Posts
พลังงานน้อย เพราะ ฝืนเข้าสังคม ฝืนแอคทีฟ เวลาเข้าสังคม กินข้าว สังสรรค์กับเพื่อนเราควรทำอย่างไรดี? ถ้าเรารู้สึกการออกจากบ้านทีไรเราหมดแรงทุกทีเลย บางทีก็ต้องไปแต่ฝืนที่ไป
ฝืนเข้าสังคม
ไม่เข้าสังคมได้ไหม?
มนุษย์เป็นสัตว์สังคมการที่จะไม่เข้าสังคมเลยเป็นไปได้ยาก เช่น การทำงาน การเรียน ถึงจะไม่ชอบเข้าสังคม แต่ถ้าถามว่าไม่เข้าสังคมได้ไหม? คงต้องบอกว่าเป็นไปได้ยาก
เพราะการเข้าสังคมเป็นเรื่องทั่วไปในชีวิตประจำวันที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะทำอะไร แทบทุกอย่างจะต้องพบปะผู้คน เช่น การทำงาน ที่จะต้องติดต่อพูดคุยกันเยอะ ๆ ต้องคุยงานกันเป็นทีม
แต่ในปัจจุบันนี้รูปแบบการทำงานได้มีการเปลี่ยนแปลงไป เช่น บางบริษัทมีการทำงานรูปแบบ Work From Home การไม่เข้าสังคมมันสามารถเป็นไปได้ แต่เป็นไปได้ยากมาก ๆ ที่จะไม่เข้า
การที่เรา Work From Home ไปนาน ๆ ก็ทำให้ Skill ในการเข้าสังคมของมนุษย์ลดลงเหมือนกัน จากที่เคยเป็นคนกล้าแสดงออกอาจจะเป็นคนปิดบังตัวตน
จากที่เคยกระตือรือร้นกลายเป็นเอื่อยเฉื่อย แล้วมันส่งผลกระทบกับความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดด้วย
ฝืนเข้าสังคม ทั้งที่ไม่ได้อยากเข้า?
ฝืนทำกิจกรรมที่คนรอบตัวทำ เช่น กิจกรรมมหาลัย หรือเพื่อนในกลุ่มไปกินข้าวกันแต่เราไม่อยากไป ทุกครั้งที่ตกลงไปทั้งที่ไม่อยากไป จะต้องเจอกับความกังวลก่อนไปอย่างหนัก
เพราะเราจินตนาการไปแล้วว่าต้องเหนื่อย ต้องอึดอัด ต้องทำตัวไม่ถูกแน่เลย
สถานการณ์อะไรหลาย ๆ อย่างเข้ามากระทบ เช่น โควิด ทำให้ไม่ชินกับการออกไปข้างนอกเยอะ ๆ การสื่อสารให้คนรอบข้างรู้ว่าเราไม่โอเคก็สำคัญเหมือนกัน
ประสบการณ์ประมาณนี้ เรียกว่า Peer Pressure
Peer Pressure คือ อิทธิพลจากคนรอบข้าง ในทางจิตวิทยา อิทธิพลนี้จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น พฤติกรรม ทัศนคติ ความเชื่อ อย่างถ้ารู้ดีว่าตัวเองไม่ได้อยากไป
แต่ไปเพราะเพื่อนไปกันหมด นี่แหละ คือ Peer Pressure
การโดนแบน จากการไม่ปรับตัวเข้ากับสังคม
กิจกรรมละลายพฤติกรรมในมหาลัย มีกิจกรรมต่าง ๆ ที่เราต้องเข้าร่วมเพื่อให้ผ่านชั่วโมงกิจกรรม แล้วกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องเข้าร่วมทำให้รู้สึกไม่ Comfort ทำด้วยความฝืนใจล้วน ๆ ไม่โดนแบน แต่โดนมองว่าแปลกแยก
สาเหตุ ที่ทำให้ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้
1. Social Anxiety
คนที่เป็น Social Anxiety Disorder หรือโรคกลัวสังคมแล้ว การปฏิสัมพันธ์กับคนทุกรูปแบบจะยากไปหมด
2. Low self-esteem
พอเราไม่มีความมั่นใจ ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง มันทำให้เรากลัวการที่จะเข้าสังคมพบปะกับคนใหม่ ๆ
3. ประสบการณ์ที่ทำให้เกิดบาดแผลในจิตใจ
ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ต้องเจอกับสภาพแวดล้อมใหม่
4. บุคลิกภาพ Introvert เก็บตัวมากเกินไป
มี Introvert บางส่วนที่เก็บตัวมากเกินไปจริง แต่มี Introvert บางส่วนเหมือนกันที่เข้าสังคมเก่ง ทำให้เห็นว่า
เป็น Introvert ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ชอบยุ่งกับใคร เขาอยู่กับคนอื่นได้ อยู่ได้ดีด้วย แต่มีลิมิต ต้องมีเวลาส่วนตัวด้วยเท่านั้นเอง
ผลกระทบ ฝืนเข้าสังคม
1. ฝืนเข้าสังคม ส่งผลกระทบอะไรบ้าง
กระทบกับสุขภาพจิตได้ ถ้ารู้สึกว่าสังคมนั้นไม่ใช่เซฟโซนแล้วต้องฝืนบ่อย ๆ เพราะมันสูบพลังงานพลังชีวิต ลองนึกว่าเราต้องฝืนทำอะไรสักอย่างที่ไม่ใช่ตัวของเราเลย
เช่น ฝืนกินของที่ไม่ชอบ ฝืนดูสิ่งที่ไม่ชอบเรายังรู้สึกไม่ดีเลย แล้วเป็นการฝืนเข้าสังคมที่ค่อนข้างต้องใช้พลังงานในการพูดคุย หรือแสดงสีหน้าต่าง ๆ อาจจะทำให้วันนั้นเป็นวันที่ไม่ดีสำหรับเราไปเลยก็ได้
2. เข้ากับสังคมไม่ได้ ส่งผลกระทบอะไรบ้าง
ไม่มีคอนเนคชัน อ้างอิงจากโพสต์จากเพจ psyche.tourlife ที่จะมาพูดคุยใน Alljit Podcast ด้วย ข้อนึงที่สำคัญเลยคือ “อย่ามองข้ามคอนเนคชัน”
เพราะคอนเนคชั่นนำไปสู่โอกาสมากมายจริง ๆ โอกาสที่จะได้เรียนรู้หรือได้ทำงานในสายที่สนใจ พยายามคนเดียวก็สำเร็จได้แต่ถ้ามี คอนเนคชัน อาจจะทำให้สำเร็จได้มากกว่า
มีปัญหาความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง คนภายนอกอาจจะเข้าใจผิดได้ว่าเราแยกตัว เพราะเราไม่ชอบเขา เราไม่โอเคกับเขาหรือเปล่า อันนี้อาจจะต้องสื่อสารกับคนรอบข้างให้เข้าใจด้วยว่าเราแค่รู้สึกไม่สบายใจที่จะอยู่ตรงนั้น
เพราะเราเหนื่อยเท่านั้นเอง ไม่ต้องฝืนตัวเองเพื่อให้คนอื่นสบายใจ อยู่กับตัวเองจนกว่าจะพร้อมแล้วค่อย ๆ พาตัวเองออกไปทีละนิดดีกว่า
วิธีรับมือ ถ้าจำเป็นต้องเข้าสังคม
ข้อมูลที่น่าสนใจจากเว็บไซต์ WebMD ว่าเราจะ Make friends ได้โดยการ..
- ยิ้มแย้ม แสดงท่าทีที่เป็นมิตร
- เริ่มบทสนทนา ลองถามและเป็นผู้ฟังที่ดี
- สลับกันแชร์เรื่องราวทั่วไปให้ได้รู้จักกันมากขึ้น
นอกจากมี DOs แล้ว DONTs ที่ในบทความพูดถึงก็น่าสนใจเหมือนกัน เช่น อย่าพยายามเปลี่ยนแปลงตัวเอง เพราะนี่คือการ ฝืน นอกจากจะทำให้เหนื่อย
ยังทำให้คนรอบข้างรู้สึกว่าเราไม่จริงใจกับเขาด้วยถ้าเราอยู่ในสถานการณ์ที่อีกฝ่ายฝืน มันสามารถแสดงออกทางสายตา กิริยาท่าทางได้
แต่ถ้าในกรณีที่เรารู้ว่าเราไม่อยากเข้าสังคมนี้ สังคมนี้ไม่ใช่เซฟโซน วิธีคือทบทวนตัวเอง ถ้าแน่ใจแล้วให้ทำตามที่ใจตัวเองต้องการ ไม่อยากอยู่ก็ไม่ต้องอยู่
แต่ในบางสถานการณ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จะให้กำลังใจตัวเองว่า “รออีกนิด เดี๋ยวจะผ่านไปแล้ว” เพราะในบางครั้ง เราอาจจะทุกข์ซะจนลืมไปว่าเดี๋ยวเวลาผ่านไปทุกอย่างจะผ่านไปเช่นกัน
ยอมรับว่าในบางจุดของชีวิตมีเรื่องที่ต้องฝืนจิตฝืนใจกันบ้าง
รับมือกับสายตาคนนอกที่ไม่เข้าใจ
คนนอกที่ไม่เข้าใจบางทีเขาอาจจมองเราแบบนั้นไปแล้ว มองว่าเราดูไม่เข้ากลุ่มกับคนอื่น ๆ โดยคิดเหตุผลไปแล้ว ถ้ากรณีนี้ไม่ต้องเหนื่อยที่จะต้องอธิบายหรือชี้แจ้งที่ตัวตนของเราเป็นเลย
เพราะคนที่เขาอยากทำความรู้จัก Make friends กับเรา เขาจะเข้ามาถามและเราจะสัมผัสได้ถึงความรู้สึกเหล่านั้นโดยทันที
สำหรับคนที่ชอบเข้าสังคม แล้วได้รับสิ่งดี ๆ จากการอยู่กับคนอื่น อาจจะสงสัยว่าทำไมไม่อยากเข้าสังคม หรือถ้าอีกแง่หนึ่งคืออย่างเราไม่เข้ากลุ่ม อาจจะทำให้ถูกมองว่า เราแปลกแยก
เข้าใจว่าเรื่องแบบนี้ยากที่จะไม่เก็บมาคิด เรื่องนี้คือการที่เรากำลังแคร์สายและความคิดของคนอื่นมากเกินไป เราต้องเตือนตัวเองว่า ไม่มีใครสนใจเราขนาดนั้นหรอก
ซึ่งในทางจิตวิทยาคนมักจะรู้สึกว่าตัวเองถูกจับจ้อง เรียกว่า Imaginary Audience ทำให้เราเกิดความกลัว ว่าเราทำอะไรบางอย่างแล้วจะถูกมองถูกตัดสิน แต่ความจริงคือทุกคนสนใจแต่ตัวเอง
ไม่มีใครใช้เวลาในการจับผิดคนอื่นอยู่แล้ว การเตือนตัวเองเลยทำให้มิ้นสบายใจขึ้น ไม่โฟกัสไม่จมอยู่แต่กับความกลัวนั้น
ประโยคนึงจาก “หลักเซ้ง” ตัวละครในเรื่อง กรงกรรม ก่อนที่เขาจะใกล้จบชีวิตลง เขาได้ฝากประโยคแก่คนรักว่า “คนเรามีเวลาอยู่ 3 วัน เมื่อวาน วันนี้ พรุ่งนี้ เมื่อวานนี้เราได้ใช้ไปหมดแล้วเอามาใช้อีกไม่ได้แล้ว
