Posts

ใครหลายๆ คนอาจจะบอกว่า “ ความสุข  ” นั้นอยู่รอบตัวเรา หาได้ไม่ยากแต่สำหรับบางคนอาจจะไม่ได้มองว่าสิ่งที่อยู่รอบตัวของเขาเอง

 

ความสุขของเขามันก็อาจจะเป็นเรื่องยากที่เค้าจะหาความสุขจากสิ่งรอบๆ ตัวของเขาเองเช่นกัน 

 

Alljit Podcast x รัชดาภรณ์ นักจิตวิทยาคลินิก

ถ้าเราพูดถึง “นิยามของความสุข” คงต้องใช้เวลาในการค้นหาสำหรับใครหลายๆ คนเหมือนกัน

 

เพราะในความคิดของแต่ละคนอาจจะมี “นิยามของความสุข” สำหรับตัวเองที่ไม่เหมือนกัน สำหรับบางคนก็อาจจะให้ความสำคัญกับสิ่งใกล้ตัวคือความสุขของเขา 

 

แต่สำหรับอาจจะนิยามความหมายกับตัวเองออกมาไม่ได้ด้วยซ้ำไป 

ความสุข คืออะไร

สำหรับบางคนมองว่าความสุข คือความพึงพอใจในตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน ครอบครัว ชีวิตคู่ หรือว่าอะไรก็ตามที่เรารู้สึกว่าเราพึงพอใจกับสิ่งเหล่านี้ 

 

ซึ่งความพึงพอใจในจุดนี้ มันอาจจะเชื่อมไปถึงการมีเป้าหมายกับการใช้ชีวิตของตัวเราเองด้วยเหมือนกัน ให้มันเป็นอย่างที่เราอยากจะเป็นและสอดคล้องกับความเป็นจริงที่เราสามารถทำได้ 

 

แต่ถ้าเราคาดหวังกับมันไว้มากๆ และรู้สึกว่ามันไม่ได้เป็นอย่างที่เราเองคาดหวัง แน่นอนว่ามันไม่เกิดความพึงพอใจกับตัวเอง ก็อาจจะต้องลดความคาดหวัง

 

ความพึงพอใจในบางสิ่งบางอย่างลดลงมาบ้าง สิ่งเหล่านั้นก็จะมาผันแปรกับความรู้สึกว่า “เราไม่มีความสุขเลย” เพราะเมื่อใดที่เรารู้สึกว่า เราไม่พึงพอใจอะไรในตัวเองเลย

 

ไม่ว่าจะเป็นด้านไหน หรือว่ามิติไหนในความรู้สึกของเรา มันจะกระทบกับความรู้สึกที่ไม่มีความสุขของเราเองได้

 

เมื่อเราพึงพอใจกับตัวเองในระดับที่เรารู้สึกว่าเราสามารถมีความสุขกับมันได้ด้วยตัวของเราเองนั้น มันคือความสุขที่เราสรางได้ด้วยตัวเองอย่างแท้จริง

ความสุข กับ การผันแปรปัจจัยบางอย่าง

ความสุข มักจะผันแปรกับประสบการณ์ หรือว่าความรู้สึกในตัวเองในแต่ละวัน ซึ่งบางครั้งอารมณ์ของเราที่ตื่นมาในแต่ละวัน มันก็อาจจะไม่ได้มีความสุขแบบเต็มที่จนตื่นมาแล้ว

 

เรารู้สึกพร้อมที่จะทำทุกอย่าง หรือว่ากระตือรือร้นที่จะทำสิ่งต่างๆ แต่ว่าเวลาที่เราตื่นมากับความรู้สึกว่าเราได้ใช้ชีวิตอย่างที่เราอยากใช้ หรือว่าเราได้ถูกเติมเต็มจากความรู้สึกบางอย่างจากภายในของเราเอง 

 

ซึ่งบางทีก็เป็นพื้นฐาน ให้เรามีความสุขเล็กๆ กับสิ่งต่างๆ ในวันนั้นได้เหมือนกัน 

 

แต่กับบางคนเมื่อตื่นนอนขึ้นมา กลับมีความรู้สึกติดลบมาด้วยความรู้สึกบางอย่าง มันก็อาจจะส่งผลกระทบต่ออารมณ์ของเขาทั้งวันได้ จนไม่สามารถมีความสุขกับสิ่งต่างๆ ได้เลย

 

เพราะอารมณ์ของเขาถูกติดลบมาตั้งแต่ต้น มันจึงยากที่จะทำให้เขามองสิ่งรอบตัวในวันนั้นๆ ด้วยความสุขหรือว่าความคิดบวก

การรู้สึกได้ถึงเป้าหมาย หรือว่าความหมายของการมีชีวิตอยู่ 

แต่ละคนมีความคิด เป้าหมาย หรือว่าความหมายของตัวเองต่อการมีชีวิตอยู่ที่แตกต่างกันมาก บางคนอาจจะรู้ว่าที่ตัวเองมีคุณค่าอย่างไรบ้างกับการมีชีวิต หรือว่าใช้ชีวิตอยู่เพื่ออะไรบ้าง

 

หากเรารู้ว่าเราอยู่เพื่ออะไร เราทำสิ่งเหล่านั้นไปเพื่อใคร แม้ในวันที่แย่สำหรับเราเอง หากเราเลือกพักและหันกลับไปมองเป้าหมายของเรา แน่นอนว่ามันดีกับเราและช่วยเราได้เหมือนกัน 

 

การมีเป้าหมายให้กับตัวเอง มันเหมือนกับการที่เราใช้ชีวิตและรู้ว่าตัวเองใช้ชีวิตของเราในตอนนี้อย่างมีคุณค่าที่สุดเช่นกัน ณ ปัจจุบันของเราเองในตอนนี้ 

 

เรามักจะพบว่าในบางครั้ง หรือว่าหลายๆ ครั้ง ที่เราทำกิจกรรมบางอย่างมันไม่ค่อยส่งผลกับความรู้สึกสุขของเราเองเลย บางทีมันอาจจะเป็นความรู้สึกที่ลบกับเราเองด้วยซ้ำไป

 

อย่างเช่น การได้ดูแลใครสักคนในชีวิตประจำวันของเรา แต่เรากลับรับรู้ถึงความรู้สึกที่มันตรงข้ามกัน เราก็อาจจะมองว่า มันไม่มีเป้าหมายของความสุขในตัวเราเองได้อย่างไรบ้าง

 

ปัจจัยที่เข้ามาแปรผันความสุขของแต่ละคน ในแต่ละวันนั้นไม่เหมือนกัน หรือว่าบางสิ่งที่เข้ามาสร้างความสุขให้กับแต่ละคนได้

 

เช่น เงิน สำหรับบางคนอาจจะคิดว่ามันทำให้เรามีความสุขได้จากการที่เราสามารถซื้อของที่เราอยากได้ หรือว่าซื้อความสุขให้กับตัวเองได้แต่บางทีมันก็ไม่ได้ผันแปรไปตามความรู้สึกที่ว่าเรามีเงิน 

 

แต่สำหรับบางคนนั้น มีเงินมากมาย แต่กลับไม่รู้ว่าความสุขของเขาคืออะไร นั้นก็เพราะว่าเงินไม่ได้ตอบสนองความรู้สึกของเขาเอง 

 

แต่หากเรามีเป้าหมาย เราอยากมีบ้าน เราผ่อนบ้าน แน่นอนว่ามันมีความเหนื่อย และท้อกับสิ่งที่เราทำ แต่เมื่อเรามีเป้าหมาย แน่นอนนว่ามันทำให้เรามีแรงที่จะทำมันต่อ เพื่อเป้าหมายของเราเองเช่นกัน 

ความสมดุลกับความสุข

เป็นจุดที่สำคัญในการหานิยามของความสุข ของแต่ละคนความสมดุลกับความสุขของเราเองนั้น หากว่าเราทราบว่าตัวเราเอง ต้องการความสุขในรูปแบบไหน

 

แน่นอนว่ามันช่วยให้เราหาความสุขกับตัวเราเองได้เหมือนกัน แต่เมื่อใดก็ตาม ที่ตัวของเราเองก็ไม่ทราบว่าสิ่งที่เราต้องการ และเรียกมันว่าความสุข สำหรับเราเองมันคืออะไร เป็นแบบไหน

 

จุดนั้นคือสิ่งที่ยากต่อตัวเองเหมือนกัน ที่เราจะหาความสุขให้กับตัวเราได้ด้วยตัวเองกับบางคนที่เค้ามีชีวิตประจำวัน ตื่นเช้า ออกไปทำงาน เลิกงานก็กลับบ้าน มาทานข้าวกับครอบครัว

 

ซึ่งจุดนี้อาจจะมองว่าครอบครัวของเขาคือที่สุดของความสุขที่เขาต้องการ แต่กับบางคนเพียงแค่ได้หยุดงานและใช้ชีวิตแบบที่เค้าต้องการ ได้ออกไปเที่ยวข้างนอก ดื่มกาแฟตามร้านต่างๆ นั้นก็อาจเป็นความสุขของเขา 

 

สำหรับตัวเราเองอาจจะมองว่าความสุข คือการควบคุมความคิดของตัวเอง รู้เท่าทันความรู้สึกของตัวเองและจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นในจิตใจของเราเองได้ ว่าอะไรที่ทำให้เราทุกข์

 

หรือว่ากระทบกับความสุขของเรามันช่วยป้องกันไม่ให้เราเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในสิ่งที่บั่นทอนตัวเอง หรือว่าทำลายความสุขของเราเองได้

 

หากรู้ว่าตัวเองต้องการความรู้สึกความสุขแบบไหน อะไรบ้างที่เราทำมันและมีความสุขกับสิ่งเหล่านั้นได้ด้วยตัวเอง ไม่ว่าสิ่งเล็กๆ น้อยๆ รอบๆ ตัวมันจะเป็นความสุขของเราหรือไม่  

 

เมื่อไรก็ตามที่เราหานิยามให้กับตัวเองและรู้ว่าเราให้คุณค่ากับอะไรที่มันสร้างความสุขให้กับตัวเราเอง นั้นคือสิ่งที่สำคัญและจำเป็นที่ทำให้เราใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขกับตัวเองได้มากกว่า 🙂

เป็น Introvert แต่สังคมสนับสนุนคนที่เป็น Extrovert จนรู้สึกว่าตัวเองแปลกแยก มีปัญหา คนรอบข้างมีการตั้งคำถาม สงสัยในตัวเรา ทั้งที่จริงๆ แล้ว introvert คือบุคลิกภาพหนึ่งของมนุษย์ 🙂

 

 Alljit ร่วมกับคุณกวินทิพย์ จันทนิยม นักจิตวิทยาการปรึกษา ที่จะพาคุณมาทำความเข้าใจกับเรื่องราวต่าง ๆ ที่วัยรุ่นต้องพบเจอ และเรียนรู้วิธีรับมือในมุมมองของนักจิตวิทยา

 

Introvert หรือ Extrovert 

บางคนโดนตัดสินว่าการอยู่คนเดียวเป็นคนแปลก ไม่เข้าสังคมโดนตั้งคำถามว่าทำไมถึงอยู่คนเดียวชอบอยู่คนเดียวไม่มีคนคบหรือเปล่า …

 

ซึ่งความจริงแล้วการอยู่คนเดียวเป็นเพียงบุคลิกภาพในสังคมสังคมเรามีคนที่บุคลิกภาพเป็น Introvert กับ Extrovert ไม่ใช่เรื่องที่แปลก ที่บางคนจะชอบอยู่คนเดียว  

Introvert และ Extrovert เป็นนิยามของการอธิบายบุคลิกภาพของบุคคล

Extrovert คือคนชอบเข้าสังคม สนุกสนาน ลักษณะเป็นคนมั่นใจในตัวเอง และชอบทำกิจกรรม ชอบอยู่กับคนเยอะๆ มากกว่าอยู่คนเดียว Introvert  เป็นคนชอบอยู่คนเดียว เก็บตัว สามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นได้  

 

แต่ใช้พลังงานเยอะกว่าปกติลักษณะเป็นคนเข้าถึงยาก พูดน้อย ชอบเก็บความรู้สึก ไม่ชอบเป็นศูนย์กลางของความสนใจเป็น Introvert ต้องเป็นคนขี้อาย ไม่กล้าพูด แต่ความจริงแล้วอาจจะเป็นคนที่เบื่อสังคม  

 

หรือไม่ชอบการอยู่กับคนหมู่มากเท่านั้นเอง การที่ไม่พูดไม่ได้แปลว่าเราขี้อายแต่เพราะในช่วงเวลานั้น เราอาจะรู้สึกเบื่อสังคม หมดพลัง  

ทำไมคนถึงสนับสนุน Extrovert มากกว่า Introvert

เป็นเพราะ Extrovert ชอบเข้าสังคม สามารถทำงานได้ง่าย รู้จักกับคนหลากหลาย เข้าถึงได้กับทุกคน จึงทำให้สังคมชอบคนที่มีบุคลิกแบบ Extrovert มากกว่า  

หากเป็นเช่นนี้ คนที่เป็น Introvert จะทำงานร่วมกับคนอื่นยากกว่า Extrovert หรือเปล่า?

