Posts

ส่วนใหญ่ สังคมมักให้ความสำคัญกับคำถามที่ว่า จะจัดการความรู้สึกของตัวเองอย่างไรดี เมื่อต้องอยู่ร่วมกับคน Toxic แต่ส่วนน้อยที่จะตั้งคำถามว่าถ้า ถ้าเราเป็นคน Toxic

แต่ถ้ามองกลับกัน หากเราเป็นคน Toxic เสียเอง เราจะตระหนักรู้ในตัวเองได้อย่างไร และเมื่อรู้ตัวแล้ว เราจะจัดการอย่างไรดี? 

 

ถ้าเราเป็นคน Toxic

รู้จักคำว่า Toxic แบบไหนที่เรียกว่า Toxic?

 

Toxic เป็นอะไรที่ทำให้เรารู้สึกว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่เราได้เข้าไปอยู่ใกล้ ๆ ใครสักคนหนึ่งจะได้รับแต่พลังลบ ๆ กลับมา รู้สึกหมดแรงรู้สึกเหมือนค่อย ๆ โดนวางยาพิษจนอยากจะหนีออกให้ห่างจากตรงนั้นไป

 

และข้อมูลจาก POBPAD บอกว่านิสัย Toxic คือคนที่มีนิสัยชอบยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง ชอบควบคุมบงการคนอื่น เจ้าอารมณ์เป็นที่สุด และอาจจะรวมถึงคำพูดและการกระทำของของเขา

 

สามารถไปทำร้ายคนรอบตัวให้เกิดความรู้สึกที่แย่ เครียด และเจ็บปวด ซึ่งแน่นอนว่าการที่ต้องอยู่ใกล้กับคนเป็นพิษจึงเป็นการทำร้ายคนรอบตัวได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ

 

ข้อมูลเพิ่มเติมอ้างอิงจากเว็บไซต์ MD

Toxic หมายถึง การมีพฤติกรรมที่ทำให้อีกฝ่ายในความสัมพันธ์ เกิดความลำบากใจ อึดอัด หรือมีความรู้สึกทางลบอื่น ๆ เแต่ที่น่าสนใจ คือ  สาเหตุที่คน ๆ หนึ่ง Toxic ใส่คนอื่น

 

ส่วนหนึ่งมาจากการที่เขาพยายามจัดการกับความเครียด ปม หรือ บาดแผลในจิตใจ ที่เรียกว่า ทรอม่า (trauma) ของตนเอง 

 

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ บางคนอาจจะมีพฤติกรรม Toxic คือ เอาแต่ใจ อยากได้อะไรต้องได้พอไม่ได้ดั่งใจจะแสดงความไม่พอใจใส่คนอื่น  ซึ่งเบื้องหลังอาจจะมาจากปมในจิตใจของเขา เช่น พ่อแม่ทำงานหนัก

 

ทำให้ในวัยเด็กไม่เคยได้รับการตอบสนองในเวลาที่ต้องการ พอมีคนที่ตอบสนองเขา  เขาเลยรู้สึกว่าเขาสามารถเรียกร้องจากคน ๆ นี้ได้ ซึ่งบางครั้งมันมากเกินไปก็กลายเป็นว่า Toxic ใส่อีกฝ่าย 

 

หรืออาจจะเป็นอีกแบบไปเลยก็ได้ คือ ได้รับการตอบสนองมาโดยตลอด ถูกสปอยล์ ทำให้เขามีความคิดที่ว่าจะต้องได้ พอไม่ได้ทำให้เกิดความเครียด จึงเอาแต่ใจ เรียกร้องสิ่งต่าง ๆ จากผู้อื่นอยู่ตลอด  

 

ซึ่งอันนี้เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น ยังมีพฤติกรรมต่าง ๆ อีกมากมายที่มีมากกว่านั้น แล้วแต่บุคคล ดังนั้นการจะรู้ได้ต้องเริ่มจากการสำรวจตัวเอง แต่บางครั้งสิ่งที่อยู่ในจิตใจไม่ใช่อะไรที่เราจะสามารถขุดมันออกมา

 

ได้ด้วยตัวเองเสมอไป เพราะบางครั้งบาดแผลนั้นเกิดขึ้นมานานแล้ว อาจทำให้เราจำไม่ได้ แต่สิ่งนั้นกลับยังส่งผลต่อเราอยู่ก็เป็นได้ 

 

ถ้าเราเป็นคน Toxic เองล่ะ ? 

อาจต้องเริ่มกลับมามองตัวเองและสำรวจตัวเองดูก่อนว่า เราเคยมีนิสัยอะไรบ้างไหมนะ ที่ Toxic ลองหาข้อมูลเพื่อมาสำรวจตัวเองดูว่านิสัยแบบไหนที่เรียกว่า Toxic ซึ่งถ้าแชร์ประสบการณ์ของตัวเอง

 

นิสัยที่เคย Toxic อาจจะเป็นเรื่องของการ ชอบตัดสินคนอื่น แอบเผลอวิจารณ์คนอื่น ด่วนตัดสินคนอื่นทั้งที่เรายังรู้จักเขาไม่ดีพอ หรือเพิ่งเคยเจอเขาเพียงครั้งเดียวเท่านั้นเราก็แอบเผลอไปตัดสินคนนั้นแล้ว

 

ว่าเขาต้องเป็นคนแบบนั้นนะ เขาต้องเป็นคนแบบนี้แน่เลย สาเหตุก็อาจเกิดจากการที่เรา ยังไม่ทันรู้จักเขาดีพอ เพียงแค่เห็นเขาจากภายนอก เช่น สีหน้า ท่าทางของเขาบางอย่าง

 

ก็ด่วนสรุปไปตัดสินเขาแล้วว่าเขาต้องเป็นคนแบบนั้นแน่ ๆ 

 

อีก 1 ประสบการณ์ที่อยากแชร์ คือ หากเราเป็นคนที่ถ้าสนิทกับใครสักคนไปสักระยะหนึ่ง ชอบมีนิสัยลองใจ คือตั้งใจที่จะแสดงด้านที่ไม่โอเค เช่น เอาแต่ใจ งี่เง่า เพราะอยากรู้ว่าถ้าเราเป็นแบบนี้ เขาจะยังอยู่กับเราไหม

 

ซึ่งมันก็มาจากความรู้สึกไม่มั่นคงข้างในลึก ๆ ไม่แน่ใจว่าเขารักเราจริง ๆ ไหม ซึ่งเป็นพฤติกรรม Toxic ที่ไม่ดีทั้งต่อเราและคนรอบข้างอย่างหนึ่งเช่นกัน

 

ทำอย่างไรให้รู้ตัวเอง เมื่อเรามีพฤติกรรม Toxic ? 

เริ่มจากการสังเกตปฏิกิริยาของคนรอบข้าง แน่นอนว่าพอเรามีพฤติกรรมที่ Toxic คนรอบข้างอาจจะเริ่มหลีกเลี่ยง ไม่อยากอยู่ใกล้เราบรรยากาศเริ่มอึดอัด ตึง ๆ ระหว่างกัน หรือถึงขั้นว่าความสัมพันธ์ระหว่างเรากับเขา

 

อาจจะเปลี่ยนแปลงไปเลยก็ว่าได้ เช่น สนิทกันน้อยลง พูดคุยกันเฉพาะเรื่องที่จำเป็นที่ต้องคุยเท่านั้น และในบางครั้ง การพูดคุยกับคนรอบข้างหรือผู้เชี่ยวชาญเองก็อาจทำให้เราเห็นตัวเองได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นเช่นกัน

 

เพราะเขาอาจจะสะท้อนให้เรารู้ถึงเกี่ยวกับพฤติกรรมของเราได้นั่นเอง 

 

ซึ่งแน่นอนว่าหลายคนเองอาจจะไม่เคยสังเกตตัวเองเลยด้วยซ้ำไป ว่าเราเป็นคนที่มีนิสัย Toxic หรือไม่ เพราะมัวแต่มองว่าคนอื่นเขา Toxic  ดังนั้นเพื่อเป็นการสำรวจไปพร้อมกับเราในวันนี้

 

แบบสำรวจนิสัยที่เรียกว่า Toxic มาให้คุณผู้อ่านได้ลองสำรวจตัวเองด้วยกัน 15 ข้อ มีดังต่อไปนี้ 

1. จอมบงการ

2. ขี้ตัดสิน

3. ขี้โบ้ย

4. หลงตัวเอง

5. ขี้อิจฉา

6. ความคิดติดลบ

7. ขี้นินทา

8. เห็นแก่ตัว

9. พวกร้องขอทุกอย่าง

10. เจ้าอารมณ์

11. ขอโทษไม่เป็น ยินดีกับคนอื่นไม่เป็น

12. ฉวยโอกาสจากความดีของคนอื่น

13. ชอบทำให้คนอื่นขายหน้า

14. ชอบตัดสินผู้อื่น

15. ชอบโอ้อวดตัวเอง ยกตัวเองเหนือคนอื่น

 

หลังจากที่เราสำรวจตัวเองกันพอรู้บ้างแล้ว ขั้นตอนต่อมาที่เกิดเป็นอีกคำถามสำคัญคือ เราจะจัดการตัวเองให้เลิก Toxic ใส่คนอื่นได้อย่างไร ?

 

เริ่มต้นจากการให้กำลังใจตัวเองเล็ก ๆ ก่อน ว่าตอนนี้เรารู้ตัวและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง เพราะบางคนอาจรู้ตัวเอง แต่กลับด่าว่าท้อตัวเองเสีย ๆ หาย ๆ กดดันตัวเอง พูดกับตัวเองไม่ดีว่าทำไมเราถึงเป็นคนแบบนี้

 

ซึ่งการกระทำแบบนี้มีแต่จะยิ่งทำให้ทุกอย่างนั้นแก้ไขได้ยากมากขึ้นกว่าเดิม 

 

หลังจากที่เราได้ให้กำลังใจตัวเองแล้ว อาจจะต้องลองสำรวจตัวเองอย่างจริงจัง ว่าเรามีนิสัยอะไรที่เรียกว่า Toxic และสิ่งนั้นมันเกิดขึ้นจากอะไร สิ่งที่สำคัญมาก คือ เราต้องรู้ตัวเองก่อนถึงจะไปจัดการกับสิ่ง ๆ นั้นได้อย่างถูกวิธี

 

และแน่นอนว่าบางครั้งการเปิดอกพูดคุยกับคนรอบข้าง หรือ การไปพบผู้เชี่ยวชาญอาจจะทำให้เรารู้จักตัวเองได้ดีมากยิ่งขึ้น จากการที่ให้เขาช่วยสะท้อนตัวเราออกมา 

 

และสุดท้ายนี้คือ หยุด ! ถ้าหยุดได้ต้องรีบหยุด แต่ในบางเคส อาจจะติดเป็นนิสัยไปแล้ว อันนี้อาจจะต้องใช้การ ลด ละ เลิก และการมีสติ ตระหนักรู้ในตัวเอง ว่าตอนนี้เรากำลังทำแบบนี้อีกแล้ว

 

พยายามรู้ตัวแล้วรีบหยุดในทันที และกล่าวขอโทษคน ๆ นั้นอย่างจริงใจ และสุดท้ายนี้การได้รับพลังบวก การอ่านหนังสือที่เป็นแนวคิดต่าง ๆ ที่สามารถช่วยสร้างพลังบวกให้กับเราได้ เป็นสิ่งที่จะช่วยค่อย ๆ

 

ทำให้เราปรับเปลี่ยนนิสัยตัวเองไปทีละนิด ปรับมุมมองของเราไปทีละหน่อย และค่อย ๆ เปลี่ยนเราเป็นคนใหม่ที่ดีมากยิ่งขึ้น สิ่งที่เราพยายามย่อมเกิดผลตามที่เรากระทำ

 

หากไม่อยากเป็นคนที่คนอื่นไม่อยากคบหา จงพยายามปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อสิ่งที่ดี เพื่อคนรอบข้างที่เรารัก

 

อ้างอิง :

รู้จัก Toxic people

 

ความรู้สึก ไม่มั่นใจตัวเองในที่ทำงาน ไม่กล้าตัดสินใจในการทำงาน ทำให้เรารู้สึกแย่กับตัวเอง เวลามองดูคนอื่นที่เขามีความมั่นใจกล้าตัดสินใจยิ่งทำให้เราด้อยค่าประสิทธิภาพในการทำงานของตัวเองทุกที

 

หรือว่าเรายังดีไม่พอนะ? ไม่กล้าที่จะตัดสินใจจริง ๆ จัง ๆ แบบนี้เราควรทำอย่างไรให้กลายเป็นคนกล้าตัดสินใจ

 

ความรู้สึกไม่มั่นใจตัวเองในที่ทำงานทั้งที่จริงแล้ว เราอาจจะเก่งกว่าที่เราคิด เกิดจากอะไรได้บ้าง . .