วันนี้เรากำลังใช้เวลากันอยู่และใช้เวลาได้แค่ครั้งเดียว ส่วนพรุ่งนี้ไม่รู้จะมีโอกาสได้ใช้ไหม อย่าประมาทเวลา ใช้เวลาที่เหลือของเราอยู่กับความสุขจริงๆดีกว่านะ ”
ซึ่งตรงกับโควท Enjoy life today .Yesterday is gone and tomorrow may never come. จาก Alan Coron นักเขียนชาวอังกฤษ
เวลา : Time
เวลา ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพุทธศักราช 2542 ให้คำนิยามว่าชั่วขณะ ความยาวนานที่มีอยู่หรือเป็นอยู่ โดยนิยมกำหนดขึ้นเป็นครู่ คราว วัน เดือน ปี
จากซีรี่ส์เรื่อง The Deadline ทำให้คิดได้ว่า ชีวิตคือความไม่เท่าเทียมก็จริง แต่สิ่งนึงที่ทุกคนมีเท่ากันคือเวลา เพราะฉะนั้นอาจจะพูดได้ว่า เวลาคือต้นทุนของชีวิต
เราได้มาฟรี ๆ โดยที่ไม่ต้องแลกมากับอะไร เพราะคนเรามีเวลาใน 1 วันเท่ากันคือ 24 ชั่วโมง /1440 นาที /86,400 วินาที แต่เราจะรู้สึกว่าเวลาผ่านไปช้าเมื่อต้องรอคอยอะไรสักอย่าง
เราจะรู้สึกว่าเวลาผ่านไปเร็วเมื่ออยู่กับคนที่เรารักหรืออยู่กับอะไรที่มีความสุข อย่างที่คนเขาชอบพูดกันว่าช่วงเวลาแห่งความสุขมักผ่านไปไวเสมอ…
บทความจาก dek d มีทฤษฎีที่อธิบายว่าทำไมบางครั้งคนเราถึงรู้สึกว่าเวลาผ่านไปช้าและบางครั้งก็ผ่านไปเร็ว เหตุผลเพราะว่าเวลามี 2 ด้านก็คือ
‘Objective time’ คือ เวลาจริงตามนาฬิกา ปฏิทิน หรือตารางเวลาการเดินรถ และเป็นเวลาที่วัดค่าได้
‘ลาดูเร่ (La durée)’ คือเวลาที่เราดำรงชีวิตหรือเวลาที่เรารู้สึก คำศัพท์คำนี้มาจากภาษาฝรั่งเศสซึ่งเทียบได้กับคำว่า ‘Duration’ ของภาษาอังกฤษ
“สิ่งสำคัญที่สุดคือเวลาไม่สามารถย้อนกลับมาได้” เวลา=ต้นทุนของชีวิต คนเรามี 24 ชมเท่ากันจริง แต่คนเรามีวิธีจัดการเวลาในแต่ละ 24 ชั่วโมงไม่เท่ากัน
เช่น คนที่มีต้นทุนชีวิตที่ดีเขาอาจจะมีความสามารถจัดการเวลาชีวิตได้มากกว่า ได้ทำในสิ่งที่อยากทำได้มากกว่า หรือบางคนใน 24 ชั่วโมงนั้นเขาอยากที่จะใช้เวลากับคนที่เขารัก
หรืออยากจะเล่นเกมดูซีรีส์ทั้งวันก็ไม่ผิดเหมือนกัน อย่าเสียดายที่ไม่ได้ทำในสิ่งที่ชอบในเวลาที่เรามีจำกัด เพราะไปทำตามความคาดหวังของคนอื่น
เมื่อวาน
มีหลายประโยคที่เกี่ยวข้องกับเมื่อวาน เช่น เมื่อวานคือสิ่งที่เอากลับมาไม่ได้ เมื่อวานคืออดีตที่ควรวางมันไว้ที่เดิม แต่สิ่งนึงที่รู้สึกคือ ขอบคุณเมื่อวาน ที่ทำให้มีวันนี้
เราเป็นแบบนี้ได้เพราะการผ่านประสบการณ์ต่าง ๆ ในชีวิต การเรียนรู้ การถูกอบรมสั่งสอน หรือแม้กระทั่งกับเรื่องเลวร้ายต่าง ๆ ในชีวิตที่ทำให้เราเป็นเราในทุกวันนี้
แต่จะคิดแบบนี้ได้ก็ต่อเมื่อเราผ่านเหตุการณ์นั้นมาแล้ว เพราะบางครั้งเราก็ไม่สามารถขอบคุณเหตุการณ์เลวร้ายได้เพราะยังไม่ลืม ยังเจ็บกับมันอยู่ ยังใช้ชีวิตด้วยความรู้สึกของเมื่อวานอยู่
วันนี้
“วันนี้คือความสุขที่จับต้องได้ คือความทุกข์ที่สัมผัสได้” รู้สึกว่าความตายเป็นเรื่องไกลตัวทั้ง ๆ ที่จริงมันจะมาตอนไหนก็ไม่รู้พอคิดแบบนี้แล้วเลยอยากจะทำทุกวันให้เต็มที่
ไม่อยากให้เกิดความรู้สึกว่า รู้งี้น่าจะทำแบบนั้น จะทำแบบนี้ แต่มันคงห้ามกันไม่ได้ เพราะมนุษย์ ความไม่รู้เป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ แต่ถ้าเราใช้ชีวิตแบบมีสติ ไม่ประมาท และรู้หน้าที่ตัวเอง
คิดไว้เสมอว่าตอนนี้เราทำได้เต็มที่และดีที่สุดแล้วอาจจะช่วยลดความรู้สึกที่เสียดาย และเสียใจไปก็ได้
พรุ่งนี้
พรุ่งนี้ คือ วันที่ยังไม่เกิดขึ้น กำหนดไม่ได้ คาดเดาไม่ได้ 100% สำหรับบางคน พรุ่งนี้ คือ เเรงขับเคลื่อน ความความหวังให้ใช้ชีวิตในปัจจุบันให้ดีที่สุด
แต่สำหรับบางคนความรู้สึกว่าไม่อยากมีวันพรุ่งนี้ก็อาจจะเกิดขึ้นได้เพราะ กำลังอยู่กับความทุกข์ในอดีตและปัจจุบัน อนาคตก็ไม่รู้ว่าจะดีขึ้นไหม หมดซึ่งความสุข ซึ่งก็สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน
อ. โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ ศาสตราจารย์ทางปรัชญาให้ความเห็นว่า ความหวังเป็นสิ่งจำเป็น มนุษย์ไม่อาจอยู่ได้ถ้าไม่มีหวัง การมีความหวังคือการมีเป้าหมายในชีวิต
ทำให้ชีวิตมีคุณค่าที่ชัดเจนขึ้นมา แต่เราไม่ต้องไปคิดว่าสิ่งที่เราหวังแล้วจะต้องได้หรือไม่ได้ เอาแค่ว่าในใจของเรามีหวัง ที่เหลือเป็นเรื่องของคนอื่น
เป็นสิ่งที่บังคับไม่ได้ แต่ใจเราบังคับได้ แค่มีความหวังเพียงในใจก็เพียงพอแล้ว ขอบคุณข้อมูลจากบทความ the matter
ไม่อยากใช้ชีวิตด้วยความรู้สึกของเมื่อวานที่เคยทำผิดพลาด
เมื่อเราลืมอดีตที่เราเคยทำผิดไม่ได้ เราอาจจะยังคงใช้ชีวิตด้วยความรู้สึกของเมื่อวานและที่สำคัญเลยคือ โทษตัวเอง บางทีความรู้สึกนั้นก็ทำให้เราเจ็บปวด
ถ้าตอนนี้เรากำลังหาความสงบให้กับจิตใจ การให้อภัยตัวเองอาจจะเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้เราก้าวไปข้างหน้าได้ บทความจาก Prevention : How to Forgive Yourself
การให้อภัยตัวเองไม่ได้ทำได้เพียงข้ามคืน เพราะมันเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา ลองบอกกับตัวเองว่าคนเราทำผิดพลาดกันได้ และไม่เป็นไรถ้าจะมีความรู้สึกผิดหรือละอายใจกับเรื่องราวในอดีต
นักจิตวิทยา Fred Luskin ผู้อำนวยการโครงการ Stanford University Forgiveness กล่าวว่า “การให้อภัยเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราเผชิญกับสิ่งที่เราทำในอดีต,ยอมรับกับข้อผิดพลาดของเราและก้าวต่อไปข้างหน้า
ไม่ได้หมายว่าเราแก้ตัวและไม่ได้หมายความว่าเราลืม มีฤดูกาลสำหรับความทุกข์และความเสียใจของเรา เราต้องมีสิ่งนั้น แต่เมื่อฤดูกาลสิ้นสุดลง โลกเคลื่อนไป และเราต้องก้าวต่อไปเช่นกัน”
ในบทความนี้มีทั้งหมด 13 วิธีในการที่จะให้อภัยตัวเอง ขอยกมา 5 ข้อที่น่าสนใจ
1. จัดหมดหมู่ให้ความผิด
เป็นเรื่องยากที่จะให้อภัยตัวเองเมื่อเราเมื่อได้ทำ 4 สิ่งต่อไปนี้…
- เคยล้มเหลวในงานสำคัญในชีวิต เช่น การเเต่งงาน
- การกระทำของเราไปทำร้ายใครสักคน
- เคยทำร้ายตัวเองด้วยวิถการใช้ชีวิต เช่น การดื่มแอลกอฮอลล์หรือทำอะไรที่เป็นการทำร้ายตัวเอง (self-destructive)
- ไม่ได้ทำในสิ่งที่เราคิดว่าควรทำ เช่น ไม่ได้เก็บเงินไว้เพื่อส่งลูกเรียน
การจัดหมวดหมู่ให้ความผิด เป็นกระบวนการเริ่มต้นการให้อภัย ทำให้เราสามารถแยกแยะสิ่งต่าง ๆ ที่เราทำมองดูมัน ค่อย ๆ ถอยห่างและเริ่มต้นฮีลตัวเอง
2. สังเกตว่าเราพูดกับตัวเองในใจอย่างไร
ให้เราลดการพูดกับตัวเองในเชิงลบ (Negative self-talk) การปล่อยให้ตัวเองจมกับสถานการ์ที่เคยทำและกล่าวโทษตัวเองให้รู้สึกแย่กับสิ่งที่เคยทำจะทำให้เราให้อภัยตัวเองได้ยาก
ให้รับรู้และยอมรับความผิดพลาดโดยไม่ทำให้ตัวเองผิดหวัง โดยการทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นและคิดว่ามันเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ เกิดอะไรขึ้นในครั้งนี้และสามารถทำอะไรแตกต่างไปจากเดิมได้ในอนาคต
3. ฝึก PERT (Positive Emotion Refocusing Technique)
หรือเทคนิคการปรับโฟกัสอารมณ์เชิงบวก เป็นกลยุทธ์ 45 วินาที ที่ Luskin สร้างขึ้นเพื่อใช้ในเวลาที่เราต้องการก้าวผ่านความผิดพลาดในอดีต
เพียงแค่หลับตา หายใจเข้าลึกๆ ดันหน้าท้องออกเบาๆ จากนั้นหายใจออกช้าๆ ในขณะที่หน้าท้องรู้สึกผ่อนคลาย ให้หายใจเข้าครั้งที่สองแล้วหายใจออก
