ประโยคที่ว่า ‘ยิ่งโต ยิ่งรับมือกับปัญหาได้ดี’ จริงแค่ไหน? ” ปัญหารุมล้อม ” 8 ด้าน หาทางออกไม่เจอ มองไปทางไหนไม่มีใครอยู่เคียงข้าง รับมือเบื้องต้นอย่างไรดี?
ปัญหารุมล้อม 8 ด้าน รับมืออย่างไรดี?
ช่วงวัยไหนที่เจอปัญหามากที่สุด?
เคยมีวิจัยเกี่ยวกับ Quality of life ช่วงวัยที่ว่ากันว่าปัญหาเยอะที่สุดคือ ช่วง 40-50 ปี วัยผู้ใหญ่ตอนปลาย เพราะเป็นช่วงที่ต้องลงหลักปักฐาน เป็นช่วงที่ต้องสร้างเนื้อสร้างตัว
บางคนเริ่มมีครอบครัว ลูกกำลังเรียนหนังสือและเติบโต ลูกโตมีทั้งแบบดื้อ เกเร ปัญหาครอบครัว ปัญหาชีวิตตัวเอง ไม่พอ ยังเป็นช่วงที่จะต้องเจอกับการสูญเสียเยอะ เช่น สูญเสียพ่อแม่
“วัยเรียนไม่น่าจะมีปัญหาเยอะนะ” จริงไหม?
ไม่จริงเสมอไป ค่อนข้างเห็นต่าง เพราะในแต่ละช่วงวัยจะเจอปัญหาไม่เหมือนกัน จะแน่ใจได้อย่างไรว่าวัยเรียนจะไม่เจอปัญหาอะไร แต่แค่เป็นช่วงวัยที่เขาใช้ชีวิตสนุกและมีวุฒิภาวะที่ยังไม่มากพอ
เลยอาจจะทำให้เขาไม่ได้คิดมากหรือจะมองอะไรให้รอบด้าน เด็ก ๆ อนุบาล เรื่องยากที่สุดคือการแยกกับพ่อแม่ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่สำหรับเขามาก จะต้องอยู่โรงเรียนยังไงโดยที่ไม่มีพ่อแม่
ประถม จะเป็นเรื่องการอ่านการเขียน เด็กบางคนเจอปัญหาการเรียนหนัก การปรับตัวเข้ากับเพื่อน การต้องอยู่ในสังคมที่ไม่ใช่ครอบครัวแล้วเจอคนมากหน้าหลายตามาก มันเป็นปัญหาใหญ่สำหรับเด็ก
ในวัยนั้นได้เหมือนกัน หรือถ้าเราโตมาหน่อยเป็นวัยรุ่น การได้รับการยอมรับจากเพื่อน การอยู่กับคนอื่น เป็นเรื่องที่ปัญหาใหญ่มากนะ ถ้าเราทำมันไม่ได้ หลายคนจะเริ่มเหนื่อย ท้อ หมดแรง
เพราะฉะนั้นวัยเรียนอาจจะไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกว่าเขาไม่ได้เจอปัญหาอะไรเท่ากับวัยผู้ใหญ่
“ไม่ต้องไปคิดมากหรอก ไม่ใช่เรื่องใหญ่” นักจิตวิทยาคิดเห็นอย่างไร?
จะบอกว่าเล็กหรือใหญ่ไม่ได้ เพราะมันคือทัศนคติที่เรามีต่อเรื่องนั้น ๆ มองว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่เราไม่ต้องไปเจอเอง เราไม่ใช่เจ้าของปัญหานั้น เราจะรู้สึกว่าทำแบบนั้นสิ มันง่ายนิดเดียว
มันเกิดขึ้นแบบนั้นเพราะเราไม่ได้อยู่ในจุดที่จะต้องเผชิญกับมัน แม้กระทั่งเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เรามองว่า มันควรจะผ่านไปได้ง่าย ๆ แต่เราไม่รู้หรอกว่าคนที่เขากำลังเผชิญอยู่เขาต้องรับมือกับอะไรบ้าง
เขาต้องรู้สึกอย่างไรบ้าง เล็กของเราอาจจะใหญ่ของเขา ใหญ่ของเราอาจจะเล็กของเขาได้เหมือนกัน ค่อนข้างมองต่างมากว่า แค่นี้เอง แค่นี้มันแค่ไหน
เอาตรงไหนมาเป็นตัววัดดีว่าอันนี้เรียกเล็กหรือใหญ่ สุดท้ายมันคือความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับคนที่เจอปัญหา
รับมืออย่างไรกับคำพูดคนอื่น?