สารบัญ

“Low-self esteem”

Low-self esteem จนทำให้เกิดความไม่มั่นใจในตนเองในหลาย ๆ ด้าน คิดว่าตัวเองไม่เก่ง เก่งไม่พอไม่มีความมั่นใจในการทำงานเลย ไม่กล้าทำอะไรจนไม่กล้าที่จะให้ตัวเราเองต้องมีความเสี่ยง

 

ในการทำงาน ไม่กล้าเสนอไอเดียใหม่ ๆ เพราะกลัวว่ามันยังดีไม่พอ หรือไม่มั่นใจที่จะพูดออกไป ไม่กล้าออกจาก comfort zone ของตัวเอง เพราะการก้าวไปมากกว่านี้ มันเกินความมั่นใจของเราเองไปแล้ว 

“กลัวความผิดพลาดจนไม่กล้าทำอะไร”

ถ้าไม่กล้าทำอะไรก็จะไม่ได้มีความก้าวหน้าอะไรเลย กลัวผิดพลาดจนไม่กล้าลองทำอะไรใหม่ ๆ ไม่กล้าออกมาจาก comfort zone คนที่มีความกังวล ความกลัวว่าจะทำอะไรผิดพลาด

 

 

Atelophobia?

Atelophobia คือโรคกังวลอย่างหนึ่ง คนที่เป็นมักกังวลว่าจะทำอะไรผิดพลาด กลัวที่จะทำอะไรพลาดไป ทำได้ไม่ดีพอ กลัวความล้มเหลวและมักทำให้ตัวเองไม่กล้าที่จะทำอะไรในชีวิต

 

คนที่มีภาวะนี้มักจะคิดถึงความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง จนบางครั้งทำให้ไม่กล้าที่จะลงมือทำอะไรเลย

 

 

ความไม่มั่นใจตัวเองเริ่มต้นมาจากอะไร?

หลัก ๆ เลยมาจากการเลี้ยงดูของครอบครัวในวัยเด็ก จากทฤษฎีบุคลิกภาพของอีริคสัน ที่มีพัฒนาการตามลำดับช่วงวัยทั้งหมด 8 ขึ้น ซึ่งการที่คนคนนึงเติบโตขึ้นมาจะมีความมั่นใจหรือไม่มีความมั่นใจจะอยู่ใน 3 ขั้นแรก 

ขั้นที่ 1 ความไว้วางใจหรือความไม่ไว้วางใจ (Trust VS Mistrust) 

 

ในช่วงปีแรกของชีวิต ถ้าเด็กได้รับความรักความอบอุ่น ความเอาใจใส่จากพ่อแม่ เด็กจะพัฒนาความรู้สึกไว้วางใจคนอื่น แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าเด็กไม่ได้รับในสิ่งที่เขาต้องการ เด็กจะเกิดความสงสัย ความกลัว

 

และความไม่ไว้วางใจคนอื่น เด็กจะเริ่มมีความกลัวตั้งแต่ขั้นนี้เลย

ขั้นที่ 2 ความเป็นตัวของตัวเองหรือความสงสัย (Autonomy VS Doubt & Shame)

 

ในช่วงขวบปีที่ 2 ถ้าเด็กได้มีโอกาสสำรวจและลงมือตามความอยากรู้อยากเห็น ความสามารถของตัวเอง เด็กก็จะพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง รู้จักควบคุมตนเอง แต่ถ้าเด็กถูกขัดขวางหรือไม่มีโอกาส

 

เขาจะเกิดความไม่กล้าทำสิ่งใด เกิดความสงสัยในความสามารถของตัวเอง เกิดความคิดว่าตัวเองไม่มีความสามารถ

ขั้นที่ 3 ความคิดริเริ่ม หรือความสำนึกผิด (Initiative VS Guilt)

 

ในช่วง 3-5 ขวบ ถ้ามีการกระตุ้นให้เด็กได้แสดงความสามารถอย่างมีเป้าหมาย และทิศทางที่แน่นอน เด็กก็จะพัฒนาการมีความคิดริเริ่ม แต่ถ้าเด็กถูกตำหนิ ถูกห้ามก็จะรู้สึกผิดหวัง

 

รู้สึกกลัวว่าตัวเองจะทำอะไรผิด ๆ ลงไป ไม่กล้าตัดสินใจ

 

สามขั้นแรกนี้จะส่งผลต่อเด็กให้เติบโตมามีบุคลิกภาพยังไงบ้าง การมีความมั่นใจหรือไม่มั่นใจ มีความกลัวหรือความกล้า ก็อยู่ที่พิ้นฐานการเลี้ยงดูของครอบครัว

 

ไม่มั่นใจตัวเองในที่ทำงาน ทำอย่างไร?

1. เชื่อในตัวเอง

ต้องมีความเชื่อมั่นและยอมรับในความสามารถของตัวเอง ให้เชื่อเสมอว่าเราสามารถทำได้ ฝึกความมั่นใจให้ตัวเอง

2. คิดบวก (Positive Thinking)

ปรับทัศนคติของตัวเอง ลองคิดว่าเราเองก็มีความสามารถ เราเองก็มีความเก่งในแบบของเราเองและให้มองความผิดพลาดเป็นสิ่งที่ช่วยให้เราได้เกิดการเรียนรู้ เราต้องกล้าลองทำอะไรใหม่ ๆ ดูบ้าง

3. เพิ่มทักษะสร้างความมั่นใจ (Self -Confidence)

ลองค้นหาสิ่งที่ตัวเองถนัด สิ่งที่ทำแล้วมีความสุข ลองใช้ช่วงนั้นเวลาอยู่กับตัวเอง จะช่วยให้รู้สึกว่าตัวเราก็มีความสามารถมีสิ่งดี ๆ ไม่ได้ด้อยไปกว่าใคร หรืออาจจะไปลงเรียนหรือศึกษาสิ่งใหม่ ๆ เพิ่มเติมเพื่อเป็นการอัพสกิลตัวเอง

4. ตั้งเป้าหมายให้ตัวเอง

ลองตั้งเป้าหมายให้กับตัวเอง และเตือนตัวเองว่าจะต้องไปถึงเป้าหมายของเราให้ได้

 

ผลกระทบของการ ไม่มั่นใจตัวเองในที่ทำงาน

1. ติดอยู่แต่ใน Comfort Zone

ไม่กล้าลองสิ่งใหม่ ๆ ทำให้ไม่กล้าทำสิ่งใหม่ ๆ ที่ท้าทาย ไม่เกิดการเรียนรู้และพัฒนาตัวเอง และอาจจะทำให้พลาดโอกาสในการเติบโตด้านการงาน

2. ขาดโอกาสในการเติบโต

เมื่อขาดความมั่นใจและยึดติดอยู่กับ Comfort Zone จะทำให้ขาดโอกาสในการเติบโตด้านหน้าที่การงาน 

 

คนทุกคนมีจุดเด่นของตัวเองในรูปแบบที่แตกต่างกันไป อย่าเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับใครเพราะจะทำให้เสียความมั่นใจได้  ถ้าเราอยากพัฒนาตัวเองอยากมีความก้าวหน้าในการทำงาน

 

เราก็ต้องสร้างความมั่นใจให้ตัวเอง เราต้องมีความมั่นใจว่าเราทำได้ ให้ลองทำดูก่อนเราอาจจะทำได้ดีกว่าที่คิดก็ได้และเราทุกคนก็มีความเก่งในตัวเอง

 

 

“No Body Perfect ทุกคนต่างมีจุดเด่นจุดด้อยในตัวเอง”

ความรักเป็นสิ่งที่สวยงาม แต่มันคงจะดีกว่านี้ถ้าหากเรา คบกับแฟนได้นาน ๆ แต่ระหว่างทางมักจะมีอุปสรรคที่หลีกหนีไม่ได้อยู่แล้ว แต่วันนี้เราจะมาพูดถึงประเด็น คบกับแฟนอย่างไร ให้รักกันไปนาน ๆ

ทำไมถึง คบกับแฟนได้ไม่นาน? 

เคยไหม? ที่เรารู้สึกว่าทำไมความรักของเราถึงไม่ยาวนานเหมือนกับคนอื่น ๆ เลยหรือรู้สึกตกใจทุกครั้งเวลาเห็นบางคนที่คบกันไปนาน ๆ สาเหตุอาจจะมาบอกสิ่งเหล่านี้

1. ยังไม่พร้อมเปิดใจให้ใครเข้ามาจริง ๆ

ความรู้สึกที่เราอยากมีใครสักคนอยู่ข้าง ๆ กันมันไม่ใช่แค่ความอยากแต่มันต้องเป็นความรู้สึกที่เราพร้อมที่จะเรียนรู้ซึ่งกันและกันจริง ๆ ถ้าเราอยากที่จะมีมันอาจจะมาแค่แปปเดียว

 

แต่ถ้าเราพร้อมที่จะเรียนรู้ทำความเข้าใจกับเขาในระยะเวลาเราก็จะเรียนรู้กันไปเรื่อย ๆ จนกลายเป็นความรัก ความผูกพันธ์

2. ยังรักความเป็นอิสระ

ในกรณีที่บางคนมีความรักอิสระในตัวเอง พอมีแฟนก็ยังติดนิสัยที่รักอิสระจนกระทบความสัมพันธ์

3. การเลี้ยงดู

บางคนก็เติบโตมาด้วยการถูกตามใจ การให้ความอบอุ่นที่มากพอทำให้พอมีแฟนเลยเผลอทำนิสัยเอาแต่ใจกับแฟนบ้าง หรือไม่มีเหตุผลในความสัมพันธ์

4. ความต้องการไม่เท่ากัน/รักหมดโปร

กลายเป็นคนแบกความสัมพันธ์เมื่อความรู้สึกไม่เท่ากัน เหมือนกับทำงานคนเดียวจนเกิดความรู้สึกเหนื่อยเลยทำให้เกิดการเลิกรา

5. ขาดการสื่อสารกัน

สื่อสารกันน้อยหรือสื่อสารไม่ตรงกันเป็นสาเหตุที่ทำให้คิดไปเองหรือทะเลาะกันในที่สุด

 

6. ทัศนคติ

เรื่องที่สำคัญคือทัศนติ บางเรื่องที่เข้ากันไม่ได้แล้วไม่มีการปรับ มีการทะเลาะและหาว่าใครผิดใครถูก ไม่มีการหาตรงกลางจะนำไปสู่การจบความสัมพันธ์ในที่สุด

 

ทำความเข้าใจในตัวตนของแต่ละฝ่ายให้มากขึ้น

ในพื้นฐานของอารมณ์ของมนุษย์มักจะมีอารมณ์เบื่อกันอยู่แล้วทำให้ชีวิตคู่มันค่อนข้างยากที่จะหลีกเลี่ยงในเรื่องของความเบื่อ พอเบื่อมาก ๆ ก็นำไปสู่การทะเลาะกัน แต่สิ่งที่สำคัญ คือการพูดคุยกัน

 

การทำความเข้าใจว่าเขาเป็นคนแบบไหน นิสัยแบบไหน เป็นคนประเภทไหน พอเราทำความเข้าใจแล้ว เราก็ต้องมาทำความเข้าใจกับตัวเองด้วย การสื่อสารความรู้สึกที่แท้จริงและตรงไปตรงมาออกไป

 

จะทำให้ลดการทะเลาะกันเรื่องเล็กน้อยด้วย ถ้าเรารู้สึกอะไรไปและเก็บไว้กับตัวเองนานเกินไปนานเข้าความรู้สึกเหล่านั้นจะทำร้ายชีวิตคู่แบบไม่รู้ตัว

ทฤษฎีสามเหลี่ยมความรัก

Sternberg (1986) เสนอทฤษฎีสามเหลี่ยมของความรัก ซึ่งอธิบายถึงธรรมชาติและรูปแบบของความรักว่า

 

ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบสำคัญ คือ

 

1. ความใกล้ชิด (intimacy)

องค์ประกอบด้านอารมณ์ คือ มีความคุ้นเคยใกล้ชิดกันในความรู้สึก ความเข้าใจกันอย่างลึกซึ้ง ความเอื้ออาทรต่อกัน สื่อสารกันได้อย่างดี มีความไว้วางใจต่อกัน ซึ่งจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นตามระยะเวลาของความสัมพันธ์

 

2. ความเสน่หา (passion)

