Posts

ว่าด้วยเรื่อง ” อกหัก ” หลายคนกินข้าวไม่ลง นอนไม่หลับ ฟังเพลงเศร้าแล้วร้องไห้ ใครเคยอกหักอาจจะได้ผ่านช่วงเวลาเหล่านี้ แล้วทำไมอกหักถึงเจ็บขนาดนี้ ?

 

อกหัก ทำไมมันเจ็บจริง ๆ เหมือนเจ็บทางกาย

เพราะอะไร อกหัก ถึงทำให้รู้สึกเจ็บ?

มีความเกี่ยวข้องและเป็นเรื่องของร่างกาย ไม่ใช่เรื่องแปลก อกหักเป็นเรื่องของความรัก แต่เจ็บที่บริเวณอก เป็นไปได้เพราะสมองมีส่วนที่ดูแลและรับรู้ความเจ็บปวด จะแบ่งได้เป็น 2 อย่าง

 

1. Physical Pain 

แผลทางกาย มีดบาด ปวดขา ปวดหลัง

2. Social Pain

การถูกพลัดพราก โดนทิ้ง อกหัก ผิดหวัง โดนหักหลัง

 

 

ซึ่งการโดนกระทำสร้างความเจ็บปวดให้ แต่เจ็บตรงนี้คือเจ็บที่ความรู้สึก เจ็บที่ใจ หรือบางคนออกทางร่างกาย เพราะสมองมีการทำงาน overlap กัน มีจุดที่ทำงานเชื่อมกันอยู่ระหว่างความเจ็บปวด 2 แบบ

 

ส่วนนั้นมีตัวย่อคือ dAcc เป็นเปลือกสมองที่ดูแลเรื่องความเจ็บปวด เลยเป็นเหตุให้เวลาอกหัก นอกจากจะเป๋ ร้องไห้ อารมณ์ท่วมท้น จะยังมีเรื่องของความเจ็บปวดทางกายเพิ่มขึ้นมาด้วย

 

บางคนร้องไห้จนจะตาย บางคนร้องไห้เหมือนหัวจะระเบิด จากที่เคยฟังมา เพราะเวลาร้องไห้ จะมีฮอร์โมนกระตุ้นอยู่เรื่อย ๆ จึงเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้อกหักเจ็บจริง ๆ

 

 

อกหัก ทำให้อยากจบชีวิตตัวเอง จริงไหม?

เกี่ยวข้อง การฆ่าตัวตาย ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่เขาไม่ได้รู้สึกถึงความสัมพันธ์ เช่น เหตุที่ทำให้เสี่ยงจะเกิดการฆ่าตัวตายมากขึ้น คือ เขาให้คนรักทุกอย่างที่มี เขาไม่มีคนอื่นแล้ว ครอบครัวไม่ได้อยู่ในสายตา

 

วันหนึ่งเลิกกัน นั่นคือการถูกตัดขาดโดยสมบูรณ์ connectness หายที่เรียกว่า ” thwarted belongingness ” thwarted เหมือนการที่ขาดหรือไร้ซึ่งอะไรบางอย่าง belongingness คือความรู้สึกเป็นของผู้อื่น

 

ซึ่งการไม่มีความรู้สึกนั้น เป็นจุดสำคัญมาก เพราะว่าคนที่มีโอกาสฆ่าตัวตาย เพราะเขาหาที่พึ่งทางใจไม่เจอ เขาหาคนที่จะเข้าใจเขาและรับฟังเขาได้ยาก ตรงนี้เลยเป็นชนวน ดังนั้นอกหักมีส่วนเกี่ยวข้อง

 

เมื่อคนนั้นไม่เผื่อใจ ให้ไปหมดแล้ว วันหนึ่งเขาผิดหวัง จุดนี้จะเพิ่มความเสี่ยงขึ้นได้ ความรู้สึกไม่เป็นส่วนหนึ่ง เป็นอีกวงล้อหนึ่งของ thrwarted belongingness คือ ” perceived burdensomeness ”

 

คือ เรารู้สึกว่าเราเป็นปัญหา คนที่มีโอกาสฆ่าตัวตายจะมองว่า ทุกอย่างเป็นปัญหาของเขา เขาคือต้นตอ เขาคือต้นเหตุ เขาไม่สามารถที่จะจัดการตรงนี้ได้ เขามองว่าเราคือปัญหา เขาเลยไม่สนใจเรา

 

เขาเลยไม่อยากจะอยู่กับเราแล้ว เราถูกแปลกแยกออกมาจากเขา เขาเลยจะเริ่มมองว่าเราแปลกแยก เราไม่เป็นส่วนหนึ่ง เขาพยายามตีตัวออกห่างจากเรา ทั้งหมดนี้เลยเป็นส่วนผสมที่เพิ่มความเสี่ยงได้

 

การอกหักมีหลายสาเหตุ หลังจากการทะเลาะจนเลิกรากันไป ถ้าเรามองว่าปัญหาทุกอย่างเกิดขึ้นเพราะเรา เพราะฉะนั้น เลยมีโอกาสเป็นไปได้ ที่คน ๆ นี้จะรู้สึกผิดหวังกับความสัมพันธ์ครั้งนี้

 

 

ผู้ชายผู้หญิง ใครเจ็บกว่า?

เมื่อก่อนในทางวิจัย จะมีแบ่งเพศไปเลยว่า เพศนี้เสียใจมากกว่าเพศนั้น แต่ในโลกความเป็นจริงจะไม่ได้มีการแบ่ง ในทุกเพศ ตราบใดที่เราคาดหวังในความสัมพันธ์ ตราบใดที่คบกันนาน พอเลิกกัน

 

เลยมีโอกาสที่จะเสียใจ เจ็บในความสัมพันธ์ ถ้ายิ่งทุ่มเท ยิ่งให้อะไรบางอย่าง ทรัพย์สิน ความรัก หรืออื่น ๆ เราลงทุนเยอะ พอเลิกกันจึงเกิด ” sunk cost ” รู้สึกเสียดาย ทุนจม เราไม่อยากเสียไป

 

พอเสียเราเลยผิดหวัง เพราะเราใส่ให้ไปเยอะมาก แต่ทุกอย่างสูญเปล่า นี่คือจุดที่ทำให้ใครคนหนึ่งเสียใจ ที่มากไปกว่าเรื่องของ demographic เพศ อายุ

 

 

อกหัก นำไปสู่ภาวะอะไรได้บ้าง?

ถ้าเสียใจในระยะยาว เรียกว่าโรคซึมเศร้าได้ เพราะปัจจัยทางสังคมที่เกี่ยวข้องคือ stress life events หรือ เหตุการณ์ที่สะเทือนใจ ก่อให้เกิดความเครียด มีการพลัดพรากสูญเสีย มีผลเช่นเดียวกัน

 

แต่ว่าเปอร์เซ็นต์อาจจะไม่สูงมาก เพราะสิ่งที่มากกว่าคือเหตุการณ์ในอดีต วัยเด็ก หรือการพลัดพรากในระยะยาวมากกว่า ซึ่งตรงนี้เป็นสิ่งที่ควรพึงระวังไว้ แต่ไม่ได้ทำให้เป็นโรคซึมเศร้าได้ 100%

 

เพราะอาการของโรคซึมเศร้า มีตั้งแต่การที่เราหมดแรงจูงใจกับสิ่งรอบตัว การที่ไม่อยากอาหาร การที่เรามีการพักผ่อนผิดปกติ การที่เราเริ่มรู้สึกเศร้าในแต่ละวัน อาการจะต้องเป็นในระยะยาว

 

ถ้าเราเศร้าในระยะเวลาประมาณหนึ่งหลังเลิกกันแฟนหรืออกหักจากเรื่องบางเรื่องที่ไม่ใช่ความรัก อาจจะเป็นการสูญเสียของจุกจิก หรือสิ่งที่เรารักหรือหวงแหน สัตว์เลี้ยง ทำให้เสียใจได้หมด

 

การรับมือกับการเสียใจ จะมีทฤษฎี Stages of Grief แบ่งเป็น 5 ขั้น ขั้นแรก ๆ อารมณ์จะท่วมท้น รับไม่ได้ โกรธ ทำให้เรารู้สึกเจ็บ ผ่านมาอีกช่วง เมื่อสลัดออกไปไม่ได้ เราจะเริ่มจมกับความเศร้า

 

ซึ่งในขั้นนี้อาจจะนำไปสู่ Depression ได้ ถ้ามีปัจจัยเสี่ยงในตัวร่วมด้วย ทั้งปัจจัยทาง Biology และ Psychology เพราะว่าปัญหาสุขภาพจิตต้องดูโมเดล Bio Psycho Social คู่กัน

 

แต่สุดท้ายแล้วถ้าผ่านความเศร้าไปได้ จะไปสู่ขั้นที่เรายอมรับได้ ยังไงก็ตาม ความเศร้าเกิดขึ้นได้ทุกคน ไม่สามารถรู้ได้เลยว่าวันไหนจะเกิดเรื่องอะไรขึ้นกับเรา สิ่งที่สำคัญมากคือการเตรียมตัว

 

เตรียมตัวให้พร้อม เพราะเราต่างไม่อยากเจ็บเมื่อวันนั้นมาถึง เหมือนกับพอจะล้ม เราล้มบนฟูก ลองหาเวลาไปซื้อฟูกมา ล้มจะได้ไม่เจ็บมาก เรามีเวลาในการเตรียมใจตรงนี้อยู่ อาจจะเป็นการ

 

นึกสถานการณ์ในหัว ว่าถ้าเราเจอสถานการณ์เราจะทำยังไง เราจะไปทางไหน เราลองอนุญาตตัวเองให้เศร้าได้ ตอนที่เราเจอเหตุการณ์นั้น ไม่เป็นไร ยังไม่ต้องคาดหวังว่าจะเกิดอะไรขึ้นตามมา

 

แต่แผนในระยะยาวของแต่ละคนควรที่จะมีเผื่อไว้ เพื่อที่เราจะลุกขึ้นมาใช้ชีวิตต่อได้

 

 

เดี๋ยวมันก็ผ่านไป ช่วยเรื่อง อกหัก ได้จริงไหม? 

เดี๋ยวมันก็ผ่านไป ได้ยินคำนี้คิดว่าเป็นคำที่ดี เป็นคำที่ให้กำลังใจได้ แต่สิ่งที่เราอยากได้ยินจริง ๆ ในตอนที่เราอกหักใหม่ ๆ คือ พื้นที่ระบาย หรือเป็นคำที่ออกมาจากการที่เขาเข้าใจในมุมมองที่เราเจอ

 

มากไปกว่าคำว่า เดี๋ยวมันก็ผ่านไป ขอยกตัวอย่างคำให้กำลังใจที่หลายคนตั้งคำถาม คือ สู้ ๆ คำนี้เป็นคำที่ไม่ได้ช่วยอะไร แต่ส่วนตัวมองว่าช่วย ถ้าเรามีการพูดคุย การรับฟัง สนทนาตอบกลับ

 

ทำให้คน ๆ นั้นเห็นว่าเราใส่ใจในเรื่องของเขา เราอยากช่วยเขา เราอยากที่จะพูดสิ่งนี้ คำว่า สู้ ๆ ด้วยใจจริง เลยมองว่า เดี๋ยวมันก็ผ่านไป สู้ ๆ เป็นกำลังใจให้นะ คำต่าง ๆ นี้จึงเป็นคำที่ดีในการทำให้

 

ใครคนหนึ่งก้าวผ่านช่วงเวลาร้าย ๆ ไปได้ และคงจะแย่กว่าถ้าไม่มีใครพูดอะไรเลย ดังนั้น พูดไปเถอะ คำให้กำลังใจ เราให้เจตนาดีกับใคร เราให้สิ่งดี ๆ กับใคร นั่นเป็นเรื่องที่ดี แต่เราต้องแน่ใจก่อนว่า

 

สิ่งที่เราพูด พูดออกมาด้วยความหวังดีจริง ๆ ผ่านการที่เราใช้กระบวนการปรึกษา พูดคุยรับฟัง ให้ได้แลกเปลี่ยนกันบ้าง ไม่ใช่การพูดส่ง ๆ น่าจะช่วยได้ ถ้าเป็นเพื่อนกันอาจจะมีการปลอบ การกอด

 

ส่วนคำให้กำลังใจ ถ้าไม่ได้เป็นการตัดสิน กล่าวโทษ หรือไม่ได้เป็นการลดคุณค่ากันและกัน คิดว่าพูดไปเถอะ

 

 

ฮีลใจยังไงดี?

