Posts
สุขภาพจิต เป็นเรื่องปกติที่คนส่วนใหญ่มักจะมองว่าไม่ปกติ อาการที่คนส่วนใหญ่มักละเลยเพราะไม่ได้เห็นอาการอย่างแน่ชัดแบบเจ็บป่วยทางกาย ปวดหัว หกล้ม 🙁
สุขภาพจิต คืออะไร
Mental Health สุขภาพจิต คือ สภาวะความอยู่ดีมีสุขของบุคคล ที่คน ๆ นั้นสามารถตระหนักรับมือกับความเครียด การทำงาน และสามารถช่วยเหลือผู้คนรอบข้างได้
เป็นเรื่องที่ต้องอยู่กับมันได้ รับมือกับมันได้ ไม่เชิงว่ามีสุขภาพจิตในเชิงบวกดีเท่านั้นแต่การที่เรารับมือกับเชิงลบก็ถือว่าเป็นสุขภาพจิตด้วยด้วย
มาเช็ค สุขภาพจิต กัน
คอนเซ็ปต์ ของสุขภาพจิต “รู้จักตัวเอง เข้าใจตัวเอง มีความสุขได้ เศร้าได้ จัดการตัวเองได้”
มนุษย์ไม่ใช่หุ่นยนต์การที่เราป่วยเราก็มีสุขภาพจิตที่ดีได้ การป่วยมีผลต่อสุขภาพจิต นิยามของสุขภาพจิตที่ดีคือรู้และเข้าใจตัวเองว่าเราทำอะไรได้ ทำอะไรไม่ได้
ไม่ทำในสิ่งที่เป็นทุกข์จนเกินไป หรือสบายจนเกินไปที่จะทำให้เป็นทุกข์ในอนาคต
สุขภาพจิต สำคัญที่สุดจริงไหม
คนเราไม่สามารถยึดอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นสิ่งเดียวของชีวิตได้ ต้องสุขภาพจิตบาลานซ์กับสุขภาพกาย สุขภาพจิตมีแบ่งแยกเยอะมาก ครอบคลุมไปถึงการงาน การใช้ชีวิต การเงิน ต่าง ๆ
สุขภาพจิตกับสุขภาพกายต้องดีพอ ๆ กันทั้งคู่เพื่อผลที่ดีในระยะยาว
ทำไมปัญหาสุขภาพจิตมักถูกมองข้าม
จุดเริ่มต้นคือโรค ฮิสทีเรีย โดยซิกมัน ฟรอยด์ แพทย์ประสาทวิทยา เขาได้ผันตัวเองมาเป็นนักจิตวิทเคราะห์ ซึ่งเป็นสายใหม่ที่โดนแยกออกมาจากจิตแพทย์ จิตวิทยา
ฮิสทีเรีย ถูกมองว่าเป็นอาการแกล้งทำในสมัยก่อน การเก็บกดทางเพศทางจิตใจ ฟรอยด์ เป็นค้นพบแล้วรักษาจนหาย ยุคสมัยนั้นไม่มีการเปิดรับโรคทางจิตทำให้เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนมีอาการป่วย
แต่ฟรอยด์เป็นคนริเริ่มทำให้ยุคนั้นการที่ป่วยทางจิตไม่เป็นที่ยอมรับ ถูกต่อต้านค่อนข้างมากเพราะด้วยเรื่องความ วัฒนธรรม ศาสนา ก็มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย พอมาปัจจุบันในตอนนี้มีการโลกมีข้อมูล มีการเปิดรับมากขึ้น
แต่ก็ยังมีคนที่ไม่เข้าใจเท่าที่ควรอยู่ดีแต่ก็ถือว่าค่อนข้างพัฒนากว่ายุคนั้นมาก ๆ แล้ว ถ้าหากว่า มีการเรียนรู้ ความเชื่อ วัฒนธรรม การทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้พัฒนามากขึ้น
จะสามารถทำให้คนรับรู้ว่าเรื่องนี้สามารถเกิดขึ้นได้ และมีคนทำความเข้าใจได้มากขึ้นกว่าเดิมด้วย 🙂
ดูแลสุขภาพจิตในมุมมองนักจิตวิยา
เราจะบาลานซ์ชีวิตแบบไหน แบบไหนเราต้องยืดหยุ่น แบบไหนเราต้องอดทน เพราะมนุษยมีหลายมิติมาก ๆ การที่เราอ่อนแอ มีความทุกข์ ความเครียด เป็นคุณสมบัติของสุขภาพจิตเหมือนกัน
ถึงแม้ว่ามันจะไม่หายไปแต่เรารับมือได้เท่ากับว่าเราดูแลสุขภาพจิตของเราได้แล้ว และอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญและมักจะถูกตั้งคำถามบ่อย ๆ ว่า ต้องแค่ไหนเราควรไปพบจิตแพทย์
จากใจของนักจิตบำบัดเลยคือถ้าเรารู้สึกไม่โอเค เราเริ่มรู้สึกว่า การนอนเราเปลี่ยนไป การกินเราไม่ปกติ การไปพบผู้เชี่ยวชาญคือทางออกที่ดีที่สุด
ไม่อยากทำอะไร ” อยากนอนเฉย ๆ ” จะลุกไปทำอะไรก็ดึงตัวเองออกจากที่นอนได้ยากทุกที นี่เรา “ขี้เซา” หรือ “ขี้เกียจ” กันนะ?
ไม่อยากทำอะไร อยากนอนเฉย ๆ
อยากนอนเฉย ๆ ผิดไหม?
จะบอกว่าถูกผิด คิดว่าสิ่งสำคัญไม่ใช่แค่หลักเกณฑ์ในการตัดสิน ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของคนทำด้วย เช่น ทำงานมา 6 วันแล้ว อยากนอนสัก 1 วันเต็ม ๆ คงไม่ผิด แต่มีคนอีกส่วนหนึ่ง
ที่ทำแบบนี้แล้วรู้สึกแย่และรู้สึกผิดกับตัวเอง ก่อนที่จะมองว่าอะไรถูกหรืออะไรผิด ลองถามตัวเองดูก่อนว่า เราโอเคไหม? ถ้าเราโอเค เหตุผลฟังขึ้น เรารู้สึกรับได้ ก็ถือว่าโอเค แต่ถ้า
วันหนึ่งเรารู้สึกว่าไม่โอเค ก็คือไม่โอเค แต่ก็ต้องเตือนว่า ถ้านอนนานเกินไป นอนอย่างเดียวหลายวันติดต่อกัน จะต้องเริ่มระวังตัวแล้ว เพราะมี sign ของความผิดปกติเกิดขึ้น ในชีวิต
เป็นไปไม่ได้ที่เราจะทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว เราจะนอนอย่างเดียวไม่ได้ กินอย่างเดียวไม่ได้ เราเป็นสิ่งมีชีวิตที่ธรรมชาติสร้างให้มีหลาย Activity ในแต่ละวัน มากน้อย
แล้วแต่บุคคล แต่เราไม่สามารถทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวได้ เราถูกสร้างมาให้มี timing ในแต่ละช่วงที่แตกต่างกันไป ถ้าถามว่าถ้าอยากนอนเฉย ๆ เชื่อมโยงไปถึงอะไร
บางทีเราอาจจะมีภาวะซึมเศร้าโดยที่เราไม่รู้ตัว เราเลยอยากนอนอย่างเดียว เฉย ๆ เฉื่อย ๆ แต่จะมีดีกรีด้วย บางทีอาจจะอยากแต่ยังไม่ทำ แต่ถ้าทำไปแล้ว อาจจะมี sign ของความ
รุนแรงบางอย่างเกิดขึ้นได้ บางคนนอนจ้องเพดานเฉย ๆ อันนี้อาจจะเป็นข้อพิจารณาว่าอันตราย ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่เราใช้ชีวิตด้วย หรือบางทีอาจจะมีสภาวะหมดไฟอยู่ อยู่ในภาวะ
เฉื่อยฉา ไม่ค่อยอยากจะไปทำอะไร แต่การจะรู้เรื่องพวกนี้ได้ ต้องเข้าพบนักวิชาชีพ ตรวจสอบเรียบร้อย และถ้าเราเห็นว่าสิ่งที่เป็นกระทบกับชีวิตประจำวัน ต้องขอความช่วยเหลือ
ขี้เซา และ ขี้เกียจ แตกต่างกันอย่างไร?
ขี้เกียจคือสภาวะที่เราไม่อยากทำอะไร แต่เราอาจจะไม่ได้ง่วง ขี้เซาอาจจะเป็นสภาวะของคนที่นอนไม่พอ คนที่ต้องการเวลานอนมากขึ้นก็ได้
หรืออาจจะ combination นอกจากนอนไม่พอ ยังขี้เกียจจะทำอะไรด้วย ก็อาจจะเป็นไปได้ แต่ถ้ามองภายนอก สองอย่างนี้จะดูคล้ายกัน
อยากนอนเฉย ๆ แล้วรู้สึกผิด เกิดจากอะไร?
ถ้าในยุคนี้ เหตุผลอย่างหนึ่งคือค่านิยมใหม่ ๆ ที่ทำให้เราต้องใช้ชีวิตแบบ Productive ตลอดเวลา ต้องใช้เวลาให้มีคุณภาพ ต้องมีประโยชน์ บางคนบอกว่า คุณนอนไป 6 ชั่วโมง
แต่ 6 ชั่วโมงของผมทำได้เป็นหมื่นเป็นแสนแล้วจากการเทรด คุณควรมาเรียนรู้ ซึ่งอะไรแบบนี้ทำให้คนรู้สึกแย่และรู้สึกผิด รู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า ใช้เวลาไม่เป็น ทั้งที่จริง ๆ แล้ว
การนอนเป็นสิทธิ์ของเขา บางคนทำงานมา 6 วันแล้ว วันนี้จะนอน อาจจะไม่ผิด โดยพื้นฐาน สังคมและเหตุปัจจัยภายนอกอาจจะมีผล เพราะมันสร้างค่านิยมใหม่ ๆ กดทับเรา
ไม่ค่อยอยากโฟกัสเรื่องบุคลิกภาพภายในมาก ในยุคนี้ ต่อให้บุคลิกภาพภายในเปราะบางหรือไม่มั่นคง แต่ถ้าเรามีสิ่งแวดล้อมที่ดี สิ่งแวดล้อมนั้นจะสามารถเอื้อไปหาสิ่งที่ดีได้
อยากนอนเฉย ๆ แต่ยิ่งนอนยิ่งอารมณ์ดิ่งลง รับมืออย่างไร?
ถ้าเป็นกรณีนี้ อันดับแรกควรพบหมอก่อน มีข้อถกเถียงหนึ่งคือ ยาต้านเศร้าช่วยผู้ป่วยได้จริงไหม? ทุกวันนี้มีงานวิจัยผลิตออกมาเรื่อย ๆ แต่จากประสบการณ์ ถ้าหมอที่จ่ายยา
เข้าใจเรา เข้าใจบุคลิกเรา เข้าใจตัวโรค ถ้าหมอจ่ายยาแบบรู้ลิมิต รู้ปริมาณ ที่ควรให้ แค่มี 2 อย่างนี้ บวกกับความอดทนที่จะให้ยาปรับตัวกับเรา ยาจะช่วยเราได้ แน่นอนว่ายา
ไม่ได้ช่วยผู้ป่วยได้ทุกคน แต่ถ้าในกรณีที่ว่ายิ่งนอนยิ่งดิ่งลง เกิน 50% เป็นเคสที่ต้องพึ่งยา เราต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า ยังไม่มีข้อสรุปว่าในขณะที่ซึมเศร้า สารสื่อประสาทเกิด
ขึ้นอย่างผิดปกติก่อนจริงไหม? หรือว่าพอเป็นซึมเศร้า สารสื่อประสาทถึงผิดปกติตามมา? เราไม่สามารถตรวจสอบได้แบบเรียลไทม์ขนาดนั้น โดยมุมมองแล้ว ยังไม่ได้เชื่อฝังใจ
แต่ยอมรับในเคสของการจ่ายยา พอสารสื่อประสาททำงานผิดปกติ ฟังก์ชันของสมองจะเสียไป ทำให้เคสไม่สามารถพูดคุยและใช้ Critical Thinking และตกตะกอนได้ชัดเจน
เกิน 50% พอได้ทานยา อาการจะบรรเทาลง บางคนอาจจะดูเหมือนปกติในช่วงแรก แล้วจะกลับมาเจอปัญหาจากบุคลิกภาพของตัวเอง หรือบางคนอาจจะไม่ได้หาย แต่มันจะ
ค่อย ๆ เบาลง และคุณจะควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น เพราะงั้นคุณต้องเจอหมอก่อน หมอที่เข้าใจคุณ เข้าใจอาการป่วยคุณ หมอที่รู้ว่าควรใช้ยาแบบไหนกับคุณ ชีวิตคุณจะค่อย ๆ ดีขึ้น
กลับมาที่การนอน ถามว่าทำไมต้องพูดถึงยา? เพราะว่าคนที่ป่วยเป็นโรคนี้ การที่จะไปบอกว่าคุณทำแบบนี้แล้วจะดึงตัวเองขึ้นมาได้เป็นเรื่องเพ้อฝันสำหรับพวกเขา เพราะมัน
พูดได้แต่มันทำไม่ได้ ต่อให้รู้ทุกอย่าง เพราะมันมีทั้งอาการของตัวโรคที่รุนแรงขึ้น ตัวบุคลิกภาพที่โดนกดทับจากตัวโรค และสารสื่อประสาทที่ทำงานแบบไม่สมดุล ทำให้ฟังก์ชัน
ของสมองแปรปรวน ร่างกายจะมีปัญหาไปด้วย บางทีที่เรานอนเยอะ ๆ ลุกไม่ได้ อาจจะไม่ใช่เพราะขี้เซาหรือขี้เกียจ แต่เป็นเพราะมีความผิดปกติทางสมอง เริ่มต้นพบหมอจึงดีที่สุด
ถ้าเรารู้สึกว่าไปเจอหมอคนนี้แล้วไม่โอเค ไม่ต้องคิดว่าเปลี่ยนหมอได้ไหม เปลี่ยนหมอแล้วผิดไหม จริง ๆ ไม่โอเคก็เปลี่ยน เพราะนักจิตวิทยาแต่ละคนเก่งคนละแบบ ชำนาญต่างกัน
อยากนอนเฉย ๆ ดีไหม? การนอนแบบไหน ดีที่สุด?
ต้องบอกว่า แค่นอนได้ก็ดีแล้ว เพราะเราไม่สามารถมี deep sleep ได้ทุกวัน ในการใช้ชีวิตของคนเรา ฟังก์ชันทางจิตใจทำงานอยู่ตลอด ถ้าตามหลักจิตวิเคราะห์ ความฝันคือสิ่งที่
เกิดขึ้นเพื่อช่วยให้เรานอนหลับต่อได้ ถ้าไม่มีความฝัน สิ่งที่ซ่อนอยู่ใน unconscious อาจจะโผล่ขึ้นมาใน conscious แล้วคุณอาจจะนอนไม่หลับเลย ซึ่งจะเจอได้ในผู้ป่วยกลุ่ม
schizophrenia แม้ว่าจะเป็นองค์ความรู้พื้นฐานเมื่อ 100 กว่าปีที่แล้ว หรืออาจจะมีความรู้ใหม่ ๆ แต่ส่วนตัวยังมองว่า ถึงจะมีความฝันบ้างก็ไม่เป็นไร สำคัญคือว่าตอนคุณนอนหลับ
คุณหลับเพียงพอไหม? คุณหลับแล้วตื่นมาสดชื่นไหม? คุณหลับเป็นเวลาไหม? ตอนอยากหลับคุณหลับได้ไหม? ขอแค่นี้พอแล้ว ให้ได้ 3 ใน 4 หรือพัฒนาจนเป็น 4/4 คือโอเค
ไม่ต้องสนใจ deep sleep หรือว่าหลับแล้วฝัน อันนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ขอให้หลับให้ได้ก่อน แล้วถ้าเกิดอยากปรับให้เกิด deep sleep มันก็สามารถปรับให้เกิดขึ้นได้ในภายหลัง
วิธีนอนหลับให้ง่ายขึ้น ทำอย่างไร?
สิ่งสำคัญเลยคือการจัดสรรเวลา อีกอย่างระบบไหลเวียนเลือดเป็นสิ่งสำคัญ น้ำสำคัญที่สุดเป็นอันดับแรก ต้องดื่มให้ครบปริมาณ อันดับที่สอง กิจกรรมในแต่ละวัน ถ้าต้องเป็นรูทีน
หรือถ้าต้องเซ็ท ต้องเซ็ทให้ดี คุณต้องตั้งเป้าว่า จะนอนกี่โมง? จะนอนกี่ชั่วโมง? ต้องรู้ว่าคุณจะต้องตื่นนอนกี่โมง? บางทีถ้าเรามีอะไรทำเยอะ เราจะนอนไม่เป็นเวลา ดังนั้นเราต้อง
ดื่มน้ำให้ได้เยอะ ๆ เพราะน้ำเป็นพื้นฐานของร่างกาย แล้วก็กำหนดช่วงเวลานอน ช่วงเวลาตื่นนอนให้ชัดเจน มีระเบียบวินัยกับตัวเอง ถ้าถึงเวลานอน ต้องนอน ไม่ต้องเล่นมือถือ
สิ่งสำคัญคือ กิจกรรมก่อนนอน กิจกรรมต้องผ่อนคลาย ไม่ฟุ้งซ่าน หลักสำคัญเลยคือ 2 ชั่วโมงก่อนนอน ต้องเป็นกิจกรรมที่เบามาก ๆ ไม่กระตุ้น ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเหล้า เพราะว่า
นิโคตินกับแอลกอฮอล์จะกระตุ้นการตื่นตัวของสมองได้ ถ้ามีเวลาควรออกกำลังกายบ้าง ทำอะไรที่แอคทีฟบ้าง เพราะพออ่อนเพลียจะหลับ ร่างกายจะสมดุล บางทีเรานั่งทำงาน
เยอะจนปวดหลัง ปวดคอจนนอนไม่หลับ แต่ถ้าร่างกายได้ขยับ กล้ามเนื้อ ท่วงท่า จะไม่ได้ล็อคอยู่ท่าเดียว ได้ขยับ ได้ใช้งาน ร่างกายจะอยู่ในสภาวะที่ปกติ พร้อมทำงาน พร้อมนอน
อีกวิธีหนึ่งคือ ให้ลองหาถังมาใส่น้ำร้อน อาจจะผสมให้อุ่นก็ได้ ใส่เกลือ 1 ถึง 2 ช้อนโต๊ะ เพื่อแช่เท้า ปรับระบบไหลเวียนเลือด หายปวดหลัง ปวดขา ถ้าใส่เกลือจะหลับได้ง่ายขึ้น
ในวันที่เหนื่อยล้า อยากจะนอนเฉย ๆ บ้าง ไม่ใช่เรื่องผิด 🙂
“ มนุษย์เป็ด “แต่ละคนจะมีมุมมองของคำนี้แตกต่างกันไป บางคนอาจจะมองว่าการเป็นเป็ดนั้นเป็นเรื่องดี มีความสามารถรอบด้าน แต่กลับกันคนแบบเป็ดอาจจะถูกมองว่าไม่เอาไหน ไม่สุดสักอย่าง
การเป็นคนคนกลางๆ แบบมนุษย์เป็ด จะมีความสุขในแบบของเราได้อย่างไร?