องค์ประกอบด้านแรงจูงใจ เกิดจากแรงขับภายในระบบของร่างกาย หรือความรู้สึกที่ถูกกระตุ้นทางสรีระ เป็นความดึงดูดทางเพศ เช่น ความพอใจในรูป กลิ่น เสียง หรือจริตกิริยาของอีกฝ่ายหนึ่ง

 

3. ความผูกมัด (commitment)

องค์ประกอบด้านความคิด คือการตัดสินใจที่จะรักหรือมีพันธะทางใจหรือทางสังคมต่อกัน การใช้เวลาร่วมกันในกิจกรรมต่างๆ หรือการใช้ชีวิตร่วมกันต่อเนื่องเป็นเวลานาน ความรับผิดชอบในพันธะที่ตกลงต่อกัน

 

การรับพันธะผูกพันจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเมื่อมีความสนิทสนมกันมากขึ้น และเปลี่ยนไปตามระดับของความสุดความพอใจในแต่ละช่วงเวลา หากมีปัญหายุ่งยากในความสัมพันธ์ระหว่างกัน การรับพันธะผูกพันอาจลดระดับลงไป

 

คบกับแฟนอย่างไร ให้ได้นานๆ

1. เอาใจเขามาใส่เรา มีเหตุผลในความสัมพันธ์

 

2. มีความไว้ใจซึ่งกันและกัน

 

3. อย่าขุดคุ้นเรื่องอดีต อยู่กับปัจจุบันในความสัมพันธ์

 

4. ให้เวลาส่วนตัวของกันและกันการที่ผูกติดมากเกินไปจะทำให้ความสัมพันธ์เกิดความอึดอัดได้

 

5.  ควรให้เกียรติซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ไหนก็อย่าทำให้อีกฝ่ายเสียหน้าหรืออับอาย

 

6. แสดงความรู้สึกรักทั้งคำพูดและการกระทำเพื่อให้อีกฝ่ายรู้สึกถึงความอบอุ่นใจ

 

หลาย ๆ คนคงเคยได้ยินคำว่า “แค่ความรักอย่างเดียวคงไม่พอ” ประเด็นเรื่อง ฐานะกับความรัก

 

เป็นสิ่งที่ใครหลายคนมักจะกังวลเมื่อเรารักใครคบหากับใคร เราอยากที่จะเป็นที่เพียบพร้อมสำหรับเขา

ฐานะกับความรัก มีผลต่อกันไหม?

พื้นฐานของมนุษย์ทุกคนนั้นไม่เท่ากันและไม่เหมือนกันอยู่แล้ว การที่เราตกลงคบหากับใครสักคนมันก็จะมีอะไรที่มากกว่าการบอกรักกัน มากกว่าการดูหนัง กินข้าวด้วยกัน นั่นก็คือเรื่องของ ค่าใช้จ่าย

 

ที่เราต้องใช้เมื่อเราออกไปทำกิจกรรมต่าง ๆ กับเขา ก่อนที่จะตกลงเป็นแฟนกันเราก็ต้องเรียนรู้กันมาส่วนนึงว่าเขามีไลฟ์สไตล์แบบไหน เขาใช้ชีวิตติดหรู ทานข้าวในห้าง ใส่ของแบรนด์ ใช้ของแพง ๆ สะส่วนมากหรือเปล่า

 

แต่ในที่นี้มันขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยระหว่างทางด้วยในขั้นตอนของมากกว่าการคบกันจนกลายเป็นคู่ชีวิต มันคือการเดินทางของคนสองคนที่ต้องช่วยกันประคับประคองช่วยกันสู้ ซึ่งการทำความเข้าใจกันมันค่อนข้างสำคัญมาก ๆ เลย

 

ถ้าหากมันมากเกินตัวของเราที่เราจะต้องมี ต้องตามเขา สิ่งที่เขาเป็นของเขาทำให้เรารู้สึกเกิดความรู้สึกแย่กับตัวเอง นั้นแปลว่า ฐานะกับความรัก อาจจะกำลังมีผลกับเรา

 

ฐานะกับความรัก ต่างกันมักเจอกับปัญหาอะไรบ้าง

1. การจัดการกับความรู้สึกของตัวเอง พอเรามีฐานะที่ด้อยกว่าแฟนของเรา เราก็จะรู้สึกตัวเองตัวเล็กมาก ๆ รู้สึกด้อยค่าจังเลย รู้สึกไม่เหมาะสมกับแฟน ไม่กล้าที่จะไปเจอกับเพื่อนหรือครอบครัวของเขา

 

รู้สึกกลัวว่าคนอื่นจะมองเราไม่ดี พอเราจัดการกับความรู้สึกต่าง ๆ นี้ของเราไม่ได้ ปัญหาอื่นก็จะตามมาอีกมากเลย

 

2. ปัญหาของการเข้าสังคม การเจอกับครอบครัวหรือเพื่อน ๆ ของแฟนเราก็จะรู้สึกว่าไม่อยากไปเจอเลย  รู้สึกประหม่าไม่เป็นตัวของตัวเอง ทั้งการแต่งตัว ของใช้ กระเป๋า รองเท้า เพราะรู้สึกว่ามันไม่ใช่ที่ของเรา

 

ไม่ใช่สังคมของเราเกิดเป็นความน้อยใจในตัวเองไม่ภูมิใจในตัวเองพอเรารู้สึกไม่อยากเจอกับสังคมของเขา เราก็จะเริ่มปฏิเสธกับแฟนแล้วว่า เราขอไม่ไปได้ไหม หรืออาจจะหาข้ออ้างต่าง ๆ

 

ที่ทำให้เราไม่ต้องไปเจอกับสังคมของเขา หากปฏิเสธบ่อย ๆ ก็อาจจะมีปัญหากับแฟนด้วยก็ได้ แฟนอาจจะไม่เข้าใจเรา อาจจะคิดว่าเราไม่ชอบสังคมของเขาหรือเปล่า หรืออื่น ๆ ที่เป็นปัญหาทำให้ทะเลาะกันได้

 

ซึ่งบางคนอาจจะบอกกับความรู้สึกกับแฟนตรง ๆ เลยว่าเพราะอะไร แต่กับบางคนอาจจะไม่กล้าที่จะพูดออกไปว่าเพราะอะไรเราถึงไม่อยากไปเจอสังคมของเขา แล้วทำให้เก็บและแบกความรู้สึกนั้นไว้คนเดียว 

 

3. ปัญหาต่อมาก็น่าจะเป็นเรื่องของการใช้ชีวิต ไลฟ์สไตล์ที่ต่างกันถ้าเลือกได้ก็อยากเลือกใช้ชีวิตให้ดี แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถเลือกได้ คนที่เขามีฐานะที่ดีเขาก็จะเลือกใช้ชีวิตของเขาได้ เลือกทานอาหารร้านดี ๆ

 

ในห้าง ใช้ของใช้ของราคาสูง ๆ ของแบรนด์เนม ไปเที่ยวต่างประเทศ หรือต่างจังหวัดที่มีที่พักราคาสูง ๆ 5 ดาว ส่วนคนที่ฐานะปานกลางข้อจำกัดในการเลือกใช้ชีวิตก็จะมีมากขึ้น ไม่ได้เปิดกว้างแบบคนที่มีฐานะดี ๆ

 

ซึ่งอันนี้ยิ่งเป็นปัญหาเลยหากแฟนเราฐานะดีกว่า และเลือกใช้ชีวิตในแบบของเขาโดยที่ไม่ได้นึกถึงฐานะของเรา หรือความรู้สึกของเรา ก็จะกลายเป็นปัญหาตามมาได้

 

จะตอบคำถามกับครอบครัวหรือคนใกล้ชิดอย่างไรถ้าพวกเขาถามถึงฐานะของแฟนเรา?

การเลี้ยงดูของแต่ละครอบครัวค่อนข้างแตกต่างกัน และสิ่งสำคัญคือขึ้นอยู่กับคู่รักของเราด้วยถ้าเขาพร้อมสู้ไปกับเรา พยายามไปกับเรา เชื่อว่ายังไงครอบครัวก็ต้องมองเห็นในสักวันหนึ่ง

 

พ่อแม่คือคนเลี้ยงดูเราก็จริง แต่สุดท้ายแล้วเขาก็ไม่ได้อยู่กับเราไปตลอดชีวิต ยังไงคนที่อยู่ข้างเราก็คือคนที่เราเลือก เพราะฉะนั้น อาจจะลองมาชั่งน้ำหนักดูว่าคนที่เราเลือกเขาเหมาะสมที่เราจะสู้ไปกับเขาไหม

 

ให้เวลา การกระทำ ความรัก เป็นสิ่งพิสูจน์ในระหว่างทางการคบกัน

 

สุดท้ายแล้ว ความสัมพันธ์ กับ ฐานะ ก็ขึ้นอยู่กับคู่แต่ละบุคคลด้วยการจะไปตลอดรอดฝั่ง การทำความเข้าใจ ทัศนคติ ก็เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ เลยที่จะทำให้ไปกันรอด

 

บางครั้งเราก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการทำงานร่วมกับคนที่เรา “เกลียด” ได้ ถึงเราจะ ไม่ชอบเพื่อนร่วมงาน มากขนาดไหน แต่เราก็ต้องทำงานร่วมกับเขาอยู่ดี 

 

แต่ความรู้สึกไม่ชอบทำให้เราอึดอัดใจ เหมือนประโยคที่บอกว่า “คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก” 

ความรู้สึก ไม่ชอบเพื่อนร่วมงาน หรือ หัวหน้างาน เป็นเรื่อง “สำคัญ”

สารบัญ

เพราะการที่เราจะต้องร่วมงานหรือร่วมทีมกับใคร ความสบายใจในการทำงานร่วมกันเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะเราต้องเจอเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้างานในทุก ๆ วัน

 

ถ้าเรากับเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้างานมีความอึดอัดใจต่อกัน ก็จะส่งผลให้ทำงานร่วมกันได้ค่อนข้างยาก ทำให้เราไม่มีความสุขในการทำงาน เครียด กดดัน งานที่ทำออกมาก็อาจจะไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

 

ถ้าสะสมการไม่มีความสุขแบบนี้ไปนาน ๆ ก็อาจจะทำให้อยากลาออกจากองค์กรนั้นก็ได้ แต่ถ้าเรามีความสุขกับเพื่อนร่วมงานกับหัวหน้างาน สามารถเข้ากันได้ดี ก็จะทำให้การทำงานราบรื่นไม่มีปัญหาอะไร

 

มีความสุขกับทีมมีความสุขกับงาน เราก็อยากที่จะไปทำงาน งานที่ออกมาก็จะมีประสิทธิภาพที่ดีตามไปด้วย

 

 

 

ความรู้สึก ไม่ชอบเพื่อนร่วมงาน ส่งผลกระทบต่อการทำงาน?

ถ้าเรารู้สึกไม่ดีไม่โอเคกับเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้างานแล้ว เราก็มีความรู้สึกที่ไม่อยากจะร่วมงานด้วย อึดใจที่จะต้องทำงานร่วมกัน

 

บางทีงานติดขัดบางอย่างแต่เราก็ไม่อยากที่จะไปขอคำปรึกษาเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้างานคนนั้น ส่งผลให้งานมีปัญหาหรือประสิทธิภาพของงานลดลงตามมา

 

 

Hr มีบทบาทอย่างไรกับความรู้สึก ไม่ชอบเพื่อนร่วมงาน ของพนักงาน

1. พิจารณาสถานการณ์

Hr หลาย ๆ ท่านน่าจะเคยเจอปัญหาเคสนี้มาบ้าง เพราะพนักงานแต่ละท่านก็มีนิสัยใจคอที่แตกต่างกัน อาจจะมีที่เข้ากันได้บ้างและที่เข้ากันไม่ได้บ้าง

 

HR ต้องมีการพิจารณาว่าจำเป็นต้องมีการพูดคุยกันทั้งสองฝ่าย เพื่อให้การทำงานนั้นมีประสิทธิภาพและสำเร็จลุล่วงไป

 

2. คุยกับพนักงานแยกทีละคน

Hr ต้องพูดคุยกับพนักงานแยกทีละคนก่อนเพื่อประเมินสถานการณ์และรับทราบถึงมุมมองของทั้งสองฝ่าย เมื่อประเมินแล้ว พิจารณาว่าการให้ทั้งสองฝ่ายเผชิญหน้ากันและพูดคุยกัน

 

จะสร้างแนวทางออกที่เป็นบวก จึงจะจัดให้มีการพูดคุยกันโดยตรงอีกที

 

3. ควบคุมกระบวนการคุย

HR ต้องเป็นผู้ควบคุมกระบวนการพูดคุย ทำให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจในมุมมองของแต่ละคน

 

