อีกตั้งหลายวัน เดี๋ยวค่อยทำก็ได้ เคยไหม? เลื่อนนัด เลื่อนงาน เลื่อนหนังซีรี่ส์ที่อยากดูแต่ไม่ดูสักที ในทางจิตวิทยาว่าอย่างไร เพราะอะไรเราถึง ” ผัดวันประกันพรุ่ง ”
เหตุผลของคนชอบ ผัดวันประกันพรุ่ง
ผัด ไม่ใช่ ผลัด
ใช้คำว่า “ผัด” ไม่ใช่ “ผลัด” คำว่า ผัด จะใช้ทำอาหารแล้ว ยังมีความหมายว่า เลื่อนออกไปก่อน เช่น ผัดหนี้ ผัดผ่อน จึงกลายเป็นสุภาษิตไทย ที่ว่า “ผัดวันประกันพรุ่ง”
ผัดวันประกันพรุ่ง เกิดขึ้นกับใครบ้าง
นักวิจัยกล่าวว่า การผัดวันประกันพรุ่ง เกิดขึ้นเด่นชัดในหมู่นักเรียน การวิเคราะห์สถิติในปี 2550 ที่เผยแพร่ใน Psychological Bulletin พบว่า 80% ถึง 95% ของนักศึกษาวิทยาลัย
ผัดวันประกันพรุ่งเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องทำการบ้านและงานในรายวิชาให้เสร็จ Joseph Ferrari ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัย DePaul ใน ชิคาโก
และผู้เขียนหนังสือ “Still Procrastinating: The No Regret Guide to Getting It Done” กล่าวว่า ประมาณ 20% ของผู้ใหญ่ในสหรัฐฯ เป็นคนผัดวันประกันพรุ่งเรื้อรัง จากนบทสัมภาษณ์ของ
ดร. Ferrari กล่าวว่า เขาชอบคำพูดที่ว่า “ใคร ๆ ก็ผัดวันประกันพรุ่งกันนั้น แต่ไม่ใช่ทุกคนที่เป็นนักผัดวันประกันพรุ่ง” เพราะผัดวันประกันพรุ่งเป็นเรื่องปกติที่พบเจอได้ทั่วไป แต่จะเริ่มเป็นปัญหา
ถ้าผัดวันประกันพรุ่งในทุก ๆ ด้านของชีวิต อย่างแรกเลยคือเราจะทำอะไรไม่เสร็จสักอย่าง จากการศึกษาพบด้วยว่า ผัดวันประกันพรุ่ง เชื่อมโยงกับ ภาวะผัดวันประกันพรุ่งเรื้อรัง บุคลิกภาพปกติ
ผัดวันประกันพรุ่ง เป็นเรื่องการจัดการ “อารมณ์” ไม่ใช่ “เวลา”
นักวิจัยแผยแพร่งานวิจัยในวารสาร Psychological Science ศึกษาเรื่องนี้ โดยการใช้แบบสำรวจและสแกนสมอง คน จำนวน 264 คน เพื่อดูว่า คนมีแนวโน้มจะรีบจัดการกับภารกิจตรงหน้าอย่างรวดเร็วแค่ไหน
นักวิจัยพบว่า มีสมองอยู่สองส่วนที่เป็นตัวกำหนดว่าเราจะลงมือทำภารกิจตรงหน้าให้เสร็จ หรือเลื่อนเวลาออกไปเรื่อย ๆ งานวิจัยพบว่าคนที่ชอบผัดวันประกันพรุ่งนั้น มีสมองส่วนที่เรียกว่า อมิกดาลา (Amygdala)
ซึ่งมีลักษณะคล้ายเมล็ดอัลมอนด์ ทำหน้าที่ควบคุมเหตุผลและอารมณ์ ใหญ่กว่า และการเชื่อมต่อของสมองส่วนที่เรียกว่า อมิกดาลา กับส่วนล่างของสมองบริเวณที่เรียกว่า Anterior Cingulate Cortex
ไม่ดีเท่าคนอื่น ซึ่งจะมีผลให้สามารถจัดการกับอารมณ์และสิ่งเร้าที่เข้ามารบกวนน้อยกว่า อันจะส่งผลต่อความแน่วแน่ในการจัดการกับภารกิจตรงหน้า
คน 6 ประเภทที่จะผัดวันประกันพรุ่งบ่อยที่สุด
1. Perfectionist
กลุ่มนี้จะใช้พลังงานและเวลาที่มากเกินไป เพื่อให้แน่ใจว่าสิ่งที่ทำจะออกมาสมบูรณ์แบบ
2. Dreamer