ทัศนคติที่มีต่อ มนุษย์เป็ด เมื่อก่อน และปัจจุบัน
เมื่อก่อนเราจะรู้สึกว่าคำวาเป็ด เป็นคำพูดเชิงเสียดสี ทำให้รู้สึกไม่ค่อยดีกับการที่มีคนมาบอกว่าเราเป็นเป็ด เพราะมันดูไม่เก่งอะไรสักอย่าง ไม่เชี่ยวชาญอะไรสักทาง
แต่ในตอนนี้คำว่า มนุษย์เป็ด ดูจะเป็นคำเชิง positive เพราะในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย มนุษย์เป็ด กลับปรับตัวได้ดีในทุกสถานการณ์ ทำได้หลายอย่าง มีการพัฒนาที่ไม่สิ้นสุด
จากหนังสือ วิถีผู้ชนะ ฉบับคนเก่งแบบเป็ด บอกไว้ว่า
เมื่อ 20 ก่อน คนที่ประสบความสำเร็จ มักรู้สึกเก่งจริงในเรื่องเดียว แต่วิธีคิดนี้ กำลังล้าสมัยลงเรื่อย ๆ ผู้ชนะในสมัยใหม่กลับกลายเป็นเป็ด ซึ่ง มีความสามารถรอบด้าน นักธุรกิจตัวฉกาจ นักแสดงที่หลงไหล
หรือคนที่ก้าวหน้าในหน้าที่การงาน มักไม่ได้เก่งที่สุด แต่เขามักเอาตัวรอด ในหลายด้าน จึงเข้ากับผู้อื่นได้ง่าย และคว้าโอกาสใหม่ ๆ ได้เสมอ
คนที่ไม่ใช่ มนุษย์เป็ด คือเก่งในด้านหนึ่ง ๆ ไปเลยใช่ไหม?
David Epstein ได้กล่าวในเวที Ted Talk เรื่องความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านไว้อย่างน่าสนใจว่า คนที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ส่วนใหญ่จะฝึกความเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องมาตั้งแต่ยังเด็ก
ภายใต้กฎที่เรียกว่า “10,000 ชั่วโมง” คือ เรามีความต้องการจะเชี่ยวชาญในด้านไหน ก็ต้องฝึกฝนด้านนั้น ๆ หรือหาความรู้ในด้านนั้น ๆ อย่างน้อย 10,000 ชั่วโมง
มีคำว่าอะไรที่ใช้เรียก มนุษย์เป็ด บ้าง
1.“jack of all trades”
เป็นสำนวน ภาษาอังกฤษ แปลว่า รู้อะไรหลาย ๆ อย่าง แต่ไม่รู้จริง หรือ เก่งสักอย่างมาจากประโยคที่ว่า “jack of all trades and master of none” แจ็คในที่นี่ หมายถึง คนธรรมดา ๆ คนนึง
ที่มีความรู้พื้นฐานหลากหลายด้าน เช่น การทำกิจกรรมได้ทุกกิจกรรม กีฬาก็ได้ ดนตรีก็ได้ แต่ในศตวรรษที่ 20 ได้มีคนเริ่มใช้สำนวน Jack of all trade and master of none ในเชิงกระแนะกระแหน
ว่าคนที่เป็นคนที่มีความสามารถและความรู้เพียงเล็กน้อยแต่ก็ไม่ได้เก่งสักเรื่อง jack of all trades จึงสามารถใช้ในการชื่นชมและในเชิงกระแนะกระแหนนั่นเอง
ถ้าเราใช้คำว่า a jack of all trades is a master of none, but oftentimes better than a master of one. คือเติมประโยคต่อท้าย จะกลายเป็นคำชม บางครั้งเราอาจจะรู้สึกเจ็บปวดจากการเป็นเป็ดของเรา
ว่ามันไม่ถึง master แต่แบบไหนล่ะที่เรียกว่า master ใช้อะไรมาวัด บางครั้งความสามารถเราอาจจะเก่งกว่า master of one ก็ได้นะ
2.Multipotentialite
เป็นศัพท์ที่นักจิตวิทยาคิดค้นขึ้นมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 เดิมเป็นคำที่ให้ความหมายด้านลบ สื่อถึงคนที่ทำอะไรหลายอย่างแต่ไม่เก่งจริงซักอย่าง แต่ สามารถทำงานได้หลากหลายสาขา มีความรู้หลายอย่าง
ถึงแม้ว่าจะไม่เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็ตาม รวมถึงมีความยืดหยุ่น มีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ และพร้อมเรียนรู้จะสามารถเอาตัวรอดในสถานการณ์ที่ไม่มีความแน่นอนได้ดีกว่า
3.Renaissance man
คนที่ชอบหลายอย่างและเก่งหลายด้าน หรือเป็นผู้รู้รอบด้าน Renaissance ก็คือยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ที่มีอัจฉริยะครอบจักรวาลอยู่หลายคน จนคำว่า Renaissance man เป็นที่เข้าใจกันดีว่า
หมายถึงคนที่มีความสามารถและเก่งในทุกด้าน ตัวอย่างของ Renaissance man เช่น เลโอนาร์โด ดา วินชี, พีทาโกรัส, อริสโตเติล, อาร์คิมิดีส
4.เก่งกว้าง
คือ คนที่เก่งหลาย ๆ อย่าง
5.พหูสูต
คือ ผู้มีปัญญารอบรู้ ผู้รู้รอบด้าน เป็นปราชญ์เพราะเรียนรู้มามาก
พฤติกรรมของเป็ด
1.มีความสนใจหลาย ๆ อย่าง หลาย ๆ ด้าน
2.มีความสามารถหลายอย่างแต่ไม่ถึงกับเชี่ยวชาญ
3.รู้ว่าไม่ชอบอะไร แต่ ไม่รู้ว่าชอบอะไร
ข้อได้เปรียบของคนที่เราเรียกว่าเป็ด
1.ความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ สามารถเชื่อมโยงสิ่งใหม่หรือสิ่งที่มีอยู่แม้ไม่มีความเกี่ยวข้องกันให้ไปด้วยกันได้ ซึ่งนั่นเป็นผลพลอยได้จากการที่เราเคยทำมาหลายอย่าง
2.ความสามารถในการปรับตัว เรียกได้ว่า ปรับตัวได้เก่งกว่ากิ้งก่าเสียอีก ด้วยความที่มีสนใจในหลายด้านนั้น นำมาซึ่งประสบการณ์มากมาย ทำให้คนกลุ่มนี้สามารถปรับตัวได้ดีไม่ว่าจะสถานการณ์รูปแบบไหน
3.ความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ชาว Multipotentialite เป็นคนเรียนรู้เรื่องใหม่ ๆ ได้เร็วกว่าคนปกติ เพราะได้ผ่านประสบการณ์หลากหลายรูปแบบ ทำให้มีพื้นฐานจากการลองทำผิดทำถูกในหลาย ๆ อย่าง
4.ความสามารถและทักษะหลากหลายด้าน ซึ่งเป็นคุณสมบัติในการทำงานของคนรุ่นใหม่
5.growth mindset
6.ในปัจจุบันองค์กรหลายองค์กรต้องการคนที่สามารถทำงานได้แบบ Multi-function
กฎ 5 ข้อ ที่จะทำให้เราเก่งแบบเป็ด จากหนังสือ วิถีผู้ชนะ ฉบับคนเก่งแบบเป็ด
1.เรียนทักษะหลาย ๆ ด้านแล้วใช้รวมกัน เช่น เรียน การตลาดออนไลน์มา หลังจากนั้นไป เรียน กราฟฟิค เพื่อทำคอนเท้้น หรือ AW ของตัวเอง
2.แต่เราต้องเก่งลึก ในระยะสั้น หมายถึง ถ้าเราลงเรียน คลาสกราฟฟิก ในช่วงเวลาหนึ่ง เราก็ต้องโฟกัส ตั้งใจในช่วงนั้น ไม่ใช่ ต้องเรียก จนเก่งที่สุด เรียน ยาาว ๆ 4 ปี
3.เก่งแค่ 80 % ไม่ต้องถึง 100 % หรือเก่งเท่าที่ตั้งใจไว้ ให้สามารถนำไปใช้ได้
4.โฟกัสแต่ทักษะจำเป็นที่ตั้งไว้ ดูว่าเราอยากจะเรียนรู้เรื่องอะไร แล้วนำไปใช้ทำอะไร
5.หมั่นฝึกฝน เพื่อพัฒนาตัวเอง
อยากทำอะไรให้สำเร็จทำอย่างไร
1.เริ่มจาก Keystone Habit
Keystone Habit คือ กิจวัตรประจำวันของเราที่ดีที่จะนำไปสู่กิจวัตรประจำวันอื่นๆตามมา บทความจาก Forbes นำเสนอเกี่ยวกับ Keystone Habit ไว้อย่างน่าสนใจว่า หากทุกวันที่ตื่นขึ้นโดยอัตโนมัติ
เมื่อได้ยินเสียงนาฬิกาปลุก เก็บที่นอนและพูดสิ่งดีๆ กับตัวเองในกระจก แสดงว่าเราได้ทำ Keystone Habit 3 อย่างที่ทำให้วันนั้นเป็นวันที่ดีขึ้นแล้ว เพราะกิจวัตรการตื่นนอนมีแนวโน้มที่จะส่งผลในเชิงบวก
ต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำ ในทางกลับกัน ถ้าเริ่มต้นเช้าวันใหม่ด้วยความรู้สึกขุ่นมัว หน้าบึ้งตึงใส่คนในครอบครัวและบทสนทนาเป็นไปทางนินทา นิสัยเหล่านี้ส่งผลเสียต่อด้านอื่นๆ ในชีวิต
เช่น ถ้าเราโต้เถียงกับคนในครอบครัวก็อาจจะนำไปสู่ความขุ่นเคืองใจ และการนินทาอาจนำไปสู่การเสียเวลาและกลายเป็นคนที่มีแต่การวิพากษ์วิจารณ์ มันก็จะวนลูปแบบนี้ไปเรื่อยๆ
Keystone Habit อย่างเช่น การออกกำลังกาย เก็บที่นอน การเข้านอนและตื่นให้เป็นเวลา หนังสือเรื่อง 5AM Club ยืนยันว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นมี 3 stages :hard, messy and gorgeous stages.
คือการเปลี่ยนแปลงใดๆ จะยากในตอนแรก วุ่นวายเมื่อถึงจุดตรงกลาง และงดงามในตอนท้าย การสร้างนิสัยที่ดีต้องใช้ willpower (ความอดทนอดกลั้น) จนกว่าจะถึงจุดที่เราทำมันแบบอัตโนมัติ
2.เขียน To do list สิ่งที่ตั้งใจทำและจัดลำดับให้มัน
ลองทำอะไรทีละอย่าง เพราะบางครั้งเรามีแพลนในหัวเยอะเเยะไปหมด แต่ไม่ได้ถูดจัดระเบียบ การทำอะไรหลายอย่างในเวลาเดียวกันจะทำให้เราสับสนและเกิดความรู้สึกขี้เกียจ
ถ้าตอนนี้ใครที่กำลังรู้สึกแย่กับการเป็นเป็ด อยากเป็นเป็ดที่มีความสุข ลองหันมาภูมิใจในการเป็นเป็ดของเรา การเป็นเป็ดหมายความว่าเรามีความสามารถที่หลากหลาย ไม่หยุดที่จะเรียนรู้
เพราะคนเราไม่จำเป็นต้องเก่งอย่างเดียว แต่ถ้าตอนนี้เราอยากจะตอบตัวเองให้ได้ว่าชอบอะไรกันแน่ ลองสังเกตตัวเองให้มากขึ้นเวลาที่เราทำกิจกรรมนั้น ๆ เรารู้สึกว่าทำอะไรแล้วสบายใจที่สุด
ผ่อนคลายที่สุด เหมือนได้ชาร์จพลังงาน ถ้าได้คำตอบให้กับตัวเองแล้ว ลองยึดถือสิ่งนั้น นำมาต่อยอดไปเรื่อย ๆ ไม่แน่ว่าเราอาจจะเป็น Expert ในด้านนั้นเพิ่มก็ได้นะ
“คนกลางๆ แบบมนุษย์เป็ดก็มีความสุขในแบบของเราได้นะ:)”
ที่มา:
มนุษย์เป็ด (คนเก่งหลายอย่าง แต่ไม่โฟกัสซักอัน) ตรงกับคำใดในภาษาอังกฤษ
why-being-a-jack-of-all-trades-is-essential-for-success
fix-your-keystone-habits-to-transform-your-life
โลกยังต้องการ “อัจฉริยะครอบจักรวาล” อยู่อีกหรือเปล่า ?
เคยไหม? รู้สึกไม่ดีเวลาที่บางสิ่งบางอย่างไม่สมบูรณ์แบบอย่างที่ใจต้องการ กลัวความล้มเหลว ทำให้ไม่กล้าทำสิ่งต่าง ๆ ในชีวิต… เรากำลังเป็น Perfectionist หรือเป็น ” โรคกลัวความไม่สมบูรณ์แบบ ” นะ?
ไม่ชอบความไม่สมบูรณ์แบบและกลัวความล้มเหลว
โรคกลัวความไม่สมบูรณ์แบบ คืออะไร?
จาก Cleveland clinic โรคกลัวความไม่สมบูรณ์แบบเรียกว่า Atelophobia (Fear of imperfection)
1. คนที่กลัวว่าจะทำบางสิ่งบางอย่างผิดพลาด ทำให้เขาหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่รู้ว่าตัวเองจะทำไม่สำเร็จ
2. คนที่โหยหาความสมบูรณ์แบบในทุกเรื่อง ตัดสินตัวเองและตั้งเป้าหมายด้วยมาตรฐานที่ไม่ยึดกับความจริง
ที่มาของคำว่า โรคกลัวความไม่สมบูรณ์แบบ
Atelophobia มาจากคำว่า Atelo ที่แปลว่า ไม่สมบูรณ์แบบ และ Phobia ที่แปลว่า ความกลัวต่อบางสิ่งบางอย่างที่เฉพาะเจาะจง เป็นรูปแบบหนึ่งของโรควิตกกังวล (Anxiety disorder)
จาก APA กล่าวว่า Phobia เป็นความกลัวที่มีลักษณะสำคัญคือ ต่อเนื่องยาวนานและไม่สมเหตุสมผล ทำให้บุคคลพยายามหลีกเลี่ยงและเกิดความเครียด เมื่อต้องเจอกับสิ่งที่ทำให้กลัว
โรคกลัวความไม่สมบูรณ์ มีรูปแบบไหนบ้าง?
คนที่เป็นโรคนี้อาจจะมีลักษณะ ‘แบบใดแบบหนึ่ง’ หรือ ‘ทุกแบบ’ ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรคและความแตกต่างระหว่างบุคคล เช่น
1. ให้ความสำคัญกับการทำสิ่งต่าง ๆ ให้สมบูรณ์แบบ เช่น แก้งานแล้วแก้งานอีก ใส่ใจรายละเอียดจนเกินเหตุ
2. อดทนเห็นอะไรที่ไม่สมบูรณ์แบบไม่ได้ เช่น ข้าวของวางเรียงไม่เรียบร้อย ต้องเรียงสี เรียงขนาด เป็นต้น
3. กลัวความล้มเหลว กลัวว่าทำไปแล้วผลจะออกมาไม่ดี ไม่สมบูรณ์แบบ ทำให้ไม่กล้าทำสิ่งต่าง ๆ ในชีวิต
4. มีมาตรฐานสูงและมีเป้าหมายที่ไม่ยึดกับความเป็นจริง เช่น จะทำธุรกิจ แต่ไม่ทำซะที เพราะกลัวล้มเหลว
5. เปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นในทุก ๆ ด้าน กลัวว่าจะแพ้คนอื่น กลัวว่าจะไม่สมบูรณ์แบบเหมือนคนอื่น
คนที่ชอบความสมบูรณ์แบบ และ โรคกลัวความไม่สมบูรณ์แบบ
2 อย่างนี้มีความแตกต่างกัน perfectionism เป็นบุคลิกภาพ แต่โรคกลัวความสมบูรณ์แบบ เป็นความผิดปกติทางจิตใจ คนที่เป็น perfectionist จะพยายามทำสิ่งต่าง ๆ ให้ดีที่สุด พยายามที่จะไม่ให้มีจุดบกพร่อง
แต่ถ้าเป็นโรคกลัวความไม่สมบูรณ์แบบ จะกลัวความผิดพลาด กลัวความล้มเหลว ทำให้หลีกเลี่ยงในการทำสิ่ง ๆ นั้นไปเลย ซึ่งจะกระทบกับชีวิตประจำวันมาก ๆ ทั้งชีวิตการเรียน การทำงาน ไปจนถึงความสัมพันธ์
โรคกลัวความไม่สมบูรณ์แบบ กระทบอย่างไร?
1. วิตกกังวล
2. ภาวะซึมเศร้า
3. Self-esteem ต่ำ ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง
4. Panic attack เกิดอาการตื่นตระหนก กลัวไปหมด ควบคุมไม่ได้
รีเช็คตัวเอง เรามีโอกาสเป็น โรคกลัวความสมบูรณ์แบบ ไหม?
1. หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่จะเกิดข้อผิดพลาด ถ้ารู้สึกไม่มั่นใจว่าจะทำได้อย่างสมบูรณ์แบบจะไม่ทำเลย
2. มีอาการกลัวความไม่สมบูรณ์แบบ 6 เดือนหรือมากกว่านั้น
3. มีความวิตกกังวลที่รุนแรง มีความคิดหมกมุ่นว่าตัวเองจะทำอะไรผิดพลาดและกลัวว่าจะทำให้คนอื่นผิดหวัง
4. ความกลัวนี้ส่งผลกระทบต่อทุก ๆ ด้านในการใช้ชีวิต การทำงาน การเรียน ความสัมพันธ์ ครอบครัว
5. ตั้งมาตรฐานของการกระทำไว้สูงมากจนไม่อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง
6. มองโลกในแง่ร้าย
7. มีอารมณ์ทางลบ อาจเป็นในทางเศร้าหรือโกรธ
8. หมดไฟ เหนื่อยล้า
9. ยอมรับคำติไม่ได้
10. โฟกัสอะไรที่อยู่ตรงหน้าไม่ได้เลยเพราะกลัวไปหมด
วิธีรักษา โรคกลัวความไม่สมบูรณ์แบบ
จริง ๆ แล้วโรคนี้ไม่มีเกณฑ์การวินิจฉัยอย่างชัดเจน ผู้เชี่ยวชาญจึงประเมินอาการด้วยคำถามเกี่ยวกับความกลัวของผู้ป่วย วิธีการรักษาจะมีหลากหลาย เช่น
1. Cognitive Behavioral Therapy
เปลี่ยนความคิดเพื่อให้พฤติกรรมเปลี่ยน เน้นแก้ความคิดที่เป็นปัญหา ถ้าสำหรับโรคนี้ คือจะต้องไปดูว่าเพราะอะไรถึงมองความผิดพลาดในแง่ลบมากกว่าที่จะมองว่าเป็นการเรียนรู้
2. Exposure therapy
พอรู้ว่าความคิดแบบไหนที่ทำให้รู้สึกกลัว ผู้บำบัดจะทำให้คุ้นชินกับความคิดนั้น ส่วนใหญ่วิธีนี้จะให้เผชิญกับสิ่งนั้น เพิ่มระดับความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ให้ชินไปทีละเล็กละน้อย
3. Lifestyle modifications
ปรับรูปแบบการใช้ชีวิต กินดี ออกกำลังกาย นอนให้เพียงพอ จะช่วยปัดความคิดลบได้ นอกจากนี้การทำสมาธิจะช่วยในเรื่องของความวิตกกังวลและ panic attack อีกด้วย
4. Medication
การรักษาด้วยยา ตามจริงไม่มียาตัวไหนที่บรรเทาความกลัว แต่ยาจะเข้าไปช่วยลดอาการซึมเศร้าหรือวิตกกังวลที่เกิดจากการกลัวความไม่สมบูรณ์แบบ
ที่มา :
Atelophobia (Fear of imperfection)
Atelophobia: What is it, isn’t, plus how to overcome it
” ชอบกลางคืน ” เพราะสำหรับบางคนกลางคืนเป็นช่วงเวลาที่ได้อยู่กับตัวเอง สำหรับบางคนกลางคืนเป็นช่วงเวลาที่ได้ใช้ชีวิต ทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า แล้วเราใช้ชีวิตกลางคืนได้ไหม?
ชอบกลางคืน ใช้ชีวิตตอนกลางคืนได้ไหม?