ไม่เสมอไป แม้ว่า Introvert จะไม่ชอบเข้าสังคมแต่ไม่ได้หมายความว่าเข้าสังคมไม่ได้เพียงแต่การเข้าสังคมอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ถนัดและต้องใช้พลังงานเยอะ  

 

ซึ่งหากพูดในการทำงาน ส่วนมาก Introvert จะเป็นผู้รับฟังที่ดี ชอบใช้ความคิด งานที่ต้องใช้ความละเอียดก็สามารถทำได้ดี   

กิจกรรมแบบไหนเหมาะกับคนเป็น Introvert 

กิจกรรมที่สามารถทำได้คนเดียว เช่น การอ่านหนังสือ ไปดูหนังคนเดียว กิจกรรมแบบไหนที่เป็นการทำอะไรคนเดียว ใช้ความคิดอยู่กับตัวเอง คนที่เป็น Introvert สามารถทำได้ง่ายๆ ไม่รู้สึกว่าอึดอัด  

Introvert กับ Anti Social เหมือนกันไหม 

ไม่เหมือนและต่างกันโดยสิ้นเชิง เพราะ Anti Social คือ อาการทางจิตอย่างหนึ่งที่เป็นการต่อต้านสังคม ไม่รู้สึกเห็นใจใคร มองความต้องการของตัวเองเป็นหลัก มีแนวโน้มที่จะใช้ความรุนแรง  

 

มีอารมณ์รุนแรง ก้าวร้าว หงุดหงิดง่าย ต่างจาก Introvert ที่เป็นบุคลิกภาพ ชอบการอยู่กับตัวเอง แต่ก็ยังสามารถเข้ากับสังคมได้   

Introvert สามารถเปลี่ยนไปเป็น Extrovert ได้หรือเปล่า

สามารถเปลี่ยนได้แต่ไม่ใช่ทั้งหมดเพราะบางอย่างอาจจะเป็นการฝืนตัวตนของตัวเองมากเกินไป ซึ่ง Introvert สามารถปรับตัวและแสดงออกให้เป็น Extrovert ได้ในบางสถานการณ์

 

เช่น การทำงานที่ต้องแสดงออก การเข้าสังคมในที่ทำงาน แต่ก็ใช้พลังงานเยอะในการเข้าสังคม  

การปรับเปลี่ยนจาก Introvert เป็น Extrovert คือ Ambivert 

Ambivert เป็นหนึ่งบุคลิกภาพที่กำกึ่งระหว่าง Introvert และ Extrovert เป็นสองบุคลิกรวมกัน ในบางครั้ง Ambivert จะชอบเข้าสังคมในการทำกิจกรรมต่างๆ รวมกับสังคม  

 

แต่ก็ยังสามารถใช้ชีวิตคนเดียวได้ ชอบการพักผ่อนแบบคนเดียว การอยู่คนเดียวคือการชาร์จพลัง เป็นอีกหนึ่งบุคลิกที่ปรับตัวได้เก่ง และเข้ากันได้กับทั้งสองบุคลิกภาพ  

อาชีพไหนที่เหมาะกับ Introvert และ Extrovert 

 

 

การเป็น Introvert ไม่ได้แย่เสมอไป มีข้อดีหลากหลาย ทั้งในด้านการทำงานก็เป็นคนที่ละเอียดอ่อน ใส่ใจทุกรายละเอียด มีความคิดสร้างสรรค์แตกต่างจากคนทั่วไป สามารถแก้ไขปัญหาได้เก่ง  

 

จากการที่คิดก่อนพูด ทุกสิ่งที่พูดจะพูดในสิ่งที่สำคัญ ตรงประเด็นที่สุดเพราะไตร่ตรองก่อนที่จะพูดเสมอ และยังเป็นผู้ฟังที่ดี เข้าใจทุกสถานการณ์ ความรู้สึกของคนอื่น   

 

ไม่ว่าเราจะเป็น Introvert หรือ Extrovert ต่างก็คือตัวตนของเราเอง ไม่ว่าคนอื่นจะเห็นเราเป็นเช่นไร นั้นก็คือตัวตนและบุคลิกของเรา เชื่อมั่นในตัวเอง รักในสิ่งที่เป็นเราก็พอ   

เคยไหมที่นอนไม่หลับ ” สะดุ้งตื่นกลางดึก ” หากเป็นบ่อยจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อาจจะเป็นสัญญาณเตือนว่าการนอนของเราไม่ปกติ 

 

 

นอนไม่หลับชอบ สะดุ้งตื่นกลางดึก

จากข้อมูลของเว็บไซต์ Thammasat กล่าวไว้ว่า การนอนหลับของแต่ละคนขึ้นอยู่กับกลไก 2 ระบบ คือ 

 

1.ระบบนาฬิกาชีวิต (Circadian process) ระบบนี้จะควบคุมการหลับตื่นผ่านฮอร์โมน อุณหภูมิร่างกาย ระบบประสาทอัตโนมัติ ทำให้มีวงจรการนอนอยู่ประมาณ 24.2 ชั่วโมง 

 

2.ระบบสะสมความง่วง (Homeostasis process) หมายถึง เวลาตื่นอยู่ ร่างกายจะเริ่มสะสมความง่วงจนได้ที่ แล้วถึงจะต้องการการนอน เมื่อได้นอน ความต้องการนอนจะ ลดลง

 

การนอนมีหลายระดับ คือ “หลับลึก” กับ “หลับตื้น” ช่วงต้นของคืนจะหลับลึกมากกว่าหลับตื้น ส่วนปลายคืนจะหลับตื้นมากกว่าหลับลึก ถ้าหลับตามวงจร ร่างกายจะได้พักผ่อนเต็มที่ 

 

แต่ละคนจะมี “ระบบการนอน” กับ “ระดับการนอน” แตกต่างกัน ทำให้บางคนหลับเร็วบางคนหลับช้า นอกจากนี้ยังต้องการชั่วโมงการนอนไม่เท่ากัน โดยจำนวนชั่วโมงขึ้นกับหลายปัจจัย 

 

สะดุ้งตื่นกลางดึก เกิดจากอะไร

1. การกิน

ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป รับประทานอาหารมากเกินไป หรืออาจเกิดจากการขาดวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น วิตามิน B6

2. ความเครียด

ความเครียดและความวิตกกังวลสามารถปลุกเรายามดึกได้ การทำสมาธิและการหายใจเข้าออกลึก ๆ ยาว ๆ สามารถบรรเทาอาการในบางคนได้ในบางครั้ง

3. สภาพแวดล้อม 

สภาพแวดล้อมภายในห้องนอนไม่เหมาะสม มีสิ่งรบกวน เช่น แสง เสียง อากาศ กลิ่น ความสะอาด การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อควบคุมปัจจัยเหล่านี้จึงสำคัญมาก ๆ

4. ความต้องการเข้าห้องน้ำ

ความต้องการเข้าห้องน้ำรบกวนการนอน อาจมาจากการดื่มน้ำมากเกินไป การติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ หรือภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน หรือโอเอบี (OAB)

 

สะดุ้งตื่นกลางดึก ที่ผิดปกติ 

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ healthgrades สาเหตุที่ทำให้เกิดการสะดุ้งตื่นกลางดึกมีหลากหลาย เช่น 

1. เป็นโรคเกี่ยวกับการนอน 

– โรคตื่นกลางดึก Middle Insomnia

– โรคหยุดหายใจขณะหลับ Obstructive Sleep Apnea

– โรคขากระตุกขณะหลับ Periodic limb movement disorder

2. รับประทานยาบางตัว

การรับประทานยาบางตัวอาจทำให้มีอาการสะดุ้งตื่นกลางดึก การปรึกษาแพทย์จึงเป็นเรื่องจำเป็น

3. ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง

ในผู้หญิง ถ้าฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนลดลงก่อนถึงช่วงเป็นประจำเดือน จะทำให้นอนหลับได้ยากขึ้น

 

ผลกระทบ สะดุ้งตื่นกลางดึก

1. อารมณ์

เครียด หงุดหงิดง่าย วิตกกังวลง่าย

2. การทำงานของสมอง

ความจำไม่ดี สมาธิไม่ดี ส่งผลต่อการตัดสินใจ การเรียน การทำงาน

3. การขาดการพักผ่อนที่ดี

พักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น ไม่มีแรงกายแรงใจ

 

เช็คตัวเองว่าที่เป็นอยู่ผิดปกติหรือไม่ผิดปกติ

1. เช็คสภาพแวดล้อม

เช็คสภาพแวดล้อมว่ามีสิ่งรบกวนหรือไม่ หากไม่มีสิ่งรบกวนแต่ยังสะดุ้งตื่นกลางดึก อาจเป็นสัญญาณเตือนกว่าสิ่งที่เป็นอยู่ผิดปกติ 

2. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

หากการสะดุ้งตื่นกลางดึกกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่จะช่วยให้รู้และจัดการสิ่งนั้นได้อย่างถูกต้องและมีคุณภาพ

 

วิธีจัดการตัวเองเบื้องต้น

1. ไม่ฝืนนอน ไม่ดูนาฬิกาหาสิ่งผ่อนคลายทำ

2. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์

3. หลีกเลี่ยงแสงสีฟ้า โดยการงดจ้องจอก่อนเข้านอน 15-20 นาที

4. หลีกเลี่ยงการเสพสื่อที่ตื่นเต้น เพราะสิ่งที่กระทบอารมณ์ จะทำให้ตื่นกลางดึกได้

5. พยายามใช้ชีวิตตามปกติ ไม่นอนตื่นสายกว่าปกติ ไม่งีบหลับกลางวัน ความรู้สึกเหนื่อยจะช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้นในตอนกลางคืน ไม่สะดุ้งตื่นกลางดึก

 

อ้างอิง

– https://www.springnews.co.th/spring-life/820160

https://www.self.com/story/waking-up-at-night-reasons

https://tu.ac.th/thammasat-240364-med-expert-talk-insomnia

– https://www.healthgrades.com/right-care/sleep-disorders/10-causes-of-middle-of-the-night-insomnia

https://www.hopkinsmedicine.org/health/wellness-and-prevention/up-in-the-middle-of-the-night-how-to-get-back-to-sleep

 

เป็นเรื่องปกติที่มนุษย์ทุกคนจะมีความกังวล แต่ถ้ามีความคิดและพฤติกรรมแบบซ้ำไปซ้ำมาอยู่บ่อย ๆ จนรบกวนการใช้ชีวิตและนำไปสู่ความทุกข์ เป็นไปได้ว่าที่คน ๆ นั้นอาจจะกำลังเป็น “ โรคย้ำคิดย้ำทำ

 

ความกังวลและ โรคย้ำคิดย้ำทำ

มนุษย์ทุกคนมีความกังวล ซึ่งความกังวลทำให้ต้องคอยปรับตัวอยู่ตลอดเวลาเพื่อการอยู่รอด ดังนั้นเป็นเรื่องปกติและเข้าใจได้ถ้าหากเรามีความรู้สึกกังวลใจ

 

แต่ถ้ามีความคิดและพฤติกรรมแบบซ้ำไปซ้ำมา จนรบกวนการทำงาน การเข้าสังคม การใช้ชีวิตประจำวัน จนนำไปสู่ความทุกข์ มีความเป็นไปได้ที่จะเป็น “โรคย้ำคิดย้ำทำ”

 

รู้จัก โรคย้ำคิดย้ำทำ 

ในภาษาอังกฤษชื่อว่า Obsessive-compulsive disorder (OCD) มาจาก 2 คำ คือ Obsession แปลว่า ความหมกมุ่น กับ Compulsion แปลว่า การบีบบังคับ

 

เป็นโรคที่บุคคคลจะมีความคิดและความหมกมุ่นซ้ำ ๆ  ซึ่งจะกระตุ้นให้บุคคลทำพฤติกรรมบางอย่างซ้ำ ๆ เหมือนโดนสั่งให้ทำ ซึ่งแต่ละคนจะแตกต่างกันไป

 

เช่น หมกมุ่นเรื่องความสะอาด  มีความกลัวว่าเชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ล้างมือซ้ำไปซ้ำมา , หมกมุ่นเรื่องข้าวของเครื่องใช้ จะคอยเช็คว่ายังอยู่ดีไหม

 

อาการ โรคย้ำคิดย้ำทำ

แบ่งออกเป็น 2 อย่าง ได้แก่ อาการย้ำคิด และอาการย้ำทำ  โดยลักษณะของอาการย้ำคิด จะคิดเรื่องบางเรื่องที่ทำให้เกิดความกังวลใจขึ้นมาอย่างไม่มีสาเหตุ 

 

ส่วนอาการย้ำทำ จะมีพฤติกรรมซ้ำ ๆ เพื่อคลายความกังวลของอาการย้ำคิดที่เกิดขึ้น เช่น คิดขึ้นมาว่าล็อครถหรือยัง ทำให้กลับไปเช็ครถอยู่อย่างนั้นซ้ำไปซ้ำมา

 

สาเหตุ โรคย้ำคิดย้ำทำ

1. พันธุกรรม 

2. ชีวภาพ เป็นความเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในร่างกายหรือการทำงานของสมอง

3. การเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้พฤติกรรมมาจากสมาชิกในครอบครัว เช่น เห็นพ่อแม่ทำ ทำตาม

4. ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น ประวัติเจ็บป่วยในครอบครัว , เหตุการณ์ร้ายแรง , ความผิดปกติทางจิต 

 

ผลกระทบ โรคย้ำคิดย้ำทำ

1. เสียเวลาไปกับการทำสิ่งที่หมกมุ่นซ้ำ ๆ 

2. พฤติกรรมบางอย่างอาจทำให้มีปัญหาสุขภาพ เช่น ล้างมือบ่อย อาจทำให้เป็นโรคผื่นระคายสัมผัสได้ เพราะผิวชั้นนอกถูกทำลาย 

3. กระทบชีวิตประจำวันและความสัมพันธ์ คนอื่นอาจจะมองว่าแปลกแยก จากการเห็นพฤติกรรมที่หมกมุ่นของคนเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ 

 

