ความเครียดในวัยรุ่น

เข้าใจเด็กบ้าง.. ความเครียดในวัยรุ่น ไม่ใช่เรื่องเล็ก ไม่ใช่เรื่องไร้สาระ

เรื่องAdminAlljitblog

เด็กและวัยรุ่นบางกลุ่มพวกเขาไม่สามารถเข้าใจว่ากำลังเผชิญกับความเครียดอะไรอยู่ ซึ่งเรียกว่าภาวะ ความเครียดในวัยรุ่น หรือเด็กบางคนที่ก้าวเข้าสู่วัยรุ่นแล้วเกิดเป็นความยุ่งยากในการจัดการกับภาวะอารมณ์ความเครียดของตัวเอง

 

บทความนี้ Alljit ร่วมกับ คุณรัชดาภรณ์ ศรีวิลัย นักจิตวิทยาคลินิก พูดคุยในทุกประเด็นในเรื่องสุขภาพใจ ทำความเข้าใจความเครียดที่เกิดกับวัยรุ่นไม่ใช่เรื่องไร้สาระแบบที่ผู้ใหญ่มองเห็น

นำมาสู่ปัญหาพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ผู้ใหญ่มักจะมองว่าเป็นปัญหาในการใช้ชีวิตของพวกเขาเอง ดังนั้นจะมาพูดคุยเรื่องความเครียดของวัยรุ่นให้หลาย ๆ คนในวัยผู้ใหญ่ได้เข้าใจและรับมือกับความเครียดของวัยรุ่น

เข้าใจ ความเครียดในวัยรุ่น

วัยรุ่นเป็นวัยที่เครียดได้ง่ายมาก ๆ เป็นความเครียดที่เกิดขึ้นโดยที่ตัววัยรุ่นหลายคนไม่สามารถสำรวจตัวเองได้ ว่าพวกเขาเองกำลังเกิดความเครียด ส่วนหนึ่งที่ทำให้วัยรุ่นเกิดความเครียดได้ง่าย

 

คือ วัยรุ่นเครียดได้จากความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย ภายนอก รูปลักษณ์ที่โตขึ้น หรือบางคนเกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ฮอร์โมนที่ไม่สามารถมองเห็นได้ง่าย สามารถเกิดเป็นความเครียดและทำให้วัยรุ่นเกิดความว้าวุ่นใจได้

 

ถึงแม้ว่าร่างกายที่เกิดขึ้นจะเปลี่ยนแปลงแต่สิ่งหนึ่งที่ยังเปลี่ยนแปลงตามร่างกายไม่ทัน คือ ความคิด ความเข้าใจ ทัศนคติ มีความปะปนกันระหว่างความฝัน ความคิดจินตนาการผสมความเป็นจริง

 

และวัยรุ่นเป็นวัยที่กำลังค้นหาตัวเอง ทำให้บางทีอาจจะทำตัวแปลก ๆ ต่อสายตาผู้ปกครอง ทำให้บางบ้านมีความครุกกรุ่น ตึงเครียด 

ความรุนแรงของ ความเครียดในวัยรุ่น

ความรุนแรงของความเครียดในวัยรุ่น ถ้ารุนแรงมากก็จะแสดงออกทางพฤติกรรมที่ดูเป็นปัญหา บางคนความเครียดส่งผลต่อด้านอารมณ์ สังคม รวมถึงโรงเรียน

 

บางคนเก็บตัวไม่คุยกับใคร ไม่อยากไปโรงเรียน บางคนดื้อต่อต้าน บางคนเลือกใช้สารเสพติด พฤติกรรมเหล่านี้มีสาเหตุมาจากพวกเขามีความเครียดบางอย่างเกิดขึ้น และพวกเขาไม่สามารถจัดการได้ 

วิธีป้องกันและแก้ไขความเครียดในวัยรุ่น

1. ถ้าเกี่ยวข้องกับสารเสพติด วิธีดูแลคือพาเขาไปรักษาภาวะซึมเศร้า และพาไปบำบัดเกี่ยวกับสารเสพติดเพื่อลดการใช้สารเสพติด

 

2. เด็กบางคนเรียนไม่ทันเพื่อน ทำให้เกิดความเครียด แยกตัว ไม่อยากไปโรงเรียนผู้ปกครองควรปรับเรื่องการเรียนของเขา ให้เข้ากับศักยภาพที่เขามี

 

แต่บางสาเหตุก็ไม่สามารถแก้ไขได้ เช่น ไม่เรียนหนังสือ เกเร ไม่มีวินัย เอาแต่ใจ หรือบางคนขาดการควบคุมในตัวเองตั้งแต่เด็ก รวมไปถึงการปรับตัวในสังคมช่วงวัยรุ่นที่มันใหญ่ขึ้น 

ระดับความเครียดในวัยรุ่น แบ่งได้ 3 ระดับ

1. ลักษณะของเด็กที่มีความเครียด วิตกกังวล ไม่มีสมาธิ ซึ่งขั้นนี้จะไม่มีผลกระทบต่อการเรียน การใช้ชีวิต ต่อคนรอบข้างมาก เป็นความรู้สึกเครียดที่เกิดความเปลี่ยนแปลงจากตัวเขาเอง