คนมี 2 แบบจริงไหม? ชอบกลางคืน ชอบกลางวัน
ในบริบทของเวลา แบ่งออกเป็น 2 Chronotypes คือ แบ่งตาม Timeline การใช้ชีวิตของแต่ละคน ทำให้บางคนมีเอเนอจี้ตอนกลางคืน บางคนมีเอเนอจี้ตอนกลางวัน
1. Early bird
เรียกอีกอย่างว่า Morning person นอนไว ตื่นเช้า รู้สึกดีกับการเริ่มต้นวันใหม่ แต่จะพลังงานน้อยลงในช่วงบ่าย ๆ เย็น ๆ
2. Night owl
ส่วนใหญ่คนที่ชอบใช้ชีวิตกลางคืนจะถูกเรียกว่าเป็นนกฮูก นอนดึก มีพลังงาน,มีความคิดสร้างสรรค์มากกว่าในกลางคืน
The Power of When หาเวลาที่เหมาะในการทำงานของตัวเอง
จากงานวิจัยในปี 2012 ให้ข้อมูลไว้ด้วยว่า Morning person จะมีอารมณ์ทางบวกมากกว่า ประมาณ 25% ของประชากรโลกเป็นคนชอบตอนกลางคืนและ 25% เป็นคนชอบตอนเช้า
ที่เหลือร้อยละ 50 เป็นผู้โชคดีที่มีความสุขทั้งสองอย่าง ดร.ไมเคิล บรูส นักจิตวิทยาคลินิกชาวอเมริกัน ที่ได้ฉายาว่า Sleep doctor เขียนอธิบายไว้ในหนังสือ The Power of When
พลังแห่ง ‘เมื่อไหร่’ ว่าทุกคนมีนาฬิกาชีวภาพหลักที่คอยส่งเสียงติ๊กต่อกบอกเวลาอยู่ในสมอง นอกจากนี้ยังมีนาฬิกาชีวภาพจิ๋วอีกมากมายอยู่ทั่วร่างกายที่มีจังหวะเดินและบอกเวลา
ซึ่งจังหวะเดินและบอกเวลานั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ทำให้แต่ละคนมีเวลาที่เหมาะสมในการทำสิ่งต่าง ๆ ไม่เหมือนกัน จังหวะเวลาที่เหมาะสมไม่ใช่สิ่งที่คุณเลือกเองได้
ประเภทของคนตามนาฬิกาชีวภาพ
1. โลมา
มีประมาณ 10% ของประชากร คนกลุ่มโลมามักเป็นคนหลับไม่ลึกและตื่นง่าย เพียงแค่มีเสียงหรือสิ่งรบกวนเล็กน้อย ไม่ค่อยง่วงนอนตามเวลา
ทำให้ร่างกายได้รับการพักผ่อนไม่เพียงพอ คนกลุ่มนี้จึงตื่นนอนด้วยความรู้สึกไม่ค่อยสดชื่นสักเท่าไหร่ แต่โดยจะตื่นตัวมากที่สุดในช่วงกลางคืน
2. สิงโต
มีประมาณ 15-20% ของประชากร คนกลุ่มสิงโตมักจะตื่นนอนตั้งแต่รุ่งเช้าก่อนพระอาทิตย์ขึ้น โดยจะตื่นตัวมากที่สุดในช่วงเช้าและช่วงกลางวัน
แล้วจะเริ่มรู้สึกอ่อนเพลียตั้งแต่ช่วงบ่ายแก่ ๆ แต่จะไม่มีการงีบหลับระหว่างวัน ส่วนตอนกลางคืนจะง่วงนอนเร็วและนอนหลับง่าย พักผ่อนมีคุณภาพ
3. หมี
มีประมาณ 50% ของประชากร คนกลุ่มหมีมีรูปแบบการนอนหลับตามการขึ้นและตกของพระอาทิตย์ มักจะใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมงเพื่อตื่นเต็มที่
โดยจะตื่นตัวมากที่สุดในช่วงสายไปจนถึงก่อนบ่าย และจะเริ่มรู้สึกเหนื่อยหรือง่วงตั้งแต่ช่วงเย็น ตอนกลางคืนเป็นคนที่หลับง่าย หลับลึก มีคุณภาพ
4. หมาป่า
ประมาณ 15-20% ของประชากร คนกลุ่มหมาป่ามักประสบปัญหาในการตื่นนอนก่อน 9 โมงเช้า แต่หลังจากนั้นจะไม่รู้สึกง่วงหรืออ่อนเพลียเลย
โดยจะตื่นตัวมากที่สุดในช่วงหนึ่งทุ่มและ Productive มากที่สุดในช่วงสายและช่วงค่ำ บางวันอาจจะตื่นตัวไปจนถึงเที่ยงคืนได้เลยเหมือนกัน
เหตุผลของคน ชอบกลางคืน
1. พันธุกรรม
2. นาฬิกาชีวิต/นาฬิกาชีวภาพ จะกำหนด Chronotype ของเรา
3. พฤติกรรมบางอย่าง เช่น การกินดึก หรือ อยู่ในที่ที่สว่างจ้าตอนกลางคืน จะไปเปลี่ยนวิถีของนาฬิกาชีวิต
4. ชอบข้อดีของการอยู่กลางคืน เช่น ความสงบ ได้พักจากความวุ่นวาย หรือ กลางคืนทำให้ได้ใช้ชีวิตที่มีสีสัน
ชอบกลางคืน (Nyctophilia) คืออะไร?
จาก APA บอกว่าเป็น A strong preference คือ เป็นความชอบส่วนตัวที่รุนแรงต่อกลางคืนและความมืด ตรงข้ามคือ Nyctophobia คือ ความกลัวที่รุนแรงต่อกลางคืน
แต่จะมีอีกประเภทคือไม่ได้ชอบกลางคืน แต่ด้วยเงื่อนไขในชีวิต ทำให้จำเป็นต้องใช้เวลากลางคืน เช่น ทำงานกะดึก ซึ่งในระยะยาวค่อนข้างยากในการใช้ชีวิตอยู่แบบนั้น
คุณเป็นคน ชอบกลางคืน (Nyctophilia) หรือเปล่า?
Anna LeMind ผู้ก่อตั้งและหัวหน้าบรรณาธิการที่ Learning Mind และเป็นนักจิตวิทยาที่จบปริญญาตรีสาขาสังคมศาสตร์ ให้ข้อมูลไว้รีเช็คตัวเอง ดังนี้
1. คุณชอบความเย็นสบายในยามค่ำคืน
2. กลิ่นกลางคืนเป็นกลิ่นโปรดของคุณ
3. ความเงียบและไร้ผู้คนดึงดูดใจเป็นพิเศษ
4. คุณรู้สึกถึงแรงบันดาลใจและความคิดสร้างสรรค์ในตอนกลางคืน
5. ดูดาว ดูท้องฟ้า ดูพระจันทร์ ชื่นชมธรรมชาติกลางคืน เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่คุณโปรดปราน
ข้อดีข้อเสียของการใช้ชีวิตกลางคืน
1. ดีสำหรับคนที่เป็น Highly sensitive person เพราะการใช้ชีวิตกลางคืน จะหลีกเลี่ยงสิ่งรบกวนได้มากกว่า เพราะมีสภาพแวดล้อมที่สงบ
2. คนใช้ชีวิตกลางคืน จะให้เหตุผลได้ดีกว่า ข้อมูลนี้อ้างอิงจากงานวิจัยของ University of Madrid ที่ลองทดสอบวัยรุ่นกว่า 1000 คน
3. แต่ข้อเสียคือ อาจจะทำให้พักผ่อนได้ไม่เพียงพอและไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะนำไปสู่หลาย ๆ โรค เช่น โรคอ้วน ความดัน ภาวะซึมเศร้า
ชอบกลางคืน เปลี่ยนมาใช้ชีวิตกลางคืนเลยได้ไหม?
เป็นไปได้
1. อาจจะเปลี่ยนมาใช้ชีวิตกลางคืนได้ ถ้าเรามี Chorotype แบบ Night owl การใช้ชีวิตกลางคืนจะเป็นการใช้ชีวิตที่เหมาะกับ Timeline ของเรา
2. มีงานวิจัยค้นพบว่า Night people ทั้งหลายจะมีความคิดสร้างสรรค์ที่มากกว่า ดังนั้นการใช้ชีวิตกลางคืนเพื่อทำงานอาจจะดีกว่า
3. ต้องพึ่งการเปลี่ยนแปลง Lifestyle เพื่อเปลี่ยนวงจรการนอนของเรา โดยจะต้องทำเป็นประจำและสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายเคยชิน
แต่เป็นไปได้ยาก
1. จากงานวิจัยปี 2019 การเป็น Night owl จะมีข้อเสียเปรียบอยู่ คือ เพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพและระบบเผาผลาญ
2.จากเว็บไซต์ Scientific American ให้ข้อมูลไว้ว่า Night owl จะมีความเสี่ยงสูงต่อโรคทางจิตเวช, ภาวะเสพติดมากกว่า
3. สำหรับคนที่ไม่ได้มี Chronotype แบบนี้ อาจจะไม่ได้เปลี่ยนกันง่าย ๆ เพราะ เป็นเรื่องของนาฬิกาชีวภาพที่เป็นเหมือนนาฬิกาประจำตัว
4. ข้อมูลเพิ่มเติมจากในหนังสือ The Power of When บอกว่าเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เพราะการใช้ชีวิตกลางวันหรือกลางคืน เป็นเรื่องของพันธุกรรม
ที่มา :
10 Hidden benefits of being a Night owl
10 Reasons why it’s okay to be a Night owl
Is it better to be a Night owl or Early bird?
What is a Nyctophile and 6 signs you are one
นาฬิกาชีวิตตามบุคลิกภาพ 4 แบบ บอกได้ว่าทำงานต่าง ๆ ตอนไหนดีที่สุด!
How to become a morning person: Practical advice for changing your chronotype
ความรัก ความฝัน ครอบครัว สิ่งที่ชอบ เพื่อนฝูง หน้าที่การงาน หรืออยู่เพื่อใช้ชีวิต พอจะเป็นเหตุผลของการมีชีวิตอยู่ได้หรือไม่ ? หรือจริง ๆ แล้วคนเรามี ” เหตุผลของการมีชีวิตอยู่ ” ที่มากกว่านั้น
เพราะอะไรคนเราถึงต้องมี เหตุผลของการมีชีวิตอยู่
เหตุผลของการมีชีวิตอยู่ ในทางจิตวิทยา คืออะไร?
คิดว่าตอบได้หลายแง่มุมและหลายทฤษฎี มีอย่างหนึ่งที่ไม่ค่อยมีใครนำเสนอ คือ เรื่องความสัมพันธ์ พอเราพูดถึงเหตุผลในการมีชีวิตอยู่ จะดูเป็นเชิงปรัชญา ดูเป็นคำถามกว้าง ๆ เหมือนถามใครสักคนว่า
จักรวาลนี้จะสิ้นสุดที่ตรงไหน? หรือ โลกเกิดขึ้นมาได้อย่างไร? แต่บางที คำตอบอาจจะเรียบง่ายกว่านั้น ถ้าเราไปเจออะไรบางอย่างที่รู้สึกว่า สิ่งนั้นแตะใจเราได้ ทัชใจเราได้ เพราะงั้นถ้าลองพูดในมุมกลับ
พูดถึงคนที่ไม่อยากมีชีวิตอยู่ พูดถึงคนที่ไม่มีเหตุผลที่จะมีชีวิตอยู่คือคนที่มีความเจ็บปวดทางจิตใจสูง เป็นคนที่เผชิญอยู่กับความอ้างว้างและโดดเดี่ยว ซึ่งคนกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่แล้ว 50 % เป็นอย่างน้อย
จะมีปัญหาด้านความสัมพันธ์หมดเลย แล้วความสัมพันธ์แรกเริ่มที่เขาจะมีปัญหาคือ ความสัมพันธ์กับคนในครอบครัวอย่างพ่อแม่ ถ้าลองสะท้อนกลับไป การที่เราจะเจอความหมายที่จะมีชีวิตอยู่ของเรา
ความสัมพันธ์เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ในคำตอบของคำถามนี้ บางคนอาจจะบอกว่า ไม่อยากอยู่เลย แต่เขาไม่เข้าใจว่า เพราะอะไรถึงไม่อยากตาย พอคุยกันไปสักพักเลยได้ข้อสรุปว่า จริง ๆ คุณอยากอยู่แหละ
แต่คุณแค่ไม่รู้ว่าจะใช้ชีวิตต่อไปเพื่ออะไร ใช้ชีวิตอย่างไรให้มีความสุข เขาเลยถามว่า แล้วต้องทำอย่างไร ถึงจะรู้ว่าควรจะใช้ชีวิตเพื่ออะไร บางทีถ้าอยากใช้ชีวิตอยู่เพื่อใครสักคน นั่นอาจจะเป็นเหตุผลของคุณ
คำพูดนี้ ทำให้เขาค้นพบว่า ชีวิตเขาสามารถมีคุณค่าและมีความหมายได้ เมื่อเขาค้นพบคุณค่าในความสัมพันธ์ ซึ่งถ้าไล่มาตั้งแต่วัยเด็ก เราไม่ได้เกิดมาพร้อมศักยภาพที่จะหาคำตอบนี้ ถ้ามองจากมุมปรัชญา
คนที่จะหาคำตอบได้ ต้องเป็นคนที่มีศักยภาพสูงมาก อย่างอริสโตเติล ไอน์สไตล์ หรือซิกมัน ฟรอยด์ พวกเขาอาจจะไม่ได้มาจากครอบครัวที่สมบูรณ์แบบ แต่คนกลุ่มนี้เป็นคนที่พิเศษกว่าในแง่ของศักยภาพ
แต่ถ้ามองกลับมาที่ชีวิตทั่วไป ที่ไม่ได้มีพรสวรรค์ แต่จริง ๆ ต่อให้มีพรสวรรค์ สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ‘พื้นฐานของจิตใจ’ เช่น Basic task หรือการมี Attachment relationship ที่ดีซึ่งสร้างมาจากพ่อแม่
พอเป็นแบบนี้ โครงสร้างภายในจะไม่แหว่งไม่เว้า พออะไรเข้ามาจะกลายเป็นการต่อยอด ทำให้รู้ว่าสิ่งนี้คือความสุขของคุณ สิ่งนี้คือคุณค่า แล้วคุณจะใช้ชีวิตต่อไปเรื่อย ๆ แต่สำหรับคนที่มีอะไรขาดหาย
ต่อให้มีอะไรเติมเข้ามา จะเติมไม่ตรงจุด ทำให้ไม่สามารถซึมซับคุณค่าของสิ่งที่เข้ามาได้ เพราะยังไม่รู้ว่าตัวเองขาดหายอะไรไป จนเกิดเป็นคำถามว่า คุณค่าหรือความหมายของการมีชีวิตคืออะไร
แต่ถ้าย้อนกลับไปจุดเดิม บางคนอาจจะตอบได้ง่าย ๆ เลยแค่ว่า กลับบ้านมาเจอพ่อแม่พอแล้ว เพราะมีความสัมพันธ์ มีสิ่งที่ยึดโยงกันและกันอยู่ เลยอยากนำเสนอว่า คำตอบนี้ตอบได้หลายอย่าง
แต่อยากแชร์ในด้านความสัมพันธ์ ว่าถ้ามีความสัมพันธ์ที่ดีและหลากหลาย จะสะท้อนคุณค่าบางอย่างให้ชีวิตได้ รวมถึงทำให้ค้นพบความหมายในการมีชีวิตอยู่และสร้างพื้นฐานใหม่ให้แน่น
ต่างจากตอนแรกที่เคยว่าง ๆ โหวง ๆ คุณจะได้ใช้พื้นฐานไปรับและแสวงหาสิ่งที่จะทำให้รู้สึกว่า นี่คือความหมายที่คุณจะมีลมหายใจและใช้ชีวิตต่อไปบนโลกใบนี้ได้
เหตุผลของการมีชีวิตอยู่ ขึ้นอยู่กับอะไรได้บ้าง?
ในหัวข้อที่แล้วได้พูดถึงโครงสร้างที่สำคัญ จากมุมมองส่วนตัวคิดว่าความสัมพันธ์สำคัญประมาณ 50% เลย ทีนี้ขึ้นอยู่กับว่า พอมีพื้นฐานที่ดี เราต่อยอดอย่างไร? เราได้ทำในสิ่งที่ชอบไหม?
เราได้ทำในสิ่งที่ประสบความสำเร็จไหม? เพราะถ้ามีพื้นฐานที่ดี แต่ขาดการกระทำที่ต่อยอด จะทำให้พื้นฐานแน่นแต่จุดยอดแหว่งเว้า โปร่ง พร่องอะไรบางอย่าง พอมีพื้นฐานที่ดี สิ่งสำคัญที่ตามมา
ไม่ใช่การปล่อยให้ตัวเองอยู่เฉย ๆ หรือ รอฟังคำพูดคนอื่น แต่เราต้องรู้ว่า ควรคิดดีทำดี ต้องทำในสิ่งที่ไม่เดือดร้อนคนอื่น ไม่เดือดร้อนตัวเอง ไม่เดือดร้อนสังคม สิ่งที่ทำต้องมีองค์ประกอบ 3 อย่างนี้
แล้วดูว่าเราทำแล้ว เราชอบสิ่งนี้ไหม เราทำแล้วเราได้อะไรกลับมา ได้ความสำเร็จกลับมาไหม? เรารู้สึกอย่างไรกับความสำเร็จไหม? ถ้าคำตอบมีแต่ ‘Yes’ สิ่งนั้นคงใช่และเป็นคำตอบสำหรับเรา
พอเจอคำตอบที่ใช่ ยิ่งเราทำสิ่งนั้นได้ดี เราทำสิ่งนั้นประสบความสำเร็จ สิ่งเหล่านั้นจะยิ่งเติมเต็มตัวเรา ทำให้เราเจอความหมายในการมีชีวิตอยู่ ถ้าใช้ชีวิตด้วย Self-esteem ที่ดี สิ่งนี้จะต่อยอด
และส่งคุณไปถึงจุดที่เรียกว่า Self-actualization หรือ การที่เห็นว่า นี่คือชีวิตฉัน ฉันเกิดมาเพื่อสิ่งนี้ ฉันพร้อมที่จะทำสิ่งนี้ ซึ่งมันจะเป็นอะไรก็ได้ แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล
Self-esteem ที่หายไป อยากดึงกลับมา ทำอย่างไรดี?
การที่ Self-esteem โดนดึงให้หายเป็นเรื่องปกติ เพราะว่าคนเราไม่มีทางยืนอยู่ในจุด ๆ เดียวได้ตลอดเวลา ไม่มีทางที่จะทะยานขึ้นได้ตลอดเวลา เพราะเราไม่ได้ Perfect เพราะงั้นอย่าไปตื่นตระหนก
เวลาที่ Self-esteem ถูกดึงให้ตกลงมา แต่เราต้องรู้ว่า สิ่งนี้ตกไปเพราะอะไร? ตกไปแค่เพราะการตั้งคำถามรึเปล่า? หรือตกไปเพราะว่าฝีมือเราตกจริง? หรือตกไปเพราะเราทำไม่ดีจริง? พอรู้จุดนี้
เราจะรู้ว่าควรแก้ไขยังไง จัดการยังไง อันนี้คือการ work กับตัวเอง แต่ถ้าตกไปเพราะคำพูดของคนอื่น อันนี้จะเจอบ่อยมาก คนอื่นต่อว่า คนอื่นไม่ยอมรับ เราจะต้องเห็นภาพให้ชัดว่า พอคนอื่นต่อว่าเรา
เรา Self-esteem ตก เราไปคาดหวังอะไรกับคนอื่นมากเกินไปไหม? แล้วย้อนกลับมาดูว่า สิ่งที่เราทำนั้นดีพอแล้วหรือยัง? ถ้าดีพอแล้ว Self-esteem จะค่อย ๆ กลับมาได้ แต่ถ้าดีไม่พอ เราจะต้องยอมรับ
ความผิดพลาด แล้วเปลี่ยนคำตำหนิหรือคำต่อว่า ต่อให้รุนแรงแค่ไหน เราสกัดสภาวะอารมณ์ สกัดความรุนแรงออก เก็บไว้แค่คำวิพากษ์วิจารณ์พอ แล้วนำมาพัฒนาปรับปรุง แล้วทุกอย่างจะกลับมาดีขึ้น
สิ่งสำคัญคือต้องยอมรับธรรมชาติ ดีได้ก็แย่ได้ ไม่มีใครอยู่จุด ๆ เดียวได้ตลอดเวลา พออยู่แบบนี้ ชีวิตจะไปต่อได้ง่าย เราลองทำสิ่งต่าง ๆ ได้แต่ต้องลองอย่างมีสติ อยากให้มองว่า ถ้าสิ่งนี้ร่วงลงไปได้
สิ่งนี้จะกลับขึ้นมาได้เหมือนกัน แต่ถ้าทะยานขึ้นอย่างเดียว อันนี้น่ากลัว เพราะผิดธรรมชาติ ผิดวิสัย อะไรที่เคยแย่ย่อมกลับมาดีได้และอะไรที่เคยดีจะกลับมาแย่ได้เหมือนกัน
ไม่รู้ เหตุผลของการมีชีวิตอยู่ จริง ๆ ตอบตัวเองไม่ได้ รับมืออย่างไรดี?