วิธีสำรวจตัวเองง่าย ๆ  

1. คนที่เป็นโรคนี้จะทำบางสิ่งบางอย่างซ้ำ ๆ จนรบกวนชีวิตประจำวัน อย่างที่ยกตัวอย่างไปว่า หมกมุ่นเรื่องความสะอาด มัวแต่ล้างมือ ไม่ไปทำงาน 

2. ความคิดจะเกิดขึ้นตลอด ต่อเนื่อง ทำให้หมกมุ่นกับการทำบางสิ่งบางอย่างมาก ๆ ไม่สามารถหยุดได้ ถ้าตามเกณฑ์วินิจฉัย คือ 1 ชั่วโมงขึ้นไปต่อวัน 

 

การดูแลตัวเองเมื่อเป็น โรคย้ำคิดย้ำทำ

1. ดูแลตัวเองเบื้องต้น พักผ่อนให้เพียงพอ

2. พยายามเพิกเฉยต่อความคิดที่เป็นการย้ำคิดและลดพฤติกรรมที่เป็นการย้ำทำ

3. ลองหากิจกรรมที่ทำให้ตัวเองรู้สึกผ่อนคลาย  เช่น ดูหนัง ฟังเพลง  ปลูกต้นไม้ 

 

การรักษาโรคย้ำคิดย้ำทำ

ถ้าอาการหนัก กระทบกับชีวิตประจำวันมาก ๆ จนถึงจุดที่ต้องเข้ารับการรักษา จะมีให้รับประทานยา ส่วนการทำจิตบำบัดจะใช้วิธี Cognitive-Behavioral Therapy (CBT)

 

เป็นการให้ผู้ป่วยเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่ทำให้รู้สึกกังวลเกินกว่าเหตุ เช่น ให้จับสิ่งของต่าง ๆ บางคนอาจจะกลัว จินตนาการว่าเชื้อโรคที่อยู่กับสิ่งของนั้นจะทำให้มีผื่นขึ้น 

 

พออยากไปล้างมือ นักจิตบำบัดจะหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ซ้ำไปซ้ำมานั้น เพื่อให้ผู้ป่วยเรียนรู้ว่าความกลัวนั้นเป็นเพียงความคิดของตัวเอง ผื่นไม่ได้จะขึ้นทันทีตามที่กังวลอยู่

 

การป้องกัน โรคย้ำคิดย้ำทำ

1. ฝึกฝน mindfulness เพื่อจัดการความเครียด 

การมีสติอยู่กับปัจจุบัน ยอมรับความคิดและความรู้สึกที่เกิดขึ้น โดยไม่ไปตัดสินหรือพยายามหนีจากมัน 

2. ดูแลตัวเอง

ด้วยการออกกำลังกาย นอนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงสุราและบุหรี่

3. การขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง

เพราะการแยกตัวจะยิ่งทำให้อาการแย่ลงกว่าเดิม

 

อ้างอิง

เครียดกับงาน ” ในชีวิตการทำงานสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยากก็คือความเครียด เป็นสิ่งที่มาคู่กันกับคำว่างาน เพราะการที่เราใช้ความคิดกับอะไรนาน ๆ ก็ทำให้เราสะสมความเครียดได้เหมือนกัน

 

Alljit ร่วมกับคุณกวินทิพย์ จันทนิยม นักจิตวิทยาการปรึกษาและตอนนี้กำลังทำงานในตำแหน่ง HR (Human Resource / Human Resource Management)

สิ่งที่มากระตุ้นให้เกิดความรู้สึก เครียดกับงาน

สารบัญ

1. งาน

งานที่ทำซ้ำ ๆ มีความจำเจ  งานที่ทำเป็นระยะเวลานาน หรือเรื่องปริมาณงานที่มากจนเกินไป ก็จะทำให้พนักงานมีความเครียดเกิดขึ้นได้

 

แต่ในทางตรงกันข้ามปริมาณงานน้อยเกินไปก็ทำให้เครียดได้เหมือนกัน หรือเจองานที่ยากเกินความสามารถของเราจนเกินไป หรือมีเวลาการทำงานที่ไม่มีความยืดหยุ่น เป็นต้น

 

2. สภาพแวดล้อม

ถ้าเป็นด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ก็จะเป็นเรื่องของการมีระบบการทำงานที่ไม่ชัดเจน ระบบการบริหารพนักงานไม่ดี ความสัมพันธ์ของเพื่อนร่วมงานและหัวหน้า กฎระเบียบขององค์กรที่เคร่งครัดจนเกินไป

 

งานที่ทำไม่มีความมั่นคงหรือความก้าวหน้า หรือเป็นเรื่องของอุปกรณ์การทำงานไม่เอื้ออำนวย มีเสียงดังรบกวน ห้องที่ทำงานไม่มีความสว่างมากพอ เป็นต้น 

 

สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้สามารถเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียดในการทำงานได้ทั้งนั้นเลย

 

รับมือเมื่อรู้สึก เครียดกับงาน มากเกินไป

1. จัดลำดับความเร่งด่วน

อย่างแรกเราควรจัดลำดับงานตามความเร่งด่วนและความสำคัญของงานก่อน จะได้ทำเป็นงาน ๆ ไปจะได้ไม่กังวลและเครียดมาก 

 

2. ขอความช่วยเหลือ

หากงานยังมีปริมาณมากเกินกว่ากำลังอยู่ อาจต้องขอความช่วยเหลือจากคนอื่น หรือถ้าเป็นงานใหญ่ ๆ ควรแบ่งงานเป็นชิ้นย่อย ๆ ค่อย ๆ ทำให้เสร็จทีละขั้นตอนทีละเรื่อง

 

จะดีกว่าการทำงานใหญ่ไปเรื่อย ๆ โดยไม่แบ่งเป็นขั้นตอน 

 

3. ผ่อนคลายตัวเอง

ใช้วิธีผ่อนคลายในแบบที่ตัวเองชอบ อย่างเช่น บางคนอาจจะหามุมสงบนั่งพักจากงานอยู่คนเดียว บางคนอาจจะฟังเพลงบรรเลงคลอไปด้วยเพื่อปรับอารมณ์ของตนเอง

 

บางคนชอบการกินก็อาจจะหาสิ่งที่ชอบมานั่งกินไปด้วยทำงานไปด้วย คนที่เป็น perfectionist งานทุกอย่างต้องเป๊ะ ต้องทำให้เสร็จในเวลาอันรวดเร็ว คนประเภทนี้ก็มักจะมีความเครียดสูง

 

ควรปรับความ perfectionist ลงบ้าง ให้ตัวได้ผ่อนคลายมากขึ้น เพราะเดี๋ยวจะมีผลเสียด้านสุขภาพกายสุขภาพจิตตามมาทีหลัง

 

 

ถ้ากำลัง เครียดกับงาน มากเกินไปปรับความคิดตัวเองอย่างไร?

1. ลองสำรวจความคิดลบของตัวเอง 

ทบทวนแล้วลิสต์ออกมาว่าแต่ละครั้งคิดลบในระดับรุนแรงมากน้อยแค่ไหน หาเหตุผลประกอบว่าทำไมต้องคิดลบ และหาข้อโต้แย้งที่ไม่ควรคิดลบ และลองดูว่าจะคิดบวกได้อย่างไรในสถานการณ์นั้น ๆ 

 

2. พยายามมองหาสิ่งดีๆ 

ให้คิดไว้ว่าทุกอย่างมันมีสองด้านเสมอ เช่น เราเจองานยาก แต่ในอีกมุมมันก็ช่วยให้เราพัฒนาตัวเองให้เก่งขึ้นถ้าเราทำงานนี้สำเร็จเราก็จะมีผลงานเพิ่มมากขึ้นเก็บเป็น Achievement ไว้ไปต่อยอดได้อีกในอนาคต 

 

3. คิดว่าเรามีศักยภาพ

ให้คิดว่างานที่เราได้รับมอบหมายให้ทำ หัวหน้าคงเห็นว่าเรามีศักยภาพที่จะทำได้เลยให้เราทำงานนี้ เราโชคดีกว่าอีกหลาย ๆ คนที่เค้าไม่ได้งานนี้ แต่องค์กรนี้รับเราเข้ามาทำงานนี้เค้าก็ต้องมองเห็นอะไรในตัวเราแน่นอน

 

การคิดบวกมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

จากงานวิจัย การคิดบวกนี่มีประโยชน์หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น การคิดบวกช่วยให้รับมือกับความเครียดได้ดีขึ้น เพราะผู้ที่คิดบวกจะมีฮอร์โมนความเครียดคอร์ติซอล (Cortisol) อยู่ในระดับที่ค่อนข้างเสถียร

 

และช่วยให้ตอบสนองต่อความเครียดได้ดีกว่าผู้ที่มองโลกในแง่ร้าย สามารถจัดการปัญหาได้ดีกว่า หรือการคิดบวกช่วยต้านเศร้าได้ คนที่คิดบวกจะมีทักษะการแก้ปัญหาที่ดี อีกทั้งการคิดบวกยังส่งผลดีต่อสุขภาพจิต พฤติกรรม

 

และยังมีประโยชน์ในการป้องกันภาวะซึมเศร้ามากกว่าเมื่อเทียบกับผู้ที่มองโลกในแง่ร้าย การคิดบวกยังช่วยต้านอนุมูลอิสระ มีการศึกษาพบว่าคนที่คิดบวกมากๆ มีแนวโน้มที่จะมีความเข้มข้นของสารแคโรทีนอยด์ในร่างกาย

 

ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในระดับที่สูงกว่าประมาณ 3-13 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับคนที่มีการคิดบวกน้อยกว่าค่ะ เห็นมั้ยคะว่าหารคิดบวกมีประโยชน์และข้อดีอย่างมาก

 

 

HR ช่วยเหลือพนักงานที่มีความ เครียดกับงาน เกินไปอย่างไร

1. Work-life Balance

ให้ความสำคัญกับ work-life balance อาจจะกำหนด policy ขององค์กรให้เอื้อต่อการ work life balance ของพนักงาน หรือจัดกิจกรรมสนุก ๆ ในระหว่างวันให้พนักงานได้คลายเครียดกันบ้าง

 

2. สร้างมุมพักผ่อน

สร้างมุมพักผ่อนไว้ให้พนักงานไม่ว่าจะเป็นมุมอ่านหนังสือ มุมเล่นเกมส์ มุมพักผ่อน

 

3. Hybrid Working

กำหนดให้มีการทำงานแบบ Hybrid ทำงานในออฟฟิศสลับกับ Work From Home หรืออนุญาตให้พนักงาน Workation ได้ คือการทำงานไปด้วยเที่ยวพักผ่อนไปด้วยได้ เน้นที่ผลลัพธ์การทำงานของพนักงานเท่านั้นพอ

 

 

“ฝืนแสดงออกว่าโอเคทั้งที่ไม่โอเค”

อาจจะต้องการใช้เวลาในการพักผ่อน พักจากงานบ้างแล้ว ใช้สิทธิ์การลาพักร้อน เรารักงานได้ เราก็ต้องรักตัวเองได้ด้วย อนุญาตให้ตัวเองได้พักผ่อนบ้าง อย่ากลัวหรือไม่กล้าในการใช้สิทธิ์ลาพักร้อน

 

เพราะเป็นสวัสดิการและสิทธิ์ที่เราสามารถใช้ได้โดยไม่ต้องรู้สึกผิด ไปพักผ่อนทำกิจกรรมที่ชอบ ชาร์จแบตชาร์จพลังให้ตัวเองบ้างก็เป็นสิ่งที่ดีแล้วค่อยกลับมาลุยงานต่อเราจะได้มีพลังและกำลังใจในการทำงาน

 

 

ผลกระทบจากการที่ เครียดกับงาน มากเกินไปคืออะไรบ้าง

คนทำงานทุกคน เมื่อพบเจอกับความเครียดบ่อย ๆ ก็อาจจะส่งผลต่อสุขภาพของคนทำงานเหล่านั้นได้ ซึ่งมนุษย์ออฟฟิศที่มีภาวะเครียดมาก ๆ

 

มักจะมีอาการปวดหัวร่างกายรู้สึกอ่อนล้า ไม่มีแรงจะทำงาน ไม่มีสมาธิในการทำงาน งานลดประสิทธิภาพลง บางคนมีอาการหงุดหงิดง่าย อารมณ์ไม่คงที่ ส่งผลต่อสุขภาพจิตด้วย

 

บางคนเครียดมากสะสมเป็นระยะเวลานานก็จะส่งผลให้รู้สึก Burn Out หรือเกิดภาวะซึมเศร้าตามมาได้

 

 

ความเครียดมีประโยชน์เหมือนกันนะ

ความเครียดก็มีประโยชน์ในตัวของมันอยู่ แต่ต้องเป็นความเครียดในระยะสั้นจากบทความจากเว็บไซต์ istrong mental health ได้บอกประโยชน์ของความเครียดระยะสั้นไว้ 

1.ความเครียดทำให้เราฝึกแก้ปัญหา

เวลาที่เราเครียด จริงอยู่ว่าเราจะรู้สึกอึดอัดจากภายใน แต่ในขณะเดียวกันสมองของเราก็จะคิดหาทางออก หาหนทางเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา เพราะถ้าเราไม่มีความเครียดใด ๆ เลยก็เป็นไปได้ว่าเราอาจจะไม่ได้พัฒนา

 

2.ความเครียดมีผลดีต่อร่างกาย

เวลาเครียดร่างกายจะปลดปล่อยสารเคมีในสมองที่ช่วยให้เราตอบสนองต่อความเครียดในระดับต่ำ สามารถกระตุ้นการผลิต neurotrophins เป็นสารเคมีที่ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเซลล์ประสาทในสมอง

 