อาจจะต้องมาตั้งต้นที่ตัวเอง เหมือนสร้างตัวกรองให้ตัวเอง เมื่อไหร่ก็ตามที่เรารู้สึกว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่เราไม่ควรจะอนุญาตให้เข้ามาแม้กระทั่งในความคิด มันจะไม่มีผลกับความรู้สึกเลย
ไม่ว่าจะเป็นคำพูดไหนก็ตาม มันจะไม่ต้องมาผ่านการตีความว่าอันนี้เขาปลอบใจเราหรือเขากำลังตำหนิเรา เพียงแต่เรากลับมาตั้งต้นที่ตัวเองและรู้จักตัวเองว่าเราเป็นแบบไหน
แล้วเรากำลังเผชิญอยู่กับอะไร สร้างตัวกรองให้ตัวเองกับเรื่องที่เข้ามา คิดก่อน หยุดมองก่อน ว่าอันนั้นมันดีมันแย่ไม่รู้หรอก แต่เรากำลังเผชิญอยู่กับอะไรแล้วเราเป็นยังไง
มันคงจะเป็นบางอย่างที่ช่วยให้เราไม่ต้องมาแบกรับกับทุก ๆ คำพูด หรือไม่ต้องแบกรับกับทุก ๆ สิ่งที่คนอื่นให้เรามา
ปัญหารุมล้อม หาทางออกไม่ได้ ทำอย่างไรดี?
สมมติว่ามีหลาย ๆ อย่างเข้ามา แล้วเราควรจะทำอย่างไรได้บ้าง มันมีอะไรบ้าง ตอบตัวเองให้ได้ เวลาที่เราพูดถึงปัญหารุมเร้า เราจะรู้สึกว่ามันแย่ มันทุกข์ มันเหนื่อย
แต่เราลืมมานึกต่อว่า เรากำลังเผชิญอยู่กับปัญหาที่มีชื่อเรียกว่าอะไรบ้าง หรือหน้าตาของปัญหาที่เรากำลังเผชิญอยู่มันมีอะไรบ้าง ปัญหาโดนเพื่อนแกล้ง เรียนหนังสือไม่ได้
โดนตำหนิ หรืออะไร มันมีชื่อเรียก ลองดึงและค่อย ๆ เอาออกมาให้มันชัดขึ้น เพราะถ้าเราปล่อยตัวเองจมอยู่ในความรู้สึกที่ว่า มันแย่จังเลย มันก็จะแย่อยู่อย่างนั้น ออกมาไม่ได้
แต่พอเราเห็นแล้วว่า 1 2 3 4 มีอะไร ลองดูว่าเราทำอะไรกับแต่ละปัญหาของตัวเองได้บ้าง แล้วก็ลองทำดู แต่หลาย ๆ คนเวลาที่เจอหลาย ๆ อย่าง มันยากที่จะทำแบบนี้
กลับไปที่การมีสติของตัวเองก่อนก็ได้ มันจะจมอยู่กับความรู้สึกให้พอดี แล้วก็กลับมามีสติและบอกตัวเองว่า ตอนนี้เกิดอะไรขึ้น คุยกับตัวเองแล้วดึงมันออกมาทีละอย่าง
จัดการไปทีละอย่าง 10 อย่างมันอาจจะไม่ได้ดีขึ้นภายใน 1-2 วัน มันอาจจะต้องมีเวลาของมันด้วย แต่ท้ายที่สุดแล้วเมื่อไหร่ก็ตามที่เราไม่ดึงตัวเองออกมา เราไม่ทำอะไรกับมันเลย ปัญหาจะอยู่แบบนั้น
ปัญหารุมล้อม นำไปสู่ภาวะทางจิตได้ไหม?