ขอแบ่งเป็น 2 พาร์ท คือ พาร์ทที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน กับ พาร์ทที่ต่อยอด เพราะงั้น ถ้าคุณปรับโครงสร้างพื้นฐานได้ดีจะต่อยอดได้ หรือ ถ้าต่อยอดไปแต่โครงสร้างพื้นฐานไม่แน่น สุดท้ายแล้วจะพังลงมาอยู่ดี
อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญคือ Existential issues ที่พูดถึงประเด็นของการมีอยู่ของการมีชีวิตของเรา กลุ่มคนเหล่านี้จะมีความรู้สึกบางอย่างที่พร่องและโหวงอยู่ข้างใน ธรรมชาติของคนที่เผชิญหน้า Existential issues
คือ พยายามแค่ไหนก็ไม่เจอคำตอบ นี่คืออัตลักษณ์ของคนที่เผชิญหน้าอยู่กับสิ่งนี้ เพราะงั้น ถ้าคุณรู้สึกว่าคุณพยายามอย่างดีแล้ว แต่ยังไม่เจอคำตอบ อันนี้คงต้องพึ่งผู้เชี่ยวชาญ แต่ถ้าพื้นฐานคุณดี ถึงอาจจะ
ไม่ได้ดีพร้อม 100% แต่แค่หาจุดต่อยอดไม่ได้ หรือ ต่อยอดมาประมาณหนึ่งแต่ยังไม่ใช่ อันนี้ยังพอจัดการได้ด้วยตัวเอง เลยต้องลองมองย้อนกลับมามองดูว่า คุณเคยได้รับคำชื่นชมจากใครบ้างไหม?
คุณอยากได้รับการยอมรับจากใครไหม? หา point นี้ให้เจอก่อน หรือ คุณเจอสิ่งที่ใช่หรือยัง? ถ้ายังไม่เจอ ต้องเปิดใจลอง แต่ลองแบบมียุทธศาสตร์ อย่าลองแบบซี้ซั่ว มั่ว ๆ นึกอยากจะลองอะไรก็ลอง
ลองทบทวนตัวเองก่อนว่าชอบอะไร? โอกาสมีมากน้อยแค่ไหน? แล้วค่อยลองดู แน่นอนว่าไม่มีทางเจอคำตอบทันทีทันใด แต่จะเห็นได้ว่า วิธีการนี้จะทำให้ตั้งหลักได้ เข้าใจได้ ค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไปได้
ปัญหาเยอะจนไม่อยากมีชีวิตอยู่ รับมืออย่างไรดี?
ต้องแยก แม้บางทีเราจะเจอคำตอบที่ทำให้อยากมีชีวิตอยู่ แต่การรับมือสิ่งที่รบกวนในชีวิตจะเป็นคนละเรื่องกัน ซึ่งอันนี้จะมีความซับซ้อน เหมือนเรารู้ว่าเราจะต้องวิ่งแข่ง แต่เรากล้ามเนื้อฉีก หัวไหล่อักเสบ
ต้องทำกายภาพ ปวดหลัง เราจะต้องไปจัดการเรื่องพวกนั้นก่อน แต่ในชีวิตจริง ไม่สามารถจะเรียงลำดับได้เป๊ะ ๆ แปลว่า เราจะต้องสิ่งที่เกิดขึ้นตามสมควร ต้องอยู่กับสิ่งที่ใช่กับเราไปด้วย อันนี้เป็น Concept
ถ้าใครอยากขึ้นทางด่วน คงต้องพบนักวิชาชีพ เพราะจะเป็นทางที่เร็วที่สุด แล้วค่อย ๆ จัดการไป ตอบตรง ๆ อาจจะตอบยาก เพราะแต่ละคนเจอปัญหาที่แตกต่างกัน แต่อยากให้แยกก่อนว่า ถึงคุณจะเจอ
ความหมายที่ทำให้อยากมีชีวิต ไม่ได้แปลว่าจะ hold ทุกอย่างของชีวิตได้ จะโอบอุ้มทุกอย่างในชีวิตได้ ทุกคนจะต้องมีปัญหาที่ต้องเผชิญและรุมเร้าเข้ามาอยู่ดี เพราะงั้น ปัญหาต้องจัดการตามสมควร
แค่รู้ว่าผ่านอะไรมา รู้ว่ายืนอยู่ตรงไหน อยากเดินไปทางไหน ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีแล้ว 🙂
เมื่อนึกถึงความรู้สึกเศร้า สิ่งที่เป็นร่องรอยหรือแสดงให้เห็นชัดที่สุดก็คือ น้ำตา แต่บาครั้งตอนที่เราเสียใจอะไรมาก ๆ ผิดหวังอะไรมาก ๆ ก็ทำให้เรา ร้องไห้ไม่ออก เหมือนกัน
การที่เราร้องไห้ไม่ออกก็ไม่ได้แปลว่าเราไม่เจ็บปวด อยากร้องไห้มาก แต่มันร้องไม่ออกเลย วันนี้เราจะชวนทุกคนทำความเข้าใจความรู้สึกนี้กัน 🙂
ร้องไห้ไม่ออก
ที่มาของความเศร้า มาจากความรู้สึกไหนบ้าง?
- การถูกปฏิเสธจากคนอื่นหรือสังคม
- ความผิดหวัง
- การสูญเสีย
- ความเหงา
- การไม่รับรู้คุณค่าของตัวเอง
- ความไม่มั่นใจในตัวเอง ไม่ชอบตัวเอง
- ความรู้สึกเจ็บใจ โกรธ
ในทางวิทยาศาสตร์ได้อธิบายที่มาของความเศร้าไว้ว่า เป็นการทำงานของ สมองกลีบท้ายทอย สมองกลีบอินซูลาฝั่งซ้าย ทาลามัสฝั่งซ้าย และฮิปโปแคมปัส
ซึ่งการทำงานจะรวมกันประมวลผลเรื่องความขัดแย้ง ความเจ็บปวด ความโดดเดี่ยว ความทรงจำ ความรู้สึกดีใจ ความสนใจ ประสาทสัมผัสทางร่างกาย การตัดสินใจ และการแสดงความรู้สึก
ความซับซ้อนของสมองทำให้สามารถรู้สึกเศร้าได้หลากหลายรูปแบบ ต่างออกไปในแต่ละคน อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าความรู้สึกเศร้ามีหลายที่มามาก ๆ
นอกจากความเศร้าจะเกิดขึ้นทางสมองแล้วเวลาที่เราเศร้าก็จะกระทบกับร่างกายของเราด้วย เช่น อาการปวดหัว รูปแบบการนอนที่เปลี่ยนไป บางทีก็นอนไม่หลับ หรือนอนตลอดทั้งวัน เปลี่ยนรูปแบบการกินให้กินไม่หยุดหรือไม่กินอะไรเลย
เศร้า VS ซึมเศร้าต่างกันยังไง?
จากเว็บไซต์ Better health กล่าวไว้ว่า เวลาที่รู้สึกเศร้าไม่ได้หมายความว่าเราจะมีภาวะซึมเศร้า แต่ถ้าความรู้สึกเศร้าเริ่มส่งผลกระทบต่อใช้ชีวิต การทำสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน
อาจจะส่งผลให้เรามีภาวะซึมเศร้าได้ ซึ่งความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง เศร้า กับ ซึมเศร้า คือการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และระยะเวลาที่เรารู้สึก
เช่น ถ้าเราพึ่งเลิกกับแฟนเราก็จะรู้สึกเศร้า แต่ถ้าการเลิกกับแฟนเกิดขึ้นมาได้สักหลายปีแล้ว แต่เรายังรู้สึกเศร้า รู้สึกหดหู่อยู่อาจจะแสดงว่าความเศร้าของเราได้พัฒนาเป็นซึมเศร้า ซึ่งต้องไปพบแพทย์เพื่อพูดคุยวินิจฉัยด้วย
ทาง Better health ก็ได้บอกถึงวิธีดูความแตกต่างของ เศร้า กับ ซึมเศร้า ..
เศร้า
- อารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ ไม่คงที่
- เป็นความคิดที่เกิดขึ้นได้เมื่อเราคิดในแง่ลบ แต่ไม่ถึงกับการฆ่าตัวตาย
- เป็นปฏิกิริยาทั่วไปที่เกิดขึ้นได้เมื่อรู้สึกถึงความพ่ายแพ้ ผิดหวัง กังวล
ซึมเศร้า
- รู้สึกเศร้าอย่างรุนแรงเป็นเวลานาน สูญเสียความมั่นใจ มีผลกระทบต่อสิ่งอื่น ๆ เช่น ความสนใจที่เคยชอบลดลง ไม่อยากอาการ พลังงานน้อย การนอนที่เปลี่ยนไป มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย
- สามารถเกิดขึ้นได้กับพันธุกรรม
- เกิดความเปลี่ยนแปลงทางจิตใจที่อาจจะส่งผลกระทบกับร่างกาย เช่น น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงที่ผิดปกติ
จะเห็นได้ชัดเลยว่าจุดตัดของทั้งสองอย่างคือ กระทบกับชีวิตประจำวันไหม? เป็นคำถามสำคัญจริง ๆ ที่เอาไว้รีเช็คตัวเองได้ และที่สำคัญถ้าเป็นซึมเศร้าไม่ได้เศร้าแปป ๆ แล้วหายเหมือนเศร้าทั่วไป แต่ต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่ตัวเองและการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญควบคู่กัน
ร้องไห้ไม่ออก ทำไงดี
เพลงเศร้า หนังเศร้า
ในกรณีที่ร้องไห้ไม่ออกแต่อยากร้องไห้การฟังเพลงหรือดูหนังที่มีเนื้อเพลงหรือเรื่องราวตรงกับสถานการณ์ที่กำลังเจออยู่ พอมีอะไรตรงกับความรู้สึก จะร้องไห้ออกมาได้ง่าย เหมือนได้ทบทวนตัวเองไปในตัวว่าตอนนี้เรากำลังตกอยู่ในปัญหาอะไร
คุยกับคนที่เราสนิทใจแบบ Deep Talk
เวลารู้สึกเศร้าการที่เราคุยกับคนที่เรารู้สึกสนิทใจ สามารถทำให้เราเกิดความสบายใจและปลอดภัยที่จะร้องไห้ตอยอยู่กับเขาได้
ยอมรับความรู้สึกเศร้าที่เกิดขึ้น
ต้องยอมรับกับตัวเองก่อนว่าเศร้า เพราะบางทีตัวเราเองก็ปฏิเสธที่จะเศร้าไม่อยากร้องไห้ ไม่อยากมีความรู้สึกนี้
เรียบเรียงความรู้สึกที่เกิดขึ้น
ค่อย ๆ จัดการความรู้สึกตัวเองทีละอย่าง แยกให้ออกว่าเรากำลังเศร้าเรื่องอะไรเพราะบางทีความเศร้าก็เกิดขึ้นหลาย ๆ เรื่องปนกันไปหมด
ทำไมเราเศร้าแต่ ร้องไห้ไม่ออก ?
5 stages of grief
เป็นทฤษฎีหนึ่งในทางจิตวิทยาเวลาที่คนเราเจอเรื่องกระทบกระเทือนจิตใจ ไม่ว่าจะเป็น ความผิดหวัง ความสูญเสีย คนเราจะต้องเจอกับ 5 ขั้นของความเสียใจนี้ คือ 1.Denial 2.Anger 3.Bargaining 4.Depression
และ 5.Acceptance บางทีการที่เราร้องไห้ไม่ออก อาจจะเป็นเพราะเรายังอยู่ในขั้นแรก ๆ อยู่ เช่น เราอาจจะยังอยู่ในขั้น Denial เราเลยจะมัวแต่ช็อค ยอมรับความจริงไม่ได้ มีแต่คำถามว่า เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจริงหรอ?
ทำไมเราต้องมาเจอเหตุการณ์แบบนี้? แต่เมื่อไหร่ที่เราอยู่ในขั้น Depression หรือขั้นของซึมเศร้าแล้ว เราอาจจะร้องไห้ออกมาได้ไม่ยาก
คุ้นชินกับความเศร้า
เวลาคนเราเสียใจกับบางอย่างในชีวิตแล้วไม่ได้จัดการหรือระบายออกอย่างเหมาะสม เป็นไปได้ที่เราจะคุ้นชินกับความเศร้า ทำให้ไม่ร้องไห้ออกมา
ความสับสน
การอยู่ในช่วงที่สับสน ยังจับต้นชนปลายไม่ถูก อาจจะทำให้ยากที่เราจะตามตัวเองทันว่าตอนนี้เรากำลังรู้สึกเศร้า เวลาเราเศร้าแต่ร้องไห้ไม่ออก เป็นเพราะเรายังสับสน ว่าเราคิดอะไร รู้สึกยังไง
กับเรื่องที่เกิดขึ้นกันแน่ พอวันหนึ่งที่เรารู้แล้วว่าเราเศร้า จากการที่เวลาผ่านไปและได้ทบทวนตัวเอง ถีงวันนั้นเราจะร้องไห้ออกมาเอง โดยที่ไม่ต้องพยายามบิลด์อารมณ์ตัวเอง
การคาดหวังของสังคม
ที่ถูกตังค่ามาว่า ร้องไห้เท่ากับอ่อนแอ หรือประโยคที่ค่อนข้างได้ยินบ่อยว่า อ่อนแอก็แพ้ไป แต่จริง ๆ แล้วคนเราสามารถอ่อนแอได้ เราไม่ใช่เครื่องจักร หุ่นยนต์ที่ไม่เหนื่อย ไม่เศร้า ไม่มีความรู้สึก
ถ้าเรายอมรับความรู้สึกตัวเอง เศร้าก็เศร้า โกรธก็โกรธการที่เรากลั้น เราไม่ระบายออกมาเมื่อเราเศร้าเสียใจ หรือรสอะไรก็ตามถ้าทำเป็นระยะยาวจากที่เราเศร้าเฉย ๆ อาจจะกลายเป็นภาวะซึมเศร้าได้
เจอเหตุการณ์ที่สะเทือนใจ
เวลาที่เจอเหตุการณ์สะเทือนใจจะทำให้เรามีความงง ๆ สับสน ทำตัวไม่ถูกว่าตอนนี้เราควรรู้สึกอะไร แล้วผ่านไปสักระยะเพิ่งจะรู้สึกเศร้าขึ้นมา ภาวะนี้เกิดจากอารมณ์ช็อก เพราะเราไม่ได้คิดว่าจะเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น
ทำให้บางคนมีภาวะซึมเศร้าเป็น PTSD (Post-traumatic Stress Disorder) หรือความผิดปกติหลังเกิดบาดแผลทางใจ ดร.จาเมกา วู้ดดี้ คูเปอร์ (Jameca Woody Cooper) อธิบายว่า
“บาดแผลทางใจสามารถทำให้บุคคล และสมองของเขาชัตดาวน์ลง ราวกับว่าอยู่ในโหมดป้องกัน” นำไปสู่ความรู้สึกชาทางอารมณ์ที่ไม่สามารถร้องไห้ออกมาได้
ข้อดีของการร้องไห้
จากเว็บไซต์ mindbodygreen
- การร้องไห้จะช่วยหลั่งฮอร์โมนในร่างกาย เช่น ออกซิโทซิน และเอ็นดอร์ฟิน ที่บรรเทาความเจ็บปวดทางกาย และใจ
- ช่วยลดฮอร์โมนความเครียดอย่าง ฮอร์โมนอะดรีโนคอร์ติโคทรอปิกได้
- ไมเคิล เฉิน (Michael Chen) แพทย์ และผู้อำนวยการแพทย์ประจำ One Medical กล่าวว่า “การร้องไห้สามารถช่วยด้านอารมณ์ของเราได้ ทั้งการพัฒนาการนอนหลับ ลดการอักเสบของร่างกาย และเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
- ทำให้เรารู้ว่าใครพร้อมอยู่ข้างเรา อันนี้ได้มาจากแอนิเมชั่นเรื่อง inside out ในเรื่อง ตัวละครเอกจะมี “จอย” ตัวละครที่เป็นอารมณ์สุข จอยจะพยายามให้ไรลีย์มีความสุขตลอด ไม่ยอมให้อารมณ์อื่นเข้ามามีบทบาทเลย แต่พอโตขึ้น อารมณ์อื่น ๆ เกิดขึ้นอย่างห้ามไม่ได้ เพราะไรลีย์ต้องเจอกับความเปลี่ยนแปลงและปัญหาชีวิต จนสุดท้าย sadness ตัวละครที่เป็นอารมณ์เศร้าเข้ามา ทำให้ไรลีย์รู้ว่า พ่อแม่และคนรอบข้าง พร้อมจะซัพพอร์ตไรลีย์
วิธีระบายอย่างอื่นนอกจากร้องไห้
การร้องไห้เป็นวิธีหนึ่งในการแสดงความเศร้า ความอึดอัดใจ รวมถึงความรู้สึกและอารมณ์ลบอื่น ๆ แต่ถึงเราจะไม่ได้ร้องไห้หรือพยายามทำอะไร จิตใจเราจะมีกลไกการป้องกันและเยียวยาความเจ็บปวดให้อยู่แล้วที่เรียกว่า Defense Mechanism เรื่องของการระบายสิ่งที่อึดอัดอยู่ข้างใน
1.กลไก Displacement คือ การระบายโดยการไปลงกับอย่างอื่น เช่น บางคนโกรธหัวหน้าแต่ไปแสดงออกอารมณ์นี้กับคนในครอบครัว เช่น ไปพูดจาไม่ดีกับพ่อแม่
2.กลไก Sublimation คือ การเอาสิ่งร้าย ๆ ไปเปลี่ยนให้เป็นการกระทำที่ดี ๆ เช่น ในกรณีของความเศร้า บางคนอาจจะเปลี่ยนความเศร้าให้เป็นงานศิลปะ หรือที่ในการเรียนจิตวิทยาชอบยกตัวอย่างนี้ คนที่มีความก้าวร้าว ชอบการชกต่อย อาจจะใช้จุดนี้ไปเป็นนักมวย
มีอีกหลายอย่าง แต่ได้ยกตัวอย่างมาให้พอเห็นภาพ แต่ด้วยความที่กลไกป้องกันทางจิต มุ่งที่จะปกป้องเราอย่างเดียว ซึ่งบางครั้งสิ่งที่แสดงออกไม่ใช่การกระทำที่คำนึงถึงจิตใจของผู้อื่น การพยายามหาวิธีการระบายที่ดีอาจจะช่วยได้มากกว่า ไม่เสี่ยงต่อการเสียความสัมพันธ์หรือผลกระทบทางลบต่าง ๆ ด้วย
อ้างอิง
Why Can’t I Cry? 8 Reasons, From Medical To Emotional
ความเหนื่อยที่ไม่ใช่แค่ความเหนื่อย ไม่ทำอะไรก็รู้สึกเหนื่อย อยู่เฉยๆ ก็เหนื่อย (TATT)
ความรู้สึกเหนื่อยเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เป็นเรื่องปกติในทุก ๆ วัน แต่มันก็จะหายไปเมื่อเราพักผ่อนให้เพียงพอหรือจะหายไปเมื่อเราได้อยู่กับอะไรที่สบายใจ แต่รู้ไหมว่ามีความเหนื่อยที่พักเท่าไหร่ก็ยังเหนื่อยอยู่ดี
เหมือนความเหนื่อยนี้เป็นซูชิสายพานทีไหลมาเรื่อย ๆ แล้วบางทีก็ตอบไม่ได้ด้วย ว่าเหนื่อยกับเรื่องอะไรอยู่ แค่อยู่เฉย ๆ ก็เหนื่อย อยากจะพาทุกคนมารู้จักกับ TATT หรือ Tired All the Time Syndrome
TATT ( Tired All the Time Syndrome )
TATT เป็นคำที่ย่อมาจาก Tired All the Time หรือถ้าเเปลเป็นไทยคืออาการ “เหนื่อยตลอดเวลา”
เป็นโรคที่ได้รับการรับรองทางการแพทย์แล้วว่าพบได้กับทุกเพศ ทุกวัย (แต่จากงานวิจัยพบว่ามักพบ TATT ในเพศหญิง เนื่องจากต้องทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน)
เช่น ออกไปทำงานนอกบ้าน กลับบ้านมาเลี้ยงลูกและดูแลสามี เป็นความเหนื่อยที่วนลูปทุก ๆ วัน
TATT มักถูกมองว่าเป็น “น้องชาย” ของกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรัง (Chronic Fatigue Syndrome) กลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังจะมีอาการเหนื่อยล้าต่อเนื่องหลายปี
แต่ TATT จะเป็นเวอร์ชั่นที่ซอฟต์กว่า โดยอาการหลักของ TATT คือ เหนื่อยตลอดเวลา พักเท่าไหร่ก็ยังเหนื่อย ไม่มีสมาธิ รู้สึกอ่อนเพลียอย่างต่อเนื่อง ตัดสินได้ใจช้าลง และกระทบกับชีวิตประจำวัน
