ใจดีกับคนอื่นแล้ว ใจดีกับตัวเอง ด้วยนะ

เรื่องAdminAlljitblog

ใจดีกับคนอื่นแล้ว อย่าลืม “ ใจดีกับตัวเอง ” ด้วยนะ คำที่หลาย ๆ คนมักจะได้ยินกันบ่อย ๆ แต่การใจดีกับตัวเองนั้นทำได้ง่ายขนาดนั้นเลยหรอ ?

 

 

วันนี้เรา ใจดีกับตัวเอง มากพอหรือยัง?

ใจดีกับตัวเอง ในทางจิตวิทยา 

ใจดีกับตัวเอง ตรงตัวว่า เราอนุญาตให้ตัวเองทำอะไรก็ได้ อนุญาตให้ตัวเองผิดหวัง ทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ แล้วทำให้เรากล้าที่จะคิดและทำอะไรต่าง ๆ มากขึ้น ตรงข้ามก็คือใจร้ายกับตัวเอง

 

คือเราชอบตำหนิ เราชอบคิดไปก่อนว่าอะไรจะออกมาไม่ดี Self-compassion ใจดีกับตัวเอง Compassion จะใช้คำว่าเมตตากรุณา พอมีคำว่า Self เพิ่มขึ้นมาเลยเป็นเมตตากรุณากับตัวเอง

 

เราเลยมักจะเรียกว่าใจดีกับตัวเอง ใจดีกับตัวเองอย่างที่พูดไปว่าเป็นการอนุญาตให้เราได้ผิดพลาด เริ่มที่จะมองสิ่งที่เราทำ มองหาจุดดีของมัน หรือมองตัวเองในเชิงบวกมากขึ้น ซึ่งมีวิธีอยู่

 

 

สัญญาณเตือนว่าเมื่อไหร่ควรกลับมา ใจดีกับตัวเอง

เน้น ๆ เลยคือเราตำหนิตัวเองเยอะ แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยที่ทำผิดพลาด แต่เรากลับคิดว่าเป็นเรื่องใหญ่ แค่นิดเดียวแต่ทุกอย่างคือลงมาที่เราหมด เราไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้ ทุกอย่างเลยพัง

 

ทั้งที่จริง ๆ แล้วอาจจะเป็นความผิดพลาดนิดเดียว ตรงนี้เป็นจุดสำคัญเลย อาจจะต้องเริ่มแก้ไขมันแล้ว เพราะบางครั้งการตำหนิตัวเองทำให้เราไม่ยอมที่จะเปลี่ยน อยู่กับการตำหนิตรงนั้น

 

 

ใจดีกับตัวเอง หรือ เห็นแก่ตัว แยกยังไง? 

2 คำนี้ต่างกัน เห็นแก่ตัวเกิดจากการที่เราดึงทุกอย่างมาเป็นของเราจนคนอื่นเดือดร้อน โดนเอาเปรียบ ใจดีกับตัวเองจะไม่มีความเดือดร้อนของคนอื่นที่เกิดขึ้น จะเป็นจุดที่เราเปลี่ยนทัศนคติ

 

คือเราเปลี่ยนจากการตำหนิตัวเองมาเป็นการให้กำลังใจตัวเอง ว่าเราจะผ่านมันไป เราจะเรียนรู้จากมัน ก้าวผ่านสิ่งที่ผิดพลาดตรงนี้เพื่อที่จะได้ไม่ผิดพลาดหรือผิดพลาดน้อยลง ซึ่งการใจดี

 

กับตัวเองบางครั้งมันคือการที่เรานึกถึงตัวเองก่อนคนอื่น บางครั้งชีวิตคนเรา เราอาจจะมองและตัดสินได้ว่า เรามักจะใช้ชีวิตตามคนอื่น เพื่อคนอื่น บางทีเราอาจจะไม่แน่ใจในตัวเองได้นะว่า

 

ตอนนี้เราใช้ชีวิตเพื่อใคร เพื่อครอบครัว? เพื่อคนที่เรานับถือ? หรือเปล่า ซึ่งตรงนี้มันไม่ผิดที่เราจะใช้ชีวิตเพื่อใคร แต่ว่าถ้าเราใช้ชีวิตเพื่อใครแล้วโดนคน ๆ นั้นเอาเปรียบ เอาผลประโยชน์ไป

 

หรือเขาทำให้เรารู้สึกไม่ดี สุดท้ายต้องกลับมาที่ตัวเองนะว่า เราควรจะนึกถึงว่าเราไหวแค่ไหน เราทำงานตามเจ้านาย ถวายชีวิตให้จนสภาพร่างกายแย่ นั่นคือสิ่งที่ทำเพื่อตัวเองจริง ๆ หรอ ?

