บทความนี้จะชวนทุกคนมาทำความรู้จักกับ โรคซึมเศร้า ให้มากขึ้น เพื่อที่จะได้เข้าใจกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าและสำรวจตัวเองไปพร้อมๆ กันเพราะเรื่องของสุขภาพจิตใจเป็นเรื่องที่สำคัญและไม่ควรมองข้าม บทความนี้ Alljit ร่วมกับ คุณรัชดาภรณ์ ศรีวิลัย นักจิตวิทยาคลินิก พูดคุยในทุกประเด็นในเรื่องสุขภาพใจ
ความผิดปกติของการหลั่งสารเคมีในสมองส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางอารมณ์ ประเทศไทยพบผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าถึง 1.5 ล้านคน แต่ได้รับการรักษาเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้น
องค์กรอนามัยโลกได้ประมาณว่าประชากร 300 ล้านคนเป็นโรคซึมเศร้า
ความเศร้าเป็นส่วนหนึ่งของอารมณ์มนุษย์ที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน และสามารถหายไปได้ตามกาลเวลา
แต่ถ้าเกิดเรามีอาการเศร้าหรืออารมณ์เศร้านานจนเกินไปและไม่ได้รับความช่วยเหลือก็จะส่งผลให้เราเป็นโรคซึมเศร้าได้
ทำความเข้าใจกับ โรคซึมเศร้า
การทำความเข้าใจกับโรคซึมเศร้าค่อนข้างที่จะเป็นทำได้ยาก เพราะในตัวกรณีของคนที่เป็นโรคซึมเศร้าบางทียังรู้สึกไม่เข้าใจในตัวเองเช่นกัน แต่จริง ๆ แล้วเราอาจจะไม่ต้องเข้าใจในสิ่งที่เขารู้สึก
สิ่งที่เขากำลังเผชิญมีคำนิยามว่าอะไร เรียกว่าอะไร แต่เราควรที่จะเข้าใจเขาที่เขาเป็นเขามากกว่า พยายามเปิดใจและทำความเข้าใจในสิ่งที่เขากำลังรู้สึกหรือเป็นอยู่
วิธีสังเกต โรคซึมเศร้า ในแต่ละช่วงวัย
การแสดงออกของคนที่เป็นโรคซึมเศร้าในแต่ละช่วงวัยค่อนข้างแตกต่างกัน ถ้าอยากสังเกตในการแสดงออก ให้ลองสังเกตว่าสิ่งที่เขาเป็นอยู่ยังเป็นแบบเดิมในแต่ละวันไหม
เมื่อไหร่ก็ตามที่เขาดูเปลี่ยนไปนั้นอาจจะเป็นสัญญาณเตือนว่า เขากำลังตกอยู่ในสภาะซึมเศร้า
ซึมเศร้าในเด็ก
มักจะมีพฤติกรรมที่ดื้อก้าวร้าว ต่อต้าน หงุดหงิดฉุนเฉียว แทนการแสดงออกมาว่าเศร้า ซึ่งในเด็กที่มีพฤติกรรมที่แสดงออกมาแบบนี้ ในใจของเขาอาจจะรู้สึกเศร้ามีอะไรที่ไม่ได้ดั่งใจ
แต่เขาไม่สามารถจะจัดการอารมณ์ได้แบบผู้ใหญ่ และเลือกการแสดงออกมาแบบผู้ใหญ่ จึงเลือกที่จะแสดงอารมณ์ของความหงุดหงิดฉุนเฉียวแทน
ซึมเศร้าในวัยรุ่น
สัญญาณที่ช่วยให้สังเกตเห็นได้เลยคือ ภาวะของอารมณ์ที่ความแปรปรวนของวัยรุ่น เด็กบางคนที่ในกลุ่มวัยรุ่นจะสามารถระบุอารมณ์ของตัวเองได้ แต่บางคนไม่สามารถระบุได้ ไม่สามารถบอกได้ว่าตัวเองเศร้า
เขาจะแสดงพฤติกรรมที่ชัดเจนให้เห็น เช่น เริ่มไม่อยากไปโรงเรียน เริ่มแยกตัวเองออกมาจากครอบครัวหรือกลุ่มเพื่อน การทำร้ายตัวเอง สร้างตัวตนของตัวเองออกมาในโลกออนไลน์
ซึมเศร้าในวัยผู้ใหญ่
จะแสดงออกมาชัดเจน บางคนไม่ได้แสดงออกมาว่าเศร้าอย่างเดียว หรือบางคนก็ไม่แสดงออกว่าเศร้า บางคนสามารถจัดการอารมณ์ได้ มีความสุขได้ แต่จะใช้พลังงานเยออะมากในการพยายามทำตัวเองให้ปกติ
พยายามทำให้คนอื่นมองเห็นว่าเรามีความสุข การที่ฝืนตัวเองจนตัวเองหมดพลังจะทำให้สามารถสังเกตตัวเองได้ว่าเราแปลกไปจากเดิม
ซึมเศร้าในวัยสูงอายุ”
จะแสดงออกมาด้วยการบ่นเยอะ ๆ พูดเยอะ ๆ ด่าเยอะ ๆ พอคนรอบตัวสังเกตในการเปลี่ยนไปทางอารมณ์ของผู้สูงวัยจะปลีกตัวออกมาจากครอบครัว
สังเกตอาการ โรคซึมเศร้า ได้ 3 ด้าน
- ด้านร่างกาย (Biology) จะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจะต้องให้จิตแพทย์เข้าแล็บ เพื่อเจาะเลือกหรือหาสิ่งปกติในร่างกาย
-
ด้านจิตใจ อารมณ์ (Psychology) มีอาการกลัว วิตกกังวล รู้สึกว่าต้องทำอะไรซ้ำ ๆ
- ด้านสังคม (Social) ไม่อยากเจอใคร ปลีกวิเวกตัวเองออกมา มีอาการที่แปลกไปจากเดิม
เราจะช่วยคนที่เป็นซึมเศร้าได้อย่างไร?