อาการอ่อนล้าเรื้อรัง (Chronic Fatigue Syndrome)
อาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง Chronic Fatigue Syndrome (CFS) เป็นโรคที่ค่อนข้างจะซับซ้อน มีอาการเหนื่อยล้าอย่างรุนแรงซึ่งกินเวลานานอย่างน้อย 6 เดือน
และไม่สามารถอธิบายได้อย่างเต็มที่จากภาวะทางการแพทย์ โดยสาเหตุก็ไม่ทราบแน่ชัดเหมือนกัน ทางการแพทย์ได้กล่าวไว้ว่าอาจจะมาจากความเครียด
ความเหนื่อยล้าหลาย ๆ ปัจจัยรวมกัน อาจจะมาจากอาการเจ็บป่วย หรือฮอร์โมนต่าง ๆ ทางร่างกายซึ่งจะรุนแรงมากกว่า TATT ความเหนื่อยล้าที่เกิดขึ้นเมื่อพักผ่อนแล้วก็ไม่รู้สึกดีขึ้นเลย
เหนื่อยตลอดเวลา (TATT) เกิดจากอะไร
1. การทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง
- การกินน้ำน้อยเกินไป
- การทานโปรตีนน้อยเกินไป
- การทานคาร์โบไฮเดรตน้อยหรือมากเกินไป
- การพึ่งคาเฟอีน
- การรับประทานอาหารที่ไม่สมดุล
2. ชีวิตประจำวัน
- การทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ทั้งวันและแทบจะไม่มีเวลานอนเลย
- หรือการทำงานเป็นกะ กระทบทั้งการกิน การนอน การใ้ช้ชีวิต
- การไม่ออกกำลังกาย
- นอนไม่หลับ
- อดนอนทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียได้
- นอนน้อย
3. ความเครียด
การที่เรามีความเครียดมากเกินไปทำให้อะดรีนาลีนสูบฉีด ซึ่งจะทำให้ตื่นตัว เสียพลังงานและทำลายความสงบในจิตใจ นำไปสู่ เหนื่อยตลอดเวลา (TATT) ในท้ายที่สุด
อาการ เหนื่อยตลอดเวลา (TATT)
- ขาดพลังงาน เหนื่อยเเละเพลียตลอดเวลา บางครั้งก็เหนื่อยแบบไม่มีสาเหตุ
- รู้สึกง่วงนอนตลอดทั้งวัน นอนเท่าไหร่ก็ไม่อิ่ม
- สูญเสียแรงจูงใจ หมด Passion
- ทุกข์ใจจากการขาดสมาธิ
- มีปัญหาในการตัดสินใจ
- ประสบปัญหาการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวัน
- รู้สึกเศร้าหรือหดหู่แบบไร้สาเหตุ
เหนื่อย VS เหนื่อยตลอดเวลา (TATT)
ด้วยชีวิตที่วุ่นวายของผู้คนในทุกวันนี้ เป็นเรื่องปกติที่บางครั้งต้องพบเจอกับความเหนื่อยล้า หมดพลังงานในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต
อาจจะเกิดจากการทำงานหนักเกินไปหรือเกิดจากความเครียดทั่วไป แต่สิ่งนี้จะหายไปหลังจากนอนหลับและพักผ่อน
แต่สำหรับบางคน ความเหนื่อยล้านี้กลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคุณภาพชีวิตและเป็นสาเหตุของความกังวล นี่คือสิ่งที่ เหนื่อยตลอดเวลา (TATT) แตกต่างจากความเหนื่อยโดยทั่วไป
เหนื่อย VS ขี้เกียจ
-
แยกตามช่วงเวลา
ความเหนื่อยเกิดขึ้นหลังจากการทำอะไรสักอย่างที่ยาวนาน ความขี้เกียจเกิดขึ้นก่อนที่จะทำอะไรสักอย่าง ที่เราประเมินไปแล้วว่าต้องเหนื่อยแน่ ๆ ต้องน่าเบื่อแน่ ๆ
-
แยกตามการทำกิจกรรม
เมื่อยังคงเต็มใจทำงานเมื่อและได้ทำสิ่งต่าง ๆ มากมายและรู้สึกอยากหยุดเพราะหมดแรงทั้งหมดแล้ว แสดงว่า เหนื่อย แต่เมื่อไม่เต็มใจที่จะทำอะไรแม้ว่าจะไม่เหนื่อยและไม่เป็นไร
เพราะไม่อยากทำนั่นอาจจะเป็นความขี้เกียจ หลัก ๆ เป็นเรื่องของอารมณ์
-
ขี้เกียจมักจะมาพร้อมกับกิจกรรมอะไรที่เราไม่อยากทำตั้งแต่แรก
เป็นความรู้สึกที่เกิดการความเหนื่อย เช่น ขี้เกียจอ่านหนังสือสอบ แต่พออ่านเสร็จเราเหนื่อย ขี้เกียจออกไปซื้อของข้างนอกจัง แต่พอซื้อเสร็จเราเหนื่อย
ผลกระทบเวลาที่เหนื่อยสุดๆ
ฟังก์ชันการใช้ชีวิตเปลี่ยน ความรู้สึกเปลี่ยน พลังงานเปลี่ยน เเรงกายเเรงใจสำคัญมากในการทำสิ่งต่าง ๆ ซึ่งความเหนื่อยก็ทำให้เราหมดทั้งแรงกายเเรงใจเลย เราทำงานได้ไม่ดีเท่าเดิม
เรามีแรงไปทำงานได้น้อยลง สมาธิจดจ่อน้อยลง รู้สึกเหมือนสับสวิตซ์ไปเลย จากที่เป็นคนพอจะร่าเริงบ้างแต่พอเหนื่อยมันเหมือนมีมวลพลังงานบางอย่างที่คนอื่นสัมผัสได้เลยว่าเรากำลังเหนื่อยอยู่แล้วควรต้องพักจริง ๆ
หมดแรงทั้งร่างกาย และจิตใจ ส่งผลกระทบต่อปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างด้วยว่าเราไม่ได้เอนจอยกับพวกเขาได้
วิธีดูแลตัวเองในแบบของตัวเอง
“ลงไปจัดการ ไปรื้อความรู้สึก ไปดูสาเหตุว่าทำไมเราเหนื่อย” เหมือนเวลารถเสียหนัก ๆ ถ้าช่างมองเเค่ภายนอก มันอาจจะเเก้ได้แค่ผิวเผิน แต่สุดท้ายแล้ว มันจะกลับไปพังอีกถ้าไม่ได้ลงไปรื้อเครื่อง
หรือดูให้ละเอียด เหมือนเความรู้สึกของคนเราเลย ถ้าเราปล่อยผ่าน ไม่ดูหรือรื้อว่าสาเหตุคืออะไร เราเป็นอะไร ก็เหมือนกับการที่เราซุกขยะไว้ใต้พรม มันก็จะยังอยู่ตรงนั้นแหละ ไม่หายไปไหน เปิดมาก็ยังเจอเหมือนเดิม
“ดูแลเเค่จิตใจอย่างเดียวไม่พอ” ดูแลจิตใจแล้ว เราก็ต้องไม่ละเลยร่างกาย การที่ไม่ดูแลร่างกาย เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เราเหนื่อย ร่างกายก็สำคัญเช่นกัน
สังเกตตัวเองจากคนอื่นบอก แล้วมาทบทวนตัวเองแล้วหาสาเหตุถ้าเรารู้ว่าเราเหนื่อยในตอนนี้แต่เราไม่รู้ว่าสาเหตุมันมาจากไหน เราก็จะไม่สามารถจัดการมันได้
ไม่อยากเหนื่อยตลอดเวลาทำอย่างไรดี
จากที่เราพูดคุยกันไปว่า ความเหนื่อย คือความรู้สึกหรืออาการที่ทุกคนต้องพบเจอ แต่ความรู้สึกเหนื่อยตลอดเวลาเป็นความรู้สึกที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่
จากบทความของเว็บไซต์ Soliant ชื่อบทความว่า “6 Ways To Fight Feeling Tired All the Time” บอกว่า การเเก้ไขและป้องกันอาจจะเริ่มต้นได้ง่าย ๆ จากการปรับเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันเล็ก ๆ น้อย ๆ
1. แยกโรคประจำตัวที่รักษา
ทางการวิจัยยังไม่สามารถระบุสาเหตุของ เหนื่อยตลอดเวลา (TATT) ได้แน่ชัด จึงจำเป็นต้องพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อแยกโรคประจำตัวที่สามารรักษาได้ออกก่อน
ความเครียด โรคหรือสภาวะต่าง ๆ เช่น โรคไฟโบรมัยอัลเจีย โรคข้ออักเสบ รูมาตอยด์ โรคเบาหวาน หรือความผิดปกติของต่อมหมวกไต ล้วนมีส่วนทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง
โรคหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep apnea) ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของ เหนื่อยตลอดเวลา (TATT) ภาวะนี้เกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อด้านหลังลำคอเสียหาย ขัดขวางทางเดินหายใจ
ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับอาจทำให้หายใจยากขณะที่หลับ ทำให้ผู้ป่วยต้องตื่นบ่อยในตอนกลางคืน เนื่องจากร่างกายตอบสนองต่อการขาดออกซิเจน
หรือกับโรคโลหิตจาง (Anemia) ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดความรู้สึกเฉื่อยชา และความเหนื่อยล้าเป็นผลข้างเคียงของโรคโลหิตจางอีกด้วย
2. ให้การนอนหลับเป็นสิ่งสำคัญลำดับที่หนึ่ง
เราพูดกันบ่อยมาก ๆ ว่าการนอนที่ไม่มีคุณภาพส่งผลต่อพลังงานมากและแน่นอนว่าการนอนที่มีคุณภาพย่อมส่งผลโดยตรงต่อความรู้สึกมีชีวิตชีวาในการใช้ชีวิตและพลังงานในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
รวมถึงส่งผลโดยตรงกับความรู้สึก “เหนื่อย” ลองสังเกตเป็นรายวันหรือรายสัปดาห์ดูก่อน ถ้าเรานอนหลับไม่เพียงพอ เราจะรู้สึกเหนื่อยง่ายมาก บางครั้งก็ไม่มีแรงที่จะไปทำสิ่งต่าง ๆ เท่าที่ควร
แล้วถ้าเรานอนไม่พอหรือมีการนอนที่ไม่ได้คุณภาพติดต่อกันเป็นเวลนาน อาจจะส่งผลให้เรา “เหนื่อยตลอดเวลา” และพักผ่อนเท่าไหร่ก็ไม่พอได้
ทำสิ่งนี้ให้เป็นรูทีน :
- นอน 7-9 ชั่วโมง
- สร้างสภาพแวดล้อมการนอน เช่น เตียงที่นุ่มสบาย ปราศจากแสงไฟรบกวน
- หลักเลี่ยงสิ่งกระตุ้นต่างๆในตอนกลางคืน เช่น คาเฟอีน แอลกอฮอล์ การดูโทรทัศน์หรือการทานอาหารหนักๆ
- หลีกเลี่ยงแสงสีฟ้า
จากการศึกษาพบว่า 71% ของคนนอนหลับโดยใช้สมาร์ทโฟน หรือวางบนตู้ข้างเตียงเป็นประจำ การใช้สมาร์ทโฟนหรือแล็ปท็อปก่อนเข้านอนจะขัดขวางกระบวนการนอนหลับตามธรรมชาติ
เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้ผลิตสิ่งที่เรียกว่า “แสงสีน้ำเงิน” ซึ่งเลียนแบบแสงแดด ทำให้กระตุ้นการตื่นตัวของมนุษย์ แสงสีฟ้า จะไปกระตุ้นสมองและยับยั้งการผลิตฮอร์โมนเมลาโทนิน
ทำให้นอนหลับได้ยากขึ้น การจำกัดการใช้อุปกรณ์ที่สร้างสีฟ้าในช่วงเวลาก่อนนอนช่วยให้คุณภาพการนอนดีขึ้น
3. เติมพลังให้ตัวเองอย่างมีประสิทธิภาพ
อันนี้เป็นเรื่องของโภชนาการที่เหมาะสมสามารถช่วยเพิ่มพลังงานของเราได้ อาหารขควรมีความสมดุลของผลไม้ ผัก ธัญพืช ผลิตภัณฑ์จากนมไขมันต่ำ
และเนื้อไม่ติดมัน มื้อเล็ก ๆ อาจเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับคนที่ต้องเดินทางและมีความเร่งรีบ แต่ควรคำนึงถึงขนาดของอาหารเพื่อหลีกเลี่ยงการเพิ่มของน้ำหนัก
หากต้องการทานอาหารว่าง ให้เลือกไฟเบอร์และโปรตีนผสมกันเพื่อเพิ่มพลังงานที่คงอยู่ตลอดไป
ถ้าต้องทำงานเป็นกะ แนะนำให้ทำอาหารกลางวันเพื่อสุขภาพที่ประกอบด้วยผลไม้และธัญพืช หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารขยะ
4. อย่าปล่อยให้การที่ร่างกายขาดน้ำ
ความเหนื่อยล้าเป็นอีกหนึ่งตัวชี้วัดว่าร่างกายอาจจะกำลังขาดน้ำ ที่สามารถส่งผลต่ออารมณ์ สมาธิและเป็นสาเหตุของการปวดหัว
การขาดของเหลวอาจทำให้ปริมาณเลือดลดลง ซึ่งหัวใจจะทำงานหนักขึ้นเมื่อต้องสูบฉีดออกซิเจนและสารอาหารไปยังสมอง ผิวหนัง และกล้ามเนื้อของคุณ
Small trick:
- ถ้าไม่สามารถดื่มน้ำ 1 แก้ว ในทุก ๆ ชั่วโมงหรือสองชั่วโมง ให้ถือขวดน้ำไว้ในมือเพื่อดื่มตลอดทั้งวัน เพื่อให้คงความชุ่มชื้นไว้ได้
- การที่จะรู้ได้ว่าดื่มน้ำเพียงพอ ลองสังเกตุสีปัสสาวะ ควรเป็นสีใสหรือสีเหลืองซีด
- “ออกกำลังกายระดับปานกลางเป็นประจำ” เช่น การยืดกล้ามเนื้อเบาๆ หรือการเดินจะทำให้ร่างกายและจิตใจกระปรี้กระเปร่า สามารถช่วยรักษาสมดุล ความแข็งแรง และความยืดหยุ่นได้
แต่อย่าออกกำลังกายก่อนนอน เพราะอาจกระตุ้นและรบกวนการนอนหลับได้ การศึกษาเรื่องการนอนหลับแสดงให้เห็นว่าผู้ที่เลือกออกกำลังกายแบบแอโรบิกระดับปานกลาง
เช่น เดินหรือวิ่งเหยาะๆ ช่วยลดเวลาที่ใช้ในการพยายามนอนหลับ ส่วนการออกกำลังกายที่มีความเข้มข้นสูง เช่น การวิ่งหรือยกน้ำหนักมีผลน้อย
5. คลายเครียด (De-stress)
ความเครียดส่งผลกระทบต่อร่างกายในหลาย ๆ ด้าน และอาจจะรวมถึงอารมณ์หงุดหงิด อาการนอนหลับยาก ปวดหัว และภูมิคุ้มกันต่ำ
ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารและโภชนาการ Carolyn Dean อธิบายเหตุผลทางการแพทย์ที่อยู่เบื้องหลัง เหนื่อยตลอดเวลา (TATT)
ไว้ว่า “ความเครียดทางร่างกายหรือจิตใจที่เรื้อรัง จะไม่อนุญาตให้ร่างกายฟื้นตัวความเครียดจะไปกระตุ้นต่อมหมวกไตให้ผลิตฮอร์โมนความเครียด ‘คอร์ติซอล’
เพื่อให้เรามีพลังงานในการตอบสนองอย่างเหมาะสมต่อเหตุการณ์ เพื่อการเผชิญหรือหลีกหนี” นั่นหมายความว่า หากปล่อยให้เราเผชิญกับความเครียดสะสม เมื่อถึงจุด ๆ หนึ่ง ต่อมหมวกไตก็จะเกิดอาการล้าได้
6.พบผู้เชี่ยวชาญ
สุดท้ายนี้ หลังจากทำทั้งหมดแล้วยังไม่ดีขึ้น ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์ เพื่อหาสาเหตุของอาการเหนื่อยล้าที่แท้จริงเพื่อหาทางออกอย่างเหมาะสม
ความเหนื่อย เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุปัจจัย ทางที่ดีที่สุดคือการที่เราดูแลตัวเองให้ดีทั้งร่างกายและจิตใจ การที่เราเข้าใจและรู้ลิมิตของตัวเองเป็นเรื่องที่ดี
เมื่อไหร่ก็ตามที่เรารู้ว่าตอนนี้คือตอนที่เราเหนื่อยเกินไป ตอนนี้คือหนักเกินไป เราก็จะหันกลับมาดูแลตัวเองได้อย่างเหมาะสม
อ้างอิง :
6 Ways To Fight Feeling Tired All The Time
Causes of Tired All The Time (TATT)
ในเวลาที่เราเจอกับคนที่ทำให้เราเกิดความรู้สึกขุ่นเคืองใจ เเต่ละคนจะมีการตอบสนองต่อสิ่งนั้นเเตกต่างกันไป บางคนเฉยๆ บางคนโกรธ และถ้าสิ่งนั้น กระทบจิตใจอย่างมาก มันจะพัฒนาไปสู่ ความแค้น …
ความแค้น คืออะไร
ความแค้นคือ ความความไม่พอใจที่สะสมอยู่ภายในจิตใจเนื่องจากประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นธรรม พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายของคำว่า “แค้น” ไว้ว่า โกรธเจ็บใจอยู่ไม่หาย
นั่นหมายความว่า ความแค้นกับความโกรธนั้นใกล้เคียงกันเพียงแต่แตกต่างกันที่ระยะเวลานั่นเอง
ความแค้น เป็นความรู้สึกโกรธที่ฝังลึกและยาวนานต่อเนื่อง การที่คนคนนึงสะสมความแค้นแบบต่อเนื่องแบบนี้จะทำให้ร่างกายและจิตใจไม่สมดุล ความแค้นจะก่อตัวขึ้นจนในที่สุดก็กลายเป็น “ความปรารถนาที่จะแก้แค้น”
ความปรารถนาจะหล่อเลี้ยงตัวเองและจนถึงจุดที่เริ่มจะทนไม่ได้ ด้วยวิธีนี้ ความแค้นจะค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นและจะก้าวไปสู่ความเกลียดชัง ที่ทำให้เราไม่มีความสงบสุขในใจ
คนเจ้าคิดเจ้าเเค้นคืออะไร
ตามสำนักงานราชบัณฑิตยสภาคำว่า เจ้าคิดเจ้าแค้น เป็นสำนวน หมายความถึงคนที่มักผูกอาฆาตพยาบาท ผูกใจแค้นกับคนที่ทำร้าย หรือทำให้ตนได้รับความลำบากอย่างไม่รู้จักลดละ ไม่รู้จักให้อภัย
คำว่า เจ้า แปลว่า ผู้เป็นใหญ่ เจ้าคิดเจ้าแค้น แปลตรง ๆ ว่า เอาความแค้นเป็นใหญ่ หรือ คิดเอาความแค้นเป็นใหญ่
เราจะเจอคนเจ้าคิดเจ้าแค้นในหลากหลายรูปแบบ
1.คนเจ้าคิดเจ้าเเค้นในรูปแบบคนรัก
2.คนเจ้าคิดเจ้าเเค้นในรูปแบบเพื่อน
3.คนเจ้าคิดเจ้าเเค้นในรูปแบบครอบครัว
4.คนเจ้าคิดเจ้าเเค้นในรูปแบบเพื่อนร่วมงาน
5.คนเจ้าคิดเจ้าเเค้นในรูปแบบตัวเราเอง
เมื่อเกิด ความแค้น แก้แค้นหรือไม่แก้แค้นดีกว่ากัน?
