกภาพที่ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง สนใจแต่ตัวเอง ให้ความสำคัญกับรูปร่างหน้าตาและความต้องการของตัวเองอย่างเดียว
ที่มาของคำว่า โรคหลงตัวเอง
อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ Britannica มาจาก คำว่า Narcissism มาจากเทพที่ชื่อ Narcissus ในปกรณัมกรีกค่ะ Narcissus เป็นเทพที่มีรูปลักษณ์งดงาม
แต่การกระทำที่ใจร้ายของเขาต่อ เอคโค่ นางไม้ที่ตกหลุมรักเขา ทำให้เขาถูกสาปให้หลงรักตัวเองเป็นการลงโทษ จนวันหนึ่งขณะที่ก้มกินน้ำในแม่น้ำ
เขาเห็นเงาตัวเองสะท้อนจากน้ำแล้วหลงใหล จนไม่เป็นอันทำอะไร ไม่ลุกไปไหน จ้องมองอยู่อย่างนั้นนานจนเสียชีวิตกลายเป็นโศกนาฐกรรมเล่าขาน
ลักษณะเด่นของ โรคหลงตัวเอง
โรคหลงตัวเอง แสดงออกได้หลากหลายแบบ โดยมากจะมีลักษณะ ดังนี้
1. ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง รู้สึกว่าตัวเองสำคัญกว่าคนอื่น
2. ขาดความสนใจ ความเข้าใจ และความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
3. มีความต้องการให้คนอื่นสนใจและชื่นชมตัวเองมากจนเกินไป
4. มีความเชื่อว่าตัวเองเหนือกว่าคนอื่น อาจจะเป็นในเรื่องของรูปร่างหน้าตา ความสามารถ ฯลฯ ซึ่งอาจนำไปสู่พฤติกรรมการดูถูกคนอื่นได้
เรากำลังตกเป็นเหยื่อของคนที่เอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลางอยู่หรือเปล่า
รีเช็คตัวเองได้ง่าย ๆ เมื่อเราตกเป็นเหยื่อ มีแนวโน้มว่าเราจะรู้สึก ดังนี้
1. รู้สึกตัวเองไม่มีคุณค่า ไร้คุณค่า
2. รู้สึกแย่กับตัวเองเพราะถูกทำร้ายด้วยคำพูดของพวกเขา
3. รู้สึกต้องโกหกตลอดเวลา ไม่สามารถแสดงความรู้สึกที่แท้จริงออกมาได้
4. รู้สึกไม่เป็นตัวของตัวเอง เวลาที่แสดงความเป็นตัวเองออกไปจะโดนเขากดหรือแสดงท่าทีที่เหมือนเราผิด
ประเภทของ โรคหลงตัวเอง
Narcissist มีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับว่าใช้เกณฑ์อะไรในการวัด แต่โดยหลักแล้วมี 2 ประเภท
1. Overt Narcissist
มีการแสดงออกแบบเห็นได้ชัดเจน คนอื่นสามารถมองออกได้ง่าย โดยมากจะทำตัวยิ่งใหญ่ ทนงตน ไม่ละอายใจต่อพฤติกรรมตัวเอง อวดว่าตัวเองเก่งกว่าคนอื่น ชอบโชว์พาว คาดหวังว่าคนอื่นต้องนับถือ
2. Covert Narcissist
มีการแสดงออกที่ไม่ชัดเจน หลบซ่อน เก็บอาการเก่ง คนอื่นดูไม่ค่อยออกว่าเขาเป็นโรคหลงตัวเอง เขาจะมีความกระหายการได้รับคำชม อยากได้รับการให้ความสำคัญจากคนอื่นตลอดเวลา จนถึงขอความเห็นอกเห็นใจคนอื่นแบบเนียน ๆ
สาเหตุของ โรคหลงตัวเอง
ภายนอกของคนที่เป็นโรคหลงตัวเองอาจจะดู หยิ่งทะนง โอ้อวด ทำให้คนรอบข้างรู้สึกว่าเขาน่าจะมีความมั่นใจในตัวเองมาก แต่กลับกันเลยคือ คนที่เป็นโรคหลงตัวเองมักมี self-esteem ที่ต่ำ
ทำให้ไม่สามารถรับคำวิพากษ์วิจารณ์ในด้านลบได้เลย รวมถึงต้องแสดงออกว่าตัวเองดี ตัวเองมั่นใจกว่าคนรอบข้าง เพื่อซ่อนความเปราะบางเอาไว้ ทำให้คนที่เป็นรู้สึกได้ถึงความย้อนแย้งภายใน
สาเหตุของโรคนี้ค่อนข้างซับซ้อน ไม่แน่ชัด ทำให้ยังคงมีการศึกษาและการวิจัยอยู่เรื่อย ๆ จนถึงทุกวันนี้ สาเหตุหลักที่ทำให้บุคคลเป็นโรคหลงตัวเองได้ มีดังนี้
1. ความสัมพันธ์ในครอบครัวและการเลี้ยงดู
พ่อแม่ที่ตามใจลูก โอ๋ลูกมากเกินไป หรือไม่ก็ วิพากษ์วิจารณ์เยอะเกินไป จนลูกไม่เหลือความมั่นใจในตัวเอง ทำให้ต้องแสดงออกถึงสิ่งที่ตรงกันข้าม คือ หยิ่งทะนง โอ้อวด เพื่อปิดบังความ self-esteem ต่ำของตัวเอง
2. กรรมพันธ์ุ
เป็นสิ่งที่ได้รับการส่งต่อกันภายในครอบครัว
3. เหตุผลทางประสาทชีววิทยา
การทำงานประสานกันของสมองและร่างกาย ถ้ามีความผิดปกติ จะส่งผลต่อความคิดและพฤติกรรม
ผลกระทบของ โรคหลงตัวเอง
1. รู้สึกไม่มีความสุข
ทุกข์ทรมาน กับการที่คนอื่นไม่ปฏิบัติกับเขาเสมือนเขาเป็นคนที่พิเศษ เพราะเขามีความเชื่อไปแล้วว่าเขาสมควรที่จะได้รับแบบนั้น
2. เขาจะมีปัญหาความสัมพันธ์
เวลาคนอื่นไม่ปฏิบัติกับเขาเหมือนกับว่าเขาเป็นคนพิเศษ เป็นคนสำคัญ เขาจะรู้สึกว่าความสัมพันธ์นั้นไม่เติมเต็มเขา ซึ่คงยากที่จะรักษาความสัมพันธ์
3. สร้างความทุกข์ใจให้คนรอบข้าง
กลายเป็นว่าในทุก ๆ เรื่อง คนรอบข้างจะกลายเป็นฝ่ายผิด คนที่เป็นโรคหลงตัวเองจะไม่ฟังใคร ไม่ปรับปรุงตัว ซึ่งจะสร้างความทุกข์ใจให้กับบุคคลที่อยู่รอบตัว
เมื่อคนรอบข้างมีอาการของ โรคหลงตัวเอง
1. NPD ในพ่อแม่
การที่ลูกมีพ่อแม่เป็น NPD อาจจะส่งผลให้ลูกมีภูมิคุ้มกันทางสังคมที่ต่ำ สร้างเกราะคุ้มกันด้วยภาวะหลงตัวเองแทน
2. NPD ในคนรัก
ถ้าเรามีคนรักของเราเป็น NPD เขาจะเล่นกับความรู้สึก ทำให้เราเชื่อว่าเราคงอยู่ไม่ได้หรอกถ้าไม่มีเขา เพราะเขาทั้งรักและสนใจเรามากกว่าใคร
แล้วการที่เขาเป็นคนหลงตัวเองเราจะเห็นว่าเขาเป็นคนที่ทะเยอทะยาน มีเป้าหมายอาจจะทำให้ในช่วงแรกเราหลงรักเขาแบบหัวปักหัวปำเลยจนไม่สามารถตัดขาดเขาได้ในเวลาต่อมา
จัดการตัวเองอย่างไรถ้าต้องอยู่ร่วมกับคนที่เป็น โรคหลงตัวเอง
1. คล้อยตามพวกเขาไปเลยเพื่อตัดความหงุดหงิดใจ เพราะคนที่เป็นโรคหลงตัวเองมักจะไม่ฟังความคิดเห็นคนอื่น
2. ยอมรับว่าพวกเขาเป็นคนที่หาผลประโยชน์มากกว่าให้ผลประโยชน์
3. เรียนรู้ที่จะปฏิเสธ เป็นสิ่งที่คนเป็นโรคหลงตัวเองไม่ชอบแต่เราก็ต้องเรียนรู้ที่จะต้องทำ เพื่อตัวของเราเอง
4. เรียนรู้ที่จะปล่อยวางไม่ไปยึดติดกับพวกเขา
5. ปกปิดจุดด้อยของเราพยายามไม่ให้เขารู้ เพื่อไม่ให้เอามาเป็นข้อได้เปรียบหรือพูดให้เราเสียน้ำใจ
6. ถ้าคนใกล้ตัวเราไม่สามารถตอบสนองความต้องการของเราได้ เรามองหาสังคมอื่น ๆ แทนพวกเขา เช่น พ่อแม่ไม่ได้รับฟังเรามากพอเราไปหาฟังก์ชันอื่น สังคมอื่นที่สามารถซัพพอร์ตเราได้
ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงวิธีที่หาทางร่วมอยู่แต่ถ้ามันฝืนตัวเรามากเกินไปจนกลายเป็นความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ อาจจะต้องพิจารณาอีกทีว่ามันคุ้มไหมกับการที่ต้องอยู่ การออกมาเพื่อตัวของเราก็ไม่ใช่เรื่องที่แย่เลย
ที่สำคัญ NPD เป็นความผิดปกติที่เกิดมาจากการมีความเชื่อผิด ๆ ทำให้ยากที่เขาจะตระหนักรู้ในตัวเอง การทำให้เขารู้ว่าสิ่งที่เขาเป็นสร้างปัญหาให้ตัวเขาเองและตัวคนรอบข้าง เพื่อให้เขายอมเข้ารับการรักษาจะดีต่อตัวเขา
อ้างอิง
narcissistic personality disorder
ไม่ว่าจะเหนื่อยกับเรื่องอะไรมา แค่นอนหลับก็ทำให้ทุกอย่างดีขึ้น แต่ถ้านอนมากเกินไป แปลว่าเราขี้เซาหรือซึมเศร้ากันแน่ พฤติกรรมการ นอนมากเกินไป ของเราอาจจะกำลังบอกอะไรกับเราอยู่ก็ได้
เสพติดการนอน นอนมากเกินไป อันตรายกว่าที่คิด
ความผิดปกติของการนอน
ปกติเเล้วมนุษย์จะต้องนอนประมาณ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อร่างกายที่เเข็งเเรงและเพื่อให้ร่างกายทำงานได้ปกติ แต่ถ้านอนมากหรือน้อยเกินจะส่งผลให้ทั้งร่างกายและจิตใจเราผิดปกติ
แต่ความต้องการของร่ายกายแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป การจะรู้ได้ว่าร่างกายต้องการการนอนวันละกี่ชั่วโมง ต้องหมั่นสังเกตตัวเอง ว่าวันที่เราตื่นมาแล้วสดชื่น วันนั้นเรานอนไปกี่ชั่วโมง
สภาวะหรือโรคเกี่ยวกับการนอน
สภาวะหรือโรคที่เกี่ยวข้องกับการนอน แบ่งออกเป็น 2 แบบหลัก ได้แก่
1. Dyssomnias เกี่ยวกับคุณภาพและปริมาณของการนอน
- Insomnia นอนไม่หลับ
- Hypersomnia นอนมากเกินไป
- Circadian rhythm sleep disorder ง่วงนอนช้า