ในการหายใจครั้งที่สาม ให้จินตนาการถึงคนที่เรารักหรือสถานที่ธรรมชาติที่สวยงามที่ทำให้เรา เช่น ทะเล น้ำตก อะไรก็ได้เลยที่เราชอบ หายใจเข้าลึก ๆ ในขณะที่เรากำลังสำรวจความงามของธรรมชาติรอบตัว
สังเกตว่าเรารู้สึกอย่างไร และปล่อยให้ความรู้สึกนั้นไปอยู่ตรงกลางรอบ ๆ หัวใจของเรา
4. ทำในสิ่งที่ในสิ่งถูกต้อง
เพื่อชดใช้ในสิ่งที่เราเคยทำ เราอาจจะต้องหาทางที่จะใจดีกับคนที่เราเคยทำร้าย แม้ว่าคนนั้นจะหายไปจากชีวิตของเราเเล้ว เเต่เราก็สามารถทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยการมอบความใจดีหรือเมตตาให้กับคนอื่น
เช่น ถ้าเราเคยเป็นพ่อแม่ที่แย่ พอจะเป็นไปได้ไหมที่เราจะเป็น ปู่ย่าตายายที่ดีของหลาน ๆ หรือพอจะเป็นไปได้ไหมที่เราจะเข้าร่วม Group support ให้คำแนะนำเป็นเพื่อนกับลูกของคนอื่นได้หรือไม่
การทำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้เราเปลี่ยนมุมมองที่เรามองตัวเอง มองเห็นคุณค่าในตัวเองที่เรามีได้มากขึ้น
5. แทนที่ความรู้สึกผิดด้วยการขอบคุณ
ความรู้สึกแย่ต่อสิ่งที่เราเคยทำในอดีตสามารถสร้างปัจจุบันที่เจ็บปวดได้ ในขณะที่เรากำลังเรียนรู้ที่จะให้อภัย ลองพักร่างกายและจิตใจด้วยการแทนที่ความรู้สึกผิดเป็นการขอบคุณ ด้วยการทำสิ่งเหล่านี้
- ไปซื้อของที่ Supermarket และขอบคุณสำหรับอาหารและสิ่งของมากมายที่มีอยู่
- เมื่อขับรถ ขอบคุณเพื่อนร่วมเส้นทางที่ปฏิบัติตามกฎจราจร
- ถ้ามีคนสำคัญในชีวิต ลองขอบคุณพวกเขาที่คอยอยู่เคียงข้าง
- ถ้าไปซื้อของเเล้วมีพนักงานรอให้บริการ ลองขอบคุณพวกเขาสำหรับการบริการและความช่วยเหลือ
- เมื่อตื่นขึ้นมาในตอนเช้า ลองขอบคุณสำหรับลมหายใจและของขวัญของชีวิต
แรงบัลดาลใจที่ดีที่สุด คือ Deadline
The Greatest Inspiration is the Deadline. กับหลายเรื่องมี Deadline แต่เวลาชีวิตมักไม่มี Deadline หรือจริง ๆ ก็มีนั่นแหละ แต่เราไม่มีทางล่วงรู้ นั่นอาจจะเป็นเรื่องดีที่จะทำให้เราทำในสิ่งที่อยากทำ
มีความสุขกับสิ่งที่ควรมีความสุข เพราะไม่รู้ว่า Deadline ในชีวิตจะมาเมื่อไหร่ เคยคิดเหมือนกันว่าเราจะใช้ชีวิตให้ทุกวันเหมือน Deadline ดีไหม เพราะเราก็ไม่รู้ว่าเราจะตายวันไหน
บางคนอาจจะใช้ได้นะ แต่บางคนยิ่งคิดยิ่งรู้สึกกดดัน เลยคิดว่าเราก็พยายามทำให้ทุกวันมีความสุข ใช้ชีวิตให้เต็มที่ในทุก ๆ วันเท่าที่เราจะทำได้นั้นแหละคือแฮปปี้แล้ว
โรคกลัวความตาย
พอกล่าวถึงเรื่องของ เวลา แล้วสิ่งที่มาพร้อมกับเวลาก็คือ ความตาย แต่คนส่วนใหญ่มักจะไม่ชอบพูดเรื่องของความตายทั้งที่แล้วจริงแล้วคนเราสามารถตายได้ทุกวัน เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าวันนี้จะเป็นวันสุดท้ายของชีวิตเราไหม
อะไรคือโรคกลัวความตาย?
ในภาษากรีก Thanatos หมายถึง ความตาย และ Photos หมายถึง ความกลัว Thanatophobia รวมกันเป็น กลัวความตาย โดยที่บุคคลนั้นที่มีความกังวล และหวาดกลัวอย่างมาก เมื่อนึกถึงความตาย
ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ กลัวการพรากจากคนรัก กลัวการสูญเสีย เมื่อความกลัวเหล่านั้นมันเกิดขึ้นจนส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันทำให้พวกเขาไม่กล้าออกจากบ้าน
ประเภทของความกลัว
1. กลัวสิ่งที่ไม่รู้จัก
โรค กลัวความตาย มีพื้นฐานมาจากกลัวในการสิ่งที่ไม่รู้เพราะมนุษย์ต้องการรู้ทุกอย่าง มีความต้องการที่ต้องคาดการณ์สถานการณ์ต่างๆได้ทำให้ความไม่รู้เป็นสาเหตุที่ทำให้มนุษย์กลัวตาย
2. กลัวสูญเสียการควบคุม
การตายอยู่นอกเหนือการควบคุม ทำให้คนกลัวในสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้
3. กลัวความเจ็บปวด เจ็บป่วย
ความเจ็บปวด เจ็บป่วย ทำให้คนหมดแรง หมดอำนาจ ที่จะทำในสิ่งต่าง ๆ
4. กลัวคนใกล้ชิดทอดทิ้ง
เขามักจะกลัวว่าหลังจากที่เขาตายจะเกิดอะไรขึ้นต่อคนใกล้ชิดกับพวกเขาทำให้พวกเขากลัวที่จะตาย
การกลัวความตายจะถูกวินัจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นเพราะมีโอกาสที่จะมีปัจจัยแทรกซ้อนจากโรคทางจิตเวชอื่น ๆ ด้วย เช่น โรควิตกกังวล โรคย้ำคิดย้ำทำ โรค PTSD ซึ่งอาการหวาดกลัวความตาย
- รู้สึกวิตกกังวลอย่างรุนแรงเมื่อเผชิญหน้าหรือนึกถึงความตายหรือกำลังจะตาย
- มีผลกระทบในชีวิตประจำวันหรือความสัมพันธ์
- มีอาการอยู่นานกว่า 6 เดือน
ถึงแม้ว่าความตายจะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้แต่หากว่าใครที่มีอาการเหล่านี้ต่อเนื่องถึง 6 เดือนจนถึงกระทบต่อการใช้ชีวิต กระทบกับความสัมพันธ์กับคนรอบตัว การไปพบแพทย์เป็นทางออกที่ดีที่จะทำให้เรากลับมาบาลานซ์สิ่งต่างๆในชีวิตให้มากขึ้น
คนที่สามารถตอบได้ว่าความสุขที่แท้จริงคืออะไร คือตัวของเราเอง เพราะความสุขของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ไม่เท่ากัน ไม่สามารถนำมาตัดสินตัวเราหรือใครได้เลย
ถ้าวันนี้ยังไม่รู้ว่า ณ ตอนนี้ ความสุขของเราอยู่ที่ตรงไหน ไม่เป็นไรเลยค่อย ๆ ตามหามัน ไปพร้อมกับพวกเราใช้ชีวิตในแบบที่ตัวเราพอใจ และใช้ชีวิตด้วยความเข้าใจ
อ้างอิง :
Yesterday is gone, and tomorrow may never come.
การโกหกที่เราได้ยินกันมาเชื่อว่าพอพูดคำว่าโกหกใคร ๆ ก็คงไม่ชอบ แต่จะมีการโกหกประเภทหนึ่งที่เรียกว่า การโกหกสีขาว หรือว่า White Lies การโกหกเพื่อให้อีกฝ่ายสบายใจนั้นเอง
White Lies การโกหกสีขาว
เป็นการพูดเพื่อหวังให้เกิดสิ่งดี ๆ กระชับความสัมพันธ์แก่สังคมรอบตัว คนรัก เพื่อน ทุก ๆ ความสัมพันธ์ หรือโกหกเพื่อให้สบายใจคนรอบข้างนั้นเอง แต่เป็นการพูดที่มีจุดประสงค์ไปในทางที่ดี
Cambridge Dictionary ได้ให้ความหมายของ White Lies ว่า “เป็นการโกหกที่บอกเพื่อเป็นมารยาทหรือโกหกเพื่อหยุดใครสักคนไม่ให้เสียใจจากความจริง”
ที่จะเห็นในประโยคบ่อย ๆ คือ Little white lies ที่แปลว่า การโกหกเล็กๆน้อยๆ นั่นอาจจะหมายความว่า White Lies ใช้ได้กับเรื่องเล็กน้อย ที่ไม่ได้สำคัญหรือกระทบกับอะไรมากนัก
ข้อมูลจาก apa เป็นบทความงานวิจัยเกี่ยวกับ White Lies
งานวิจัยนี้ได้แบ่ง White Lies ออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
1. Altruistic White Lies
ประเภทการโกหกแบบเห็นแก่ผู้อื่น เป็นการโกหกในเรื่องที่มีความสำคัญน้อยที่สุด ใช้บอกเพื่อปกป้องอีกฝ่ายอาจจะแลกกับราคาที่ต้องจ่ายของคนที่โกหก
เป็นประโยชน์ต่อความสัมพันธ์ที่จะทำให้ความสัมพันธ์แน่นแฟ้นมากขึ้น โดยการสร้างกันชนขึ้นเพื่อปกป้องอีกฝ่ายจากผลกระทบที่มาจากความจริงที่เป็นอันตรายถึงแม้จะค่อนข้างน้อย
เป็นเหมือนการสร้างภาพลวงตาต่อความสัมพันธ์ในเชิงบวกที่มีความเกี่ยวข้องกับความพึงพอใจในความสัมพันธ์
2. Pareto White Lies
ประเภทที่โกหกเพื่อช่วยทั้งคนอื่นและผู้ที่โกหก แต่ผู้ที่โกหกส่วนใหญ่มักจะมีความลังเลที่จะใช้ Pareto White Lies แสดงให้เห็นถึงการเกลียดชังการโกหกอย่างแท้จริง
โดยไม่ขึ้นอยู่กับความพอใจส่วนรวม สำหรับผลลัพธ์ที่จะได้จากการโกหก แต่ผู้โกหกเต็มใจที่จะเลือกใช้ Altruistic White Lies แม้ตัวเองจะเจ็บปวดเพียงเล็กน้อย แต่ช่วยเหลือคนอื่นอย่างมาก
โกหก กับ White Lies ?