4. จัดกิจกรรมให้ทำร่วมกัน

อีกวิธีคือการจัดกิจกรรมให้ได้ทำร่วมกัน เป็นกิจกรรมที่ต้องเน้นช่วยกันเป็นทีมและมีรางวัลไว้กระตุ้นแรงจูงใจ เพราะการได้ทำกิจกรรมร่วมกันอาจจะช่วยให้พนักงานได้เห็นมุมมองกันและกันมากขึ้น

 

 

 

ถ้า ไม่ชอบเพื่อนร่วมงาน เพราะปัญหาส่วนตัว

1. โฟกัสที่งานอย่างเดียว

2. อย่าพยายามเอาเรื่องส่วนตัวหรือความรู้สึกส่วนตัวมาปน

3. ให้เราคิดว่าเรามาเพื่อทำงานให้เสร็จในส่วนของเรา

4. พยายามอย่าใช้อารมณ์โต้ตอบ

5. ถ้าไม่ไหวจริง ๆ เราต้องขอคำปรึกษาจากหัวหน้างานหรือคนที่มีอำนาจในการใช้คำพูดเพื่อตักเตือนได้

Generation gab ช่องว่างระหว่างวัย

Generation gab ก็มีส่วนทำให้เกิดปัญหาในการทำงานได้ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะบางองค์กรก็เป็นองค์กรgenใหม่ ๆ อายุพนักงานไล่เรี่ยกัน

 

ส่วนมากปัญหา geration gab จะเกิดในองค์กรที่มีความต่างทางอายุมาก เพื่อนร่วมงานที่ต่างรุ่นก็อาจจะเกิดความเห็นที่แตกต่างกันได้ เป็นสาเหตุสำคัญของความตึงเครียดในที่ทำงาน

 

อาจทำให้ไม่สามารถร่วมงานกันได้ และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ที่ทำงานเสียพนักงานรุ่นใหม่อยู่เสมอ เพราะแต่ละ gen ก็จะมีวิธีการคิด พฤติกรรม ไลฟ์สไตล์ที่ต่างกันออกไป

 

วิธี Manage ปัญหา Generation gab

จากบทความของเว็บไซต์ creativetalklive

Generation Gap ในองค์กรลดได้ด้วย Empathy, Growth Mindset, Design Thinking ในแง่ของสังคมการทำงาน  ซึ่งต้องมาจากทั้งสองฝั่ง

 

Gen ใหม่

ฝั่ง gen ใหม่ ต้องมองความแตกต่างด้านความคิดเห็นเป็นเรื่องท้าทายในการสื่อสาร หาจุดร่วมในการแก้ปัญหา (Growth Mindset) พยายามเข้าใจว่าฝั่งgen เก่าติดเรื่องอะไร

มีเงื่อนไขอะไรที่เราไม่รู้หรือเปล่า (Empathy) จากนั้นปรับมุมมองทางความคิดในการนำเสนอด้วยรูปแบบใหม่ ๆ (Design Thinking)

Gen เก่า

ในขณะเดียวกันฝั่ง gen เก่าก็ต้องยอมรับความแตกต่างทางความคิด ให้ความเคารพคนรุ่นใหม่ รับฟังการแก้ปัญหา สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ทำให้ทั้งสองฝ่ายกล้าถกประเด็นต่าง ๆ อย่างตรงไปตรงมา

 

เกิดการยอมรับซึ่งกันและกัน มองหาจุดแข็งของแต่ละฝ่ายในการทำงาน และนำมาปรับใช้เพื่อสร้างความสำเร็จร่วมกันในที่สุด Hr ก็ต้องมีความ creative ในการที่จะต้องหากิจกรรมที่สามารถทำร่วมกันได้

 

เพื่อสร้างความ engagement ในการทำงานร่วมกันของแต่ละ gen

 

ประโยชน์จากช่องว่างระหว่างวัย

เราต้องมองหาจุดดีของมุมมองในแต่ละ gen เช่น gen เก่า เค้าก็อาจจะมีประสบการณ์บางอย่างผ่านมาก่อน gen ใหม่ก็สามารถเอาประสบการณ์ที่ทาง gen เก่าเจอมาตรงจุดนี้มาปรับใช้บางส่วน

 

แต่เพิ่มเติมแนวทางใหม่ ๆ ที่เป็นปัจจุบันเข้าไปได้ หรือบางที่ gen เก่าทำงานมานานเค้าอาจจะมีความเก๋าเกมส์มากกว่า gen ใหม่ ซึ่งตรงนี้ก็ถือว่าเป็นการเรียนรู้ เป็นตัวอย่างของ gen ใหม่ได้

 

หรือ gen ใหม่มีการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในการทำงานให้ง่ายขึ้นก็สามารถแนะนำ gen เก่าให้ลองหัดใช้ได้ เป็นการช่วยเทรนนิ่งความรู้ใหม่ไปในตัวแบบนี้ก็ได้

 

 

ไม่ว่าเราจะไม่ชอบเขามากแค่ไหน เราก็ต้องหาวิธีที่จะอยู่ร่วมกันกับเขาให้ได้ เพื่อการทำงานของเราเองด้วย การทำงานร่วมกันก็ต้องมีปัญหาเกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติ

 

 

“ใส่ใจความรู้สึกตัวเอง อย่าปล่อยให้ตัวเองรู้สึกแย่นานเกินไป”

การมองโลกในแง่ดีเป็นสิ่งที่ดีกับตัวเราและสุขภาพจิตของเรามาก ๆ แน่นอนทุกคนคงอยากเป็นคนที่ คิดบวก

 

แต่บางครั้งเราก็อาจจะได้ยินคำว่า “โลกสวย” ตามมา แล้วคิดบวกกับโลกสวยมันเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ?

 

 

คนที่มองโลกในแง่ดี กับ คนที่มองโลกในแง่ร้าย

ก่อนที่จะไปทำความเข้าใจกับอาการมองโลกในแง่ร้าย หรือ ว่าทำให้เรารอดได้อย่างไร ขอย้อนกลับไปเรื่องการมองโลกสองแง่มุม ได้แก่ ผู้ที่มองโลกในแง่ดี (Optimism) กับผู้ที่มองโลกในแง่ร้าย (Pessimism)

 

ซึ่งจากการวิจัยและค้นคว้าต่าง ๆ ชี้ออกมาในทางเดียวกันว่า หากคนเราอยากมีความสุขจะต้องเป็นคนมองโลกในแง่ดี มองโลกให้สวยงามเท่านั้น เลยมีการศึกษาที่เรียกว่า Positive Psychology หรือจิตวิทยาเชิงบวก

 

ซึ่งเป็นแนวทางจิตวิทยาสมัยใหม่ในการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ ที่เกิดจากอารมณ์เชิงบวกว่าทำให้คนมีความสุขได้อย่างไร ดีต่อสุขภาพและดีต่อสภาวะจิตใจได้อย่างไร โดยการอยากมีความสุขของมนุษย์นี้เอง

 

ซึ่งในทางตรงกันข้ามนั้น ความคิดลบแบบห่วย ๆ กลับมีการศึกษาและงานวิจัยเรื่องมนุษย์มีความสูงอายุตามสภาพจิตใจ (Psychological Aging) หมายถึง ‘ผู้สูงวัยที่มีมุมมองต่ออนาคตในด้านลบ’ และ ‘คนอายุน้อยที่มองโลกในแง่ร้าย’ นั้น

 

จะมีอายุยืนยาวกว่าพวกโลกสวยสุขนิยม อีกทั้งยังมีโอกาสที่จะมีอายุยืนยาว และมีสุขภาพที่ดีเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 10 ในขณะที่คนที่เสียชีวิตตั้งแต่อายุยังน้อยมักเป็นพวกโลกสวย ไม่มองปัญหา ไม่มีความระแวดระวังในชีวิตเท่าที่ควร

 

งานวิจัยให้เหตุผลว่า คนมองโลกในแง่ร้ายหรือมองโลกโดยอาศัยพื้นฐานของความเป็นจริงนั้น จะคอยระมัดระวังป้องกันตนเองมากกว่า ยกตัวอย่างง่าย ๆ ค่านิยมของการใส่หน้ากากอนามัยของประเทศสหรัฐอเมริกา

 

ซึ่งชาวอเมริกันมีความเชื่อว่า คนที่สวมหน้ากากอนามัยคือคนป่วยเท่านั้น คนปกติเขาไม่ใส่กัน จึงทำให้ช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในปี 2020 ส่งผลให้ประชากรในประเทศสหรัฐอเมริกามีผู้ป่วยติดเชื้อโควิดนับแสนรายต่อวัน และเสียชีวิตนับล้านคน

 

โลกสวย กับ คิดบวก ต่างกันอย่างไร?

โลกสวย

โลกสวย หมายถึง พวกมองโลกในแง่ดีเกินไป จนกลายเป็นพวกมองโลกในแง่ดีเวอร์เกิน หรือหมายถึง คนที่มีโลกในอุดมคติของตัวเองอยู่แล้ว และปรารถนาจะให้โลกเป็นดั่งที่ใจต้องการ แต่กลับรับไม่ได้กับความจริงที่เกิดขึ้นบนโลกแห่งคาวมเป็นจริง ซึ่งตรงข้ามกับโลกในอุดมคติของพวกเขา

คิดบวก

คิดบวก หมายถึง การคิดถึงสิ่งที่ดีเพื่อเอาชนะความเครียด และความรู้สึกที่ไม่ดี ต่าง ๆ เช่น ความไม่พึงพอใจ ความเจ็บปวด ความทุกข์ทรมาน

 

ทำไมการ คิดบวก ถึงไม่ได้ดีเสมอไป

การคิดบวกเป็นเรื่องที่ดีถ้าเราคิดเป็น ซึ่งแน่นอว่าไม่ได้เกิดขึ้นกันง่าย ๆ แต่ต้องใช้ความพยายามและผ่านการฝึกฝน แต่สิ่งที่อาจจะส่งผลไม่ดีต่อตัวเราได้ นั่นก็คือ การที่เราพยายามจะคิดบวก พยายามกับมันมากจนเกินไป

 

แต่ยังไม่ได้ทำความเข้าใจกับตัวเองให้ดีพอ ว่าตอนนี้เรากำลังรู้สึกอย่างไร โกรธ เศร้า หรือไม่พอใจกับเรื่องอะไร เพราะฉะนั้นอันดับแรกเราอาจจะต้องเริ่มจากการทำความเข้าใจที่ตัวเราเองก่อน

 

จากนั้นค่อยพิจารณาต่อไปว่าเราสามารถมองเรื่องราวเหล่านั้นที่เกิดขึ้นให้ออกไปในทิศทางอื่นได้อีกหรือเปล่า

 

โลกสวย กับ คิดบวก ในมุมมองของพวกเรา

โลกสวยในมุมมองของเรา คือการที่เรามองทุกอย่างเกินตามความเป็นจริงมากจนเกินไป เกินจนแบบโอเว่อร์ เรียกได้ว่า เรื่องนั้นแทบจะไม่สามารถเป็นไปได้ หรือเกิดขึ้นได้จริง โลกสวย ก็คือ ใช้การจิตนตนาการหรือการอยู่ในโลกแห่งจินตนาการ

 

ส่วนคิดบวก คือการที่เราคิดถึงสิ่งที่ดี สิ่งที่เป็นไปได้ หรือมองตามหลักความเป็นจริงที่ยังสามารถเป็นไปได้จริงหรือเกิดขึ้นได้จริง การที่เรามองอีกด้านหนึ่งในทางที่เป็นไปได้จริง ๆ

 

คำว่า “ โลกสวย ” ควรพูดหรือไม่

คำว่า “ โลกสวย ” เป็นเหมือนคำพูดเหน็บแนม กระแหนะกระแหนคนอื่นในทางแง่ลบ ซึ่งแน่นอนว่าถ้าหากมีการใช้คำพูดนี้ไม่ถูกที่ ไม่ถูกเวลาหรือไม่ถูกกลาลเทศะ

 

การพูดคำว่า “ โลกสวย ” ใส่ใครแบบมั่วซั่ว ก็อาจกลายเป็นการที่เราไปพูดทำร้ายจิตใจของใครอีกคนหนึ่งได้ ซึ่งแน่นอนว่าคนพูดเองอาจไม่ทันได้คิดว่าจะเกิดผลดีหรือร้าย

 

เพียงแต่อาจจะต้องการหยอกล้อหรือพูดเล่นเฉย ๆ แต่ในความเป็นจริงเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าคนฟังเขาจะรู้สึกอย่างไร เขาจะโอเคกับสิ่งที่เราพูดไปหรือไม่

 