 

2. ขั้นที่สองจะมีระดับความรุนแรงกว่าขั้นแรก โดยจะเริ่มมีผลกระทบต่อการเรียน การใช้ชีวิตในสังคม รวมไปถึงมีผลกระทบต่อคนรอบข้างด้วย

 

3. อยู่ในระดับที่ค่อนข้างรุนแรงส่งผลกระทบมาก เด็กบางคนจะขาดสมาธิในการเรียน ไม่มีเป้าหมายในการใช้ชีวิต มีภาวะทางอารมณ์ ซึมเศร้า ใช้สารเสพติด หรือบางคนเริ่มทำร้ายร่างกายตัวเอง

 

เพราะเนื่องจากระบบประสาทการทำงานของเขาผิดปกติไปทำให้ฟังชันก์การทำงานผิดปกติไปด้วย 

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียดในวัยรุ่น

1. ความเครียดง่าย ขี้กังวล สามารถเกิดจากพันธุกรรมได้  เช่น ผู้ปกครองมีความเครียดง่าย ขี้กังวล ส่งผลให้ถึงลูกเราได้

 

หรือบางทีเกิดจากสภาพแวดล้อมที่ตึงเครียดอยู่ตลอดเวลา ความคาดหวังของพ่อแม่ พ่อแม่ทะเลาะกันให้ลูกเห็นบ่อย ๆ ลูกก็จะซึมซับและเกิดความเครียด

 

2. การเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนเป็นการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วเกินไป ทำให้พวกเขาปรับตัวไม่ทัน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทำให้ หงุดหงิด โมโหง่าย ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้

 

จริง ๆ แล้วเด็กวัยรุ่นมีเรื่องเครียดหรือไม่?

วัยรุ่นก็เหมือนวัยผู้ใหญ่ที่มีเรื่องเครียดได้เช่นกัน และจัดการอารมณ์ได้ไม่เท่าวัยผู้ใหญ่ ดังนี้

 

1. เครียดเรื่องการเรียน การเรียนที่เยอะเกินไป โดยที่เด็กไม่ต้องการ การบ้านเยอะไม่สามารถทำได้ทัน ไม่เข้าใจบทเรียน ส่งผลให้เกิดความเครียดได้เหเปรียบเสมือนผู้ใหญ่ทำงานหนักทำให้เกิดความเครียด

 

2. ปัญหาทักษะสังคม ทะเลาะกับเพื่อน ทะเลาะกับแฟน ผู้ใหญ่หลายคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่วัยรุ่นยังไม่มีความเข้าใจและการยับยั้งตัวเองได้เหมือนผู้ใหญ่ 

 

3. ไม่มีใครรัก และไม่ได้รับความสนใจ หลายคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย มีหน้าที่เรียนหนังสือไม่จำเป็นต้องสนใจใคร แต่แท้จริงแล้วไม่ว่าจะวัยไหนก็อยากได้รับความรักจากครอบครัว เพื่อน หรือคนอื่น ๆ ที่พวกเขาให้ความสนใจ

 

4. มีการเปลี่ยนโรงเรียนบ่อย การเจอสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สิ่งไหนไม่เคยเจอพอเจอก็จะเกิดความเครียด ทำให้รู้สึกไม่สบายใจ ส่งผลให้ไม่อยากไปโรงเรียนไม่พร้อมพบเจอสภาพแวดล้อมใหม่ 

 

5. มีมุมมองต่อตัวเองว่าไม่เก่งเลย ทำได้ไม่ดีเท่าคนอื่นเลย มีสภาพแวดล้อมกดดัน ทำให้เกิดความรู้สึกท้อแท้ หมดหวัง ขาดความมั่นใจในตัวเอง สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้เกิดความเครียดต่อตัวเอง

 

6. การอกหักในวัยรุ่น เมื่อถูกปฏิเสธจากคนรักทำให้รู้สึกตัวเองไม่มีค่าในตัวเอง ไม่เป็นที่ต้องการของใคร ตัวเองดีไม่พอทำให้เป็นที่ไม่ยอมรับต่อผู้อื่น 

 

สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดความเครียดในวัยรุ่นได้มากทีเดียว 

 

วัยรุ่นและลูกที่มีความเครียด เราอาจจะให้เวลาแก่เขามากขึ้น ทำกิจกรรม พูดคุยให้มากขึ้น เพื่อที่จะได้เข้าใจว่าเขาเกิดจากความเครียดจากสาเหตุอะไร ไม่มีใครรู้จักลูกเราดีเท่ากับตัวเราเอง สำคัญเลยคือต้องเปิดพื้นที่รับฟังสำหรับวัยรุ่น

 

เพราะตัววัยรุ่นเองจะรู้สึกว่า ผู้ใหญ่ ผู้ปกครอง เป็นผู้รับฟังที่ดีไม่ได้ ชอบตัดสิน การเปิดใจรับฟังเป็นทางเลือกที่ดีมาก ๆ ที่จะสามารถช่วยลูก หรือวัยรุ่นได้

Related Posts