นักจิตวิทยาสำรวจกลไกทางจิตที่อยู่เบื้องหลังการแก้แค้น กลับกลายเป็นว่าทั้งสองสิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นได้ ขึ้นอยู่กับว่าเราเป็นใครและอยู่ที่ไหน หากเป็นผู้แสวงหาอำนาจ
การแก้แค้นสามารถช่วยเตือนอีกฝ่ายว่าคุณไม่ควรถูกล้อเลียน หากอาศัยอยู่ในสังคมที่มีหลักนิติธรรมที่อ่อนแอ การแก้แค้นเป็นวิธีรักษาความสงบ
แต่การแก้แค้นมาพร้อมกับราคาที่ต้องจ่าย การวิจัยของนักจิตวิทยาพบว่า แทนที่จะช่วยให้คุณดำเนินชีวิตต่อไปได้ อาจทำให้คุณต้องจมอยู่กับสถานการณ์และไม่มีความสุข
“แก้แค้นช่วยให้สะใจแต่เพียงชั่วครู่เท่านั้น ความพอใจนี้ไม่ถาวร”
จากบทความของเว็บไซต์ thematter ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า วิทยาศาสตร์พิสูจน์ว่า สมองของมนุษย์จะเอนจอยกับการแก้แค้นจากกลไกของสมองส่วนให้รางวัล (Brain reward center)
เมื่อทำการสแกนสมองด้วยเทคนิค MRI ในห้องทดลอง นักวิทยาศาสตร์พบว่า การเห็นพฤติกรรมล้างแค้นของใครสักคนมักกระตุ้นให้สมองส่วนให้รางวัลหลั่งสารสื่อประสาทที่ชื่อ โดปามีน (Dopamine)
ที่ทำให้รู้สึกพึงพอใจ แต่สิ่งที่มองข้ามไม่ได้คือ ความรู้สึกเศร้าและความทรงจำในอดีตที่เจ็บปวด มักถูกกระตุ้นให้ย้อนคืนกลับมาเป็นของแถม และสมองส่วนความทรงจำระยะยาว Long-Term memory จะถูกกระตุ้นไปพร้อม ๆ กัน
งานวิจัยอื่นสนับสนุน
การศึกษาของมหาวิทยาลัย เคนทักกี เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการ ‘ล้างแค้น’ โดยเฉพาะ เป็นการทดลอง 6 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมรวม 1,516 คน โดยให้คนเหล่านี้มาเขียนเรียงความเรื่องส่วนตัว
โดยเลือกเรื่องอะไรก็ได้ พอเขียนเสร็จ ก็ให้แลกกัน กับคนอื่นเพื่ออ่าน แล้วก็ฟีดแบ็กกลับมาว่าคิดเห็นอย่างไรกับงานของเพื่อน โดยแบ่งคนในจำนวนนี้ออกเป็นสองกลุ่ม
กลุ่มแรกทำแบบนี้โดยไม่ได้มีอะไรพิเศษพิสดาร ถือเป็นกลุ่มควบคุม ส่วนอีกกลุ่มหนึ่ง จะเป็นกลุ่มที่มีผู้วิจัยแฝงตัวเป็นเหมือนผู้เข้าร่วมอยู่ด้วย แล้วผู้วิจัยก็จะวิพากษ์วิจารณ์งานเขียนของบางคนอย่างเจ็บแสบ
หลังจากนั้นผู้เข้าร่วมการทดลองจะมีโอกาสได้แสดงความโกรธ โดยวิธีแสดงความโกรธก็คือการมอบตุ๊กตาวูดูให้ โดยเจ้าตุ๊กตาวูดูนี้จะมีลักษณะบางอย่างเหมือนกับคนที่มอบฟีดแบ็กแย่ๆ ให้
แล้วจากนั้นก็อนุญาตให้สามารถเอาเข็มทิ่มตุ๊กตานี้ได้ อารมณ์ ของผู้เข้าร่วมนั้น ก่อนหน้าที่จะเริ่มเขียนความเรียงมีอารมณ์ดีอยู่ แต่หลังจากได้รับคำวิจารณ์แล้ว อารมณ์จะเสียขึ้นมาทันที
แต่ว่าหลังได้ทิ่มแทงตุ๊กตาวูดูแล้วพบว่าอารมณ์กลับคืนมาดีอีกครั้ง ผู้วิจัยเรียกกระบวนการนี้ว่า Mood Repair หรือการซ่อมอารมณ์และความรู้สึกนั่นเอง
ความรู้สึกอิ่มเอมหรือพึงพอใจหลังได้แก้แค้นนี้ เรียกว่า Sweet Revenge คือเป็นการแก้แค้นแสนหวานเหมือนกับได้รับ ‘รางวัล’
ผลกระทบของการเป็นคนเจ้าคิดเจ้าแค้น
“ความแค้นกักขังเรา”
ชายสองคนอยู่ในห้องขังเป็นเวลาหลายปี โดยต้องทนรับการทารุณกรรมและความอัปยศจากผู้ต้องขังทุกรูปแบบ เมื่อได้รับการปล่อยตัวแล้วพวกเขาก็พบกันหลายปีต่อมา
เขาทั้งสองก็พูดคุยถามไถ่กันว่า “ยังจำเรื่องราวในนั้นได้หรือเปล่า” อีกคนบอกว่าลืม แต่อีกคนบอกว่า ยังคงเกลียดพวกเขาอย่างมาก
อีกคนมองมาที่เขาครู่หนึ่งแล้วพูดว่า: “ผมรู้สึกเสียใจด้วยนะ เพราะมันหมายความว่าพวกเขายังจับคุณเข้าคุกอยู่”
อย่างที่เห็นเลยว่า ความแค้นจะกลายเป็นคุก มันไม่ใช่สิ่งที่คนอื่นบังคับเราแต่เป็นตัวเราเอง ความรู้สึกเกลียดชังลึก ๆ นี้ทำให้ไม่สามารถก้าวไปข้างหน้าได้ เพราะยังคงลากทุกอย่างในอดีตไปพร้อมกับเรา
ทั้งที่สิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตควรที่จะอยู่ตรงนั้น อยู่ที่เดิมแบบที่ควรจะเป็น
เจอกับคนเจ้าคิดเจ้าแค้นแบบที่เราไม่ได้ทำอะไรผิด
Vindictive Narcissist คือ คนหลงตัวเองแบบอาฆาต สาเหตุที่ทำให้เขาเกิดความบาดเจ็บทางอารมณ์ เช่น การที่มีคนเห็นต่าง พวกเขาจะมองว่าความคิดเห็นที่ต่างคือการโจมตี
จะรู้สึกเจ็บปวดมากจากการถูกปฏิเสธ ขัดใจ การที่คนอื่นสร้างขอบเขตให้กับตัวของเขาเองหรือพฤติกรรมที่สวนทางกับคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ พวกเขาอาจมีปฏิกิริยารุนแรงและจำเป็นต้องตอบโต้ฝ่ายตรงข้ามให้รับรู้
โดยการโวยวาย เถียง เพื่อการเอาชนะและได้ในสิ่งที่เขาต้องการให้เป็น
ตัวอย่างสถานการณ์ที่เป็นตัวกระตุ้นให้ Vindictive Narcissist เกิดความอาฆาตพยาบาท
1.เมื่อถูกวิพากพิจารณ์ในที่ทำงาน แม้จะเป็นฟีดแบคที่สร้างสรรค์เพื่อการปรับปรุงให้ดีขึ้นก็ตาม
2.มีการแย้งหรือตั้งคำถาม เมื่อ Vindictive Narcissist เล่าประสบการณ์หรือแสดงความคิดเห็น
3.เมื่อใครสักคนหนึ่งได้เป็นจุดสนใจของทุกคน
4.ไม่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งทั้งที่เพิ่งเริ่มทำงาน
5.คนที่ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำหรือคำสั่ง
6.คนที่ Vindictive Narcissist รัก ไปสร้างความสัมพันธ์หรือสนิทสนมกับคนอื่น
7.เจ้านายชมผลงานคนอื่น
Vindictive Narcissist เกิดจาก
- เคยเจอกับเหตุการณ์สะเทือนขวัญ traumatic events
- ถูกทอดทิ้ง ละทิ้ง
- ถูกวิจารณ์อย่างหนักจากคนที่รัก
- ข่มเหง หลอกลวง
- เลือกปฏิบัติ
- ถูกประคบประหงมมากเกินไป
- คนในครอบครัวมีประวัติเป็น NPD หรือ ความผิดปกติทางบุคลิกภาพอื่นๆ (personality disorders)
- เติบโตมาในวัฒนธรรมที่มีความเป็นปัจเจก(เอาตัวเองเป็นหลัก)
เมื่อเราเจอกับ Vindictive Narcissist สิ่งที่เราต้องทำคือ
1.สร้างขอบเขตที่มั่นคงให้กับตัวเอง
การที่จะสร้างขอบเขตของตัวเองได้สิ่งที่ทำคัญคือเราต้องหนักแน่นในความคิด ค่านิยมและความเชื่อของเรา และพยายามสื่อสารออกไป
2.พยายามไม่ internalize
apa ให้คำนิยามว่า internalization = เป็นกระบวนการทางจิตที่เกิดขึ้นแบบไม่รู้ตัว โดยการนำบุคลิกภาพ ความเชื่อ ความรู้สึกหรือเจตคติของบุคคลหรือกลุ่มคนหลอมรวมเข้ามาและรับเอามาเป็นของตัวเอง
เมื่อเจอกับคนที่มีท่าทีอาฆาต เขาอาจจะใช้คำพูดที่นิยามเราในทางใดทางหนึ่ง เช่น เราอ่อนแอเกินไป ให้พยายามนึกไว้เสมอว่าเขาอาจจะต้องการทำร้ายเรา เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ
ในการไม่หยิบเอาความคิดที่น่าเจ็บปวดนั้นนั้นมาใส่ตัวเรา หรือที่เรียกว่า internalize
3.สร้างกำบังความโกรธ คือ การไม่ต่อล้อต่อเถียง เพราะอาจจะเป็นยิ่งสร้างความบาดหมางและทวีความรุนแรงมากขึ้น
4.พิจารณาขอความช่วยเหลือ จากเพื่อน ครอบครัวหรือผู้เชี่ยวชาญ
ฝึกจิตใจเพื่อลดความเจ้าคิดเจ้าแค้นลง
1.ให้อภัย
“ให้อภัยไม่ใช่เพื่อใคร แต่เพื่อตัวเราเอง”
บทความจาก Psychology today
การให้อภัยไม่ได้บอกว่าเรื่องที่เกิดขึ้นมันไม่มีอะไร ไม่ได้บ่งบอกว่าเราคือคนผิดหรือยอมรับความผิด แต่การให้อภัยคือการเลือกที่จะยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว มากกว่าการโฟกัสในสิ่งที่ “จะ” เกิดขึ้นหรือ “ควรจะ” เกิดขึ้น
การให้อภัยอาจหมายความว่าเราปล่อยวางและอยู่กับปัจจุบันมากกว่าที่จะจมอยู่กับอดีต…
การให้อภัยเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลา เมื่อเจอกับการทรยศหักหลังเป็นเรื่องปกติที่จะรู้สึกถึงความรู้สึกต่างๆ ทั้งตกใจและโกรธ ซึ่งมักมาก่อนการให้อภัยเสมอ เราต้องจัดการกับความรู้สึกเจ็บปวดก่อนจะเข้าสู่การให้อภัย
เราควรเคารพกระบวนการนั้น – กระบวนการที่สามารถเกิดขึ้นได้โดยที่เราไม่รู้ตัว บางครั้งเพียงแค่สำรวจสถานการณ์และยอมรับผลกระทบของการทรยศ เพียงแค่ทำความเข้าใจเหตุผลและบริบทเบื้องหลังการทรยศอาจเป็นจุดเริ่มต้นของการให้อภัยได้
ในทางจิตวิทยา คนที่ให้อภัยมักจะมีสุขภาพที่ดีขึ้น ลดระดับความซึมเศร้า ความวิตกกังวล และความโกรธ ในทางสรีรวิทยา การให้อภัยสัมพันธ์กับจำนวนเม็ดเลือดขาวและระดับฮีมาโตคริตที่ลดลง
เซลล์เม็ดเลือดขาวเป็นส่วนสำคัญในการต่อสู้กับโรคและการติดเชื้อ ผลลัพธ์เหล่านี้เน้นให้เห็นถึงความสำคัญของการให้อภัย ไม่ใช่สำหรับอีกคนหนึ่งแต่สำหรับตัวเอง
2.ทำความเข้าใจตัวเองอย่างตรงไปตรงมา
นักจิตวิทยาบอกว่า ให้เราลองปลดปล่อยความรู้สึกนั้นออกไป โดยเริ่มจากการทำความเข้าใจตัวเองอย่างตรงไปตรงมา ให้เราทำความเข้าใจกับอารมณ์ที่เกิดขึ้น คนเราอาจเกิดมาเจอความไม่พึงพอใจได้เสมอ
ลองสังเกตอาการทางกาย มองดูร่างกายของเราว่าตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง เบื้องหลังความคิดของเราคือความโกรธหรือความคิดที่รู้สึกว่าไม่ยุติธรรม ตามมาด้วยอาการทางกายบางอย่างหรือไม่
เช่น หน้าแดง มือสั่น ใจสั่น สัญญาณเตือนเหล่านี้คือเรากำลังมีอาการเจ้าคิดเจ้าแค้น เอาการกระทำของเขามาเป็นอารมณ์ ถ้าเห็นสัญญาณเตือนต้องเริ่มทำความเข้าใจเพื่อพาตัวเองออกมา
ค่อย ๆ หากิจกรรมผ่อนคลายที่เหมาะสม เพื่อทำให้ข้างในของเราสงบและเย็นลงได้ อารมณ์และความรู้สึกเป็นเรื่องยากที่จะจับต้องให้เท่าทันอารมณ์ร่างกายของตัวเองได้มากพอ
3.โอนถ่ายความรู้สึกในใจด้วยวิธีต่างๆ
-ลองไประบายที่เครื่องเล่น เพื่อให้ฮอร์โมนในร่างกายหลั่งสารเอ็นโดฟินช่วยให้เราเกิดความรู้สึกผ่อนคลายจากความรู้สึกนั้นลงได้
-เขียนระบาย
-เล่าออกไป จะได้มุมมองที่แตกต่าง
ความแค้นเป็นความรู้สึกที่ผูกมัดตัวเรากับทุกสิ่งที่เคยทำร้ายเรา ดังนั้นความเจ็บปวดจะไม่หายไป ยิ่งแค้น ยิ่งคิดก็ยิ่งรัดปมนั้นให้แน่นขึ้น ผูกยึดตัวเราไว้กับความทรงจำที่ไม่ดีหรือยึดเราไว้กับคนคนนั้นที่ทำร้ายเรามากขึ้น
การให้อภัยอาจจะทำได้ยากในทางปฏิบัติ ซึ่งเราเข้าใจมาก ๆ ว่าการที่จะลืมคนที่เคยทำร้ายเราเป็นเรื่องที่ค่อนข้างทำได้ยาก แต่การหันกลับมาโฟกัสที่ตัวเราเองให้มากที่สุด
อาจจะช่วยให้เราค่อย ๆ ออกมาจากสถานที่ตรงนั้น ออกมาจากความทรงจำนั้นได้ด้วยการหันกลับมารักตัวเอง ใส่ใจตัวเอง แบบที่มันควรจะเป็น
บางครั้ง คนที่คุณควรที่จะให้อภัยที่สุดอาจจะเป็นตัวของคุณเอง:)
ที่มา:
ทำไม ‘ล้างแค้น’ ถึงสะใจ? หรือวิวัฒนาการบอกอะไรเรื่องการ ‘ล่า’
narcissistic-personality-disorder/extreme-vindictive-narcissism
เคยเป็นไหมบางครั้ง เรามีความเชื่อ ทัศนคติต่อบางอย่างแล้วเรามักจะนำสิ่งนี้ ไปเผลอตัดสินคนบางคน การกระทำบางการกระทำ แต่การที่เรามีความเชื่อ ทัศนคติกับสิ่งต่าง ๆ ถือว่าเป็นเรื่องปกติของมนุษย์
เพราะสมองของเราได้ทำการตัดสินใจอย่างรวดเร็วสำหรับบางประสบการณ์ หรือเหตุการณ์ที่เราคุ้นชิน ทำความรู้จัก Cognitive Bias
ทำความรู้จักกับ Cognitive Bias
เรียก ภาษาไทย ว่า อคติทางความคิด หรือ อคติทางปัญญา
ความเอนเอียง ความผิดพลาด ในการตัดสินใจ หรือ การประเมินหลักฐาน/ข้อมูล/สถานการณ์ อย่างบิดเบือนไป ไม่ค่อยสมเหตุสมผล เพราะ ประสบการณ์ในอดีต การรับรู้รับทราบ การสังเกต ความเห็น เป็นต้น
ซึ่งทำให้มองเห็นความความเชื่อมโยงของสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างผิดๆ ตีความคำพูดของคนอื่นอย่างผิด ๆ เข้าใจความสามารถของตนเองผิด ฯลฯ ซึ่งอาจส่งผลให้การตัดสินใจผิดพลาดได้
การที่เรามีความเชื่อ มีความคิดว่าเรามีเหตุผล แต่ความจริงแล้วมนุษย์อย่างเรา ๆ ก็ ใช้ชีวิตด้วยความมีคติ มีไบแอส กับสิ่ง ๆ นั้นกันอยู่แล้ว ซึ่งเป็นเรื่องปกติมาก ๆ
แต่จะไม่ปกติและผิดพลาดก็ต่อเมื่อเราเลือกที่จะเชื่อความเชื่อเราเพียงด้านเดียว ไม่รับความเห็นต่าง ถึงแม้ว่าจะมีคนมาบอก มีอะไรมาอ้างอิง ที่ถูกต้องอยู่ตรงหน้าก็ตาม สิ่งผิด ๆ เหล่านี้จะส่งผลให้มีการตัดสินใจผิดพลาด หรือเกิดการพังทลายของความสัมพันธ์ต่าง ๆ ได้
ทำไมถึงมี Cognitive Bias
สมองของเรามีเรื่องที่ต้องคิดและตัดสินใจอยู่ตลอดเวลา สมองจึงมองหาทางที่ทำงานง่ายขึ้น โดยใช้ประสบการณ์และความรู้สึกชอบไม่ชอบมาช่วย
- ธรรมชาติสร้าง Cognitive Bias มา
- เพราะเรามีความคิด 2 รูปแบบ ดังนี้
1. ความคิดโดยสัญชาติญาน (Intuitive Thinking)
ความคิดที่คุณแทบไม่ได้คิดอะไร เช่น การเดินเรื่อยเปื่อย การหลบสิ่งกีดขวาง การแปรงฟัน เป็นต้น ซึ่งเป็นการกระทำที่คุณแทบไม่ได้ใช้สมองคิดอะไรมาก
2. ความคิดโดยสะท้อนกลับ (Reflective Thinking)
ความคิดที่ต้องใช้เวลามากขึ้น เช่น การคำนวนรายได้ส่วนตัว การต่อรองราคากับลูกค้า เป็นต้น ซึ่งต้องใช้เวลาและประเมินทุกอย่างด้วยความละเอียดรอบคอบ แต่อย่างที่บอกไป ปกติแล้วคนเราจะใช้สัญชาติญานในการคิดก่อนเสมอ
- เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ที่เราจะคิดอย่างรอบคอบและจงใจ (deliberately) ได้ตลอดเวลา
- เรามีความจำที่จำกัด ไม่สามารถจำได้ทุกเรื่อง
- ถูกกระตุ้นด้วยอารมณ์หรือสังคมได้เรื่อย ๆ
- อยากจะคิดให้สั้นลงและไม่อยากคิดอะไรมาก