2. Parasomnias เกี่ยวกับสรีระและการตื่นตัว
- Nightmare disorder ฝันร้าย จำความฝันได้
- Sleep terror disorder สะดุ้ง ผวา
- Sleepwalking disorder ลุกเดินโดยไม่รู้ตัว
นอนมากไปอาจเป็น โรคนอนเกิน
เป็นโรคที่หลับเกินพอดี นอนเท่าไรก็ไม่พอ ง่วงนอนตลอดเวลา รวมถึงงีบหลับระหว่างวันหลายครั้ง โรคนี้ไม่ได้เกิดจากพฤติกรรม ความรู้สึกขี้เกียจ หรือนิสัยส่วนตัว
แต่เกิดจากโรคทางร่างกายหรือจิตใจ จุดสังเกตที่เอาไว้เช็คตัวเองได้เบื้องต้น คือ สิ่งที่เป็นอยู่กระทบชีวิตประจำวันหรือไม่ ถ้าใช่ อาจจะต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
อาการโรคนอนเกิน
1. ง่วงตลอดเวลา
นอนมากกว่า 8 หรือ 10 ชั่วโมงขึ้นไป เสมือนเป็นนักนอน ยิ่งช่วงกลางวันจะมีอาการง่วงแบบรุนแรง ถึงจะงีบหลับก็ไม่รู้สึกสดชื่น
2. ตื่นยาก
ขอเรียกว่า นักดื่มด่ำกับการนอน คือ เสพติดการนอนมากจนตื่นได้ยากในตอนเช้า
3. เฉื่อยชา ไร้ชีวิตชีวา
ด้วยความที่รู้สึกว่าตัวเองนอนไม่พออยู่ตลอด ส่งผลให้ตื่นมาแล้วไม่รู้สึกสดชื่น นอกจากนี้การตื่นแล้วไม่ลุกไปไหน จะยิ่งทำให้เฉื่อย ไร้ชีวิตชีวา
4. กินน้อยแต่อ้วนง่าย
มนุษย์ถูกสร้างมาให้ทำกิจกรรมเพื่อเผาผลาญและนอนเพื่อหยุดพัก แต่ถ้านอนมากเกินไป ถึงแม้จะกินน้อย แต่ไม่ได้ขยับร่างกายเผาผลาญ ทำให้อ้วนง่าย
5. หงุดหงิดง่าย วิตกกังวล
แน่นอนว่าถ้าเราพักผ่อนไม่พอ ง่วง ส่งผลต่ออารมณ์แน่ๆ อารมณ์เราจะไม่คงที่ มีอะไรเข้ามากระทบก็หงุดหงิดละ เจออะไรนิดหน่อยก็กังวล กระสับกระส่าย
6. สมองช้า ความคิดไม่แล่น ความจำไม่ดี
เวลาง่วงจะทำสิ่งต่าง ๆ ได้ช้าลง ไม่มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว เพราะไม่ใช่แค่ร่างกายอย่างเดียวที่หมดแรง สมองก็หมดแรงด้วยเช่นกัน
7. พูดจาไม่รู้เรื่อง วกวน มึนงง
เป็นเรื่องของความสามารถการสื่อสาร ยิ่งง่วงมากเท่าไหร่ยิ่งพูดไม่รู้เรื่องเท่านั้น บางทีพูดอะไรออกไปอาจจะจำไม่ได้ด้วย
8. อาการซึมเศร้า
เมื่อพฤติกรรมการอนมากเกินไปสะสมต่อเนื่องและเป็นระยะเวลานาน จะส่งผลให้มีสภาวะซึมเศร้าได้
สาเหตุโรคนอนเกิน
1. อดนอน
การอดนอนเป็นระยะที่ยาวนาน อาจจะทำให้เกิดความง่วงและความเหนื่อยล้ามากๆ จนร่างกายต้องการการพักผ่อนแบบไม่รู้จบ
2. นาฬิกาชีวิต
สำหรับผู้ที่ต้องทำงานกะดึก เวลานอนอาจจะปรับเปลี่ยนได้ยาก การต้องใช้ชีวิตในเวลากลางคืนอาจจะส่งผลต่อการนอนและสุขภาพร่างกายได้
ผลกระทบ โรคนอนเกิน
- กระทบต่อการทำงานและการเข้าสังคม
- คุณภาพการใช้ชีวิตลดลง
- มีโอกาสการเกิดอุบัติเหตุสูงขึ้น
การป้องกันและการรักษา โรคนอนเกิน
สุขภาพการนอนที่ดี ขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์ อาจต้องปรับการใช้ชีวิตเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมการนอน
1. รักษาการนอนหลับที่ดี
- นอนให้เป็นเวลามากขึ้น
- รักษาความสบาย ความสะอาด
- ดูเรื่องอากาศ แสงสว่าง เสียงรบกวน
2.รักษาการกินที่ดี
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
- หลีกเลี่ยงชา กาแฟ แอลกอฮอลล์
3.ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
- แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจร่างกาย
- จิตแพทย์ นักจิตวิทยา ในกรณีที่ความเครียดหรือภาวะทางจิตใจอื่น ๆ ส่งผลให้มีพฤติกรรมการนอนเปลี่ยนแปลงไป
นอนมากเกินไป หรือ ซึมเศร้า
จะรู้ได้อย่างไร ว่าที่เป็นอยู่ แค่นอนมากเกินไป หรือ กำลังเป็นโรคซึมเศร้า
1. สังเกตอาการร่วม
อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ Sleep foundation ว่า โรคซึมเศร้ากับการนอนมากเกินไปสัมพันธ์กัน คือ โรคซึมเศร้าจะทำให้การนอนผิดปกติ
จุดโฟกัสของอาการโรคซึมเศร้าไม่ใช่แค่เรื่องการนอนอย่างเดียว แต่จะมีความคิดลบ ความรู้สึกลบ อารมณ์ลบ โดยเฉพาะอารมณ์เศร้า
2. สังเกตและเรียนรู้เกี่ยวกับความผิดปกติเกี่ยวกับการนอน
นอนมากเกินไป อาจไม่ใช่เพราะโรคซึมเศร้า แต่เพราะเป็นโรคเกี่ยวกับการนอน เช่น โรคนอนมากเกิน Hypersomnia เป็นต้น
หรืออยู่ในภาวะติดง่วงที่เรียกว่า Excessive daytime sleepiness คือ มีความง่วงนอนระหว่างวันที่มากเกินไป ต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
3. สังเกตว่ากระทบกับชีวิตประจำวันหรือไม่
การถามตัวเองว่า ยังใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติหรือเปล่า ช่วยให้ประเมินตัวเองได้เบื้องต้น แต่ถ้าเริ่มกระทบกับชีวิตประจำวันต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
ที่สำคัญ คือ การจะรู้ได้ว่าเราตกอยู่ในสภาวะของโรคซึมเศร้าหรือไม่ ต้องมาจากการวินิจฉัยของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ก่อนที่การนอนที่เป็นวิธีการพักผ่อนจะทำร้ายเรา อย่าลืมใส่ใจดูแลตัวเองกันด้วยนะคะ
อ้างอิง
ร้องไห้ อีกแล้วเหรอ ? อ่อนแอจังเลย..เข้มแข็งหน่อยสิ การถูกปลูกฝั่งแบบนี้มาเรื่อย ๆ จะทำให้เราเข้าใจว่าอารมณ์อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นมา
เราไม่ควรแสดงออก ควรที่จะเก็บไว้ข้างใน ‘ยิ้ม’ และบอกกับใคร ๆ ว่า ‘ฉันไม่เป็นไร’
บางครั้งใครหลาย ๆ เลือกที่จะเก็บกดความรู้สึกที่แท้จริงของตัวเองเอาไว้ข้างในแต่กลับเลือกแสดงออกโดยการทำให้ทุกคนรอบตัวสบายใจ ยิ้ม หัวเราะ ทำตัวร่าเริง แต่ข้างในจิตใจกลับหดหู่ ทุกข์ทรมานในจิตใจ
เพราะอะไร..เราถึงเลือกเก็บความรู้สึกจริงๆ ไว้ข้างใน ?
อยากให้ลองสังเกตตัวเองเวลาที่เกิดเรื่องอะไรขึ้น เรามักจะบอกกับทุกคนหรือเปล่าว่า ‘อ๋อ..ไม่เป็นไร’ ‘ ฉันโอเค…’ ‘อืม..เราสบายดี’ ยิ้มและบอกใคร ๆ ว่าไม่เป็นไร แต่ในขณะเดียวกันข้างในแหลกสลาย
เจ็บปวดและไม่สามารถทำให้ตัวเราเองยืนขึ้นมาได้ คนส่วนใหญ่มักจะเป็นแบบนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นเกิดจากสภาวะสังคมของเราทำให้เราเข้าใจว่าการแสดงออกของอารมณ์ การแสดงความรู้สึกที่แท้จริงของเราเป็นเรื่องที่
ไม่ควรทำ ไม่ควรแสดงออก เก็บความรู้สึกของตัวเองไว้สิ จะร้องไห้ทำไม ? จะเสียใจทำไม ? อ่อนแอจังเลย.. เข้มแข็งหน่อยสิ พอถูกปลูกฝังด้วยคำพูดเหล่านั้นมาเรื่อย ๆ
เราก็จะเข้าใจว่าอารมณ์อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นเราไม่ควรที่จะแสดงออกมาและบอกกับใคร ๆ ว่าเราโอเคกับสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนั้น
คนที่เขาทำตัวร่าเริง ยิ้ม หัวเราะ สิ่งเหล่านั้นที่แสดงออกมา เราอาจจะมองไม่เห็นว่าสิ่งที่อยู่เบื้องลึกเบื้องหลังของความรู้สึกว่าเขาอาจจะกำลังเจ็บปวด อาจจะกำลังทุกข์ใจหรืออาจจะกำลังแหลกสลาย
การที่เราอยากแสดงความรู้สึกบางอย่างเพื่อให้คนรอบ ๆ ตัวสบายใจ แล้ว..เราเคยตั้งคำถามกับตัวเองไหม ? ในวันเรารู้สึกแย่ เราจำเป็นต้องยิ้มจริง ๆ หรือเปล่า ?
เราจำเป็นต้องทำให้ตัวร่าเริงเพื่อกลบเกลื่อนความรู้สึกหรือเปล่า ? เคยทำตัวเองไหม..ว่าจริง ๆ แล้วเรากำลังรู้สึกอะไรหรือคิดอะไร
ทำความเข้าใจความรู้สึกและความต้องการของตัวเอง
ทุกคนมีความเจ็บปวดในชีวิตและความเจ็บปวดของแต่ละคนแตกต่างกันออกไป การที่เราเห็นคนหนึ่งคนหัวเราะ มีความสุขมาก ๆ บางทีสิ่งที่เราเห็นอาจจะไม่ได้ตรงไปตรงมา
เขาอาจจะไม่ได้รู้สึกแบบนั้นจริง ๆ รวมไปถึงตัวเราเอง เราอาจจะต้องกลับมาสังเกตและถามตัวเอง ทำความเข้าใจในความรู้สึกที่แท้จริงของตัวเองว่าเรากำลังคิดและรู้สึกอะไร จำเป็นไหม?