White Lies แตกต่างจาก การโกหก White Lies มักถูกอธิบายว่าไม่เป็นอันตรายต่อผู้อื่น โกหกเพื่อรักษามารยาทและกระชับความสัมพันธ์ เป็นการบิดเบือนความจริงเพียงเล็กน้อย
เช่น การที่คนรักถามเราว่าเขาดูอ้วนขึ้นไหม ซึ่งจริง ๆ คนถามอาจจะรู้ตัวแล้วแต่อยากได้รับความมั่นใจจากคนรัก
แต่การโกหกที่แท้จริงมักเป็นเจตนาที่ผู้พูดเห็นแก่ตัว เอาตัวรอด และจะเป็นคำโกหกที่เกิดขึ้นโดยไม่ทันคิด และเป็นคนโกหกที่ไม่เป็นความจริง
การโกหกมักจะให้ประโยชน์กับคนโกหก แต่กลับกันคนที่ White Lies จะเป็นประโยชน์ต่อบุคคลที่ถูกโกหกในความสัมพันธ์
การโกหกจะเป็นการเพิ่มผลตอบแทนของคนโกหกโดยที่คนอื่นต้องเสียไป แต่คนที่เลือกใช้ white lies ส่วนใหญ่จะเป็นการทำเพื่อคนอื่นโดยที่ตัวเองก็อาจจะได้รับผลกระทบอะไรสักอย่าง
ทำให้เห็นว่าการโกหกในรูปแบบต่างๆมีความสัมพันธ์กับ สิ่งจูงใจ การเกลียดการโกหก (Lying Aversion) และความพึงพอใจในผลลัพธ์ที่ได้
7 ประเภทการโกหก จาก Sintelly
1. โกหกหน้าตาย (Bold-Faced Lie)
การโกหกในรูปแบบนี้เป็นการโกหกทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าคนอื่นรู้ว่าตัวเองโกหก เช่น โกหกเด็ก ๆ ว่าช็อคโกแลตไม่ดี แต่ตัวเองก็กิน
2. ผิดสัญญา (Broken Promises)
การผิดสัญญาหรือการไม่รักษาคำมั่นสัญญาจะสร้างความเสียหายมากขึ้นเมื่อบุคคลที่สัญญาบางอย่างไม่ได้คิดที่จะรักษาคำพูดของตัวเองตั้งแต่แรก
3. โกหกแบบปั้นน้ำเป็นตัว (Lie of Fabrication)
การโกหกในรูปแบบนี้คือการโกหกหรือพูดในสิ่งที่เราไม่มั่นใจว่าเป็นความจริงหรือไม่ แน่นอนว่านั่นอาจจะเป็นเพียงข่าวลือเท่านั้น แต่สามารถสร้างความเสียหายให้กับบุคคลที่ถูกกล่าวถึงได้
4. โกหกหลอกลวง (Lies of Deception)
พยายามที่จะสร้างความประทับใจที่อาจจะนำไปสู่ความเข้าใจผิด โดยการสร้างเรื่องที่ไม่จริงหรือบอกความจริงไม่หมด
5. โกหกเกินจริง (Lying in Exaggeration)
การปรุงแต่งความเป็นจริงด้วยการโรยคำโกหกไปผสมกับความจริงให้น่าประทับใจ
6. การลอกเลียนแบบ (Plagiarism)
หรือการขโมยความคิด คือการขโมยและโกหกไปพร้อมๆกัน สิ่งนี้เกี่ยวข้องกับการ Copy ผลงานคนอื่นมาเป็นของตัวเอง
7. โกหกสีขาว (White Lies)
การโกหกสีขาวบางครั้งถือว่าร้ายแรงน้อยที่สุดจากการโกหกทั้งหมด แต่คำโกหกเล็กๆ น้อยๆ จำนวนมากสามารถนำไปสู่ความขัดแย้งได้ เนื่องจากคนที่ใช้ White Lies สามารถดูน่าเชื่อถือน้อยลง
- โกหกเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น นักวิทยาศาสตร์เรียกความโกหกที่มีเจตนาดีว่าเป็นคำโกหกเชิงสังคม ซึ่งแตกต่างจาก การโกหกต่อต้านสังคม
- ความจริงที่ต้องพูดออกไปอาจทำลายความสัมพันธ์
- โกหกเพื่อความมั่นคงในความสัมพันธ์ โดยต้องเป็นการโกหกเล็กๆ น้อยๆ
- เพื่อสร้างกำลังใจ
- เพื่อปกป้องวิธีที่คนอื่นมองเรา เช่น เราตกงาน แต่เราบอกพ่อแม่พี่ลาออกเพราะมันไม่ท้าทายพอแล้ว
- เพื่อให้เราจัดการปัญหาตรงหน้าได้ง่ายมากขึ้น เช่น โกหกเรื่องตั๋วคอนเสิร์ต
- เกิดจากประสบการณ์และการเรียนรู้กับคนคนนั้นหรือสิ่งนั้น
- อำนาจที่มากกว่า เช่น เจ้านาย+ลูกน้อง
เหตุผลหลักของ White Lies มีอยู่ 2 เหตุผล คือ
1. เพราะไม่ต้องการทำร้ายความรู้สึกอีกฝ่าย
2. เพราะต้องการหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง
บทความจาก Romper: 7 White Lies It’s Necessary To Tell To Keep Your Relationship Healthy จำเป็นต้องใช้เพื่อรักษาความสัมพันธ์ให้เเข็งแรง
- เมื่อสิ่งนั้นจะทำให้ความไม่มั่นคงทางจิตใจของคนอื่นเเย่ลง
- เมื่อเราไม่ชอบครอบครัวหรือเพื่อนของเขา
- เมื่อเราไม่ชอบสิ่งที่สำคัญมากๆสำหรับเขา
- เมื่อเราอยากเปรียบเทียบเขากับคนรักเก่า
- เมื่อเราไม่แน่ใจว่าเพื่อนหรือครอบครัวรู้สึกอย่างไรกับเขา
- เมื่อสิ่งนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องหรือกระทบกับความสัมพันธ์
- เมื่อสิ่งนั้นจะทำร้ายจิตใจอีกฝ่าย
เรื่องที่ไม่ควร White Lies
- เรื่องการเงิน เช่น เมื่อมีปัญหาทางการเงินควรบอกให้คนใกล้ชิดรับรู้ เช่น การเป็นหนี้สินต่าง ๆ
- ปัญหาสุขภาพ เช่น ในกรณีที่ร้ายแรงถึงชีวิตก็ควรบอกให้คนไข้ ญาติคนไข้รับรู้
- ความรู้สึกต่อคนอื่น เช่น ในวันนึงที่เรารู้สึกดีกับคนอื่นมากกว่าแฟนเรา
ผลเสีย White Lies
- ดีในระยะสั้น แต่อึดอัดในระยะยาว
- เมื่อไม่ใช่เรื่องจริงมันจะทำลายความไว้วางใจในบุคคลที่ถูกโกหก
- ทำลายความน่าเชื่อถือของคนที่โกหก
- สร้างความลำบากใจให้กับคนโกหก เช่น การที่ต้องฝืนกินข้าวที่ไม่อร่อยของแฟน แต่ต้องบอกว่าอร่อยเพื่อรักษาน้ำใจ
- ขึ้นอยู่กับเรื่องใหญ่ เรื่องเล็ก และบุคคลที่เราโกหก ติดค้างในใจตัวเอง
Three Reasons Why White Lies Are The Worst Solutions To Your Problems บทความจาก Forbes
1. การโกหกเล็ก ๆ น้อย ๆ อาจจะนำไปสู่การโกหกบ่อย ๆ ได้ง่ายขึ้น มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนข้อนี้ด้วย
การศึกษาใน Nature Neuroscience เสนอว่าการโกหกเรื่องไม่สำคัญทำให้สมองส่วนต่าง ๆ ของเรารู้สึกไม่สบายใจเมื่อเราโกหก
2. การโกหกเล็ก ๆ น้อย ๆ อาจจะกระทบต่อชื่อเสียงหรือความน่าเชื่อถือ
3. มีทางเลือกที่ดีกว่าการโกหกเล็กๆน้อย
การโกหกเรื่องที่ไม่สำคัญเป็นเรื่องง่าย แต่มีวิธีที่สร้างสรรค์ในการพูดความจริงและให้เกียรติในเวลาเดียวกัน ตัวอย่างที่เขายกมาเป็นเรื่องของเค้กผลไม้โฮมเมดที่เพื่อนร่วมงานเอามาให้เรา
เราบอกเขาว่า “มันอร่อยมากเลย” แม้ว่าหลังจากนั้นเราจะทิ้งเค้กลงถังขยะก็ตาม เราอาจจะให้เหตุผลว่า จะพูดความจริงไปทำไมทั้งที่มันจะทำร้ายอีกฝ่าย
แต่อีกแง่นึงก็สามารถพูดประมาณว่า “ดีใจจริงๆ ที่คุณให้เค้กผลไม้โฮมเมด” หรือ “ขอบคุณที่นึกถึงกันนะ”
ทางออกที่ดีกว่าการ white lies
- ทำความเข้าใจกับความสัมพันธ์ตั้งแต่แรก ๆ ว่าอีกฝ่ายเป็นคนอย่างไร รับความจริงได้ไหมถ้าบางอย่างที่พูดออกไป
- ฝึกวิธีการพูดที่ถนอมน้ำใจคนฟัง
- โทนเสียงในการพูดสำคัญมาก ๆ
- หาคน support ในการช่วยเราพูด
สิ่งนึงที่คิดว่าสำคัญมาก ๆ คือการสำรวจให้ลึกลงไปว่า เหตุผลเบื้องหลังการโกหกของเราคืออะไรกันแน่ เราโกหกเพื่อตัวเขาหรือเพื่อตัวเราเอง ถ้าเราเข้าใจตรงนี้
เราเองคงชั่งน้ำหนักกับตัวเองได้ว่า เราจะใช้ white lies หรือเลือกที่จะบอกความจริง การ white lies ผลลัพธ์จะจะดีหรือไม่ดีก็ขึ้นอยู่ที่ตัวของเราด้วย
ถามตัวเองว่าในเมื่อเราเลือกที่จะโกหกไปแล้ว เราจะสามารถยอมรับผลในระยะยาวถ้าความจริงปรากฎขึ้นมาได้ไหม และก่อนที่จะทำการ โกหกสีขาว
อาจจะต้องพิจารณาก่อนว่ามันเป็นเรื่องเล็กน้อยจริงหรือเปล่า เพื่อให้ความสัมพันธ์ดำเนินไปอย่างราบรื่น
7 Seemingly Harmless White Lies That Can Actually Ruin Your Relationship
Are White Lies OK in Romantic Relationships?