 

เพราะถ้ามันไม่ใช่ แล้วมันทำให้สุขภาพเราแย่ เราควรที่จะออกมาดีกว่า นั่นคือการใจดีกับตัวเองประเภทหนึ่ง ที่ให้โอกาสตัวเองในการที่จะคิด ได้รีเซ็ทใหม่ ๆ ได้ใช้ชีวิตตามที่เราอยากจะใช้

 

 

ไม่ไหวแล้ว แต่ยังแคร์คนอื่น ทำยังไงดี?

ถ้าถึงในจุดที่คนรอบข้างเริ่มกดดันเรา การกลับมาแคร์ตัวเองอาจจะเป็นการเปลี่ยนที่ทัศนคติว่า เราจะได้อะไรจากการทำเพื่อคนนี้? เราเริ่มคิดถึงประโยชน์ที่ตัวเราจะได้รับ เราจะได้อะไรจาก

 

การที่เราทำงานนี้? เราจะได้อะไรจากการที่เราคิดและเริ่มสิ่งนี้ขึ้นมาด้วยตัวเอง? เป็นการประมวลคำถามที่ทำให้เราได้คิดทบทวนอะไรบางอย่างในหัว ทำให้เรารู้เจตนาว่าเราทำไปเพื่ออะไร

 

เพราะสิ่งที่เราจะได้มาคือ Product ผลิตภัณฑ์ ผลลัพธ์ สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเราจริง ๆ ถ้าเราถามว่าเพื่อคนอื่นจะได้อะไร? คนอื่นคงจะได้งาน ความสำเร็จ และสิ่งที่เขามอบหมายเรามา

 

แต่เราได้อะไร? เราได้ skill ที่เพิ่มขึ้นหรือเปล่า? เงินเดือนที่เพิ่มขึ้น หรือเทคนิคทัศนคติบางอย่างที่ได้รับกลับมา อันนี้เป็นสิ่งสำคัญสำคัญที่เราจะได้จากการเริ่มคิดและทำเพื่อตัวเองบ้าง

 

24 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนมากเราใช้ชีวิตโดยมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นเยอะมาก จะจับโทรศัพท์ จะไปทำงาน เราก็ต้องเจอคนอื่น แล้วสิ่งที่ตามมาคือเราเลยจะทำบางอย่างเพื่อคนอื่น บางครั้งเป็น

 

ไปเพื่อการเอาใจ การได้รางวัลบางอย่างจากคนอื่น สิ่งที่เรียกว่า Condition of Worth หรือเงื่อนไขของการที่จะมีคุณค่า ตรงนี้เป็นสิ่งปกติของมนุษย์ที่เราจะทำอะไรเพื่อคนอื่น เพื่อให้

 

คนอื่นชื่นชม ทำให้เราเห็นคุณค่าในตัวเองขึ้นมา อันนี้คือเงื่อนไขของการมีคุณค่า ซึ่งบางครั้งมันเกิดปัญหาจากตรงนี้ได้ ตรงที่ว่าเราทำสิ่งนั้นเพื่อคนอื่นแต่สิ่งนั้นไม่ใช่สิ่งที่เราอยากทำ

 

ต้องการ หรือเป็นตัวเรา แต่เราต้องทำเพื่อให้คน ๆ นั้นให้รางวัลกับเรากลับมา อันนี้เป็นจุดที่การใจดีกับตัวเองน่าจะเข้ามาได้ เราต้องเริ่มตั้งคำถามว่าสิ่งที่เราทำเพื่อเขาเราโอเคกับมันไหม?

 

การทำเพื่อคนอื่นไม่ผิด แต่มันจะผิดก็ต่อเมื่อเราเริ่มที่จะสูญเสียความเป็นตัวเอง มันทำลายสุขภาพใจ สุขภาพกายเรา อันนั้นน่าจะเริ่มผิดแล้ว เพราะสุดท้ายแล้วเราก็ต้องอยู่กับเราไปตลอด

 

 

ใจดีกับตัวเอง ฮีลใจตัวเองยังไงดี?

มองหาจุดดีในจุดที่เราผิดพลาด เพราะจะได้เห็นความพยายามของตัวเองว่า ‘เราทำได้ขนาดไหน’ บางครั้งเราเจอสิ่งที่ผิดพลาดเราจะมองแต่สิ่งนั้น แล้วเราเอาแว่นขยายไปขยายให้มันใหญ่

 

ทั้ง ๆ ที่อย่างที่มันอาจจะเป็นเรื่องเล็กก็ได้ หรืออาจจะเป็นเรื่องใหญ่จริง ๆ แต่เราจะมองไม่เห็นจุดดี ๆ ที่เราทำมันได้ การที่เรามองจุดนั้นไม่ได้หมายความว่าเราจะปลอบประโลมมันเหมือน

 

เป็นมีดอาบน้ำผึ้ง มันเป็นจุดที่ทำให้เราเริ่มเห็นว่าเรามาถึงตรงนี้ได้เราก็เก่งแล้ว ทำได้ดีแล้ว ถึงจะมีบางจุดที่พลาดไป มันก็มีโอกาสให้แก้ไข โอกาสอาจจะไม่ได้มาจากคนนั้น เขาอาจจะไม่