3.ความเครียดช่วยปกป้องเรา

ในคนเราเวลาเกิดความเครียดร่างกายจะหลั่งสารเพื่อเตรียมความพร้อมที่ช่วยควบคุมระบบภูมิคุ้มกันที่ชื่อว่า Interleukin ซึ่งร่างกายจะมีระบบปกป้องเราในรูปแบบความเครียดที่ไม่มากเกินไป ถือว่าเป็นผลดีที่ช่วยกระตุ้นความระมัดระวังให้เรา

 

4.ความเครียดฝึกให้เราคิดเชิงบวก

เมื่อเราเกิดความเครียดในช่วงแรกเราอาจจะรู้สึกกดดัน แต่หลังจากนั้นเราจะหาวิธีผ่อนคลายด้วยการคิดบวก ซึ่งการคิดบวกนั้นอาศัยทัศนคติที่ดี ทัศนคติที่ดีจะนำทางออกที่ดีให้กับเราเสมอ

 

ความเครียดเป็นสิ่งที่เราทุกคนต้องเจอแต่อยู่ที่เราจะใช้วิธีไหนจัดการกับความเครียด เรารักงานที่ทำได้ เราก็ควรที่จะรักด้วยเองด้วย ถ้าร่างกายเราส่งสัญญาณเตือนว่าเราเครียดมากเกินไปแล้ว

 

ก็อยากให้พาร่างกายเรา จิตใจเรา ห่างจากงานบ้าง ไปพักผ่อน ผ่อนคลาย ให้รางวัลกับตัวเองด้วยการพักผ่อน 

 

 

“เรารักงานได้ แต่ เราต้องรักตัวเองด้วย”

 

สิ่งที่เรียกว่า การไหลตามกัน ใน Social  เคยเป็นไหมที่เห็นโพสต์นั้นเราก็เห็นด้วย พอเห็นโพสต์นี้เราก็เห็นด้วย เหมือนเราไหลตามน้ำไปเรื่อย ๆ เเล้วจุดยืนของเราคือจุดไหน ทำไมไม่มีความคิดเป็นของตัวเองเลย

 

แล้วยิ่งถ้าคนส่วนใหญ่คิดไปทางไหนเราก็คิดตามคนส่วนใหญ่ทุกเรื่อง เหมือนฝูงปลาที่ว่ายไปตามกระแสน้ำ 

 

 

โซเชียลมีเดียเป็นอะไรที่มีอิทธิพลและขับเคลื่อนชีวิตพวกเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จะเห็นได้ว่ากระแสโซเชียลเปลี่ยนแปลงอะไรได้หลายอย่าง ทั้งดีขึ้นและแย่ลง

 

และแน่นอนว่าเวลาสังคมมีกระแสอะไรบางอย่างที่กำลังเป็นที่วิพากวิจารญ์อยู่ แล้วเราเสพมัน มันอดไม่ได้ที่จะปล่อยให้ตัวเองคิดแบบนั้นตามไปด้วย 

 

 

การไหลตามกัน มีอะไรบ้าง

1. ใครคิดอะไร พูดอะไร เราจะเห็นด้วย ซึ่งบางทีไม่ได้คิดแบบนั้นในตอนแรก

สับสนเหมือนกันว่าสุดท้ายแล้วเราคิดยังไงกับเรื่องนั้น ๆ การถามตัวเอง ทบทวนตัวเอง แล้วยึดมั่นในจุดยืน อาจเป็นวิธีที่ช่วยได้

 

2. การโถม การด่าว่า ใครสักคน ตามคนอื่น 

“ทัวร์ลง”

ด้วยความที่โซเชียลมิเดียเป็นอะไรกว้างมาก ๆ จนมันกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตเรา ปฏิเสธไม่ได้ว่าถึงแม้เราจะบอกว่า ฉันโพสต์ในพื้นที่ของฉัน ฉันไม่ได้ว่าใคร ไม่ได้กล่าวอ้างใคร

 

แต่มันก็มีสิทธิที่คนอื่น ๆ จะเข้ามาเห็นได้ง่าย ๆ และเมื่อความคิดนั้นของคนโพสต์มันไม่ถูกต้องหรือถูกใจคนบางกลุ่มก็อาจจะเกิดสิ่งที่เรียกว่า ทัวร์ลงได้

 

จริง ๆ แล้ว การไหลตามกันไม่ใช่เรื่องผิด แต่ในกรณีที่ไหลตามกันไปโถมหรือใช้คำพูดทำร้ายจิตใจผู้คนบนโซเชียล อาจสร้างผลกระทบได้มากกว่าที่คิด คำพูดหนึ่งคำ จะทำร้ายคนฟังไปอีกนาน

 

การมีสติ รู้ตัว เอาใจเขามาใส่ใจเรา จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ ไม่มีเครื่องมือไหนที่สามารถวัดได้เลยว่า คนนี้ถูก คนนี้ผิด คนนี้ดี ไม่ดี แล้วเราก็ไม่ได้มีหน้าที่มาตัดสินใคร เพราะฉะนั้นอาจจะคิดให้ดีก่อนที่จะพิมพ์อะไรไป

 

3. แฟชั่น การแต่งตัว การใช้สินค้าตามใครสักคน 

เป็นเรื่องปกติมาก ๆ แต่ต้องยอมรับว่า คนบางกลุ่มอาจจะมองในแง่ลบ เช่น ใช้ของแพง ไม่เห็นจำเป็นเลย ฯลฯ แต่มันเป็นเรื่องส่วนบุคคล ถ้าไม่เดือดร้อนตัวเองและคนรอบข้าง ก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร

 

 

การไหลตามกัน ทางความคิดเกิดจากอะไร

จากการหาข้อมูล การไหลตามกัน เป็นธรรมชาติของมนุษย์ เกิดขึ้นก่อนที่จะมีอินเทอร์เน็ต ซึ่งพอมีโซเชียลมีเดีย พฤติกรรมนี้เลยมีให้เห็นบนโลกออนไลน์ด้วย 

 

กับคำถามที่ว่า ‘เพราะอะไรถึงเกิดการไหลตามกัน’ มีทฤษฎีทางจิตวิทยามที่อาจจะอธิบายได้

 

1. ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์

มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ตามทฤษฎี hierarchy of needs ของมาสโลว์  การได้รับการยอมรับ การเป็นที่รัก เป็น 1 ในความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ ซึ่งการไหลตามกันจะทำให้เรารู้สึกว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของสังคม คนอื่นว่าไงเราว่างั้น 

 

2. การคล้อยตาม 

ในทางจิตวิทยา การคล้อยตาม (conformity) คือ การเปลี่ยนความเชื่อหรือพฤติกรรมของตัวเองให้เข้ากับมาตรฐานของสังคม ซึ่งสังคมในที่นี้ หมายถึง คนรอบข้าง คนส่วนมาก หรือ คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพื่อให้ถูกมองว่า “ปกติ”

 

มีการทดลองหนึ่งของ โซโลมอน แอช นักจิตวิทยาชาวโปแลนด์ คือ ให้ดูภาพแล้วตอบคำถามเป็นกลุ่ม ซึ่งภายในกลุ่ม นอกจากผู้เข้าร่วมการทดลอง คนอื่นในกลุ่มจะเป็นหน้าม้าทั้งหมด ซึ่งหน้าม้าจะถูกบอกให้เลือกคำตอบที่ผิด

 

ผลคือผู้เข้าร่วมการทดลองคล้อยตามคำตอบที่ผิดเป็นเอกฉันท์ของกลุ่ม (หมายถึง เมื่อทุกคนเลือกคำตอบที่ผิด ผู้เข้าร่วมการทดลองจึงเลือกคำตอบที่ผิดอย่างตั้งใจ เพื่อให้เหมือนกับคนอื่น เข้ากับคนอื่น)

 

เป็นการทดลองที่แสดงให้เห็นว่า มนุษย์อาจจะยอมเปลี่ยนความคิดหรือการกระทำของตัวเองเพื่อให้สอดคล้องกับสังคม ทฤษฎีการคล้อยตาม (conformity) เลยสามารถอธิบายการไหลตามกันใน social ได้ส่วนหนึ่งเช่นกัน 

 

3. การเลียนแบบ 

ตามทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยการสังเกต (Modeling) ของบันดูรา มนุษย์จะ 

  1. สังเกต ว่าคนอื่นทำอะไร 
  2. จำ 
  3. ลองทำตาม 
  4. รับผล ถ้าทำแล้วได้รับผลทางบวก จะแสดงพฤติกรรมต่อ 

 

ส่วนหนึ่งที่ทำให้ไหลตามกัน เพราะเมื่อเราคิดอะไร พูดอะไร ตามกระแส เราจะได้รับรางวัลคือ การได้รับการยอมรับ การได้รับคำชื่นชม จากคนอื่น ซึ่งนี่แหละคือรางวัล ทำให้เราแสดงพฤติกรรมต่อ

 

ฟังดูอาจมีเหตุและผลที่เป็นไปได้จริง แต่ 3 ทฤษฎีทางจิตวิทยานี้ อาจไม่ได้อธิบายถึงที่มาพฤติกรรมของทุกคน เพราะทุกคนแตกต่างกัน อาจมีเหตุผลอื่น ๆ ปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นไปได้อีกมากมาย 

 

เพราะจริงๆ “มนุษย์เป็นเหมือนของเหลว” เราสามารถอยู่กับภาชนะแบบไหนก็ได้ เราปรับตัวได้และ “คนเราเปลี่ยนแปลงความคิดได้เสมอ” การไหลตามกันมาจากความต้องการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม การคล้อยตามกันและการเลียนแบบ

 

เมื่อมีคนส่วนมากคิดแบบนี้ฃและเมื่อมันมีเหตุผลไหนที่ติ๊ง แล้วทำให้เราอ๋อได้ คนเราก็พร้อมจะเชื่อทันทีแล้วหลังจากนั้นเราก็หาข้อมูลที่เราเชื่อเพื่อซัพพอร์ตความคิดเดิมที่เราเชื่อ

 

ซึ่งแน่นอนว่าสมองของเราฉลาดเหมือนมี อัลกอริทึม (Algorithm) ที่ทำหน้าที่คัดสรรข่าวสารเนื้อหาที่เราอยากจะเสพให้ตัวเองทันที 

 

ทำไมคนเราคิดต่างกัน

“ชุดความคิด”

คนเราจะมีชุดความคิด ซึ่งชุดความคิดนั้นมาจาก Confirmation Bias 

เริ่มจากการที่สมองคนเรารับข้อมูลข่าวสารมากมายในแต่ละวัน ซึ่งบางทีข้อมูลที่เรารับเข้ามามันมากเกินกว่าที่สมองจะจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

สมองเราก็จะเลือกเฉพาะข้อมูลที่สามารถเข้ากันได้กับความเชื่อที่เรามีเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ในขณะเดียวกัน สมองจะคัดทิ้งข้อมูลที่ขัดแย้งกับความเชื่อพื้นฐานเราออกไป

 

หมือนถ้าคนนึงมีความคิดว่าบางอย่างไม่ดี เขาก็จะเลือกเสพแต่สื่อที่บอกว่าอันนั้นมันไม่ดี บางคนที่เขาเชื่ออะไรมากๆ เขาก็เชื่อแบบนั้นแหละ เปลี่ยนแปลงได้ยาก 

 

ผลกระทบจากการเสพโซเชียลมากเกินไป

เราอาจจะรู้สึกอินกับมันมาก ๆ จนกระทบกับสุขภาพจิตของเรา การที่เราตามประเด็นไหนหรืออินกับอะไรมาก ๆ มันอาจจะไม่ได้เฮลตี้กับเราขนาดนั้น เริ่มจากเบา ๆ ก่อนเลย การที่เราเสพโซเชียลตลอดเวลาหรือดูข้อมูลอะไรก็แล้วแต่

 

ทั้งสมอง ทั้งอารมณ์และร่างกายจะมีความตื่นตัวตลอดเวลา เราอาจจะไม่รู้ตัวภาวะตื่นตัวช ชจะทำให้สมองเราเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย เกิดภาวะความเครียดสะสมโดยที่เราไม่รู้ตัว

 

อาจนำไปสู่ผลเสียอื่น ๆ ตามมา เช่น อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย หากสังเกตว่าช่วงไหนที่เราเล่นโซเชียลเยอะ ๆ จะนอนไม่ค่อยหลับ เพราะไม่มีช่วงที่สมองหรือจิตใจได้พักเลย

 

พอนอนไม่หลับผลที่ตามมาวันรุ่งขึ้นอ่อนเพลีย อารมณ์ไม่ค่อยดี หงุดหงิดง่าย มีภาวะหลงลืม และอาจส่งผลกระทบด้านอื่น เช่น การงานหรือการเรียน 

 

การที่เราเสพโซเชียลตลอดเวลา มีผลกระทบต่อทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต การสังเกตตัวเองเลยเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าช่วงไหนที่มากเกินไป มี 2 วิธีที่ใช้กันบ่อย ๆ คือ 

  1. social media detox หยุดการใช้โซเชียลมีเดีย 
  2. social media management จัดการโซเชียลมีเดีย 

 

เช่น สื่อที่ติดตามอยู่ อะไรดีต่อใจก็ติดตามต่อ อะไรไม่ดีต่อใจก็เลิกติดตาม หรืออาจจะหยุดรับข่าวสารจากสื่อนั้นสักระยะหนึ่ง 

 

 

คิดต่างได้ไหม จะรู้ได้อย่างไรว่า Mind set และตรรกะเราไม่แย่

คนเราสามารถคิดต่างได้รวมถึงการทำอะไรที่แตกต่างด้วย เพราะเอาเข้าจริงบางสิ่งบางอย่างที่สร้างสรรค์ก็มาจากความคิดที่แตกต่างและการทำอะไรที่แตกต่าง