นึกถึง 2 คำ คือ มีกันกับแก้ กัน คือ Prevention ในมุมของศัพท์สุขภาพจิตมักจะกันก่อน ทีนี้มาแก้ คือ Intervention บ้าง ตอนที่เราเศร้าเสียใจ เรามองว่าเป็นจุดที่ไม่ต้องกดดันตัวเอง

 

ถ้าเราอยากร้องไห้ เราไม่ต้องกดดันตัวเองว่าเราจะต้องกลับมาได้เมื่อไหร่ ถ้าไม่ได้มีสิ่งอื่นรอเราอยู่ จริง ๆ ความรู้สึกที่อยู่ข้างใน ที่แสดงออกมาผ่านการร้องไห้ การระบาย เป็นสิ่งที่

 

ถ้าเก็บไว้ข้างในจะยิ่งแย่ แต่จุดที่ดีไปกว่านั้นคือ เราระบายแล้ว เราต้องทำอะไรต่อเพื่อที่จะแก้ไขปัญหานี้กับตัวเอง การที่เราเศร้า เป็นปัญหาที่เกิดกับตัวเอง ว่าเราจะก้าวผ่านจุดนี้

 

ไปได้ยังไง อาจจะเป็นการมองหาคนที่ไว้ใจ Social Support สำคัญมากในการพยุงเราให้ก้าวผ่านไป บางครั้งเรายืนคนเดียวไม่ไหว เราให้คนอื่นช่วย เรามีจุดที่แข็งแกร่ง

 

แต่ไม่ใช่ทุกจุด บางครั้งที่เราเป๋จนยืนไม่ไหว เป็นไปได้เสมอ ซึ่งเราต้องการใครสักคนมาพยุง มาดามใจ ซึ่งสิ่งนี้เป็นเรื่องสำคัญ เราเป็นมนุษย์ เรามีเพื่อนมนุษย์ สังคมจะช่วยให้เราผ่านไปได้

 

และเรียนรู้ เริ่ม ที่จะให้ความสำคัญกับตัวเองผ่านการให้รางวัลตัวเองบ้าง เราอาจจะยังไม่ได้ทำสิ่งที่เราอยากทำจริง ๆ บางครั้งเราอยู่กับความสัมพันธ์ เรายังไม่ได้ทำสิ่งนี้

 

ยิ่งถ้าอยู่ในความสัมพันธ์ที่ Toxic เราจะถูกปิดกั้นไม่ให้เป็นตัวเอง เราถูก Gaslighting ถูก Manipulating ควบคุมไม่ให้เราทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ จนทำให้เราลดทอนความมีคุณค่าในตัวเองลงไป

 

เราลองกลับมาทำสิ่งที่เราอยากทำดีไหม? กลับมาเป็นในสิ่งที่เราอยากเป็นจริง ๆ ดีไหม? เริ่มมองหาจุดที่เราอยากไปต่อ เป็นกิจกรรมเล็ก ๆ ก็ได้ เอาไว้ทำเพื่อให้ผ่านช่วงเวลานี้ไปก่อน

 

แต่จะดีถ้าเป็นกิจกรรมที่ได้อยู่กับตัวเองเยอะ ๆ เช่น ต่อจิ๊กซอว์ เขียนไดอารี่ เป็นกิจกรรมที่เราทำไปเพื่อให้เราได้อยู่กับตัวเอง เป็นการฝึกไปเรื่อย ๆ ดูเหมือนจะเป็นกิจกรรมที่ Abstract

 

แต่ลองนึกดูว่าเวลาเราเขียน เราแทบไม่นึกถึงคนอื่นเลย เราจะนึกถึงแต่ในหัวว่าเราจะเขียนอะไรดี เราไม่ได้ไปนึกว่า คนอื่นจะคิดยังไงกับเรา คนอื่นจะมองยังไง คนนั้นจะไปมีใหม่รึยัง

 

เราไม่ได้คิดตรงนั้น อันนี้แหละที่เป็นจุดสำคัญ ที่อยากให้ทุกคนกลับมาโฟกัสที่ตัวเอง จะช่วยให้เราค่อย ๆ ฟื้นฟูตัวเอง ผ่านไปได้ เหมือนเราล้มบนฟูกแล้วกลายเป็นตุ๊กตาล้มลุก

 

ที่พร้อมจะเด้งขึ้นมาใหม่ตลอดเวลา แล้วนี่จะกลายเป็นทักษะที่เรียกว่า Resilience หรือความยืดหยุ่นทางใจ ในครั้งต่อไปถ้ามีใครมาผลักเราล้มอีก เราจะยิ่งลุกขึ้นมาได้เร็วขึ้นเรื่อย ๆ

 

สุดท้ายแล้วความเศร้า ก็จะเป็นสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกเศร้าได้ชั่วคราวแต่ไม่ยาวนาน

 

 

มีคนใหม่เพื่อลืมคนเก่าช่วยเรื่อง อกหัก ได้ไหม?

จะดีก็ต่อเมื่อคน ๆ นั้นมีความรู้สึกดี ๆ ให้เราจริง ๆ หรือเราแน่ใจแล้วว่าคนนี้คือคนที่เราตามหา ในช่วงเวลาที่เลิกกันใหม่ ๆ คนจะชอบบอกว่าเป็นช่วงเวลาที่อ่อนไหว อ่อนไหวทางความรู้สึก

 

เราไม่ทันได้คิดไตร่ตรองอะไรได้ดีเท่าตอนที่เราปกติ อาจจะเสี่ยงที่ว่า ความสัมพันธ์ที่มาดามใจ อาจจะไม่ยั่งยืน เพราะเราอ่อนไหว ตัดสินใจอะไรไม่ค่อยดี อยากให้คนนี้รับฟังหน่อยได้ไหม

 

เราจะวิ่งหาคนอื่นเวลาเราเศร้า บางครั้งเราอกหัก เรามักจะหาผู้คนมาเพื่อทำให้เรารู้สึกว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของสังคมอยู่ เรายังไม่ได้ถูกทอดทิ้ง แยกไปเลย อยู่นอก circle ไปเลย

 

ซึ่งบางทีการดามใจ ต้องหาคนที่ดี ๆ รู้สึกกับเราจริง ๆ อยากที่จะมีเราในชีวิต

 

 

น้ำตาก็เหมือนฝน พอฝนหยุดแล้ว หวังว่าทุกคนจะได้พบเจอกับวันที่สดใสกว่าเดิม 🙂

เราพาทุกคนย้อนอดีตไปในสิ่งที่พวกเราส่วนใหญ่น่าจะคิดถึงกัน และไม่มีอะไรที่สามารถมาแทนความอบอุ่นใจนี้ได้ นั้นก็คือ “น้องเน่า” สัญสักษณ์แทนใจในวัยเด็กของเรา 😀

 

 

แบ่งปันเรื่องราว น้องเน่า สัญลักษณ์แทนใจในวัยเด็ก

เชื่อว่าเกือบทุกคนเคยมีน้องเน่าเป็นของตัวเอง บางคนอาจจะมีชื่ออีก ๆ เช่น อีเปรี้ยว เพราะเราอยู่กับมานานมากจนกลิ่นเปรี้ยวถึงจะซักจนหอมแล้วแต่เราก็ยังเรียกว่าอีเปรี้ยวอยู่  น้องเน่าเป็นผ้าห่มสีขาว

 

บางคนเป็นหมอน เป็นตุ๊กตา ที่ใช้ตั้งแต่เด็ก ๆ แต่พอโต มันเริ่มลายจาง มันเริ่มขาด แต่เรายังเอาไว้นอนกอดอยู่ พอวันหนึ่งมันหายไป เราทั้งรู้สึกงง เสียใจ คิดถึง เพราะน้องเน่ามีคุณค่าทางจิตใจ มีความทรงจำดี ๆ ร่วมกันกับเรา 

 

Transitional Object วัตถุเปลี่ยนผ่าน

นักจิตวิทยาเด็กได้กล่าวไว้ว่า Transitional Object คือ อาการติดสิ่งของของเด็ก ที่เริ่มตอน 1-3 ขวบ เช่น ตุ๊กตา หมอนข้าง ผ้าห่ม หรือบางคนอาจจะติดข้อศอกแม่ ติดการสกินชิพ ซึ่งอาการติด จะค่อย ๆ หายไปเมื่อเรา

 

เติบโตขึ้น ตามความหมายของ Transition เลยที่พอเราโตเราอาจจะไม่รู้สึกหรือมีหรือไม่มีมันแล้วก็ได้ Transition ใช้อธิบายถึงช่วงวัยว่าตอนเด็กเราต้องการ พอเติบโตเข้าสู่อีกวัยเราอาจจะไม่ต้องการแล้ว

 

อีกความหมายหนึ่งจากเว็บไซต์ Refinery29 ที่สิ่งของเหล่านี้ถูกเรียกว่า Transitional Object เป็นเพราะใช้อธิบายถึงการที่ผู้ดูแล ไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ พี่เลี้ยง “ไม่ได้อยู่ตรงนั้นแล้ว”

 

คือ Transit หรือ Move ไปอยู่ที่อื่น เช่น ผู้ดูแลของเด็กอยู่อีกห้องหนึ่ง เด็กเลยต้องการบางสิ่งที่จะอยู่เป็นเพื่อน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นตุ๊กตา ของเล่น หรือผ้าห่ม  

 

แล้ว Transition Object เรียกได้อีกอย่างว่า Attachment Objects นักจิตวิทยาพัฒนาการกล่าวไว้ว่า ที่เรียกแบบนี้เพราะ สิ่งของเหล่านี้สามารถสร้างความรู้สึกสบายใจ ปลอดภัยทางจิตใจ ให้กับเด็กได้

 

ช่วย Transit เด็กที่ต้องการการดูแลและพึ่งพาจากพ่อแม่มาก กลายเป็นต้องการตรงนี้น้อยลง เพราะมี Object ช่วย 

 

คนยุคมิลเลนเนียล หรือผู้ที่เกิดในช่วงปี 1980-2000 ก็มีแนวโน้มยึดติดกับ Comfort Object มากขึ้น จากข้อมูลเว็บไซต์ The Cut เขาได้กล่าวไว้ว่า เพราะคนยุคมิลเลนเนียนต้องการให้สภาพแวดล้อมที่เขาโยกย้าย

 

ไม่ว่าจะเป็น การย้ายถิ่น การไปเรียนมหาลัย การแยกออกไปอยู่คนเดียวเมื่อเติบโตขึ้น ยังอยากมีอะไรที่คล้ายสภาพแวดล้อมบ้านหรือน้องที่เขารู้สึกปลอดภัย จึงมีความยึดติดกับ Comfort Object

 

น้องเน่า มีผลต่อจิตใจ จริงไหม?

 

 

 

 

ตุ๊กตาเน่า เพราะอะไรถึงมีผลต่อจิตใจ?

เป็นเซฟโซน 

 

เป็นวิธีฮีลใจ 

เป็นกลไกทางจิตวิทยา

การปลอบโยนตนเอง (Self-soothing)

ความสัมพันธ์แบบ growth up together

 

ติด น้องเน่า แบบไหน ถึงเรียกว่าผิดปกติ? 

1. มีอาการหูแว่วหรือเห็นภาพหลอน เช่น หูแว่ว ได้ยินเสียงจากตุ๊กตา แล้วพูดคุยโต้ตอบกัน , เห็นภาพหลอน เห็นตุ๊กตาขยับได้ ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ 

 

2. อ้างอิงถึง Podcast ของ R U OK ? ได้ประเด็นนี้มา คือ บางคน treat ตุ๊กตา เป็นเหมือนคนในครอบครัว เป็นเรื่องของความรักความผูกพัน แต่ถ้าถึงขั้นที่ว่า ตุ๊กตาเป็นสิ่งมีชีวิต ต้องกินข้าว ต้องอาบน้ำ ต้องพาออกไปข้างนอก ห้ามใครยุ่งใครด่าว่า อันนี้อาจไม่ใช่เรื่องปกติแล้ว

 

3. การที่เราทำแล้วเรามีความสุข เช่น การตั้งชื่อให้สิ่งรอบตัว แปลว่าเราเป็นคนที่มีความ empty ต่อสิ่งรอบตัว เห็นคุณค่ากับสิ่งรอบตัว แต่ถ้าเราได้ยินหรือรู้สึกว่าสิ่งเหล่านั้นตอบโต้เรากลับอาจจะต้องไปพบแพทย์เพราะเป็นสัญญาณเตือนว่าอาจจะผิดปกติ

 

ถ้าวันนึงไม่มี หมอนเน่า แล้วเราจะหา วิธีอื่นอย่างไร เพื่อหาที่พึ่งทางใจ?

 

อ้างอิง

Instagram Sewing_Thing

What is a Transitional Object?

the adults who sleep with soft toys

childhood blanket transition

Meet The Adults Who Still Sleep With Security Blankets

Security Objects

ครอบครัว เป็นเหมือนกับสังคมที่หนึ่งของทุกคน การเกิดมาในครอบครัวที่ไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัยหรือที่คุ้นเคยกันดีกับคำว่า “Safe Zone” จะส่งผลอย่างไรบ้าง? และเราจะมองหามันจากที่ไหนในวันที่บ้านไม่ใช่ Safe Zone? 

ครอบครัวและคำว่า “Safe Zone”

อะไรคือความหมายของคำว่า ครอบครัว

ครอบครัวคือคำหนึ่งคำที่เราเอาไว้ใช้เวลาที่เราจะประกอบคนกลุ่มก้อนนึงขึ้นมาและเป็นสังคมเเรก มีองค์ประกอบทั้งบุคคล สถานที่และสภาพแวดล้อม ครอบครัวเป็นสังคมที่เราทุกคนเกิดมาจะต้องมีมัน

 

พอเป็นสังคมเเรกที่เราต้องเจอ ก็จะเกิดความคาดหวังว่า ครอบครัวจะต้องเป็นแบบนั้น ครอบครัวจะต้องออกมาเป็นแบบนี้และอาจจะเป็นที่มาของความหมายของครอบครัวในมุมมองของแต่ละคน

 

ตามความคาดหวังของคนคนนั้น…

 

 

ครอบครัว สำคัญอย่างไรสำหรับเด็ก

ครอบครัวเป็นจุดเริ่มต้นแรก เราจะเป็นอย่างไรในวันที่เราโตขึ้นก็คงมาจากพื้นฐานของครอบครัวว่าครอบครัวเป็นรูปแบบไหน เราหลายๆคนให้ความสำคัญกับเด็กและการอยู่ในครอบครัว

 

ถ้าถามว่าสำคัญขนาดไหนก็ต้องตอบว่า สำคัญมากๆ เพราะสุดท้ายแล้วถ้าครอบครัวไม่ได้สร้างสังคมที่ดีและเหมาะสม เมื่อเขาเข้าสังคมที่ใหญ่ขึ้น พฤติกรรม การสร้างความสัมพันธ์

 

คงถูกแผ่ขยายออกไปสู่คนอื่นๆได้เหมือนกัน ครอบครัวคงเป็นจุดเริ่มต้นเเรกที่ทำให้เขาเห็นว่า ตัวเองควรจะมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นแบบไหน เราควรจะเป็นเราในรูปแบบไหน

 

หรือ เราเป็นเราได้แค่ไหนในวันที่เราต้องออกไปอยู่ในสังคมที่กว้างขึ้น

 

 