Three Reasons Why White Lies Are The Worst Solutions To Your Problems
รู้สึก ” เหนื่อยจากโรคซึมเศร้า ” แม้กระทั่งเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ยากที่จะลุกขึ้นไปทำ เราจะออกจากความรู้สึกนี้อย่างไร? รับมืออย่างไรในวันที่รู้สึกเหนื่อยจากภาวะซึมเศร้า?
เหนื่อยจากโรคซึมเศร้า ไม่มีแรงจูงใจ ไม่มีพลัง
เพราะอะไรซึมเศร้าถึงทำให้เราเหนื่อย
อาการซึมเศร้ามีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาท สารสื่อประสาทมีบทบาทสำคัญในการควบคุมระดับพลังงาน การนอนหลับ ความอยากอาหาร แรงจูงใจ ความสุข
เมื่อสารเคมีในสมองเปลี่ยนแปลงไป แรงจูงใจจึงลดลง จากคนที่เคยร่าเริง จะไม่สามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้เหมือนเดิม ทำไปแปปเดียวเหนื่อย หมดแรง ไม่อยากทำต่อ ไม่เอนจอยเหมือนที่เคย
เหนื่อยจากโรคซึมเศร้า คืออะไร
ข้อมูลจาก Psych2go กล่าวไว้ว่า ภาวะเหนื่อยจากโรคซึมเศร้า (Depression tiredness) จะมีลักษณะ ดังนี้
1. เป็นความรู้สึกเหนื่อยจากการพยายามต่อสู้กับความคิดลบ ๆ ที่ทำให้เรารู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า ไม่สำคัญ
2. เป็นมากกว่าความรู้สึกเหนื่อยทั่วไป เพราะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตและการปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง
3. ไม่ใช่การขี้เกียจ หรือ การผัดวันประกันพรุ่ง แต่เป็นการที่รู้สึกหมดแรงจูงใจ ในระดับที่ลึกและรุนแรงกว่า
4. ที่สำคัญ คือ ความรู้สึกเหนื่อยนี้ จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าการจะหนีจากโรคซึมเศร้าดูไม่มีทางเป็นไปได้เลย
อาการ เหนื่อยจากโรคซึมเศร้า
1. รู้สึกว่าการทำเรื่องเล็ก ๆ เป็นเรื่องที่ยากมาก เช่น ลุกจากเตียง
2. รู้สึกเหนื่อยกับการมีชีวิตอยู่แบบที่ไม่ได้รู้สึกว่าตัวเองกำลังใช้ชีวิตอยู่
3. ไม่มีความสุขในการทำอะไรเลย แม้แต่สิ่งที่เคยชอบหรือสิ่งที่เคยทำให้มีความสุข
4. รู้สึกเหนื่อยที่จะต้องฝืนยิ้ม แสดงออกว่าตัวเองมีความสุข ทำให้สุดท้ายแล้วจะหลีกเลี่ยงการเจอผู้คน
เหนื่อยจากโรคซึมเศร้า ต่างจากความเหนื่อยล้าอย่างไร
1. ความเหนื่อยล้าเป็นภาวะทางร่างกาย เหนื่อยจากโรคซึมเศร้าเป็นภาวะทางสุขภาพจิต
2. เมื่อต้องการทำสิ่งต่าง ๆ คนที่มีความเหนื่อยล้าจะขาดพลังงานในการทำ แต่คนที่เหนื่อยจากโรคซึมเศร้าจะขาดแรงจูงใจในการทำ
3. ระยะเวลาฟื้นฟูแตกต่าง ถ้าเหนื่อยล้า พักผ่อนจะดีขึ้นและสามารถทำกิจกรรมได้เช่นเดิม แต่เหนื่อยจากโรคซึมเศร้า จะรู้สึกเหนื่อยถึงแม้จะพักผ่อนแล้ว
4. สาเหตุแตกต่าง เหนื่อยจากโรคซึมเศร้าเป็นเรื่องของสารสื่อประสาท แต่เหนื่อยล้าเป็นเพียงภาวะหนึ่งที่ตอบสนองต่อ ความเครียด ความเบื่อหน่าย การออกแรง การขาดการพักผ่อน
เหนื่อยจากโรคซึมเศร้า รับมืออย่างไร
1. เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตให้ดี
2. เคลื่อนไหว ออกกำลังกาย
3. ปรับการกิน อาหารที่ดีจะทำให้มีพลัง
4. ปรับสุขอนามัยในการนอนหลับและฝึกนิสัยการนอนที่ดี
5. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ถ้าหากไม่สามารถจัดการได้ด้วยตัวเอง
อยากใช้ชีวิตแบบมีพลังงาน ทำอย่างไร
1. พักผ่อนให้เพียงพอ
2. กำหนดสิ่งที่จะทำในวันนั้น เพื่อสร้างแรงจูงใจ
3. ทำตามสิ่งที่จะทำในวันนี้ให้สำเร็จ สร้างความหวังว่าจะต้องดีขึ้น
4. พูดคุยกับคนรอบข้าง เพราะการ support อาจเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ดีขึ้นได้
5. เป็นตัวของตัวเอง แสดงออกถึงสิ่งที่เป็นตัวเอง โดยคำนึงถึงคนรอบข้าง ไม่ทำถ้าสิ่งนั้นสร้างความเดือดร้อน
การที่เราเป็นโรคซึมเศร้าหรือจะเหนื่อยจากโรคซึมเศร้าไม่ใช่เรื่องผิด ไม่จำเป็นต้องฝืนยิ้มในวันที่รู้สึกเศร้า อย่าลืมดูแลตัวเองและพักผ่อนให้เพียงพอกันนะคะ 🙂
How to Fight Depression Fatigue
Depression Tiredness – What is it ?
Why Depression Makes You Tired and How to Deal with Fatigue
ต้นเดือนดีใจ กลางเดือนเริ่มเศร้า ต้นเดือนใช้เงินอย่างราชา สิ้นเดือนกินมาม่า ใช้เงินคลายเครียด จนตัวเราเครียดเพราะคำว่าของมันต้องมี
เงินซื้อได้แม้กระทั่งความสุข
อาจจะเป็นคำถามที่หลายคนมีความเห็นต่างกัน อยู่ที่ปักเจกบุคคล แต่เงินสามารถใช้คลายเครียดได้จริง ๆ Retail Therapy (Retail) การค้าขาย (Therapy) การบำบัด คือการที่เราใช้เครื่องมือการค้าขายเพื่อบำบัดตัวเอง
เมื่อเราเกิดความรู้สึกไม่พอใจ ความรู้สึกเครียด เวลาที่ใช้เงินเราจะรู้สึกถึง Power เราสามารถจับจ่าย จับจอง ของที่เรา Need ได้
โดยมีเงินเป็นตัวกลาง เราสามารถควบคุมพื้นฐานที่เป็นตัวกลางของเราได้ ควบคุมในสิ่งที่เราต้องการได้
ถ้าเราใช้เงินมากเกินไป
มีศัพท์เฉพาะของสายช้อป Shopaholic คือ การที่เราทำอะไรเยอะเกินไป เกินความจำเป็น เกินความอยากได้อยากมีที่ไม่มีขีดจำกัดก็จะเกินผลเสียกับเรา ความเครียด ท้อ รายจ่ายไม่พอ ในระยะยาวจะกลายเป็นผลร้ายได้
ระลึกไว้เสมอว่าทุก ๆ การกระทำจะมีผลกระทบเสมอ ถ้าเรารับมือไม่ได้เราต้องมาคิดว่าเราจะแก้ปัญหาอย่างไรกับการใช้จ่ายที่เกินรายได้ของเรา และอาจจะทำให้ ทำลายความสัมพันธ์กับคนรอบข้างเมื่อเราไปหยิบยืม
สัญญาณการใช้เงินเกินไป
พอเราซื้อของเรามักจะลืมทั้งเรื่องดีและไม่ดีในหัวของเรา เพราะเราสนใจสิ่งที่อยู่ตรงหน้า พอเราไม่ได้สนใจ ทำให้เราไม่ได้ตระหนักว่าเรากำลังใช้จ่ายเกินพอดี หลังซื้อแล้วมีความรู้สึกว่าไม่น่าซื้อมาเลย
เวลาได้ใช้เงินแล้วรู้สึกเหมือนเป็นผู้คุมเกม
เราจัดการ Personal Control ไม่ได้ ทำให้เราใช้เงินเป็นตัวกลางในการจัดการกับความเครียด เพราะเหมือนเราเป็นนายตัวเอง เราสามารถจัดการสิ่งต่าง ๆ ได้ ทำให้ลืมความเครียด
วิธีใช้เงินให้น้อยลง
- ถามตัวเองว่าจำเป็นไหม ที่ต้องใช้เลยหรือเปล่า
- ลองนึกสภาพว่าเราเดือนชนเดือน เดือนหน้าเราจะเป็นอย่างไร
- วางแผนรายรับรายจ่าย
นอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ นอนเท่าไหร่ก็ยังอ่อนเพลีย เพราะเรากำลัง ” ติดหนี้การนอน ” อยู่หรือเปล่า? ติดหนี้การนอนคืออะไร? เราจะรับมืออย่างไรดีเพื่อให้มีพลังงานในการใช้ชีวิต?