ด้วยเหตุผลที่กล่าวมานี้ ทำให้เรามีความผิดพลาดในการคิด (Cognitive Error) ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ การรับรู้ แยกแยะ โดยเฉพาะเรื่องสำคัญ ๆ ที่จริง ๆ แล้วมักจะเกิดขึ้นเป็นประจำในชีวิตประจำวันเลยด้วยซ้ำ
เช่น การพูดไม่คิด พูดไม่เข้าหู ตัดสินใจทำอะไรแล้วไม่เข้าตาผู้อื่น ผลลัพธ์ไม่เป็นดังหวัง ฯลฯ หรือประเมินสถานการณ์บางอย่างผิดพลาด เช่น เข้าข้างตัวเองมากเกินไป มีแนวโน้มที่จะเชื่อผู้อื่นโดยไม่คิดอะไรมากจนเกินไป
ตัวอย่างเช่น ความเห็นด้านการเมืองหรือศาสนา หรือว่าเลือกที่จะคล้อยตามคนอื่นโดยไม่หาข้อเท็จจริงจนกลายเป็นความเข้าใจผิดและผิดหวัง
คำว่าอคติทางปัญญา cognitive bias เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1970 โดยนักจิตวิทยาชาวอิสราเอล Amos Tversky และ Daniel Kahneman ซึ่งใช้วลีนี้เพื่ออธิบายรูปแบบการคิดที่บกพร่องของผู้คนในการตอบสนองต่อปัญหา
การตัดสินและการตัดสินใจ ถ้าพูดถึง Bias หรือ อคติ ดูเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ และแน่นอนหลาย ๆ คนไม่ยอมรับแน่ ๆ ว่าเราเองมีอคติ แต่จริง ๆ แล้ว อคติ เป็นเรื่องที่เราทุกคนมีจะมากน้อยหรือกับเรื่องไหนเป็นพิเศษ ก็แตกต่างกัน
จากข้อมูลของ Verywellmind เขาได้บอกสาเหตุที่ทำให้เรามี Cognitive Biases ว่า
ถ้าหากเราต้องคิดถึงเรื่องต่าง ๆ ที่เป็นทางเลือกในชีวิตเรา เรื่องที่เราจะต้องตัดสินใจ ถึงจะมีตัวเลือกที่ง่ายที่สุดแต่การตัดสินใจก็ต้องใช้เวลามากอยู่ดี ธรรมชาติของมนุษย์เราเลยมี Cognitive Biases ขึ้นมา
จากประสบการณ์ ความเชื่อ ความรู้ต่าง ๆ ที่เราได้สั่งสมมานั้นเอง ถึงแม้ว่าบ่อยครั้งไบแอสเหล่านี้จะแม่นยำแต่ก็สามารถนำไปสู่ข้อผิดพลาดในการคิดได้เหมือนกัน ซึ่งก็มีปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้นเหมือนกัน
- อารมณ์
- แรงจูงใจส่วนบุคคล
- แรงกดดันทางสังคมที่ทำให้เกิดความลำเอียง
- อายุที่มากขึ้นทำให้ความยืดหยุ่นทางความคิดลดลง เกิดเป็นการ fix mindset ต่าง ๆ
ความลำเอียงตัดสินใจที่เรามีโดยไม่รู้ตัว
จริง ๆ แล้ว ไบแอสมีอยู่มากมายและมีหลายประเภทมาก กว่า 180 ชนิด เลย แต่วันนี้เราจะยกมาอันที่น่าสนใจ ที่เรามักเป็นกัน
1. Confirmation Bias การที่เรารับแต่ข้อมูลที่ตรงกับความเชื่อของตัวเอง
ปิดกั้นข้อมูลที่ขัดแย้ง บางครั้งเรามีอคติในการรับข้อมูลข่าวสาร โดยจะเลือกรับแต่ข้อมูลที่ยืนยันความเชื่อเดิมของตัวเองเท่านั้น และกำจัดข้อมูลที่ขัดแย้งกับความเชื่อตัวเองทิ้งไป เช่น การเปิดดูแต่ข่าวช่องเดียวซ้ำ ๆ เพราะข่าวช่องนั้นรายงานข้อมูลที่สนับสนุนความเชื่อของเราเอง
2. Cognitive Dissonance : การรับรู้ไม่ลงรอย
การที่เราหาเหตุผลมาเข้าข้างความเชื่อตัวเอง เพื่อให้เกิดความสบายใจเมื่อเราเจอข้อมูลที่ไม่สอดคล้องหรือไม่ลงรอยกับความเชื่อของตัวเอง เราจะมีอาการสั่นคลอน อึดอัด ไม่สบายใจ และจะเริ่มหาเหตุผลมาคิดเข้าข้างความเชื่อนั้น
เพื่อปลอบใจตัวเอง เมื่อคุณถูกวิจารณ์ในขณะที่กำลังนำเสนองาน คุณเองรู้สึกว่าคำวิจารณ์นั้นเป็นสิ่งที่ดูเข้าท่า แต่คุณก็ยังโต้เตียงว่าสิ่งที่คุณนำเสนอไปเป็นสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว เพื่อปกป้องความเชื่อของตนเอง
เช่น เมื่อเราซื้อสินค้าร้านหนึ่งในราคา 20 บาท แต่อีกสองวันต่อมา เราเจอสินค้านั้นลดราคาเหลือ 15 บาท เราจึงปลอบใจตัวเองว่า ไม่เป็นไร ถือว่าเงิน 5 บาทนั้น ใช้ซื้อความรวดเร็วในการได้สินค้านั้นมาใช้
3. Halo Effect อคติที่เกิดจากรูปลักษณ์ภายนอก
คิดว่าลักษณะภายนอกเป็นอย่างไร ข้างในก็เป็นอย่างนั้น เป็น กระบวนการคิดเชิงเทิดทูน อันนี้เป็นสิ่งที่เราเจอบ่อยมาก ๆ เลย คนสวย คนแต่งตัวดู คนขับรถหรู นี่คือคนนิสัยดี และน่าเคารพ แต่ถ้าเจอคนแต่งตัวไม่ดี มีรอยสัก จะถูกมองว่าเป็นคนไม่ดี halo effect มักจะเกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัว
4. Hindsight Bias : “ว่าแล้วต้องเป็นแบบนี้” “รู้อยู่แล้วว่าสิ่งนี้จะต้องเกิดขึ้น” “เห็นไหมละ”
ที่กล่าวไปข้างต้นมีชื่อเรียกว่า เป็นกับดักทางความคิดที่น่ากลัวอย่างหนึ่งที่ทำให้เราคิดว่าเราสามารถคาดเดาสถานการณ์ข้างต้นได้ เป็นอคติที่ทำให้คนปัดความรับผิดชอบเมื่อเกิดความล้มเหลวเกิดขึ้น
เช่น การทำงานกลุ่มแล้วงานกลุ่มนั้นเกิดความล้มเหลวเกิดขึ้น คนที่มีอคตินี้ก็จะปัดความรับผิดชอบไปให้คนอื่นๆทั้งที่ก่อนเริ่มทำทุกคนมีความรู้เท่าๆ กันหมด แต่ปัดเพราะตัวเองมีอคติว่า เราสามารถคาดเดาสถานการณ์ได้ว่ามันจะต้องล้มเหลวอยู่แล้วเลยมีคตินี้เกิดขึ้นมา
5. Fundamental Attribution Erro มองเห็นความผิดของตัวเองน้อยกว่าคนอื่น
เปรียบเทียบเวลาตัวเองทำผิดกับคนอื่นทำผิดในเรื่องเดียวกัน แต่มองว่าเราอะผิดน้อยเพราะว่าสถานการณ์มันบังคับ แต่คนอื่นผิดกว่าเพราะนิสัยของพวกเขา เช่น สถานการณ์ที่เรามาสายแต่คิดว่ามาสายเพราะรถติด แต่อีกคนมาสายเหมือนกันแต่เพราะเป็นนิสัยที่เขาชอบตื่นสาย
6. Bandwagon Effect การทำอะไรที่เป็นกระแสนิยมในเวลาเหล่านั้น
เพราะมนุษย์ต้องการเป็นที่ยอมรับ แต่สิ่งที่นิยมในตอนนั้นเรากลับทำด้วยความฝืนใจตัวเอง ไม่ใช่สิ่งที่เราอยากจะทำ สิ่งที่เราชอบจริงๆ แต่ทำเพราะไม่อยากโดนมองว่าแปลก
7. Stereotypical Bias การเหมารวม
เช่น การที่เราเห็นคนใส่แว่น เราก็จะมองแล้วก็เออเขาเนิร์ด เขาเรียนเก่งโดยที่เราไม่ได้ทำความรู้จักกับเขาเลยมองแค่แบบภายนอกเท่านั้น หรือการที่เราเห็นคนผิวสีเราก็จะตีความไปละว่าเขาต้องฟังเพลง hip hop ร้องเพลงเก่งแน่ ๆ
8. Self-serving Bias การหาเหตุผลมาเข้าข้างตัวเองในการจะทำสิ่งที่ไม่ดี
ทำให้เกิดมาตรฐานที่ใช้ในการตัดสินคนไม่ถูกต้อง เช่น เราตัดสินคนอื่นจากประสบการณ์ที่เราผ่านมาเยอะกว่า
วิธีเอาชนะกับอคติต่าง ๆ ที่เรามี
- ยอมรับว่าตัวเอง มีอคติ แน่นอนคงไม่มีใครคนไหน ยอมรับตรง ๆ ว่า ตัวเองมีอคติ แล้วถ้าไม่ยอมรับ มันไม่มีทางแก้ไขได้แน่นอน
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เราต้องเข้าใจก่อนว่าเราทุกคนแตกต่างกัน เขาคิดไม่เหมือนเรา ไม่ใช่ว่าสิ่งนั้นไม่ถูกต้อง การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น จะทำให้เราเป็นคนที่น่ารัก และเราจะสามารถเพิ่มพูดความรู้ และประสบการณ์ได้อีกมากมาย
- มองหาหลักฐานมาช่วยยืนยัน แนวโน้มที่เราจะเชื่อสิ่งที่เราคิด หรือประสบการณ์ของเราย่อมมีมากอยู่แล้ว แต่ก่อนจะเชื่อเราควรหา หลักฐาน ข้อมูล มาพิจารณาเพิ่มเติมก่อน
- มีสติ มีสติและรู้ตัวเองเสมอจะช่วยให้เราลดการที่เรามีอคติกับสิ่งอื่นๆได้
- ฝึกความอ่อนน้อมถ่อมตนทางปัญญา โดยปกติ เราจะสอนให้มีกริยา มารยาทที่อ่อนน้อม แต่เราไม่ค่อยได้พูดกันว่า ให้อ่อนน้อมทางปัญญา บางความคิดของเราไม่ต้องแน่วแน่ หรือแข็งมากจนเกินไปก็ได้ ให้มีอ่อนบ้าง มีถ่อมบ้าง เพื่อเปิดรับมุมมองใหม่ ๆ
อ้างอิง
Common Types of Bias That Influence Thinking
ทำไมคนเราถึงมี Cognitive Biases
เคยไหม? กลัวถูกปฏิเสธ กลัวการถูกตัดสิน? จนไม่กล้าปฏิสัมพันธ์กับใครเลย ทำให้สงสัยว่าสิ่งที่เป็นอยู่ ใคร ๆ ก็เป็นกัน หรือ เราเป็นอยู่คนเดียว? มาทำความเข้าใจ Avoidant Personality Disorder 🙂
ความรู้สึกกลัวถูกปฏิเสธหรือถูกตัดสิน เกิดขึ้นทุกวันทุกเวลาที่ต้องปฏิสัมพันธ์กับผู้คนอยู่ที่ว่ามากหรือน้อย ถ้าเป็นคนที่รู้จักกันกับเรา เราก็จะมีความรู้สึกมาก เพราะถ้าโดนปฏิเสธหรือตัดสินจากคนที่รู้จักกันจะส่งผลกระทบต่อจิตใจได้มากกว่า
การกลัวการปฏิเสธ การตัดสิน เป็นเรื่องปกติไหม?
- กลัวการปฏิเสธ กลัวถูกปฏิเสธไม่ว่าจะเรื่องอะไร ไปจนถึงกลัวว่าคนอื่นจะปฏิเสธทางสังคม คือ ไม่ให้เข้ากลุ่ม
- กลัวการตัดสิน กลัวว่าจะถูกมองในแง่ร้าย กลัวว่าคนอื่นจะมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับตัวเองไปในทางที่ไม่ดี
ถือว่าเป็นเรื่องที่ปกติเราเรียกว่า Imaginary audience เป็นปรากฏกการณ์ทางจิตวิทยาที่คนจะรู้สึกว่าตัวเองถูกจับจ้อง ถูกตัดสิน ทำให้ความกลัวพวกนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ
แบบไหนไม่ปกติ?
กระทบกับชีวิตประจำวัน
- ไม่กล้าปฏิสัมพันธ์กับใคร เพราะกลัวไปหมด
- กระทบการเรียน การทำงาน ไม่สามารถออกไปเรียนหรือทำงานตามปกติได้
- เกิดความเครียด ความทุกข์ หรืออารมณ์ทางลบอื่น ๆ ที่ถ้าไม่ถูกจัดการอาจนำไปสู่ภาวะหรือโรคที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตได้
- หลีกเลี่ยงการทำงานที่ต้องติดต่อประชาสัมพันธ์กับผู้คนจนกระทบกับการทำงาน ทำให้ไม่สามารถทำงานบางอย่างได้
- ไม่กล้าไว้ใจคนอื่นถึงแม้ว่าคนนั้นจะเป็นคนที่หวังดีกับเราก็ตาม
- ไม่กล้าลองเสี่ยงทำสิ่งใหม่ ๆ ทำให้ติดอยู่ในกับดัก comfort zone
- รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า ไม่ควรได้รับความสนใจจากสังคม
Avoidant Personality Disorder
โรคนี้จัดอยู่ในกลุ่มความผิดปกติทางบุคลิกภาพ คือ คนจะหลีกเลี่ยงสถานการณ์ทางสังคม เพราะเขากลัวที่จะถูกปฏิเสธหรือถูกตัดสินจากคนอื่น ข้อมูลจาก e-book มหาวิทลัยรามคำแหง Avoidant personality disorder
มีการจำกัดความสัมพันธ์กับผู้อื่น ไม่เต็มใจที่จะมีปฏิสัมพันธ์ในสังคม เป็นผลมาจากการที่มีความรู้สึกไว ความรู้สึกกลัว การถูกวิจารณ์หรือการถูกปฏิเสธ บุคคลที่มีลักษณะ Avoidant จะไม่พยายามคบผู้อื่น
ไม่สามารถรู้สึกสบายใจ รู้สึกปล่อยใจได้เต็มที่ตอนอยู่กับคนอื่นมากนัก บางคนจะพยายามหลีกหนีจากสถานการณ์ที่จะทำให้รู้สึกอับอาย หรือความเสี่ยง เพราะ Avoidant ไม่สามารถเผชิญหน้ากับคำวิจารณ์เพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ ต้องการที่จะได้รับรองความสำเร็จตั้งแต่ไม่ลงมือทำ ถ้าไม่มีการรับรองก็เลือกที่จะไม่ทำสิ่งนั้นเลยดีกว่า
อาการ Avoidant Personality Disorder
อาการคร่าว ๆ คือ
1. Sensitive
อ่อนไหวกับการถูกปฏิเสธและการถูกตัดสินจากคนอื่น ส่งผลให้มีพฤติกรรมได้หลายอย่าง เช่น ยอมรับคำวิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้
2. Inadequate
รู้สึกว่าสิ่งที่ตัวเองเป็นยังไม่เพียงพอ ไม่ถึงความคาดหวังของคนอื่น
3. Avoid
ถึงแม้จะอยากปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น แต่ทำไม่ได้ เพราะมีความกลัวที่รุนแรงมาก
5. Low self-Esteem
6. มองโลกในแง่ลบ ไม่ไว้ใจผู้อื่น
7. แยกตัวเองออกมาจากสังคม
รู้สึกว่าตัวเองไม่ถึงความคาดหวังของคนอื่น
สาเหตุที่ทำให้รู้สึกว่าตัวเอง Inadequate มีเหตุผลทางจิตวิทยาด้วย จากเว็บไซต์ Nick Wignall กล่าวไว้ว่ามี 4 อย่าง
1. มีความคาดหวังที่ไม่ยึดกับความเป็นจริง
2. ต้องพึ่งพาการยืนยันจากคนอื่น ต้องให้คนอื่นมาบอกว่าเราดีพอถึงจะรู้สึกว่าตัวเองดีพอ แต่คนอื่นเป็นปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ พอเราไม่ได้รับคำพูดเหล่านั้น กลายเป็นว่าเรามีมุมมองทางลบต่อตัวเอง
3. จมอยู่กับสิ่งร้าย ๆ ความผิดพลาด ความล้มเหลวในอดีต
4. ไม่ชัดเจนกับสิ่งที่ให้คุณค่าและความสำคัญ บางทีความรู้สึกเคว้ง ๆ ทำให้เรารู้สึกว่าตัวเองไม่เอาไหน
Avoidant personality disorder vs Social phobia?
Avoidance จะไม่มั่นใจในตัวเอง รู้สึกว่าตนเองบกพร่อง ไม่ดีเท่าผู้อื่น อ่อนไหว มองโลกในแง่ลบอย่างชัดเจน อ่อนไหวต่อคำวิพากษ์วิจารณ์หรือการปฏิเสธ
จึงต้องการหลีกเลี่ยงสังคมและการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นแต่ Social phobia จะเป็นความกังวลว่าเราจะไปทำอะไรให้ตัวเองขายหน้ารึเปล่า
Avoidant personality vs Antisocial
ทั้งสองจะหลีกเลี่ยงสังคมทั้งคู่ จะมีมุมมองทางลบต่อสังคม แต่คนละแบบกัน Avoidance จะกลัวว่าคนอื่นจะมาตัดสินเรา แต่ Antisocial จะหนักกว่านั้น
Antisocial มักไม่รู้สึกผิดกับการกระทำของตนเพราะสามารถหาเหตุผลมารองรับการกระทำของตนเองได้ ไม่มีความวิตกกังวล ไม่สนใจความรู้สึกของผู้อื่น มีความก้าวร้าว ไม่สนใจกฎเกณฑ์
Avoidant personality disorder VS Schizoid disorder (เก็บตัว)
ความแตกต่างระหว่าง Schizoid กับ Avoidance personality คือ Avoidance แคร์เสียงวิจารณ์ รู้สึกไม่มั่นคง แต่ Schizoid จะแยกตัวเอง เย็นชา ไม่สนใจคำวิพากษ์วิจารณ์ เก็บตัว ไม่ชอบสังคมมาตั้งแต่เด็ก ๆ
Avoidant personality disorder เป็นคนชอบหลบหลีกไม่ใช่คนหนี้ปัญหา
อยากให้ลองจินตนาการถึงมีมมีกองไฟไหม้ตรงหน้าแต่ยังเบือนหน้าไม่หาวิธีดับไฟ = หนีปัญหา
Avoidant จะมีการหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญหน้ากับคน ดูเหมือนจะหนีปัญหาก็จริง แต่เขาอาจจะเป็นแค่กับเรื่อง ๆ เดียว แต่ขึ้นชื่อว่า คนหนีปัญหา แล้ว อาจจะหนี อาจจะพยายามหลีกเลี่ยงในทุก ๆ เรื่องเลย
เกิดจากอะไร?