ใครบ้างที่ต้องการ Safe Zone

ทุกคนต้องการ Safe Zone อาจไม่ใช่แค่เด็กแต่กับผู้ใหญ่เองยังต้องการ จริงๆแล้วทุกคนควรมี Safe Zone เป็นของตัวเอง มันควรมีพื้นที่นึงได้ไหมที่ทำให้เราเป็นเราในแบบที่เราอยากจะเป็น

 

หรือเป็นอะไรก็ได้ในแบบที่เราไม่อยากให้คนอื่นได้เห็นมุมนั้น เมื่อพูดถึง Safe Zone มันไม่ใช่แค่ควรมีไหมแต่ต้องมี เพราะไม่มีใครสามารถเข้มเเข็งได้ตลอดเวลา

 

เราเป็นตัวเองในแบบที่สังคมยอมรับได้แบบ 100% ก็อาจเป็นเรื่องที่ยาก

 

 

Safe Zone ไม่ใช่ ‘ บ้าน ‘ ได้ไหม

Safe Zone เป็นอะไรก็ได้ มันอาจจะไม่ได้เป็นพื้นที่ของบ้าน หรือไม่ใช่ใครสักคนนึงที่อยู่ในบ้าน เพราะคำว่า พื้นที่ปลอดภัย มันคือการที่เราอยากมีพื้นที่นึงที่ไม่มีใครตัดสินเราว่าถูกหรือผิด

 

ไม่มีอยากอยู่ในพื้นที่ที่ถูกตำหนิตลอดเวลา ถ้าบ้านไม่สามารถเป็นพื้นที่ตรงนั้นได้ อาจจะต้องมองหาสิ่งอื่นๆ สถานที่อื่นๆ บุคคลอื่นๆ ที่เรารู้สึกว่าอยู่ตรงนี้เราไม่ถูกตัดสินใจ เราสามารถ พูด คิดหรือแสดงออก

 

ในแบบที่เราอยากจะทำ โดยไม่ต้องกังวลว่าสิ่งนี้หรือคนนี้จะถูกใจกับสิ่งที่เราทำหรือเปล่า เพราะฉะนั้น Safe Zone จะเป็นที่ที่เราเป็นตัวเองได้ในแบบที่เราอยากจะเป็น 

 

 

ความรู้สึกว่าไม่ชอบที่นี่เพราะไม่ใช่ที่ของเรา ไม่ชอบครอบครัวตัวเอง

การที่เราอยู่ตรงนี้แล้วเรารู้สึกว่ามันไม่ใช่ที่ของเราหรือรู้สึกไม่ชอบคนในครอบครัว มันสามารถเกิดขึ้นได้ เพราะสุดท้ายแล้วเราเป็นเพียงมนุษย์หนึ่งคนที่มีความรู้สึกบางอย่าง

 

แล้วลองนึกว่าเราถูกดุ ถูกว่า ถูกตำหนิอยู่ตลอดเวลา ถ้าเราตัดคำว่าครอบครัวออก คำว่าพ่อแม่อออก เราจะไม่ชอบคนคนนี้แล้วสามารถพูดมันได้เต็มปากกว่านี้ไหม?

 

มันอาจจะไม่ใช่แค่ว่าเกิดขึ้นกับคนในครอบครัวแล้วผิดไหม? แต่มันเกิดขึ้นได้…

 

แต่ความรู้สึกนี้มันเกิดขึ้นกับเรามันมากจนรู้สึกว่าอยู่กับคนในครอบครัวไม่ได้ กระทบกับความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว อาจจะต้องมาหาสาเหตุก่อนว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้เราไม่ชอบคนในครอบครัว

 

อะไรทำให้เรารู้สึกเกลียดคนคนนั้นและอาจจะมาเริ่มกับตัวเอง เช่น เราไม่ชอบที่แม่บ่น ลองดูว่าเพราะอะไรเราถึงไม่ชอบแม่ที่เป็นแบบนั้น มันทำยังไงได้บ้าง สื่อสารกับเขาได้ไหม

 

มันต้องปรับเข้าหากัน เพื่อลดความรู้สึกนั้นของตัวเองลงไป

 

 

เมื่อ ครอบครัว ไม่ใช่ safe zone ทำอย่างไรดี

ก่อนอื่นอาจจะต้องถามตัวเองว่าเรายังไงอยากได้มันไหม ถ้าตัวบ้านไม่ใช่ ยังมีอย่างอื่นอีกไหมที่เรารู้สึกว่ามันเป็นเซฟโซนของเราได้ ลองมองหาอย่างอื่นที่อยู่ในบ้านแล้วเรารู้สึกว่าสบายใจ

 

อาจจะเป็นสัตว์เหรอ มุมนึงของบ้านที่เราอยู่แล้วรู้สึกปลอดภัยและมั่นคงกับความรู้สึกของตัวเอง

 

 

ถ้าต้องไปอยู่ใน ครอบครัว แฟนที่ไม่ใช่ Safe Zone

ครอบครัวของเขามันคงไม่ได้เหมือนกันกับครอบครัวของเราที่เราโตมา เราอาจจะโตมากับครอบครัวที่เป็นพื้นที่อุ่นใจ แต่การที่เราไปอยู่บ้านคนอื่น สิ่งที่ต้องตระหนัก คือ

 

เราไปอยู่บ้านคนอื่นมันก็คงไม่ได้เหมือนอยู่บ้านตัวเอง  ต้องดูว่าอะไรที่เราไปอยู่ตรงนั้นแล้วรู้สึกว่าไม่ใช่ Safe Zone อะไรทำให้เรารู้สึกแบบนี้กับบ้านหลังนี้ การที่เราจะจัดการกับสภาพแวดล้อม

 

หรือเข้าไปคุยกับพ่อแม่เขามันคงเป็นเรื่องยาก อาจจะต้องมาดูที่ตัวเองก่อนว่าอยู่แบบไหนที่เราจะมีความสุขกับตรงนี้ อยู่ตรงไหนแล้วเราสบายใจ

 

 

แมว หมา สัตว์เลี้ยง ตุ๊กตาก็เป็น Safe Zone ให้เราได้เหมือนกันนะ

บุคลิกภาพที่ถูกพูดถึงบ่อย ๆ อย่าง Introvert จริง ๆ แล้วในทางจิตวิทยาคืออะไร? อยากเปลี่ยนไปเป็น Extrovert ทำได้ไหม?

 

 

Introvert คืออะไร?

อย่างที่หลายคนรู้จัก คงเป็นคำเรียกและคำที่ใช้แทนตัวเอง คำนี้ในทางทฤษฎีคือคำว่า Introversive ที่เป็นเรื่องของบุคลิกภาพ เจ้าของทฤษฎีพยายามแบ่งหมวดหมู่ของบุคคลในเรื่องของลักษณะท่าทาง

 

เพื่อทำให้ได้อย่างทั่วถึงกันเมื่อพูดถึงคำว่า Introvert เราจะเห็นภาพว่าคนนี้เป็นคนอย่างไร ชอบอะไรที่ดูสงบ ชอบการอยู่คนเดียว ชอบทำอะไรที่จะต้องใช้ความคิดตัวเอง

 

 

ถ้าอยากเปลี่ยนไปเป็น Extrovert เป็นไปได้ไหม?

ถ้าเปลี่ยนเป็นคนละขั้วเลย ตอบยาก ตามหลักทฤษฎี คำนี้เป็นแค่สิ่งหนึ่งที่ทำให้เราเข้าใจว่าคนนี้เป็นอย่างไร ด้วยบุคลิกภาพในลักษณะแบบ Introversive หรือ Extratensive ถามว่าจะเปลี่ยนไปเป็นอีกฝั่ง

 

ต้องบอกก่อนว่ามนุษย์เรามีความ Introvert และ Extrovert ในตัวเองอยู่แล้ว ไม่มีใครเป็นแค่อันใดอันหนึ่ง ทุกคนจะมีทั้งสองฝั่ง แต่อะไรที่เด่นขึ้นมามากกว่ากันแล้วแสดงให้เห็นว่านี่คือบุคลิกภาพของคนนี้

 

พอเราพูดถึงบุคลิกภาพ เป็นการที่คนนี้มี Pattern การใช้ชีวิต การคิด การตัดสินใจ การเข้าหาคนอื่น หรือการที่เขามีลักษณะแบบนี้ที่เฉพาะเจาะจงที่เด่นขึ้นมา อยู่ที่ว่าในโมเมนต์นั้นมีอะไรที่กระตุ้นเรา

 

จนเราต้องแสดงมุม Extrovert ออกมาไหม พอพูดถึง Extrovert คือการที่เราต้องแสดงตัวตน กล้ามากพอที่จะแสดงความคิดเห็น หรือสามารถที่จะไปยืนอยู่ในสถานการณ์ที่มีแรงกดดันเยอะ ๆ

 

Extrovert จะทำอะไรแบบนี้ได้ดี ถามว่า Introvert มีโอกาสเป็นแบบนั้นไหม คงเกิดขึ้นได้ ถ้ามีอะไรทำให้เราต้องแสดงตัวตนแบบนั้นออกมา สิ่งสำคัญคือต้องยืดหยุ่น เมื่อไหร่ที่บุคลิกภาพของคนนั้น

 

ไม่เกิดความยืดหยุ่น แล้วเรามีแค่ฝั่งใดฝั่งหนึ่ง โดยที่ไม่แสดงอีกฝั่งหนึ่งออกมาเลยในการที่จะต้องรับมือกับปัญหาและจัดการสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นแล้วสร้างความกดดันให้ คงไม่ดีต่อตัวเรามากนัก

 

 

ขี้อาย เก็บตัว และ Introvert แตกต่างกันอย่างไร?

เก็บตัวเป็นเรื่องของลักษณะพฤติกรรม ขี้อายเป็นเรื่องของลักษณะนิสัย ต่างกันนะ พฤติกรรมกับนิสัยอาจไม่ได้สอดคล้องกัน คนขี้อายหลายคนไม่ได้เก็บตัว แต่ขี้อายอาจจะเกิดจากการไม่มั่นใจในตัวเอง

 

หรือรู้สึกว่า มีการปรับตัวที่ช้า ทำให้รู้สึกว่าต้องใช้เวลาถึงจะเริ่มคุ้นเคย พอคุ้นเคยความขี้อายจะลดลง ขี้อายเป็นนิสัยของบุคคล แต่พอพูดถึงการเก็บตัว เก็บตัวเป็นได้ทั้งลักษณะนิสัยและพฤติกรรม

 

มากไปกว่านั้นคือเก็บตัวเป็นเรื่องของกลไกป้องกันตัวเองด้วย เราจะเก็บตัวเมื่อข้างนอกดูไม่ปลอดภัย หรือเกิดความรู้สึกอะไรที่มากระทบ แล้วเรารู้สึกว่าสิ่งนั้นแย่ เราเลยจะเก็บตัว

 

 

ข้อดีและข้อเสียของการเป็น Introvert มีอะไรบ้าง?

ข้อดีของ Introvert

1. มักจะใช้ความคิดและจินตนาการ เขาจะพยายามคิดทบทวนก่อนลงมือทำอะไร

2. เป็นคนที่สามารถวางแผน organize สิ่งต่าง ๆ ได้ดี

3. มีความคิดสร้างสรรค์ ทำให้สามารถสร้างผลงานได้ดี

4. มีความรอบคอบในการทำงาน

5. ใส่ใจคนอื่น

6. ได้ทำกิจกรรมที่ต้องจดจ่อและใช้สมาธิได้เยอะ เพราะสามารถตัดเสียงรบกวนได้แม้อยู่ในที่สาธารณะ

7. มีโอกาสได้อยู่กับตัวเองเยอะ ได้ทำอะไรที่อยากทำ ได้ใส่ใจตัวเอง

8. เป็นคนที่ระมัดระวังในการพูด การสื่อสาร การแสดงออกพฤติกรรมของตัวเอง

ข้อเสียของ Introvert

1. คิดมากเกินไป จนกลับมาทำร้ายตัวเอง

2. ใส่ใจในรายละเอียด ทำให้ไวต่อสิ่งต่าง ๆ มากเกินไป

3. ผิดหวัง เวลาใส่ใจคนอื่นมาก ๆ แล้วไม่ได้รับกลับมา

4. การพยายามจัดระบบระเบียบชีวิตมากที่เกินไป จะกลายเป็นไม่ยืดหยุ่น อึดอัดที่ต้องทำนอกแบบแผน

5. ด้วยความที่ระมัดระวังตัวเองมาก เลยจะยากต่อการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น

 

 

Introvert เพื่อนน้อย จริงไหม?

ตอบยากเหมือนกัน อาจจะขึ้นอยู่ที่บุคคลมากกว่า Introvert ไม่ได้เพื่อนน้อยเสมอไป เขาอาจจะแค่ชอบอยู่กับคนในปริมาณที่ไม่มาก เช่น การที่จะไปเจอกันหนึ่งครั้ง ขอแค่ 2-3 คนพอแล้ว

 

แต่ไม่ได้แปลว่า เขามีแค่กลุ่มเดียว เขาอาจจะมีหลายกลุ่ม ปริมาณไม่ได้บ่งบอกว่าคุณภาพเป็นอย่างไร เพราะงั้นเลยบอกแบบนั้นไม่ได้ว่าเขามีเพื่อนน้อย เขาอาจจะรู้สึกว่าแค่นี้มัน Private

 

มันสบายใจ มันเป็นตัวเองได้ ไม่ต้องใช้เอเนอจี้เยอะมากในการปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ที่สำคัญคือเขาคงรู้ว่า นี่คือพื้นที่ที่สบายใจ เป็นตัวเองได้ คงจะเป็นการตัดสินเกินไป ถ้าจะบอกว่า Introvert

 

เพื่อนน้อย บางทีเขาอาจจะมีเพื่อนหลากหลายกลุ่มมากกว่า Extrovert ขึ้นอยู่ที่บุคคลด้วย เรื่องการเข้าสังคม Extrovert อาจจะไม่ได้เข้าสังคมได้ง่ายด้วย เขาอาจจะต้องใช้ความพยายามเหมือนกัน

 

 

Introvert ที่เข้าสังคมยาก จะเริ่มต้นเข้าหาคนอื่นได้อย่างไร?