กลุ่มนี้จะหลีกเลี่ยงอะไรก็ตามที่ยากและเครียด รวมถึงไม่ค่อยใ่ส่ใจรายละเอียดมากนัก
3. Worrier
กลุ่มนี้จะมีความวิตกกังวลสูงจะมัวแต่ลังเล ไม่ยอมทำสักที เพราะไม่มั่นใจ
4. Defier
กลุ่มนี้จะมีความต่อต้าน จะมองโลกในแง่ร้าย จะผัดวันประกันพรุ่งเพื่อต่อต้านคนที่มีอำนาจมากกว่า เพราะมองว่าเขากำลังสั่ง ไม่ใช่กำลังขอร้องให้ทำบางสิ่งบางอย่าง
5. Crisis-Maker
กลุ่มนี้จะไม่ยอมทำอะไรที่ยาก จะทำให้ทุกอย่างเป็นปัญหา ดราม่าเกินจริงเพื่อเรียกร้องความสนใจ
6. Over- doer
กลุ่มนี้จะมี Low self-esteem ปฏิเสธไ่ม่เป็น ทำให้รับภาระมาเยอะ แต่ไม่มีวินัยในการจัดการให้ดี
ประเภทของผัดวันประกันพรุ่ง
นักวิจัยแบ่งประเภท คนผัดวันประกันพรุ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ คนผัดวันประกันพรุ่งแบบเรื่อยเปื่อยและแบบแอคทีฟ
1. ผัดวันประกันพรุ่ง Passive เรื่อยเปื่อย
ทำให้งานล่าช้าเพราะพวกเขามีปัญหาในการตัดสินใจและลงมือทำ
2. ผัดวันประกันพรุ่ง Active แบบกระตือรือร้น
ชะลองานไว้ รอก่อน เพราะการทำงานภายใต้ความกดดันทำให้พวกเขา รู้สึกท้าทายและมีแรงบันดาลใจ
ผัดวันประกันพรุ่ง มักมาจากสาเหตุใดบ้าง?
1. รออารมณ์
2. ขี้เกียจ
3. รอ deadline
4. ไม่มีวินัย
5. จัดตารางเวลาการทำงานไม่ดี
6. ปุ่ม snooze
ผัดวันประกันพรุ่ง มักเกิดกับเรื่องใดบ้าง?
1.ใช้หนี้
2.ออกกำลังกาย
3. การทำงาน
4. การตื่นนอน
5. รู้ว่าสิ่งที่ต้องทำเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาและพลังงานมาก
แก้ไขการ ผัดวันประกันพรุ่ง ได้อย่างไรบ้าง?
ศาสตราจารย์ Timothy Pychyl ซึ่งสอน วิชาจิตวิทยาอยู่ที่มหาวิทยาลัย Carleton ในกรุง Ottawa ประเทศแคนาดา ให้คำแนะนำเพื่อแก้นิสัยผัดวันประกันพรุ่ง ไว้เป็นขั้นตอนดังนี้
ขั้นแรก
แบ่งโครงการหรือ งานที่จะต้องทำออกเป็นส่วน ๆ โดยกำหนดเป้าหมายของงานแต่ละส่วนไว้
ขั้นที่สอง
เริ่มต้นทำงาน
ขั้นที่สาม
เตือนใจตนเองเสมอว่า การทำงานเสร็จจะเป็นประโยชน์กับตนเองในอนาคต และการเลื่อนการทำงานออกไปในตอนนี้ จะไม่ทำให้งานชิ้นนี้สนุกน่าทำงานมากขึ้นในอนาคต
ขั้นที่สี่
กำหนดการลงโทษตนเองถ้าเลื่อนเวลาเริ่มทำงานออกไป โดยไม่ต้องเป็นโทษหนักหนาอะไร เช่นถ้าอยากจะเล่นวิดีโอเกมแทนการทำงาน ก็ต้องไปใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งต่างหาก
ขั้นสุดท้าย
ให้รางวัลตนเองเมื่อทำงานเสร็จทั้งหมด โดยจะให้รางวัลเล็ก ๆ เป็นระยะเมื่อทำงานตามเป้าหมายย่อยเสร็จด้วยก็ได้
ที่มา :
Why is Procrastination?
Psychology of Procrastination: Why People Put Off Important Tasks Until the Last Minute
ผลวิจัยชี้ การผัดวันประกันพรุ่งเป็นเรื่องของการจัดการอารมณ์ไม่ใช่เวลา
Post Views: 2,121