 

เพราะฉะนั้นถ้าเราจะรู้สึกไม่เห็นด้วยกับอะไรบางอย่างก็ไม่ใช่เรื่องผิดเลย เราเกิดมาจากครอบครัวที่แตกต่างกัน ใช้ชีวิตจากสังคมที่ต่างกัน ชุดความคิดก็ไม่เหมือนกันอยู่แล้ว

 

แต่ถ้าเราอยาก Make sure ว่าเราตรรกะเพี้ยนไหมนะ ลองเปิดใจและหาข้อมูลแบบจริงจัง ลดอคติลงหน่อย เราอาจจะได้มุมมองใหม่ ๆ เพิ่มก็ได้

 

 

คิดต่างหรือขวางโลก

คิดต่าง=คิดด้วยเหตุและผล 

 

ขวางโลก=คิดแบบไร้เหตุผล ยึดติดกับความคิดของตัวเอง ไม่ฟังใคร ไม่สนใจใคร และอาจจะมีการเเสดงออกทางความคิดที่รุนแรง

 

 

ทำอย่างไรดีถ้าไม่อยากเกิด การไหลตามกัน ทางความคิด

1.การตระหนักรู้ในตัวเอง 

ว่าเรากำลังคิดอะไร รู้สึกอะไร และทำอะไรอยู่ ถ้าแน่ใจแล้วว่าไม่ทำให้ใครเดือดร้อน ไม่เป็นไรเลยที่จะยึดมั่นกับสิ่งนั้น 

2.กรองข่าว 

ก่อนจะแชร์หรือคอมเม้นต์อะไร ลองเช็คก่อนว่ามันจริงหรือไม่จริง

3.โซเชียลดีทอกซ์

ถ้ารู้สึกว่าเราชักจะหมกมุ่นกับประเด็นนี้เกินไปและ ลองโซเชียลดีท็อกซ์กันหน่อย 

4.เลือกคอนเท้นต์ให้ตัวเอง

 

เพราะอะไร ? เวลาอ่าน ทายนิสัย ตาม Facebook , Twitter แล้วรู้สึกว่าคำทำนายตรงกับเรา รู้สึกเหมือนคนทำนายมานั่งอยู่ภายในใจของเราเลย คำทำนายต่าง ๆ ตรงกับเราจริง ๆ หรือเปล่านะ ? ในทางจิตวิทยาหมายความว่ายังไง ?

 

ในช่วงก่อนหน้านี้จะมีการทำนายดวง ทำนายนิสัยผ่านนิตยสาร ผ่านหนังสือต่าง ๆ แต่ในปัจจุบันการทำนายดวง ทำ นายนิสัย ก็จะเห็นได้บ่อย ๆ ตามโซเชียล เฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ อินสตราแกรม ผ่านตาให้ได้เห็นทุกวันเลยทีเดียว

 

และก็อดไม่ได้ด้วยที่จะเลื่อนผ่าน บางอันที่ผ่านตาได้อ่านก็รู้สึกว่าตรงจังเหมือนคนทำนายมานั่งอยู่ภายในใจของเราเลย แต่บางอันก็อ่านแล้วรู้สึกเอ๊ะ! ไม่ตรงเลย เราก็อ่านเพื่อความบันเทิงไป แต่ก็มีบางคนที่เอาการทำนายนิสัยมากำหนดชีวิตจนไม่เป็นตัวของตัวเอง  . .

 

 

 เหตุผลที่อ่าน ทายนิสัย แล้วรู้สึกตรง

 

  1. การใช้ศิลปะทางคำพูดที่ทำให้คล้อยตาม

ข้อมูลหลักจิตวิทยา การพูดโน้มน้าวใจ ไม่ว่าจะทำอาชีพอะไรแน่นอนว่าการใช้คำพูดเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ ในการสื่อสารยิ่งอาชีพของ หมอดู ยิ่งสำคัญเลย เพราะอาชีพหลักของเขาคือการใช้คำพูด

 

ซึ่งพวกเขาอาจจะใช้ศิลปะในการโน้มน้าวใจของเราอยู่ในขณะดูดวงก็ได้ 

 

 

  1. การถามปลายเปิดให้คนดูดวงเล่าชีวิตตัวเอง

หมอดูบางคนอาจจะใช้ทริคในการถามคำถามปลายเปิดกับเรา เช่น ถามถึงเรื่องงานให้เราได้เล่าคร่าว ๆ แล้วเขาอาจจะจับน้ำเสียงของเราว่าเรามีความสุขไหม? ทุกข์ใจกับเรื่องงานหรือเปล่า?

 

ซึ่งส่วนใหญ่แล้วในตอนที่ดูดวงเรามีจะมีจิตใจที่อ่อนไหวยิ่งทำให้เราคล้อยตามได้ง่ายมากขึ้นด้วย

 

  1. Barnum Effect

ปรากฏบาร์นัม Barnum Effect หรือที่เรียกว่า Forer Effect เป็นปรากฏการณ์ในทางจิตวิทยา จะเกิดขึ้นเมื่อคนคนนึงรู้สึกว่าการทายนิสัยหรือบุคลิกภาพมันตรงกับตัวเอง (เพราะว่าจริง ๆ แล้วมันอาจจะตรงกับทุกคน) 

 

เป็นลักษณะนิสัยในตัวของทุกคน เช่น เราเป็นคนที่มีความพยายามมาก เราอยากได้รับการยอมรับจากคนอื่น บางครั้งเราทุ่มเทมากเกินไปแต่ผลลัพธ์ก็ไม่เป็นดังที่หวัง มันค่อนข้าง common sense มากว่านิสัยแบบนี้มันมีอยู่ในตัวคนทุกคน

ข้อมูลจากเพจ สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย

 

Barnum Effect เป็นปรากฏการณ์ที่ตั้งตามชื่อของ Phineas Taylor Barnum ซึ่งเป็นนักแสดงและเจ้าของละครสัตว์ Barnum ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการทายนิสัย

 

We’ve got something for everyone’ คือคำพูดที่ Barnum กล่าวไว้ คือจะมีประโยคบางประโยคหรือคำพูดบางอย่างที่สามารถเข้าได้กับทุกคน คนที่ฟังจะรู้สึกว่า  “คลิ๊ก” กับตัวเองมาก ๆ ตรงกับตัวเองแบบสุดๆ 

 

มีการทดลองของ Forer ซึ่งอธิบาย Barnum effect ให้เห็นภาพมาก ๆ

ในปีค.ศ. 1948 Bertram R. Forer นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ได้ทำการทดลองกับนักศึกษา 39 คน โดย Forer พานักศึกษาเข้ามานั่งในห้อง และหลังจากนั้นก็บอกกับนักศึกษาว่า

 

เขาจะใช้ความรู้ความสามารถของเขาในการวิเคราะห์ลักษณะอุปนิสัยของแต่ละคนออกมา โดยจะเขียนใส่กระดาษแล้วยื่นให้แต่ละคนอ่าน และเมื่อนักศึกษาอ่านคำวิเคราะห์นิสัยของตัวเองแล้ว

 

จะต้องให้คะแนนความแม่นยำของการทำนาย โดยสามารถให้คะแนนได้ระหว่าง 0-5 ซึ่ง 0 คะแนนหมายถึง ไม่ตรงเลย ส่วน 5 คะแนนคือ แม่นมาก 

 

ผลการทดลองออกมาพบว่า Forer ได้คะแนนรวมเฉลี่ยสูงถึง 4.26 คะแนน โดยนักศึกษาจำนวนกว่า  40% ให้คะแนนเต็ม 5 คะแนน แต่เมื่อทุกคนแลกใบวิเคราะห์กันอ่านก็ต้องอึ้งกันเป็นแถบ

 

เพราะทุกใบถูกทายนิสัยเหมือนกันหมด…

 

 

ปัจจัยที่มีผลทำให้ผู้ฟังรู้สึกว่าทายนิสัยแม่นหรือตรงจัง

 

  1. คำทำนายนั้นเป็นสิ่งพื้นฐานที่มนุษย์ต้องการ Basic Psychological Need 

ซึ่งในทฤษฏีจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยม (Humanistic Psychology) เชื่อว่าคนทุกเรามีความปรารถนา บางอย่างที่เป็นพื้นฐาน เป็นสิ่งที่ทุกคนอยากได้ และเป็นสากลคือเหมือนกันในทุกเชื้อชาติ ทุกเพศ ทุกวัฒนธรรม

 

ความปรารถนาเหล่านี้ได้แก่ ความอยากเป็นที่รัก (อยากให้คนอื่นรัก) ความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย ความสงบสุข ความเป็นอิสระ และความรู้สึกว่าตัวเองมีค่า ทำให้เมื่อทำนายในสิ่งเหล่านี้ คนส่วนใหญ่ก็จะรู้สึกว่ามันตรง

 

  1. คำทำนายเป็นในทางบวก

Barnum Effect จะทำงานได้ดีที่สุด สำหรับข้อความที่เป็นบวก คำพูดเชิงบวก คนเรามักไม่ค่อยเชื่อ คำทำนายเกี่ยวกับตัวเองในเชิงลบ เช่น “คุณคิดทำร้ายคนอื่น” ดังนั้น Barnum Effect จึงมีข้อความที่มีความหมายเชิงบวกซะส่วนใหญ่ 

 

  1. มีความเชื่อเกี่ยวกับการดูดวงหรือเชื่อในตัวผู้ทำนาย

ถ้าพื้นฐานคนที่ชอบดูดวงเชื่อเรื่องคำทำนายอยู่แล้ว ก็มีเปอร์เซ็นต์ที่เราจะเอนเอียงไปทางว่าความรู้สึกว่าแม่นจังเลย และยิ่งถ้าผู้ที่ทำนายได้รับการการันตี

 

การรีวิวความแม่นยำในการดูดวงจากใครหลาย ๆ คนแล้วยิ่งทำให้มีความน่าเชื่อถือมากขึ้นด้วย

 

  1. เชื่อว่าคำทำนายมีเพื่อตัวเองเท่านั้น 

เป็นลักษณะที่เฉพาะเจาะจง เช่น คนเกิดราศี … วัน .. เดือน .. พอมันเจาะจงแบบนี้มันดูพิเศษกว่าเดิม ดูมีแค่เรา ยิ่งถ้าคำทำนายที่ดีมาก ๆ แล้วเจาะจงที่เรายิ่งรู้สึกเชื่อ 100% เลย 

 

 

คนอ่าน ทายนิสัย ปรับนิสัยให้ตรงกับคำทำนาย?

เรียกว่า Self Fulfilling Prophecy คือ การที่คนเรารับรู้ข้อมูลอะไรเกี่ยวกับตัวเองมาแล้วเกิดความรู้สึกเชื่อ จากนั้นก็ทำพฤติกรรมให้สอดคล้องกับสิ่งที่ตัวเองเชื่อ ไม่ใช่แค่การทำนายนิสัยแต่กับการพยากรณ์เองก็จริง

 

คือไม่ว่าจะเกิดขึ้นจริงในทางตรงหรือทางอ้อม เช่น เศรษฐกิจ ณ ปัจจุบันอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ดี แต่ถ้ามีคนเชื่อคำพยากรณ์ว่าปีหน้าจะดีกว่าปัจจุบัน คำทำนายก็อาจจะเป็นจริงขึ้น เนื่องจากมีคนเชื่อและลงทุนกันมากขึ้น จนเศรษฐกิจดีขึ้นมาจริง ๆ 

 

หรือเด็กคนหนึ่งเกิดมาแล้วมีแต่คนบอกว่าเป็นคนมีบุญ เด็กก็จะทำตัวเป็นคนดีและเป็นคนมีบุญจริงในที่สุด 

 

Self Fulfilling Prophecy ถ้าแปลเป็นภาษาไทย คือ ปรากฏการณ์ความคาดหวังสร้างความจริง มันแสดงให้เห็นว่าความเชื่อมีอิทธิพลมาก ๆ ในการขับเคลื่อนชีวิตของใครบางคน

 

ถ้าให้เข้าใจง่าย ๆ เช่น ที่เราบอกว่า A เป็นคนที่ดูเข้าถึงง่าย จริง ๆ A อาจจะเป็นคนเข้าถึงยาก แต่พอ B พูดแบบนั้นแล้วมันอาจจะทำให้ A เปลี่ยนตัวเองเพื่อให้สอดคล้องกับคำที่ B พูดออกไป 

 

 

ข้อดีของการ ทายนิสัย

ในบางครั้งการดูดวงก็ทำให้เราเข้าใจและรู้จักตัวเอง บางทีเราอยู่กับตัวเองมาทั้งชีวิต แต่กลับไม่รู้ว่าตัวเองมีข้อดี ข้อเสียยังไงก็มีเหมือนกัน

 

การอ่านทายนิสัยบางอันมันทำให้เราได้เช็คตัวเองไปพร้อม ๆ กับการอ่านหรือฟังคำทำนาย อย่างนิสัยบางอย่างที่เราอาจจะมองข้ามไป ซึ่งถือว่าเป็นข้อดีมาก ๆ บางครั้งเราก็หลงลืมข้อดีของตัวเอง

 

เพราะฉะนั้นมันคือพลังบวกในการที่เราจะได้ทำความรู้จักตัวเองในอีกแง่มุมหนึ่ง 

 

ทายนิสัยบางอันมันก็จะช่วยทำให้เราได้รีเช็คจริง ๆ ว่านิสัยนี้อะเราเป็นไหม? ในส่วนที่ดีถึงแม้จะเล็กน้อยแต่เราอาจจะหลงลืมไป หรืออันไหนที่ทายว่า เช่น Aเกิดวันอาทิตย์ เป็นคนเจ้าคิดเจ้าแค้น