ต้องมองเรื่องของทักษะความสามารถในการปรับตัว การปรับตัวจะเกิดขึ้นกับมนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะเป็น Introvert หรือ Extrovert ถ้าคนที่มีลักษณะ Introvert แล้วปรับตัวได้ช้า ต้องใช้ระยะเวลา

 

ใช้ความคุ้นเคย กว่าจะเริ่มกล้ามากพอที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น อาจจะต้องมองไปที่พื้นฐานด้วยว่า เขาปรับตัวได้ดีมากน้อยแค่ไหน? เพราะ Introvert บางคนอาจจะปรับตัวได้ดี แต่อาจจะแค่

 

ต้องรวบรวมความรู้สึกของตัวเอง หรือ คิดทบทวนว่ากับคนนี้ควรเข้าหายังไง? แต่ถ้าเป็นกรณีที่กลัว การเข้าหาคนอื่นยาก อยากให้ลองดู เพราะความกลัวเป็นสิ่งที่เราสร้างขึ้น ความไม่กล้าเป็น

 

กำบังที่เข้ามาเป็นสิ่งที่ทำให้รู้สึกว่ายาก กลัวได้ แต่กลัวแล้วลองหน่อย ลองไปตรวจสอบกับตัวเองหน่อยว่า สิ่งนั้นน่ากลัวจริงไหม? ลองกับตัวเองก่อนแล้วกำแพงจะค่อย ๆ ถูกทำลายลง

 

อาจจะไม่หายไป แต่เราจะได้เห็นอะไรที่สอดคล้องมากขึ้น ว่าความกลัวนั้นจำเป็นที่จะต้องกลัว 10 เต็ม 10 จริงไหม? แน่นอนว่าก่อนที่จะเริ่มต้น ความกลัวอาจจะอยู่ที่ 10 เต็ม 10 แต่ถ้าลองไป

 

สักครั้งหนึ่ง ลองดูว่าทำกลับมาแล้ว feedback ดีหรือไม่ดีไม่เป็นไร แต่ความกลัวลดลงไหม? การลองอาจจะช่วยทำลายกำแพงความไม่กล้า ทำให้เข้าหาคนอื่นได้ง่ายขึ้น การไปมีปฏิสัมพันธ์

 

ไม่ได้อยู่ที่ว่าเราเป็น Introvert ไหม แต่มีองค์ประกอบหลายอย่างมาก บางทีเรามีประสบการณ์บางอย่างที่ไม่ดีมาก ๆ หรือเคยไปลองแล้วแต่กลายเป็นว่าความกลัวจาก 10 เต็ม 10 เพิ่มไปเป็น

 

100 เต็ม 10 แบบนี้เกิดขึ้นได้ ประสบการณ์เหล่านั้นจะสอนเราว่าอย่าทำเลย แต่ถ้าจะเร่งรีบ ต้องทำได้ทันที อาจจะกดดันเกินไป คาดหวังว่าจะออกมาดีมากเกินไป ตั้งรับความผิดหวังไว้ด้วย

 

 

ใช้ชีวิตอย่างไรให้มีความสุข? 

ส่วนตัวชอบการที่เรามีเวลาว่าง การที่เราทำงาน เข้าสังคม ใช้ชีวิต เราเจอคนเยอะมาก เราจะรู้สึกเหนื่อย เพราะความว่างจะทำให้เราได้ชาร์จพลังตัวเอง เราได้กลับมาอยู่กับความสุขของตัวเอง

 

เมื่อไหร่ที่มีโอกาส จะทำทุกอย่างที่ทำให้รู้สึกว่า สบาย สุข สงบ กิจกรรมเลยจะไม่ค่อยหลากหลาย เช่น นอนพักผ่อน ได้กินกาแฟ ได้ออกไปกินชาเชียวร้านใหม่ ๆ ได้เล่นกับแมว ได้อ่านหนังสือ

 

แค่นี้เลย ได้ใช้ชีวิตง่าย ๆ สบาย ๆ ตามแบบที่ตัวเองอยากได้ หรือใช้ชีวิตแบบไหนที่ทำให้เราได้พักจากโลกภายนอกจริง ๆ จะเป็นความสุขมาก การรู้จักตัวเองสำคัญมากที่จะเป็นคน ๆ หนึ่งที่มี

 

ความสุขได้ หลายคนจะวิ่งอยู่บนความต้องการของคนอื่น ความสุขของคนอื่น ถ้าเราทำให้คนนี้มีความสุขเราถึงจะมีความสุข แต่อย่าลืมว่าเรามีชีวิตของเราเอง ถ้าเราไม่รู้ว่าอะไรคือความสุข

 

สงบ ความสบายใจ ของตัวเอง สุดท้ายเราจะเอาตัวเองไปผูกติดกับคนอื่นตลอดเวลา แต่เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่า ตลอดชีวิตนี้เราจะอยู่กับคนนี้ได้

 

 

ทุกคนมีความสุขได้ ไม่ว่าจะมีบุคลิกภาพแบบไหน 🙂

ช่วงเวลาแห่งการนอนหลับ เป็นช่วงเวลาที่มีความสุขที่สุด เพราะเราไม่ต้องคิดอะไรให้หนักสมอง แต่เชื่อไหมว่า การ นอน ที่มากเกินไป จนเข้าขั้นการเสพติดการนอน อาจจะไม่ได้ดีต่อสุขภาพ

 

มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการนอนกันเถอะ

แปลกหรือเปล่าที่เราชอบ นอน ?

การนอนเป็นธรรมชาติของมนุษย์ทุกคน สิ่งมีชีวิตเกือบทุกชีวิตจะต้องมีการนอน  ไม่ว่าจะนอนกลางวันอย่างนกฮูก หรือเป็นมนุษย์เราทั่วไปที่ทั้งนอนกลางวันและกลางคืน

 

เพราะการนอนหรือการหลับพักผ่อนเป็นกลไกนึงของร่างกาย ที่จะช่วย Reboot ตัวเองเป็นการเก็บพลังงานเพื่อฟื้นฟูร่างกายเพื่อความอยู่รอด และแมวเป็นสิ่งมีชีวิตที่ชอบนอนมาก

 

เฉลี่ยแล้วอายุของแมวอยู่ที่ 8 ปี แมวนอนไปแล้ว 5 ปี อีก 3 ปี คือการใช้ชีวิตของแมว เพราะจริง ๆ แล้วสิ่งมีชีวิตทุกชนิดล้วนต้องการ ‘การพักผ่อนนอนหลับ’

 

ชอบนอน เพราะ การนอนช่วยให้เราหลบหนีจากความจริง.. ?

จริง ๆ มันคือการเบี่ยงเบนทางจิตใจอย่างนึง จากสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกไม่ดีหรือไม่พึงพอใจและเป็นทุกข์ การนอนหลับเหมือนช่วยให้เราไม่ต้องคิดอะไร แต่การหลับเพื่อหลีกหนีความจริง

 

มันเป็นสิ่งชั่วคราว เพราะสุดท้ายแล้วเราก็ต้องมาเผชิญหน้ากับความจริงอยู่ดี การตื่นขึ้นมาเผชิญกับความจริงตรงหน้าก็เหมือนกับการที่เราได้รับบททดสอบของชีวิต

 

เพราะไม่ว่าจะยังไงเชื่อว่าเราจะผ่านมันไปได้อย่างแน่นอน อาจจะไม่ได้ผ่านไปด้วยตัวของตัวเอง แต่อาจจะมี Social support ช่วยเราอีกทางนึง และการเผชิญหน้าอาจจะทำให้เราผ่านปัญหาได้เร็วกว่าการหลบหนี

 

หลับ ๆ ตื่น ๆ อันตรายไหม  ?

Middle Insomnia หรือการหลับ ๆ ตื่น ๆ คืออาการของตื่นกลางดึกในเวลาเดิม ๆ เป็นหนึ่งในประเภทของโรคนอนไม่หลับ จะส่งผลทำให้การตื่นเช้าในวันต่อมาไม่สดชื่นและสมองไม่แล่น 

 

การนอนหลับ ๆ ตื่น ๆ ยังเป็นการนอนอย่างไม่มีประสิทธิภาพอีกด้วย

 

นอนมากเกินไป มีผลกระทบอะไรไหม ?

นอนมากเกินไปหรือจะเป็นสัญญาณบอกว่าเราขี้เกียจหรือขี้เซาก็ได้ ถ้าหากนอนมากเกินไปเพราะขี้เกียจหรือขี้เซา ผลกระทบอาจจะเป็นการสูญเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์

 

การนอนเยอะเกินไปอาจจะทำให้เราเป็นคนเชื่องช้า เฉื่อย ทำอะไรโดยไม่มีประสิทธิภาพ 

 

ถ้าหากนอนมากเกินไปจนไม่อยากลุกออกจากเตียง อยากนอนอย่างเดียวไม่อยากทำอะไรเลยติดต่อกันเป็นเวลานาน 3 วัน เป็นสัปดาห์ เป็นเดือน ผลกระทบคือมีโอกาสที่จะเข้าข่ายเป็นโรคซึมเศร้า

 

เพราะฮอร์โมนในร่างกายจะแปรปวน โดยเฉพาะฮอร์โมนที่เป็น Serotonin (เซโรโทนิน) และ เอ็นโดฟินส์ (Endophins) ลดต่ำลง หรืออาจจะเป็นอีกโรคนึง คือ โรคนอนมากเกินไป

 

หรือไฮเปอร์ซอมเนีย ( Hyper somnia) ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดปกติ คนที่มีลักษณะที่อาการนี้จะตื่นยาก ปลุกก็ไม่อยากตื่นไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลากลางวันหรือกลางคืน

 

หากมีอาการเหล่านี้อาจจะต้องไปพบกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาทางออก

 

นอน แบบไหนถึงมีประสิทธิภาพ ?

โดยปกติคนเราจะนอนวันละ 8 – 10 ชั่วโมง  โดยการนอนจะเป็นการนอนที่หลับสนิท ไม่ใช่การนอนหลับ ๆ ตื่น ๆ และควรนอนเวลาเดิมเพราะร่างกายจะจำเพื่อไม่ให้ร่างกายของเราแปรปรวน 

 

การที่เราจะเช็คตัวเองได้ว่าเรานอนหลับได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือเปล่า ให้สังเกตตอนที่เราตื่น ตื่นมาเรายังเพลียอยู่ไหม  ตื่นมาเรารู้สึกสดชื่น สมองปลอดโปร่งหรือเปล่า การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย

 

อย่างเช่น Application Smartwatch ต่าง ๆ  จะทำให้เรารู้ว่าเรานอนได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือเปล่า เพราะเขาจับการนอนหลับของเราและคำนวณเวลาให้ ทำให้เรารู้และช่วยเราได้เยอะเลย  

ทริคการนอนให้สุขภาพดีและมีประสิทธิภาพ

นอนให้ตรงเวลาเดิมในทุก ๆ วัน เวลาที่เหมาะสมจะอยู่ในช่วง 2 ทุ่ม ถึง 4 ทุ่ม ช่วงเวลานี้คือช่วงเวลาที่ควรจะเข้านอนเพราะเป็นช่วงเวลาที่ เมลาโทนิน (Melatonin) กำลังทำงาน

 

และนอนหลับให้เพียงพออย่างน้อย 8 – 10 ชั่วโมง ไม่ควรนอนน้อยหรือมากเกินไปกว่านี้ ช่วงเวลาก่อนนอนควรงดเล่นโทรศัพท์เพราะหน้าจอมีแสงสีฟ้าเพราะจะทำให้เรารู้สึกตื่นตัวและนอนไม่หลับ

 

เคยไหม ? รู้สึก ‘กดดันตัวเอง’ เพราะ เอาตัวเองไป ‘เปรียบเทียบกับคนอื่น’ จนทำให้รู้สึกแย่.. พอเราทำตามความคาดหวังไม่ได้ก็จะนำไปสู่การ ‘โทษตัวเอง’ 3 สิ่งนี้ที่เราควรลดเพื่อให้เรามี ความสุข เพิ่มขึ้น แล้วเราจะลดมันลงอย่างไร ?

มาเริ่มต้นเพิ่มความสุขกันเถอะ!

สารบัญ

1. ลดการ ‘กดดันตัวเอง’ เพื่อเพิ่ม ความสุข

บางครั้งหากมองในแง่มุมเพื่อเป็นแรงกระตุ้น ผลักดันตัวเองก็นับว่าเป็นผลดี แต่ถ้ากดดันตัวเองมากเกินไป ก็จะกลายเป็นความทุกข์มากกว่าความสุข ซึ่งความกดดันเกิดขึ้นง่าย พอ ๆ กับเปรียบเทียบเลยนะ  

 

ทำไมเราถึงกดดันตัวเอง?