ที่เราต้องพยายามทำให้คนรอบข้างรู้สึกดี การผิดหวัง โกรธ รู้สึกแย่ เจ็บปวด มันเป็นเรื่องธรรมชาติที่สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตของมุษย์เรา มันจะแปลกมากกว่าถ้าหากเราไม่สามารถอ่อนแอได้
เราเสียใจไม่เป็นและร้องไห้ไม่ได้ เพราะโดยปกติมนุษย์เรามีอารมณ์และความรู้สึก ซึ่งอารมณ์และความรู้สึกที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องธรรมชาติที่มนุษย์ทุกคนต้องมี มีมาก มีน้อย แต่ละสภาวะอารมณ์ก็แตกต่างกันออกไป
สิ่งที่สำคัญคือการที่เรายอมรับกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นให้ได้ว่าเราสามารถรู้สึกได้ในสิ่งที่เรารู้สึกจริง ๆ เราสามารถคิดได้ในมุมที่เราอยากจะคิด การที่เราแบกรับความรู้สึกอะไรก็ตามที่มันเจ็บปวดมาก ๆ
เราก็จะยิ่งทุกข์มาก ๆ แล้วเพราะอะไรเราถึงต้องฝืนความรู้สึกข้างในของตัวเอง ทำไมเราต้องยิ้มในวันที่ยิ้มไม่ไหว หัวเราะ ร่าเริง ในวันที่ข้างในสลาย
บางครั้งเราต้องเรียนรู้ ทำความเข้าใจความรู้สึกและความต้องการของเราจริง ๆ แน่นอนว่าเราคงไม่อยากให้อารมณ์ด้านลบเกิดขึ้นกับเรา แต่เชื่อเถอะว่าการที่เราปลดปล่อยอารมณ์เหล่านั้นออกมา
ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์โกรธ เศร้า อ่อนแอหรือแม้กระทั่งรู้สึกว่าเราลุกไม่ไหว และเราต้องการใครสักคนที่จะเข้ามาช่วยเหลือ เราสามารถที่จะแสดงออกมาได้ การยอมรับว่าเรามีความรู้สึก เราร้องไห้ได้ อ่อนแอได้
อารมณ์ทางลบของเรามันเกิดขึ้นได้ การซื่อสัตย์ต่ออารมณ์และความรู้สึก อาจจะไม่ใช่แค่การช่วยตัวเราเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นสัญญาณบ่งบอกคนรอบ ๆ ตัวเราว่าตอนนี้เราไม่ไหว
เราต้องการให้ใครสักคนนึงยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือเรา มาดึงเราขึ้นจากจุด ๆ นี้ที่มันหนักมาก ๆ แต่ถ้าหากเรายังคงฝืนความรู้สึกของตัวเอง ยังคงยอมรับไมได้ว่าเราจะต้องรู้สึกทางด้านลบกับเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
รวมถึงยอมรับไม่ได้ที่จะให้ตัวเองอ่อนแอและต้องทำเป็นเข้มแข็งอยู่ตลอดเวลา พอเป็นแบบนี้คนรอบข้างก็จะไม่เห็นสัญญาณเตือนเหล่านี้ว่าเขาควรที่จะยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ
หรือเขาควรจะปรับบางอย่างเพื่อให้อยู่กับเราได้ดีมากขึ้น ความเจ็บปวดที่เข้ามาเป็นเรื่องธรรมดามาก ๆ เลย
เวลาที่เราร้องไห้ไม่ได้หมายความว่าเราอ่อนแอเสมอไปเพียงแต่ว่าคงมีอะไรบางอย่างที่มันเกิดขึ้นกับจิตใจและเราต้องที่จะระบายมันออกมา ทำความเข้าใจว่าคนเราเจ็บปวดได้ ร้องไห้ได้ อ่อนแอได้
เพื่อเป็นสัญญาณให้คนรอบข้างเข้ามาช่วยเหลือรวมถึงตัวเราเองจะได้เห็นด้วยว่าเราไม่ไหวแล้วจริง ๆ
เมื่อความกลัวทำให้เกิด โรคกลัว บางสิ่งที่คนอื่นไม่กลัว กลัวอะไรแปลก ๆ หรือรู้สึกหวาดกลัวอย่างรุนแรงต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด ซึ่งจะเป็นไปอย่างไร้เหตุผล
และหาเหตุผลไม่ได้ว่ากลัวเพราะอะไร อาจเรียกได้ว่า โรคกลัว หรือ Phobia
ทำความรู้จักเกี่ยวกับ โรคกลัว หรือ Phobia
โรคกลัว เป็นโรคที่ผู้ป่วยมักจะแสดงอาการหวาดกลัวอย่างรุนแรงต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือสถานการณ์เฉพาะ ซึ่งจะเป็นไปอย่างไร้เหตุผล และจะกลัวเฉพาะสิ่งเร้าบางอย่างเท่านั้น
เช่น กลัวรู กลัวที่แคบ กลัวสัตว์บางชนิด โรคเหล่านี้ล้วนเป็นโรคที่ไม่น่ากลัวและคนทั่วไปไม่กลัวกัน ในกรณีรุนแรงไม่เพียงแค่จะมีอาการหวาดกลัวเท่านั้น
แต่ยังรวมถึงการเอ่ยถึง หรือเห็นสิ่งที่มีความใกล้เคียงกันจะทำให้รู้สึกกลัวด้วย ในส่วนของความกลัว ความกลัวคือ ปฏิกิริยาตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตที่มีไว้ป้องกันตัวเอง
เวลาเจอกับอะไรที่อาจจะส่งผลไม่ดีต่อตัวเอง เวลาที่เราเผชิญกับสิ่งที่ทำให้เรากลัว ร่างกายของเราก็จะเตือนตัวเองด้วยการสร้างเหงื่อ ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น และเพิ่มอะดรีนาลีนให้เราตื่นตัวมากยิ่งขึ้น
โรคกลัว เกิดขึ้นได้อย่างไร
ปัจจุบันแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรคกลัว แต่มีหลายทฤษฎีที่พยายามอธิบายถึงสาเหตุ เช่น อาจมีที่มาจากปมขัดแย้งที่ติดค้างในจิตใต้สำนึก มีประสบการณ์ที่ไม่ดีกับสิ่งนั้น ๆ มาก่อน
เกิดจากความไม่สมดุลของสารเคมีบางอย่างในสมอง และส่วนหนึ่งเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เนื่องจากพบว่าคนที่ขี้กลัวมักมีบุคคลในครอบครัวที่ขี้กลัวเหมือน ๆ กัน
ประเภทของ โรคกลัว
โรคกลัวแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่
1. โรคกลัวเฉพาะอย่าง (Specific Phobia)
เป็นชนิดของโรคกลัวที่พบได้บ่อย เช่น กลัวงู แมลงสาบ ผีเสื้อ ของมีคม กลัวเลือด กลัวความสูง ความมืด
2. โรคอะโกราโฟเบีย (Agoraphobia)
เป็นกลุ่มอาการกลัว (cluster of phobias) สถานการณ์หลาย ๆ อย่างที่มีลักษณะร่วมกัน คือหลบออกไปจากตรงนั้นได้ยาก หรือความช่วยเหลือเข้ามาถึงได้ยาก
เช่น กลัวที่ชุมชนที่มีคนเบียดเสียด กลัวที่แคบ ห้องไม่มีหน้าต่าง กลัวการนั่งรถตู้ด้านหลัง การเข้าเครื่อง MRI การขึ้นเครื่องบิน
3. โรคกลัวกิจกรรมทางสังคม (Social Phobia)
ผู้ป่วยจะกลัวเมื่อรู้สึกว่าตัวเองกำลังตกเป็นเป้าความสนใจของผู้อื่น เช่น การพูดหน้าชั้น การพูดผ่านไมโครโฟน หรือแม้แต่การขึ้นรถเมล์ประตูด้านหน้า
กลัวขนาดไหนถึงเรียกว่า โรคกลัว
ความกลัวจริง ๆ แล้วเป็นสัญชาตญาณที่ทำให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่รอดได้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติกับมนุษย์เราแทบทุกคน เมื่อเราเกิดความกลัว ไม่ว่าจะเป็นการกลัวความสูง กลัวสัตว์ร้าย หรือกลัวคนแปลกหน้า
มนุษย์จะหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เกิดความกลัวนั้น ซึ่งเท่ากับว่าจะช่วยลดโอกาสที่จะเกิดอันตรายกับตัวเราเองแต่ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่เราเกิดความกลัวจนทำให้ตัวเองทุกข์มาก ๆ ทำให้เสียงานเสียการ เกิดความตึงเครียด
เป็นความกลัวที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนจนก่อให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา ในกรณีแบบนี้จะถือว่าเป็น “โรคกลัว (Phobia)” ซึ่งจัดว่าเป็นความผิดปกติทางจิตเวชอย่างหนึ่ง
อาการของโรคกลัว
ผู้ป่วยจะมีอาการผิดปกติเมื่อพบกับสิ่งที่ตัวเองรู้สึกกลัว เช่น อาการกลัวรู กลัวเสียงดัง กลัวความรัก กลัวทะเล เมื่อได้มีโอกาสพบเจอกับสิ่งที่ตัวเองรู้สึกกลัว อาจทำให้มีอาการต่าง ๆ เกิดขึ้นกับตัวเองได้
เช่น กล้ามเนื้อตึงตัว ปวดศีรษะ ใจสั่น หายใจไม่ทัน รู้สึกชาวูบขึ้นมาทั้งตัว มือสั่น ปากสั่น และบางรายอาจรู้สึกกลัวจนถึงขนาดวิงเวียนและหมดสติไปได้เลย
กลัวในสิ่งที่คนอื่นไม่กลัว
โรคกลัวเสียงดัง (Misophonia)
กลัวเสียงดัง หรือ มีอาการเกลียดเสียง เมื่อต้องได้ยินเสียงบางอย่าง เช่น เล็บขุดเหล็ก เสียงประทัด เสียงพลุ เป็นต้น เมื่อได้ยินแล้วจะรู้สึกตื่นกลัว ไม่สบายใจ อึดอัด อยากหนีไปไกล ๆ
โรคกลัวไม่มีหนังสืออ่าน (Abibliophobia)
อาการนี้ มักเกิดขึ้นกับคนที่ชอบอ่านหนังสือ หรือ เป็นหนอนหนังสือ เพราะจะมีอาการกลัว เมื่อไม่มีวัตถุให้จับอ่าน ส่วนใหญ่จะเกิดในคนที่เสพติดหนังสือมาก ๆ ต้องอ่านอยู่ตลอด ๆ
โรคกลัวทะเล (Thalassophobia)
มักเกิดขึ้นเมื่ออยู่ใกล้ทะเล หรือ แค่เห็นภาพถ่ายก็อาจกลัวได้ สาเหตุส่วนใหญ่มักมาจากความคิด ที่จินตนาการว่าใต้ทะเลลึก อาจมีอะไรซ่อนอยู่ เป็นสิ่งลึกลับที่เราไม่อาจรู้ได้
โรคกลัวผู้ชาย (Androphobia)
อาการกลัวผู้ชาย มักเกิดขึ้นกับผู้หญิงในช่วงวัยรุ่นมากที่สุด โดยจะมีอาการกลัวผู้ชาย หลีกเลี่ยงการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชาย และอาจมีอาการกลัวถึงขั้นไม่กล้าคบกับผู้ชายเลยสักคน
โรคกลัวการอยู่คนเดียว (Autophobia)
เป็นภาวะความกลัวที่เฉพาะเจาะจง โดยการกลัวการเป็นตัวเอง กลัวความเหงา กลัวการอยู่คนเดียว กลัวการต้องแยกจากผู้อื่น การกลัวความโดดเดี่ยว อาจเกิดจากประสบการณ์ในจิตใจ เช่น เคยถูกทิ้งให้อยู่คนเดียว
โรคกลัวเชื้อโรค (Mysophobia)
เป็นอาการกลัวความสกปรก กลัวเชื้อโรค เมื่อต้องอยู่ในพื้นที่ปนเปื้อน โดยอาจมีการแยกตัวออกมา จากสิ่งที่คิดว่าสกปรก ไม่สะอาด หรือ มีเชื้อโรคเยอะ อาจส่งผลให้เกิดความวิตกกังวล เครียดสะสม
โรคกลัวกระจก (Eisoptrophobia)
ไม่กล้ามองเข้าไปในกระจกเพราะรู้สึกว่าตัวเองจะถูกดูดเข้าไปในโลกอีกฝั่งที่อยู่ในกระจก นอกจากนี้ผู้ที่มีอาการกลัวกระจกจะรู้สึกกังวลเป็นอย่างมากถ้าหากกระจกเกิดแตกขึ้นมาเพราะกลัวว่าความโชคร้ายจะมาเยือน
โรคกลัวรู (Trypophobia)
เป็นความรู้สึกกลัว หลอน ขยะแขยง ขนลุก มีเหงื่อออก ตัวสั่น อึดอัด คลื่นไส้ หรือสะอิดสะเอียนเมื่อเห็นผิวของวัตถุที่เต็มไปด้วยรูเล็ก ๆ หรือมีลักษณะตะปุ่มตะป่ำ เช่น ฝักเมล็ดบัว รังผึ้ง เมล็ดทับทิม สตรอเบอร์รี่
โรคกลัวเลือด (Hemophobia)
เป็นความกลัวต่อเลือดอย่างรุนแรงและไม่สมเหตุผล ซึ่งผู้ที่มีอาการเฉียบพลันจะมีปฏิกิริยาตอบสนองทางกายมากกว่าความกลัวปกติธรรมดา โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการคือเป็นลม
ซึ่งอาจพบปฏิกิริยาดังกล่าวได้ในผู้ที่มีอาการกลัวเข็ม และอาการกลัวการบาดเจ็บ
โรคกลัวเข็ม
อาการคือแค่นึกถึงขั้นตอนการเจาะเลือดก็เกิดความวิตกกังวลอย่างเฉียบพลัน มีอาการแพนิก ตื่นตระหนก หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็วขึ้น เหงื่อออก ความดันโลหิตลดลง จนอาจเป็นลมหมดสติ
โรคกลัวสัตว์
เป็นอาการที่มีความกลัวต่อสัตว์อย่างรุนแรงและไม่สมเหตุสมผล เมื่อเจอสัตว์ประเภทต่าง ๆ ที่เป็นสัตว์ที่เราคุ้นเคยกัน เช่น น้องหมา น้องแมว หรือสัตว์ใหญ่ทั่วไปอย่าง
เช่น ช้าง ม้า วัว หลายคนอาจมองว่าน้องตัวเล็ก น่ารัก หรือไม่มีพิษภัย แต่สำหรับคนที่เป็นโรคกลัวจะกลัวมากกว่าคนปกติและไม่อยากที่จะเข้าใกล้เลย
โรคกลัวความรัก