เพราะฉะนั้นลองเปลี่ยนจากคำว่า “ โลกสวย ” เป็นคำพูดอื่นแทนที่ทำให้คนฟังเขาได้ยินแล้วรู้สึกดีหรือไม่เป็นการทำร้ายจิตใจของเขาจะเป็นการดีที่สุด

 

หากมีคนพูดกับเราว่า “ เราโลกสวยเกินไป ”

อาจเริ่มจากการการแยกพิจารณาว่าคนที่พูดกับเราเขาคือใคร น้ำเสียง ท่าทางที่เขาแสดงออกมานั้นต้องการสื่อกับเราไปในทิศทางไหน ดีหรือไม่ดี หากเรารู้สึกว่า ไม่สบายใจกับการที่เขาพูดแบบนั้นกับเรา

 

อาจจะลองตั้งคำถามเพื่อไขข้อสงสัยว่าเพราะอะไรที่ทำให้เขาคิดว่า “ เราโลกสวยเกินไป ” ให้เขาช่วยอธิบายในสิ่งที่เขาพูด เพื่อที่เราจะได้ลองมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเผื่อจะได้เห็นมุมมองใหม่ ๆ อีกมุม

 

จะแยกออกได้อย่างไรว่าแบบไหนเรียกว่า โลกสวย แบบไหนเรียกว่า คิดบวก

อาจจะแยกหรือพิจารณาตามสภาพแห่งความเป็นจริง อย่างเช่น โลกสวยก็อาจจะเป็นการที่พยายามมองว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นสิ่งที่ดี เป็นเรื่องที่ดี ทั้ง ๆ ที่ความเป็นจริงมันไม่สามารถเป็นเรื่องที่ดีได้เลย

 

หรือเรียกอีกอย่างว่า ไม่มองโลกตามความเป็นจริง

 

ส่วนการคิดบวก อาจจะพิจารณาจากการคิดตามสภาพแห่งความเป็นจริงที่เป็นไปได้ อะไรผิดก็ว่าไปตามผิด อะไรถูกก็ว่าไปตามถูก ไม่ได้พยายามแยงในทุก ๆ เรื่องหรือพยายามคิดเกินโลกแห่งความเป็นจริง

 

แต่การคิดบวกคือการคิดถึงสิ่งที่ดีเพื่อเอาชนะความเครียด และความรู้สึกที่ดีต่าง ๆ เป็นความคิดที่เกิดจากการมองสิ่งต่าง ๆ อย่างเข้าใจ ยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเราในทุกเรื่อง

 

และหากเป็นเรื่องที่ไม่ดีก็จะพยายามหามุมที่เป็นไปได้ในเชิงบวก ที่สามารถเป็นกำลังใจให้กับตัวเองได้ดี

 

โลกสวยและคิดบวกเป็นเหมือนนามธรรม ที่ไม่สามารถจับต้องได้ ไม่มีความคิดไหนที่บ่งบอกว่านั่นคือผิด หรือนี่คือถูก เพียงแต่ขอให้ความคิดเหล่านั้นไม่ได้ก่อให้เกิดเป็นปัญหาในการใช้ชีวิตของตัวเอง หรือไม่ได้ไปส่งผลเสียต่อชีวิตของคนอื่น

 

ดังนั้นการที่เราจะคิดบวกหรือคิดแบบบวกบวก เราสามารถทำตามแนวทางของตัวเอง ทำในสิ่งที่ตัวเองมีความสุข คิดในสิ่งที่ทำให้ตัวเราเองสบายใจได้อย่างไม่ต้องรู้สึกผิด

 

 

 

ที่มา:‘มนุษย์คิดบวก’ กับ ‘มนุษย์โลกสวย’ แบบไหนที่วัฒนธรรมสุขนิยมสอนให้คนแบกความสุขจนกลายเป็นพิษ (gqthailand.com)

ทำไมคนเราถึงชอบ ดูดวง ? ความไม่แน่นอนของชีวิตไม่ว่าจะเรื่องงาน ความรัก และอื่น ๆ ทำให้เรามีความกังวล

 

จนทำให้ต้องหาพึ่งทางใจและการดูดวงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง อีกทั้งยัง Support ความคิดและความรู้สึกของเรา

 

แล้ว..การดูดวงทำให้หลีกเลี่ยงความไม่แน่นอนได้จริงไหม ?

ทำไมคนเราถึงชอบ ดูดวง

1.เพื่อเช็คตัวเอง

2.สนับสนุนความคิดตัวเอง

3.ต้องการรู้อนาคต

4.อยากหาที่พึ่งทางใจ

5.อยากเสริมดวงเสริมบารมี

 

คนเราจะ ดูดวง ตอนไหน

1.มีเรื่องกังวลใจ

2.อยากเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่าง

3.พบกับปัญหาหนักใจ

 

การ ดูดวง ในหลักจิตวิทยา

ความสนใจในโหราศาสตร์หรือการดูดวงคือกลไกการเผชิญปัญหา เพราะโหราศาสตร์เป็นเครื่องมือที่สามารถเปลี่ยนไปใช้เพื่อความสบายใจได้แบบทันที

 

การดูดวงเป็นกลไกในการรับมือกับความเครียดและ ‘ความไม่แน่นอน’ ของชีวิต (uncertainty of life) ความไม่แน่นอนที่ทำให้คนเราเกิดความกังวลกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเงิน ความรัก ความเจริญรุ่งเรือง ครอบครัว

 

ทำไมการดูดวงถึงมีผลต่อบางคนมาก ๆ

ข้อมูลจากบทความของเว็บไซต์ INN Horoscope บอกว่า คำตอบที่น่าจะชัดเจนที่สุดคือ คนที่เชื่อในดวงมาก ๆ มีแนวโน้มที่จะเชื่อใน พลังอำนาจนอกตน(External locus of control)

 

พวกเขาเชื่อว่า ความสำเร็จ ความล้มเหลว การผ่านเรื่องต่าง ๆ มาจากปัจจัยภายนอกที่พวกเขาไม่สามารถควบคุมได้ พวกเขาต้องหาคำตอบจากสิ่งภายนอกมายืนยันในคำถามที่ตนเองสงสัยหรือเส้นทางที่ตนกำลังจะไป

 

ข้อดีของการดูดวง

1.ช่วยคนที่กำลังมีปัญหา

งานวิจัยออกมาเผยว่าเรื่องดวง ช่วยคนที่กำลังมีปัญหาได้จริง เหมือนคำแนะนำว่าควรจะต้องทำอย่างไรต่อไป

2.เพิ่มความมั่นใจ

3.เหมือนมีคนคอยรับฟัง

4.ทำให้เรามองเห็นทางออกอื่นที่เราอาจจะมองไม่เห็น

อาจจะเพิ่มความมั่นใจในทางเลือกหรือความคิดของตัวเอง เหมือนที่เขาบอกว่า เขาต้องการดูดวงเพื่อคอนเฟิร์มทางเลือกของตัวเอง บางคนอาจจะสับสนว่าจะทำหรือไม่ทำดี

 

ดูดวงมากไปมีผลเสียอะไรไหม?

อาจจะทำให้เราหมกหมุ่นมากจนเกินไป จนไม่ใส่ใจทำปัจจุบันให้ดี หรืออาจจะเกิดเป็นความวิตกกังวลได้ ถ้าหากการดูดวงนั้นผลออกมาว่าแย่หรือไม่ดีต่อตัวเรา เราก็อาจจะเครียด

 

ติดดูดวงมากไปทำยังไงดี?

“กำหนดขอบเขตให้ตัวเอง”

ลองกำหนดลิมิตให้กับตัวเองว่าใน 1 อาทิตย์เราจะอ่านดวงในไลน์ได้กี่ครั้ง การทายอุปนิสัยได้กี่ครั้ง ส่วนการดูดวงกับหมอดูอาจจะเป็น 3 เดือน/ครั้ง

 

 

การดูดวงเป็นความเชื่อและความชอบส่วนบุคคล ซึ่งการดูดวงนั้นก็เป็นวิธีการแก้ปัญหาของคนที่กำลังเครียดและหาทางออกไม่เจอ สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือเราต้องทำทุกวันให้ดีที่สุด เต็มที่ที่สุดและเชื่อมั่นในตัวเองว่าเราสามารถทำได้

Happiness Guilt ไม่กล้ามีความสุขในวันที่คนรอบข้างทุกข์ใจ เเล้วความรู้สึกนี้ส่งผลกะทบต่อเราอย่างไรบ้าง?

เคยไหมที่มองเห็นคนรอบข้างทุกข์ใจแล้วตัวเราไม่กล้าที่จะมีความสุข โดยเฉพาะตอนที่สังคมรอบตัวมีเเต่เรื่องที่น่ากังวลใจ

 

ทั้งโรคระบาด ปัญหาการเมือง ปัญหาเศรษฐกิจ สิ่งเหล่านี้มันทำให้เราไม่กล้าที่จะมีความสุขในขณะที่คนอื่นกำลังทุกข์ใจ

 

ลองม้องย้อนกลับไปในช่วงที่มีสถานการณ์โควิดใหม่ ๆ หรือจะเป็นในช่วงที่บ้านเมืองของเรากำลังมีเหตุการณ์หลายเหตุการณ์เกิดขึ้น ทุก ๆ คนเดือดร้อนไปหมดทั้งคนรอบตัว ทั้งในโซเชียล

 

ทำให้เราไม่ค่อยกล้าที่จะแสดงความรู้สึกที่มีความสุขออกมาเท่าไหร่ 

 

Happiness Guilt 

คือ การที่เราไม่กล้ามีความสุขในวันที่คนอื่นทุกข์ใจ บางคนเเสดงออกเป็นความทุกข์ใจแทน การที่เราสะสมความรู้สึกนี้ไปเรื่อย ๆ มันจะยึดติดกับเราจนเราไม่รู้ตัว จะกลายเป็นว่าเราไม่อนุญาตให้ตัวเองมีความสุข

 

เวลาที่เราสุขเราจะมองหาความทุกข์โดยอัตโนมัติ

 

 

ผลกระทบของ Happiness Guilt 

1.ซ่อนความสุข

เราอาจจะกลายเป็นคนที่ซ่อนความสุข ถ้าเราทำแบบนี้บ่อย ๆ ทำให้ขาดความมั่นใจในการที่เราจะแสดงความรู้สึกของเราออกมา 

2.มองโลกในแง่ลบ

อาจจะทำให้เราเป็นคนที่มองอะไรต่าง ๆ ในแง่ลบ กลายเป็นคนที่มี Negative energy จนท้ายที่สุดแล้ว การที่เราไม่ได้มีความสุขในความสุขของตัวเอง อาจจะสะสมเรื่อย ๆ จนส่งผลต่อสุขภาพจิตของเราได้

 

 

รับมือกับ Happiness Guilt  อย่างไร?

บทความจาก Hospice ชื่อบทความว่า 4 Tips to Deal with ‘Happiness Guilt’

1.ให้พื้นที่ความเสียใจ

ถ้าในตอนนั้นเรารู้สึกเศร้าและเสียใจตามคนอื่นจริง ๆ ลองให้ตัวเองได้อยู่กับพื้นที่ความเสียใจของเราตรงนั้นก่อน ถ้าตอนนั้นปล่อยตัวเองให้เสียใจ ทุกข์ใจ หลังจากนั้นเราก็จะโล่งและกลับมาเอนจอยกับโมเม้นของเราได้

2.โอบกอดความสุข

จากข้อแรกที่บอกว่าให้เราลองให้พื้นที่กับตัวเองในการอยู่กับความเสียใจ หลังจากนั้นลองเตือนตัวเองหน่อยว่าเรามีความสุขได้นะ แม้ในช่วงเวลาที่คนอื่น ๆ กำลังทุกข์ใจ เพราะความสุขของเราอาจจะเป็นแรงขับเคลื่อนให้กับคนอื่นได้

 

เขาอาจจะมองเห็นว่าเรามีความสุขและแอบเอนจอยไปกับเราด้วย ที่สำคัญก็คืออย่าปล่อยให้ความโศกเศร้าของคนรอบตัวที่กำลังเผชิญมาเป็นกับดักความสุขของเรา ลองโอบกอดความสุขของเราเมื่อมันมาถึง

3.ปล่อยให้ตัวเองได้หัวเราะบ้าง 

เราเคยได้ยินว่าหาวมันคือโรคติดต่อ แต่ความรู้สึกของเราก็เป็นโรคติดต่อเหมือนกัน ให้ลองสังเกตว่าในตอนนั้นถ้าคนรอบข้างเราเศร้าเราก็จะหม่น ๆ ไปด้วย

 

แต่ในตอนที่เรามีความสุขอยากให้ลองแชร์ความสุขเหล่านั้นให้คนรอบข้าง คนรอบข้างเราก็อาจจะมีความสุขไปด้วย

4.ใจดีกับตัวเอง

สิ่งสำคัญเลยคือต้องใจดีกับตัวเอง เช่น ในตอนนั้นถ้าเราอยากมีความสุข เราสามารถมีได้ แต่ถ้าเรากังวลใจที่จะแสดงออกลองดูสถานการณ์ในตอนนั้นว่าเราควรที่จะแสดงออกดีไหม?