  1. Perfectionist คนที่รักในความสมบูรณ์แบบจะเชื่อว่าเขาจำเป็นต้องสมบูรณ์แบบ ถ้าไม่ เท่ากับ ล้มเหลว ความคิดนี้ทำให้เกิดความเครียดและกดดันตัวเองว่าต้อง perfect ต้องเป๊ะเท่านั้น 
  2. ความคาดหวังจากตัวเองและคนอื่น รวมถึงภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ 
  3. สังคม ค่านิยม
  4. การเปรียบเทียบ 
  5. การเปลี่ยนแปลงสภาวะบางอย่าง หรือ ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด

 

 

5 พฤติกรรมที่บ่งบอกว่าเรากำลังกดดันตัวเองมากเกินไป

1.คุณปล่อยให้ความล้มเหลวหยุดคุณจากความพยายาม

 

2.คุณคิดว่าคุณดีไม่พอ บทความจาก Psychology Today นักจิตวิทยา Andrea บอกว่า “คนเรามักจะสูญเสียความเมตตาเมื่อเป็นเรื่องของตัวเราเอง”

 

เช่น ถ้าเราเป็นคนที่ชอบวิจารณ์ตัวเองแต่จะไม่พูดคำเดียวกันนี้กับเพื่อน คนเรามักล้มเหลวในการมอบความรักให้กับตัวเองเหมือนไม่เหมือนที่มอบให้ผู้อื่นอย่างง่ายดาย 

 

3.คุณรู้สึกเครียดตลอดเวลา การกดดันตัวเองมากเกินไปอาจนำไปสู่ความเครียดสะสม หากจดจ่ออยู่กับข้อบกพร่อง เราจะรู้สึกแย่กับตัวเองและเริ่มเครียดกับทุกสิ่งที่คิดว่าจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง

 

4.คุณมีความคาดหวังที่ไม่สามารถเป็นจริงได้ การกดดันตัวเองมากเกินไปจะทำให้เกิดความคาดหวังที่ไม่สมจริง และเมื่อไม่เป็นไปที่หวังจะเกิดความผิดหวังในตัวเอง บางครั้งนำไปสู่การเกลียดตัวเอง 

 

5.คุณต้องการมากขึ้นเสมอ รู้สึกว่าชีวิตเราไม่ดีพอ ไม่พอใจในสิ่งที่มี แต่กลับจดจ่อกับสิ่งที่ไม่มีเพียงอย่างเดียว 

 

 

ลดการการกดดันตัวเอง เพื่อเพิ่ม ความสุข ทำอย่างไรได้บ้าง?

1.ใช้ชีวิตแบบไม่คาดหวังบ้าง เพราะไม่มีอะไรที่ได้ดั่งใจเราไปซะทั้งหมด 

 

2.สร้าง Balance ให้กับตัวเอง ยืดหยุ่น และเข้มงวดแบบพอดี การใช้ชีวิตแบบสมบูรณ์แบบเป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าไม่ใช้ชีวิตอย่างสมดุล ก็จะรู้สึกเครียดเกินไป เริ่มต้นด้วยการใส่ใจกับความรู้สึกในช่วงท้ายของวัน

 

หรือวันหยุดสุดสัปดาห์ ลองดูว่าเรามีเวลาเพียงพอสำหรับการดูแลตัวเองหรือเปล่า เช่น ออกกำลังกายบ้างไหม นอนหลับเพียงพอหรือเปล่า ความสัมพันธ์ยังดีอยู่ไหม

 

การดูแลตัวเองเป็นสิ่งสำคัญในการจัดการกับความเครียดและการไม่ดูแลตัวเองอาจส่งผลให้เป็นคนพลังงานน้อย การทำตามเป้าหมายก็จะยากขึ้นไปอีก

 

3.ผิดพลาดได้ ไม่ต้องสมบูรณ์แบบเสมอไป คำว่า “ทำให้ดีที่สุด” ดีกว่า “ต้องสมบูรณ์แบบ” ยอมรับในความไม่สมบูรณ์แบบใดๆของเราและเรียนรู้ที่จะให้อภัยตัวเอง เพราะไม่มีใครที่สมบูรณ์แบบ 100 %

 

4.ฝึกระบายอารมณ์ การปฏิเสธความรู้สึกไม่ดีต่อสุขภาพ เป็นเรื่องจริง

 

วิธีที่มีดีมาก ๆ ในการช่วยให้ผ่านช่วงเวลาเครียด ๆ ได้ คือ การรับรู้ว่าเรากำลังรู้สึกอย่างไรและเพราะอะไร โดยการเขียนบันทึกประจำวัน พูดคุยกับเพื่อนสนิท หรือพูดคุยกับนักจิตวิทยา

 

ทำกิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อยคลายและอารมณ์ดีขึ้น

 

 

ทำไมเราถึงเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น 

1.การเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นถือเป็นแนวทางเพื่อดูว่าเรายืนอยู่ตรงไหนในกลุ่ม

ดูว่าเราต้องทำอะไรเพื่อปรับปรุงตัวเองไหม ในทางจิตวิทยา ทฤษฎีการเปรียบเทียบทางสังคม (Social comparison theory) ของ Leon Festinger ระบุว่ามนุษย์ไม่สามารถประเมินตัวเองได้

 

การประเมินตัวเองจะสัมพันธ์กับบุคคลอื่นเท่านั้น (ใช้คนอื่นเป็นตัวแบบ) การเปรียบเทียบพฤติกรรม ความคิดเห็น และความรู้สึกของเรากับคนอื่นจึงเป็นการหาคำตอบสำหรับคำถามว่าเราเป็นใคร

 

 

การเปรียบเทียบจะเกิดขึ้นในสองลักษณะ

1.The Upward comparison: เปรียบเทียบตัวเองกับคนที่เราคิดว่าเหนือกว่าเรา ส่งผลให้เกิดเเรงจูงใจในการพัฒนาตัวเอง หรือ อาจทำให้รู้สึกแย่ รู้สึกว่าคุณค่าในตัวเองต่ำ การเปรียบเทียบเพื่อช่วยสร้างแรงจูงใจ

 

หรือเพิ่มความมั่นใจว่าเราก็สามารถประสบความสำเร็จแบบนั้นได้เหมือนกัน เช่น การดูบุคคลอื่นหรือ การดูหน่วยงานอื่นที่ประสบความสำเร็จ และนำวิธีการเหล่านั้นมาปรับใช้

 

2. The Downward comparison: เมื่อเราเปรียบตัวเองกับคนที่เรามองว่าด้อยกว่าเรา ส่งผลให้เกิดความรู้สึกเห็นคุณค่าในตัวเองที่สูงขึ้น หรือ อาจทำให้เกิดความรู้สึกผิด(Guilt)

 

หรือพยายามมองชีวิตของคนที่แย่กว่าเราเพื่อให้ตนเองรู้สึกว่าโชคดีกว่า แต่อีกด้านหนึ่ง การเปรียบลักษณะนี้อาจทำให้เกิดพฤติกรรมกดขี่ผู้อื่น หรือลดทอนคุณค่าของผู้อื่นให้ต่ำลง

 

ซึ่งการเปรียบเทียบกับผู้ด้อยกว่าในบางครั้ง ก็ทำโดยการล่วงละเมิด การข่มเหงผ่านช่องทางต่างๆ เช่น การข่มเหงรังแก การล้อเลียน ไปจนถึงการรังแกบนโลกออนไลน์ หรือ Cyberbullying ได้ด้วย

2.รู้สึกแย่กับตัวเอง ไม่ชอบชีวิตตัวเอง

3.Social ทำให้เห็นชีวิตคนอื่นง่ายขึ้น

 

 

เปรียบเทียบตัวเองมากเกินไปส่งผลอย่างไรบ้าง?

  1. Low self-esteem
  2. ไม่พอใจในชีวิตของตัวเอง
  3. โฟกัสแต่สิ่งที่ไม่ดี จนเจอแต่เรื่องไม่ดี
  4. ไม่ชอบตัวเอง  
  5. ไม่มีความสุข

 

 

อยากลดการเปรียบเทียบทำอย่างไรได้บ้าง?

  1. บอกกับตัวเองว่าเราดีพอ “Being you is your superpower”
  2. ตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้และลิสต์สิ่งที่ต้องทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
  3. หลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดการเปรียบเทียบ เช่น โซเชียลมีเดีย
  4. เปลี่ยนโฟกัสไปที่กระบวนการ แทนที่จะเน้นไปที่เป้าหมาย แล้วเปรียบเทียบตัวเองในอดีตกับปีนี้ ปีที่แล้วเป็นยังไงบ้าง? ได้เรียนรู้อะไรมาบ้าง?
  5. มองภาพรวมของคนที่เรามักจะไปเปรียบเทียบ ทุกคนมีหลากหลายด้าน ด้านที่เปิดให้คนอื่นเห็น ด้านที่คนอื่นไม่รู้ ด้านที่คนสนิทเท่านั้นที่รู้ ไม่มีใครที่น่าอิจฉา ไม่มีใครที่น่าไปเปรียบเทียบ สิ่งที่เราเห็น อาจไม่ใช่ทั้งหมดในชีวิตของเขา

 

 

3. ลดการ ‘โทษตัวเอง’ เพื่อเพิ่ม ความสุข

Self-blame คือการประเมินว่าทุกอย่างคือความผิดของตัวเอง กล่าวโทษตัวเองในทุก ๆ เรื่อง แม้กระทั่งเรื่องที่อาจไม่ใช่ความผิดของตัวเอง 

 

โทษตัวเองเกิดจากอะไร

1.การเลี้ยงดู

เช่น ถูกเลี้ยงดูมาในครอบครัวที่เข้มงวด ไม่เคยกล่าวเมื่อทำดี แต่มักติในข้อผิดพลาด ดังนั้นการปลูกฝังความเชื่อที่ไม่สมเหตุสมผลของเราโดย  ย้ำ ๆ มาตั้งแต่เด็ก ทำให้เกิดทัศนคติที่ไม่ดี

 

และมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตอยู่ภายในตัวเราเป็นอย่างมาก จะเห็นว่าการเกิด ความเชื่อความคิดที่ไร้เหตุผลนั้น มันเกิดขึ้นมาตั้งแต่ในวัยเด็ก  เมื่อเด็กทำสิ่งใดผิดพลาด หรือไม่สำเร็จ หากผู้ปกครอง

 

มักโทษตัวเองซ้ำ ๆ  บ่อย ๆ อยู่ตลอดเวลา จนไปขัดขวางความคิดความเชื่อที่สมเหตุสมผล

 

2. Perfectionist เชื่อว่าทุกอย่างต้องสมบูรณ์แบบ

 

 

โทษตัวเองมากเกินไปส่งผลอย่างไรบ้าง

1.คิดว่าตัวเองยังดีไม่พอ ไม่ยินดีกับสิ่งที่ประสบความสำเร็จของตัวเอง

 

2.Low Self-esteem / Low Self-confidence

 

3.จัดการกับอารมณ์ของตัวเราเองยากมากยิ่งขึ้น

 

4.คิดสอดคล้องกับเหตุการณ์ที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง มักจะคิดว่าสถานการณ์เลวร้ายทุกอย่างที่เกิดขึ้นที่เป็นแบบนี้เพราะตัวเอง

 

5.ปิดกั้นตัวเองออกจากสังคมเพราะไม่อยากรู้สึกเสียใจ รู้สึกแย่ และผิดหวังจากความคาดหวังของคนอื่น 

 

 

ข้อดีของการโทษตัวเอง

เเม้ว่าการโทษตัวเองจะดูมีข้อเสียมากกว่าข้อดี แต่ถ้าโทษตัวเองในระดับที่เหมาะสม ก็มีข้อดีเหมือนกันนะ จาก istrongmentalhealth 

 

Plato ได้นำเสนอว่า การโทษตัวเองเป็นการประเมินตัวเองถึงข้อจำกัดที่ตัวเองมีเพื่อพัฒนาให้ตัวเองดีขึ้น การโทษตัวเองในระดับที่ไม่มากหรือน้อยเกินไป จะทำให้เกิดการพัฒนาตัวเอง

 

ทำให้เราทำตามเป้าหมายได้สำเร็จ และยังมีงานวิจัยมากมายที่กล่าวถึงประโยชน์ของการโทษตัวเอง เช่นการโทษตัวเองช่วยให้เราปรับปรุงในสิ่งที่ทำผิดพลาด สามารถพัฒนาตัวเองไปเป็นคนที่เราอยากจะเป็นได้ 

 

 

อยากลดการโทษตัวเองทำอย่างไรได้บ้าง?

ฝึก Self-compassion

 

คือ ความเมตตาต่อตัวเอง  เป็นการยอมรับได้ถึงความไม่สมบูรณ์แบบใด ๆ ของตัวเอง รวมถึงการยอมรับและความเข้าใจตัวเองเมื่อประสบกับความล้มเหลว

 

แทนที่จะเพิกเฉยต่อความเจ็บปวดหรือตำหนิด้วยการวิจารณ์ตนเอง  Self-compassion จะช่วยหยุดวงจรการตำหนิตัวเองได้

 

1.เปลี่ยนคำพูดวิพากษ์วิจารณ์ของเรา : เขียนออกมาว่าเราวิพากวิจารณ์ตัวเองอย่างไร แล้วลองท้าทายคำพูดนั้นด้วยความคิดเชิงบวก 

 

2.เขียนจดหมายที่ใจดีถึงตัวเอง: ลองจินตนาการว่าเราคือเพื่อนที่รัก หวังดีและรู้จักเราทั้งข้อดีและข้อเสีย ให้เพื่อนคนนั้นเขียนจดหมายถึงตัวเราเอง ด้วยพ้อยต์ 5 ข้อ

 

3.สัมผัสตัวเอง กอดตัวเองหรือนวดที่คอเบาๆ การสัมผัสทางกายคือเครื่องมือบำบัดที่ทรงพลัง มันจะปล่อย oxytocin ฮอร์โมนแห่งความรักทำให้รู้สึกสงบ ไว้วางใจ ปลอดภัย

 

ลดฮอร์โมนคอร์ติซอลแห่งความเครียดที่หลั่งออกมาเมื่อถูกตำหนิหรือติเตียนจากตนเองหรือผู้อื่น

 

 

 

ที่มา:

how-to-stop-putting-pressure-on-yourself

putting-too-much-pressure-on-yourself

comparing-ourselves-to-others

self-criticism

how-to-use-self-compassion-to-stop-blaming-yourself-for-everything

the-comparison-effect

เพื่อนที่คอยลดคุณค่าเรา เพื่อนที่ทำให้เราเกิดการตั้งคำถามบ่อย ๆ ว่า นี่แกเป็นเพื่อนเราจริงปะเนี่ย? หรือนั้นก็คือ Toxic Friendship 

 

 

เพื่อนคืออะไร

สังคมแรกที่เราเติบโตมา คือ สังคมครอบครัว อีกสังคมหนึ่งที่สำคัญและหล่อหลอมให้เราเป็นเราก็คือ สังคม เพื่อน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเพื่อนคือสิ่งสำคัญในชีวิตเรา เพราะพื้นฐานของมนุษย์เราเป็นสัตว์สังคม