มักแสดงอาการทางกาย เช่น สั่นกลัว ร้องไห้ วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หายใจหอบถี่ เหงื่อออกมาก เมื่อรับรู้ว่ามีบุคคลอื่นพยายามสานความสัมพันธ์ หรือแสดงออกว่าชอบตัวเอง
เคสตัวอย่างอาการกลัวของดาราฮอลีวู้ด
“นิโคล คิดแมน” กลัวผีเสื้อจนขึ้นสมอง เป็นความฝังใจวัยเด็กที่เห็นผีเสื้อยักษ์เกาะหน้าประตูบ้านแล้วหวาดผวา เขาเล่าว่า เขารู้สึกแทบหยุดหายใจทุกครั้งที่เห็นผีเสื้อยักษ์เกาะประตูบ้าน
แต่ต้องกลั้นใจปีนรั้ว แล้วคลานเข้าไปด้านหลังบ้าน เพื่อไม่ให้ผ่านประตูใหญ่ พอโตขึ้นก็พยายามรักษาอาการกลัวผีเสื้อ โดยเดินดุ่ม ๆ เข้าพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา แต่พอเจอกับผีเสื้อยักษ์ในกรงท้องไส้ก็ปั่นป่วนทันที
“คริสเตน สจ๊วต” ซุป’ตาร์สุดฮอตของฮอลลีวูด กลัวม้าดีด สาเหตุเกิดจากจากที่ตัวเองเคยตกหลังม้าตอนอายุ 9 ขวบ จากนั้นก็ฝังใจมาจนโต
“เมแกน ฟ็อกซ์” ให้สัมภาษณ์ว่า ตัวเองนั้นในชีวิตนี้กลัวกระดาษ , กลัวรูปตัวเอง , เกลียดเชื้อโรค และความมืด
“จอห์นนี่ เด็ปป์” มีอาการกลัวตัวตลก ไม่ใช่แบบตลกคาเฟ่ตีหัวแบบบ้านเรา แต่เป็นตัวตลกที่แต่งหน้าขาว ทาปากแดง ๆ หัวหยอย ๆ แบบโบโซ่ในสวนสนุก
ซึ่งสาเหตุเกิดจากการที่เขาไม่ชอบการแต่งหน้าและรอยยิ้มที่ดูเหมือนเฟคขึ้นมาของตัวตลกแบบนี้เลย มันดูน่าสยดสยองมากกว่าที่จะน่ารัก
เมื่อเป็นโรคกลัวควรทำอย่างไร รักษาด้วยวิธีแบบไหนดี
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า แพทย์จะรักษาโรคกลัวด้วย 2 วิธีหลัก คือ
1. พฤติกรรมบำบัด จัดเป็นการรักษาหลัก วิธีการคือให้ผู้ป่วยเข้าหาและเผชิญหน้ากับสิ่งที่ตัวเองกลัวแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยเริ่มจากสิ่งที่ผู้ป่วยกลัวน้อย ๆ ก่อน
เมื่อหายกลัวแล้วจะค่อย ๆ ให้เผชิญกับสิ่งที่ผู้ป่วยกลัวมากยิ่งขึ้นไปเรื่อย ๆ จนถึงเป้าหมายที่ผู้ป่วยตั้งใจไว้ ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ป่วยอย่างมาก ๆ
2. การรักษาด้วยยา โดยยาที่นำมาใช้ จะเป็นยาประเภท เช่น ยาแก้โรคซึมเศร้าบางชนิด ยาระงับอาการสั่น โดยแพทย์จะใช้ยาในผู้ป่วยที่กลัวมากจนไม่ยอมทำพฤติกรรมบำบัด
ซึ่งยาจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกกลัวน้อยลงและกล้าที่จะฝึก เมื่อผู้ป่วยประสบความสำเร็จในการทำพฤติกรรมบำบัดแพทย์จะค่อย ๆ ลดยาลงจนหยุดยาได้ เพราะการให้ยาอย่างเดียวไม่ได้ทำให้ผู้ป่วยหายขาด
เมื่อหยุดยาอาการกลัวก็จะกลับมาอีก ดังนั้นผู้ป่วยต้องบำบัดเพื่อกล้าที่จะเผชิญต่อสิ่งที่เรากลัวนั่นเอง
Phobia อาจไม่ใช่โรคกลัวที่มีอาการรุนแรง แต่สามารถส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้ป่วยได้ส่วนหนึ่ง หากสำรวจตัวเองแล้วรู้สึกว่ากำลังมีอาการกลัวในสิ่งเหล่านี้อยู่
อยากให้ลองไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับคำแนะนำเกี่ยวกับอาการและแนวทางการรักษา เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและก่อให้เกิดเป็นปัญหาเรื้อรังในภายหลังได้
ที่มา :
https://www.petcharavejhospital.com/th/Article/article_detail/Phobia-detai
https://www.bumrungrad.com/th/conditions/phobias
https://th.theasianparent.com/20-https://www.pptvhd36.com/news//14421-phobia
https://www.thairath.co.th/news/foreign/844832
Penguin Highway วันหนึ่งฉันเจอเพนกวิน อนิเมะแนว Coming-of-age ที่นอกจากจะภาพสวย ตัวละครออกแบบได้น่ารัก เรื่องราวอัดแน่นไปด้วยความแฟนตาซี
สอดแทรกข้อคิดและมีแก่นเรื่องที่ให้ตีความได้เกินกว่าจะเป็นแค่การ์ตูนสำหรับเด็ก เป็นอนิเมชั่นยอดเยี่ยมที่ไม่ควรพลาดของญี่ปุ่น ได้ดัดแปลงมาจากนิยาย ปี 2010
เป็นนิยายวิทยาศาสตร์ของญี่ปุ่น เขียนโดย โทมิฮิโกะ โมริมิ ได้รับรางวัลการเสนอชื่อเข้าชิง เจแปน อะคาเดมี ไพรซ์ สาขาแอนิเมชั่นแห่งปี
Penguin Highway
เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ อาโอยาม่าคุง เด็กผู้ชายชั้นประถมปีที่ 4 มีนิสัยชอบสำรวจและทดลองเพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆ เป็นชีวิตจิตใจ
อยู่มาวันหนึ่งมีเพนกวินปรากฏตัวอยู่ในละแวกที่อาโอยาม่าคุง อยู่ การผจญภัยเพื่อหาว่าเพนกวินมาจากไหนจึงเริ่มต้นขึ้น เพนกวินที่เจอนั้นมาจากไหน?
อาโอยาม่าคุง อยากทำการวิจัยเลยชวนเพื่อนสนิท อิจิดะคุง มาทำโปรเจคร่วมกันชื่อว่า โปรเจคอเมซอน ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น ปรากฎการณ์ เพนกวินไฮเวย์
ซึ่งปรากฎการณ์ เพนกวินไฮเวย์ สร้างความแปลกปะหลาดให้ผู้คนในเมืองอย่างมาก ทั้งตกใจ ทั้งกลัว นอกจากจะมีเพนกวิ้นแล้วยังมี ตัวประหลาด ที่ชื่อว่า จาบาว็อค
และก้อนทะเลวงกลมปรากฎขึ้น ยิ่งไขความลับมากเท่าไหร่ยิ่งมีปริศนาอื่น ๆ เข้ามาทำให้เนื้อเรื่องน่าติดตามและคอยลุ้นไปกับพวกเขาว่าจะจบอย่างไร
ตัวละคร
1. อาโอยาม่าคุง
เด็กชั้นประถมปีที่ 4 ที่ มีความใฝ่เรียนรู้ สนใจวิทยาศาสตร์ ชอบสังเกต ทดลอง และบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เป็นตัวตั้งตัวตีในการสำรวจเรื่องเพนกวิน เพราะคิดว่าเป็นเรื่องแปลกที่เพนกวินปรากฏตัวในทุ่ง
อาโอยาม่าคุงเด็กป. 4 ที่ค่อนข้างจะทำเกินเด็กประถมไปหน่อยทั้งในทางด้านความคิด การแสดงออก อาโอยาม่าเป็นคนที่จริงจังกับเรื่องที่ตัวเองสนใจ มีไฟ มีความกล้าที่จะลองผิดลองถูก
แต่ในความเป็นจริงแล้วอาโอยาม่าคุงแค่อยากโตเป็นผู้ใหญ่ไว ๆ เพราะอยากแต่งงานกับพี่สาวร้านหมอฟันที่ตัวเองหลงรัก
2. อุจิดะคุง
เพื่อนสนิทของอาโอยาม่าที่โรงเรียน เป็นหนึ่งในทีมสำรวจเรื่องก้อนทะเลวงกลมและเพนกวิน อุจิดะ เป็นเด็กผู้ชายที่ดูเผิน ๆ เหมือนจะชอบตามคนอื่น ขี้กลัว ขี้กังวล
แต่ตัวละครนี้น่ารักมาก คอย support เพื่อนบางครั้งการที่เราไม่ใช่ตัวเด่น ไม่ใช่ตัวตั้งตัวตี แต่เป็นคนที่คอยสนับสนุนและช่วยเหลืออยู่เบื้องหลังก็มีคุณค่าในตัวเองเหมือนกัน
3. ฮามาโมโตะซัง
ฮามาโมโตะซังมีความสนใจในวิทยาศาสตร์เหมือนกัน เลยชวนอาโอยาม่าสำรวจ “ก้อนทะเล” ที่ตัวเองเจอในป่าต้องห้าม ก้อนทะเลเป็นลูกกลม ๆ ใส ๆ ขนาดใหญ่ที่มีความเกี่ยวข้องกับการปรากฏตัวของเพนกวินและจาบาว็อค
4. พี่สาวคลินิกทำฟัน
เป็นพี่สาวลึกลับที่อาโอยามะคุงตกหลุมรัก ไม่มีใครรู้ว่าพี่สาวมาจากไหน แต่พี่สาวมาพร้อมกับเพนกวิ้นและสัตประหลาดจาบาว็อค
5. ซูซูกิคุงและเพื่อน ๆ ที่เป็นลูกน้อง
ซูซูกิเป็นเด็กผู้ชาย เพื่อนร่วมห้องของอาโอยาม่า มักจะแกล้งเพื่อนเป็นประจำ ในเรื่องสะท้อนให้เห็นว่าการกลั่นแกล้ง หรือการ Bully ยังเกิดขึ้นอยู่ ในทางจิตวิทยา การ Bully คือการแสดงความก้าวร้าวรูปแบบหนึ่ง
ซึ่งพฤติกรรมที่เราคิดว่า “เล่นๆ เฉยๆ ทำไปไม่คิดอะไร” อาจสร้างบาดแผลต่อจิตใจของผู้ที่ถูกกระทำมากกว่าที่เห็น เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถเข้มแข็ง
เรื่องนี้จะสื่ออะไรกับคนดู ?
พี่สาว คือ มนุษย์ต่างดาว ที่เข้ามาสอดแนมบนโลกมนุษย์? มาพร้อมกับ เพนกวิน และจาบาว็อค โดยเพนกวินก็เหมือนฝ่ายดีที่ช่วยซ่อมแซมโลก ช่วยทำให้โลกมีความสมบูรณ์ขึ้น
แต่ จาบาว็อค ก็กินเพนกวินเปรียบเหมือนว่าถ้าเอาสิ่งที่ดีมาปิดรอยรั่วแต่ถ้ายังไม่เลิกทำในสิ่งที่ไม่ดีสักที เอาสิ่งดีมาปิดนานแค่ไหนก็ไม่หมด
ในอีกแง่หนึ่งเข้าใจว่าเรื่องนี้จะสื่อถึงความรักที่ไม่ถูกคนไม่ถูกเวลา มีบางฉากที่อาโอยาม่ากับพี่สาวมี moment เกินพี่น้อง แต่บทสรุปคือพี่สาวไม่ใช่มนุษย์ แล้วจากไปแบบไม่รู้ว่าจะได้กลับมาเจอกันอีกไหม
เหมือนหนังกำลังบอกว่า หากความรักเกิดขึ้นจริง คงห้ามความรู้สึกไม่ได้ และไม่ผิดเลย ที่ความรู้สึกจะเกิดขึ้น อย่างที่อาโอยาม่าพูดในเรื่องเลยว่า การรักใครชอบใครไม่ใช่เรื่องน่าอาย
แต่ด้วยอายุด้วยวัยที่ต่างกันขนาดนี้ คงไม่มีทางเป็นไปได้และคงไม่มีทางได้รับการยอมรับจากสังคม สุดท้ายการที่พี่สาวจากไป
เลยเหมือนเป็นการบอกว่า ความสัมพันธ์จำเป็นต้องหยุดลง แต่เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เพราะไม่ใช่ว่าทุกคนจะสมหวังในทุกเรื่องของชีวิต
ข้อคิด
เป็นตัวเอง
ไม่ว่าจะเป็นยังไง จะแปลกแค่ไหน ทุกคนจะมีเพื่อนเป็นของตัวเอง มีกลุ่มคนที่ยอมรับและเข้าใจในตัวคุณ พร้อมจะสนับสนุนคุณ อย่างอาโอยาม่า ที่เนิร์ดมาก หมกมุ่นกับวิทยาศาสตร์สุด ๆ
ซูซูกิเพื่อนร่วมห้องยังพูดบ่อย ๆ เลยว่าอาโอยาม่าพูดไม่รู้เรื่อง แต่ถึงอาโอยาม่าจะเป็นแบบนี้ แต่เขามีเพื่อนที่อยู่เคียงข้างเขา คือเพื่อนที่สนใจเรื่องแนวเดียวกันอย่างอูจิดะและฮามาโมโตะ
งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา
มีตัวละครหนึ่งเขาได้พูดว่า ‘แม้เป็นเรื่องสนุกแค่ไหน สักวันมันก็ต้องจบลง’ อาจจะน่าเศร้าถ้าเรื่องที่จบลงเป็นเรื่องดี ๆ เป็นความสัมพันธ์ดี ๆ แต่อย่าลืมว่าไม่มีอะไรที่อยู่กับตลอดไป
ในวันที่เศร้า ในวันที่แย่ เรื่องเหล่านั้นจะมีวันจบลงเช่นกัน
ความตายเป็นความจริงของชีวิตที่ต้องยอมรับ
มีฉากหนึ่งที่น้องสาวเดินร้องไห้เข้ามาในห้องของอาโอยาม่ากลางดึก แล้วบอกว่า ‘คุณแม่ตายแล้ว’ แต่จริง ๆ แล้วน้องสาวแค่เสียใจไปถึงอนาคตว่าวันหนึ่งคุณแม่จะต้องตาย
อาโอยาม่าเลยบอกว่า ‘สิ่งมีชีวิตก็ต้องตายทั้งนั้นแหละ’ ดูเป็นคำปลอบใจที่ใจร้ายอยู่เหมือนกัน แต่เป็นเรื่องที่ต้องเกิดขึ้นการเตือนตัวเองจะทำให้เราใช้เวลากับคนที่เรารักในแบบที่เราจะไม่เสียใจภายหลังค่ะ
อย่าลืมใส่ใจเรื่องธรรมดาในชีวิตประจำวัน
ฉากที่อาโอยาม่าและคุณพ่อเดินกลับบ้าน คุณพ่อบอกว่า ‘ตั้งใจค้นคว้าก็ดีแล้ว แต่อย่าลืมแปรงฟันล่ะ’ แล้วอาโอยาม่าบอกว่า
‘ผมลืมประจำเลย เพราะอยากทำอะไรหลายอย่าง’ ทำให้นึกถึงความสุขในชีวิต บางครั้งเราอาจจะตามหาความสุขของชีวิต แล้วนึกถึงแต่เป้าหมายใหญ่ ๆ จนลืมความสุขเล็ก ๆ จากเรื่องธรรมดา ๆ ระหว่างทาง
เกร็ดความรู้เล็กน้อยจากเรื่อง
ตัวละครซูซูกิคุงแอบชอบฮามาโมโตะซัง แต่การแสดงออกของเขาจะเป็นการการแสดงออกที่แข็ง ๆ ชอบแกล้ง ทำท่าขึงขังใส่ การแสดงออกแบบนั้นหมายความว่าอย่างไร?