 

หรือลองเก็บไว้ก่อนให้ Timing มันดีกว่านี้เราค่อยแสดงออกย้อนหลังได้ 

 

ความสุขคือสิ่งที่ขับเคลื่อนให้ชีวิตเราไปต่อได้ แต่ถ้าเราไม่อนุญาตให้ตัวเองมีความสุขมันคงจะยากมาก ๆ ในการที่เราจะรับมือกับปัญหาหรือผ่านวันเเย่ ๆ ไปได้

 

มันคงจะดีกว่าถ้าเราปล่อยให้ตัวเองได้อยู่กับโมเม้นต์ที่เรามีความสุขได้อย่างแท้จริง คนเราทุกคนมีสิทธิ์ที่จะมีความสุขโดยไม่จำเป็นต้องรู้สึกผิด 

 

ปล่อยให้ตัวเองมีความสุขบ้าง เพราะความสุขไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย ๆ ถ้ามันเกิดขึ้นแล้วอยากให้ทุกคนคว้าความสุขไว้ถึงแม้เล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ในวันที่เราไม่มีความสุขอยากให้ลองนึกถึงเรื่องดี ๆ ในตอนนั้นบ้าง:)

กอด โอบ สัมผัสทางกายที่แสนอบอุ่น หรือเรียกว่าการ Skinship จำเป็นไหม? สำหรับคนที่เราสนิท

คำว่า Skinship (สกินชิพ) เริ่มจากไหน?

คำว่า ‘สกินชิพ’ หรือ Skinship ไม่ได้มาจากคำศัพท์ภาษาอังกฤษ แต่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งหมายถึงการสัมผัสกันระหว่างแม่และลูก ในการจับมือ ลูบหัว กอดลูก

 

และลามไปถึงการ สกินชิพ กับเพื่อน หรือคนรัก แต่เมื่อคำนี้เข้าสู่เกาหลีใต้ เรามักจะได้ยินคำนี้ตามอุตสหกรรมบันเทิงของเกาหลี บริบทของคำนี้แปรเปลี่ยนความหมายสู่การสัมผัสแตะเนื้อต้องตัวกันระหว่างคู่รักหรือเพื่อน

 

อีกทั้งอิทธิพลของซีรีส์เกาหลีที่แพร่หลาย ทำให้คำว่า ‘สกินชิพ’ ดูเป็นการแสดงออกทางความรักที่น่ารัก และไม่ได้มีความหมายในแง่ลบ

 

ในเชิงวิทยาศาสตร์คำว่า Skinship

ในเชิงวิทยาศาสตร์เรียกการสัมผัสเหล่านี้ว่า ‘ระบบประสาทรับความรู้สึกทางกาย’ (Somatic Sensory System หรือ Body Sensing System) 

 

ข้ออ้างอิงงานวิจัยของ แฮร์รี่ เอฟ ฮาร์โลว์ (Harry F. Harlow) นักจิตวิทยาชาวอเมริกันได้ทำการทดลองศึกษาพฤติกรรมของ ลิงรีซัส โดยการสร้างหุ่นแม่ลิงจำลองขึ้นมา 2 ตัวซึ่งทำด้วยลวดตาข่าย

 

โดยสร้างความแตกต่างด้วยการให้ลิงจำลองตัวหนึ่งมีผ้าขนหนูหนานุ่มห่มไว้ ส่วนลิงจำลองอีกตัวนั้นไม่มีผ้าห่อแต่มีขวดนม ในตอนแรกมีการตั้งสมมติฐานว่าลูกลิงน่าจะเลือกแม่ลิงจำลองที่มีขวดนม

 

แต่ผลการทดลองกลับกลายเป็นว่าลูกลิงเลือกที่จะเข้าหาลิงที่มีผ้าขนหนูมากกว่า แม้ว่าจะไปหาแม่ลิงจำลองที่มีขวดนมในบางครั้งก็ตาม แต่เมื่อใดที่มีเสียงกระทบเพียงเล็กน้อย มันกลับซบที่แม่ลิงที่มีผ้าขนหนูมากกว่า

 

คุณแฮร์รี่ยังคงทำการทดลองต่อด้วยการให้ลูกลิงตัวนั้นอยู่กับแม่ลิงจำลองที่มีขวดนม (โดยจับแยกแม่ลิงจำลองที่มีผ้าขนหนูออกไป) แล้วทำการศึกษาต่อว่าเมื่อโตขึ้น ลูกลิงตัวนั้นจะเป็นอย่างไร

 

ผลปรากฏว่าลูกลิงดังกล่าวมีอาการหวาดระแวง และปรับตัวเข้ากับลิงตัวอื่น ๆไม่ได้ ผลการทดลองของคุณแฮร์รี่นำไปสู่การเขียนทฤษฎีข้อหนึ่งในวิชาจิตวิทยาที่เรียกว่า “ทฤษฎีการยึดติดผูกพัน (Attachment Theory)”

 

การทดลองดังกล่าวเป็นข้อพิสูจน์อย่างดียิ่งว่าความผูกพัน การใกล้ชิด การได้รับการดูแลเอาใจใส่ จะทำให้เกิดพัฒนาการทั้งทางร่างกายและจิตใจที่ดียิ่ง หากมองในแง่ของความรักในครอบครัว การดูแลลูกของตนอย่าง

 

ใกล้ชิดจะทำให้เขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ได้อย่างสมบูรณ์ หรือหากมองในแง่ของความรัก การดูแลกันและกัน ให้เกียรติกัน เอาใจเขามาใส่ใจเรา

 

ก็จะทำให้ความสัมพันธ์แนบแน่นขึ้นและได้รับการพัฒนาต่อไปในระดับที่สูงขึ้น การสกินชิพเนี่ยทำให้สารฮอร์โมนแห่งความสุขอย่างโดปามีนเพิ่มขึ้น

 

บางทีการ ‘สกินชิพ’ อาจเป็นวิธีสื่อสารความรักที่ดียิ่งกว่าการพูดคำว่า “รัก” ออกไปตรง ๆ ได้อีกด้วย เพราะบางที เราเองก็เขิลที่จะบอกรักใครสักคน เพราะฉะนั้นพี่รู้สึกว่าวิธีนี้ก็เป็นการบอกรักได้อีกรูปแบบหนึ่ง

 

ข้อดีของการ Skinship

มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดก็เคยค้นพบว่าการสัมผัสทางกายภาพจะสามารถเพิ่มระดับของโดปามีนและเซโรโทนิน ที่เป็นสารสื่อประสาทแห่งความสุขที่ช่วยควบคุมอารมณ์ บรรเทาความเครียด และความวิตกกังวลในมนุษย์ด้วย

 

ข้อเสียของการ Shinship 

 

ซึ่งแน่นอนว่า การสกินชิพไม่ใช่เรื่องที่ผิด เพราะ มันคือการแสดงออกทางความรักที่มนุษย์คนหนึ่งมีให้กับอีกคนหนึ่ง แต่ไม่ควรลืมว่า การสกินชิพเป็นเรื่องที่ต้องได้รับการยินยอมจากทั้งสองฝ่าย

 

และต้องคำนึงถึงเวลา สถานที่ด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถนำไปสู้ข้อถกเถียงในเรื่อง ‘การแสดงออกทางความรักในที่สาธารณะ’ ต่อได้อีกด้วย

เรื่องสยองขวัญ เรื่องฆาตกรรม เรื่องเล่าตำนานน่ากลัว ๆ เคยสงสัยไหม? ทำไมคนชอบฟังเรื่องผี

บางคนอาจจะชอบเพราะว่าการฟังเรื่องผีมันน่าตื่นเต้น สนุกที่ได้ฟัง แต่วันนี้เรามีคำตอบตามหลักจิตวิทยาฝาก

ทำไมคนชอบฟังเรื่องผี

Krista Jordan (คริสตา จอร์แดน) นักจิตวิทยาคลินิกในออสติน, เท็กซัส กล่าวว่า  “สมองไม่ได้แยกความแตกต่างระหว่างจินตนาการและความเป็นจริงอย่างมีประสิทธิภาพเสมอไป”

 

ยกตัวอย่าง เช่น หากมีคนมาบรรยายเรื่องการกัดมะนาว และถ้าบุคคลนั้นบรรยายถึงมะนาวได้เก่งจริง ๆ ก็อาจจะทำให้เรารู้สึกเข็ดฟัน หรือน้ำลายสอขึ้นมาได้ เหมือนกับการที่เราดูหนังสยองขวัญ

 

สมองจะลืมไปชั่วขณะว่าสิ่งที่เราเห็นนั้นไม่เป็นอันตรายจริง ๆ อาการตอบสนองแบบสู้หรือหนี​ที่เกิดขึ้นเมื่อเรารู้สึกถึงอันตรายจึงเกิดขึ้นระหว่างเราดูหนังด้วย

 

สารเคมีในสมองต่าง ๆ อย่างอะดรีนาลิน เอ็นดอร์ฟิน และโดพามีนจึงถูกหลั่งออกมาทำให้เราตื่นเต้นและสนุกไปกับหนังสุด ๆ แบบไม่ต้องไปเผชิญเหตุการณ์น่ากลัวจริง ๆ

 

ความกลัว เป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นฮอร์โมนออกมา โดย Margee Kerr (มาจี เคอ) นักสังคมศาสตร์ได้อธิบายกับ The Atlantic ว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะสนุกไปกับความกลัวนี้

 

เพราะความตื่นเต้นนั้นจะเกิดขึ้นจากสารเคมีในสมองซึ่งแตกต่างกันในแต่ละคน โดยอ้างอิงจากงานวิจัยของนักประสาทวิทยาอย่าง David Zald

 

ได้บอกเอาไว้ว่าคนจะมีการตอบสนองต่อสารเคมีในสถานการณ์ที่น่าตื่นเต้นที่แตกต่างกัน

 

หนึ่งในฮอร์โมนหลักของร่างกายจะถูกผลิตออกมาในตอนที่ตกใจและตอนที่ตื่นเต้นก็ คือ โดาปามีน บางคนอาจจะตอบสนองกับฮอร์โมนนี้ได้ดี ทำให้รู้สึกสนุกกับสถานการณ์ที่น่าตื่นเต้น น่ากลัวกว่าคนอื่น ๆ 

 

ทำไมคนชอบฟังเรื่องผี

การดูหนังผีก็มีประโยชน์

 

อ้างอิงจาก ฮาร์เวย์ มิลค์แมน (Harvey Milkman) ศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์จิตวิทยาที่ Metropolitan State University ที่ได้ทำการศึกษาวิจัยว่า

 

กลุ่มคนที่ชอบดูหนังสยองขวัญจะสามารถเผชิญหน้ากับความกลัว สามารถสร้างความยืดยุ่นต่อความกลัวได้ หรือเรียกว่าเป็น ‘กลยุทธ์การเผชิญหน้ากับปัญหาที่มีประสิทธิภาพ’

 

และนั่นอาจทำให้พวกเขาได้เปรียบในสถานการณ์ที่น่ากลัวของจริง ขอยกตัวอย่างว่า เพื่อนเป็นคนที่ชอบดูหนังพวกซอมบี้ หรือพวกโรคระบาดมาก ๆ เลยนั่ง ๆ เลยนั่งคุยกันว่าถ้ามันเกิดเหตุการณ์นี้จริง ๆ

 

เพื่อนคนนั้นสามารถเอาตัวรอดได้เพราะเคยเรียนรู้จากหนัง ฟังดูแล้วมันอาจจะแบบจริงหรอ? 

 

แต่จริง ๆ แล้วมันสามารถเกิดขึ้นได้จริง เพราะเหมือนเขามีการตั้งรับในสิ่งที่น่ากลัว มีพื้นฐานที่รู้ว่าควรจะจัดการกับสถานการณ์ตรงหน้ายังไง

กลัวผีนะแต่ก็ยังชอบดูแปลกไหม?