 

มองแล้วมันดูเป็นพลังลบจังเลย แต่ถ้ามันดันตรงว่า A เป็นแบบนั้น มันก็เหมือนช่วยเตือนสติ A ได้เหมือนกัน

 

 

ข้อเสียของการ ทายนิสัย

  1. วิตกกังวล
  2. มองหาข้อดีจากคนอื่นมากเกินไป
  3. ลังเลกับเป้าหมาย
  4. เจอคำทำนายไม่ดีทำให้เกิดการลดคุณค่าตัวเอง

 

การดูดวงจะเกิดข้อเสียขึ้นก็ต่อเมื่อเราไม่มีวิจารณญาน วิจารณญานคือสิ่งที่สำคัญในการดำรงชีวิตมาก ๆ ถ้าเราดูดวงหรือทายนิสัยเพื่อความสบายใจ  แต่คำทำนายออกมาในทางลบ เราก็ต้องมีวิจารณญาน

 

ไม่หวั่นไหวหรือวิตกกังวลเกินไป ที่สำคัญที่สุดคือเราต้องเชื่อมั่นต่อความคิดของตัวเอง เชื่อมั่นในความสามารถของตัวเอง

 

ถ้าเราเชื่อทำนายมากเกินไปจนลืมว่าตัวตนเราเป็นแบบไหน เชื่อจนขาดวิจารญาณจนทำร้ายต้วเรา ทำร้ายคนอื่นโดยที่ไม่รู้ตัวอันนี้คือเริ่มไม่ค่อยดีแล้ว เราต้องเชื่อมั่นในความคิดของตัวเอง

 

หรือถ้าในตอนนั้นเราจิตใจอ่อนแอเลยตัดสินใจไปดูดวง ก็อยากให้ยึดสิ่งที่เราเป็นที่เป็นเราไว้ เช่นเราเป็นคนยิ้มง่ายกับเรื่องเล็ก  ๆ เราเป็นคนชอบทำความสะอาด เป็นคนชอบขอบคุณคนอื่น นึกถึงสิ่งดี ๆ ที่เราทำเพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวให้ตัวเอง

 

การดูดวงเป็นความเชื่อส่วนบุคคลจริง เราไม่ได้มีเจตนาที่จะขัดความเชื่อของใคร เพียงแค่อยากมาแชร์ข้อมูลความรู้และไขข้อสงสัย เผื่อว่าอาจจะมีบางคนอยากหาคำตอบเช่นเดียวกัน 🙂 

 

 

ที่มา:

https://www.facebook.com/216848761792023/posts/624532671023628/

 

https://www.brandthink.me/content/horoscope

 

https://www.kaidee.com/blog/th/why-do-people-still-believe-in-astrology/

 

https://www.britannica.com/technology/measurement

 

https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/117830

เว็บระบายกับคนไม่รู้จัก แอประบายความในใจ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายแอบแฝงใดๆ ทั้งสิ้น เป็นพื้นที่ปลอดภัย รับฟังโดยไม่ตัดสิน สามารถระบายความในใจในรูปแบบข้อความก็ได้ หรือจะเลือกพูดคุยแบบเสียงก็ได้เช่นเดียวกัน

 

เว็บระบายกับคนไม่รู้จัก แอประบายความในใจ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายแอบแฝง

เว็บระบายกับคนไม่รู้จัก แอประบายความในใจ ฟรี คือ แอปพลิเคชัน Alljit ของเรานั่นเอง เป็นแอปพลิเคชันที่เน้นเรื่องสุขภาพใจ เพราะเราเชื่อว่า สุขภาพใจควรได้รับการใส่ใจไม่แตกต่างจากสุขภาพกาย

 

การได้ ระบายกับคนแปลกหน้า และไม่เปิดเผยตัวตน ไม่เปิดข้อมูลที่แท้จริง อาจจะทำให้เรารู้สึกสบายใจกว่าที่จะเล่าหรือระบายให้คนรู้จักฟัง และผู้เล่าอาจจะรู้สึกปลอดภัยมากยิ่งกว่า เนื่องจากว่าไม่ต้องกลัวเขาจะนำเรื่องที่เราเป็นมาแสวงหาผลประโยชน์ในอนาคตได้

 

เพราะการได้ระบายความในใจบนแอปฯ Alljit เราไม่มีนโยบายให้กรอกข้อมูลจริง และไม่มีนโยบายเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว ของผู้รับฟังและผู้ระบาย จึงมั่นใจได้เลยว่า ข้อมูลทุกอย่างจะเป็นความลับ เพราะบางครั้งการได้ระบายกับใครสักคนก็ทำให้ใจเราเบาขึ้นมาได้

ระบายกับคนแปลกหน้า

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เรามุ่งมั่นพัฒนาแอปพลิเคชัน Alljit อย่างต่อเนื่อง เพื่อนๆ สามารถใช้งานได้แล้ววันนี้ ทั้ง iOS และ Android

 

โหลด แอปพลิเคชัน Alljit ฟรี

เราพร้อมเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับคุณ พูดคุยระบาย เรียนรู้วิธีฮีลตัวเอง กับ Alljit ฟรี

 

สิ่งที่มีใน แอปพลิเคชัน Alljit ในตอนนี้

  1. ฟีเจอร์ระบายความในใจกับคนไม่รู้จัก ในรูปแบบแชท และสามารถปิดบังตัวตนได้
  2. ฟีเจอร์ระบายความในใจกับคนไม่รู้จัก ในรูปแบบกลุ่ม และสามารถปิดบังตัวตนได้
  3. คอมมูนิตี้ พูดคุย พร้อมเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้กับทุกคน
  4. ฟัง Podcast ของ Alljit ได้ฟรี
  5. อบรบจิตวิทยา การเป็นผู้รับฟังที่อบอุ่น
  6. ระบบค้นหา สถานที่รักษาโรคทางจิตเวชใกล้ตัว
  7. แบบประเมินภาวะ เครียด หมดไฟในการทำงาน และภาวะซึมเศร้า
  8. บทความจากนักจิตวิทยา และอื่นๆ
  9. และอื่นๆ อีกมากมาย ที่เรากำลังพัฒนาในตอนนี้

 

ในตอนนี้เราไม่ใช่แค่ เว็บระบายกับคนไม่รู้จัก หรือ แอประบายความในใจ เพียงเท่านั้น เราตั้งเป้าหมายอยากจะเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้กับทุกๆ คน เราจะสร้างชุมชนออนไลน์ที่น่าอยู่ไปด้วยกัน

มนุษย์คิดลบ หรือจริงๆ แล้ว เราถูกสร้างมาให้คิดลบ การคิดลบมีข้อดีอย่างไร? หลายๆคนรู้ว่าการคิดเชิงบวกดีกับตัวเองอย่างไร แต่ทำไมใจมันยังวนไปคิดแต่เรื่องแย่ๆ กับปัญหาที่แก้ไม่ตก …..แท้จริงแล้วการที่มนุษย์คิดในเชิงลบถือว่าเป็นเรื่องปกติ

 

มนุษย์คิดลบ หรือจริงๆ แล้ว เราถูกสร้างมาให้คิดลบ การคิดลบมีข้อดีอย่างไร?

สารบัญ

 

 

อีกทั้งคำพูดที่เราเจอชีวิตประจำวัน ก็มีแนวโน้มสื่อไปในทางลบมากกว่า ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกที่คนเราจะคิดในเชิงลบ รองศาสตราจารย์ด้านภาษาศาสตร์ประยุกต์ Robert W. Schrauf ที่มหาวิยาลัย Penn State ได้ทำการทำการศึกษาว่ามนุษย์คิดอย่างไรและประมวลผลอารมณ์อย่างไรกับคำพูด อย่างเช่นคำว่า Ewww, Boo ETC…..(Boo คำอุทานแสดงการเหยียดหยามการไม่เห็นด้วย ***แต่ศัพท์วัยรุ่นBooแปลว่าที่รัก)

 

ในการศึกษาครั้งนี้ นักวิจัยได้ขอให้ประชาชนที่อาศัยในชิคาโกและเม็กซิโกซิตี้ระบุชื่ออารมณ์ต่างๆ ที่พวกเขาคิดได้เองตามธรรมชาติ จากนั้นจึงจัดหมวดหมู่คำเหล่านี้ ให้เป็นเชิงลบ บวก และเป็นกลาง

 

พวกเขาค้นพบว่าผู้คนส่วนใหญ่(ที่มีอายุต่างกัน, ศาสนาวัฒนธรรมที่ต่างกัน,อาชีพที่ต่างกัน ) แต่ทุกคนล้วนแล้วรู้คำศัพท์ในการอธิบาย “อารมณ์เชิงลบ” มากกว่าคำที่อธิบายใน “อารมณ์เชิงบวก” หรือ “อารมณ์ที่เป็นกลาง” อย่างมีนัยสำคัญ

 

ในบรรดาคำศัพท์ทั้งหมดที่ผู้เข้าร่วมระบุไว้ 50 เปอร์เซ็นต์เป็นแง่ลบ 30 เปอร์เซ็นต์เป็นบวกและ 20 เปอร์เซ็นต์เป็นกลาง สิ่งนี้ยังชี้ให้เห็นว่าเราไม่เพียงแต่คิดในแง่ลบเท่านั้น แต่เรายังมีแนวโน้มที่จะมีส่วนร่วมกับอารมณ์เหล่านี้อย่างลึกซึ้งอีกด้วย (มีอารมณ์ร่วมไปกับคำพูดนั้นๆอีกด้วย) ยิ่งมีอารมรณ์ร่วมมากขึ้นเท่าไหร่ ยิ่งใช้เวลาไปกับการคิดลบมากขึ้นเท่านั้น

 

อารมณ์เชิงบวกบอกกับเราว่าทุกอย่างเรียบร้อยดี ok ฉันสบายใจ ไม่มีอะไรย่าเป็นห่วง ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องคิดถึงมันอีกต่อไป ด้วยเหตุนี้ ช่วงเวลาดีๆ เหล่านี้ถึงแม้จะมีค่า แต่ก็มีน้อยเช่นกัน

 

ในทางกลับกัน อารมณ์เชิงลบบอกกับเราว่ามีบางอย่างผิดปกติ เราจึงมีแนวโน้มที่จะให้ความสนใจ ทุ่มเวลาของเราทั้งหมดไปกับการครุ่นคิดกับอารมณ์เชิงลบนั้นๆ

 

The benefits of negative thinking ข้อดีของการคิดลบ

จากงานวิจัยของ Tori Rodriguez นักจิตอายุรเวท ที่ได้ตีพิมพ์ในบทความของ Scientific American ซึ่งเธอได้อธิบายว่า การที่มนุษย์พยายามต่อต้านหรือเพิกเฉยต่อความเศร้า ความโกรธ หรือความอารมณ์ที่ไม่น่าพึงพอใจต่างๆ มันสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตและชีวิตการเป็นอยู่ที่ดีได้

 

“ความรู้สึกแย่มีความสำคัญพอๆ กับความรู้สึกดี”

 

Florida State University ศึกษาพบว่า ผู้คนที่พยายามต่อต้านความคิดเชิงลบ มักจะเจอกับความเครียดสะสมที่มากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อต้องเจอกับเหตุการณ์เดิม ๆที่เป็นสาเหตุ

 

ข้อเสียของการไม่เปิดรับอารมณ์เชิงลบ

 

ข้อดีของการเปิดรับอารมณ์เชิงลบ

 

สุดท้ายแล้ว การต่อต้านความคิดเชิงลบและความรู้สึกเชิงลบ อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายของเราและทำให้เกิดความเครียดสะสมได้ เพราะว่ามันไม่ได้ผ่านกระบวนการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้องTori Rodriguez กล่าวว่า “การยอมรับความคิดและอารมณ์เชิงลบ สามารถนำไปสู่ความชัดเจนในการแก้ไขปัญหาและช่วยให้เราเข้าใจตัวเองมากขึ้น”

 

เธอยังบอกอีกว่า เวลามีอารมณ์เชิงลบเข้ามา อย่างพึ่งไปต่อต้านมัน ให้รับรู้ถึงช่วงอารมณ์ ณ ตอนนั้น ว่าคุณรู้สึกยังไงกับตัวเอง ให้มีสติเขียนจดบันทึกความรู้สึกของคุณลงไปในสมุด ยิ่งคุณใช้สติมากเท่าไหร่คุณก็สามารถแก้ปัญหาที่ต้นเหตุได้มากขึ้นเท่านั้น

 

เมื่อมีความคิดลบเชิงเข้ามา >>> ยอมรับ เรียนรู้ >>> แก้ไข เปลี่ยนแปลง

 

8 ข้อดีของการคิดลบ

 

1. การคิดเชิงลบสามารถใช้เป็นแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลงให้ชีวิตดีขึ้นได้

หนึ่งในแรงจูงใจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับการเปลี่ยนแปลง คือการรู้สึกไม่สบายใจกับสิ่งที่เป็นอยู่ ความคิดเชิงลบสามารถกระตุ้นให้คนเราเห็นถึงปัญหา และหาวิธีที่จะพัฒนาเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ไปสู่ชีวิตที่ดีกว่า

 

2. การคิดเชิงลบทำให้เราเตรียมพร้อมกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต

การคิดเชิงลบช่วยให้คุณจินตนาการถึงสิ่งที่เลวร้ายที่สุดที่อาจจะเกิดขึ้น และคุณสามารถป้องกันไว้ก่อนเนิ่น ๆได้ ในหนังสือ Shoot for the Moon ของนักจิตวิทยา Richard Wiseman กล่าวถึงการเตรียมพร้อมเป็นหนึ่งในปัจจัยแห่งความสำเร็จ ในโครงการspace program ของสหรัฐฯ ในปี 1960