กลไกการป้องกันตัวเอง หรือที่เรียกว่า Defense Mechanism ในทางจิตวิทยา กลไกป้องกันตัวเองนั้นชื่อว่า Reaction Formation หรือการเก็บความรู้สึกที่แท้จริงไว้แล้วแสดงออกในสิ่งที่ตรงกันข้าม
อย่างที่เห็นในเรื่องคือ ความจริงแล้วซูซูกิชอบฮามาโมโตะ แต่กลับแกล้งเขา ทำไม่ดีกับเขา ส่วนหนึ่งอาจจะเพราะซูซูกิรู้อยู่แล้วว่าถ้าแสดงออกไปตรง ๆ ว่าชอบ ก็คงไม่สมหวัง
เพราะไม่มั่นใจในตัวเองว่าดีพอที่ฮามาโมโตะจะชอบกลับหรือเปล่า หรืออาจจะเพราะรู้ว่าฮามาโมโตะชอบอาโอยาม่าคุง เลยเลือกที่จะปกปิดความรู้สึกที่แท้จริงไว้ เพื่อป้องกันตัวเองจากความเจ็บปวดจากการโดนปฏิเสธ
ซึมเศร้าซ่อนเร้น (Masked Depression) ภาวะซึมเศร้าที่ยากต่อการรับรู้มักจะหลบซ่อนแสดงออกทางกายมากกว่าจิตใจ อยากจะชวยทุกคนมารีเชคกันว่าตอนนี้เราอยู่ในภาวะนี้หรือเปล่า?
ภาวะ ซึมเศร้าซ่อนเร้น (Masked Depression)
คำว่า “โรคซึมเศร้าซ่อนเร้น” คำนี้ถูกใช้อย่างมากเลยในปี 1970 และ 1980 โดยคำนี้จะบรรยายถึงภาวะที่ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าขั้นรุนแรงที่มีอาการทางกายมากกว่าอาการทางจิต
อาการทางร่างกายเหล่านี้ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยสาเหตุทางชีววิทยา ตามที่สมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (APA) ได้กล่าว แต่มันเป็น ภาวะซึมเศร้า รูปแบบพิเศษที่มีลักษณะผิดปกติ
ซึ่งหมายความว่าจะมองไม่เห็นอาการ Masked ก็คือ แมสก์ ที่เราใช้แทนการปกปิดอาการทางจิตใจแล้วแสดงออกเป็นความเจ็บปวดทางกายแทน
โรคซึมเศร้าซ่อนเร้นเป็นคำศัพท์ที่นักจิตวิทยาและแพทย์เคยใช้เพื่ออธิบายภาวะ ซึมเศร้า ที่มีอาการทางร่างกายมากกว่าอาการทางจิตหรือทางอารมณ์คำนี้ไม่ได้ถูกใช้เป็นคำวินิจฉัยอย่างเป็นทางการอีกต่อไป
แต่ถึงแม้ว่าปัจจุบันอาจจะไม่ค่อยได้ใช้ในการวินิจฉัยโรค ก็อาจจะมีคำศัพท์อื่นที่นำมาใช้เเทนในปัจจุบัน เช่น Hidden Depression ภาวะซึมเศร้าที่ซ่อนอยู่ หรือคำศัพท์ทางเทคนิค เช่น
-
ภาวะโซมาติก Somatic Symptoms (SSD)
-
โรคโซโมโตฟอร์ม (Somatoform Disorder)
ผู้ที่มีภาวะนี้สามารถรับผิดชอบหน้าที่การงานได้ เวลาเจ็บป่วยทางร่างกายยังสามารถไปหาหมอได้ตามปกติ หรือบางคนอาจจะเป็น ย้ำคิดย้ำทำ (OCD) หรือ Workaholic บ้างานหนักมากไปเลย
เพราะในระดับจิตใต้สำนึกของผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าซ่อนเร้นจะมีความรู้สึกไม่มั่นคง มีความสงสัย และไม่มั่นใจในคุณค่าของตัวเอง จึงพยายามทุ่มเท ทำทุกสิ่งทุกอย่างให้ดี สมบูรณ์แบบที่สุด
เพื่อให้ตนเองเป็นที่ยอมรับของผู้อื่น และถ้างานไม่ได้ผลตามที่คาดหวัง จะรู้สึกผิดหวังรุนแรง โกรธเกรี้ยวหงุดหงิดง่าย อย่างไม่สมเหตุสมผลในบางรายความคาดหวัง
ความหมกมุ่นเหล่านี้ก่อให้เกิดความเครียดสะสมหรือปัญหาการนอนไม่หลับ จนต้องแก้ปัญหาด้วยการใช้เหล้า สุรา ยานอนหลับ หรือสารเสพติด
อาการทางร่างกาย
ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ปวดหัว หัวใจเต้นเร็วหรือใจสั่น เหนื่อยล้า ปวดท้องหรือปัญหาทางเดินอาหาร
อาการทางจิตที่พบบ่อย
หากใครที่เป็นภาวะซึมเศร้าซ่อนเร้น เราอาจพบอาการทางจิตเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย หรือพบอาการรองจากอาการทางร่างกาย และบางคนอาจพบอาการทางจิตและอารมณ์บางอย่าง
เช่น สูญเสียความสุขในกิจกรรมตามปกติของคุณ ความหงุดหงิด รู้สึกไร้ค่า มีความวิตกกังวล
พฤติกรรมและความคิด
1. มีปัญหาเกี่ยวสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อกับอะไรได้เป็นเวลานาน
2. เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
3. พลังงานน้อย
4. ถอนตัวออกจากสังคม (Social Withdrawal)
อยู่แต่บ้าน ไม่ต้องการมีส่วนร่วมกับสังคม ไม่เข้าสังคม อย่างถ้าเกิดขึ้นกับเด็กจะไม่อยากไปโรงเรียน ผู้ใหญ่ก็อาจจะไม่อยากไปทำงาน ซึ่งเป็นระยะเวลานานมากกว่า 6 เดือน
5. Perfectionist
อาจจะมีพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำ ทุกอย่างต้องสมบูรณ์ เพราะลึก ๆ แล้วผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารู้สึกไม่มั่นคงต่อตัวเอง จึงต้องการทุ่มเททุกอย่างเพื่อกลบและเติมความรู้สึกไม่มั่นคงที่เกิดขึ้น
ภาวะโซมาติก (Somatic symptoms disorder) หรือ ภาวะซึมเศร้าซ่อนเร้น
ภาวะโซมาติก หรือ SSD เป็นความผิดปกติอย่างหนึ่งทางจิตเวชตามเกณฑ์การวินิจฉัยโรคทางจิตเวช โดยเป็นความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับร่างกายและจิตใจ ปวดหัว ปวดท้อง หายใจไม่ทั่วท้อง มึนหัว
อาการสำคัญของภาวะนี้คือผู้ป่วยจะมีความหมกมุ่นหรือกังวลอย่างมากกับอาการเจ็บป่วยทางกายจนมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ซึ่งลักษณะการป่วยทางกายภาพจะคล้ายคลึงกับภาซะซึมเศร้าซ่อนเร้นมาก ๆ
แต่ภาวะ โซมาติก จะมีความหมกหมุ่นทางด้านเจ็บปวดร่างกายทำให้บางคนก็ส่งผลกระทบต่อการทำงาน การใช้ชีวิตประจำวัน
พออาการของภาวะสองอย่างนี้คล้ายกันมันเลยทำให้การวินิจฉันของแพทย์ที่ต้องระบุว่าเป็นภาวะไหนกันแน่มีความล้าช้า และอาจจะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่แย่ได้
ซึมเศร้า กับ ซึมเศร้าซ่อนเร้น
ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder) จะมีอาการซึมเศร้าชัดเจน เช่น เหนื่อย ท้อเเท้ ผิดหวัง ไร้ค่า
แต่ ซึมเศร้าซ่อนเร้น มักไม่พบความเศร้าชัดเจน ยังใช้ชีวิต ทำงาน พูดคุยตอบโต้ได้ตามปกติ แต่มักจะมีความรู้สึก วิตกกังวลและไม่มีความสุขพ่วงมาด้วย
อาการที่แสดงออกชัดเจนคือความเจ็บปวดทางกาย เช่น ปวดหัว ปวดหลัง เจ็บหน้าอก เพราะฉะนั้นเวลาคนที่ตกอยู่ในสภาวะนี้จะคิดว่าเป็นโรคทางกายและหาสาเหตุของความเจ็บปวดนี้ไม่พบ
ทำไมซึมเศร้าถึงเชื่อมโยงกับอาการทางกาย
บทความของ Healthline บอกว่า อาการซึมเศร้า อาจทำให้เกิดอาการทางร่างกาย ความรู้ความเข้าใจ และพฤติกรรม นอกเหนือไปจากการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์
นักวิจัยประมาณการจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น 2 ใน 3 ของผู้ที่มีภาวะซึมเศร้ามีอาการเจ็บปวดทางกายเป็นเวลานานโดยไม่ทราบสาเหตุ จากงานวิจัยยังบอกไว้อีกด้วยว่า
พื้นที่ของสมองที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์และความเจ็บปวดทางร่างกาย ถูกรบกวนด้วยภาวะซึมเศร้า และอาการซึมเศร้ายังเชื่อมโยงกับการผลิตสารเคมีที่เรียกว่าไซโตไคน์
ซึ่งอาจทำให้เกิดการอักเสบและเจ็บปวดได้คล้าย ๆ กับการที่ภาวะซึมเศร้าและการนอนหลับก็เชื่อมโยงกัน อาการซึมเศร้าทำให้นอนหลับไม่สนิท และการอดนอนอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้
การรักษา
การรักษาทำได้ค่อนข้างยากเพราะผู้ป่วยซึมเศร้าซ่อนเร้น มักจะปกปิดอาการ ความรู้สึกของตัวเอง ส่วนใหญ่จะไม่มองถึงอาการป่วยทางจิตแต่จะมองอาการป่วยทางกายมากกว่า พอไม่รู้สึกถึงอาการที่แปลกไปจากเดิม
กลายเป็นความเครียดสะสมทางอารมณ์ไปเรื่อย ๆ จนขาดความมั่นคงทางอารมณ์ ไม่มั่นใจในตัวเอง ดังนั้นหากเรารีเชคตัวเองหรือคอยถามคนใกล้ชิดเราที่มีแนวโน้ม
การค่อย ๆ ทำให้เขายอมรับอาการของเขา จะทำให้การวินิจฉัยและการรักษาง่ายมากขึ้น และการรักษาไม่มีขั้นตอนที่ตายตัวเหมือนการรักษาซึมเศร้าแบบปกติ จิตแพทย์อาจพิจารณาให้ความรู้ ความเข้าใจ ทำจิตบำบัด