นอนเท่าไหร่ก็ไม่พอเพราะติดหนี้การนอน
รู้จัก ติดหนี้การนอน
ติดหนี้การนอน หรือ Sleep debt เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อใช้ชีวิตเกินขีดจำกัด ไม่ได้พักผ่อนอย่างเพียงพอติดต่อกันหลายวัน หลายสัปดาห์ หรือหลายเดือน ยิ่งนอนน้อยเท่าไหร่ยิ่งติดหนี้เท่านั้น
ตัวอย่างจาก WebMD อธิบายไว้ว่า หากร่างกายคุณต้องการนอน 8 ชั่วโมง แต่คุณนอน 4 ชั่วโมง ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ 1 สัปดาห์เท่ากับว่า คุณติดหนี้การนอนอยู่ 4 ชั่วโมง x 7 วัน = 28 ชั่วโมง
แต่ปริมาณการนอนไม่ได้บ่งบอกว่าจะติดหนี้การนอน เพราะแต่ละคนต้องการเวลาในการนอนแตกต่างกัน บางคน 6 ชม. บางคนมากกว่า ทำให้ตัดสินไม่ได้ว่าอดนอนกี่ชั่วโมงจะติดหนี้การนอน
ภาวะที่เกี่ยวข้องกับ ติดหนี้การนอน
1. นอนดึกเพื่อล้างแค้น (Revenge Bedtime Procasination)
ไม่ยอมนอนเพราะอยากใช้เวลาเพื่อทำกิจกรรมอย่างอื่นที่ไม่มีเวลาทำในช่วงกลางวัน
2. นอนไม่หลับ (Insomnia)
เกี่ยวข้องกันตรงที่นอนไม่หลับอาจทำให้ติดหนี้การนอนได้ เนื่องจากพักผ่อนไม่เพียงพอ
สาเหตุ
1. เป็นปัญหาของวัยทำงาน
เพราะต้องทำอะไรหลายอย่างพร้อมกัน (multitask) และต้องใช้ชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ (productive)
2. ทำกิจกรรมมากจนเกินไป
คติ “work hard, play harder” บางคนทำกิจกรรมมากจนเกินไป เช่น ปาร์ตี้สังสรรค์ ดูซีรี่ส์ เยอะเกินไป
3. ใจอ่อนกับตัวเอง
ใจอ่อนว่า อยากดู ดูไปเถอะ พรุ่งนี้ค่อยว่ากัน ข้อดีคือกิจกรรมเหล่านี้ฮีลใจ แต่ข้อเสียคือตื่นมาไม่สดชื่น
4. ไลฟ์สไตล์
ไลฟ์สไตล์บางคนติดเกม บางคนติดชา ที่มีสารทำให้นอนหลับได้ยาก ฯลฯ อาจทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ
5. ความเครียด
เพราะพอเครียด มีเรื่องที่ทำให้รู้สึกไม่สบายใจ การคิดมาก จะทำให้นอนหลับได้ยาก พักผ่อนไม่เพียงพอ
6. นาฬิกาชีวภาพ
การปรับไลฟ์สไตล์อย่างไม่สอดคล้องกับนาฬิกาชีวภาพ อาจทำให้สุขภาพแย่ ประสิทธิภาพในการใช้ชีวิตลดลง จนส่งผลให้นอนไม่หลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ
7. ความคิดว่า “เวลามีค่า”
เวลามีค่าแต่สุขภาพก็มีค่าเช่นกัน การพักผ่อนจึงสำคัญ ควรนำไปจัดสรรในเวลาชีวิตด้วย เพราะถ้าเราไม่พักผ่อน เราจะไม่มีแรงไปทำสิ่งต่าง ๆ ที่เราอยากทำ
ผลกระทบ
1. อารมณ์ไม่ปกติ หงุดหงิดง่าย เพราะตื่นมาแล้วไม่สดชื่น
2. พลังงานน้อย ทำอะไรหรือคุยกับใครจะรู้สึกเหนื่อยได้ง่าย
3. มีอาการทางร่างกาย เช่น ไม่สดชื่น เคลื่อนไหวช้า เมื่อยหน้า ปวดตา
4. สมองทำงานได้ไม่เต็มที่ รู้สึกว่าสมองไม่ปลอดโปร่ง ยากที่จะใช้ความคิดสร้างสรรค์
5. มีความเสี่ยงในหลายด้าน เช่น โรคเบาหวาน โรคทางจิตเวช น้ำหนักขึ้น ความจำไม่ดี
ติดหนี้การนอน จัดการอย่างไร
1. พยายามกลับมานอนและตื่นในเวลาปกติ
2. หากระหว่างวันง่วง ลองงีบสัก 15-20 นาที
3. จัดตารางชีวิตให้กับการพักผ่อนที่เพียงพอ
4. ใช้หนี้การนอน ให้ตัวเองพักผ่อนให้เพียงพอ
เมื่อพักผ่อนเพียงพอ จะสามารถทำสิ่งต่าง ๆ และใช้ชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทุกคนสามารถเป็นคนพลังงานที่มีความสุขได้ อย่าลืมดูแลตัวเองนะคะ 🙂
Sleep Debt and Catching up on Sleep
Sleep Debt: Can You Ever Catch Up?
นาฬิกาชีวิตของแต่ละคน เหมือนกันหรือไม่ ?
ความคิดเป็นสิ่งที่เราห้ามได้ยาก บางทีเราก็คิดบวก แต่ส่วนใหญ่ของคนเรามักจะชอบมี คิดลบ กับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว
ความ คิดลบ เป็นอย่างไร
คิดลบ คือ การคิดทางลบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการมองโลกในแง่ร้าย มองตัวเองในแง่ลบ บั่นทอนจิตใจตัวเอง เหมือนว่าโลกกลายเป็นสีดำทั้งหมด เมื่อเราคิดลบจะส่งผลร้ายต่อความคิดของเรา
เราจะหาข้อติของทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวต่อให้เป็นสิ่งที่ถูกต้องก็ตาม เป็นความคิดที่ทำให้เราหมดกำลังใจและอาจจะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับคนรอบข้างด้วย
คิดบวกคืออะไร
การคิดบวก คือ ไม่ว่าจะอยู่สถานการณ์ไหนจะมองหาข้อดี สิ่งที่ดีในสถานการณ์นั้น มองหาจุดที่มันสามารถแก้ไขปัญหาจากสิ่ง ๆ นั้นได้ และต้องคิดตามพื้นฐานความเป็นจริงด้วย
ทำไมคนชอบ คิดลบ มากกว่าคิดบวก
กลไกลของสมองจะจูงความคิดลบได้ง่ายกว่าความคิดบวก เพราะการคิดลบจะทำให้สมองเราคิดเรื่องในแง่ร้ายก่อน
เช่น ถ้าเราทำไม่ได้จะทำอย่างไรดี แต่การคิดในแง่ร้ายก็มีข้อดีทำให้เราระมัดระวัง มีแผนสำรองเมื่อสถานการณ์ร้าย ๆ เกิดขึ้น
สมองส่วน อะมิกดะลา (Amygdalae) จะทำหน้าที่คอยเตือนภัย เฝ้าระวังอันตราย เป็นสมองในส่วนปกติของมนุษย์ที่ทำหน้าที่คอยระวังเวลาเจอสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัย ไม่สามารถคาดเดาได้
ทำไมคนชอบบอกให้เลิกคิดลบ
- เป็นสิ่งที่ไม่ดีต่อตัวเอง
- ทำให้ทุกข์ใจ บั่นทอนจิตใจ
คิดลบเป็นเรื่องธรรมชาติจริงไหม?
คิดลบเกิดขึ้นอยู่กับสิ่งที่หล่อหลอมเรามา ประสบการณ์ต่าง ๆ ในชีวิต เช่น ถ้าเราอยู่ในครอบครัวที่คิดลบเราจะซึมซับและโตมากลายเป็นคนคิดลบได้
หรือเราอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ต้องสู้ชีวิตแล้วชีวิตสู้กลับทำให้กลายเป็นคิดลบได้
คิดลบ มีข้อดีไหม?
ทำให้มีแผนสำรองเมื่อเกิดสถานการณ์ตรงหน้ากลายเป็นสถานการณ์ที่ไม่ดี แต่เราก็ควรมีความคิดด้านบวกและด้านลบที่พอดี คิดในความเป็นจริงและเป็นไปได้
อยากเลิกคิดลบเพื่อเข้ากับสังคมทำได้ไหม?
หลาย ๆ คนอาจจะเลิกยาก ต้องค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนมุมมอง ลองหาสิ่งที่ดี ลองเปลี่ยนเป็นด้านบวก การเปลี่ยนก็เหมือนการมุมมองของเรา
คิดบวกหรือโลกสวย
คนทั่วไปอาจจะมองว่าสองสิ่งนี้คือสิ่งเดียวกัน แต่การบวกคิดต้องขึ้นอยู่กับความเป็นจริง คิดแบบโลกสวยจะมีความเพ้อฝันผสมเข้ามาด้วย หลายคนมักจะใช้คำว่า โลกสวย เป็นคำตัดสินเวลาที่มีคนคิดบวก
คิดยังไงให้มีความสุข
- คิดในสิ่งที่ดี สิ่งที่เป็นกำลังใจให้ตัวเราและคนอื่น
- คิดถึงรอยยิ้มของคนที่เรารัก
- คิดถึงเรื่องราวที่ประทับใจต่อตัวเรา หรือสิ่งที่คนอื่นทำแล้วทำให้เรารู้สึกประทับใจ
เราเกิดมาทำไม ? คำถามที่เรามักจะไม่ค่อยถามตัวเองอย่างจริงจัง ทำไมมนุษย์ถึงเกิดมา
เราเกิดมาทำไม
คำตอบของคำถามนี้แต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน เพราะความหมายของการเกิดมาอยู่ที่ปักเจกบุคคลไม่มีอะไรที่ตายตัว มีทั้งในทางเชิงปรัชญา ศาสนา
แต่ความหมายในการเกิดมาที่จะมากล่าวถึงวันนี้คือ เราเกิดมาเพื่อที่จะทำอะไรบางอย่าง ได้โอกาสอะไรบางอย่าง หรือมีเป้าหมายอะไรบางอย่างไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายเล็ก ๆ หรือยิ่งใหญ่ก็ตาม
ความสุขในทางจิตวิทยา
ในมุมของนักจิตวิทยา Well-Being สุขภาวะทางจิต คือ การไม่เจ็บไข้ได้ป่วยทางกายและใจ ใช้ชีวิตได้อย่างราบรื่นไม่มีอะไรมาติดขัด ถ้าเราป่วยหนักมากในระยะยาวสภาพจิตใจก็จะย่ำแย่ลง
ถ้าเราเจ็บป่วยทางจิตใจจะส่งผลกับร่างกายได้เหมือนกัน จะเห็นได้ว่าร่างกายกับจิตใจสองสิ่งนี้มีความเชื่อมโยงกัน
เกิดมาเพื่อชดใช้กรรม
เราไม่มีทางรู้ว่าเราเคยทำอะไรมา ไม่มีอะไรการันตีได้ว่าเรามีกรรมอะไรที่ต้องแก้ พยายามให้ความสำคัญกับปัจจุบัน สุดท้ายแล้วสัจธรรมของมนุษย์คือการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย
ทำทุกวันให้ดีเพราะถ้าปัจจุบันดีจะส่งผลให้อนาคตของเราเกิดสิ่งดี ๆ ตามไปด้วย เราจะไปข้างหน้าได้ต้องทิ้งบางสิ่งไว้ข้างหลัง ถ้าเราต้องพกอดีตไปกับเราทุกที่จะทำให้เราเดินทางในการใช้ชีวิตอย่างลำบาก
เมื่อมีคำถามว่า เราเกิดมาทำไม ?
ถ้าหากว่ามีคนอื่นที่เป็นตัวแปรให้เราตั้งคำถาม เช่น คนอื่นถามว่าเราเกิดมาทำไมในเชิงที่เป็นลบ แล้วเรารู้สึกว่ามันไม่สมควร ไม่ถูกต้อง เราอาจจะต้องสู้เพื่อตัวของเราเองเพื่อไม่ให้เขามาตั้งคำถามที่ไม่ดีกับเรา
แต่หากเราเกิดคำถามนี้กับตัวเอง ความหมายของชีวิตที่เราเกิดมาอยู่ที่แต่ละคนจะตามหา อาจจะเป็นสิ่งที่เราอยู่ด้วยแล้วเราสบายใจในการใช้ชีวิตก็ได้
อาการหมดไฟส่งผลให้เราไม่มีเป้าหมายชีวิตไหม?