 

นักวิทยาศาสตร์จรวดในยุคนั้น ใช้ความคิดเชิงลบเพื่อจินตนาการถึงภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นได้ จากนั้นพวกเขาก็แก้ไขการออกแบบเพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาเหล่านั้นเกิดขึ้น

 

3. การคิดเชิงลบช่วยทำให้การตัดสินใจของคุณดีขึ้น

จากการศึกษาพบว่าความสงสัยหรือการคิดในเชิงลบ สามารถนำไปสู่การตัดสินใจที่ดีขึ้น ทำไมน่ะหรอ? ก็เพราะว่ามันทำให้ครุ่นคิด หรือคิดช้าลง มีสติมากขึ้น มันเป็นกลไกทางธรรมชาติที่ว่า เมื่อเราคิดลบ เรามักจะหาข้อสันนิษฐาน คิดเชิงวิเคราะห์มากขึ้น ตัดสินใจตามหลักฐานและข้อมูล

 

ต่างจากคนที่มองโลกในแง่บวกมากเกินไป เพราะว่าคนพวกนี้จะคิดอะไรเป็นบวกหมด ทำให้มองไม่เห็นความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้

 

 

4. การมองโลกในแง่ลบทำให้คุณซื่อสัตย์ต่อตนเอง

ความหมายก็คือ การไม่คิดเข้าข้างตัวเอง ไม่มองโลกสวยจนเกินไป(Positive Illusions)  เพราะว่าบางครั้งการคิดเชิงบวกมากเกินไปสามารถยับยั้งความคิดสร้างสรรค์และไม่เปิดใจยอมรับคำวิพากษ์วิจารณ์ได้

 

เคยเป็นไหมที่รักใครสักคนแล้ว เขาทำร้ายจิตใจของเรา แต่เราเลือกที่จะมองข้ามข้อเสียเหล่านั้นไป สิ่งนี้มันไม่ได้ดีต่อตัวคุณเลย คุณกำลังมองเขาในแบบที่ใจคุณคิด ไม่ใช่มองในแบบโลกแห่งความเป็นจริง บล็อกเกอร์ PT Guy Winch ผู้เขียน How to Fix a Broken Heart มีเคล็ดลับในการคิดเชิงลบที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังทำให้ตัวเองมีความสุขโดยการทำให้ลืมอดีตคนรัก แก้ไขโดยการเขียนรายการคุณสมบัติเชิงลบของบุคคลนั้นๆ แล้วเก็บไว้ในโทรศัพท์ของคุณและดูบ่อยๆ หัวใจที่แตกสลายของคุณจะเริ่มได้รับการเยียวยา มันจะช่วยให้คุณจะมองโลกตามความเป็นจริงมากขึ้น

 

5. การคิดในเชิงลบสามารถช่วยชีวิตคนได้

คนที่มองโลกในแง่ร้าย มักจะเป็นคนที่ไม่ประมาท และจะพยายามเตรียมตัว ซักซ้อม และวางแผนการต่างๆ ที่รัดกุมและตัดสินใจได้ดีมากกว่า การคิดในเชิงลบสามารถช่วยชีวิตคนได้ยังไง ?

 

ตัวอย่าง

 

6. การคิดในเชิงลบสามารถลดความเสี่ยงในการโดนหลอก

ปัจจุบันนี้ Scammers หรือนักต้มตุ๋นเกลื่อนเมือง โดยเฉพาะทางโซเชียลมิเดียต่างๆ พวกนี้จะฉลาด พวกเขามีจิตวิทยาในการพูดให้คนหลงเชื่อ ถ้าคุณมีความคิดในเชิงลบ ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ ก็จะไม่มีใครสามารถมาหลอกคุณได้

 

7. การคิดในเชิงลบเพื่อกำจัดความกังวล

Julie Norem ผู้ทำวิจัยเรื่องกลยุทธการคิดลบเพื่อป้องกันเหตุร้ายให้สัมภาษณ์กับ The Atlantic ในปี 2014 ว่า เราสามารถใช้การคิดลบเพื่อเป็นกลยุทธจัดการความกังวล (anxiety) ได้โดยที่ไม่ทำให้ความกังวลนั้นส่งผลลบต่อชีวิต หากเราคิดลบเพื่อวางแผนไว้ก่อนว่าหากเกิดปัญหาขึ้น แล้วเราจะต้องจัดการกับปัญหานั้นอย่างไร

 

 

8. การคิดในเชิงลบสามารถช่วยให้คุณมีอายุที่ยืนยาวขึ้น

ความคิดในเชิงลบทำให้มนุษย์มีความคาดหวังน้อยลง ประมานว่ารู้ข้อจำกัดของตัวเอง และยอมรับความจริงมากขึ้นอีกด้วย เมื่อเราลดทุกอย่างให้น้อยลง เราจะมองเห็นอะไรมากขึ้น นักวิทยาศาสตร์พบว่าผู้ที่มีความคาดหวังต่ำมักมีอายุที่ยืนยาว

 

การศึกษาในคน 40,000 คน ของFrieder R. Lang ผู้พบว่าการ “มองโลกในแง่ดีมากเกินไป” ในอนาคตพวกเขามีความเสี่ยงที่เสียชีวิตเร็วขึ้นหรือไม่ก็พิการ อีกงานวิจัยที่ตีพิมพ์โดย American Psychological Association พบว่าผู้ที่มีรายได้สูงมีแนวโน้มที่จะเสี่ยงต่อการพิการมากขึ้น

 

งานวิจัยนี้เช่นเดียวกับงานวิจัยจำนวนมาก ไม่ได้พิสูจน์ความเป็นเหตุเป็นผล (causality) ซึ่งกันและกัน แต่เพียงแสดงความเกี่ยวเนื่อง (correlation) กันเท่านั้น อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.dailymail.co.uk/news/article-2285719/Why-negative-good-health-Pessimists-likely-live-longer.html

 

บทสรุป

เมื่อเรามองบางสิ่งเป็นลบหรือในแง่ร้ายดูบ้าง เราจะเห็นปัญหาอย่างแท้จริง และอาจเห็นปัญหามากว่าที่เป็นอยู่ประโยชน์ของมันคือ เราสามารถรับรู้ถึงปัญหาของมันได้อย่างถี่ถ้วนมากๆ และอาจมองเห็นปัญหาที่จะเกิดได้อนาคตจากการคิดล่วงหน้าหรือ การคิดไปก่อนหรือคิดไปเองตามที่ใครชอบพูดหรือชอบว่าเรา ว่า “คิดไปก่อนอีกแล้ว!”

 

จริงๆแล้วมีข้อดีอยู่มหาศาล การคิดไปก่อนก็เหมือนกับการคิดล่วงหน้า การวางแผนวางแพลนล่วงหน้า รวมไปถึง การเตรียมรับมือกับผลที่จะเกิดได้ขึ้นได้เป็นอย่าง ดี และProfessional เลยทีเดียว

 

แต่เราไม่ได้บอกว่าคุณต้องเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย  ถึงจะมีชีวิตดีได้  สิ่งที่จะทำให้ชีวิตของคุณดีขึ้นได้จริงๆนั้นก็คือ การหาสมดุลระหว่างความคิดเชิงบวกและความคิดเชิงลบให้ได้ “ความสุขไม่สามารถดำรงอยู่ได้หากปราศจากความเศร้า”

 

Source

เคยสงสัยเหมือนกันไหมว่า ทำไมเราถึง ดูดวง ในตอนที่ชีวิตกำลังแย่ หรือช่วงที่เรารู้สึกว่าสับสนหลงทาง ต้องการหาที่พักพิงทางใจ เช่น อกหัก อยากหางานใหม่ อยากเริ่มอะไรใหม่ ๆ

 

คนรอบ ๆ ตัวเรา เวลาที่เขาเดินมาแล้วพูดว่า อยากดูดวง ก็จะต่อด้วยประโยคที่แสดงถึงความเครียดหรือความกังวลใจ แสดงให้เห็นว่าช่วงเวลาที่คนเรามักจะดูดวง คือ “ช่วงเวลาที่ทุกข์ใจ”

การ ดูดวง เริ่มต้นมาจากอะไร

ศาสตร์ของการดูดวงเริ่มมีตั้งแต่ 4000 ปีก่อน โดยหลักฐานบ่งบอกไว้ว่าการดูดวงพบครั้งแรกในแถบประเทศอียิปต์ กรีก และอินเดีย จากบทความ Superstitions : A Culturally Transmitted Human Behavior

 

จุดเริ่มต้นของศาสตร์การดูดวง การทำนายอนาคต เกิดจากการที่คนสมัยโบราณไม่เข้าใจเหตุการณ์ทางธรรมชาติบางอย่าง จึงคิดว่าเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องเหนือธรรมชาติและเหนือการควบคุม

 

เกิดเป็นการพัฒนามาเป็นความเชื่อทางด้านไสยศาตร์และความเชื่อเรื่องการทำนายต่าง ๆ เพื่อคลายความวิตกกังวลจากเรื่องที่เหนือการควบคุม

 

ทำไมมนุษย์เราถึงชอบ ดูดวง ตอนชีวิตกำลังแย่

1.เพราะความไม่แน่นอนของชีวิต

พื้นฐานของมนุษย์ทุกคนเวลาเจออะไรที่ไม่แน่นอนหรือคาดเดาไม่ได้ จะมีความต้องการหาใครสักคนที่สามารถเป็นคำตอบที่แน่นอน

 

2.ต้องการที่พักพิงทางใจ

ที่พักพิงทางใจ การที่เราถามเพื่อน หรือครอบครัวมันอาจจะไม่ได้ตอบโจทย์เราขนาดนั้น การดูดวงคงจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ได้คำแนะนำจากที่ดีกว่า และจะได้รู้ทิศทางแนวทางด้วยว่าควรทำอันไหนดีไม่ดี

 

 

การ ดูดวง กับหลักจิตวิทยา

การดูดวงถือเป็น การให้คำปรึกษาแนะนำ (Guidance) ซึ่งแตกต่างจากการปรึกษาเชิงจิตวิทยา (Counseling) ที่มีลักษณะในเชิงบำบัด

 

การพยากรณ์โชคชะตามีจุดเริ่มต้นจากความต้องการคำตอบที่เราไม่สามารถตอบได้ สาเหตุที่คนเราชอบดูดวงเพราะต้องการที่พึ่งทางใจ

 

ต้องการรับรู้อนาคตเพื่อลดความกังวลจากความไม่แน่นอนของชีวิต (Uncertainty of life) เพราะความไม่แน่นอนทำให้หลาย ๆ คนเกิดความกังวล เช่น ไม่รู้ว่าวันข้างหน้าจะเป็นอย่างไร

 

จะเจอกับความทุกข์ใจอะไรไหม พวกเขาต้องการเติมเต็มความมั่นใจในการตัดสินใจ หรือต้องการทราบแนวทางในการดำเนินชีวิต ส่งผลให้เขาเลือกใช้การพยากรณ์โชคชะตาแทนการเข้าหานักจิตวิทยาหรือจิตวิทยา 

 

และการดูดวงในทางจิตวิทยา ได้กล่าวไว้ว่าการดูดวงถือเป็นกลไกการแก้ปัญหา อย่างหนึ่ง หรือถ้าเป็นเรื่องของความเชื่อ เขาบอกว่าความเชื่อเป็นส่วนหนึ่งของการตอบสนองทางจิตใจของมนุษย์

 

เพื่อทำให้เรามีความมั่นใจ เกิดความมั่นคงในจิตใจและความคิด เวลาเจอความทุกข์ใจจะมีคนคนนึงมีความเชื่อแบบนึง ก็มักจะไม่เปลี่ยนเเปลงความเชื่อหรือชุดความคิดของตัวเอง

 

 

ดูดวง ยังไงให้ไม่รู้สึกแย่กับตัวเอง

1. ดูอย่างมีวิจารณญาณ

2. คิดไว้เสมอว่าทุกสิ่งที่อยู่ตัวเรา การดูคือการทำนายซึ่งอาจจะเกิดจริงหรือไม่จริงก็ได้

3. เลือกฟังในสิ่งที่สบายใจอันไหนฟังแล้วรู้สึกไม่ดีเก็บนำไปเตือนใจ เตือนสติเราได้แต่อย่านำมาคิดมากจนส่งผลกระทบกับชีวิตของเรา

 

 

ดูดวง บ่อย ๆ ทำให้ดวงชะตาเปลี่ยนจริงไหม?