ให้ศิลปะบำบัด และช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจตัวเอง ปรับเปลี่ยนมุมมองต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิต เลือกใช้วิธีแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์กว่าเดิม ไม่ทำร้ายตัวเอง มองเห็นคุณค่าในตัวเอง
หรือในบางรายอาจพิจารณายาแก้อาการซึมเศร้าได้บ้าง การออกกำลังกาย การเที่ยวพักผ่อนตามธรรมชาติเพื่อสงบจิตใจของผู้ป่วย การทำโยคะถือเป็นตัวช่วยที่ดีมาก ๆ เลย
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการที่เราไม่ปล่อยผ่านทุกความปกติที่เกิดขึ้นทั้งร่างกายและจิตใจ การรีเช็คตัวเองเป็นอะไรที่สำคัญมาก ๆ ถ้าเรามีการรีเช็คตัวเอง เราก็จะรู้จักตัวเอง และรู้ทันทุกสภาวะที่อาจจะเกิดขึ้นได้
อ้างอิง
ซึมเศร้าซ่อนเร้น (Masked Depression)
ถ้าพูดถึงเรื่อง คิดมาก ใคร ๆ ก็คงต้องเคยคิดมาก คิดมากกับเรื่องบางเรื่อง คิดมากกับเรื่องเล็ก เรื่องใหญ่ หรือคิดมากไปกับซะทุกเรื่อง ซึ่งตอนนี้เรากำลังคิดมากอยู่ในระดับไหนกัน
ถึงขั้น Chronic Overthinking หรือ คิดมากเรื้อรังแล้วหรือเปล่า
หากความคิดมากสามารถเกิดขึ้นกับทุกคนได้ แล้วความคิดมากมักเกิดมาจากสาเหตุใด จากคำอธิบายของของนักจิตวิทยา Denielle Syslo นักบำบัด Dr. Paulette Sherman
สาเหตุหลักที่นำไปสู่การเป็นคน คิดมาก ได้ทั้งหมด 3 ปัจจัยด้วยกัน
1. ความเครียด ซึ่งความเครียดเป็นรูปแบบหนึ่งของการตอบสนองต่อความกลัวที่เกิดขึ้นในชีวิตคนเรา ที่มักเกิดขึ้นตอนที่เราเกิดความรู้สึกกลัว จึงทำให้ความคิด
และความกังวลต่าง ๆ มากมายพร้อมที่จะเข้ามาในหัวเราได้ในทันที ทำให้เราเกิดความรู้สึกเครียดจนนำไปสู่การคิดมากได้นั่นเอง
2. การบอบช้ำทางจิตใจจากเหตุการณ์ในอดีตที่เคยผ่านมา ซึ่งคนที่เคยผ่านเรื่องราวต่าง ๆ ที่เป็นบาดแผลทางจิตใจ มักจะรู้สึกไม่มั่นคงทางจิตใจมากกว่าคนทั่วไป
จึงมีแนวโน้มที่จะเป็นคนคิดมากได้มากกว่า สาเหตุเก็กิดจากบาดแผลทางจิตใจที่เกิดขึ้นนั้นมักเปลี่ยนแปลงการพัฒนาของสมองให้อยู่ในสภาวะที่ต้องคอยระมัดระวังมากจนเกินไปหรือระวังมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม
และทำให้เกิดความรู้สึกถึงความกังวลต่อสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเสมอ
3. การเป็นคนที่ยึดติดกับความสมบูรณ์แบบ คนที่ยึดติดกับความสมบูรณ์แบบในที่นี้จะรวมถึงคนที่ชอบควบคุมสิ่งต่าง ๆ รอบตัว หรือคิดว่าตัวเองสามารถควบคุมสิ่งต่าง ๆ ได้อยู่เสมอ
ดังนั้นคนกลุ่มนี้จึงมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นคนคิดมากได้ เพราะเขามักกังวลว่าตัวเองนั้นอาจไม่สามารถควบคุมเรื่องบางเรื่องในชีวิตได้หรือเขามัวแต่หมกมุ่นกับความคิดต่าง ๆ นั้นมากจนเกินไป
ฉันเป็นคน คิดมาก แล้วหรือยัง วันนี้เราลองมาเช็คลิสต์ตัวเองกันดู
1. นึกถึงอดีตที่ผ่านไปแล้วอยู่บ่อย ๆ ครั้ง และมักจะกังวลว่าอนาคตอาจมีเรื่องอะไรแย่ ๆ รอคอยอยู่เสมอ
ยกตัวอย่าง เช่น นึกถึงอดีตแฟนเก่าที่เคยนอกใจ จนส่งผลทำให้คิดกังวลไปก่อนแล้วว่าแฟนคนใหม่แอบนอกใจ ทั้ง ๆ ที่ยังไม่มีเหตุการณ์อะไรที่เกิดขึ้น
แต่เป็นเพียงเพราะความกลัวกังวลคิดว่าต้องมีเรื่องไม่ดีเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
2. ไม่กล้าตัดสินใจทำอะไรเพราะกลัวว่าตัวเองอาจจะตัดสินใจผิดพลาดได้
ยกตัวอย่าง เช่น อาจเคยถูกตำหนิอยู่บ่อยครั้ง จนส่งผลทำให้กลายเป็นคนไม่กล้าคิด ไม่กล้าทำ และไม่กล้าแม้แต่ที่จะตัดสินใจเรื่องเล็กน้อยเพราะกลัวการถูกตำหนิ
3. คิดหรืออ่านอะไรบางอย่างซ้ำไปมาเพื่อหาความหมายที่แท้จริงของเรื่องนั้น ๆ
ยกตัวอย่าง เช่น อ่านหนังสือแต่ไม่สามารถอ่านแล้วเข้าใจได้ในทันที เพราะเกิดความคิดอื่นเข้ามาแทรก ทำให้ต้องอ่านซ้ำวนไปมาหลายรอบกว่าจะเข้าใจเนื้อหา
4. มักมีคำว่า ‘จะเกิดอะไรขึ้น’ หรือ ‘ควรจะ’ เกิดขึ้นในความคิดอยู่ตลอดเวลา
ยกตัวอย่าง เช่น วันนี้มีประชุมกับหัวหน้า ก็เกิดความกังวลตลอดเวลาเลยว่า ฉันจะทำได้ไหมนะ ทุกอย่างจะราบรื่นไหมนะ โอเคมันคิดกันได้นะ แต่ไม่ควรจะตลอดเวลา
5. นอนไม่ค่อยหลับเพราะชอบคิดเรื่องต่างๆ ก่อนเข้านอน
ช่วงเวลาก่อนเข้านอนเป็นช่วงเวลาแห่งความคิด หลาย ๆ คนเกิดอาการนอนไม่หลับเพราะ ใช้ช่วงเวลาก่อนอนทบทวนเรื่องต่าง ๆ
คิดวนไปมา ยกตัวอย่าง เช่น วันนี้ฉันทำอะไรไปบ้าง ไม่น่าทำแบบนั้นเลย ทำไมถึงเกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นได้นะ
6. กังวลอยู่บ่อยครั้งว่าคนอื่นจะคิดอย่างไรเกี่ยวกับตัวเอง หรือกังวลว่าพวกเขาต้องการอะไร
ยกตัวอย่าง เช่น คิดมากกับสายตาคนรอบข้างอยู่ตลอดเวลา จนเผลอไปคิดแทนคนอื่นแล้วว่า ที่เขาพูดแบบนนี้เขาต้องการที่จะสื่ออะไรหรือเขากำลังคิดอะไรอยู่ ไม่ชอบเราหรือเปล่า
คิดมาก แค่ไหนถึงเรียกว่าเรื้อรัง
เพราะจริง ๆ การที่เราคิดมากอยู่บ่อย ๆ ครั้งอาจไม่ใช่เรื่องธรรมดาอีกต่อไป เพราะการที่เราคิดมากอยู่บ่อย ๆ มากจนเกินไปนั้น อาจนำไปสู่การคิดมากแบบเรื้อรังได้
ซึ่งระดับของความเครียดสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระดับด้วยกัน คือ
1. ความเครียดระดับต่ำ (Mild Stress)
เป็นระดับความเครียดที่ยังไม่ถึงกับคุกคามต่อการดําเนินชีวิตของเรามากนัก อาจเป็นเพียงแค่ความรู้สึกถึงความเบื่อหน่าย ขาดแรงกระตุ้น และมีพฤติกรรมที่เชื่องช้าลง
ซึ่งความเครียดระดับนี้อาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเวลา และทุกสถานการณ์ เช่นอาจจะกำลังกังวลเกี่ยวกับงาน การเรียน เรื่องเพื่อน เรื่องแฟน หรือเรื่องครอบครัว
ก็อาจส่งผลทำให้เกิดความเครียดขึ้นมาได้ในระดับหนึ่ง และส่งผลทำให้เราเกิดความรู้สึกไม่อยากที่จะทำอะไร อยากอยู่เฉย ๆ รู้สึกเบื่อเซ็ง
2. ความเครียดระดับปานกลาง (Moderate Stress)
เป็นความเครียดในระดับปกติที่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย และเป็นระดับความเครียดที่ไม่แสดงออกที่ชัดเจน ส่วนใหญ่แล้วความเครียดระดับนี้สามารถปรับตัวกลับสู่ภาวะปกติได้เองจากการได้ทํากิจกรรมที่ตัวเองชื่นชอบ
ซึ่งสามารถช่วยคลายความเครียดลงได้ เพราะการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เราชื่นชอบจะสามารถช่วยทำให้เราหลุดออกจากโฟกัสจากเรื่องเครียดแล้วพาให้เรากลับมารู้สึกปกติได้เหมือนเดิมหรือทำให้เรารู้สึกดีขึ้นมาได้บ้าง
3. ความเครียดระดับสูง (High Stress)
เป็นความเครียดที่เกิดจากเหตุการณ์รุนแรง ซึ่งหากปรับตัวไม่ได้ก็อาจจะทําให้เกิดความผิดปกติตามมากับทางร่างกาย ทางอารมณ์ ทางความคิด และทางพฤติกรรม เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง อารมณ์ฉุนเฉียวง่าย หงุดหงิด
พฤติกรรมการนอนและการรับประทานอาหารเปลี่ยนไป จนมีผลต่อการดําเนินชีวิต จึงควรหาใครสักคนคอยอยู่เป็นเพื่อนคอยรับฟังเพื่อระบายความรู้สึกออกมา หรือมีผู้ใหญ่สักคนคอยแนะนําให้คําปรึกษาอย่างใกล้ชิด
4. ความเครียดระดับรุนแรง (Severe Stress)
เป็นความเครียดระดับสูงและเรื้อรังอย่างต่อเนื่องจนทําให้คนคนนั้นมีความล้มเหลวในการปรับตัว และก่อให้เกิดความผิดปกติและเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ที่รุนแรงขึ้นมาได้ เช่น อารมณ์แปรปรวน มีอาการทางจิต
มีความบกพร่องในการดําเนินชีวิตประจําวัน ซึ่งอาจมีอาการนานเป็นสัปดาห์ เป็นเดือน หรือเป็นปี ระดับความเครียดนี้อาจจะต้องหาเวลาว่างเพื่อเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
อาการ คิดมาก เรื้อรัง นำไปสู่ปัญหาสุขภาพด้วยโรคอะไรได้บ้าง?