อาการหมดไฟ เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ทำให้เราไร้เป้าหมาย ความรู้สึกเหนื่อยล้า ไม่มั่นใจในความสามารถตัวเอง ไม่อยากที่จะทำในสิ่งที่อยู่ตรงหน้าแล้ว สิ่งเหล่านี้ผสมรวมกันกลายเป็นอาการหมดไฟได้
และเมื่อเรามีอาการหมดไฟในสิ่งที่เราทำในชีวิตประจำวันมีความรู้สึกอยากลาออก หรือเปลี่ยนสิ่งที่ทำอยู่จะเกิดความรู้สึกโหวงในใจ ไม่รู้ว่าถ้าเราเปลี่ยนอะไรบางอย่างในชีวิตประจำวันไปจะมีสิ่งไหนมารองรับเราไหม
ส่งผลให้เกิดการไร้เป้าหมาย หมด Passion ได้
วิธีการหาเป้าหมาย
- ให้เวลาตัวเอง ใน 1 วันมนุษย์ใช้เวลาอยู่กับคนรอบตัวเยอะมาก ๆ ไม่ค่อยมีเวลาที่จะได้อยู่กับตัวเอง พยายามหาเวลาเพื่อค้นหาตัวเอง ตั้งคำถามกับตัวเอง
- เดินทางไปสถานที่ต่าง ๆ เพื่อหาแรงบัลดาลใจ
- ค้นคว้าในสิ่งที่เราชอบ สิ่งที่เรามีความสุข
คนเราจำเป็นต้องมีความฝันไหม?
การจะมีความฝันหรือว่าไม่มีความฝันไม่ใช่ทุกคนที่จำเป็นต้องมี แต่อย่างน้อยที่ควรมีคือ ขั้นบันได ที่จะก้าวขึ้นไป ถึงจะเป็นก้าวเล็ก ๆ ก็สำคัญมาก ๆ แล้ว ไม่จำเป็นต้องมีความฝันตั้งแต่เกิด
เราสามารถใช้เวลาที่เราเผชิญสิ่งต่าง ๆ บนโลก เวลาเจอสิ่งที่ชอบเรานำสิ่งนั้นมาเป็นความฝันของเราได้
การตั้งคำถามกับตัวเองก็สำคัญมาก ๆ เช่น ช่วงนี้เราชอบทำอะไร อยู่กับอะไรแล้วมีความสุข การตั้งคำถามเล็ก ๆ อาจจะเป็นบันไดไปสู่คำตอบว่าเราเกิดมาทำไม 🙂
การเป็นผู้ใหญ่ไม่ใช่เรื่องง่าย นี่เรากำลังอยู่ในวิกฤตที่เรียกว่า ” Quarter-life crisis ” อยู่หรือเปล่า? เราจะรับมืออย่างไรในวันที่รู้สึกว่าชีวิตไม่เป็นในแบบที่เราตั้งใจ?
Quarter-life crisis เพราะการเป็นผู้ใหญ่ไม่ใช่เรื่องง่าย
รู้จัก Quarter-life crisis
จากเว็บไซต์ frontiers in บทความที่มาจากงานวิจัย ให้ข้อมูลไว้ว่า Quarter-life crisis เป็นวิกฤตทางพัฒนาการอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่หรือมีอายุประมาณ 18-30 ปี มีลักษณะสำคัญ คือ
1. เกิดความแปรปรวนทางอารมณ์ รู้สึกติดขัด รู้สึกว่าอยากเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง
2. รู้สึกสับสนกับความเป็นผู้ใหญ่ของตัวเอง รู้สึกเหมือนตัวเองติดอยู่ตรงกลางระหว่างคำว่า “วัยรุ่น” กับ “วัยผู้ใหญ่”
นิยามของคำว่า Quarter-life crisis
1. เป็นช่วงเวลาของการทำความรู้จักตัวเองและโลกใบนี้
2. เป็นช่วงเวลาที่บทบาทและความสัมพันธ์ยังไม่มั่นคง
3. เป็นช่วงเวลาที่กำลังปรับตัว พยายามทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้มีอนาคตที่ดี
4 ขั้นของ Quarter-life crisis
จากเว็บไซต์ mindbodygreen กล่าวว่า Quarter-life crisis มี 4 ขั้น ได้แก่
1. the initial crisis
เป็นช่วงเริ่มต้นของวิกฤต เริ่มรู้ตัว เริ่มรู้สึกว่าตัวเองติดขัด ไม่มีจุดมุ่งหมาย สับสนในตัวเองและอนาคต
2. the grappling
เป็นช่วงที่รู้สึกว่าตัวเองตกอยู่ในสภาวะที่ยากลำบาก รู้สึกโดดเดี่ยว รู้สึกกลัวที่จะต้องใช้ชีวิตต่อ ในขั้นนี้ทำให้เกิดความพยายามที่จะต่อสู้
3. making strides
เป็นช่วงที่พอต่อสู้กับวิกฤติไปสักระยะ ในขั้นนี้เราจะเริ่มรู้สึกว่ามีทางออก มีสิ่งที่ต้องเปลี่ยนแปลง เลยเริ่มลงมือทำ
4. resolution
เป็นช่วงที่เราจะรวบรวมตัวเองกลับมา แล้วเดินต่อไปข้างหน้าอย่างแข็งแรงขึ้น มีความมั่นใจ มีการดูแลเอาใจใส่ตัวเอง และรู้สึกว่าชีวิตถูกเติมเต็ม
Quarter life crisis กับ เบญจเพศ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
เบญจเพศ แปลว่า 25 เป็นความเชื่อหนึ่งว่า เมื่ออายุ 25 ปี ทุกคนต้องซวย ต้องเจอเรื่องไม่ดี ต้องเจอกับเหตุการณ์ร้ายแรงที่เปลี่ยนชีวิต
เทียบกับ Quarter life crisis ทั้ง 2 อย่างเหมือนกันตรงที่พูดถึงความยากลำบากบางอย่างที่จะต้องเจอในช่วงเวลาหนึ่ง แต่แตกต่างกัน ดังนี้
1. ช่วงอายุ
เบญจเพศจะพูดถึงในช่วงอายุ 25 อย่างเดียวเท่านั้น แต่ Quarter life crisis จะพูดถึงช่วงอายุที่มี range กว้างกว่านั้น คือ ประมาณ 18-30 ปี
2. ลักษณะ
เบญจเพศจะเอนเอียงไปทางความเชื่อมากกว่า แต่ Quarter life crisis จะพูดถึงปัญหาที่ต้องเจอในวัยนั้น เช่น กังวลกับอนาคต ไม่รู้จักตัวเองดีพอ
เบญจเพศ วิกฤตที่มากกว่าความเชื่อ
นักวิจัยจาก Harvard Business Review กล่าวไว้ว่า เมื่ออายุ 25 ปี จะเป็นปีที่ระดับความกังวลและความเครียดเพิ่มขึ้น เพราะช่วงก่อนอายุ 25 ปีจะเป็นช่วงที่เรามองโลกในแง่ดี
แต่หลังจากนั้น ความจริงในชีวิตจะทำให้เรามีความเครียดทางจิตใจเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนต้องตกอยู่ในวิกฤตเบญจเพศ แต่อารมณ์เชิงลบเหล่านี้จะบรรเทาลงเมื่อมีอายุ 30 ปีขึ้นไป
เพราะเราได้เรียนรู้การจัดการอารมณ์เเละปรับเปลี่ยนมุมมองของตัวเอง ซึ่งนักจิตวิทยาเชื่อว่า นั่นคือตอนที่เราเรียนรู้วิธีการใช้ชีวิตให้ดีขึ้น มีความสุขขึ้น ด้วยอารมณ์ของเราเองแล้ว
ปัจจัยที่ทำให้เกิด Quarter-life crisis
1. ตกงาน เจอกับความไม่มั่นคงในการทำงาน
2. เลิกรา จบความสัมพันธ์ที่มีความหมาย
3. ย้ายที่อยู่ในที่ที่ไม่มีใครรู้จัก
4. อยู่คนเดียวเป็นครั้งแรก
5. มีความไม่มั่นคงทางการเงิน
6. ต้องสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก
7. แต่งงานหรือมีความสัมพันธ์ที่ผูกมัด
8. เรียนจบแบบไม่มีแผนที่จะทำอะไรต่อไป
Quarter-life crisis และ Mid-life crisis แตกต่างกันอย่างไร
1. ช่วงอายุต่าง
Quarter-life crisis จะเป็นช่วงอายุ 18-30 แต่ Mid- life crisis จะเป็นช่วงอายุ 40-50 ที่เริ่มเข้าสู่วัยกลางคน
2. ปัญหาต่าง
เพราะจุดสำคัญของ Quarter-life crisis คือ ความรู้สึกที่สับสนในช่วงวัยเปลี่ยนผ่านจากวัยรุ่นสู่วัยผู้ใหญ่ แต่ Mid-life crisis จะเป็นวิกฤตของคนที่เป็นผู้ใหญ่มาหลายปีแล้ว
3. จุดสำคัญต่าง
Quarter-life crisis จะเน้นไปที่ “ความเร่งรีบ” ที่จะเป็นผู้ใหญ่แบบที่ควรจะเป็น แต่ Mid-life crisis จะเป็นเรื่องของ “การหมดเวลา” และความเศร้า เสียดาย และไม่พอใจในชีวิต
จากเว็บไซต์ helpguide บอกไว้ว่า Mid-life crisis ซึ่งเมื่อตกอยู่ในวิกฤตินี้จะมีอาการ คือ
1. รู้สึกเศร้า รู้สึกเสียดาย
2. ฝันกลางวัน เพราะรู้สึกเบื่อกับรูทีนเดิม ๆ
3. ไม่พอใจตัวเองและสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน
4. โหยหาถึงอดีต
5. มีพฤติกรรมตามใจตัวเอง
6. ความต้องการทางเพศเปลี่ยนแปลงไป
สาเหตุที่ทำให้เกิด Quarter-life crisis
1. ผู้ใหญ่ในวัยนี้ มักคิดวนแต่เรื่องเกี่ยวกับ ฉันอยากทำอะไร ฉันอยากมีอาชีพแบบไหน แล้วพอสิ่งที่เป็นขัดกับสิ่งที่อยากเป็น ทำให้ยากที่จะรับมือกับความจริงนั้น
2. เกิดจากการเปรียบเทียบ เช่น เห็นเพื่อนรุ่นเดียวกันใช้ชีวิตนำหน้าไปแล้ว ทำให้กลับมาสงสัยกับตัวเองว่า แล้วฉันล่ะ? แล้วฉันทำอะไรอยู่? ฉันผิดปกติตรงไหน?