 

ได้ให้โอกาสเรา เขาอาจจะด่าเรา แต่เราให้โอกาสตัวเองได้ เราก็ทำมันใหม่ เราก็ลองปรับ เรียนรู้จุดผิดพลาดของเรา อีกอย่างนึงก็คือการให้กำลังใจตัวเองนี่แหละ ในเมื่อไม่มีใครให้กำลังใจ

 

เราก็ให้กำลังใจเราเองก่อน แต่ก็มีใครสักคนอยู่ดีนะที่พร้อมจะให้กำลังใจเรา สำคัญไม่แพ้ไปกว่าการให้กำลังใจตัวเองคือการที่เราใจดีกับตัวเองผ่านการที่เราไปเข้าหาคนที่ดี ๆ เช่นเดียวกัน

 

 

ประโยคแบบไหนดี ที่เอาไว้ใช้ให้กำลังใจตัวเอง?

เป็นการพูดคุยกับตัวเอง เช่น ‘ตรงนี้นิดเดียว ช่างมัน ทำใหม่’ ใช้คำว่าช่างมันบ่อยมาก แต่ไม่ได้หมายความว่าทิ้งมันไปหรือปล่อยปะละเลย แต่ทำให้เราคิดว่า ‘เออ เอาใหม่’ อะไรประมาณนี้

 

เช่น แพ้เกมบ่อย มันจะมี Try again มีตาใหม่ที่ทำให้เราเริ่มเล่นได้เรื่อย ๆ อันนี้เป็นตัวอย่างที่ทำให้เราเห็นว่า การที่เราแพ้วันนี้ การที่เราทำผิดพลาดวันนี้ มันไม่ใช่ The End of the World

 

มันเป็นแค่สิ่งเดียวที่เราทำพลาด เราแพ้นัดนี้ บางทีเราลืมไปเลยว่าเราชนะมาตั้งกี่ตา บางครั้งเราแพ้นัดนี้เราเสียดายมันมาก ทั้งที่เราเองก็เก่งมากเหมือนกัน นอกจากจุดลบ มานึกถึงจุดดีด้วย

 

อย่างที่บอกในเรื่องของการใจดีกับตัวเอง บางครั้งเราเน้นในส่วนที่เราพลาด จนเราลืมมองสิ่งดี ๆ ที่เราอาจจะทำได้ ไม่ว่าจะน้อยหรือมาก เอาจริง ๆ สิ่งดี ๆ ไม่ว่าจะน้อยหรือมากมันคือสิ่งที่ดี

 

ทองก็คือทอง ทองเล็ก ทองสร้อยรูปพรรณ บาทเดียว หรือทองแท่งอันแพง ๆ สุดท้ายมันคือทอง สิ่งดี ๆ ที่เราทำได้ เล็กใหญ่มันควรค่าแก่การที่เราจะหยิบมันมาแล้วชื่นชมมันกับตัวเองเสมอ

 

 

ใจดีกับตัวเอง ส่งผลต่อตัวเองยังไงบ้าง?

ไม่คิดมาก ไม่จมกับอะไรนานเกินไป กลับมาได้เร็ว เป็นคนที่มีงานทำ ถ้าเราจมกับอะไรนาน ๆ มันเสียงานเสียการ มันก็จะยิ่งส่งผลเป็น Butterfly effect ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ ส่งต่อไปเรื่อย ๆ

 

ไม่เป็นงานเป็นการ โดยเจ้านายว่า เจ้านายถาม เพื่อนติ หรืออื่น ๆ เราเลยเลือกที่จะตัดปัญหา โดยที่เราจะพยายามที่จะทำอะไรก็ได้ไม่ให้มันจมกับอะไรนาน ไม่ต้องคิดมาก เดี๋ยวก็กลับมาใหม่

 

ทำไปเรื่อย ๆ ทำใหม่ ๆ โดยแก้โดยบรีฟอะไรก็กลับมาทำใหม่ ทำใหม่ไม่ได้หมายความว่าเราทำใหม่แบบเดิมแล้วผิดพลาดแบบเดิม ทำใหม่คือเราพยายามที่จะปรับแล้วแก้ไขในจุดที่พลาด

 

เราเรียนรู้แล้วเราก็เอาไปให้เขาดูอีกรอบ ถ้ามันจะผิดพลาดอีกก็ไม่เป็นไร อย่างน้อยเราก็ได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ มาแล้ว อันนี้เป็นจุดที่คิดว่าการใจดีกับตัวเองทำให้ไม่คิดมาก ไม่จมกับอะไรนาน

 

 

อย่างน้อยยังมีตัวเองที่ใจดีกับเรา อาจจะทำให้ไม่รู้สึกโดดเดี่ยวจนเกินไป 🙂