มิติของการกล่าวโทษผู้อื่น การกล่าวโทษผู้ถูกกระทำ และการกล่าวโทษผู้กระทำผิด เกิดขึ้นได้อย่างไรในทางจิตวิทยา
และเราควรจะต่อว่าผู้ทำผิดเพื่อเป็นบรรทัดฐานของสังคมหรือไม่ มาพูดคุยกับ Alljit x คุณวันเฉลิม คงคาหลวง นักจิตวิทยาการปรึกษา
มิติของการกล่าวโทษผู้อื่น (ถูกกระทำ)
การกล่าวโทษผ้ถูกกระทำ ไม่ใช่แค่การชี้ว่าคนไหนทำผิดเท่านั้น แต่มันสะท้อนโครงสร้างทางจิตใจของผู้ที่กล่าวโทษด้วย โดยทั่วไปอาจเกิดจาก 2 ลักษณะ คือ
1. กลุ่มที่รู้สึกดีเวลาได้กดคนอื่นลง
มักเป็นคนที่ขาดความมั่นคงทางจิตใจ กลัวการด้อยค่าทางสังคม จึงรู้สึกดีเมื่อสามารถตำหนิหรือทำให้คนอื่น “ต่ำกว่า” ตัวเอง
2. กลุ่มที่กล่าวโทษด้วยความรู้สึกสะใจ
มักมีประสบการณ์ความเจ็บปวดหรือเคยถูกกระทำรุนแรงในอดีต การกล่าวโทษคนผิดจึงเป็นการระบายความรู้สึกที่สะสมอยู่ ซึ่งลึก ๆ แล้วอาจเกิดจากปม หรือแผลในใจที่ไม่เคยได้รับการเยียวยา
การต่อว่าผู้กระทำผิดจริง เกิดจากอะไร
แม้จะเป็นการกล่าวโทษผู้ที่กระทำผิดจริง แต่อารมณ์เบื้องหลังที่ผลักดันการต่อว่าอาจมาจากหลากหลายชั้น เช่น
1.ความรู้สึกโกรธโดยตรงกับพฤติกรรมนั้น
เป็นการระบายความไม่พอใจโดยตรง อาจดูเหมือนเหมาะสม แต่หากแรงเกินไปอาจสะท้อนความ aggressive ที่มากเกินเหตุ
2. การกระตุ้นจากบาดแผลในใจของตัวเอง
คนบางคนมี “กล่องดำ” หรือความเจ็บปวดที่ฝังแน่นอยู่ในใจ และเมื่อเห็นเหตุการณ์คล้ายกับสิ่งที่เคยเจอ จะเกิดการกล่าวโทษรุนแรงโดยไม่รู้ตัว
3. การไล่ล่าหาผู้กระทำผิดเพื่อต่อว่า
เป็นสัญญาณของคนที่มี trauma หรือปมลึก ๆ แล้วใช้การกล่าวโทษซ้ำ ๆ เป็นช่องทางระบายความรู้สึกที่ไม่เคยถูกพูดถึงหรือยอมรับมาก่อน
เราสามารถกล่าวโทษผู้กระทำผิดได้ไหม ?
คำถามนี้ตอบได้ยาก เพราะมีหลายมิติที่เกี่ยวข้อง เช่น
1. ในระดับกฎหมาย
ผู้กระทำผิดต้องรับผิดชอบตามกฎหมายก่อน กฎหมายเป็นเส้นแบ่งที่ชัดเจนและจับต้องได้
2. ในระดับศีลธรรม/จริยธรรม
บางกรณีอาจไม่ผิดกฎหมาย แต่ผิดในมุมของวัฒนธรรม ศาสนา หรือจริยธรรม
3. ในระดับสังคม (กฎหมู่)
บางครั้งสังคมใช้ “การลงโทษทางสังคม” อย่างการวิจารณ์หรือการแบน ซึ่งอาจรุนแรงเกินไป และย้อนกลับมาทำร้ายผู้วิจารณ์ได้เช่นกัน
ดังนั้น:
– เราสามารถกล่าวโทษได้ ถ้าอยู่ในกรอบของกฎหมายและความเหมาะสม
– แต่ควรตั้งคำถามว่าเรากำลังกล่าวโทษเพราะอะไร — เพื่อเรียกร้องความยุติธรรม หรือเพื่อระบายความโกรธส่วนตัว?
– และ เราต้องยอมรับผลของการกล่าวโทษด้วย เช่น ถ้ากล่าวโทษด้วยถ้อยคำรุนแรงหรือผิดกฎหมาย ก็อาจโดนฟ้องกลับได้
บทความอื่น ๆ ที่ Alljit Blog
Post Views: 21