 

Lauren Hazzouri นักจิตวิทยา กล่าวว่า “เหตุผลที่เราทุกคนมีเพื่อน ก็คือการให้และรับการสนับสนุนและความเข้มแข็ง” 

 

“มิตรภาพที่ดีจะให้ความรู้สึกปลอดภัย มั่นคง มีพลัง และยกระดับชีวิต เพื่อนคือเพื่อนแท้ เมื่อการปรากฏตัวของเพื่อนเตือนให้นึกถึงทุกสิ่งที่เราเป็น ไม่ใช่สิ่งที่เราไม่ได้เป็น “

 

ชวนมองย้อนกลับไปในวัยเด็ก เรามองหาใครเป็นคนแรก ใครเขามาทักเรา เราอยู่กลุ่มกับใคร เราเลือกกินข้าวกับใครที่โรงอาหารตอนเช้า เชื่อว่าแต่ละคนคงมีคำนิยามเกี่ยวกับเพื่อนที่ต่างกันไป

 

คำว่าเพื่อนก็มีหลายระดับมาก เพื่อนที่เรารู้จักผิว ๆ เพื่อนร่วมงาน เพื่อนที่เราสนิท เพื่อนที่เหมือนคนในครอบครัวเรา ซึ่งแต่ละระดับเราก็จะให้ความสำคัญ ความซิงค์กันแบบแตกต่างกันออกไป

 

Toxic Friendship คืออะไร 

Judy Ho , PhD, นักประสาทจิตวิทยาคลินิกและนิติวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการรับรองกล่าวว่า “มิตรภาพที่เป็นพิษเป็นอาการที่คุณรู้สึกหมดแรงเมื่อต้องโต้ตอบกับคน ๆ นั้น”

 

หรือ BAD DAY  กับ BAD VIBES เพื่อนที่ดีที่มีวันแย่ ๆ อาจตะคอกใส่คุณหรือดูห่างเหิน แต่พวกเขามักจะขอโทษเมื่อทุกอย่างลงตัว ในทางกลับกันเพื่อนที่เป็นพิษมักจะทำตามรูปแบบเดิม ๆ

 

คือ พวกเขาจะไม่แสดงความเสียใจหรือ เปลี่ยนแปลง แม้ว่าพวกเขาจะรู้ตัวว่า ทำให้คุณรู้สึกแย่ก็ตาม

 

จากข้อมูลของ Healthline ขอเกริ่นถึง Healthy Friendship ก่อนเพื่อจะได้เห็นถึงความแตกต่าง เพื่อนที่ดีจะช่วยให้ชีวิตของเรามีความหมายมากขึ้น จะซัพพอร์ตเราในด้านของการใช้ชีวิต และด้านของอารมณ์

 

เวลาเราเหงาเราก็จะรู้สึกเหงาน้อยลง มีความสุขความพึงพอใจกับชีวิตมากขึ้น และการที่เรามี Healthy Friendship ยังสามารถช่วยยืดอายุของเราได้ด้วย และก็ทำให้ความเสี่ยงที่มีต่อปัญหาสุขภาพจิตลดลง 

 

ส่วนมิตรภาพที่เป็น Toxic Friendship จะแตกต่างออกไป คือพวกเขาจะระบายอารมรณ์ใส่ ถ้ากล่าวแบบนี้อาจจะเกิดความสับสนว่าเพื่อนต้องมีให้ระบายไม่ใช่หรอ

 

แต่การระบายของพวกเขาจะเป็นรูปแบบที่สัมผัสได้ว่าขากำลังปล่อยความรู้สึกที่เป็นพิษใส่เรานะ เขาจะทำให้เราเกิดการด้อยค่าตัวเอง เกิดการตั้งคำถามกับตัวเองบ่อย ๆ ว่า เห่ยทำงี้คือเราเพื่อนแกปะเนี่ย!!?

 

รูปแบบ Toxic Friendship

1. The Drama

เป็นเหตุการณ์ที่ทุกคนรู้เป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นได้ในชีวิต แต่เพื่อนที่เป็นดราม่าจะรู้สึกกับสิ่งนั้นมากไป จนคนที่อยู่ด้วยรู้สึกเหนื่อย ตั้งคำถามกับตัวเองบ่อย ๆ ว่าเราควรทำอย่างไร

 

2. เพื่อนที่จะมาแค่ตอนที่ต้องการขอความช่วยเหลือจากเรา

ปกติไม่คุย ไม่ทักหา ถามไถ่ แต่มาคุยตอนที่เราเดือดร้อน

 

3. มองคนในแง่ร้าย

เพื่อนประเภทนี้มักมีความคิดเห็นเชิงลบบ่อยครั้งที่พวกเขาไม่มีความสุขกับตัวเองและสะท้อนความทุกข์ของพวกเขาไปยังคนรอบข้าง ในขณะที่พวกเขาอาจกำลังต่อสู้กับภาวะซึมเศร้าหรือปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ

 

ทัศนคติของพวกเขาอาจเป็นปัญหาในมิตรภาพได้ หากเพื่อนคนนี้ไม่เต็มใจที่จะเปลี่ยนแปลง ไม่พยายามพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น หรือหากพวกเขายังคงวิจารณ์ตั้งแง่กับเรา อาจถึงเวลาแล้วที่จะต้องแยกตัวออกจากความสัมพันธ์

 

แม้ว่าการเดินจากเพื่อนประเภทนี้จะเป็นเรื่องยาก แต่อาจเป็นประโยชน์สูงสุดสำหรับสุขภาพจิตของเราเอง ให้เพื่อนรู้ว่าเราห่วงใย แต่เราก็ต้องใช้เวลาห่างจากความสัมพันธ์เพื่อดูแลตัวเอง

 

4. เพื่อนที่อยู่แต่ช่วงร่วมสุขแต่ไม่ร่วมทุกข์ไปกับเรา

แม้ว่าเราอยู่กับเพื่อนคนนี้เราจะมีความสุข แต่เมื่อตอนที่เราต้องการเพื่อนคนนี้เขาไม่เคยอยู่กับเราเลย 

 

5. คู่แข่ง

เพื่อนที่ทำตัวกับเราเหมือนเราต้องแข่งขันกับเขาตลอดเวลา เวลาเราเจอเรื่องอะไรดี ๆ ทำอะไรประสบความสำเร็จเขาจะมีบางอย่างที่มาเกทับ หรือพูดให้เรารู้สึกว่าเเราเนี่ยก็ไม่ได้เก่งนะ พูดให้เรารู้สึกแย่ 

 

6. ควบคุม

เพื่อนประเภทนี้จะเอาแต่ใจตัวเอง เอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง เขาอาจจะพูดอะไรที่ทำให้เรารู้สึกไม่ดี เสียความมั่นใจในตัวเอง หรือพูดโกหก แล้วค่อยมาปลอบโยนด้วยคำพูดดี ๆ ทีหลัง

 

ซึ่งการกระทำแบบนี้จะทำให้เรารู้สึกว่าเราต้องการเพื่อนคนนี้ เราขาดเพื่อนคนนี้ไปไม่ได้ 

 

สัญญาณเตือนของ Toxic Friendship 

1. ไม่ได้รับการ Support เมื่อเราทำบางสิ่งสำเร็จ

Courtney Glashow นักจิตอายุรเวท  “ในมิตรภาพที่ดี จะมีคนสนับสนุนให้คุณเติบโตและประสบความสำเร็จ” โดยไม่อิจฉา หรือ ยกตนข่มท่าน มิตรภาพควรเป็นระบบสนับสนุนกัน ระหว่างคนสองคน

 

2. รู้สึกเหนื่อยล้าทางร่างกาย จิตใจ

Elizabeth Cohen, PhD, นักจิตวิทยาคลินิกที่ฝึกหัดในนิวยอร์กซิตี้กล่าว “ร่างกายของเรามีข้อมูลมากมายเกี่ยวกับความรู้สึกสบายใจของเรากับบุคคลอื่น” 

 

เราเครียด หรือผ่อนคลาย มองโลกในแง่ดีหรือไม่?  เรามีปฎิกริยายังไง เมื่อเพื่อนเราโทรมาหา หรือนัดไปกินข้าว 

 

3. ไม่สามารถเป็นตัวของตัวเองได้

สัญญาณอีกอย่างของความสัมพันธ์ที่เป็นพิษคือ ถ้าเพื่อนไม่ยอมรับในแบบที่เราเป็น และเราพบว่าตัวเองเปลี่ยนแปลงบางอย่างเกี่ยวกับบุคลิกภาพหรือรูปลักษณ์ของเรา ที่รู้สึกว่าไม่ใช่ 

 

4. ไม่สามารถไว้วางใจ หรือพึ่งพากันได้ 

ข้อดีอย่างหนึ่งของมิตรภาพคือการรู้ว่าเพื่อนซี้ของเรา จะอยู่ที่นั่นเมื่อเราต้องการพวกเขาจริง ๆ อย่างไรก็ตาม เพื่อนที่เป็นพิษอาจไม่อยู่ถึงตรงนั้น แม้ว่าจะทุ่มเทเวลาและพลังงานเพื่ออยู่เคียงข้างพวกเขา

 

เมื่อพวกเขาต้องการ นี่คือเหตุผลที่ดร.โฮ ชี้ว่าไม่ไว้ใจหรือพึ่งพาพวกเขาเป็นอีกสัญญาณหนึ่งของเพื่อนที่เป็นพิษ 

 

ผลกระทบเมื่อเรามี Toxic Friendship 

 

จัดการตัวเราเอง และเพื่อนอย่างไรดี หากมีใครซักคน Toxic 

พูดคุยกับพวกเขา

ดร.โคเฮนกล่าวว่าไม่ใช่ว่า มิตรภาพที่เป็นพิษทั้งหมด จะเกินเยียวยา “ถ้ารู้สึกปลอดภัยพอที่จะมีส่วนร่วมใน การสนทนาที่ตรงไปตรงมา ก็ขอแนะนำให้บอกความรู้สึกของคุณกับเพื่อนของเรา “

 

กำหนดขอบเขตที่มั่นคง

ดร. โฮแนะนำ ให้เราสื่อสารขอบเขตของเรากับเพื่อนเกี่ยวกับสิ่งที่โอเคและสิ่งที่ไม่ควรอยู่ในความสัมพันธ์ ตัวอย่างเช่น หากเพื่อนมีแนวโน้มที่จะครอบงำบทสนทนา

 

โดยเน้นไปที่สิ่งที่ตัวเองกำลังเจอ ขอบเขตของเราอาจอยู่ที่ว่า ทั้งคู่มีเวลาเท่ากันเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเรากำลังประสบพบเจออยู่

 

ตีตัวออกห่างกันไปเลย 

ทางเลือกสุดท้ายหากไม่ไหว ตกอยู่ในความสัมพันธ์ แบบ Toxic Friendship

 

การเป็นเพื่อนที่ดีทำได้อย่างไร 

 

 

คน Toxic เป็นแบบไหน ? เพราะบางทีเราอาจจะเป็นคนที่ Toxic สำหรับคนอื่น

 

ทำไมคนเราจึงไม่รู้ว่าตัวเอง Toxic 

เกิดจากความเคยชินกับพฤติกรรม,เคยชินกับคำพูด,วิธีการพูด หรือแม้กระทั่งเนื้อหาของคำพูด ของตัวเองโดยไม่ได้คิดว่าคำพูดนั้น จะไปกระทบต่อคนอื่นไหม 

 

การกระทำที่อัตโนมัติเกินไป โดยไม่ทันคำพูดของตัวเอง จึงทำให้หลาย ๆ คนไม่ได้รับรู้ตัวเอง ว่ากำลัง Toxic ใส่ผู้อื่นอยู่ 

 

จะตระหนักรู้ได้อย่างไร  

ลองฝึกตรวจสอบรีแอ็คชั่นของคนรอบข้าง หรือการเปลี่ยนแปลงไปของผู้คนรอบ เวลาเราพูด หรือกระทำบ้างสิ่งลงไป ว่าเขารู้สึกแย่ รู้สึกหงุดหงิดไหม

 

หลาย ๆ คน ที่ทำนิสัยไม่น่ารักใส่คนอื่น จะไม่ได้รู้สึกว่าความผิดเป็นของตัวเอง เพราะว่าเขาอาจะรู้สึกว่าให้อีกฝ่ายไปจัดการความรู้สึกตัวเอง 

 

Toxic มารูปแบบไหนได้บ้าง 

ต้องเข้าใจก่อนว่านิยามของความ Toxic  ของแต่ละคนแตกต่างกัน ฉะนั้น Toxic เกิดขึ้นกับเราอย่างไร หรือเราให้ความสำคัญกับตรงไหน เรารู้สึกไปกับเรื่องอะไรเป็นพิเศษจนเรารู้สึกแย่

 

เช่น คำพูดของคนอื่น การกระทำของคนอื่น การกระทำใด ๆ ที่ทำให้เราเกิดความรู้สึกแย่ตามมา เรียกว่า Toxic ได้หมดเลย 

 

หากเราเป็นคน Toxic กระทบต่อเราอย่างไรบ้าง 

เรารู้สึกดีไหม? เวลาเราทำนิสัยไม่ดีใส่คนอื่น เราชอบตัวเองไหม? หากเรามีความ Toxic มาก ๆ การมีป​ฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างจะไม่ดีเท่าที่ควร เราโอเคหรือไม่ถ้าไม่ค่อยมีเพื่อน หรือขอคำปรึกษาใครได้เลย

 

จัดการกับความรู้สึกของตัวเองอย่างไรดีหากเจอคนToxic 

เข้าใจตัวเองว่าเราให้ความสำคัญไปกับสิ่งไหน เพราะอะไรเราจึงไม่ชอบคำพูดนี้ หากเราค้นพบว่าเรารู้สึกแย่เพราะอะไร ก็เข้าไปจัดการกับตรงนั้น