1. Self-conscious สูง
ส่วนหนึ่งเพราะคน ๆ นั้นมี Self-conscious ที่สูง ความหมายของคำว่า Self-conscious คนมักเข้าใจผิดคิดว่าหมายถึงการตระหนักรู้ในตัวเอง ว่าตอนนี้เรากำลังคิดอะไรรู้สึกอะไรอย่างเดียว
แต่จริง ๆ แล้วคำนี้หมายถึง การที่เรารู้สึกประหม่าและไม่สบายใจเพราะเรากังวลว่าคนอื่นจะคิดยังไงกับเรา ได้ด้วย อ้างอิงจาก Cambridge dictionary
2. มีปัจจัยภายนอกกระทบ จากเว็บไซต์ Sheppard Pratt ว่า
- มีปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ เป็นทุนเดิม เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล
- ครอบครัวมีประวัติด้านสุขภาพจิต
- การถูกทารุณหรือถูกเมินจากการเลี้ยงดู
- มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นในอดีต
- พันธุกรรม
- อาการป่วยทางกาย
รับมือเบื้องต้น?
เตือนตัวเองว่าไม่มีใครสนใจเราขนาดนั้น
ยอมรับความเป็นจริง ขอแยกเป็นข้อ ๆ
1. ยอมรับว่าการถูกปฏิเสธเป็นเรื่องปกติ ทุกคนมีความต้องการของตัวเอง มีความอยาก-ไม่อยาก เพราะงั้นไม่ได้ผิดที่ใครเลย แค่ว่าความต้องการแตกต่างกัน เรามีสิทธิ์ปฏิเสธคนอื่นยังไง คนอื่นก็มีสิทธิ์ปฏิเสธเราแบบนั้น
2. ยอมรับว่าการถูกตัดสินเป็นเรื่องปกติ ทุกคนต่างมีความคิดเห็นต่อสิ่งต่าง ๆ เสมอ แต่ที่แน่ ๆ ย้อนกลับไปที่ข้อแรกด้วยว่า ไม่มีใครสนใจเราขนาดนั้นหรอก ถ้าเราทำอะไรที่ไม่เข้าหูเข้าตาคนอื่น แต่ไม่เดือดร้อนใคร แค่นั้นเพียงพอแล้ว เขาจะคิดยังไงอาจไม่สำคัญกว่าเราคิดยังไงกับตัวเอง
** สำหรับคนที่กลัวการปฏิเสธ/การตัดสินเบื้องต้น เพราะว่าถ้าเป็นโรคแล้ววิธีรับมือต่าง ๆ อาจจะไม่ได้ผล ต้องไปพบผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ซึ่งการรักษาจะมีหลายขั้นตอน
- การให้ยา
- การทำจิตบำบัด
- การให้เขาได้เรียนรู้การดีลกับสิ่งที่ตัวเองเป็น
- การสนับสนุนที่ดีจากคนรอบข้างหรือ social support
อ้างอิง
สาเหตุที่ทำให้รู้สึกว่าตัวเอง Inadequate
Avoidant Personality Disorder Symptoms and Signs
Avoidant Personality Disorder Symptoms
คนนี้เก่งจัง คนนั้นเราอยากเอาเป็นแบบอย่าง ความรู้สึกที่ชื่นชมคนอื่นได้ แต่การชื่นชมตัวเองนั้นยาก … เคารพตัวเอง เข้าใจง่ายแต่ทำได้ยาก …
เคารพตัวเอง …
การเคารพตัวเอง คือ การมีมุมมองที่ดีต่อตัวเอง มองว่าตัวเองดีพอ มีความสามารถ เวลาเราเคารพใคร เราจะรู้สึกว่า โห…เขาเก่งจัง เขาดูเป็นผู้ใหญ่จัง การเคารพตัวเอง เลยเป็นการ โห…ใส่ตัวเอง
อีกแง่หนึ่งอาจจะเป็นการยอมให้ตัวเองทำบางสิ่งบางอย่างได้ เพราะเชื่อว่าตัวเองมีความสามารถพอที่จะทำ หรือการเคารพตัวเอง คือ การยอมรับที่เราเป็นเรา
แบบเราเป็นในตอนนี้เรายอมรับได้ไหม? ใน Cambridge dictionary ว่าคำว่า Self-respect คืออะไร เขาบอกว่า a feeling of respect for yourself that shows that you value yourself
การที่เรารู้สึกเคารพตัวเองที่แสดงให้เห็นว่าเรามีคุณค่า หลักของการเคารพตัวเองน่าจะเป็นเรื่องของการเห็นว่าตัวเรามีคุณค่าซึ่งค่อนข้างทำได้ยาก …
ในยุคนี้ที่ทุกคนสามารถรับรู้เรื่องราว รับรู้ชีวิตคนอื่น ได้ง่ายขึ้น เพียงแค่เปิดแอปโซเชียลต่าง ๆ กลายเป็นว่าเราเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่นทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว คุณค่าเราจะแกว่งทันที แกว่งได้ตลอด
เคารพตัวเอง Self-respect คืออะไรในทางจิตวิทยา
ข้อมูลจาก APA กล่าวไว้ว่า ความรู้สึกของการมีคุณค่า การมีมุมมองที่ดีต่อตัวเอง ชื่นชมใน คุณสมบัติ 3 ข้อ คือ 1.คุณค่า (value), 2.ตัวตน (character), และ 3. เกียรติ (dignity) ของตัวเอง
เว็บไซต์ Berkeley well-being institute นักวิจัยศึกษาแล้วให้นิยามที่มีใจความสำคัญคล้าย ๆ กัน คือ การที่เรา “ให้เกียรติ” ความต้องการของตัวเอง, รับรู้คุณค่าของตัวเอง, และตัดสินใจทำสิ่งที่จะช่วยให้ตัวเองรู้สึกว่ามีเกียรติ
คำว่า ทำให้ตัวเองรู้สึกว่ามีเกียรติ คือการ มีคุณค่า สมควรที่จะได้รับการชื่นชม เคารพนับถือ การให้ตัวเองทำค่อนข้างจะยากเลยเพราะพอเราเห็นชีวิตของคนอื่นทำให้เรารู้สึกแกว่งมากขึ้น เราสมควรจะชื่นชมจริงๆหรอ? เราสมควรจะได้รับจริงๆหรอ?
เคารพตัวเอง (Self-respect) vs รักตัวเอง (Self-love)
เคารพตัวเองเป็นมีความเกี่ยวข้องกับรักตัวเอง ถ้าเรารักตัวเองได้เราจะเคารพตัวเองได้ พอพูดถึงคำว่า รักตัวเอง ความหมายกว้างกว่ามาก ทั้งการดูแลตัวเองทั้งร่างกายและจิตใจ การกระทำอะไรก็ตามที่หวังดีกับตัวเอง ถือว่ารักตัวเองได้หมดเลย แต่เคารพตัวเองจะโฟกัสไปที่การรู้คุณค่าและความรู้สึกมีเกียรติ
และการรักตัวเองของแต่ละคนค่อนข้างที่จะแตกต่างกันออกไปด้วย บางทีการรักตัวเองคือการที่ได้กินของอร่อย ๆ ได้ดูแลตัวเอง ได้ทำอะไรที่อยากทำ หวังดีกับตัวเอง
เคารพตัวเอง (Self-respect) vs การนับถือตัวเอง (Self-esteem)
Self-esteem, Self-respect สองสิ่งนี้มีความคาบเกี่ยวกันการที่เรามีความนับถือตนเองอย่างแรงกล้าจะกระตุ้นให้เราเคารพตัวเองมากขึ้น การเคารพตนเองไม่ได้ขึ้นอยู่กับความสำเร็จหรือผลงานแต่เป็นมุมมองที่ยอมรับและเราไม่ได้เปลี่ยนแปลงสิ่งที่ไม่ใช่สำหรับตัวเรามากเกินไป
แต่จุดเล็ก ๆ ที่แตกต่างคือ เคารพตัวเองจะมีอีกจุดที่สำคัญ คือ ความรู้สึกมีเกียรติ ดูเป็นเรื่องของการยอมรับในตัวเอง รู้สึกว่าตัวเองดีพอ มีความสามารถมากพอ ในขณะที่ การรับรู้คุณค่าของตัวเอง Self-esteem จะกว้างกว่า และ หมายถึงตัวเราโดยรวม ทั้งความเป็นตัวของตัวเอง ความสามารถ และด้านอื่น ๆ ด้วย
เคารพตัวเอง สำคัญยังไง
1. ดีต่อสุขภาพกายและจิตของเรา แน่นอนว่าการใช้ชีวิตแบบเห็นคุณค่าตัวเอง ยอมรับในความสามารถ ให้ความสำคัญกับความต้องการของตัวเอง จะทำให้ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข พอมีความสุขแล้วสุขภาพกายและจิตจะดีตาม
2. ทำให้เราปกป้องตัวเอง พอเราเคารพตัวเอง เราจะไม่ยอมให้ใครมาทำไม่ดีกับเรา เราจะไม่ยอมไปอยู่ในความสัมพันธ์ Toxic อย่างที่บอกไปว่า การเคารพตัวเองสัมพันธ์กับการให้คุณค่าตัวเองด้วย เคยฟังคุณปอย ตรีชฎาให้ข้อคิดไว้ว่า ถ้าเราอยากให้ตัวเองมีคุณค่าในสายตาคนอื่น ต้องเริ่มจากการสร้างคุณค่าให้ตัวเองก่อน
เมื่อไหร่ที่เราคิดว่าเราไม่ต้องมีค่าก็ได้ คนอื่นจะปฏับัติกับเรา “เหมือน” สิ่งที่เรารู้สึกต่อตัวเอง หมายความว่า พอเรารู้สึกว่าเราไม่มีคุณค่า คนอื่นก็จะปฏิบัติกับเราเหมือนเราไม่มีคุณค่า แต่ถ้าเราสร้างคุณค่าให้ตัวเอง เราจะดึงดูดคนที่เห็นคุณค่าเข้ามาเอง
3. ทำให้เรามีความกล้าในการทำสิ่งต่าง ๆ เพราะว่า การเคารพตัวเอง นอกจากจะสัมพันธ์กับเรื่องคุณค่ายังสัมพันธ์กับเรื่องมุมมองที่เรามีต่อความสามารถของตัวเองด้วย ยิ่งเคารพตัวเองมาก ยิ่งมั่นใจมาก ยิ่งมีความเชื่อมั่นในตัวเองมาก ว่าเราทำได้ เราดีพอ
4. ทำให้มีความสุขในการทำสิ่งต่าง ๆ โพสต์นึงจาก Facebook เขาบอกว่า ชอบใช้สีเทียนวาดรูปไหม? แล้วเขาก็บอกว่า เขาก็ไม่ได้ทำมันได้ดีหรอกนะ แต่มันไม่สำคัญ มันสำคัญที่ว่า เราสนุกกับมันมั้ย? คนอื่นจะว่ายังไงไม่เห็นเป็นไร เพราะสุดท้ายแล้วมันรู้สึกดีที่ได้ทำ ว่าความคิดของเขา มันบ่งบอกมาก ๆ ว่าเขาเคารพในสิ่งที่ตัวเองทำแค่ไหน
5. ทำให้เราชอบตัวเองมากขึ้น คุณ Rogers เขาลงท้ายไว้ด้วยว่า สิ่งที่ดีที่สุดคือภาพวาดของทุกคนยังไงก็ออกมาแตกต่างกัน ถ้ายอมรับได้เท่ากับว่าคุณชนะแล้ว ในการใช้ชีวิตบนโลกนี้ เพราะมีแค่คุณคนเดียวที่เป็นคุณได้ดีที่สุด
สาเหตุที่ทำให้ไม่เคารพตัวเอง
การประเมินตัวเองที่ไม่ยึดกับความเป็นจริง หลาย ๆ ครั้ง มองดี ๆ นี่คือการที่เรากดดันตัวเอง ประเมินตัวเองแบบไม่ได้ดูเลยว่า บริบท สิ่งแวดล้อม มีปัจจัยภายนอกอะไรหรือเปล่า
ที่ทำให้เราทำได้ไม่ดี หรือจริง ๆ จุดโฟกัสที่ดีอาจจะเป็น การทบทวนดูว่าปัญหาคืออะไร เราจะทำได้ดีขึ้นยังไงในอนาคต มากกว่าที่จะมาต่อว่าตัวเอง แล้วเศร้า จ่มจ่อม การใส่ใจกับคำพูดของคนอื่นมากเกินไป
เวลาคนอื่นมาทำให้การเห็นคุณค่าในตัวเองของเราแกว่ง การเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น หลาย ๆ ครั้ง ชีวิตคนอื่นยังคงทำให้เรารู้สึกแย่กับชีวิตตัวเองได้อยู่ เช่น เฮ้ย เรายังไม่ค่อยเป็นผู้ใหญ่ เรายังจัดการตัวเองได้ไม่ดี เรายังดูแลตัวเองได้ไม่เท่าคนในวัยเดียวกันเลย
การที่เราเคยโดนปฏิเสธ ไม่ว่าจะในเรื่องของการทำงาน ตั้งแต่เล็กน้อยเลยคืองานกลุ่ม เวลาเราออกไอเดียไปแล้วไม่ได้รับการยอมรับ ถูกปฏิเสธก็ทำให้เราค่อย ๆ ไม่มั่นใจในตัวเอง รู้สึกตัวเองไม่เก่ง หรือจะโดนการปฏิเสธในเรื่องของความสัมพันธ์ต่าง ๆ ด้วย ทำให้เรารู้สึกว่าเราไม่สมควรได้รับอะไรเลย
มาตรฐานที่สังคมตั้งไว้ เช่น แบบหน้าตา ต้องเรียนแบบนั้น ต้องประสบเร็จเท่านี้ ทำให้เรากดดันและไม่ตรงตามกับเป้าหมายที่สังคมค่อนข้างจะเซตไว้ในปัจจุบัน
ผลกระทบจากการขาดความเคารพตัวเอง
- ความสุขน้อยลง พอความสุขน้อยลง ความทุกข์มากขึ้น สุขภาพกายและจิตเราจะแย่ลง ถ้าปล่อยไว้ไม่จัดการอาจจะถึงขั้นส่งผลกระทบกับชีวิตได้ด้วย
- ใช้ชีวิตด้วยความไม่กล้า ไม่กล้าที่จะทำบางสิ่งบางอย่าง หรือ ไม่กล้าที่จะเป็นตัวของตัวเองเต็มที่ เพราะเรามีมุมมองทางลบต่อตัวเอง
- มีความรู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า เวลาที่เราไม่สามารถทำบางสิ่งบางอย่างได้ อันนี้คิดว่าต่อเนื่องจากข้อที่แล้ว
- เกลียดตัวเอง ขอแชร์ ที่คุณโอปอ ปณิศราเล่าว่าเขาเคยเกลียดตัวเอง เพราะเขาผิวเข้ม ไม่สวยตามแบบมาตรฐาน ตอนนั้นเขาเกลียดตัวเอง ขังตัวเองอยู่ในตู้เสื้อผ้า แต่จุดนั้นแหละที่ทำให้เขารู้ว่าเขาจะทำแบบนี้ต่อไปไม่ใช่เรื่องที่มีประโยชน์กับชีวิตเลย เขาเลยลุกขึ้นมาเปลี่ยนความคิด ทัศนคติ และมุมมองที่มีต่อตัวเอง จนสามารถประสบความสำเร็จในด้านพิธีกร นักแสดง ในวงการบันเทิงได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นเลยถ้าเขาไม่ยอมรับและเคารพในสิ่งที่ตัวเองเป็น การไม่เคารพตัวเอง ไม่ยอมรับตัวเอง นำเราไปถึงความเกลียดตัวเองได้จริง แต่จะหาทางออกจากความรู้สึกนั้นยังไง จะต้องเวิร์คกับตัวเองเข้าใจตัวเองมาก ๆ และต้องให้เวลาตัวเองได้เรียนรู้
- กระทบกับคนรอบ มีมวลพลังลบแผ่ออกมา
- กดดัน ด้อยค่าตัวเองว่าตัวเราไม่เก่ง ไม่คู่ควร
- ลังเล สับสน ไม่มีความคิดเป็นของตัวเอง
- ส่งผลกับสุขภาพกายเหนื่อยง่าย หมดแรงง่าย
เคารพตัวเอง ทำยังไง
ยอมรับตัวเองทั้งจุดดีและจุดแย่ ทำได้จากหลายวิธีเลย เช่น ทำลิสต์ พูดคุยแลกเปลี่ยนกับคนรอบข้างที่ไว้ใจได้
เห็นและรับรู้คุณค่าของตัวเองให้มากขึ้น เชื่ออย่างหนึ่งเสมอว่า ทุกคนมีคุณค่าอยู่ในตัวเอง ขึ้นอยู่กับว่าจะมองเห็นไหม อาจจะไม่ได้ทำได้ดีขนาดนั้นหรอกในชีวิตจริง แต่พัฒนาส่วนที่ดี ปรับปรุงส่วนที่ไม่ดี ที่มีอยู่ในตัวเอง บางทีการอยู่เฉย ๆ อาจไม่ได้ทำให้รู้สึกมีคุณค่าขึ้นมาได้เท่ากับการอยู่กับตัวเอง
อยู่ในที่ที่เหมาะสมกับเรา Right Place, Right Person and Right Time
5 ข้อที่พัฒนาให้เรากลายเป็นคนที่เคารพตัวเองข้อมูลจาก Psychcentral
1. ลองทบทวนในข้อดีของตัวเรา เขาบอกว่าอยากให้เราลองจำกัดคำคำว่าเคารพตัวเองของเรา คุณค่า,ข้อดีของเราคืออะไร เช่น เราเป็นคนที่มีความซื่อสัตว์ เราเป็นคนใจเย็น เป็นคนมีความมุ่งมั่น
ทบทวนสิ่งดี ๆ เหล่านั้นโดยยอมรับกับตัวเองว่าสิ่งนั้นคือเรา หรืออาจจะลองถามคนที่ใกล้ชิดกับเราเพื่อให้เขาลองบอกข้อดีของเราก็ได้นะ
2. พิจารณาความสัมพันธ์รอบตัวเรา เขาบอกว่าเราไม่ได้อยู่อย่างตัวคนเดียว เรามีคนรอบตัวเราอยู่รายล้อม และคนเหล่านั้นที่อยู่รอบตัวเราที่เราให้ความสำคัญ เขาซัพพอร์ตเราหรือเปล่า
ลองตั้งคำถามง่ายๆกับตัวเองว่าคนที่เราให้ใจ ให้ความรู้สึกไปเขาแสดงสิ่งนั้นกลับมาหาเราไหม ถ้าหากว่าไม่เราจะได้จำกัดความรู้สึกของเราถูก การใช้ความรู้สึกมากเกินไปก็ส่งผลให้เราเคารพตัวเองน้อยลงเหมือนกัน
3. โฟกัสสิ่งที่ทำให้เรามีความสุข การเคารพตัวเองก็หมายถึงการที่เราพอใจชีวิตของเรา ให้เราลองหางานอดิเรกเล็กๆที่ทำให้เรามีความสุขในแต่ละวัน
4. ฝึกดูแลตัวเอง self care
5. เอาใจใส่กับความต้องการของตัวเอง
อ้างอิง
Self-Respect: Definition, Examples, & How To Gain It
5 Tips to develop and show self-respect