ให้เราสังเกตอาการของคนที่กำลังซึมเศร้าว่าเขาอยู่ในระยะไหน เป็นสะสมมานานไหม ถ้าหากว่าเขาเป็นแล้วเขาดีขึ้นภายในไม่กี่สัปดาห์ แปลว่าเขาสามารถจัดการกับอารมณ์ของเขาได้
อาจจะไม่หายเศร้าแต่สามารถจัดการกับอารมณ์ตัวเองได้อยู่ แต่ถ้าเกิดในทุก ๆ วันในทุกช่วงเวลา จนส่งผลกระทบต่อการทำงาน การใช้ชีวิตประจำวันไม่สามารถจัดการตัวเองได้
แนะนำให้ไปพบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาอย่าเลือกโรคให้ตัวเองเพราะเวลาที่เรากำลังอยู่ในภาวะเศร้าอาจจะมีหลาย ๆ โรคที่เข้ามาหาเรา
อาจจะเป็นโรคอารมณ์สองขั้ว โรควิตกกังวล เพราะฉะนั้นเมื่อเราสังเกตอาการของคนข้าง ๆ ตัวอยากให้เราแนะนำหรือพาเขาไปพบจิตแพทย์
โรคซึมเศร้า มีกี่ระดับ?
โรคซึมเศร้าระดับน้อย จะสามารถใช้ชีวิตได้อยู่ จัดการอารมณ์ตัวเองได้ แต่จะมีบางช่วงเวลาที่เกิดอาการกับตัวเองไม่ว่าจะเป็นอาการเหนื่อย ไม่มีสมาธิ เบื่ออาหาร
โรคซึมเศร้าระดับปานกลาง เริ่มกระทบฟังก์ชันในระดับการทำงาน เช่น ในวัยเด็กจะเริ่มมีอาการไม่อยากไปโรงเรียน เรียนหนังสือไม่เข้าใจ ในวัยผู้ใหญ่จะไม่อยากทำงาน รู้สึกเบื่องานที่ทำ ทำงานได้ไม่ดีเท่าที่เคยทำได้
โรคซึมเศร้าระดับรุนแรง เริ่มเก็บตัว มีอารมณ์เศร้า หดหู่ อยากทำร้ายตัวเอง โรคซึมเศร้าในภาวะเรื้อรัง คือ จะมีอาการทั้งหมดข้างต้นที่กล่าวมาและจะมีอาการที่เป็นมานานสะสมเป็นปี จะถูกวินิจฉัยว่าเป็นซึมเศร้าเรื้อรัง
วิธีการรักษาโรคซึมเศร้ามี 2 รูปแบบหลัก ๆ
รูปแบบแรก การใช้ยา
จะเป็นหน้าที่ของจิตแพทย์ จิตแพทย์จะดูว่าเรามีอาการหลัก ๆ ในตรงไหนก็จะให้ยาที่ช่วยระงับอาการ เพื่อให้คนไข้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างราบรื่น
รูปแบบที่สอง การทำจิตบำบัดกับนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์
การทำจิตบำบัดจะช่วยให้คนไข้เข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้น และหาวิธีรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้น เช่น นักจิตบำบัดเห็นว่าคนไข้มีปัญหาเกี่ยวกับทักษะการเข้าสังคมกับคนอื่นสาเหตุมาจากความเศร้าของอารมณ์คนไข้ไปกระทบการเข้า
สังคม นักจิตบำบัดก็จะทำให้คนไข้หาวิธีการกลับไปเข้าสังคมได้
สำหรับใครที่ตอนนี้มีคนที่กำลังเศร้า หรือมีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่สภาวะซึมเศร้าอยากให้ลองเข้าไปพูดคุยหรือทำความเข้าใจกับอารมณ์ของเขา และอาจจะหาทางเลือกโดยไปหานักจิตบำบัดหรือจิตแพทย์ เพื่อให้คนที่กำลังตกอยู่ในสภาวะเศร้าได้เรียนรู้และรับมือกับอาการที่เป็นอยู่
รวม Podcast โรคซึมเศร้า ในโลกซึมเศร้าใบนั้น ภายในเป็นอย่างไร
Post Views: 4,701