 

เช่น หากแม่พูดในสิ่งที่เราไม่ชอบ ให้บอกแม่ว่าเราไม่ชอบคำพูดนี้ เพราะอะไร ในโลกของความเป็นจริง สิ่งที่เราสามารถควบคุมได้ก็คือ ตัวเราเอง เราไม่สามารถควบคุมความคิดคนอื่นได้ 

 

หากอยู่กับคน Toxic เรามีโอกาสที่จะ Toxic ไปแบบนั้นด้วยไหม 

มีเหตุ และ ผลสะท้อนถึงกันอยู่แล้ว หากเห็นการกระทำที่ไม่ดีต่อตัวเรา เกิดเป็นพลังงานที่ทำให้เรารู้สึกแย่ ซึ่งตามธรรมชาติของคนเรา ก็จะรู้สึกว่าใครทำดีมาก็ดีกลับ หากทำแย่มาก็แย่กลับ

 

พอมีหลักการคิดแบบนี้ ก็มีโอกาสที่เราเองจะกลายเป็นคน Toxic โดยที่เราไม่รู้ตัว เปรียบเสมือนมวลสารที่ต้องปะทะกันอยู่ตลอดเวลา ก็อาจจะกลืนเราได้โดยที่เราไม่รู้ตัว

 

แต่สุดท้ายทุกอย่างที่เขาทำแย่กับเรา ทุกอย่างก็จะสะท้อนกลับไปที่เขาอยู่ดี 

 

คน Toxic เปลี่ยนแปลงตัวเองได้ไหม และอย่างไร 

หากพูดถึงการเปลี่ยนแปลง เขาคนนั้นต้องรู้ก่อนว่านั่นคือปัญหาถึงจะเปลี่ยนแปลงได้  เช่น หากเราเป็นคนพูดตรง และรู้ว่าต้องแก้ไข ฉะนั้นจะปรับได้อย่างไรบ้าง เปลี่ยนวิธีพูดเป็นแบบไหนได้อีกบ้าง

 

เพื่อเป็นการสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาได้ แต่ไม่ Toxic แต่สุดท้ายเราก็ยังจะ Toxic ในชีวิต ใครบางคนอยู่ดีเพราะเราไม่มีทางปรับหรือเปลี่ยนให้ถูกใจใครทุกคนได้ 

 

หากอยู่กับผู้ใหญ่ที่มีความ Toxic ทำอย่างไรได้บ้าง 

วางแผนชีวิต ” และ ” ใช้ชีวิตไปเรื่อย ๆ ” มีข้อดีแตกต่างกันอย่างไร? ถ้าหากไม่มีแผนในการใช้ชีวิตเราสามารถที่จะมีความสุขได้หรือเปล่า? เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราควรใช้ชีวิตมีแผนหรือไม่มีแผน ?

 

จำเป็นไหม? ที่จะต้องวางแผนชีวิต 

วางแผนชีวิต และ ไม่วางแผนชีวิต 

เรามักพูดคุยกันอยู่เสมอว่า วางแผนชีวิตไว้ยังไง จะทำอะไรในอนาคต ถ้าเราตอบไม่ได้ เราจะดูไม่น่าเชื่อถือ ดูไม่มีอนาคต แต่จริง ๆ แล้ว ” วางแผนชีวิต ” จำเป็นไหม?

 

การใช้ชีวิตมี 2 แบบ คือ ใช้ชีวิตแบบวางแผน เป็นการนึกถึงอนาคต เพื่อกำหนดสิ่งที่ต้องทำในปัจจุบัน และ ใช้ชีวิตแบบไม่วางแผน ที่แยกออกมาได้หลัก ๆ 2 รูปแบบ 

1. Go with the flow

ปล่อยให้เวลาและสถานการณ์ในชีวิตกำหนดสิ่งที่เราต้องทำ อยู่กับปัจจุบัน 

2. Trusting your guts 

ใช้ชีวิตตามสัญชาตญาณ ซึ่งสัญชาตญาณ คือ ข้อมูลทางอารมณ์และข้อมูลจากประสบการณ์

 

 

วางแผนชีวิต ในมุมนักจิตวิทยา 

หากอธิบายในเชิงจิตวิทยา มีไฮลย์ ซิกส์เซนต์มีไฮยี (Mihaly Csikszentmihalyi) นักจิตวิทยาเชิงบวก แนะนำหนึ่งในทางที่จะทำให้มนุษย์มีความสุข

 

นั่นคือการตั้งเป้าหมาย ซึ่งเป้าหมายต้องอิงอยู่กับความเป็นจริงและได้รับข้อเสนอแนะ (Feedback) ระหว่างที่พยายามทำให้เป้าหมายนั้นสัมฤทธิ์ผล 

 

 

ข้อดีของการใช้ชีวิตแต่ละรูปแบบ

1. ใช้ชีวิตแบบวางแผน

– ลดการผัดวันประกันพรุ่ง

– ช่วยให้ไม่ลืม รับผิดชอบสิ่งที่ต้องทำได้ครบถ้วน

– รับมือกับความไม่แน่นอนได้ดีกว่า เพราะเรามีแผนวางไว้แล้วสำหรับแก้ไขปัญหา

– ช่วยพาเราไปสู่จุดหมายใหญ่ที่ตั้งไว้ เพราะเป้าหมายใหญ่อาศัยการวางแผนเป็นสเต็ปเล็ก ๆ ตามทาง 

2. ใช้ชีวิตแบบไม่วางแผน

– ลดความเครียด เพราะการมีแผนเหมือนการต้องเห็น deadline อยู่ตลอด

– ยืดหยุ่นได้มากขึ้น ถ้ามีปัจจัยภายนอกที่ทำให้แผนที่วางไว้เป็นไปไม่ได้จะไม่ต้องเครียด 

– ยึดกับความเป็นจริงในปัจจุบันมากกว่า เพราะเราไม่สามารถควบคุมปัจจัยภายนอกได้ ทำได้ดีที่สุดก็คือมีแผนสำรอง ปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์

 

 

ข้อเสียของการใช้ชีวิตแต่ละรูปแบบ

1. ใช้ชีวิตแบบวางแผน  

– ชีวิตตึงเครียด

– ลืมใช้เวลากับปัจุบันไป

– หากไม่มีแผนสำรอง อาจจะเกิดความเครียดหากผิดแผน 

2. ใช้ชีวิตแบบไม่วางแผน 

– ไม่มีจุดมุ่งหมายในชีวิต

– อย่างแรกเลยคงหนีไม่พ้น ชีวิตที่ยุ่งยากขึ้น 

– ต้องคอยแก้ปัญหาจากการไม่วางแผนบ่อย ๆ 

 

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าเราเหมาะกับการใช้ชีวิตแบบไหน?

การรู้ว่าตัวเองเหมาะกับการใช้ชีวิตแบบไหนเป็นเรื่องสำคัญ เราจะได้ใช้ชีวิตในแบบที่เป็นตัวเรา เพิ่มความสุขและอารมณ์ทางบวก 

1. สังเกตตัวเอง

มีหลายวิธี เช่น self-talk , ทำลิสต์ , ถามคนรอบข้าง ว่าเราเป็นยังไง มีนิสัยแบบไหน มีลักษณะแบบไหน มีเงื่อนไขอะไร แล้วลองตัดสินใจดูว่า ความเป็นเราเข้ากับการใช้ชีวิตแบบไหน 

2. ยืดหยุ่นกับชีวิต

เราใช้ชีวิตทั้งสองแบบได้ ปรับใช้ให้เข้ากับด้านต่าง ๆ ในชีวิต เพราะบางอย่างก็ต้องการแผน บางอย่างก็ไม่ต้องการแผน ที่สำคัญอีกอย่างคือ ทุกคนไม่จำเป็นต้องใช้ชีวิตแบบเดียวกัน 

3. จัดลำดับความสำคัญ

เพราะชีวิตหลายด้าน ด้านที่สำคัญ 4 ด้าน ได้แก่ Businese Plan, Financial Plan, Health Plan, และ Family Plan ให้ความสำคัญและกังวลกับเรื่องไหนให้วางแผนตรงนั้นให้รัดกุม

 

 

วางแผนชีวิต เริ่มต้นยังไงดี?

1. ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนก่อน แผนจะมีไม่ได้ถ้าไม่มีจุดหมาย

2. แผนต้องยืดหยุ่น ยิ่งถ้าเป็นแผนที่วางไว้สำหรับเรื่องที่สำคัญมาก ๆ อาจจะลองคิดเผื่อปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ด้วย 

3. มีแผนสำรอง เพราะบางทีปัจจัยภายนอกทำให้เราทำตามแผนไม่ได้อยู่ดี ดังนั้นเราจึงไม่ควรมีแผนเดียวในชีวิต จะได้ไม่เสียใจและก้าวต่อไปได้

 

 

แล้วถ้าไม่อยาก วางแผนชีวิต ใช้ชีวิตยังไงดี? 

จากเว็บไซต์ Harvard business review บอกไว้ว่า ถ้าอยากใช้ชีวิตแบบไม่วางแผนหรือใช้ชีวิตตามสัญชาตญาณ ข่าวดีคือสัญชาตญาณฝึกได้ วิธีการคือ

1. ต้องแยกให้ออกระหว่างสัญชาตญาณกับความกลัว ถ้าตามสัญชาตญาณ จะให้ความรู้สึกที่เหมือนเราดึงดูดสิ่งที่ถูกต้องเข้ามามากกว่า

2. ลองเริ่มจากเรื่องเล็ก ๆ ก่อน เป็นการให้โอกาสตัวเองได้ปรับตัวกับการใช้ชีวิตแบบไม่มีแผน

3. ต้อง Test drive your choices ถ้าสามารถทำได้ ลองใช้ชีวิตกับสิ่งที่เลือกดูสักระยะ

4. สุดท้ายคือ Fall back on your values หันกลับมายึดมั่นในตัวเอง 

 

 

การเดินทางของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนเติบโตจากการวางแผน ในขณะที่บางคนเติบโตจากการหลงทาง เพราะงั้นเลือกในแบบที่มีความสุขกันนะคะ 🙂

 

 

ที่มา : 

Why you should not go through life without a plan 

How to stop overthinking and start trusting your guts

Can someone live a life without a specific plan and still make it?

เกลียดตัวเอง ไม่ชอบตัวเอง สาเหตุมาจากอะไร? ถ้าอยากกลับมารู้สึกดี ๆ กับตัวเองอีกครั้งเราจะทำได้ไหม ถ้าความรู้สึกลบกับตัวเองได้เกิดขึ้นแล้ว . .

 

 

 

เกลียดตัวเอง กับ ไม่ชอบตัวเอง เหมือนกันไหม ? 

ความรู้สึก เกลียดตัวเองและไม่ชอบตัวเอง เป็นเหตุเป็นผลที่ส่งผลต่อกันได้ เวลาที่เราไม่ชอบตัวเอง อารมณ์ ความรู้สึกเหมือนเราไม่ชอบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง พอเราไม่ชอบสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็พัฒนาไปเป็นความรู้สึกเกลียดได้

 

เกลียดตัวเอง เป็นเรื่องปกติไหม ?

ทุก ๆ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องผิดปกติสามารถเกิดขึ้นได้ เพราะสุดท้ายแล้วเราเป็นมนุษย์ มนุษย์จะต้องมีอารมณ์ มีความรู้สึก แต่ถ้าความรู้สึกเกลียดเริ่มส่งผลกระทบกับตัวเราอันนี้อาจจะเกิดเป็นความผิดปกติบางอย่างที่เกิดขึ้นกับตัวเรา 

 

ถ้าเราเกลียดตัวเองมาก ๆ จะเสี่ยงเป็นภาวะทางจิตไหม ? 

ถ้าเกิดขึ้นกับเรามานานกลายเป็นความรุนแรงที่เราไม่สามารถจัดการได้ อะไรที่มากเกินไป น้อยเกินไป สุดท้ายก็ส่งผลกับเราที่อาจจะพัฒนากลายเป็นภาวะทางจิตได้ เช่น โรคซึมเศร้า,Imposter syndrome

 

จุดเริ่มต้นของ “ความรู้สึกเกลียดตัวเอง”

เกลียดตัวเองคือเสียงที่อยู่ข้างในที่คอยตำหนิเรา เราอาจจะต้องกลับไปตั้งคำถามว่า เสียงที่เกิดขึ้นมาในการเกลียดตัวเองของเรา เกิดมาจากอะไร เรามองตัวเองแย่กว่าความเป็นจริงที่เราควรจะมองหรือเปล่า

 

เรามีภาพลักษณ์ในการจำตัวเองว่าเราแย่ เราไม่ดีหรือเปล่า พอเรามีภาพลักษณ์แบบนั้นอาจจะกลายเป็นความรู้สึกเกลียดตัวเอง

 

รู้จักตัวเอง

ถ้าเรารู้จักตัวเอง รู้วิธีตรวจสอบเสียงที่คอยตำหนิ คอยด่า คอยว่า ถ้าเราตรวจสอบได้เราจะเห็นภาพตัวเองได้สอดคล้องกับสิ่งที่เป็นได้มากขึ้น ความรู้สึกเหล่านั้นอาจจะไม่ได้หายไปแต่คงไม่ได้เข้ามาทำร้ายเรา จนทำให้ตัวเองแย่ลง

 

ภูมิใจในตัวเอง กลับมาชอบตัวเอง เริ่มต้นอย่างไรดี?