1. โรควิตกกังวลทั่วไป มีอาการตื่นตระหนก กลัว และไม่สบายใจ ไม่สามารถอยู่ในความสงบได้ กระสับกระส่าย กระวนกระวาย หงุดหงิด ไม่มีสมาธิ มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ และการคิดมากเรื้อรัง
อาจทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้อีกด้วย ซึ่งในขณะเดียวกันก็อาจส่งผลให้ผู้ที่มีโรคซึมเศร้าอยู่แล้วก้าวข้ามผ่านช่วงที่รู้สึกหดหู่ได้ยากลำบากมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม
2. เสี่ยงต่อการเป็นโรคสุราเรื้อรังเพราะความเครียดสูงทำให้มีแนวโน้มดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น เพราะบางคนเลือกที่จะบำบัดอาการหงุดหงิดหรือซึมเศร้าจากการคิดมากด้วยการดื่มแอลกอฮอล์
3. การคิดมากอาจก่อให้เกิดความคิดในเชิงลบมากยิ่งขึ้น เพราะการที่เราวนนึกถึงสถานการณ์ที่เลวร้ายอย่างต่อเนื่องเป็นต้นเหตุ
4. เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้เพราะการคิดมากมักส่งผลให้เกิดความเครียด เมื่อเกิดความเครียดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
5. ส่งผลให้นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอทำให้คุณภาพในการนอนแย่ลงเกิดจากการนึกถึงหรือกังวลต่อสถานการณ์ใดซ้ำ ๆ ในช่วงเวลาเข้านอน ซึ่งปัญหาสำคัญของคนที่ตกอยู่ในภาวะคิดมาก
คือ การปล่อยให้ตัวเองครุ่นคิดทบทวนอยู่กับเรื่องเดิม ๆ ที่ดึงขึ้นมาจากความทรงจำบนความรู้สึกเสียดาย ผิดหวัง เสียใจ มีความโกรธแค้นกับสิ่งที่ผ่านไปแล้ว หรือเป็นกังวลเกี่ยวกับผลพวงของสิ่งที่จะเกิดขึ้น
ตามมาอยู่เสมอ ได้แต่คิดวนเวียนอยู่อย่างนั้นโดยไม่ได้พยายามคิดหรือแสวงหาวิธีการควบคุมหรือแก้ไขปัญหาที่จะช่วยให้ตัวเองคลายความทุกข์และความกังวลใจลงไปได้เลย
วิธีรับมือเมื่อมีอาการ คิดมาก
1.เริ่มจากการสำรวจตรวจสอบความคิดของตัวเราเองก่อนว่าตัวเองกำลังคิดถึงอะไรอยู่ เพื่อค้นหาและตรวจสอบความคิด เพื่อชี้ชัดถึงที่มาที่ไปและหาทางออกได้อย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
2.เลือกเผชิญหน้ากับปัญหาและตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านั้นจะช่วยทำให้เราสามารถออกจากความกลัวและความกังวลใจได้เป็นอย่างดี
3.ยอมรับความเป็นไปทั้งก่อนและหลังจากความพยายามในการแก้ไขสิ่งต่าง ๆ นั้นเท่ากับเป็นการเคารพและยอมรับนับถือในตัวเอง เมื่อไหร่ก็ตามที่เราได้ลงมือทำสิ่งที่ทำได้อย่างเต็มที่ไปแล้ว
ไม่ว่าผลลัพธ์จะออกมาเป็นอย่างไรก็ไม่มีอะไรให้ต้องเสียใจหรือติดอยู่ในใจจนต้องเก็บมาคิดมากอีกแล้ว
4.บริหารสมองอยู่เสมอ ทำได้โดยการค้นหาความสนใจไปยังเรื่องใหม่ ๆ ลองให้เวลากับการคิดและลงมือทำสิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ ตลอดจนหาเวลาในการเดินทาง
ทำกิจกรรมและพบปะผู้คนเพื่อสร้างการจดจำในสิ่งที่ดีเข้ามาแทนที่
5.พึ่งพาเพื่อนที่รู้ใจ เพื่อนที่รู้ใจในที่นี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะคนในครอบครัวหรือเพื่อนสนิทเท่านั้น แต่อาจรวมถึงสัตว์เลี้ยงที่รักของเรา น้องหมา น้องแมว หรือสมุดบันทึกคู่ใจที่จะช่วยคอยรับฟังเรื่องราวที่เราไม่สบายใ
จและคอยเป็นกำลังใจให้กับเราได้เพียงแค่เราเลือกที่จะหันไปหาเขา
จริง ๆ การเป็นคนคิดมากแม้จะไม่ใช่เรื่องแปลกที่ใคร ๆ ก็เป็นกันได้ แต่เราทุกคนก็ไม่ควรที่จะละเลยจนทำให้เกิดผลกระทบต่อทางสุขภาพกายและใจของเรา ดังนั้นการหาทางออกจึงจำเป็นมากที่ต้องอาศัย
ทั้งเวลาความตั้งใจและความอดทน ตลอดจนมีความเข้าใจจากคนใกล้ชิดซึ่งสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เราห่างไกลจากการเป็นคนคิดมาก
ได้นั่นก็คือการยอมรับนับถือตัวเองด้วยการมีความสุขและพอใจในสิ่งที่ตัวเองเป็นอยู่เสมอ
หากวันหนึ่งความคิดมากเหล่านั้นเราไม่สามารถรับมือได้ด้วยตัวเอง เราจมอยู่กับความคิดมากจนหาทางออกไม่เจอ และส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน อาจลองหาเวลาว่างเพื่อเข้าไปรับคำปรึกษาที่ดีจากผู้เชี่ยวชาญ
ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งทางทางออกที่ดีเลยทีเดียว
ประสบเหตุการณ์ถูกคนที่ไว้ใจหักหลัง หรือเหตุการณ์ที่เคยพบเจออาจทำให้ใครหลายคนต้องปิดกั้นตัวเอง กลัวการไว้ใจคนอื่น ไม่อยากใกล้ชิดสนิทกับใครไปมากกว่านี้ จนสุดท้ายอาจนำไปสู่โรคกลัวการไว้ใจคนอื่น
ประสบการณ์และผลเสียของการ กลัวการไว้ใจคนอื่น
ประสบการณ์กลัวการใว้ใจคนอื่น เมื่อถึงเวลาที่ต้องทำความรู้จักกับคนใหม่หรือเข้าสังคมใหม่ สาเหตุที่มีพฤติกรรมแบบนั้นเพราะไม่รู้ว่าที่เขาดีกับเรา เขาต้องการผลประโยชน์อะไรหรือเปล่า
ที่เขาดีกับเรา ลับหลังแล้วเขาอาจจะไม่ชอบเราหรือพูดถึงเราในทางที่ไม่ดีไหม และเมื่อกลัวการไว้ใจคนอื่น แน่นอนว่าสิ่งที่ตามมา คือ กลัวการสร้างความสัมพันธ์ ซึ่งอาจทำให้
1. ขาดโอกาสสร้างความทรงจำดี ๆ เพราะกิจกรรมต่าง ๆ ที่น่าจดจำเกิดขึ้นเมื่อมีใครสักคนรับรู้ไปพร้อม ๆ กัน
2. ขาดโอกาสที่จะเรียนรู้ชีวิตและมุมมองของคนอื่น ซึ่งสิ่งนั้นอาจเป็นประโยชน์กับเราทางใดทางหนึ่ง
ประสบการณ์กลัวการไว้ใจคนรัก กลัวการเชื่อใจ สาเหตุเกิดจากการถูกหักหลัง หรือเคยมีประสบการณ์ที่เคยถูกนอกใจจากคนรัก ทำให้ไม่กล้าที่จะไว้ใจคู่รักอีกต่อไป
และสิ่งที่จะตามมา คือ ความสัมพันธ์นั้นอาจเดินหน้าไปต่อด้วยความวาดระแวง เครียดสะสม ไม่กล้าทุ่มเทใจให้กับใคร ไม่กล้าที่จะให้คนรักห่างจากสายตา
กลัวการไว้ใจคนอื่น = ผิดปกติไหม
กลัวการไว้ใจคนอื่นถือว่าไม่ผิดปกติ เพราะประสบการณ์จากความรัก หรือความสัมพันธ์ที่ไม่ดี จะทำให้เรารู้สึกกลัวไปเองตามธรรมชาติ ทำให้เวลาเราคิดที่จะเริ่มต้นใหม่ เราจะคิดให้ดีและรอบคอบมากกว่าเดิม
เป็นกลไกเพื่อป้องกันตัวเองไม่ให้ต้องบอบช้ำอีกครั้งจากคนใจร้าย ซึ่งก่อนที่เราจะมีความกลัวการไว้ใจคนอื่น แน่นอนว่าต้องมีสาเหตุมาจากเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่มันมากระทบต่อความรู้สึกของเราเป็นอย่างมาก
เช่น การถูกหักหลังจากคนใกล้ตัว การถูกหักหลังจากคนที่เราไว้ใจ หรือการถูกทำให้ผิดหวังซ้ำแล้วซ้ำเล่านั่นเอง
ถึงแม้ว่าการที่เราจะไม่ยอมไว้ใจคนอื่นอาจเป็นกลไกธรรมชาติของคนที่เคยโดนกระทำให้รู้สึกเจ็บมาก่อน แต่การกลัวการไว้ใจคนอื่นก็สามารถพัฒนากลายเป็นโรคกลัวการไว้ใจคนอื่น หรือ Pistanthrophobia ได้
ซึ่งในทางจิตวิทยา พฤติกรรม ความคิด ความรู้สึก หรืออารมณ์ ที่จะเรียกว่าเป็น “ความผิดปกติ” ได้
จะต้องได้รับการวินิจฉัยตามเกณฑ์ ซึ่งสิ่งนั้นจะต้อง รุนแรง และยาวนานมากพอในระดับที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน คือ ไม่สามารถไปเรียน ไปทำงาน หรือใช้ชีวิตตามปกติได้
วันนี้เรามีวิธีการเช็คตัวเองที่ทำได้ง่าย ๆ มาให้สำรวจตัวเองกันเบื้องต้น ซึ่งโรคกลัวการไว้ใจคนอื่นต้องมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย
1. ตัดสินผู้อื่นก่อนที่จะได้รู้จักตัวตนที่แท้จริงของเขา
2. ยึดติดอยู่กับตัวเองตลอดเวลา ไม่ยอมเปิดใจให้ใคร
3. ไม่สนใจแม้จะมีใครพยายามให้ความช่วยเหลือ หรือเข้ามาพูดคุยกับเรา ติดอยู่กับความคิดที่ว่าคนอื่นพูดโกหกกับเรา ไม่ว่าเขาจะพูดอะไรก็ดูไม่ใช่เรื่องจริงไปซะหมด
4. ไม่เคยคิดจะร้องขอความช่วยเหลือจากใคร ไม่ว่าจะเจออันตรายต่อร่างกายหรือจิตใจก็ตาม
รู้จัก โรคกลัวการไว้ใจคนอื่น
ถ้าความกลัวนั้นรุนแรงมากจนทำให้คน ๆ หนึ่ง ปิดตัวเอง ไม่เปิดรับใคร ไม่สร้างความสัมพันธ์กับใคร อยากพาทุกคนไปรู้จักกับคำว่า โรคกลัวการไว้ใจคนอื่น หรือที่เรียกว่า Pistanthrophobia
คำว่า phobia หมายถึง ความกลัวที่รุนแรงต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เราจะเห็นคำนี้ถูกนำไปใช้ต่อท้ายคำอื่นมากมายซึ่ง phobia ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มของโรควิตกกังวล
Point หลัก คือ ความกลัวที่รุนแรงต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งนี้ มักจะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลรู้ว่าตนเองจะต้องประสบกับเหตุการณ์ที่เป็นอันตราย สำหรับคนที่กลัวการไว้ใจคนอื่น คนรอบข้างนี่แหละถือว่าเป็นสิ่งอันตรายสำหรับเขา
เขากลัวว่าเขาจะถูกทำร้ายได้ทุกเมื่อ ไม่ว่าจะเป็นทางร่างกายหรือจิตใจ Point หลักอีกอย่าง คือ ความกลัวนั้น “มีต่อสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นในปัจจุบัน” เรียกง่าย ๆ ว่า กลัวไปก่อน คือ ยังไม่รู้เลยว่าการเริ่มต้นใหม่ครั้งนี้
คนนั้นจะแย่จริงไหม คนนั้นจะทำร้ายเราหรือเปล่า แต่คิดในแง่ร้ายไปก่อนแล้ว
กลัวการไว้ใจคนอื่นมาได้จากหลากหลายสาเหตุ เช่น
1. ประสบการณ์ที่ไม่ดีเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ถูกหักหลัง ถูกนอกใจ หรือถูกทำร้ายจิตใจในรูปแบบอื่น ๆ อาจจะเป็นทางตรง คือ โดนเอง หรือไม่ก็ ทางอ้อม
คือ คนที่รักโดน เช่น ความสัมพันธ์ของพ่อแม่จะส่งผลต่อมุมมองความสัมพันธ์ของเรา เราเห็นพ่อนอกใจแม่ อาจจะทำให้เรากลัวการไว้ใจคนอื่นเช่นกัน
2. ประสบการณ์รุนแรง ประสบการณ์กระทบกระเทือนจิตใจ ที่ทำให้เกิด Trauma เช่น การถูกทำร้ายร่างกาย การถูกข่มขืน เหตุการณ์เหล่านี้จะทำให้เกิดปมและบาดแผลภายในจิตใจ
ทำให้ผู้ถูกกระทำมีปฏิกิริยาต่อสิ่งต่าง ๆ ที่จะเจอในอนาคต ซึ่งหนึ่งในนั้นมีความกลัวด้วย
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ ผู้หญิงถูกผู้ชายที่มีลักษณะตัวใหญ่ข่มขืน มีโอกาสที่ผู้หญิงคนนั้นจะกลัวผู้ชายตัวใหญ่ทุกคนที่พบเจอในอนาคตได้
อ้างอิงจากเว็บไซต์ medical news today มีประเด็นหนึ่งที่สำคัญ คือ ไม่ใช่ว่าทุกคนเจอเหตุการณ์เดียวกันแล้วจะเกิด trauma ทุกอย่างขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันทางจิตใจและปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ
วิธีจัดการกับตัวเองเมื่อ กลัวการไว้ใจคนอื่น
1. ให้เวลา
เพราะความกลัวการไว้ใจคนอื่น มีส่วนทำให้เราตัดสินคนอื่นเร็วและง่ายมาก การให้เวลาตัวเองได้ทำความรู้จักคนอื่น มีสติรู้ตัวว่าตอนไหนที่มีความคิดในแง่ร้าย จะช่วยให้จัดการอคติที่มีได้ง่ายขึ้น
ใช้วิธีการเตือนตัวเองว่า ใจเย็น ๆ ค่อยเป็นค่อยไป
2. ยกโทษ
“การยกโทษไม่ใช่เพื่อคนอื่นแต่เพื่อตัวเองต่างหาก” การเข้าใจว่าทุกการกระทำมีที่มา เช่น เขาอาจจะทำเพราะเขามีเหตุจำเป็น และบางครั้งการหาคำตอบก็ไม่ใช่เรื่องที่มีประโยชน์เสมอไป
เพราะทุกอย่างเป็นอดีตไปแล้ว การยกโทษจะทำให้เป็นอิสระและเริ่มต้นใหม่ได้อย่างมีความสุข
3. การเปิดใจ
“อย่าให้คนใจร้ายทำให้เราปิดกั้นตัวเอง” คิดว่าเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญมาก ๆ อย่างหนึ่ง เพราะหลายคนเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ไม่ใจใครได้อีก ก็จะปิดกั้นตัวเองจากคนอื่น และไม่กล้าที่จะเปิดใจให้กับใครอีกต่อไป
วิธีจัดการกับตัวเองเมื่อกลัวการไว้ใจคนรัก
ประสบการณ์ในความสัมพันธ์ ถึงแม้เหตุการณ์จะได้เกิดขึ้นจนเป็นอดีตไปแล้ว แต่ความรู้สึกเหล่านั้นยังไม่เจือนจาง ยังคงสร้างบาดแผลที่ทำให้เกิดการกลัวไว้ใจคนรัก ซึ่งมีวิธีจัดการ คือ
1. พยายามจัดการกับความคิดของตัวเองก่อน แยกให้ออกว่าเรื่องนั้นคืออดีตที่เกิดขึ้นไปแล้วและจบไปแล้ว ส่วนตอนนี้คือปัจจุบัน
2. พยายามเชื่อใจ ไว้ใจ และคุยกันให้มาก ๆ เมื่อไหร่ที่เริ่มรู้สึกไม่สบายใจ ให้หันหน้าคุยกันในทันที
3. หากเริ่มรู้สึกว่าตัวเองกำลังมีความรู้สึกไม่ไว้ใจเกิดขึ้นจนส่งผลทำให้ตัวเองคิดมาก ฟุ้งซ่าน พยายามหาอะไรให้ตัวเองทำยุ่ง ๆ เข้าไว้ เพื่อเปลี่ยนจุดโฟกัสไปที่อื่นแทน
ซึ่งแน่นอนว่าแต่ละข้อไม่ใช่วิธีง่าย ๆ ที่คิดแล้วจะสามารถทำได้ในทันที ทุกอย่างต้องใช้เวลา การให้เวลาตัวเองจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ ค่อย ๆ เรียนรู้ ค่อย ๆ ปรับ หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำนี้กันบ่อยครั้งว่า
“เวลาจะช่วยเยียวยาทุกสิ่ง” แต่หากเวลาไม่สามารถช่วยเยียวยาเราได้ การหาเวลาไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ
อ้างอิง :
คำว่า สู้ ๆ ในวันที่รู้สึกอยากได้กำลังใจ เราคงรู้สึกว่าเป็นแรงบันดาลใจให้กับเราได้ดี ที่อยากจะสู้ต่อแต่ถ้าได้ยินในวันที่เรารู้สึกไม่พร้อม รู้สึกเหนื่อย หรือหมดพลังอาจมีคำถามย้อนกลับมาว่า
ให้เราสู้กับอะไร ฉันต้องสู้กับใคร สู้กับสิ่งไหนช่วยบอกได้ไหม. .