ในเชิงจิตวิทยามันเป็นการเพิ่มความเคารพในตัวเอง (self-esteem) ได้ทางหนึ่ง ทำให้รู้สึกมั่นใจ มีความภูมิใจในตัวเองขึ้น ส่วนคำอธิบายว่าทำไมบางคนก็ชอบที่จะกลัว บางคนก็ไม่ชอบ มันเป็นเรื่องของรสนิยม

 

เหมือนกับงานวิจัยของ David Zald ที่บอกว่าความชอบไม่ชอบต่อความกลัวมันเป็นเรื่องของสารเคมีในสมองที่แตกต่างกันในแต่ละคน สมองของแต่ละคนตอบสนองต่อโดปามีน ฮอร์โมนแห่งความสุข

 

ที่หลั่งออกมาในห้วงเวลาที่เราเจอเหตุการณ์สยองหรือน่าตื่นเต้นแตกต่างกัน บางคนก็ตอบสนองมากกว่า บางคนก็น้อยกว่า ตรงนี้เองที่ทำให้บางคนก็สนุกกับความกลัว แต่กับบางคนก็ไม่ค่อยสนุ

ความรู้สึกที่ไม่ได้มีคำพูดที่จะอธิบายความสับสน ความโศกเศร้า และอาการเฉื่อยชาที่มาพร้อมกับ Dead Inside บางครั้งเราต้องยอมทำสิ่งที่เราไม่ภูมิใจ ไม่เห็นด้วย หรือทำอะไรที่เราไม่ชอบเพื่อให้มีชีวิตรอด

 

เราอาจเรียกสถานการณ์นี้ว่า Dead Inside เราไม่ได้อยากทำ ไม่ได้มีแพชชั่น ไร้ความปรารถนา ไร้ความรู้สึกยินดี แต่ก็ทำ ๆ ไปเพื่อให้เสร็จสิ้น สำเร็จและดำรงชีวิตอยู่ได้ เพราะบางครั้งชีวิตเราก็เลือกไม่ได้ 

Dead Inside คืออะไร

อาจจะอธิบายยากกว่าความรู้สึก มีความสุข หรือ ความเศร้า โดยทั่วไป เพราะมันคือสภาวะอารมณ์ที่รู้สึกว่างเปล่าแต่ข้างในรู้สึกทุกข์ใจ เฉื่อยชา พลังงานหายไป ไม่มีแพชชั่น ไม่รู้ว่าทางไปเป็นยังไง

 

และไม่รู้ว่าจุดจบเป็นยังไง ไม่รู้ร้อนหนาวกับเหตุการณ์ต่างๆที่ผ่านเข้ามาในชีวิต  ไม่ใช่การปล่อยวาง แต่ dead inside เหมือนปัด ๆ มันออกไป ไม่สนใจ เพิกเฉย

 

ร่างกายเรายังอยู่ ทาง Physical ยังปกติดี เรายังเดินกินนอนแบบปกติแต่จิตวิญญาณและความรู้สึกเราได้ตายไปแล้ว เหมือนดอกไม้ที่แห้งเหี่ยวในกระถางจะฟื้นขึ้นมาสดใสก็ไม่ แต่ก็ไม่ตายสักที

 

ความรู้สึกนี้อาจจะผ่านเข้ามาและจากไป ระยะเวลาของแต่ละคนไม่เหมือนกัน และบางคนก็อาจจะเกิดความรู้สึกนี้แบบเรื้อรัง

สัญญาณเตือน Dead Inside

1.รู้สึกไร้จุดมุ่งหมาย

อย่างคนทั่วไปที่มีจุดมุ่งหมายในชีวิต อาจจะเป็นจุดมุ่งหมายในระยะสั้นหรือยาว แต่มันจะทำให้เรามีแรงตื่นขึ้นมาในตอนเช้าและรู้ว่าเราจะกำลังอะไร

 

กลับกันเลย ถ้าเรามีความรู้สึก Dead Inside ก็เหมือนเราใช้ชีวิตไปวันๆแบบไร้จุดมุ่งหมาย มันจะทำให้เกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายไร้เรี่ยวแรง 

 

2.เกิดคำถามเกี่ยวกับการมีชีวิต

พอเราเริ่มรู้สึกว่าชีวิตเราไม่มีจุดมุ่งหมายแล้ว ไม่รู้ว่าเราจะทำอะไรต่อไป ทำเพื่อใคร ทุกอย่างเริ่มว่างเปล่า ก็จะมีคำถามที่เกิดขึ้นกับตัวเองว่า เราเกิดมาทำไม? เราจะใช้ชีวิตต่อเพื่ออะไร?

 

เริ่มมีคำถามหลายคำถามที่ผุดขึ้นมากับตัวเองเกี่ยวกับการใช้ชีวิตของเรา

 

3.รู้สึกเฉื่อยชาและด้านชา

Dead Inside เป็นเหมือนเครื่องผลิตความรู้สึกเฉื่อยชานี้ไม่ยินดียินร้ายกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ชีวิตดำเนินไปแบบโมโนโทน ความสุขหรือทุกข์แทบจะไม่มีผลกับ Dead Inside เลย

 

4.รู้สึกอ้างว้าง

เมื่อเราตกอยู่ในสภาวะ Dead Inside เราจะก็ผลักตัวของเราออกมาจากทุกคน อยู่ตัวคนเดียว ไม่อยากมีปฏิสัมพันธ์กับใครเหมือนเมื่อก่อนเท่าไหร่ คอยมองคนอื่นแต่จะไม่เอาตัวเราเข้าไปหาคนอื่น 

 

สิ้นยินดี?

ความรู้สึก dead inside พอมันอยู่กับเราไปเรื่อย ๆ มันอาจจะกลายเป็นภาวะซึมเศร้าและอาการสิ้นยินดีได้ ภาวะสิ้นยินดี ก็คือ ภาวะที่จะพรากทุกสิ่งจากเราไปเลย อะไรที่เคยชอบทำมันเราก็จะไม่อินมันอีกต่อไปแล้ว

 

หมดความสนใจจากเรื่องต่าง ๆ อาหารที่เคยชอบก็ไม่อิน เพลง หนัง หรือแม้กระทั้งเรื่องความรัก การมีเพศสัมพันธ์เราก็จะไม่อยากไม่อินเลย ภาวะสิ้นยินดี มันเป็นส่วนหนึ่งของอาการโรคซึมเศร้า

 

คีย์เวิร์ดเลยก็คือ จะสุขก็ไม่สุข จะทุกข์ก็ไม่ทุกข์ ไม่รู้ว่าตัวเองรู้สึกอะไรกันแน่ และสมาคมจิตเวชศาสตร์ของสหรัฐอเมริกายังระบุด้วยว่า ภาวะสิ้นยินดีนั้นสามารถพบได้ในโรคจิตเภทและความผิดปกติทางจิตอื่น ๆ อีกด้วย

ภาวะสิ้นยินดีมีแบ่งออกได้ย่อย ๆ ได้ดังนี้ 

1. Sexual anhedonia คืออาการที่ไม่รู้สึกมีความสุขเมื่อถึงจุดสุดยอดนั่นเองอาการนี้มักเกิดกับผู้ที่ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า รวมถึงอาจเกิดจากสภาวะสารเคมีและฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุลก็ได้

 

2. Social anhedonia คืออาการของที่ทำให้ไม่อยากมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เพราะการพูดคุยกับคนอื่นไม่มีผลต่อความรู้สึกเลย อาการที่ว่านี้อาจเชื่อมโยงกับสภาวะของสมองที่ทำงานบกพร่อง

 

จนทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ไม่เข้าใจถึงการแสดงสีหน้าทางอารมณ์ของผู้ร่วมสนทนา

 

3. Musical anhedonia คืออาการของผู้ที่ไม่สามารถมีความสุขหรือเพลิดเพลินกับการฟังเพลง โดยนักวิจัยคาดว่าอาการนี้เกิดจากระบบประสาทสัมผัสส่วนการได้ยินในสมองทำงานไม่เชื่อมโยงกัน

 

และนั่นทำให้ผู้ป่วยไม่เกิดความรู้สึกใดๆ เมื่อฟังเพลง หรือแม้กระทั่งเพลงอกหักก็ไม่ทำให้น้ำตาไหลได้

 

อะไรที่ทำให้รู้สึก Dead Inside

1. ภาวะซึมเศร้า

อาการซึมเศร้าเป็นโรคทางอารมณ์ที่พบได้บ่อยมาก มันสร้างความรู้สึกเศร้าอย่างต่อเนื่องและอาจมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงในด้ายอื่น ๆ เช่น การกิน ความเหนื่อยล้า และความเจ็บปวดร่างกายในบางครั้ง

 

และอาการเด่นอย่างหนึ่งของอาการนี้คือความรู้สึกเฉื่อยชาอย่างต่อเนื่อง หรือ Dead Inside เพราะฉะนั้นเมื่อประสพกับความรู้สึกว่างเปล่า อาจจะเป็นข้อบ่งชี้ได้ว่าเราอาจจะมีสภาวะซึมเศร้า

 

2. PTSD Post-traumatic stress disorder

โรคเครียดหลังเจอเหตุการณ์สะเทือนใจ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในร่างกาย เช่น ฝันร้าย ความวิตกกังวล และเหตุการณ์ย้อนหลัง เนื่องจาก PTSD อาจทำให้บางคนไม่รู้สึกเป็นตัวเอง ก็อาจจะทำให้เกิด Dead Inside ขึ้นได้

 

3. ยา

อาจจะเป็นยาที่ใช้รักษาเช่น ภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวล การใช้ยาเป็นวิธีปกติ อย่างไรก็ตาม แม้ว่ายาช่วยรักษาแต่ก็มีแนวโน้มที่จะส่งผลต่อวิธีที่สมองประมวลผลต่ออารมณ์ Dead Inside อาจจะเกี่ยวกับยาซึมเศร้าเหล่านี้

 

4. การระงับอารมณ์

อารมณ์อาจจะจัดการได้ยาก แต่กลับถูกฝังลึกและลืมมันไป แม้ว่าจะเข้าใจได้ว่าเป็นกลไกในการรับมือกับอารมณ์เชิงลบ แต่บางครั้งสิ่งนี้อาจล้นไปสู่ Dead Inside ได้

 

5. มีภาวะ Depersonalization/เหมือนตื่นและฝันในเวลาเดียวกัน

ทางการแพทย์จะเรียกอาการนี้ว่า ความจริงวิปลาส เป็นภาวะที่ตัดขาดกับร่างกาย อารมณ์และความคิดของตัวเอง เป็นเหมือนภาชนะว่างเปล่าหรือหุ่นยนต์ที่ทำตามคำสั่งของคนอื่น

 

แม้ว่าเขาจะขยับแขนขาหรือรับรู้อารมณ์ของตัวเอง แต่ก็จะคิดว่าเป็นเพราะผู้อื่นบงการ สิ่งนี้อาจจะทำให้เกิด Dead Inside ขึ้นได้

 

6.ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง (Borderline Personality Disorder)

ความรู้สึกว่างเปล่าเรื้อรังเป็นหนึ่งในอาการของความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง เป็นความผิดปกติทางจิตที่ส่งผลต่อความคิดและความรู้สึกที่ผู้ป่วยมีต่อตนเองและผู้อื่น ผู้ป่วยอาจมีอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ

 

อารมณ์รุนแรง หุนหันพลันแล่น มีความคิดและนิสัยไม่คงที่ ซึ่งส่งผลให้มีปัญหาในการรักษาความสัมพันธ์กับผู้อื่นและการใช้ชีวิตประจำวัน มีผลต่อความรู้สึก Dead Inside และความรู้สึกสิ้นหวังเป็นอย่างมาก

 

ทำยังไงดี?