จริง ๆ แค่ปัญหาเดียวไม่ต้องรุมเรา แต่เรามี 1 ปัญหาแต่ว่ามันหนักหน่วง สุขภาพจิตเราก็แย่ได้เหมือนกัน แล้วถ้ามองว่า มันมี 8 ปัญหา 8 ด้าน แล้วมารุมเรา มันแย่เหมือนกันนะ
คนหนึ่งคนต้องรับ 8 อย่าง มันคงตามมาด้วยสุขภาพจิตที่มันแย่ได้เหมือนกัน ไม่ว่าจะประกอบไปด้วยกี่ปัญหา แต่ถ้ามันหนักหน่วงกับเรามาก แล้วเรารู้สึกกับมันมาก ๆ
แล้วเราไม่รู้ว่าจะเดินยังไง หาทางจัดการกับมันไม่ได้ แล้วเราก็จมอยู่กับปัญหาตรงนั้น สุขภาพจิตเราก็แย่อยู่แล้ว แน่นอนว่าพอสุขภาพจิตแย่ ทุก ๆ อย่างมันก็จะแย่ตามไปด้วย
สุดท้ายแล้วมันคงนำไปสู่โลกหรือสภาวะทางจิตใจบางอย่างที่มันไม่เหมือนเดิมได้เหมือนกัน
สัญญาณเตือน ตอนไหนควรไปหาหมอ? ไม่กล้าพบผู้เชี่ยวชาญทำอย่างไรดี?
อาจจะเริ่มต้นจากการที่เราเห็นตัวเองเปลี่ยนไป พอเราเริ่มมีการเปลี่ยนไปหรือเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นความคิด ความรู้สึก ให้เราตระหนักกับตัวเองว่ามันเกิดอะไรขึ้น เพียงแค่นั้น
แค่เรารู้สึกเริ่มสงสัยในตัวเอง เกิดอะไรขึ้นกับเรานะ แค่นั้นคงเป็นสัญญาณหนึ่งที่บ่งบอกได้ว่า หรือว่าเราจะต้องหาตัวช่วยแล้ว อาจจะไม่ต้องรอวันที่ปัญหามันลึกมาก ๆ มันหนักมาก ๆ
แล้วค่อยขอตัวช่วยหรือไปหาผู้เชี่ยวชาญ เพียงแค่เราเริ่มรู้สึกไม่สุขสบายกับตัวเอง ฟังก์ชันบางอย่างค่อย ๆ แย่ลง อันนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะลองเข้าไปขอตัวช่วยหรือผู้เชี่ยวชาญได้
ดึงความกล้า ลดความกลัว อย่างไรก่อนไปหาหมอ?