ไปหาข้อมูลมาจากบทสัมภาษณ์ของหมอดูชื่อดังเรื่องของ pick a card มา ว่าถ้าเราดูดวงบ่อย ๆ มันสามารถทำได้ไหม? ซึ่ง หนูบี (ชื่อหมอดู )

 

บอกว่า “เขาดูดวงตัวเองทุกวันซึ่งการดูดวงทุกวันก็ไม่ได้มีผลอะไรถ้าเราไม่นำไปฟุ้งซ่าน แต่หากเป็นคำถามประเภทต้องเช็กผลก็ควรเว้นระยะอย่างน้อย 1 – 3 เดือน

 

หรืออย่างคำถามที่เคยถามไปแล้วก็เว้นช่วงไว้เช็กผลบ้าง เพราะบางครั้งอาจมีเวลาที่ความคิดหรือมุมมองเราเปลี่ยนซึ่งส่งผลต่อการกระทำของเรา

 

เราก็ดูเป็นแนวทางว่าตอนนี้เราคิดแบบนี้ วันข้างหน้าเราควรทำตัวอย่างไรเพื่อให้เราคอยระวังตัวเองและไม่กังวลมากเกินไปแบบนี้ดีกว่า”

 

 

มาสร้างลิมิตในการ ดูดวง กันเถอะ

 

ถ้าเรารู้สึกว่าเราเองกำลังหมกมุ่นกับการดูดวงมากเกินไป ลองตั้งลิมิตให้กับตัวเอง เช่น เราจะดูดวงกับหมอดูกี่ครั้งในหนึ่งปี เหมือนเป็นการสั่งให้ตัวเราเองทำตามคำสั่งของตัวเราเอง ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมากๆเลยนะ

 

อย่างไรก็ตามการดูดวงขึ้นควรดูอย่างมีวิจารณญาณ เพราะชะตาชีวิตของเรา เราล้วนเป็นคนกำหนด 🙂

 

ที่มา:

-https://bit.ly/3dEGF6R

-https://bit.ly/3wABPyv

-https://bit.ly/3AEwrwJ

-https://bit.ly/3QNaT62

เคยได้ยินคำว่า “ ใจพัง ” กันไหม? เรามักจะนึกถึงเหตุการณ์อกหัก แต่ความรู้สึกแย่ ๆ ที่ถาโถมเข้ามาไม่ได้เกิดแค่เพียงอกหักอย่างเดียว

 

มันมีทั้งตกงาน สอบตก หรือเราต้องการทำบางสิ่งบางอย่างให้ออกมาดีแต่มันรู้สึกผิดหวัง หมดพลังในตัวเอง ชีวิตเรามันดูพังทลาย ดูย่ำแย่

 

Alljit Podcast x รัชดาภรณ์ นักจิตวิทยาคลินิก

อยู่อย่างไรในวันที่ “ใจพัง”

เวลาที่รู้สึกพังมาก ๆ สิ่งหนึ่งที่อยากให้กลับมาตระหนักคือการรับรู้คุณค่าของตัวเอง เพราะทุก ๆ ความรู้สึกที่มีต่อตัวเองมันคือความพังที่เรามอบให้ตัวเองสิ่งเหล่านี้มันกระทบต่อภาพรวม กระทบต่อทุก ๆ ด้านของตัวเอง

 

ตัวเราเองมีคุณค่า มีความน่านับถือในตัวเอง เรามีความสามารถในการเข้าใจปัญหาที่มันเกิดขึ้นหรือเปล่า ถ้าเราสามารถเข้าใจได้ในวันที่พังมาก ๆ ก็สามารถทำให้เราก้าวต่อไปได้

 

ออกจากจุดที่ทำให้ “ใจพัง” ได้อย่างไร?

ถ้าเราจะออกจากจุดที่ใจพังได้ดีขึ้นเราจะต้องเรียนรู้ก่อนว่าเรากำลังรู้สึกอะไร เรากำลังคิดอะไรอยู่ เป็นคำถามง่าย ๆที่ไม่ค่อยได้ตั้งคำถามกับตัวเอง 

 

ถ้าเราสามารถตั้งคำถามนี้กับตัวเองได้ เราก็จะสามารถมองเห็นศักยภาพในตัวเอง ฝ่าฝันอุปสรรคก้าวผ่านกับปัญหาที่มันมีอยู่ได้ 

 

ยอมรับว่าส่วนที่ดีและส่วนที่แย่คือตัวของเรา ถ้าเราสามารถยอมรับได้เราก็สามารถยอมรับความไม่สมบูรณ์แบบที่เกิดกับตัวเราได้ ทั้งเรื่องงาน ความสัมพันธ์ มนุษย์ทุกคนไม่มีใครที่สมบูรณ์แบบ

 

ถ้าเราเรียนรู้ที่จะยอมรับไม่ปฏิเสธว่าคือตัวตนของเรา จิตใจที่มันพังทลายลงไปสิ่งเหล่านั้นก็ทำให้เรารับรู้คุณค่าตัวเองได้

 

สิ่งที่ควรตระหนักกับตัวเองเวลาที่ “ใจพัง”

แม้วันหนึ่งที่เรารู้สึกผิดหวังมาก ๆ โลกมันพังทลายลงไป แต่สิ่งที่เราเป็นเราจะไม่มีวันหายไป แต่เรากำลังหลงลืมที่จะสัมผัสมัน ลืมเห็นทางด้านดี ๆ ที่เป็นเรา 

 

ถ้าเราสามารถรับรู้ มองเห็นคุณค่าตัวเราเองได้ อย่าลืมที่จะเมตตาต่อตัวเราเอง ทุกคนมีข้อดี มีศักยภาพมากมายเต็มไปหมดเลย อย่าลืมมองข้อดีของเรา ทุกคนมีข้อดีและข้อเสียความสมบูรณ์ไม่มีอยู่จริง

 

ยิ้มให้กับตัวใจดีให้กับตัวเองสิ่งเหล่านี้ช่วยทำให้เราได้เรียนรู้ที่จะอยู่กับตัวเองอย่างมีความสุขมากขึ้น

 

เคยไหม ? ที่ยิ่งใช้ชีวิตยิ่งรู้สึก สิ้นหวัง ถึงแม้จะมองเห็นทางออก กลับเลือกที่จะไม่สนใจ ฉันจะอยู่แบบนี้ ฉันไม่ไหวที่จะคิดหรือทำอะไรทั้งนั้น

รู้จักความ สิ้นหวัง อันเกิดจากการเรียนรู้ (Learned Helplessness)

เบื้องต้น คำว่า Learned แปลว่า ที่เรียนรู้มา และ Helplessness แปลว่า สภาพที่ไม่สามารถทำอะไรเพื่อปกป้องตัวเองหรือคนอื่นได้ 

 

Learned Helplessness จึงหมายถึง ภาวะที่มนุษย์หรือสัตว์เรียนรู้ที่จะประพฤติตนอย่างสิ้นหวัง แม้จะมีโอกาสที่จะหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่ไม่พึงปรารถนาหรือเป็นอันตรายได้

 

สาเหตุของความ สิ้นหวัง

สาเหตุของความสิ้นหวังอันเกิดจากการเรียนรู้ สามารถอธิบายให้เห็นเป็นขั้นเป็นตอนได้ เริ่มจาก 

 

ขั้นที่ 1 ประสบเหตุการณ์ร้าย ๆ ที่ไม่สามารถควบคุมได้ 

 

ขั้ันที่ 2 ทำให้รับรู้การไร้ความสามารถในการควบคุมของตนเอง 

 

ขั้นที่ 3 ขยายความเชื่อนั้นไปสู่พฤติกรรมยอมจำนน

 

เมื่ออยู่กับความตึงเครียดหรือปัญหาที่หาทางออกหรือควบคุมไม่ได้เป็นเวลานาน  จะเกิดความรู้สึกท้อแท้สิ้นหวัง ถึงแม้จะมีโอกาสในการแก้ปัญหานั้น แต่บุคคลจะไม่ทำอะไรกับสิ่งนั้นอยู่ดี 

 

การทดลองเกี่ยวกับความ สิ้นหวัง

ก่อนที่จะมาเป็นทฤษฎีทางจิตวิทยา อ้างอิงจากบทความเว็บไซต์ The People ในช่วงปี 1960 ถึง 1970 มาร์ติน เซลิกแมน และ สตีเฟน ไมเออร์ ได้ทำการทดลองกับสุนัข โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม 

 

1. กลุ่มแรกจะถูกมัดไว้ช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้วปล่อยไป 

 

2. กลุ่มที่สองจะถูกมัดไว้และจะถูกช็อตไฟฟ้า ซึ่งสามารถหลีกเลี่ยงได้โดยใช้จมูกกดปุ่มที่อยู่ใกล้ ๆ 

 

3. กลุ่มที่สามจะถูกมัดไว้และจะถูกช็อตไฟฟ้า แต่ไม่มีหนทางให้หลีกเลี่ยงได้ 

 

ทันทีที่รู้สึกถึงแรงช็อตในกล่อง สุนัขกลุ่มแรกและกลุ่มที่สองจะรีบกระโดดมาอีกฝั่งทันที ในขณะที่สุนัขกลุ่มที่สามจะนั่งซึมอยู่ที่เดิม แม้จะสามารถกระโดดข้ามได้อย่างง่ายดาย

 

นั่นเป็นเพราะสุนัขกลุ่มที่สามเรียนรู้มาจากตอนถูกช็อตว่าดิ้นยังไงก็ไม่มีทางหนี นอกจากนี้  ยังมีการทำการทดลองที่คล้ายกันในมนุษย์ด้วย โดยการเปิดเสียงรบกวนชวนรำคาญหู 

 

1. กลุ่มแรก ไม่มีเสียงรบกวน  

 

2. กลุ่มที่สอง มีเสียงรบกวน พร้อมปุ่มปิดเสียง 

 

3. กลุ่มที่สาม มีเสียงรบกวน แต่ปุ่มกดไม่ทำงาน 

 

จากนั้นจะพาคนทั้งสามกลุ่มเข้าไปอยู่ในห้องที่มีเสียงรบกวนและมีปุ่มปิดเสียงที่ใช้งานได้ มีเพียงกลุ่มแรกและกลุ่มที่สองเท่านั้นที่กดปิดเสียง ส่วนกลุ่มที่สามส่วนใหญ่จะปล่อยให้เสียงนั้นดำเนินต่อไป

 

ผลกระทบของความ สิ้นหวัง

ซิลิกแมนได้สรุปว่า Learned Helplessness เกิดจากภาวะที่บุคคลรับรู้ว่า ผลที่เกิดขึ้นไม่สัมพันธ์กับการตอบสนองของตน ซึ่งผลกระทบที่ตามมา คือ

 

1. ความด้อยทางปัญญา – ความสามารถในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆ ในอนาคตจะน้อยลง

 

2. ความด้อยทางแรงจูงใจ – แรงจูงใจในการทำอะไร ๆ จะน้อยลง

 

3. ความด้อยทางอารมณ์ – บุคคลจะเกิดความรู้สึกเศร้า

 

สิ้นหวัง เป็นเพราะเหตุการณ์หรือความคิด 

อ้างอิงจากบทความเว็บไซต์ The People คำตอบคือ Learned Helplessness ไม่ได้มาจากสถานการณ์เพียงอย่างเดียว แต่มาจากความคิดด้วย 

 

ยกตัวอย่างเช่น คนที่มองโลกในแง่ดี จะคิดว่าเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว ไม่ใช่ทุก ๆ เรื่อ’ และคิดว่าสิ่งเลวร้ายอาจมาจากปัจจัยอื่น ๆ ด้วย 

 

พวกเขาจึงจะคิดว่า ยังมีโอกาสแก้ไขให้ดีขึ้นได้ และที่สำคัญคือ ‘มีความหวัง’ ว่าทุกอย่างจะดีขึ้นในอนาคต คล้ายกับคนที่มี Growth Mindset

 

แล้วบอกตัวเองว่า ฉัน ‘ยัง’ ทำไม่ได้ แทนที่จะบอกว่า ฉัน ‘ไม่มีวัน’ ทำได้ นั่นเอง เพราะ การใช้คำพูดกับตัวเอง หรือ Self-talk สำคัญต่อทุกคนมาก 

 

จัดการตัวเองเมื่อ สิ้นหวัง 

การป้องกันตัวเองไม่ให้ไปสู่ภาวะ learned helplessness เป็นเรื่องสำคัญ

1. พักผ่อน

เราไม่จำเป็นต้องสู้ ไม่จำเป็นต้องก้าวผ่านทุกเรื่องทุกปัญหา “เดี๋ยวนี้” ไม่พร้อมก็คือไม่พร้อม 

 

2. ดูแลตัวเอง 

พอกายพร้อมใจจะพร้อมตาม  

 

3. ปรับความคิด

คอยเตือนตัวเองว่าทุกสิ่งเกิดขึ้นได้ เราไม่ได้ควบคุมได้ทุกอย่างและนั่นไม่ใช่เรื่องผิด 

 

4. ขอความช่วยเหลือ

การพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือการขอความช่วยเหลืออาจทำให้เราได้มองปัญหาหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ จากมุมใหม่ ๆ ด้วย 

 

5. เปิดหูเปิดตา

อาจจะเป็นการทำสิ่งใหม่หรือการออกเดินทาง เพื่อหามุมมองใหม่ ๆ ซึ่งอาจสร้างแรงบันดาลใจให้กลับมามีแรงใจสู้ต่อ 

 

5 ข้อนี้เป็นวิธีจัดการเบื้องต้น แต่เมื่อไหร่ที่ความรู้สึกพัฒนาไปสู่ภาวะ Learned Helplessness แล้ว การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาทางออกที่ถูกต้องจะดีกว่า

 

การไปพบผู้เชี่ยวชาญ

ภาวะนี้จุดโฟกัสคือความคิดว่า ฉันควบคุมไม่ได้ ฉันทำอะไรไม่ได้ ไม่มีอะไรดีขึ้นหรอก ที่พอคิดแบบนี้บ่อย ๆ เรื่อย ๆ จะทำให้กลายเป็น รูปแบบความคิด หรือ thinking pattern ที่ toxic 

 

การบำบัดส่วนใหญ่จะใช้วิธีที่เรียกว่า Cognitive-behavioral therapy (CBT) เน้นการปรับความคิดและพฤติกรรมที่เป็นปัญหาโดยตรง ซึ่งจะช่วยให้ผู้รับการบำบัดรตระหนักรู้ในตัวเองว่า

 

ความคิดลบอะไรที่ทำให้รู้สึกสิ้นหวัง จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนของการทดแทนความคิดลบเหล่านั้นด้วยความคิดใหม่ ๆ ที่เป็นบวกและเป็นเหตุเป็นผล ยึดกับความเป็นจริงมากกว่าเดิม 

 

ที่มา :