 

สิ่งหนึ่งที่เราทำได้เลย คือ การขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ จะทำให้เราค้นพบต้นตอของความรู้สึกนี้ได้ดีมาก ๆ  เราสามารถปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและดูแลตัวเองเบื้องต้นได้

 

เช่น ออกกำลังกาย นอนหลับพักผ่อนให้ครบและลองจดบันทึกความรู้สึกแต่ละวันของเรา ถือว่าเป็นการเช็คตัวเองด้วย อาจจะฟังดูเบสิค พื้นฐาน แต่การออกกำลังกายสามารถช่วยได้จริง ๆ

 

ในวันที่เรารู้สึกว่าคอนโทรลสภาพจิตใจเราไม่ได้เลยใจมันไม่ไหวแล้วลองขยับร่างกายดู พอร่างกายเราขยับแล้ว เราจะมีความรู้สึกว่าเออตัวเราพาร่างกายเราไปได้ขนาดนี้เลยหรอ

 

พอเราเริ่มมีพลังกายมันอาจจะช่วยเพิ่มพลังใจให้เราด้วยนะ :))

 

หา support system หรือที่พึ่งพาทางใจที่สามารถรับฟังเราได้ โทรหาใครสักคนที่เราสนิทที่สุด คนที่เราแค่ได้ยินเสียงของเขาก็เหมือนได้รับการเยียวยาทางจิตใจ บางทีเราอาจจะคิดว่าตัวเราเองไม่ได้สำคัญอะไร

 

การมีอยู่หรือจากไปของเรามันไม่ได้มีผลอะไรกับใคร แต่ถ้าเรามีคนที่เขาคอยอยู่ข้างๆ ทำให้เรารู้สึกว่าเรามีค่า เราก็อาจจะกลับมามีความรู้สึก เอนจอย เศร้า เสียใจกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัวมากขึ้น

 

หรือหากวันไหนที่เรารู้สึกว่าวันนี้มัน dead inside จังเลย ขอแนะนำให้ลองหาหนังเศร้าซักเรื่องมาดู หรือลองบิ้วตัวเองด้วยการฟังเพลง ทำเรื่องอะไรที่มัน deep deep เพื่อร้องไห้ระบายมันออกมา

 

แต่หากไม่มีอะไรแก้ไขทำให้เรารู้สึกมีชีวิตชีวาได้ รู้สึกไร้ความหมายของการมีอยู่แบบไม่ใช่ขำ ๆ หรือประชด การออกไปพบจิตแพทย์คือทางออกที่ดีที่จะช่วยให้เราไม่จมอยู่จนกลายเป็นภาวะซึมเศร้าที่รุนแรงร้ายแรง

ทำไมเราถึงควรปล่อยให้เรารู้สึกแบบที่เรารู้สึกจริงๆ ? ในสมัยนี้ที่ทุกอย่างบอกให้เราคิดบวก มองโลกในแง่ดี แต่ถ้าเราคิดบวกกับทุกเรื่องมากเกินไปอาจจะทำให้เราตกอยู่ในสภาวะ Toxic Positivity ได้

ในวันที่เราทุกข์แบบสุด ๆ เลย แต่ละคนก็จะมีการแสดงออกที่แตกต่างกันไป บางคนก็ร้องไห้ กินไม่ได้ นอนไม่หลับ

 

แต่รู้ไหมว่ามีคนบางกลุ่มที่ในวันที่เขาทุกข์ใจ เขาก็แสดงออกว่าตัวเองมีความสุขแทน สิ่งนี้เรียกว่า “Toxic Positivity”

เมื่อ “คิดบวก” ทำร้ายเรา

สารบัญ

อย่างที่เรารู้กันว่า การคิดบวก เป็นอะไรที่ดีต่อสุขภาพจิต การคิดบวกทำให้เรามองเห็นมุมมองหรือทางออกของปัญหาที่ดีได้

 

แต่การที่คิดบวกทำร้ายเรา มันเหมือนว่าเรากำลังกดและซุกซ่อนความรู้สึกจริง ๆ ภายใต้คำพูดบวก ๆ หรือความคิดบวก ๆ

 

มันก็มีส่วนหนึ่งที่เรารู้สึกดีขึ้นจากคำพูดนั้นจริง ๆ แต่ก็ไม่เสมอไปเพราะการที่เราไม่จัดการความรู้สึกที่เกิดขึ้นอาจจะสะสมจนเราอาจจะไม่รู้ก็ได้ว่าเรากลายเป็นคนเย็นชาและมือมนตั้งแต่เมื่อไหร่

เราอยู่ในวัฒนธรรมที่บอกให้ “คิดบวก”

จริงส่วนหนึ่ง ที่ว่า ‘เราอยู่ในวัฒนธรรมที่บอกให้คิดบวก’ เพราะ การแสดงความคิด ความรู้สึก และอารมณ์ทางลบ ไม่ใช่สิ่งที่ถูกยอมรับในสังคม ลองคิดถึง ‘การร้องไห้กลางที่สาธารณะ’ ดู

 

แน่นอนว่า ใครเดินผ่านไปผ่านมาเห็นคงตกใจ น้อยคนที่จะคิดว่าเป็นเรื่องปกติทั่วไปจริงไหม ?

 

อีกอย่าง เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า การคิดบวก ดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต ทำให้เราพยายามที่จะคิดบวก ซึ่งบางครั้งอาจจะละเลยความรู้สึกที่แท้จริงของเราไป ทำให้ปัญหาภายในใจไม่ได้ถูกแก้ไข

 

และสุดท้ายแล้วการฝืนคิดบวก นำเราไปสู่ Toxic Positivity…

 

Toxic Positivity คืออะไร

คือ ความเชื่อว่าไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น สถานการณ์จะแย่มากแค่ไหนเราก็ต้องรักษาทัศนคติเชิงบวกไว้ เป็นเหมือนแนวทางการใช้ชีวิตว่า “ต้องรู้สึกดีเท่านั้นนะ”

 

แน่นอนว่าการคิดบวกมีประโยชน์มาก ๆ แต่ปัญหาก็คือ “มันไม่ได้มีแค่ประโยชน์เสมอไป”

 

Toxic Positivity จะทำให้เราปฏิเสธอะไรก็ตามที่เรารู้สึกว่ามันลบแบบอัตโนมัติเลย เช่น ความคิด ความรู้สึก การเเสดงออก และทดแทนมันด้วยความคิดด้านบวก

 

จนส่งผลให้เราแสดงออกว่ามีความสุข สบายดี แฮปปี้ แต่ลึก ๆ ข้างในเราสาหัสมาก พูดง่าย ๆ คือ เหมือนเราสะกดความคิดด้านลบไว้ภายใต้การมองทุกอย่างในแง่บวก

 

“Stay positive” คิดบวกเข้าไว้สิ

คิดบวก เป็นวิธีการหนึ่งในการจัดการความคิด ความรู้สึก และอารมณ์ของเรา เมื่อเราประสบพบเจอกับปัญหาในชีวิตที่ทำให้เกิด ความเครียด ความเศร้า หรือ อื่น ๆ

 

แต่แน่นอนว่า คิดบวกมากจนเกินพอดี นำไปสู่ ‘Toxic Positivity’ หรือ ‘การคิดบวกจนเป็นพิษ’ ได้

 

บทความของ Tchiki Davis จากเว็บไซต์ Berkeley Well-being Institute การคิดบวกจนเป็นพิษ หมายถึง การปฏิเสธอารมณ์ทางลบที่เกิดขึ้น แล้วฝืนคิดบวก ฝืนมองโลกในแง่ดี เพื่อปกปิดสิ่งที่เกิดขึ้นในจิตใจ

 

นอกจากนี้ การคิดบวกจนเป็นพิษ เชื่อมโยงกับ กลไกป้องกันทางจิต หรือ defense mechanism ในทางจิตวิทยาที่ชื่อว่า Suppression ด้วย

 

Suppression คือ การพยายามซ่อนหรือกดความคิด ความรู้สึก และอารมณ์ทางลบเอาไว้ ซึ่งถ้ามากจนเกินพอดี จะส่งผลเสียแทนที่จะส่งผลดี นอกจากนี้ เขายกตัวอย่างไว้ด้วย

 

เช่น ‘ไม่ชอบงานที่ทำอยู่ตอนนี้ อยากลาออก’ แต่พยายามบอกตัวเองว่า ‘ไม่เป็นไรหรอก โชคดีแค่ไหนแล้วที่มีงานทำ’

 

สัญญาณเตือนว่ากำลังตกอยู่ใน Toxic Positivity

1.รู้สึกผิดที่เศร้า เสียใจ ผิดหวัง

 

2.มักจะหนีหรือปัดปัญหา แทนที่จะเผชิญหน้า

 

3.ซ่อนความรู้สึกที่แท้จริงไว้หลังคำพูดที่รู้สึกดี

 

4.แอบต่อว่าหรือตัดสินคนอื่นเมื่อเขาไม่มีความคิดด้านบวก

 

5.อดทนหรือเอาชนะความเจ็บปวด

 

เกิดจากอะไร

1.เมื่อเราเจอกับเรื่องเเย่ๆในชีวิต

ตกงาน คนรอบข้างอาจจะพูดกับเราว่า มองโลกในแง่ดีไว้สิ มองในด้านดีไว้สิ แน่นอนว่าเขาอาจจะหวังดีแหละ เเต่มันอาจจะทำให้เรากลายเป็นคนปิดกั้นที่จะบอกความรู้สึกที่แท้จริงของเรา

2.เมื่อเราเจอกับความสูญเสีย

คนรอบข้างก็อาจจะบอกว่า ทุกอย่างเกิดขึ้นด้วยเหตุผล มันเป็นการหลีกเลี่ยงความเจ็บปวด

3.เมื่อเราเจอกับความเสียใจ

คนรอบข้างอาจจะบอกว่า ความสุขเป็นตัวเลือก ซึ่งมันหมายความว่า ในเมื่อคุณมีสิทธิที่จะเลือกที่จะมีความสุขได้ ทำไมไม่เลือก Just stay Positive

 

แน่นอนว่าคำพูดเหล่านี้เป็นคำพูดที่หวังดีแต่บางทีอาจจะทำร้ายคนที่ต้องผ่านช่วงยากลำบากไปได้ แทนที่เขาจะแบ่งปันความรู้สึกจริง ๆ ออกมาให้ตัวเองเบาลงได้ กลับรู้สึกเหมือนถูกเพิกเฉยแทน

 

ทำไมมันถึงอันตราย?

1.จะเกิดความคิดว่า ความรู้สึกลบเป็นที่ยอมรับได้ยาก

เวลาที่คนคนหนึ่งเจอกับเรื่องทุกข์ใจ เขาต้องรู้ว่าอารมร์ที่เกิดขึ้นมันถูกต้อง มันปกติ มันจะโล่งใจเมื่อได้รับแรงซัพพอาร์ตจากคนรอบข้าง แต่ Toxic Positivity จะบอกกับคนคนนั้นว่าความรู้สึกที่เกิดขึ้นมันไม่เป็นที่ยอมรับ

2.ทำให้เราเกิดความรู้สึกผิด

ทำให้เรารู้สึกว่า การที่เราไม่สามารถมองหาแง่คิดด้านบวกของเรื่องที่เจอได้ เราทำผิดอย่างมาก

3.หลีกเลี่ยงอารมณ์ที่แท้จริงของมนุษย์

และมันจะทำให้เรากลายเป็นคนที่ดูเพิกเฉยและเย็นชา

 

วิธีจัดการกับ Toxic Positivity

1.จัดการอารมณ์เชิงลบแต่ไม่ต้องปฏิเสธมัน

2.ให้คิดว่า มันโอเคที่จะรู้สึกแบบที่เรารู้สึก

เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่ตึงเครียด เป็นเรื่องปกติที่จะรู้สึกเครียด กังวล หรือแม้แต่กลัว อย่าคาดหวังจากตัวเองมากเกินไป

3.เวลาที่คนอื่นทุกข์ใจ รับฟังและซัพพอร์ตเขา

สะท้อนให้เขาเห็นว่าการที่เขารู้สึกแบบนี้ๆเป็นเรื่องปกติ point หลักก็คือ ปล่อยให้ตัวเองรู้สึกแบบที่รู้สึก มีความสุขก็เอนจอยกับมัน เศร้าก็เสียใจ ร้องไห้

 

เหมือนคำพูดของ Sadness จากเรื่อง Inside Out ที่บอกว่า

 

Crying helps me slow down and obsess over the weight of life’s problems.  “การร้องไห้ช่วยให้เย็นลงและผ่านปัญหาหนัก ๆ ในชีวิตไปได้”

4.ยอมรับกับความรู้สึกที่เกิดขึ้น

พอเรารู้ว่าเราติดคิดบวก ติดแสดงออกทางบวก ทำให้รู้สึกแย่กว่าเดิม

 

ลองประชุมกับตัวเองว่า ตอนนี้มีปัญหาอะไรเกิดขึ้น เราคิดอย่างไร รู้สึกอย่างไร บางครั้งที่ทุกอย่างมันเยอะ มันล้น เขียนลงกระดาษ เพื่อให้เห็นชัดเจนขึ้น

 

ซึ่งพอเรายอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น เราจะสามารถคิดต่อได้ว่า เรื่องไหนแก้ไขได้ก็แก้ไข เรื่องไหนแก้ไขไม่ได้ก็ปล่อย แต่ถ้าแก้ไขแล้วหรือปล่อยแล้ว ยังรู้สึกไม่ดีกับเรื่องนั้นอยู่ ลองเตือนตัวเองว่า

 

ไม่มีอะไรที่อยู่ไปตลอด ความเศร้า ความเสียใจ เกิดขึ้น คงอยู่ และหายไป

 

ลองให้เวลาตัวเองสักหน่อยนะ:)