คิดว่าเหมือนไปตรวจร่างกาย เพียงแต่ว่าเราไม่สุขสบายทางด้านจิตใจ มันจะใช้วิธีการเดียวกันในการที่เราจะเข้าไปเจอกับผู้เชี่ยวชาญ เหมือนกันกับที่เราบอกว่า รู้สึกปวดท้อง
สงสัยว่าจะเป็นนั่นเป็นนี่ไหม เราก็ไปหาผู้เชี่ยวชาญด้านท้อง เหมือนกันกับสุขภาพจิต มันก็เป็นเพียงการที่เราเข้าไปดูแลจิตใจของตัวเอง คล้าย ๆ กับการดูแลร่างกายตัวเอง
มันอาจจะบอกได้ว่า ไม่กังวลได้ไหม คงยากมาก เพราะสุดท้ายอะไรที่เป็นเรื่องใหม่ ๆ หรือเป็นสิ่งที่เราไม่เคยทำ ความกล้าอาจจะมาไม่เต็มร้อย หรือเราจะคิดกังวลกับสิ่งเหล่านั้นได้
อยากให้ลองทำอย่างที่อยากจะทำก่อน ถ้าครั้งที่ 1 ผ่านไป เราจะเริ่มรู้ว่า pattern ของการไปเจอผู้เชี่ยวชาญเป็นแบบไหน เราจะเริ่มลดความกังวลลงได้ ความกล้าจะค่อย ๆ ตามมาด้วย
แล้วในยุคนี้ข้อมูลเข้าถึงได้ง่ายมาก เราลองทำการบ้านกับตรงนั้นก่อนก็ได้ ว่าเวลาไปเจอจิตแพทย์ ไปเจอนักจิตวิทยา เขาทำกันอย่างไร ไปเจออะไรบ้าง ลองอ่านข้อมูลจากคนอื่น ๆ ก่อน
เอาที่มันพอดี แล้วพอเห็น guide ว่าจะต้องมี 1 2 3 4 ก็ลองไปทำตาม 1 2 3 4 ตรงนั้น มันคงจะช่วยลดความกังวลบางอย่างในตัวเองลงได้
ปัญหารุมล้อม ฝึกใจอย่างไรให้พร้อมรับมือ?
ถ้าจิตใจเรามั่นคงมากพอ คงจะไม่มีอะไรมาทำร้ายเราได้ สำคัญที่สุดคือหมั่นสำรวจความรู้สึกของตัวเองเวลาที่มันเข้ามา แล้วเราก็เปิดสวิตช์ให้มันรู้สึกอย่างที่มันควรจะเป็น
ไม่ควรไปปิดกั้นว่า ไม่ควรเศร้า ไม่ควรเสียใจ ไม่ควรโกรธ คือสิ่งเหล่านี้มันคือเรา ถ้าเราเรียนรู้ที่จะอยู่กับอารมณ์เหล่านั้นได้มากพอ ปัญหาอะไรเข้ามาก็คงไม่กระทบเราได้แรงมาก
แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เราไม่เรียนรู้ที่จะรู้จัก แม้กระทั่งอารมณ์ของตัวเอง ความมั่นคงในจิตใจเราก็จะไม่เกิดขึ้น สำคัญคือการฝึก พอเราพูดถึงความแข็งแรง
มันคือสิ่งหนึ่งที่เราจะต้องฝึกฝนกับตัวเองอย่างสม่ำเสมอ คล้าย ๆ กับการที่เราออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรง ถ้าเราอยากจิตใจแข็งแรงมากขึ้น เราก็ต้องฝึกรู้จักตัวเอง
รู้จักที่จะเห็นข้อดีของตัวเอง พูดกับตัวเองในทิศทางที่ดีบ้าง สำคัญมากไปกว่านั้นคือการฝึกแล้วต้องรู้จักและบันทึกกับตัวเองได้ บางทีหลาย ๆ คนชอบปล่อยมันออกไป
ลองจดบันทึกความคิด ความรู้สึกของตัวเอง แล้วลองหาวิธี exercise กับตัวเองก็ได้ ถ้าเราจดบันทึกแล้วเรารู้สึกว่า 1 วันเราคิดดีไม่ได้เลย เรามีแต่เรื่องอะไรก็ไม่รู้ที่ moody อยู่ตลอดเวลา
แล้วพรุ่งนี้เราไม่อยาก moody แล้วเราทำอะไรกับตัวเองได้บ้าง แล้วก็ฝึกซ้ำ ๆ สักพักหนึ่งเราจะเริ่มแข็งแรงในเรื่องของการจัดการกับความ moody ของตัวเองได้ มันอาจจะต้องอาศัยเรื่องการฝึกฝน
อย่าลืมให้เวลาตัวเองได้ทำความเข้าใจตัวเองและปัญหา สุดท้ายแล้วจะมีวันที่ผ่านไปได้แน่นอน 🙂
Post Views: 2,021