“คนอื่นภูมิใจไม่ได้แปลว่าเราภูมิใจเพราะเป็นสิ่งที่เราไม่ได้อยากทำ”

 

อย่าเอาความภูมิใจในตัวเองไปแขวนไว้ที่คนอื่น เพราะจะกลายเป็นเราทำเพื่อคนอื่นไม่ได้ทำเพื่อตัวเองคนหลาย ๆ คนมักจะทำให้ความภูมิใจมันกว้าง แต่ถ้าเราเปลี่ยนโดยการทำทีละเล็กละน้อย

 

ทำให้เป็นเป้าหมายทีละอย่าง หัดชื่นชมสิ่งที่อยู่ระหว่างทางก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดความภูมิใจได้ ลองหาสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เป็นเรื่องดี ๆ ของตัวเอง เช่น เราเป็นคนมีความรับผิดชอบ ความใจเย็น ความคิดรอบคอบ

 

ถ้าเรามองเห็นว่าไม่มีใครแย่ทั้งหมดและไม่มีใครดีทั้งหมด อาจจะไม่ใช่อะไรที่ยิ่งใหญ่แต่เป็นสิ่งดี ๆ ในตัวเราที่ทำให้เราภูมิใจได้เหมือนกัน 😀

 

 

 

เราจะทำอย่างไรในวันที่ ใจพัง ส่วนใหญ่เวลาได้ยินคำว่า ใจพัง เรามักจะได้ยินตอนจบความสัมพันธ์ แต่จริง ๆ แล้วคำว่าใจพังสามารถใช้ได้ทุกสถานการณ์ 

 

ใจพัง มีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง ? 

ใจพังสามารถเกิดขึ้นได้จากทุก ๆ เรื่อง ของใช้พัง ความรู้สึกพัง แต่สาเหตุที่ทำให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งพังมีมาจากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดหวัง ความคาดหวัง ที่ส่งต่อกันเป็นทอด ๆ ทำให้เกิดความใจพังได้ 

 

ใจพังเพราะครอบครัวไม่ใช่ Safe zone

“หาแรงบัลดาลใจ หาเป้าหมาย ทัศนคติ กำลังใจ วิสัยทัศน์ที่มองไปข้างหน้าสำคัญ”

การทำงานของนักจิตวิทยาในสหรัฐอเมริกาเวลาที่ครอบครัวมีปัญหา หน่วยงานของอเมริกาจะนำตัวของเด็กมาเยียวยาจิตใจ แต่กลับกันที่ประเทศไทยไม่มีขั้นตอนการเยียวยาแบบนี้

 

ทำให้ต้องเผชิญหน้าเพียงลำพังกับความรู้สึกใจพังเพราะครอบครัว  ครอบครัวเป็นสิ่งที่เลือกเกิดไม่ได้ แต่เราสามารถมีชีวิตเป็นของตัวเองได้ในอนาคต เราทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุดเท่าที่จะได้ เราต้องมองโลกยังไง

 

ตั้งหลักยังไง มีความเชื่อว่าความสุขอยู่ในความรับผิดชอบของเรา เชื่อว่าสักวันจะดีขึ้น ความเจ็บปวดที่เติบโตมาในครอบครัวที่ให้ความมั่นคงแก่เรา แต่ความจริงอีกอย่างหนึ่งคือชีวิตเราไม่ได้จบสิ้นเพียงเท่านี้ 

 

ใจพังเพราะสังคมการทำงานที่ Toxic 

สังคมที่ลดทอนคุณค่า ชอบบลัฟกันทำให้เสียคุณค่าจากภายใน ความ Toxic ที่เกิดจากสังคมในที่ทำงาน เมื่อเราต้องเติบโตขึ้นจากครอบครัว โรงเรียน อีกสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้คือที่ทำงาน

 

จากใจของนักจิตวิทยาคำปรึกษาแนะนำว่า หากเราสามารถเปิดตัวเลือกได้ การเปลี่ยนที่ทำงาน ถ้า Toxic จนเยียวยาไม่ได้ ไม่ต้องทน แล้วแต่คนว่าใครจะเลือกแบบไหน ถ้าใครสามารถย้ายงานเปลี่ยนสังคมได้ให้ย้ายดีกว่า

 

ถ้าย้ายไม่ได้จริง ๆ ต้องตั้งทัศนคติว่า เรามาทำงานเพื่ออะไร? ให้แน่วแน่ และโฟกัสตัวเองเป็นหลัก โฟกัสที่ผลประโยชน์ที่เราได้รับก็พอ

 

ฮีลตัวเองในวันที่ใจพัง 

ยอมรับตัวเอง รู้จักตัวเองในเวอร์ชันที่ ล้มเหลว อ่อนแอ ใจพัง ถ้าเรารู้จักตัวเองมากพอจะทำให้เราค่อย ๆ ได้รู้ว่าเราต้องทำยังไงต่อไป ตัวเราเป็นคนยังไง เรารู้สึกยังไง

 

เรามีคำตอบให้ตัวเองเสมอ แต่ละคนใจพังไม่เหมือนกัน มีวิธีแก้ไขไม่เหมือนกันอยู่ทีตัวเราจะถนัดแบบไหน ค่อย ๆ หาคำตอบให้กับตัวเอง

 

แล้วเมื่อหาได้จะเกิดกระบวนการให้เราแก้ไขในสิ่งนั้นทีละข้อ จนเรารู้สึกถึงการเยียวยาความรู้สึกของเรา

เครียดถ้าต้องเจอแรงกดดัน เลี่ยงการเผชิญหน้ากับเพื่อนร่วมงานและหัวหน้า จนทำให้ไม่อยากที่จะไปทำงาน.. เราแค่ขี้เกียจหรือเป็น ” โรคกลัวการทำงาน ” อยู่หรือเปล่า ?

 

ขี้เกียจไปทำงาน หรือเป็น โรคกลัวการทำงาน

 โรคกลัวการทำงาน คืออะไร?

ในทางจิตวิทยา โรคกลัวการทำงาน หรือ Ergophobia ไม่ถือเป็นโรคโรคหนึ่ง แต่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มโรคกลัวหรือ Phobia คำนี้มาจาก “ergon” หมายถึงงาน และ “phobos” หมายถึงความกลัว 

 

โรคกลัวการทำงานหรือ Ergophobia บุคคลจะกลัวการทำงาน กังวลเมื่อต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมการทำงาน จนกระทบกับชีวิตประจำวัน

 

Phobia คือ ความกลัวต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งต้องมีลักษณะสำคัญ คือ
1. Persistent ต่อเนื่องสม่ำเสมอ กลัวตลอด ไม่ว่าจะเจอสิ่งเดิมหรือสิ่งคล้ายเดิม
2. Irrational ไม่มีเหตุผล ความกลัวที่เกิดขึ้นอาจไม่มีที่มาที่แน่นอน รู้แค่ว่ากลัวสิ่งนี้

 

 

ขี้เกียจ กับ โรคกลัวการทำงาน แตกต่างกันอย่างไร?

ข้อมูลจากเว็บไซต์ Psych mechanics กล่าวว่า ขี้เกียจ คือ การที่เราไม่อยากใช้พลังงานทำบางสิ่งบางอย่าง เมื่อเรารับรู้ว่าสิ่งนั้นยากหรือสิ่งนั้นจะทำให้เหนื่อยกายเหนื่อยใจ  

 

แต่ถ้าหากเป็น โรคกลัวการทำงาน ไม่ได้เกี่ยวข้องว่า มีหรือไม่มีพลังงาน อยากทำหรือไม่อยากทำ แต่จะทำงานไม่ได้ ไม่ไปทำงาน เพราะกลัวและกังวลอย่างหนักเกี่ยวกับการทำงาน 

 

 

คนที่เป็น โรคกลัวการทำงาน เขากลัวอะไร? 

ความกลัวเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ เช่น กลัวว่าจะทำงานที่ได้รับมอบหมายไม่สำเร็จ กลัวในการที่จะพูดหรือแสดงความคิดเห็นในกลุ่ม กลัวที่จะต้องเข้าสังคมในที่ทำงาน กลัวถูกตำหนิ ได้รับมอบหมายงานใหญ่

 

แต่กลัวการเข้าสังคมในทำงานจะแยกจากการเป็นโรคกลัวการเข้าสังคมเพราะถ้าเป็นโรคกลัวการทำงาน จะกลัวแค่บุคคลที่อยู่ในบริบทการทำงาน ไม่ว่าจะเป็น เจ้านาย หัวหน้า เพื่อนร่วมงาน

 

แต่โรคกลัวการเข้าสังคมจะกลัวในทุก ๆ คน ทุก ๆ สถานการณ์ ตั้งแต่เรื่องทั่วไปอย่าง สั่งอาหาร คุยโทรศัพท์ ไปจนถึง การเข้ากลุ่ม การไปงานสังสรรค์ 

 

 

โรคกลัวการทำงาน ต่างจากความกังวลในการทำงานทั่วไปอย่างไร?

1. ระดับความกลัวจะแตกต่างกัน ถ้าเป็นโรคกลัวการทำงานจะกลัวและกังวลมากจนอาจมีอาการทางร่างกาย

2. มีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงที่จะสมัครงาน เต็มใจที่จะอยู่ในสถานะว่างงานเพราะกลัวและกังวล

3. สำหรับคนที่มีงานทำ จะกลัวสถานการณ์ทั่วไปในการทำงาน แม้จะทำได้ดี 

 

 

โรคกลัวการทำงาน เกิดขึ้นได้อย่างไร?

หลายคนอาจคิดว่า การกลัวการทำงาน คือ ความขี้เกียจ แต่สาเหตุของการกลัวการทำงานไม่ได้เกิดจากความขี้เกียจ 

1. มีประสบการณ์ที่ไม่ดีในอดีต เช่น เคยทำให้ตัวเองขายหน้าต่อหน้าคนอื่น อาจจะเป็นเจ้านายหรือทั้งออฟฟิศ 

2. มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่ดี เช่น เจ้านายชอบพูดจาหรือมีการกระทำที่ทำร้ายจิตใจพนักงาน 

3. เกิดจากการเรียนรู้ การเรียนรู้อาจทำให้เกิดความกลัวได้เหมือนกัน ถ้าเคยทำอะไรไปแล้วได้ผลทางลบ เช่น พยายามเข้าหาเพื่อนร่วมงานแต่ไม่มีใครคุยด้วย 

4. เกิดจากความเจ็บปวดในวัยเด็ก เกิดเหตุกระทบกระเทือนจิตใจ เช่น ถูกบังคับให้ทำงานแต่เด็ก ถูกทารุณ หรือดุด่าในการทำงาน 

5. กลัวการเข้าสังคม มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเป็นโรคกลัวการทำงานเช่นกัน 

 

 

รีเช็คตัวเอง นี่เราเป็น โรคกลัวการทำงาน หรือเปล่า?

1. อาการทางกาย

เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นแรง ปากแห้ง หายใจไม่ทัน แพนิค หรืออาจหันไปใช้สารเสพติดหรือแอลกอฮอล์ เพื่อต่อต้านความกลัว

2. อาการทางใจ

มีความรู้สึกอยากหนีหรือหลบซ่อน มีความคิดและความรู้สึกทางลบเมื่อไปทำงาน หรือแม้กระทั่งมีการคิดถึงความตาย 

 

 

ผลกระทบ มีอะไรบ้าง?

1. กระทบต่อการทำงาน

ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับหัวหน้าและเพื่อนร่วมงานได้ดี กลัวการประเมินการทำงาน รวมถึงหยุดงานบ่อย เปลี่ยนงานบ่อย ว่างงานนาน

2. กระทบต่อชีวิตประจำวัน

ไม่มีความสุข ไม่มีไฟในการใช้ชีวิต ที่สำคัญคือ ลำบากเรื่องเงิน ไม่มีงานทำ ใช้ชีวิตลำบากขึ้น 

 

 

จัดการเบื้องต้นอย่างไรดี?

จากเว็บไซต์ thriveglobal  

1. ให้รางวัล

– ที่ทำงานอาจจะต้องให้รางวัลพนักงานเพื่อสร้างแรงจูงใจและความรู้สึกทางบวกต่อที่ทำงาน เช่น การชมเชย การปรบมือ หรือแม้กระทั่งการให้ประกาศนียบัตรเป็นพนักงานดีเด่น เป็นต้น

– ปรับใช้เองอาจจะลองให้รางวัลตัวเอง อาจเป็นการให้ตัวเองพักผ่อน หรืออาจเป็นคำพูดดี ๆ ลองบอกตัวเองบ้างว่า เก่งแล้วที่ก้าวผ่านความกลัวและทำงานชิ้นนี้จนสำเร็จได้

2. ลองฝึกฝน

– ที่ทำงานอาจสนับสนุนให้พนักงานได้เรียนรู้สิ่งใหม่

– ปรับใช้เองอาจจะลองพาตัวเองไปเรียนรู้สิ่งใหม่ที่จะนำมาปรับใช้กับงานได้ เพื่อทำให้เรารู้สึกว่าตัวเองมีความสามารถ  นำไปสู่การมีกำลังใจและความสุขในการทำงานมากขึ้น

3. work-life balance 

ดูแล work-life balance ให้ดี รักษาสมดุลของชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงาน

4. ใช้สมาธิและสติเข้ามาช่วย

เพราะการทำสมาธิ เช่น โยคะ การนั่งสมาธิ สามารถช่วยให้จิตใจสงบลง สามารถจดจ่อกับการทำงานได้ดีขึ้น

 

 

 

การรักษา เป็นยังไง?

1. Cognitive Behavioral Therapy (CBT)

เน้นปรับความคิดที่เป็นปัญหา ความคิดที่ทำให้เกิดความกลัว นำไปสู่การปรับพฤติกรรมในการตอบสนองต่อสิ่งที่กลัว

2. Exposure Therapy

จุดเด่นการบำบัดแบบนี้คือการให้เผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัว เพื่อฝึกปรับตัวกับสิ่งนั้น แล้วสอนเทคนิคการผ่อนคลายร่างกายและจิตใจตัวเองให้ เพื่อเปลี่ยนการตอบสนอง

3. Medication 

การใช้ยา แต่ยาจะไม่ได้มารักษาโรคแบบตรง ๆ แต่จะเป็นยาช่วยลดความกลัวความกังวล เพื่อส่งเสริมการบำบัด

 

 

ที่มา :

Definition of Ergophobia

What is Laziness, and Why are People Lazy?

7 Ways to Deal With Ergophobia (Work Fear) in Employees