3. เกิดจากความรู้สึกท้อแท้ เพราะการที่จะต้องก้าวสู่โลกแห่งความเป็นจริง ต้องใช้ชีวิตด้วยตัวเอง รับผิดชอบตัวเอง มันเป็นการก้าวผ่านที่รวดเร็ว ทำให้ความเครียด
4. เพราะไม่มีประสบการณ์มากพอที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ จึงเกิดความหวาดกลัว ทำให้ปรับตัวและตั้งรับหน้าที่ต่างๆ ที่มาพร้อมกับความเจ็บปวดไม่ทัน
5. มีความจำเป็นในชีวิต เพราะทุกคนมีเงื่อนไขในชีวิตต่างกัน บางคนมีความจำเป็นในชีวิตที่กดดันและบังคับให้รีบใช้ชีวิต รีบค้นหาตัวเอง รีบทำงาน ทำให้เกิดความเครียด
6. เร่งรีบในด้านการงานมากจนเกินไป หางาน วางแผนทางอาชีพ สัมภาษณ์งาน มากเกินไป ทำให้เกิดความเครียดและความกังวล เพราะเร่งรีบโดยที่ยังไม่รู้เลยว่าต้องการอะไร
ผลกระทบจาก Quarter-life crisis
จากเว็บไซต์ Choosing therapy กล่าวไว้ว่า วิกฤตนี้นำไปสู่อะไรได้หลายอย่าง
1. มีอาการซึมเศร้า (depression)
2. มีอาการตื่นตระหนกฉับพลัน (panic attack)
3. มีอาการติดบางสิ่งบางอย่าง (addiction)
4. มีอาการวิตกกังวล (anxiety)
5. มีความรู้สึกหมดหวัง (hopelessness)
จัดการตัวเองอย่างอย่างไร
1. สำรวจตัวเอง
สำรวจความคิดของตัวเอง แล้วลองแทนที่ด้วยความคิดที่มีเหตุมีผลมากขึ้น
2. ค้นหาและทำสิ่งที่ทำให้มีความสุข
ลอง Audit your days ด้วยการเลือกช่วงเวลาในทุกวัน เขียนสิ่งที่ทำ ความคิด ความรู้สึก เมื่อย้อนกลับไปอ่าน เราจะเห็นรูปแบบของกิจกรรมที่ทำให้มีแรงบันดาลใจและกิจกรรมที่ทำให้หมดแรง
3. วางแผนเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายที่วางไว้
เพราะการวางแผนจะช่วยบรรเทาความรู้สึกสับสน ความรู้สึกจับต้นชนปลายไม่ถูก การตั้งสติแล้วกลับมาดูเป้าหมาย มาดูแผนมี่วางไว้ ว่ามีแนวโน้มจะพาเราไปจุดที่ต้องการหรือไม่ เป็นเรื่องสำคัญ
4. ปรึกษาคนรอบข้างที่เคยประสบกับปัญหานี้หรือผู้เชี่ยวชาญ
ถ้าการสำรวจและดูแลเอาใจใส่ตัวเองไม่ได้ผล ยังไม่สามารถจัดการตัวเองได้ การปรึกษาคนรอบข้างที่เคยประสบกับปัญหานี้หรือผู้เชี่ยวชาญ จะทำให้เรารู้จักตัวเอง รู้จักวิกฤต และหาแนวทางที่เหมาะสมได้
https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fpsyg.2020.00341/full
https://www.choosingtherapy.com/quarter-life-crisis/
https://www.mindbodygreen.com/articles/quarter-life-crisis
https://www.facebook.com/sachminhtam.book/photos/a.568756763156069/4224109654287410/
https://www.arts.chula.ac.th/~artsgoz/wordpress/index.php/archive/quarter-life-crisis/
https://www.betterup.com/blog/quarter-life-crisis
ความรู้สึก โดดเดี่ยว เปล่าเปลี่ยวที่ไม่ว่าทำอย่างไรความรู้สึกนี้ก็ไม่หายไป ไขข้อสงสัยเรื่องความรู้สึกโดดเดี่ยว เหมือนอยู่ตัวคนเดียวทั้งที่มีคนรอบกาย 🙁
ความรู้สึก โดดเดี่ยว ?
อ้างอิงถึง Existential Psychotherapy เป็นแนวทางการบำบัดมุ่งเน้นหาความจริงของชีวิต คำว่าโดดเดี่ยวเทียบคำว่าภาษาอังกฤษได้ว่า Loneliness ในตำราหมายความว่า ความโดดเดี่ยว ไม่มีใครอยู่เคียงข้าง
ความรู้สึกโดดเดี่ยวที่เกิดขึ้นถ้าลองมองย้อนกลับไปอาจเป็นเพราะเรามีความรู้สึกที่ไม่ได้รับการเติมเต็มจากครอบครัว ซึ่งครอบครัวเปรียบเสมือนสิ่งแรกที่เราได้ทำความรู้จัก ได้รับความอบอุ่นหัวใจ
แต่เรากลับไม่ได้รับความรู้สึกนั้นมา และในขณะที่เราเติบโตขึ้นเราอาจจะขาดสิ่งที่คอยยึดเหนี่ยวจิตใจของเรา แต่บางคนอาจจะเจอจุด Triger แรง ๆ ที่ทำให้เกิดความสูญเสียจนรู้สึกโดดเดี่ยวเลยก็ได้
ความรู้สึกโดดเดี่ยว กับ ความรู้สึกเหงา เหมือนกันไหม?
ทั้งเหมือนทั้งแตกต่างสามารถคาบเกี่ยวกันได้ ความเหงา คือความรู้สึกเปล่าเปลี่ยวแต่ไม่ถึงขั้นโดดเดี่ยว ยังรู้สึกตัวว่าในความสัมพันธ์ใครแคร์เราหรือเราแคร์ใคร
แต่ถ้าเป็นความโดดเดี่ยวเราจะรู้สึกว่าไม่มีเลย ไม่มีใครอยู่ข้าง ๆ เราเลย
ความรู้สึกโดดเดี่ยว กับความรู้สึกอ่อนไหวจะมาพร้อมกันไหม?
คนที่โครงสร้างทางจิตใจที่ไม่มั่นคง เปราะบาง ความโดดเดี่ยวกับความอ่อนไหวอาจจะมาพร้อม ๆ กันได้
รู้สึกโดดเดี่ยวขนาดไหนถึงต้องเข้าพบผู้เชี่ยวชาญ
- สร้างพฤติกรรมเสี่ยงที่มีความคิดฆ่าตัวตาย
- ทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ เพื่อกลบความรู้สึกโดดเดี่ยว
ความคิดถึง เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าเราจะคิดถึงบ้าน คิดถึงเพื่อน คิดถึงแฟน หรือแม้แต่สิ่งของ สถานที่ วันนี้มาร่วมพูดคุยเกี่ยวกับ ความคิดถึง ผ่านมุมมองของนักจิตวิทยา
นิยามของ ความคิดถึง
ความคิดถึงคือ ความต้องการอย่างแรงกล้า ต่อสิงใดสิ่งหนึ่ง หรือ บุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งที่อยู่ไกล ไม่สามารถเข้าหา หรือไม่ได้รับการตอบสนองจากสิ่งนั้น
ความคิดถึงมาจากไหน
ความคิดถึงมาจากการตอบสนองทั่วไปต่อการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นเมื่อเราอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านของชีวิต เช่น การเติบโตเป็นผู้ใหญ่, วันเกษียณ ,การย้ายถิ่นฐาน หรือแม้แต่การเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยี เป็นต้น
ความคิดถึงมักเกิดจากอารมณ์เชิงลบเป็นหลัก แต่โดยทั่วไปความคิดถึงมาพร้อมกับรสชาติที่หวานหอมและขมขื่น เนื่องจากเราไม่สามารถสัมผัสช่วงเวลาที่คิดถึงได้อย่างเป็นรูปธรรม
คิดถึงอย่างไรให้มีความสุข
การคิดถึงโดยไม่เป็นทุกข์ นั่นขึ้นอยู่กับตัวบุคคลว่าจะสามารถกำกับตัวเองได้มากน้อยเพียงใด เพราะการคิดถึงนั่นก็อาจจะไม่ได้ทำให้ทุกอย่างแย่ลงเสมอไป
และอาจจะต้องมีความรู้สึกเช่นนี้บ้าง เพื่อให้เราได้เห็นคุณค่า หรือสะท้อนให้ชีวิตได้เห็นอะไรบ้างอย่าง
ประโยชน์ของความคิดถึง
1. ความคิดถึงสามารถพาเราออกจากความเจ็บปวด หรือความว่างเปล่าได้ในช่วงเวลาหนึ่ง
2. พาชีวิตให้มีสีสัน
3. มองเห็นมุมมองที่หลากหลายในชีวิต
ความคิดถึงเกิดขึ้นได้ช่วงเวลาไหนบ้าง
ความคิดถึงเกิดขึ้นเป็นช่วง ๆ เวลา หากความคิดถึงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาอาจจะต้องเข้าพบคุณหมอ เพราะอาจจะมีอาการของจิตเวชบางประการเกิดขึ้น
คิดถึงจนเป็นทุกข์ทำอย่างไร
สิ่งแรกที่ทำได้ คือ ทำความเข้าใจความทุกข์ที่เกิดขึ้น ว่าเกิดจากอะไร มีความรู้สึกใดซ่อนอยู่ เมื่อเข้าใจแล้วให้เราเข้าไปจัดการกับความรู้สึก มากกว่าจัดการกับสภาวะคิดถึงที่เกิดขึ้น
คิดถึง และ นึกถึง ต่างกันอย่างไร
นึกถึง คือ การใช้สมองเพียงอย่างเดียวในความคิดนั้น แต่ความคิดถึง จะใช้ทั้งใจ และความรู้สึกร่วมด้วยในความคิดนั้น
มีความสุขจังเลย,วันนี้รู้สึกไม่มีความสุขเลย แท้จริงแล้ว ความสุขคืออะไร ในทางจิตวิทยา
ความสุขคืออะไร ในทางจิตวิทยา
ช่วงเวลาที่หัวใจเต้นแรง และจิตใจจะสัมผัสได้ถึงความพองโต รู้สึกถึงความสดใสที่เข้ามาในชีวิต
นิยามความสุขโดยส่วนตัวของนักจิตวิยา
การใช้ความรู้สึกของตัวเองบอกตัวเองว่าสิ่งนี้คือความสุขของเรา
ในวันที่เกิดควาทุกข์ขึ้นจะเกิดความสุขได้อย่างไร
ในวันที่เราเจอกับความทุกข์ ไม่ต้องรีบมองหาความสุข แต่อยากให้ทำความเข้าใจความทุกข์ที่เกิดขึ้น รับมือให้ได้ด้วยวิธีของตัวเอง
ความสุขและความสุขที่แท้จริงคือสิ่งเดียวกันไหม
ความสุขและความสุขที่แท้จริงเป็นสิ่งเดียวกัน แต่ความสุขที่ไม่แท้จริง คือสิ่งที่เราคิดว่าหากทำลงไปจะมีความสุข แต่เมื่อลงมือทำแล้วความสุขไม่ได้เกิดขึ้นจริง
ความสุขที่มีคุณภาพ อาจเป็นความสุขที่มั่นคง ถาวร มาตามช่วงเวลาไม่เกิดจากการหลอกตัวเอง
การสร้างความสุขสู่คนรอบข้าง
การส่งต่อความสุขให้คนอื่นได้โดยการ ไม่เข้าไปเป็นเรื่องแย่ ๆ ให้กับคนอื่น ยื่นมือช่วยเหลือบางครั้งที่มีโอกาส
บางครั้งการทำให้ผู้อื่นมีความสุขอาจสร้างทุกข์ให้กับตัวเอง ฉะนั้นการหยิบยื่นความสุขให้คนอื่นก็ต้องคงความเป็นตัวของตัวเองไว้
สรุป
ความสุขมีหลายระยะ เริ่มจาก ความสุขใกล้ตัว ไกลตัว หรือไกลมาก ๆ แต่สิ่งที่สำคัญคือเรามองความสุขของเราเป็นอย่างไร อะไรคือความสุขของเรา
วันนี้อาจยังไม่เจอคำตอบ และหากถามตัวเองไปเรื่อย ๆ เราอาจจะเจอคำตอบที่เป็นของตัวเองก็ได้