คำว่า สู้ ๆ ให้กำลังใจได้จริงหรือเปล่า?
คำว่าสู้ ๆ นะ อาจไม่ได้ช่วยให้รู้สึกดีขึ้นได้กับใครหลาย ๆ คน และในขณะเดียวกันอาจส่งผลต่อภาวะทางอารมณ์ของเขา ทำให้เขาเกิดความรู้สึกว่าเราไม่ได้รู้สึกถึงสิ่งที่เขากำลังเผชิญ
หรือเข้าใจในมุมมองของเขาจริง ๆ ซึ่งคำบางคำที่เรารู้สึกว่าเป็นการให้กำลังใจเขาในความรู้สึกของเรา คำเหล่านั้นอาจจะไม่ได้เป็นการช่วยให้เขารู้สึกดีขึ้นมาได้
แต่กลับกลายเป็นการตั้งคำถามกลับมาว่า ให้ฉันสู้กับอะไร ฉันไม่ได้อยากสู้กับอะไรทั้งนั้น
บางครั้งตัวเราเองอาจต้องกลับมาถามตัวเราด้วยว่า ถ้าหากเราได้ยินคำพูดเหล่านั้น เราจะรู้สึกดีขึ้นไหม เพราะกับคนที่เขากำลังมีปัญหา กับคนที่เขากำลังทุกข์ใจ กับคนที่เขากำลังแบกภาระความรู้สึกบางอย่างไว้
และกำลังรู้สึกแย่กับชีวิตมาก ๆ คำพูดบางคำเหล่านั้นอาจไม่ได้เป็นแรงบันดาลใจให้กับเขาได้มากเท่าไหร่นัก ถึงแม้ว่าจะมาจากความจริงใจของเราเองก็ตาม เขาอาจจะมองว่าเรามองข้ามปัญหาของเขา
มองว่าก็เพราะว่าเราไม่ได้มายืนอยู่จุดเดียวกับเขานิ ไม่ได้มาเข้าใจความรู้สึกของเขาจริง ๆ ว่ามันหนักแค่ไหน มันเหนื่อยยังไงบ้าง
ซึ่งจริง ๆ การที่เราจริงใจและหวังดีที่อยากจะพูดบางอย่างเพื่อเป็นกำลังใจให้กับเขา อยากให้เขาผ่านเรื่องราวเหล่านั้นไปได้ ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีมาก ๆ ที่เรามีความรู้สึกแบบนั้น
แต่สิ่งที่เราอาจจะลองเริ่มกลับมาทำความเข้าใจเป็นอันดับแรกก่อน คือ การทำความเข้าใจในการพูดเพื่อสร้างกำลังใจให้กับผู้อื่น เพื่อเป็นการให้กำลังใครสักคนหนึ่ง การช่วยใครสักคนหนึ่ง
ถ้าไม่ใช้คำว่า สู้ ๆ ใช้คำพูดไหนถึงไม่ทำร้ายความรู้สึก
ลองดูว่าเราสามารถช่วยอะไรเขาได้บ้าง เราควรใช้คำพูดแบบไหน พูดว่าอะไรเพื่อที่จะไม่ไปกระทบความรู้สึกของเขา. .
เริ่มจากการลองมองย้อนกลับมาที่ตัวเราเองหรือนึกถึงว่าถ้าในวันหนึ่งที่เรากำลังรู้สึกเหนื่อยหรือรู้สึกแย่
แล้วเราได้ยินประโยคที่ว่า “ เฮ้ย มันเป็นเรื่องแค่นี้เอง ” หรือเรากำลังรู้สึกเศร้า แล้วมีคนพูดกับเราว่า “ เศร้าทำไม เดี๋ยวมันก็ผ่านไป ”
เราจะรู้สึกอย่างไรเมื่อได้ยินคำพูดเหล่านั้น ซึ่งแน่นอนว่าในบางครั้งเรามักคุ้นชิน กับประโยคที่คุ้นหูกันอยู่บ่อยครั้ง แล้วพูดออกไปเพียงเพราะอยากช่วยให้รู้สึกดี เช่น “เราเคยผ่านมันไปได้ เธอก็ต้องผ่านมันไปได้สิ”
“เราอาบน้ำร้อนมาก่อน เราเคยผ่านเรื่องแบบนี้มาก็ไ่ม่เห็นจะยากที่จะผ่านมันไปได้” คำพูดเหล่านี้ คือการเปรียบเทียบจากมุมมองของเราเอง แต่อย่าลืมว่าตอนนั้นจิตใจของเขากำลังย่ำแย่อยู่
ซึ่งในภาวะอารมณ์ตอนนั้นของใครหลาย ๆ คนก็อาจจะยังไม่พร้อมที่จะรับและผ่านมันไปได้ สิ่งที่เราเริ่มจากความหวังดี เราสามารถเริ่มจากการให้กำลังใจเขาได้ด้วยการรับฟังเขาจากความจริงใจ
รับฟังเขาอย่างไม่ตัดสิน ไม่เอาความคิดของเราไปตัดสินเขา ไม่เอาเรื่องของเขาไปเปรียบเทียบกับเรื่องของใครเลย หรือเอาเรื่องของเขามาเปรียบเทียบกับตัวเราเองที่เคยผ่านเรื่องราวเหล่านั้นมาได้
การที่เรารับฟังเขาจากมุมมองที่เกิดขึ้นจากตัวเขาจริง ๆ ที่เขากำลังเผชิญกับเรื่องอะไรมาหรือกำลังทุกข์ใจ เพียงแค่นี้ก็สามารถช่วยให้เขาเริ่มรู้สึกดีขึ้นมาได้ หรือถ้าเราต้องการที่จะพูดสื่อสารอะไรกับเขาสักอย่างหนึ่ง
เพื่อให้เขารู้สึกดีและมีกำลังใจ อาจเริ่มต้นจากการถามความรู้สึกของเขา ว่าเขารู้สึกยังไงกับเรื่องราวที่เขาเจอมา มันกระทบกับความรู้สึกของเขามากน้อยแค่ไหน หรือความรู้สึกเศร้าที่มันเกิดขึ้นเกิดขึ้น
จากการที่เขากำลังคิดเรื่องอะไรอยู่ ลองทำความเข้าใจกับความรู้สึกว่าเรื่องเป็นยังไง ข้อเท็จจริงเป็นแบบไหน ทำความเข้าใจอารมณ์ของเขาให้มันมากยิ่งขึ้น
เพราะเราเองต้องการให้กำลังใจเขา ต้องการช่วยเหลือเขา เราไม่ได้ต้องการที่จะไปสอบสวนเขา เพราะฉะนั้นการมองข้ามต่ออารมณ์และความรู้สึกของเขาอาจจะทำให้เขารู้สึกแย่กว่าเดิมก็ได้ที่เราเข้าไปอยู่ตรงนั้น
ถ้าเราเริ่มรู้แล้วว่านั่นคือความเศร้ามาก ๆ ที่เกิดขึ้น แล้วเราเริ่มเจอเหตุผล และเริ่มเข้าใจว่าความเศร้านั้นมีเหตุมารองรับ ให้เราแสดงความเข้าอกเข้าใจเขา อาจพูดกับเขาว่า
“เราเข้าใจว่าเรื่องนี้ทำให้เธอเศร้ามาก ซึ่งถ้าเป็นเรา เราก็คงเศร้าไปกับเรื่องนี้เหมือนกัน” หรือ “ถ้าเรามองในมุมมองของเธอ แล้วเราไปยืนอยู่ตรงนั้น เราอาจจะเศร้าได้แบบนี้เหมือนกัน”
คำพูดเหล่านี้อาจทำให้เขารู้สึกได้ว่าเรื่องที่เกิดขึ้นกับเขา มันไม่ได้ผิดเลยที่เขาจะเศร้าหรือรู้สึกแย่ที่เขากำลังรู้สึกอะไรแบบนี้
แต่หากเขาไม่สามารถแสดงความรู้สึกให้เรารับรู้ได้เลย เราอาจจะแสดงออกด้วยการอยู่ข้าง ๆ เขา หรือพูดกับเขาว่า “เราอยู่ตรงนี้นะ”
“เราช่วยอะไรได้บ้างได้ไหม” หรือ “โอเคนะ ถ้าจะร้องไห้ในวันที่เรารู้สึกเศร้า”
คำพูดเพียงแค่ไม่กี่คำก็สามารถเป็นตัวช่วยหนึ่งได้แล้วที่ทำให้เขาไม่ต้องรู้สึกว่าเขาต้องเผชิญกับความรู้สึกแบบนี้อย่างโดดเดี่ยวเพียงลำพัง และเขาอาจรู้สึกได้ว่า การมีเราอยู่ตรงนี้สามารถช่วยให้ทุกอย่างง่ายขึ้น
และช่วยให้เขาผ่านเรื่องราวเหล่านั้นไปได้ รู้สึกมีคนเข้าใจเขา และมองเราเป็นพลังบวกที่ดี เพราะถ้าเขาเกิดภาวะความเครียด การมองปัญหาและมองหาทางออกจะค่อย ๆ เล็กลง
เวลาที่ใครสักคนต้องตกอยู่ในสภาวะจิตใจย่ำแย่ สิ่งที่ปรากฎออกมาอย่างชัดเจอคือความคิด กลัวการถูกคนอื่นมองว่าแย่ มองว่าไม่เก่งถ้าเราอยากเป็นคนหนึ่งที่ช่วยเขา
ลองชวนเขามองจากสิ่งที่แตกต่างออกไปจากเดิมให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น พยายามชวนเขามองในแง่มุมต่าง ๆ ของปัญหาแต่ไม่เอาความคิดของเราไปใส่ในความคิดของเขา ไม่ต้องไปบอกว่าเขาต้องทำอะไร
เพียงแค่ลองถามเขาว่าสามารถเป็นทางอื่นได้ไหม เป็นคำพูดที่ช่วยให้เขาสะท้อนความคิดออกมา เป็นเทคนิคง่าย ๆ ที่ช่วยให้เขาสามารถเปิดมุมมองในการให้เขาเผชิญกับปัญหาได้ ช่วยให้เขาเรียนรู้จากความรู้สึก
การที่เราอยากช่วยใครอาจต้องลองมองย้อนกลับมาดูที่ตัวเราด้วย ว่าเราเองก็สามารถทำแบบนั้นได้หรือเปล่า ถ้าเราอยากเป็นพลังบวกที่ดีให้กับคนอื่นได้ เราก็ต้องเป็นพลังบวกที่ดีให้กับตัวเองได้ด้วยเหมือนกัน
และความหวังดีของเราไม่ได้มีอะไรที่บอกว่าถูกและผิด เพียงแค่เราคิดอยากเป็นกำลังใจให้กับเขา ก็เป็นการเริ่มต้นด้วยความหวังดีที่ดีมาก เป็นจุดเริ่มต้นที่ช่วยให้เราได้กลั่นกรองความคิดก่อนพูด ด้วยการเลือกคำ
เลือกประโยค และตั้งคำถามเพื่อให้สอดคล้องกับเหตุการณ์นั้น
อีกหนึ่งเทคนิคง่าย ๆ ที่สามารถเป็นกำลังให้กับคนอื่นได้ คือ การเป็นผู้รับฟังที่ดี ซึ่งการรับฟังเป็นเรื่องที่ง่าย เพียงแค่ฟังเขาผ่านมุมมองของเขา ฟังเขาอย่างไม่ตัดสิน
ฟังเขาอย่างไม่เปรียบเทียบเขากับคนอื่นหรือแม้กระทั่งกับตัวเอง ก็เป็นการช่วยให้เขารู้สึกดีขึ้นได้ในระดับหนึ่ง โดยที่เราอาจจะไม่ต้องเลือกใช้คำพูดอื่นใดอีกต่อไปแล้ว